40
จริงหรือทเค้าว่า.... เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไทย

Pttep book2

Embed Size (px)

DESCRIPTION

 

Citation preview

Page 1: Pttep book2

จริงหรือที่เค้าว่า....เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไทย

Page 2: Pttep book2
Page 3: Pttep book2

เค้าบอกว่า...

ทำ ไม?

ท่ามกลางเสียงลือ... ข้อสงสัย...คำาถามมากมายเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไทย

...พบความจริง และคำาตอบที่จะช่วยไขข้อข้องใจ

เพื่อความเข้าใจอย่างแท้จริง

จริงหรือ

Page 4: Pttep book2

ปัญหาด้านพลังงานของไทย 5

สาเหตุที่ทำาให้ไทยมีปัญหาด้านพลังงาน 6

แนวทางแก้ไขปัญหาพลังงานในประเทศไทย 7

วิธีปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาด้านพลังงาน 8

สถานการณ์พลังงาน 9

ศักยภาพพลังงาน 16

ราคาพลังงาน 27

ระบบสัมปทาน 33

Contentsสารบัญ

Page 5: Pttep book2

1 ประเทศไทยต้องนำาเข้าพลังงาน (ใช้มากกว่าผลิตได้)

2 มูลค่านำาเข้าพลังงานทุกประเภท (มากกว่า 1.4 ล้านล้านบาทต่อปี)

ปัญหาด้านพลังงานของไทย

5

Page 6: Pttep book2

สาเหตุที่ทำาให้ไทยมีปัญหาด้านพลังงาน

1 ศักยภาพปิโตรเลียมไม่มาก

2 การใช้พลังงานด้อยประสิทธิภาพ

3 การบริหารจัดการขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

4 การกำาหนดนโยบายพลังงานที่ชัดเจนและปฏิบัติต่อเนื่องในทุกระดับ

6

Page 7: Pttep book2

แนวทางแก้ไขปัญหาพลังงานในประเทศไทย

1 ผลักดันการสำารวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมในประเทศให้เต็มศักยภาพ

2 สนับสนุนให้บริษัทสำารวจและผลิตปิโตรเลียมของไทยไปลงทุน และเป็นเจ้าของทรัพยากรในต่างประเทศ

3 ใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

4 ใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่สามารถจัดหา ได้ภายในประเทศ

5 เสริมสร้างระบบการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ (ระบบสัมปทาน การกำากับดูแล โครงสร้างภาษี ราคาขายส่ง และราคาขายปลีก สภาพการแข่งขัน)

7

Page 8: Pttep book2

วิธีปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาด้านพลังงาน1 ระบบสัมปทานที่มีเงื่อนไขสมดุล

2 กำากับการสำารวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมให้มีความต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุด

3 สนับสนุนบริษัทน้ำามันของชาติให้เข้มแข็งไปหาปิโตรเลียมทั่วโลก

4 พัฒนาระบบขนส่งมวลชน ระบบราง ระบบท่อ เพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

5 จัดทำาโครงการส่งเสริมประหยัดพลังงาน

6 ส่งเสริมการดำาเนินธุรกิจปิโตรเลียมให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม

7 กำาหนดนโยบายเชื้อเพลิงที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

8 กำาหนดโครงสร้างภาษีและกองทุนน้ำามันเพื่อให้ผู้บริโภคในปัจจุบัน ร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายในการเตรียมการในอนาคต

9 สนับสนุนให้องค์กรกำากับดูแลสามารถทำาหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระตรวจสอบได้

10 เผยแพร่ข้อมูลอย่างถูกต้องและโปร่งใส สร้างความรู้ ความเข้าใจด้านพลังงานให้กับประชาชน

8

Page 9: Pttep book2

จริงหรือ? ไทยมีก๊าซธรรมชาติเยอะ ทำาไมต้องนำาเข้าอีก

สถานการณ์พลังงาน

9

Page 10: Pttep book2

ความจริงก็คนไทยใช้ ก๊าซธรรมชาต ิมากกว่าที่ผลิตได้เอง เราใช้ 100%หาได้เอง 80% อีก 20% เราก็ต้องนำาเข้าส ิ(รวมมูลค่าการนำาเข้าก๊าซแอลพีจี)

10

ณ สิ้นปี 2556 ประเทศไทยมีปริมาณสำารองก๊าซธรรมชาติพิสูจน์แล้ว ประมาณ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต (คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.15% ของโลก)ถือว่ามีปริมาณไม่มาก จัดอยู่ในอันดับ 40 ของโลก และผลิตได้วันละ ประมาณ 4 พันล้านลูกบาศก์ฟุต (อันดับ 22 ของโลก) แต่กลับใช้มากกว่าที่ผลิตได้ คือวันละ 5 พันล้านลูกบาศก์ฟุต (อันดับที่ 15 ของโลก) ทำาให้ต้องนำาเข้า ก๊าซแอลเอ็นจี (LNG) ก๊าซแอลพีจี (LPG)รวมถึงก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์ คิดเป็นมูลค่าการนำาเข้าก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 147,000 ล้านบาท

Page 11: Pttep book2

จริงหรือ? พลังงานจะเหลือใช้อีก แค่ 7ปี ทำาให้คนกลัวไปทำาไม? ชอบขู่กันจัง

11

Page 12: Pttep book2

ปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ค้นพบและพิสูจน์แล้วมีให้ใช้ไปอีกแค่ 7 ปี ถ้าผลิตเท่าเดิมและไม่ลงทุนสำารวจหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม

ความจริง

ถ้าไม่หาเพิ่ม7ปี หมดแน่

จำานวนปีที่ประเทศจะเหลือก๊าซธรรมชาติไว้ใช้ คิดจากการนำาปริมาณสำารองที่พิสูจน์แล้วว่ามีความมั่นใจ 90% (ประมาณ 8.4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต) หารด้วยปริมาณที่ผลิตขึ้นมาใช้ต่อปี (1.2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต) ผลลัพธ์คือ 7 จึงเห็นได้ว่าหากไทยยังผลิตก๊าซฯเท่าเดิมและไม่สำารวจเพิ่ม จะมีก๊าซธรรมชาติให้ใช้ได้อีกเพียง 7 ปีเท่านั้น ทั้งนี้ การเจาะสำารวจพบปิโตรเลียมจนถึงวันที่เริ่มผลิตขึ้นมาใช้ได้ต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี ดังนั้นต้องรีบดำาเนินการสำารวจหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม ก่อนที่ประเทศจะเกิดปัญหาวิกฤติพลังงาน

12

Page 13: Pttep book2

จริงหรือ? ที่บอกว่าไทยมีน้ำามันน้อย แล้วทำาไมยังส่งออก

ทั้งน้ำามันดิบและน้ำามันสำาเร็จรูป

13

Page 14: Pttep book2

ความจริงไทยส่งออกน้ำามันดิบเพียง 5% เท่านั้น เพราะคุณภาพไม่เหมาะกับโรงกลั่นของไทยถ้าฝืนกลั่นไป โรงกลั่นจะเสียหายมหาศาล

ปัจจุบัน ไทยผลิตน้ำามันดิบได้เองประมาณ 149,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งน้ำามันดิบที่ผลิตได้เองนี้มีการส่งออกประมาณ 26,000 บาร์เรลต่อวันเนื่องจากเป็นน้ำามันดิบที่คุณภาพไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นของไทย เช่น ให้ผลิตภัณฑ์น้ำามันสำาเร็จรูปในสัดส่วนที่ไม่เหมาะกับความต้องการใช้ภายในประเทศ โรงกลั่นไม่มีอุปกรณ์กลั่นที่สามารถแยกสารเจือปนที่มากับน้ำามันดิบที่ผลิตในประเทศ เป็นต้น

14

Page 15: Pttep book2

ความจริงไทยส่งออก น้ำามันสำาเร็จรูป เพราะน้ำามันดิบ (ที่นำาเข้ามากลั่น) จะได้น้ำามันสำาเร็จรูปหลายชนิด บางชนิดใช้หมด บางชนิดใช้ไม่หมด จึงต้องส่งออก

น้ำามันดิบที่ได้ทั้งจากการนำาเข้าและการผลิตในประเทศเฉลี่ยวันละ 1.1 ล้านบาร์เรลนั้น จะถูกส่งเข้าโรงกลั่นน้ำามัน โดยใช้กำาลังการกลั่นให้เต็มประสิทธิภาพเพื่อกลั่นออกมาเป็นน้ำามันสำาเร็จรูปหลายชนิด (เบนซิน ดีเซล น้ำามันเตา น้ำามันอากาศยาน ฯลฯ) ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน ซึ่งบางชนิดได้เกินความต้องการใช้ภายในประเทศ จึงต้องมีการส่งออก

15

Page 16: Pttep book2

ศักยภาพพลังงาน

เมืองไทยมีน้ำามันและก๊าซธรรมชาติมากมายมหาศาลเหมือนซาอุฯ

จริงหรือ?

16

Page 17: Pttep book2

ความจริงไทยมีน้ำามันเป็นอันดับ 48 ของโลก (0.03% ของโลก)แต่ซาอุฯมีมากกว่าไทย

500เท่ามีมากเป็นอันดับ 2 ของโลก

ประเทศไทยมีปริมาณสำารองน้ำามันและคอนเดนเสทพิสูจน์แล้วที่ความเชื่อมั่น 90% ประมาณ 460 ล้านบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.03% หรืออันดับที่ 48 ของโลก ขณะที่ซาอุดิอาระเบียมีปริมาณสำารองน้ำามันและคอนเดนเสทพิสูจน์แล้วประมาณ 266,000 ล้านบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วน 16% หรืออันดับที่ 2 ของโลก

17

Page 18: Pttep book2

ความจริงไทยมีก๊าซธรรมชาติไม่มาก โดยมีปริมาณก๊าซเป็นอันดับที่ 40 ของโลก แต่ซาอุฯมีมากกว่าไทยถึง

29 เท่ามีมากเป็นอันดับ 5 ของโลก

ประเทศไทยมีปริมาณสำารองก๊าซธรรมชาติพิสูจน์แล้วที่ความเชื่อมั่น 90% ประมาณ 8.4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.15% หรือ อันดับที่ 40 ของโลก ขณะที่ซาอุดิอาระเบียมีปริมาณสำารองก๊าซธรรมชาติพิสูจน์แล้ว ประมาณ 290 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นสัดส่วน 4.3% หรืออันดับที่ 5 ของโลก

18

Page 19: Pttep book2

* ข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ประเทศไทยมีแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมไม่มาก ปัจจุบันจึงต้องนำาเข้าพลังงานทุกรูปแบบ คิดเป็นจำานวนเงินนำาเข้าพลังงานสุทธิกว่าปีละ 1.4 ล้านล้านบาทถ้าเทียบกับการส่งออกข้าว กว่าเราจะหาเงิน

ได้ 1.4 ล้านล้านบาท ต้องส่งออกข้าวถึง 16 ปีเลยนะ*

ความจริง

เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานทุกประเภทของคนไทยที่ประมาณ 2 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำามันดิบต่อวันกับอัตราการผลิตปิโตรเลียมในประเทศประมาณ 0.9 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำามันดิบต่อวันแล้ว เราสามารถสรุปได้ว่าคนไทยหาปิโตรเลียมได้เองแค่ 40% ของความต้องการใช้พลังงานในแต่ละวัน ทำาให้ประเทศต้องสูญเสียเงินเพื่อนำาเข้าพลังงานทุกประเภทให้คนในประเทศมีใช้อย่างเพียงพอ เฉพาะปี 2556 คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 1.4 ล้านล้านบาท หรือเทียบได้กับมูลค่าการส่งออกข้าวของไทยรวมกันถึง 16 ปี

19

Page 20: Pttep book2

*ข้อมูลอัตราส่วนประมาณการ **รวมมูลค่าการนำาเข้า LPG แหล่งข้อมูล: กระทรวงพลังงาน

ประเทศไทยต้องนำ�เข้าพลังงานทุกประเภท

ในปี 2556 ไทยนำาเข้าน้ำามันดิบ 85% ถ่านหิน/ลิกไนต์ 70% ก๊าซธรรมชาติ 20% น้ำามันสำาเร็จรูป 10% และไฟฟ้า 4% รวมมูลค่าการนำาเข้าพลังงาน ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท

20

Page 21: Pttep book2

แอ่งสะสมตะกอนมีอยู่ทั่วประเทศ ทำาไมชอบอ้างว่าไม่มีน้ำามันและก๊าซ

จริงหรือ?

21

Page 22: Pttep book2

แอ่งสะสมตะกอนทุกแอ่ง ไม่ได้หมายความว่าจะมีน้ำามันและก๊าซธรรมชาตินะจ๊ะ

ใช่ว่า แอ่งสะสมตะกอนทุกแอ่งจะมีน้ำามัน และก๊าซธรรมชาตินะ

ความจริง

ประเทศไทยมีศักยภาพปิโตรเลียมไม่มาก แอ่งสะสมตะกอนที่กระจัดกระจายอยู่ไม่ใช่แหล่งปิโตรเลียม เพราะการเป็นแหล่งปิโตรเลียมได้ต้องมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ มีหินต้นกำาเนิด (Source Rock) การเคลื่อนที่ (Migration) หินกักเก็บ (Reservoir Rock) โครงสร้างกักเก็บ (Trap) และหินปิดกั้น (Cap Rock) การยืนยันปริมาณปิโตรเลียมที่ในเบื้องต้นคาดว่าจะมีในแอ่งสะสมตะกอนนั้น จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำารวจทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ การเจาะหลุมสำารวจและหลุมประเมินผล ซึ่งผลที่ได้อาจไม่มีปิโตรเลียมอยู่เลย หรือมีน้อยกว่าที่คาดไว้เดิม หรือมีในปริมาณที่ไม่คุ้มทุนต่อการพัฒนาและผลิตภายใต้สภาพเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน

22

Page 23: Pttep book2

เมืองไทย เจาะตรงไหนก็เจอก๊าซ เจอน้ำามัน

จริงหรือ?

23

Page 24: Pttep book2

เมืองไทย เจาะหลุมสำารวจน้ำามันและก๊าซ 10 หลุม มีโอกาสเจอแค่ 1 หลุม

ความจริง

จากสถิติจำานวนหลุมสำารวจที่เจาะทั่วประเทศระหว่างปี 2552 – 2554 จำานวน 70 หลุม มีหลุมที่พบปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์เพียง 7 หลุม แสดงว่าโอกาสการเจาะและพบปิโตรเลียมของไทยมีเพียง 10% โดยบริเวณที่สำารวจพบ จะต้องเจาะหลุมผลิตอีกหลายหลุม เนื่องจากโครงสร้างทางธรณีวิทยาของไทยเป็นกระเปาะเล็กๆ อยู่กระจัดกระจาย ส่งผลให้ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตปิโตรเลียมสูงขึ้นตามไปด้วย

24

Page 25: Pttep book2

มาเลเซียมีแหล่งน้ำามันตั้งเยอะ ประเทศเราอยู่ติดกับเค้า สภาพภูมิประเทศก็เหมือนกัน

แล้วยังอ้างว่าไม่มีแหล่งน้ำามันเท่าเค้า

จริงหรือ?

25

Page 26: Pttep book2

ไทยและมาเลเซียอยู่ติดกันก็จริง แต่มสีภาพทางธรณีวิทยาต่างกันมีศักยภาพปิโตรเลียมต่างกัน จึงพบแหล่งน้ำามันในมาเลเซียมากกว่าไทยขนาดลาวอยู่ติดกับไทยยังไม่พบน้ำามันเลย

ความจริง

การกล่าวอ้างว่าพื้นที่นอกชายฝั่งด้านอ่าวไทยของไทยและมาเลเซียมีแอ่งตะกอนและแหล่งปิโตรเลียมแบบเดียวกันนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด เห็นได้จากผลจากศึกษาของสำานักงานธรณีวิทยาของอเมริกา ซึ่งระบุว่าแอ่งสะสมตะกอนมาเลเซียที่มีอาณาเขตต่อเนื่องขึ้นมาถึงอ่าวไทยตอนล่างนั้นเป็นคนละแอ่งตะกอนกับอ่าวไทยตอนบน และแอ่งตะกอนในอ่าวไทยส่วนใหญ่เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ ขณะที่ในมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นแหล่งน้ำามัน

26

Page 27: Pttep book2

ราคาน้ำามันไทยแพง เพราะต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์ แล้วทำาไมต้องอ้างอิงด้วยล่ะ

ราคาพลังงาน

จริงหรือ?

27

Page 28: Pttep book2

สิงคโปร์เป็นตลาดกลางซ้ือขายน้ำามัน ทุกประเทศในเอเชียก็อ้างอิงราคาสิงคโปร์กันท้ังน้ัน

เหมือนการซ้ือขายทอง ก็ต้องอ้างอิงราคาฮ่องกงเป็นหลัก

ความจริง

ราคาน้ำามันในเอเชียส่วนใหญ่จะอ้างอิงกับราคาน้ำามันดูไบและมีสิงคโปร์เป็นตลาดกลาง ดังนั้น ถึงแม้ดูไบจะเป็นน้ำามันตะวันออกกลาง แต่ตลาดซื้อขายหลักในเอเชียคือสิงคโปร์ ไทยจึงอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์ ส่วนราคาขายจริงสำาหรับแต่ละประเทศจะแตกต่างกันตามค่าขนส่งไปยังประเทศนั้นๆ สิงคโปร์มีค่าขนส่งมายังไทยต่ำาที่สุด ดังนั้น การอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์จึงทำาให้ต้นทุนเนื้อน้ำามันของไทยต่ำาที่สุด

ซ้ือขายราคากลางกันท้ังน้ัน

28

Page 29: Pttep book2

คนไทยซื้อน้ำามันและก๊าซราคาแพงกว่าหลายประเทศ

จริงหรือ?

29

Page 30: Pttep book2

ต้นทุนเนื้อน้ำามันสำาเร็จรูปใกล้เคียงกัน แต่ราคาขายต่างกันที่

ภาษีและกองทุนน้ำามัน

ราคาน้ำามันเบนซิน 95 ที่สิงคโปร์แพงกว่าไทย แต่ที่มาเลเซียถูกเพราะมีรัฐอุดหนุน

ความจริง

ราคาน้ำามันของประเทศส่วนใหญ่อ้างอิงราคาตลาดโลก (สิงคโปร์ ลอนดอน และอื่นๆ) เหมือนกัน แต่การที่ราคาขายปลีกในแต่ละประเทศแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอัตราการเก็บภาษี เงินส่งเข้ากองทุนน้ำามัน และนโยบายการอุดหนุนราคาพลังงานของแต่ละประเทศ สำาหรับประเทศไทย หากดูเฉพาะราคาเนื้อน้ำามันก็ไม่ได้แตกต่างจากมาเลเซียมากนัก แต่ราคาขายปลีกของมาเลเซียต่ำากว่าไทย เพราะรัฐบาลมาเลเซียนำาเงินมาช่วยอุดหนุนราคาพลังงานเกือบ 5.5 บาทต่อลิตร แต่ในประเทศไทย จะต้องเสียภาษีและจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำามันรวมกว่า 19 บาทต่อลิตรเลยทีเดียว

30

37.57

55.25

17.68

25.77

44.86

19.09

25.70

19.82

5.48

,

,

ราคาขายปลีกราคาขายปลีก

ราคาขายปลีก

ราคา พฤษภาคม 2557

Page 31: Pttep book2

ขึ้นราคาก๊าซLPG มีแต่เดือดร้อนกันหมด

จริงหรือ?

31

Page 32: Pttep book2

การตรึงราคา ก๊าซLPG สิ จะทำาให้เราเดือดร้อนกันหมด

แล้วแบบนี้ เราจะทนแบกต่อไปอีกกี่ปี

ความจริง

ปัจจุบันราคา LPG ของไทยต่ำากว่าราคาจริงในตลาดโลกมาก เป็นการขายแบบขาดทุนโดยต้องนำาเงินจากกองทุนน้ำามันซึ่งเก็บจากผู้ใช้น้ำามันมาชดเชยส่วนเกินดังกล่าวให้ผู้ใช้ LPG ได้ใช้ในราคาถูก นอกจากนี้ การกำาหนดราคาที่ต่ำากว่าตลาดและต่ำากว่าประเทศเพื่อนบ้านยังทำาให้เกิดการลักลอบนำา LPG ไปขายในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งกลับกลายเป็นว่าประเทศเพื่อนบ้านได้รับประโยชน์จากเงินชดเชยที่ผู้ใช้น้ำามันคนไทยจ่ายไปด้วย

GPL

GPL

GPL * 34.1

75 .. 15 *

CEA

32

Page 33: Pttep book2

ระบบสัมปทาน

เดี๋ยวนี้ไม่มีใครใช้ ระบบสัมปทานปิโตรเลียม กันแล้ว

จริงหรือ?

33

Page 34: Pttep book2

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ใชร้ะบบสัมปทาน ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ส่วนใหญ่เลือกใช้ระบบนี้ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วและมีธรรมาภิบาลสูง

ความจริง

หลายๆประเทศส่วนใหญ่ในโลกยังใช้ระบบสัมปทานปิโตรเลียม ประเทศที่พัฒนาแล้วและได้ชื่อว่ามีธรรมาภิบาลสูง อย่าง สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศในยุโรปตะวันตก ก็ยังใช้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมกันอยู่ นอกจากนี้ ในอาเซียนก็ยังมีบรูไนและติมอร์ตะวันออกที่ใช้ระบบนี้เหมือนกัน

34

สัมปทาน แบ่งปันผลผลิตจ้างผลิต หลายระบบ

Page 35: Pttep book2

ระบบสัมปทานปิโตรเลียม ของไทยให้ผลประโยชน์แก่บริษัทเอกชนมากกว่ารัฐ

จริงหรือ?

35

Page 36: Pttep book2

ความจริงระบบสัมปทานปิโตรเลียมของไทยในปัจจุบัน

รัฐได้ผลประโยชน์สูงสุดถึง 74% จากค่าภาคหลวง, ภาษี และส่วนแบ่งกำาไร

ในระบบสัมปทาน เอกชนเป็นผู้ลงทุนสำารวจและผลิตปิโตรเลียม และแบกรับความเสี่ยงแทนรัฐ โดยรัฐไม่ต้องออกเงินลงทุน หากเอกชนสำารวจไม่พบ รัฐก็ไม่เสียอะไร แต่หากสำารวจพบ รัฐจะได้รับผลตอบแทนจากค่าภาคหลวง ภาษี และส่วนแบ่งกำาไร ซึ่งระบบสัมปทานไทยแลนด์ 3 มีการเก็บค่าภาคหลวง 5 - 15% ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 50% และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษรายปี 0 - 75% โดยปัจจุบันมีผลประโยชน์คืนสู่รัฐสูงสุดถึง 74% ทั้งนี้ ส่งผลให้ในปี 2556 รัฐได้รับรายได้โดยตรงจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมเป็นเงินเกือบ 2 แสนล้านบาท

36

Page 37: Pttep book2

จริงหรือ? ระบบสัมปทานปิโตรเลียม

ให้ผลประโยชน์น้อยกว่า

ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC)

37

Page 38: Pttep book2

ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน(Concession)หรือระบบแบ่งปันผลผลิต(PSC)

รัฐก็สามารถกำาหนดอัตราผลประโยชน์ที่ต้องการจากเอกชนได้

ความจริง

ความเชื่อที่ว่า ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) ให้ผลประโยชน์ต่อรัฐมากกว่าจึงเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง การกำาหนดว่าจะใช้ระบบจัดเก็บผลประโยชน์แบบใดนั้น ควรคำานึงถึงศักยภาพปิโตรเลียมของแต่ละประเทศว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพบปิโตรเลียมเพียงใด มีความเสี่ยงในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน และเป็นที่สนใจของบริษัทน้ำามันที่จะมาลงทุนหรือไม่ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการจัดเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐภายใต้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมไทยแลนด์ 3 โดยยึดหลักว่า “พบน้อยก็เก็บน้อย พบมากก็เก็บมาก” และมีสัดส่วนรายได้รัฐต่อรายได้สุทธิของผู้รับสัมปทานเท่ากับ 74 ต่อ 26

38

Page 39: Pttep book2

และเมื่อข้อสงสัยหมดไปทุกคนก็จะหันหน้าเข้าหากัน

ร่วมช่วยกันแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาด้านพลังงานของไทย

อย่างยั่งยืน

ความจริง

เข้าใจแล้ว

ความจริง

หนังสือเล่มนี้ได้อ้างอิงข้อมูลจาก - กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และสำานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน- BP Statistical Review of World Energy Outlook 2013- Daniel Johnston (2008)- บริษัท ปตท. จำากัด (มหาชน)- บริษัท ปตท.สำารวจและผลิตปิโตรเลียม จำากัด (มหาชน)

Page 40: Pttep book2

“ปตท.สผ. มุ่งมั่นแสวงหาแหล่งพลังงานทั้งในและต่างประเทศ ด้วยมาตรฐานการดำาเนินงานและเทคโนโลยีที่เป็นเลิศในระดับสากล

พร้อมจิตสำานึกรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน”