36
หหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหห หหหหหหห หหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหห หหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหห ห หหหห หหหหหหห ห. หหหหหหหหหหหหหหหหหห/หหหหหหหหห หหหหหหห สสสสสสส ส สสสสสสส สสสสสสส ส สสสสสสสส สสสสสสส ส สสสสสส สสสสส สสสสสสสสส สสสสสสส ส สสสสสสสสสสสสสส สสสสสสส ส สสสสสสสสสสสสสสสสสส หหหหหหห สสสสสสส ส ส.ส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสส สสสสสสสสสสสส สสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสส ส ส.ส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสส สสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสส สสสส ส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสส สสสสสสส สสสสสสสสสสส สสสสสสส ส ส.ส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสส สสส สสสสสสสสสสสส สสสสสสสสส ส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสส ส ส.ส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสส

 · Web viewต วอย างเจอชายขอทานทหารในหม บ าน3.2.ต นนอนท กว นแต เช าน องก ง1.4.ก นค

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ เรื่อง ไก่เอ๋ยไก่แจ้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รหัส ท๑๒๑๐๑

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เวลา ๕ ชั่วโมง

๑.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

สาระที่

สาระที่ ๑ การอ่าน

สาระที่ ๒ การเขียน

สาระที่ ๓การฟัง การดู และการพูด

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษา

สาระที่ ๕วรรณคดีและวรรณกรรม

มาตรฐาน

มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดในการตัดสินใจ แก้ปัญหา

ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราว

ในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้า

อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ

ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลัง

ของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็น

คุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ตัวชี้วัด

ท๑.๑ ป.๒/๑ อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจองและข้อความ และบทร้อยกรองง่ายๆได้ถูกต้อง

ท๑.๑ป.๒/๒ อธิบายความหมายของคำและข้อความที่อ่าน

ท๑.๑ป.๒/๓ ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

ท๑.๑ป.๒/๔ ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน

ท๑.๑ป.๒/๕ แสดงความคิดเห็นคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน

ท๑.๑ป.๒/๖ อ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน

ท๑.๑ป.๒/๗ อ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย และปฏิบัติ ตามคำสั่งและข้อแนะนำ

ท๑.๑ป.๒/๘ มีมารยาทในการอ่าน

ท๒.๑ป.๒/๑ คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด

ท๒.๑ป.๒/๔ มีมารยาทในการเขียน

ท๓.๑ป.๒/๑ ฟังคำแนะนำ คำสั่งที่ซับซ้อนและปฏิบัติตาม

ท๓.๑ป.๒/๒ เล่าเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง

ท๓.๑ป.๒/๓ บอกสาระสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู

ท๓.๑ป.๒/๔ ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู

ท๓.๑ป.๒/๕ พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู

ท๓.๑ป.๒/๖ พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามประเด็น

ท๓.๑ป.๒/๗ มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

ท๔.๑ป.๒/๑ บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย

ท๔.๑ป.๒/๒ เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ

ท๔.๑ป.๒/๓ เรียบเรียงคำเป็นประโยคได้ ตรงตามเจตนาของการสื่อสาร

ท๔.๑ป.๒/๔. บอกลักษณะคำคล้องจอง

ท๔.๑ป.๒/๕ เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ

ท๕.๑ป.๒/๑ ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น

ท๕.๑ป.๒/๒ ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้องกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

๒.สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การเข้าใจธรรมชาติของภาษาไทย และหลักภาษาไทย เกี่ยวกับการผันวรรณยุกต์ การสะกดคำ การสร้างคำ สามารถนำไปแต่งประโยคและการเขียนสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓.สาระการเรียนรู้

๓.๑ ความรู้

๓.๑.๑ การฟัง การพูด

๓.๑.๒ การอ่าน การเขียน

๓.๑.๓ การอ่านออกเสียง การผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ

๓.๑.๔ การอ่าน เขียน คำมาตราตัวสะกดแม่กน

๓.๑.๕ การอ่าน การสร้างคำ การแต่งประโยค

๓.๒ ทักษะ/กระบวนการ

๓.๒.๑ การฟัง

๓.๒.๒ การอ่านบทอาขยาน

๓.๓ เจตคติ -

๓.๓.๑ สนุกกับบทร้องเล่น

๓.๓.๒ สนใจเรียนภาษาไทย

๔.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

๔.๑ความสามารถในการสื่อสาร

๔.๒ความสามารถในการคิด

๔.๓ความสามารถในการแก้ปัญหา

๕.คุณลักษณะอันพึงประสงค์

๕.๑มีวินัย

๕.๒ใฝ่เรียนรู้

๕.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน

๖.ชิ้นงาน/ภาระงาน

๖.๑ การเขียนประโยค

๗.การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

- การร่วมกิจกรรม

- ตรวจผลงาน

- แบบประเมินการร่วมกิจกรรม

- มีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปหรือ มีค่าเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป

- ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป

๘.กิจกรรม

๘.๑ ชั่วโมงที่ ๓๑

๑) จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อ่านออกเสียงบทอาขยาน “ไก่แจ้” ได้

๒. ตอบคำถามจากบทอาขยาน “ไก่แจ้” ได้

๓. สรุปสาระสำคัญและข้อคิดจากบทอาขยาน “ไก่แจ้” ได้

๔. คัดลายมือ บทอาขยาน “ไก่แจ้” ได้

๕. ทำงานเป็นกลุ่มได้

๒) กิจกรรมการเรียนรู้

๑.Brain Gym กิจกรรมเล่นมือประกอบบทร้องเล่น“กาเอ๋ยกา”

๒.นักเรียนเล่าสิ่งที่อ่าน (จากหนังสือที่นักเรียนอ่านเป็นการบ้าน) ในประเด็น

- ชื่อเรื่องที่อ่าน ชื่อผู้แต่ง/ผู้แปล /ผู้เขียนภาพประกอบ

- สาระความสำคัญ

- สิ่งที่ชอบในเรื่อง

- ข้อคิดที่ได้

๓.ครูติดแผนภูมิบทอาขยาน “ไก่แจ้” และอ่านแบบร้อยแก้วให้นักเรียนฟัง ๑ รอบ

- นักเรียนอ่านพร้อมกัน อ่านกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย

- ครูอ่านบทอาขยาน “ไก่แจ้” เป็นทำนองเสนาะทีละวรรค นักเรียนอ่านตาม

- นักเรียนอ่านบทอาขยาน “ไก่แจ้” เป็นทำนองเสนาะพร้อมกัน อ่านกลุ่มใหญ่ อ่านกลุ่มย่อยเคาะจังหวะประกอบ

๔.นักเรียนเข้ากลุ่ม ตัวแทนกลุ่มรับคำชี้แจงและอุปกรณ์ ได้แก่ กระดาษปรู๊ฟและปากกาเมจิก

นักเรียนอ่านคำชี้แจงพร้อมกัน ๒ รอบ

คำชี้แจง

๑. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันอภิปรายและแสดงเหตุผลประกอบเกี่ยวกับ

ตัวละครในบทอาขยาน “ไก่แจ้” ในประเด็นต่อไปนี้

๑.๑ ไก่แจ้มีนิสัยอย่างไร รู้ได้อย่างไร อธิบายแสดงข้อมูลประกอบ

๑.๒ ถ้านักเรียนปฏิบัติตนเหมือนไก่แจ้แล้วนักเรียนคิดว่าจะเกิดผลอย่างไร

๒. ช่วยกันเขียนข้อสรุปและเหตุผลประกอบและตกแต่งผลงาน

๓. ส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน

๕.นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูเดินดูสังเกตวิธีคิด การให้เหตุผล และการทำงานของนักเรียนคอยใช้คำถามกระตุ้น เป็นระยะ ๆ เช่น

- ไก่แจ้มีลักษณะอย่างไร เหมือนหรือต่างกับไก่ทั่วไปอย่างไร

- รู้ได้อย่างไร สังเกตอย่างไร

- ทำไมนักเรียนจึงคิดเช่นนั้น

๖.นักเรียนนำเสนอผลงานครูและเพื่อนการนำเสนอโดยไม่แทรกแซงจนจบ ซักถามข้อสงสัยแลกเปลี่ยนแนวคิด

๗.นักเรียนช่วยกันสรุปข้อคิดและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

๘.นักเรียนร้องบทอาขยาน “ไก่แจ้”และเคาะจังหวะพร้อมกัน

๙.นักเรียนคัดลายมือ บทอาขยาน “ไก่แจ้” เป็นการบ้าน

๓) สื่อและแหล่งการเรียนรู้

๑. บทร้องเล่น“กาเอ๋ยกา”

๒. บทอาขยาน “ไก่แจ้”

๓. กระดาษปรู๊ฟ

๔. ปากกาเมจิก

๔) การวัดและการประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

- การร่วมกิจกรรม

- การพูด

- การอ่านออกเสียง

- การตอบคำถาม

- การคัดลายมือ

- การตรวจผลงานนักเรียน

- แบบประเมินการร่วมกิจกรรม- แบบประเมินการพูด

- แบบประเมินการอ่าน

- แบบประเมินการคัดลายมือ

มีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปหรือ มีค่าเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป

- ตอบคำถามได้ถูกต้อง

- ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป

๘.๒ ชั่วโมงที่ ๓๒

๑) จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. ผันวรรณยุกต์อักษรต่ำที่ไม่มีตัวสะกดได้

๒. บอกรูปวรรณยุกต์และเสียงวรรณยุกต์ของอักษรต่ำได้

๓. ทำงานเป็นกลุ่มได้

๒) กิจกรรมการเรียนรู้

๑. Brain Gym กิจกรรมเล่นมือประกอบบทร้องเล่น“กาเอ๋ยกา”

๒. นักเรียนอ่านบทร้องเล่น แม่ไก่ และครูทบทวนการผันวรรณยุกต์

๓.ครูนำทบทวนการผันวรรณยุกต์อักษรสูง โดยครูชูบัตรคำอักษรสูงให้นักเรียนอ่านผันวรรณยุกต์พร้อมกันทีละคำๆ ละ ๒ รอบ พร้อมเคาะจังหวะประกอบ ได้แก่

(สานฉีขา)

๔.ครูติดแผนภูมิการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำบนกระดาน

เสียงสามัญ

เสียงเอก

เสียงโท

เสียงตรี

เสียงจัตวา

นี

-

นี่

นี้

-

ชาง

-

ช่าง

ช้าง

-

ทอง

-

ท่อง

ท้อง

-

๕.นักเรียนฝึกอ่านคำจากแผนภูมิตามครู กลุ่มใหญ่/กลุ่มย่อยผลัดกันอ่านทีละกลุ่มเคาะจังหวะตามจนครบทุกกลุ่ม และอ่านเดี่ยว

๖.นักเรียนเข้ากลุ่ม ตัวแทนกลุ่มรับกระดาษปรู๊ฟ ปากกาเมจิก และบัตรคำ กลุ่มละ ๒ คำ เช่น

(นาชางคำทองโงพี)

๗.กลุ่มนักเรียนช่วยกันฝึกผันวรรณยุกต์คำที่กลุ่มได้รับและเขียนบันทึกลงในกระดาษปรู๊ฟ แล้วฝึกอ่านผันคำที่ได้จนคล่อง ครูเดินดูสงเกตวิธีคิดและการทำกิจกรรมของนักเรียนแต่ละกลุ่มโดยไม่แทรกแซงแนวคิด แต่ใช้คำถามกระตุ้นเป็นระยะ ๆ เช่น

-ผันได้อย่างไรบ้าง

-ผันได้กี่เสียง

-มั่นใจได้อย่างไรว่าถูกต้อง

๘.นักเรียนนำเสนอผลงานอ่านผันวรรณยุกต์คำที่ได้รับครูและเพื่อนฟังการนำเสนอจนจบแล้วซักถามข้อสงสัยแลกเปลี่ยนแนวคิด

๙.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำจากผลงานกลุ่มนักเรียนและแผนภูมิในประเด็น

- อักษรต่ำมีลักษณะอย่างไร

- คำอักษรต่ำที่ไม่มีตัวสะกดผันเสียงวรรณยุกต์ได้อย่างไร

- ผันได้กี่เสียง อะไรบ้าง

-รูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกันหรือไม่อย่างไร

๑๐. นักเรียนเขียนอิสระจากคำที่ชอบ

๓) สื่อและแหล่งการเรียนรู้

๑. บทร้องเล่น“กาเอ๋ยกา”

๒. บทร้องเล่น “แม่ไก่”

๓. บัตรคำอักษรสูง

๔. แผนภูมิการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ

๔) การวัดและการประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

- การร่วมกิจกรรม

- การพูด

- การอ่านออกเสียง

- การตอบคำถาม

- การตรวจผลงานนักเรียน

- การผันวรรณยุกต์คำอักษรต่ำ

- แบบประเมินการร่วมกิจกรรม- แบบประเมินการพูด

- แบบประเมินการอ่าน

มีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปหรือ มีค่าเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป

- ตอบคำถามได้ถูกต้อง

- ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป

๘.๓ ชั่วโมงที่ ๓๓

๑) จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. ผันวรรณยุกต์อักษรต่ำได้

๒. สร้างคำใหม่จากอักษรต่ำที่กำหนดให้ได้

๓. บอกรูปและเสียงวรรณยุกต์อักษรต่ำได้

๔. ทำงานเป็นกลุ่มได้

๒) กิจกรรมการเรียนรู้

๑. Brain Gym เคาะโต๊ะเป็นจังหวะประกอบบทร้องเล่น“กาเอ๋ยกา”

๒. ครูทบทวนการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำชั่วโมงที่ผ่านมา

๓.ครูติดแผนภูมิการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำบนกระดาน นักเรียนฝึกผันคำที่กำหนดให้ออกเสียงถูกต้อง

เสียงสามัญ

เสียงเอก

เสียงโท

เสียงตรี

เสียงจัตวา

นา

-

น่า

น้า

-

ลา

-

ล่า

ล้า

-

ยาย

-

ย่าย

ย้าย

-

แคน

-

แค่น

แค้น

-

รุง

-

รุ่ง

รุ้ง

-

๔.ครูเตรียมบัตรตัวพยัญชนะอักษรต่ำไว้ เช่น

(ทนย)

(คชงร)

๕.นักเรียนเข้ากลุ่ม ตัวแทนกลุ่มรับบัตรตัวพยัญชนะกลุ่มละ ๒ ตัว จากนั้นนักเรียนช่วยกัน สร้างคำใหม่ที่ไม่มีตัวสะกดจากพยัญชนะที่ได้รับบัตรละ ๒ คำ

๖.นักเรียนช่วยกันนำคำที่สร้างใหม่มาฝึกผันวรรณยุกต์ให้คล่องแคล่วแล้วเขียนบันทึกลงในกระดาษปรู๊ฟ

๗.ครูเดินสังเกตวิธีคิดและการทำกิจกรรมของนักเรียนแต่ละกลุ่มและใช้คำถามกระตุ้น

-ได้คำอะไรบ้าง

-ผันได้อย่างไร

-ผันกี่เสียง อย่างไร

-มั่นใจได้อย่างไรว่าถูกต้องแล้ว

๘.นักเรียนนำเสนอผลงานทีละกลุ่ม อ่านผันวรรณยุกต์คำที่สร้าง และติดผลงานไว้หน้าชั้นเรียนครูและเพื่อนฟังการนำเสนอ ซักถามข้อสงสัยแลกเปลี่ยนแนวคิด

๙.ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปผลงานนักเรียนในประเด็น

- อักษรที่ใช้ผันวรรณยุกต์เป็นอย่างไร

- เสียงวรรณยุกต์ทีผันได้เป็นอย่างไร

๑๐. นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะ “ เขียนผันวรรณยุกต์อักษรต่ำที่ชอบ จำนวน ๓ คำ”

๓) สื่อและแหล่งการเรียนรู้

๑. บทร้องเล่น“กาเอ๋ยกา”

๒. แผนภูมิ

๓. บัตรตัวพยัญชนะอักษรต่ำ

๔. แบบฝึกเสริมทักษะ

๔) การวัดและการประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

- การร่วมกิจกรรม

- การพูด

- การอ่านออกเสียง

- การตอบคำถาม

- การสร้างคำใหม่

- การผันวรรณยุกต์คำอักษรต่ำไม่มีตัวสะกด

- แบบประเมินการร่วมกิจกรรม- แบบประเมินการพูด

- แบบประเมินการอ่าน

มีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปหรือ มีค่าเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป

- ตอบคำถามได้ถูกต้อง

- ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป

๘.๔ ชั่วโมงที่ ๓๔

๑) จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. รวบรวมคำที่สะกดด้วยมาตราแม่กนได้

๒. จัดกลุ่มคำที่สะกดด้วยมาตราแม่กนได้

๓. บอกแนวคิดในการจัดกลุ่มคำได้

๔. บอกวิธีอ่านคำที่สะกดด้วยมาตราแม่กน ได้

๕. ทำงานเป็นทีมได้

๒) กิจกรรมการเรียนรู้

๑. Brain Gym เคาะแก้วเป็นจังหวะประกอบบทร้องเล่น“กาเอ๋ยกา”

๒. ทบทวนบทเรียนชั่วโมงที่ผ่านมา การผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ

๓.ครูติดแผนภูมินิทานเรื่อง “ขอทานผู้ใจบุญ” และอ่านให้นักเรียนฟัง

๔.นักเรียนอ่านนิทานเรื่อง “ขอทานผู้ใจบุญ” พร้อมกัน อ่านกลุ่มใหญ่ อ่านกลุ่มย่อย

๕.นักเรียนเข้ากลุ่ม ตัวแทนกลุ่มรับคำชี้แจงและอุปกรณ์ ได้แก่ กระดาษปรู๊ฟ และปากกาเมจิก แล้วอ่านคำชี้แจงพร้อมกัน ๒ รอบ

คำชี้แจง

๑. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านนิทานเรื่อง “ขอทานผู้ใจบุญ” แล้วช่วยกันทำกิจกรรม ดังนี้

๑.๑ ค้นคำที่สะกดด้วยมาตราแม่กนในนิทานให้ได้จำนวนมากที่สุด

๑.๒ จัดกลุ่มคำที่สะกดด้วยมาตราแม่กน

๑.๓ บอกเหตุผลประกอบการจัดกลุ่ม

๒. ช่วยกันเขียน ออกแบบและตกแต่งผลงาน

๓. ส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน

๖.นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูสังเกตวิธีคิด การให้เหตุผลของนักเรียน และคอยใช้คำถามกระตุ้นเป็นระยะๆ เช่น

- คำใดที่สะกดด้วยตัวสะกดมาตราแม่ กน

- ทำไมจึงคิดว่าเป็นคำในมาตราแม่ กน มั่นใจได้อย่างไร

- มีวิธีการสังเกตอย่างไร

- นักเรียนใช้เกณฑ์ใดในการจัดกลุ่มคำอย่างไร

๗.นักเรียนนำเสนอผลงาน ครูและเพื่อนฟังการนำเสนอโดยไม่แทรกแซงจนจบ ซักถามข้อสงสัยแลกเปลี่ยนแนวคิด

๘.ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปในประเด็น

-การอ่านคำในมาตราตัวสะกด แม่กน เป็นอย่างไร

- ตัวสะกดในมาราแม่กน มีอะไรบ้าง

๙.นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะ

๓) สื่อและแหล่งการเรียนรู้

๑. บทร้องเล่น“กาเอ๋ยกา”

๒. นิทานเรื่อง “ขอทานผู้ใจบุญ”

๓. กระดาษปรู๊ฟ

๔. ปากกาเมจิก

๕. แบบฝึกเสริมทักษะ

๔) การวัดและการประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

- การร่วมกิจกรรม

- การพูด

- การอ่าน การเขียนคำที่มีตัวสะกดในมาตราแม่กน

- การตอบคำถาม

- การตรวจผลงานนักเรียน

- แบบประเมินการร่วมกิจกรรม- แบบประเมินการพูด

มีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปหรือ มีค่าเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป

- ตอบคำถามได้ถูกต้อง

- ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป

๘.๕ ชั่วโมงที่ ๓๕

๑) จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. สร้างคำใหม่จากคำที่กำหนดให้ได้

๒. อ่านออกเสียงคำอักษรต่ำได้

๓. แต่งประโยคจากคำที่กำหนดให้ได้

๔. บอกโครงสร้างของประโยคได้

๕. ทำงานเป็นกลุ่มได้

๒) กิจกรรมการเรียนรู้

๑. Brain Gym แสดงท่าทางอิสระประกอบบทร้องเล่น“กาเอ๋ยกา”

๒. ครูทบทวนการเรียนชั่วโมงที่ผ่านมา “คำมาตราตัวสะกดแม่กน”

๓.ครูติดแผนภูมิการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำบนกระดาน ให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน ๑ รอบ อ่านกลุ่มย่อย ทีละกลุ่ม และเคาะจังหวะตาม

แผนภูมิการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ

เสียงสามัญ

เสียงเอก

เสียงโท

เสียงตรี

เสียงจัตวา

คา

-

ค่า

ค้า

-

คัน

-

คั่น

คั้น

-

ยา

-

ย่า

ย้า

-

โลน

-

โล่น

โล้น

-

คน

-

ค่น

ค้น

-

ชาง

-

ช่าง

ช้าง

-

๔.นักเรียนเลือกคำที่ชอบ ๑ คำจากแผนภูมิการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ

๕.นักเรียนสร้างคำใหม่จากคำที่เลือกให้ได้จำนวนคำมากที่สุด (เวลา ๒ นาที) คนที่สร้างถูกต้อง และจำนวนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ

๖.ครูติดบัตรคำบนกระดาน ๕ คำ เช่น คัน น้ำ ยา ร้อน ไล่ และคำชี้แจง นักเรียนอ่านพร้อมกัน ๒ รอบ

๗.นักเรียนเข้ากลุ่ม ตัวแทนกลุ่มรับคำชี้แจงและอุปกรณ์ ได้แก่ กระดาษปรู๊ฟและปากกาเมจิก แล้วอ่านคำชี้แจงพร้อมกัน ๒ รอบ

คำชี้แจง

๑. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกัน นำคำบนกระดานมาแต่งเป็นประโยคให้ได้

ประโยคจำนวนมากและหลากหลายที่สุด

๒. ออกแบบตกแต่งผลงาน

๓. ส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน

๘.นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูเดินสังเกตวิธีคิด การให้เหตุผลและการทำกิจกรรมของนักเรียนโดยไม่แทรกแซงแนวคิด และคอยใช้คำถามกระตุ้น

- แต่งประโยคอย่างไรดี

- เป็นประโยคหรือไม่ มั่นใจได้อย่างไร

- แต่งแบบอื่นได้อีกไหม

๙.นักเรียนนำเสนอผลงาน ครูและเพื่อนฟังการนำเสนอจนจบแล้วซักถามข้อสงสัย แลกเปลี่ยนแนวคิด

๑๐. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปในประเด็น

- วิธีตรวจสอบประโยค

-องค์ประกอบของประโยคที่แต่ง

- ลักษณะของประโยคที่แต่ง

๑๑. นักเรียนเลือกหนังสืออ่านระหว่างวันหยุดตามความสนใจ (อ่านเป็นการบ้าน) ครูนำสนทนาให้นำเสนอทีละคนในประเด็น

- เลือกหนังสืออะไร ใครแต่ง/แปล/เขียนภาพประกอบ

- มีเหตุผลในการเลือกอย่างไร

๑๒. นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะ

๓) สื่อและแหล่งการเรียนรู้

๑. บทร้องเล่น“กาเอ๋ยกา”

๒. แผนภูมิการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ

๓. แบบฝึกเสริมทักษะ

๔) การวัดและการประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

- การร่วมกิจกรรม

- การอ่านออกเสียง

- การพูด

- การตอบคำถาม

- การสร้างคำใหม่

- การแต่งประโยค

- การตรวจผลงานนักเรียน

- แบบประเมินการร่วมกิจกรรม- แบบประเมินการอ่าน

- แบบประเมินการพูด

มีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปหรือ มีค่าเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป

- ตอบคำถามได้ถูกต้อง

- เขียนคำได้ถูกต้อง

- แต่งประโยคได้ถูกต้อง

- ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป

ภาคผนวกหน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ชั่วโมงที่ ๓๑

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ชั่วโมงที่ ๓๒

(อักษรต่ำมี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ น ท ธ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮผันได้ 3 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงโท (วรรณยุกต์เอก) เสียงตรี (วรรณยุกต์โท))

เสียงสามัญ

เสียงเอก

เสียงโท

เสียงตรี

เสียงจัตวา

นี

-

นี่

นี้

-

ชาง

-

ช่าง

ช้าง

-

ยา

-

ย่า

ย้า

-

แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ชั่วโมงที่ ๓๒

***************************************************************************************************

คำชี้แจง ให้นักเรียนหาคำอักษรต่ำและผันวรรณยุกต์ให้ถูกต้องแล้วอ่าน

เสียงสามัญ

เสียงเอก

เสียงโท

เสียงตรี

เสียงจัตวา

คำชี้แจง ให้นักเรียนนักเรียนเขียนแผนผังความคิด ผันวรรณยุกต์อักษรต่ำให้ได้มากที่สุด

(ผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ)

แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ชั่วโมงที่ ๓๓

**********************************************************************************************

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ชั่วโมงที่ ๓๔

(นิทานเรื่อง “ขอทานผู้ใจบุญ” ยุพิน โพธิ์ทองมีชายขอทานคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในพื้นที่กันดารมาก การสัญจรก็ไม่สะดวก อาหารก็ขาดแคลน แต่ชายขอทานเป็นคนชอบทำบุญเพราะเชื่อคำโบราณที่ว่า “ทำดีได้ดี” วันหนึ่งขณะที่ชายขอทานเดินขอทานไปในหมู่บ้าน ก็เจอคนพาลใจทมิฬดุด่าและทำท่าจะทำร้าย ทหารใจบุญเดินผ่านมาบริเวณนั้นพอดีจึงไล่คนพาลหนีไปและเอาอาหารให้ชายขอทาน ชายขอทานกล่าวขอบคุณและสัญญาว่าจะไม่ลืมบุญคุณของทหารผู้กล้าหาญคนนี้เลย ชายขอทานได้นำอาหารที่ได้มาไปถวายเพลที่วัดในหมู่บ้านด้วยจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความสุข)

แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตราแม่กนหน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ชั่วโมงที่ ๓๔

**********************************************************************************************

คำชี้แจง ให้นักเรียนหาคำที่สะกดด้วยตัวสะกดมาตราแม่กน จำนวน 15 คำให้ครบ

(ขอทานนยดเกพทอาหารดหฟพวกัาบขาพคนพาลนนจคุฟาะโพดใยไดนณงผพหสัญจรดารสาพะกญตทหารบโบรานญอมิทมฝริเวมทกาดฬฟแกเกล้าหาญคพหงะวสาหฟกรทําบุญคุณหเขาดแคลนานพถพดะสาภในบรร) (ขอทาน กันดาร สัญจร อาหาร ทำบุญ โบราณคนพาล ใจทมิฬ ทหาร บริเวณ ขอบคุณ สัญญาบุญคุณ กล้าหาญ เพล)

แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนคำ สร้างคำและแต่งประโยคหน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ชั่วโมงที่ ๓๕

*************************************************************************************************

คำชี้แจง ให้นักเรียนนำคำที่กำหนดให้เรียงเป็นประโยค

(ตัวอย่างเจอชายขอทานทหารในหมู่บ้าน3.2.ตื่นนอนทุกวันแต่เช้าน้องกิ่ง1.4.กินคุณยายหมากชอบน้ำหอมมะพร้าวอร่อยมากมีรสชาติเจอชายขอทานทหารในหมู่บ้าน5.ตลอดวันเล่นน้ำแป้งทะเลชายขอทานเจอทหารในหมู่บ้าน)

ตัวอย่างเรื่องน่าอ่าน

ที่มา : หนังสือภาษาพาเพลิน ป. 2 เล่ม 3

นิทานเรื่องสุนัขผู้ซื่อสัตย์

มีบ้านอยู่หลังหนึ่งได้เลี้ยงสุนัขเอาไว้เฝ้าบ้าน สุนัขตัวนั้นมีความซื่อสัตย์เป็นมากในยามกลางคืนแม้แต่ในขณะที่มันนอนหลับอยู่ซึ่งหากมันได้ยินเสียงอะไรที่ผิดปกติมันก็จะลุกขึ้นมาเห่าเสมอไปเพื่อที่จะเตือนภัยเเก่เจ้าของบ้านมีอยู่คืนหนึ่ง มันได้ยินเสียงคนย่ำใบไม้ดังกรอบเเกรบเสียงนั้นดังเเผ่วเบามาแต่ดังที่บริเวณใกล้รั้วบ้านถึงเเม้มันจะไม่เห็นว่าเป็นใครมันก็ส่งเสียงเห่าคำรามขู่ไว้อย่างไม่ขาดปากเจ้าหัวขโมยจึงได้โยนเนื้อที่ชุบยาเบื่อเอาไว้  เข้ามาในรั้วเพื่อหวังให้สุนัขตัวนี้กิน แต่สุนัขเฝ้าบ้านเดินเข้าไปดมๆเเต่ก็ไม่กินแต่อย่างใดมันยังคงเห่าต่อไปจนกระทั่งเจ้าของบ้านออกมาดูเเล้วก็ช่วยกันจับขโมยเอาไว้ได้ในที่สุด

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

อามิสสินบนนั้นซื้อความซื่อสัตย์ภัคดีไม่ได้

http://www.nithan.in.th

เกณฑ์การประเมิน

การร่วมกิจกรรม

รายการประเมิน

ระดับคุณภาพ

๑. ความตั้งใจ

มีความกระตือรือร้น

ในการเรียน ไม่รีรอ

ตั้งใจเรียน ตั้งใจฝึก

รีบตอบคำถาม ซักถาม

เมื่อสงสัย

มีความกระตือรือร้น

ในการเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจฝึกไม่กล้าซักถาม รีรอในการตอบคำถาม

ขาดความกระตือรือร้น

ในการเรียน ไม่ตั้งใจฝึก

ไม่กล้าซักถาม ไม่ตอบคำถาม

๒. ความรับผิดชอบ

รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายดี ส่งงานทันเวลาทุกครั้ง

รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานไม่ตรงเวลา แก้ไขงานเสร็จ

หลังชั่วโมงเรียน

ขาดความรับผิดชอบ

ทำงานไม่เสร็จและ

ส่งงานไม่ทันเวลา แก้ไขงานของตนเองไม่ได้

๓. การให้ความร่วมมือ

ให้ความร่วมมือ

ในการเรียนอย่างเต็มความสามารถตลอดเวลา

ให้ความร่วมมือแต่ไม่ต่อเนื่อง ต้องคอยตักเตือนบ้าง

ให้ความร่วมมือ

ในการเรียนเมื่อถูกตักเตือน

๔. การให้ความช่วยเหลือเพื่อน

ให้ความช่วยเหลือเพื่อนทั้งในและนอกกลุ่มที่ขอความช่วยเหลือ

ให้ความช่วยเหลือเพื่อนเฉพาะกลุ่มตนเองหรือคนที่ชอบใจเท่านั้น

ไม่ให้ความช่วยเหลือเพื่อน ทำงานลำพัง

คนเดียว

การพูด

รายการประเมิน

ระดับคุณภาพ

๑. พูดตรงประเด็น

พูดตรงประเด็น เรียงลำดับเรื่องราวได้เป็นลำดับ ไม่วกวน

พูดตรงประเด็น เรียงลำดับเรื่องราวไม่เรียงลำดับเหตุการณ์บ้างแต่ทำให้เข้าใจเรื่องราวได้

พูดออกนอกประเด็น เรียงลำดับเรื่องราววกวน

เข้าใจยาก

๒. พูดมีเหตุผล

ให้เหตุผลในการพูดได้เหมาะสม หรือยกตัวอย่างได้น่าเชื่อถือ

ให้เหตุผลในการพูดได้บ้าง หรือยกตัวอย่างได้แต่ยังไม่เพียงพอในการให้เหตุผลนั้น

ให้เหตุผลในการพูดได้น้อยหรือยกตัวอย่างได้ไม่น่าเชื่อถือ

๓. ความคล่องแคล่ว

พูดได้คล่องแคล่วหากพูดพลาดสามารถแก้ไขการพูดให้ถูกต้องได้รวดเร็ว

พูดติดขัดบ้าง แต่สามารถแก้ไขการพูดให้ถูกต้องได้เร็ว

พูดผิดบ่อยๆ แก้ไขให้ถูกต้องได้ช้า ต้องให้ผู้อื่นบอก

๔. บุคลิกท่าทาง

ท่าทางในการพูดมีความมั่นใจ แสดงท่าทางประกอบการพูดได้ดี สื่อความได้

ท่าทางในการพูดแสดงความไม่มั่นใจอยู่บ้าง แสดงท่าทางประกอบการพูดน้อย

ท่าทางในการพูดขาดความมั่นใจ ต้องคอยหาคนช่วยอยู่เสมอ ไม่แสดงท่าทางประกอบการพูด

การอ่าน

รายการประเมิน

ระดับคุณภาพ

๑. อักขระถูกต้อง

อ่านออกเสียงถูกต้อง ชัดเจนร้อยละ 90 ของคำทั้งหมดขึ้นไป

อ่านออกเสียงถูกต้อง ชัดเจนมากว่าร้อยละ 60 น้อยกว่าร้อยละ 90 ของคำทั้งหมดขึ้นไป

อ่านออกเสียงถูกต้อง ชัดเจนน้อยว่าร้อยละ 60 ของคำทั้งหมด

๒. เว้นวรรคตอนถูกต้อง

อ่านเว้นวรรคตอนถูกต้อง ร้อยละ 90 ของคำทั้งหมดขึ้นไป

อ่านเว้นวรรคตอนถูกต้อง มากว่าร้อยละ 60 น้อยกว่าร้อยละ 90 ของคำทั้งหมดขึ้นไป

อ่านเว้นวรรคตอนถูกต้อง น้อยว่าร้อยละ 60 ของคำทั้งหมด

๓. ความคล่องแคล่ว

อ่านได้คล่องแคล่วหากอ่านพลาดสามารถแก้ไขการอ่านให้ถูกต้องได้รวดเร็ว

อ่านติดบางคำ แต่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้เร็ว

อ่านติดบ่อยๆ แก้ไขให้ถูกต้องได้ช้า ต้องให้ผู้อื่นบอก

การคัดลายมือ

รายการประเมิน

ระดับคุณภาพ

๑. ตัวอักษรและระยะห่างของตัวอักษร

รูปแบบและขนาดตัวอักษรสม่ำเสมอ ระยะห่างของตัวอักษรเท่ากัน

รูปแบบและขนาดตัวอักษรไม่สม่ำเสมอบางส่วน ระยะห่างของตัวอักษรไม่เท่ากันบ้าง

ส่วนใหญ่รูปแบบและขนาดตัวอักษรไม่สม่ำเสมอ ระยะห่างของตัวอักษรไม่เท่ากัน

๒. สะกดคำถูกต้อง

เขียนสะกดคำได้ถูกต้องทุกคำ

เขียนสะกดคำได้ถูกต้อง มากว่าร้อยละ ๘0 ของคำทั้งหมดขึ้นไป

เขียนสะกดคำได้ถูกต้อง น้อยว่าร้อยละ ๘0 ของคำทั้งหมด

๓. ความสะอาดเป็นระเบียบ

เขียนสม่ำเสมอ เป็นระเบียบสะอาด มีการแก้ไขคำผิดทำได้สะอาด

เขียนไม่สม่ำเสมอ แต่เป็นระเบียบสะอาด มีการแก้ไขคำผิดไม่สะอาดบ้าง

เขียนไม่สม่ำเสมอ มีรอยแก้ไขคำผิดไม่สะอาด