145
วารสารวิธีวิทยาการวิจัย JOURNAL OF RESEARCH METHODOLOGY ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย The Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University ISSN 0857-2933

JOURNAL OF RESEARCH ETHODOLOGYportal.edu.chula.ac.th/pub/jrm/oldweb/book/o27i1.pdfในโครงการทดสอบนานาชาติ TIMSS 2011 ... Effects of the Big

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • วารสารวิธีวิทยาการวิจัยJOURNAL OF RESEARCH METHODOLOGY

    ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    The Department of Educational Research and Psychology,

    Faculty of Education, Chulalongkorn University

    ISSN 0857-2933

  • Journal of Research Methodology

    Senior EditorsSomwung Pitiyanuwat, Ph.D. (Prof.) National Institute of Educational Testing Service

    Teara Archawamety, Ph.D. (Prof.) University of Nebraska at Kearney, USA

    Editors-in-ChiefSuwimon Wongwanich, Ph.D. (Prof.) Chulalongkorn University

    Auyporn Ruengtrakul, Ph.D. (Assoc. Prof.) Chulalongkorn University

    Chayut Piromsombat, Ph.D. Chulalongkorn University

    Editorial BoardArunee Onsawad,Ph.D. (Assoc. Prof.) Naresuan University

    Chatsiri Piyapimonsit, Ph.D. (Asst. Prof.) Kasetsart University

    Choosak Khamphalikit, Ph.D. Srinakharinwirot University

    Kamonwan Tangdhanakanond, Ph.D. Chulalongkorn University

    (Asst. Prof.)

    Nonglak Wiratchai, Ph.D. (Prof.) Chulalongkorn University

    Pennee Narrot, Ph.D. (Assoc. Prof.) Khon Kaen University

    Piyapong Sumettikoon, Ph.D. Chulalongkorn University

    Sageemas Na Wichian, Ph.D. (Asst. Prof.) King Mongkut’s University of Technology

    North Bangkok

    Samphan Punprug, Ph.D. (Assoc. Prof.) National Institute of Educational Testing Service

    Samran Meejang, Ph.D. (Assoc. Prof.) Naresuan University

    Shotiga Pasiphol, Ph.D. (Assoc. Prof.) Chulalongkorn University

    Sirichai Karnjanawasee, Ph.D. (Prof.) Chulalongkorn University

    Siridej Sujiva, Ph.D. (Assoc. Prof.) Chulalongkorn University

    Somkit Promjouy, Ph.D. (Assoc. Prof.) Sukhothai Thammathirat Open University

    Sungworn Ngadkratoke, Ph.D. Sukhothai Thammathirat Open University

    CoordinatorsUtumporn Chatiphuak Natthapol Jaengaksorn

    Kanit Sriklaub Pienkit Nimitdee

    Surasak Kao-iean

  • วารสารวิธีวิทยาการวิจัยปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2557)

    สารบัญ1

    การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครธนดล ยิ้มถนอม และ ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง

    25อิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่มีต่อแรงจูงใจ

    ในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคเป็นตัวแปรส่งผ่าน

    กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์ และ ณภัทร วุฒิวงศา

    49การวิเคราะห์พหุระดับปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์

    ในโครงการทดสอบนานาชาติ TIMSS 2011พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ

    81การพัฒนารูปแบบการใช้ถุงหนังสือเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

    สÓหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูปฐมวัยศรีกัญภัสสร์ รังษีบวรกุล สุดาเรศ ศิริสิทธิ์ธนภาค และ วีณา ประชากูล

    107รูปแบบยุทธศาสตร์การจัดการการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำาโขง

    กุลภา โภคสวัสดิ์

    129Book Review

    An Introduction to Critical Discourse Analysis in Educationจรินทร วินทะไชย์

  • JOURNAL OF RESEARCH METHODOLOGYVolume 27, Number 1 (January - April 2014)

    CONTENT

    1Development of a Causal Model of Environmentally Responsible Behaviors

    of Secondary School Students in BangkokTanadon Yimtanom and Nuttaporn Lawthong

    25Effects of the Big Five Personality on English Learning Motivation of

    Upper Secondary School Students with Adversity Quotient as a Mediator Kingkaew Subprawong and Napat Woothiwongsa

    49A Multilevel Analysis of Factors Affecting Thai Students’ Science

    Performance on TIMSS 2011Pongprapan Pongsophon

    81A Development of a Model of Use of Literacy Bags for Developing

    Young Children Implemented by Early Childhood Pre-service TeachersSrikunyarphat Rangsriborwornkul, Sudares Sirisittanapak and Veena Prachagool

    107A Model for Strategic Management of Higher Education

    in the Mekong Sub-regionKulapa Pokasawat

    129Book Review

    An Introduction to Critical Discourse Analysis in EducationJarintorn Wintachai

  • 1

    Journal of Research Methodology, Volume 27, Number 1 (January-April 2014)

    วารสารวิธีวิทยาการวิจัย ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2557)

    Development of a Causal Model of Environmentally Responsible Behaviors of Secondary School Students in Bangkok*

    Tanadon Yimtanom1

    Nuttaporn Lawthong2

    ABSTRACT

    The purposes of this research were 1) to study and compare environmentally responsible behaviors of secondary school students in Bangkok with respect to deomographic variables, 2) to develop and examine the goodness of fit of the model of environmentally responsible behaviors of secondary school students in Bangkok with empirical data, and 3) to study direct and indirect effects of factors relevant to environmentally responsible behaviors of secondary school students in Bangkok. The research sample consisted of 997 secondary school students in Bangkok. Variables consisted of 5 latent variables: environmental knowledge, environmental attitude, self-efficacy, intrinsic motivation, and environmentally responsible behaviors. These latent variables were measured by 25 observed variables. Data were collected by 4 questionnaires and a environmental knowledge test. The analysis methods of this research consisted of descriptive statistics, one-way MANOVA, one-way ANOVA, and Pearson’s product moment correlation coefficient, using SPSS, confirmatory factor analysis, and structural equation model, using LISREL.

    The major findings were as follows:

    1. The secondary school students in Bangkok had environmentally responsible behaviors in resource actions and transportations at high level. They had environmentally responsible behaviors in consumption, instrument usage, waste reduction, citizenship actions, and environmental activities in moderate levels. Gender, grade, residence area, environmental club membership, father’s education level, mother’s education level, and income level were demographic variables which differently affected certain categories of environ-mentally responsible behaviors.

    2. The causal model of environmentally responsible behaviors was valid and fit with the empirical data with Chi-Square=134.29, df=136, p=0.53, RMSEA=0.00, GFI=0.99, AGFI=0.97, RMR=0.01. The variables in this model could explain 67 percent of the variance of environmentally responsible behaviors.

    3. Self-efficacy and environmental knowledge had direct and indirect effects on environmentally responsible behaviors. Environmental attitude did not have a direct effect but an indirect effect on environ-mentally responsible behaviors. In aspect of intrinsic motivation, it had a direct effect on environmentally responsible behaviors.

    Keywords: environmental attitude, self-efficacy, and environmentally responsible behaviors.

    * This work was supported by “THE 90th ANNIVERSARY OF CHULALONGKORN UNIVERSITY FUND”, Ratchadaphiseksomphot Endowment Fund.

    1 Master Degree student, Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University, Bangkok 10303. E-mail: [email protected]

    2 Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University, Bangkok 10303. E-mail: [email protected]

  • 2

    Journal of Research Methodology, Volume 27, Number 1 (January-April 2014)

    วารสารวิธีวิทยาการวิจัย ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2557)

    การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร*

    ธนดล ยิ้มถนอม1

    ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง2

    บทคัดย่อ

    การวจิยันีม้วีตัถปุระสงค ์เพือ่ 1) ศกึษาและเปรียบเทยีบพฤตกิรรมรับผิดชอบตอ่สิง่แวดล้อมของนกัเรียนมธัยมศกึษาในกรุงเทพมหานครเมื่อจÓแนกตามปัจจัยภูมิหลัง 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปจัจยัทีส่ง่ผลตอ่พฤตกิรรมรับผิดชอบตอ่สิง่แวดล้อมของนกัเรียนมธัยมศกึษาในกรุงเทพมหานคร ตัวอยา่งวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จÓนวน 997 คน ตัวแปรท่ีศึกษาประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร คือ ความรู้ทางสิ่งแวดล้อม เจตคติต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ความสามารถของตน แรงจูงใจภายใน และพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 25 ตัวแปร เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจÓนวน 4 ชุด และแบบสอบความรู้ทางสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวตัวแปรพหุนาม (one-way MANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) การวิเคราะห์คา่สมัประสทิธ์ิสหสมัพนัธ์แบบเพยีร์สนั โดยใช้โปรแกรม SPSS และการวเิคราะห์องค์ประกอบเชิงยนืยนั และการวเิคราะห์โมเดลลิสเรล ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สÓคัญสรุปได้ดังนี้

    1. นักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้านการใช้ทรัพยากรและด้านการเดนิทางอยูใ่นระดบัมาก สว่นดา้นการบริโภค ดา้นการใช้สิง่ของและอุปกรณ์ต่างๆ ดา้นการลดปริมาณขยะ ดา้นการเปน็พลเมอืง และด้านกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยภูมิหลังทุกปัจจัย ได้แก่ เพศ ระดับชั้นเรียน เขตที่อยู่อาศัย การเป็นสมาชิกชมรมด้านส่ิงแวดล้อม ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา และรายได้ของครอบครัว ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในบางด้าน

    2. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า Chi-Square=134.29, df=136, p=0.53, RMSEA=0.00, GFI=0.99, AGFI=0.97 และ RMR=0.01 และปัจจัยในโมเดล เชิงสาเหตุสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 67

    3. การรับรู้ความสามารถของตนและความรู้ทางสิง่แวดล้อมสง่ผลทัง้ทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เจตคติต่อสิ่งแวดล้อมไม่ส่งผลทางตรงแต่ส่งผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนแรงจูงใจภายในส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

    คÓสÓคัญ: เจตคติต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ความสามารถของตน และพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

    * งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก “ทุน 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช 1 นิสิตครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330. อีเมล: [email protected]

    2 ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330. อีเมล: [email protected]

  • ◆ ธนดล ยิ้มถนอม และ ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ◆

    3

    ความเป็นมาและความสÓคัญของปัญหา

    ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ท้าทายมนุษยชาติในศตวรรษที่ 21 มากที่สุด คือ ปัญหาภาวะโลกร้อน

    (global warming) (ม่ิงสรรพ์ ขาวสอาด และกอบกุล รายะนาคร, 2553) ปัญหาน้ีเกิดจากการปล่อย

    ก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์

    เป็นต้น สู่ชั้นบรรยากาศโลกมากจนเกินสมดุลธรรมชาติ ทÓให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมา

    ยังพ้ืนโลกไม่สามารถระบายสู่บรรยากาศช้ันนอกโลกได้ จึงเกิดการกักเก็บความร้อน ทÓให้อุณหภูมิของ

    พ้ืนดินและพ้ืนน้Óบนโลกเพ่ิมสูงข้ึนจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและส่ิงมีชีวิต ได้แก่ การละลาย

    ของธารน้Óแข็ง การเพิ่มของระดับน้Óทะเล การเกิดพายุและภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น การเกิด

    โรคระบาด และนÓไปสู่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) (อัล กอร์, 2553)

    กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกร้อน จากการศึกษา

    แนวโน้มการเปล่ียนแปลงอุณหภูมิในช่วงปี 2504-2550 พบว่าอุณหภูมิเฉล่ียสูงสุดและต่Óสุดมีแนวโน้ม

    เพิ่มสูงขึ้น และจÓนวนวันที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้น ผลกระทบที่

    เห็นได้ชัดเจนอีกอย่างหน่ึง คือ การกัดเซาะชายฝ่ังทะเลบางขุนเทียน เน่ืองจากคล่ืนลมท่ีมีความรุนแรง

    และมีความถี่สูงขึ้น รวมทั้งระดับน้Óทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี (กรุงเทพมหานคร, มูลนิธิใบไม้เขียว และ

    โครงการสิง่แวดล้อมแหง่สหประชาชาติ, 2552) จากรายงานเก่ียวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

    ของประชากรกรุงเทพมหานคร พบว่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 7.1 ตันต่อคนต่อปี ซ่ึงมีค่า

    สูงกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยเฉลี่ยของประชากรไทยที่ปล่อยเพียง 5 ตันต่อคนต่อปี

    (สÓนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร, 2550)

    สาเหตุของปัญหาภาวะโลกร้อนนั้นมีข้อถกเถียงของนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่ม บางกลุ่มว่า

    มีสาเหตุจากธรรมชาติ บางกลุ่มว่าเกิดจากการกระทÓของมนุษย์ ในปี พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ

    ระหวา่งรัฐบาลว่าด้วยการเปล่ียนแปลงภมูอิากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change:

    IPCC, 2007) ได้รายงานว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าปัญหาภาวะโลกร้อนมีสาเหตุหลัก

    มาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ จากสาเหตุดังกล่าวทÓให้องค์กรต่างๆ เห็นความสÓคัญ และได้ใช้

    สิ่งแวดล้อมศึกษา (environmental education) เป็นกระบวนการในการแก้ปัญหา กระบวนการนี้มี

    วัตถุประสงค์สูงสุด เพ่ือให้บุคคลมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อม (environmentally responsible

    behaviors) คือ ช่วยกันลดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมท่ีจะเกิดข้ึน โดยการลดการใช้ทรัพยากร ลดปริมาณ

    ของเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ (จิรากรณ์ คชเสนี, 2553)

    จากแนวคิดของศรีเรือน แก้วกังวาล (2549) ได้กล่าวว่าวัยรุ่นเป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่สามารถ

    ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้ง่ายกว่าบุคคลในกลุ่มอ่ืน เน่ืองจากวัยรุ่นกÓลังแสวงหาจุดมุ่งหมาย

  • ◆ การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ◆

    ของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

    4

    ของชีวิตและของสังคม หากปลูกฝังในวัยเด็กกว่าน้ีจะเป็นช่วงท่ีเด็กเล็กเกินกว่าจะเข้าใจ และหากปลูกฝัง

    ในวัยสูงกว่าน้ีบุคคลน้ันจะไม่ค่อยสนใจ ด้วยเหตุน้ีผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อม

    ของวยัรุ่นซ่ึงเปน็นกัเรียนในระดบัมธัยมศกึษา หนว่ยงานหลักหนว่ยงานหนึง่ทีท่Óหนา้ทีใ่นการสง่เสริม

    ให้นักเรียนมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม คือ โรงเรียน เมื่อศึกษาจากหลักสูตรแกนกลาง

    การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่าหลักสูตรน้ีให้ความสÓคัญกับการส่งเสริมการมีพฤติกรรม

    รับผิดชอบต่อสิง่แวดล้อมของนกัเรียนโดยไดร้ะบจุดุหมายทีต้่องการใหเ้กิดกับผู้เรียนเมือ่จบการศกึษา

    ไว้ประเด็นหนึ่งว่า “มีจิตสÓนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา

    สิ่งแวดล้อม...” และมีการกÓหนดสาระการเรียนรู้ที่เก่ียวข้องกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในสาระมาตรฐาน

    การเรียนรู้ และตัวชี้วัดในระดับชั้นต่างๆ ใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา

    ศาสนาและวัฒนธรรม และการงานอาชีพและเทคโนโลยี (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) ซ่ึงจะเห็นได้ว่า

    แมใ้นหลักสตูรจะไมม่กีารกÓหนดใหจ้ดัเปน็รายวชิาสิง่แวดล้อมศกึษา แต่ไดม้กีารสอดแทรกสาระของ

    สิง่แวดล้อมศกึษาไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทัง้ 3 กลุ่มดงักล่าว เพือ่ใหน้กัเรียนมคีวามรู้ทางสิง่แวดล้อม

    เจตคติต่อสิ่งแวดล้อม และนÓไปสู่การมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด

    ของสุริชัย หวันแก้ว (2553) ท่ีกล่าวว่าความสÓเร็จของส่ิงแวดล้อมศึกษาจะเกิดข้ึนเม่ือบุคคลหรือสังคม

    ได้พัฒนาจากความไม่รู้เป็นความรู้ ความรู้สึก ความคิดจะทÓ และการลงมือทÓที่มาจากอุปนิสัย

    หรือพฤติกรรม จากเหตุผลดังกล่าวทÓให้ผู้วิจัยเลือกศึกษาพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมกับ

    นกัเรียนมธัยมศกึษาในกรุงเทพมหานคร เพือ่ใหไ้ดส้ารสนเทศและปจัจยัเชิงสาเหตุทีส่ง่ผลตอ่พฤติกรรม

    รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร เพื่อนÓไปใช้ในการกÓหนด

    นโยบายส่งเสริมให้นักเรียนมัธยมศึกษามีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป

    วัตถุประสงค์การวิจัย

    1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษา

    ในกรุงเทพมหานครเมื่อจÓแนกตามปัจจัยภูมิหลัง

    2. เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบ

    ต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์

    3. เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อ

    สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

  • ◆ ธนดล ยิ้มถนอม และ ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ◆

    5

    เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    จากการศึกษางานวิจัยที่ศึกษาเก่ียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พบว่าความรู้ทางสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Alp, Ertepinar, Tekkaya, & Yilmaz, 2008; Feng & Reisner, 2011; Tang, Chen, & Luo, 2011; Xiao & Hong, 2010) และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน (Alp et al., 2008; Lam & Chan, 2006; Meinhold & Malkus, 2005; Tang et al., 2011; Xiao & Hong 2010) และนอกจากความรู้ทางสิ่งแวดล้อมจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมด้วย (Alp, Ertepinar, Tekkaya, & Yilmaz, 2006; Xiao & Hong, 2010) ซ่ึงน่าสังเกตว่าความรู้ทางสิ่งแวดล้อมนอกจากจะส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อมแล้วยังอาจส่งผลทางอ้อมผ่านเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมด้วย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาเก่ียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแบบมีตัวแปรส่งผ่าน ซ่ึงงานวิจัยของ Walton & Austin (2011) พบว่าเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลทางอ้อมผ่านการรับรู้ความสามารถของตน และงานวิจัยของ Tabernero & Hernandez (2011) พบว่าการรับรู้ความสามารถของตนส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อมและส่งผลทางอ้อมผ่านแรงจูงใจภายใน

    จากงานวิจัยที่นÓเสนอสังเกตได้ว่านอกจากปัจจัยเชิงสาเหตุทั้ง 4 ปัจจัย คือ ความรู้ทาง ส่ิงแวดล้อม เจตคติต่อส่ิงแวดล้อม การรับรู้ความสามารถของตน และแรงจูงใจภายในจะส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อมแล้ว เม่ือนÓความสัมพันธ์ของท้ัง 4 ปัจจัยมาสังเคราะห์เป็นโมเดลเชิงสาเหตุจะพบว่าปัจจัยเชิงสาเหตุท้ัง 4 ปัจจัย อาจส่งผลต่อกันอย่างมีลÓดับ คือ ความรู้ทางส่ิงแวดล้อมส่งผลต่อเจตคติต่อส่ิงแวดล้อม เจตคติต่อส่ิงแวดล้อมส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตน การรับรู้ความสามารถของตนส่งผลต่อแรงจูงใจภายใน และแรงจูงใจภายในส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อม ดังภาพ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย จากเหตุผลดังกล่าวทÓให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุโดยพัฒนาเป็นโมเดลเชิงสาเหตุ เพ่ือตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทÓให้ได้สารสนเทศเก่ียวกับการส่งผลทางตรง การส่งผลทางอ้อม และค่าขนาดอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

    นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหลายเร่ืองที่สนใจศึกษาภูมิหลังที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เพศ อายุ ระดับชั้นเรียน ระดับการศึกษา สาขาวิชาที่ศึกษา การเป็นโรงเรียนเชิงนิเวศ การเป็นสมาชิกชมรมด้านสิ่งแวดล้อม เขตที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมท้องถิ่น ระดับการศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา รายได้ของตนเอง ความเป็นบิดามารดา และแหล่งข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม โดยผลการวิจัยในบางตัวแปรไม่สอดคล้องกัน เช่น เพศ ในงานวิจัยของ Feng &

  • ◆ การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ◆

    ของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

    6

    Reisner (2011), Muderrisoglu & Altanlar (2011), Abdul-Wahab & Abdo (2010), และ

    Meinhold & Malkus (2005) พบว่าเพศชายมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า

    เพศหญิง ส่วนงานวิจัยของ Xiao & Hong (2010), Zecha (2010), Chu Lee, Ko, Shin,

    Lee, Min, & Keng (2007), และ Alp et al. (2006) พบว่าเพศหญิงมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อ

    สิ่งแวดล้อมมากกว่าเพศชาย และมีงานวิจัยของ Lam & Chen (2006) ที่พบว่าเพศไม่ส่งผลต่อ

    พฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ทÓให้ผู้วิจัยสนใจคัดเลือกตัวแปรภูมิหลังที่เหมาะสมกับนักเรียน

    มัธยมศึกษามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษา

    เมื่อจÓแนกตามปัจจัยภูมิหลัง

    หมายเหตุ

    1. เสนอโดย Feng & Reisner (2011), Tang et al. (2011), Xiao

    & Hong (2010), และ Alp et al. (2008)

    2. เสนอโดย Tang et al. (2011), Walton & Austin (2011),

    Xiao & Hong (2010), Alp et al. (2008), Lam & Chan

    (2006), และ Meinhold & Malkus (2005)

    3. เสนอโดย Tabernero & Hernandez (2011), Tang et al. (2011),

    Walton & Austin (2011), และ Lam & Chan (2006)

    4. เสนอโดย Tabernero & Hernandez (2011)

    5. เสนอโดย Xiao & Hong (2010), และ Alp et al. (2006)

    6. เสนอโดย Walton & Austin (2011)

    7. เสนอโดย Tabernero & Hernandez (2011)

    ภาพ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

    วิธีดÓเนินการวิจัย

    ประชากรวจิยั คือ นกัเรียนมธัยมศกึษาในกรุงเทพมหานคร สงักัดสÓนกังานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จÓนวน 269,236 คน

    ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสÓนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน โดยผู้วิจัยได้กÓหนดขนาดตัวอย่างจากแนวคิดการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

    เชิงเส้นที่ Hair et al. (2006) ได้เสนอให้ใช้ตัวอย่างอย่างน้อย 10-20 คน ต่อ 1 พารามิเตอร์

    ที่ต้องการประมาณค่า เนื่องจากงานวิจัยนี้มีพารามิเตอร์ที่ต้องประมาณค่าจÓนวน 61 พารามิเตอร์

    ดังนั้นขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมจึงมีค่าอยู่ระหว่าง 610-1,220 คน โดยตัวอย่างได้จากวิธีการสุ่ม

    แบบหลายข้ันตอน (multi-stage random sampling) โดยใช้เขตพ้ืนท่ีของโรงเรียนและระดับช้ันเรียน

    เป็นเกณฑ์ ในการสุ่มตัวอย่าง

  • ◆ ธนดล ยิ้มถนอม และ ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ◆

    7

    กองควบคมุและจดัการคณุภาพสิง่แวดล้อม สÓนกัปลัดกรุงเทพมหานคร ไดแ้บง่เขต 50 เขต

    ในกรุงเทพมหานคร ออกเป็น 3 กลุ่มเขตพื้นที่ ได้แก่ เขตช้ันใน เขตช้ันกลาง และเขตช้ันนอก

    ขั้นแรกสุ่มเขตในแต่ละกลุ่มเขตพื้นที่ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling)

    กลุ่มเขตพื้นที่ละ 8 เขตเท่าๆ กัน ได้ตัวอย่างมาจÓนวน 24 เขต จากนั้นสุ่มโรงเรียนในแต่ละเขตที่

    สุ่มได้จากขั้นแรกด้วยวิธกีารสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เขตละ 1 โรงเรยีน ได้ตวัอย่างจÓนวน 24 โรงเรยีน

    จากน้ันสุ่มระดับช้ันเรียนในโรงเรียนท่ีสุ่มได้ โรงเรียนละ 1 ระดับช้ันเรียนด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย

    โดยโรงเรียนทั้ง 8 โรงเรียนจากกลุ่มเขตพื้นที่เดียวกันจะต้องสุ่มระดับชั้นเรียนให้ได้ครบทั้ง 6 ระดับ

    ช้ันเรียน ดงันัน้แต่ละกลุ่มเขตพืน้ทีจ่ะต้องม ี2 ระดบัช้ันเรียนทีม่าจากโรงเรียนในกลุ่มเขตพืน้ทีเ่ดยีวกัน

    แต่จะต้องไมซ้่Óกับกลุ่มเขตพืน้ทีอ่ื่น เพือ่ใหไ้ด้ตวัอยา่งทีม่าจากแตล่ะระดบัช้ันเรียนจÓนวนเทา่กัน คอื

    ระดับชั้นเรียนละ 4 โรงเรียน ขั้นสุดท้ายสุ่มห้องเรียน ระดับชั้นเรียนละ 1 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการ

    สุ่มตัวอย่างแบบยกกลุ่ม (cluster random sampling) ได้ตัวอย่างมา 24 ห้องเรียน เนื่องจากแต่ละ

    ห้องเรียนมีนักเรียนโดยประมาณ 45 คน ทÓให้ได้ตัวอย่างจÓนวน 1,080 คน

    ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยและคÓจÓกัดความ

    ความรู้ทางสิ่งแวดล้อม(environmental knowledge: EK) หมายถึง ความเข้าใจหรือสารสนเทศท่ีได้รับมาจากประสบการณ์ การศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า การได้ฟังจากแหล่งข้อมูลต่างๆ

    เกี่ยวกบัสภาพและสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม แนวทางในการป้องกนัและแกไ้ขปัญหาสิ่งแวดล้อม

    เจตคติต่อสิ่งแวดล้อม(environmental attitude: EA) หมายถึง การรับรู้ ความตระหนัก ความรู้สึก การตอบสนองทางอารมณ์ การตัดสินใจ ความคิดเห็น หรือความเชื่อของบุคคล เกี่ยวกับ

    ประเดน็ทางสิง่แวดล้อม ปญัหาสิง่แวดล้อม ปจัจยัทีส่ง่ผลต่อคณุภาพของสิง่แวดล้อม และพฤติกรรม

    ของบุคคลเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

    การรับรู้ความสามารถของตน(self-efficacy: SE) หมายถึง การตัดสินระดับความสามารถของบุคคลในการกระทÓพฤติกรรมในชีวิตประจÓวันเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น

    โดยการลดการใช้ทรัพยากร การลดปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้

    แรงจูงใจภายใน (intrinsic motivation: IM) หมายถึง การที่บุคคลกระทÓพฤติกรรม ในชีวิตประจÓวันเพ่ือช่วยลดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมท่ีจะเกิดข้ึน โดยการลดการใช้ทรัพยากร การลด

    ปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ เพราะว่าบุคคลนั้นชอบ สนใจ

    สนุกสนาน เห็นคุณค่าและประโยชน์ที่ได้กระทÓพฤติกรรมนั้น โดยที่เขาไม่ต้องการสิ่งตอบแทนหรือ

    รางวัลใดๆ

  • ◆ การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ◆

    ของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

    8

    พฤตกิรรมรับผิดชอบตอ่ส่ิงแวดล้อม(environmentally responsible behaviors: ERB) หมายถึง การกระทÓในชีวิตประจÓวันของบุคคลเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น โดยการลดการใช้ทรัพยากร การลดปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ เป็นตัวแปรแฝงภายในที่วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 7 ตัว คือ พฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้าน 1) การใช้ทรัพยากร (ERBres) 2) การบริโภค (ERBcon) 3) การใช้สิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ (ERBpro) 4) การเดินทาง (ERBtra) 5) การลดปริมาณขยะ (ERBred) 6) การเป็นพลเมือง (ERBcit) และ 7) กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (ERBact)

    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

    การวิจัยนี้ใช้เครื่องมือวิจัยจÓนวน 2 ฉบับ มีรายละเอียดต่อไปนี้

    เครื่องมือวิจัยฉบับที่1 ประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลภูมิหลังของนักเรียน ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบวัดความรู้ทางสิ่งแวดล้อม มีลักษณะเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จÓนวน 20 ข้อ และ ตอนท่ี 3 เป็นแบบสอบถามวัดพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จÓนวน 30 ข้อ

    เคร่ืองมอืวจิยัฉบับท่ี2 มลัีกษณะเปน็แบบสอบถามแบบมาตรประมาณคา่ 5 ระดบัทัง้หมด ประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามวัดการรับรู้ความสามารถของตน จÓนวน 30 ข้อ ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามวัดเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม จÓนวน 35 ข้อ และ ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามวัดแรงจูงใจภายใน จÓนวน 30 ข้อ

    การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย

    ผู้วิจัยมีการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในแต่ละตัวแปรดังต่อไปนี้

    ส่วนที่1 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

    ผูว้ิจัยพัฒนาตัวบ่งชีพ้ฤติกรรมรบัผิดชอบต่อสิ่งแวดลอ้มโดยให้ผูท้รงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาจÓนวน 20 คน ระบุพฤติกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมคนละ 12 พฤติกรรมท่ีสÓคัญท่ีสุด จากน้ันผู้วิจัยได้สังเคราะห์ตัวบ่งช้ีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อม พบว่ามีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจÓนวน 30 พฤติกรรม และนÓพฤติกรรมที่ได้ทั้งหมด มาวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการจัดกลุ่มพฤติกรรมที่มีลักษณะคล้ายกันได้ 7 ด้าน และนÓมาสร้างข้อคÓถามให้สอดคล้องกับตัวบ่งช้ีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่ พัฒนาขึ้นโดยให้มีทั้งข้อคÓถามเชิงบวกและเชิงลบ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จÓนวน 30 ข้อ

  • ◆ ธนดล ยิ้มถนอม และ ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ◆

    9

    ส่วนที่2 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวัดความรู้ทางสิ่งแวดล้อม

    ผู้วิจัยศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่

    นักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีการกÓหนดมาตรฐานและตัวช้ีวัด

    ทีเ่ก่ียวขอ้งกับความรู้ทางสิง่แวดล้อมใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คอื วิทยาศาสตร์ สงัคมศกึษา ศาสนา

    และวัฒนธรรม และการงานอาชีพและเทคโนโลยี จากนั้นวิเคราะห์องค์ประกอบจากตัวชี้วัดทั้งหมด

    พบว่าความรู้ทางสิ่งแวดล้อมมี 2 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพและสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม และ

    2) ด้านแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยสร้างข้อคÓถามแบบเลือกตอบ

    4 ตัวเลือก ตามโครงสร้างเพื่อหาจÓนวน 20 ข้อ สÓหรับด้านแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา

    สิ่งแวดล้อมได้ใช้ตัวบ่งช้ีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาขึ้นมาเป็นแนวทางในการสร้าง

    ข้อคÓถามและการกÓหนดตัวเลือก

    ส่วนที่3 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวัดเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม

    ผู้วจิยัไดส้งัเคราะหโ์มเดลการวดัเจตคติต่อสิง่แวดล้อม จากเคร่ืองมอืวดัเจตคติตอ่สิง่แวดล้อม

    ที่สÓคัญจÓนวน 5 เครื่องมือวัด ได้แก่ 1) The 2-MEV Scale in United States พัฒนาโดย

    Johnson & Manoli (2010) 2) The environmental attitudes inventory พัฒนาโดย Milfont

    & Duckitt (2010) 3) the NEP Scale for Children พัฒนาโดย Manoli, Johnson, &

    Dunlap (2007) 4) Toward Measuring Adolescent Environmental perception พัฒนาโดย

    Bogner & Wiseman (1999) และ 5) the New Ecological Paradigm Scale (Revised

    NEP Scale) พัฒนาโดย Dunlap, Van Liere, Mertig, & Jones (2000) พบว่าเจตคติต่อ

    ส่ิงแวดล้อมมี 2 องค์ประกอบ คือ 1) การสงวนรักษา และ 2) การใช้ประโยชน์ ผู้วิจัยทÓการคัดเลือก

    ข้อคÓถามที่เหมาะสมกับนักเรียนมัธยมศึกษา สร้างเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จÓนวน 35 ข้อ

    ส่วนที่4 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวัดการรับรู้ความสามารถของตน

    ผู้วิจัยศึกษาการสร้างข้อคÓถามที่ใช้วัดการรับรู้ความสามารถของตนจากงานวิจัยของ Tang

    et al. (2011), Tabernero & Hernandez (2010), และ Lam & Chen (2006) วิเคราะห์

    คÓสÓคัญที่ใช้ในการวัดการรับรู้ความสามารถของตนที่พบในข้อคÓถามซ่ึงได้แก่คÓว่า ง่าย-ยาก

    ลÓบาก-สะดวก สามารถ-ไม่สามารถ มีโอกาสมากมาย รู้ เป็นต้น และสร้างข้อคÓถามการรับรู้

    ความสามารถของตนตามพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมโดยประยุกต์ใช้คÓสÓคัญที่วิเคราะห์ได้

    มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จÓนวน 30 ข้อ

  • ◆ การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ◆

    ของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

    10

    ส่วนที่5 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวัดแรงจูงใจภายใน

    ผู้วิจัยศึกษาการสร้างข้อคÓถามท่ีใช้วัดแรงจูงใจภายในจาก Intrinsic Motivation Inventory

    (IMI) วเิคราะหค์ÓสÓคญัทีใ่ช้ในการวดัแรงจงูใจภายในทีพ่บในขอ้คÓถามซ่ึงไดแ้ก่คÓวา่ สนกุ-นา่เบือ่

    น่าสนใจ สามารถทÓได้ดี พยายาม มันสÓคัญที่ต้องทÓ ผ่อนคลาย-เครียด มีทางเลือก-ถูกบังคับ

    มีคุณค่าสÓหรับฉัน มีประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่สÓคัญ เป็นต้น และสร้างข้อคÓถามแรงจูงใจภายใน

    ตามพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมโดยประยุกต์ใช้คÓสÓคัญที่วิเคราะห์ได้ มีลักษณะเป็นมาตร

    ประมาณค่า 5 ระดับ จÓนวน 30 ข้อ

    ผู้วิจัยได้ตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมือวิจัยท่ีพัฒนาข้ึนโดยวิเคราะห์ความเท่ียงของเคร่ืองมือ

    วิจัยท้ังฉบับ โดยใช้สูตรสัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) สÓหรับ

    แบบสอบความรู้ทางสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยได้วิเคราะห์คุณภาพของแบบสอบรายข้อ ด้วยการวิเคราะห์

    ค่าความยาก (p) ค่าอÓนาจจÓแนก (r) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดตัวแปรแฝง

    พบว่าโมเดลการวัดมีความตรงเชิงโครงสร้างทุกโมเดล ดังตารางที่ 1

    ตารางที่1ผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย

    ค่าสถิติจÓนวนข้อ

    ค่าเฉลี่ยค่าความยาก

    ค่าเฉลี่ยค่าอÓนาจจÓแนก

    Cronbach’salpha

    Chi-Square

    df p

    ความรู้ทางสิ่งแวดล้อม 20 0.46 0.52 0.82 2.34 1 0.13

    เจตคติต่อสิ่งแวดล้อม 35 - - 0.74 0.04 1 0.83

    การรับรู้ความสามารถของตน 30 - - 0.80 13.09 10 0.22

    แรงจูงใจภายใน 30 - - 0.86 19.01 13 0.12

    พฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 30 - - 0.86 13.18 11 0.28

    การวิเคราะห์ข้อมูล

    การวิเคราะห์ข้อมูลท่ีสÓคัญมีรายละเอียดดังน้ี 1) การวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมรับผิดชอบ

    ต่อสิง่แวดล้อมเมือ่จÓแนกตามปจัจยัภมูหิลัง ใช้การวเิคราะหค์วามแปรปรวนทางเดยีวตัวแปรพหนุาม

    (one-way MANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS แต่ถ้าข้อมูลท่ีวิเคราะห์ไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบ้ืองต้น

    ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และ 2) การวิเคราะห์ความสอดคล้อง

    ของโมเดลเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ด้วยโปรแกรม LISREL

    โดยค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีเกณฑ์ในการ

  • ◆ ธนดล ยิ้มถนอม และ ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ◆

    11

    พิจารณาดังนี้ ค่า Chi-Square ไม่มีนัยสÓคัญทางสถิติ ค่า RMSEA มีค่าเข้าใกล้ 0 ค่า GFI

    มีค่าเข้าใกล้ 1 ค่า AGFI มีค่าเข้าใกล้ 1 และค่า RMR มีค่าเข้าใกล้ 0 พร้อมทั้งคÓนวณขนาด

    อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

    การเก็บรวบรวมข้อมูล

    การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัยฉบับที่ 1 ที่เป็นแบบสอบ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล

    ด้วยตนเองโดยการจัดสอบ ใช้เวลาทÓประมาณ 50 นาที ส่วนเคร่ืองมือวิจัยฉบับอ่ืนท่ีเป็นแบบสอบถาม

    ผู้วิจัยได้ขอความอนุเคราะห์ให้โรงเรียนที่เป็นตัวอย่างเก็บรวบรวมข้อมูลและตอบกลับทางไปรษณีย์

    ผู้วิจัยได้รับการตอบกลับจÓนวน 997 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.31 ของจÓนวนแบบสอบถามทั้งหมด

    1,080 ฉบับ

    ผลการวิจัย

    1.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภูมิหลังของตัวอย่าง

    ตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนหญิง ร้อยละ 59.20 และนักเรียนชาย ร้อยละ 40.80 นักเรียนหญิง

    สว่นใหญอ่าศยัอยูใ่นเขตช้ันนอก และนกัเรียนชายสว่นใหญอ่าศยัอยูใ่นเขตช้ันกลาง เมือ่จÓแนกตาม

    ระดับชั้นเรียน พบว่าตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นต่างๆ จÓนวนใกล้เคียงกัน

    2.ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

    ผลการวจิยั พบวา่พฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิง่แวดล้อมของนกัเรียนมธัยมศกึษาในกรุงเทพ-

    มหานครมีค่าเฉล่ียอยู่ในช่วง 2.92-3.60 โดยค่าเฉล่ียของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อมด้านต่างๆ

    เรียงลÓดับจากมากไปน้อยได้ดังน้ี ด้านการใช้ทรัพยากร (3.60) รองลงมา คือ ด้านการเดินทาง (3.50)

    ซ่ึงสองดา้นแรกนกัเรียนมพีฤติกรรมในระดบัมาก สว่นอีก 5 ดา้นนกัเรียนมพีฤติกรรมระดบัปานกลาง

    คือ ด้านการลดปริมาณขยะ (3.46) ด้านการบริโภค (3.35) ด้านการเป็นพลเมือง (3.34) ด้านการ

    ใช้สิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ (3.15) และด้านกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (2.92)

    3.ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อมเมื่อจÓแนกตามปัจจัยภูมิหลัง

    การวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนน้ีเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อม

    ของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครทั้ง 7 ด้าน จÓแนกตามปัจจัยภูมิหลัง 7 ด้าน ได้แก่

    1) เพศ 2) ระดับชั้นเรียน 3) การเป็นสมาชิกชมรมด้านสิ่งแวดล้อม 4) เขตที่อยู่อาศัย 5) ระดับ

    การศึกษาของบิดา 6) ระดับการศึกษาของมารดา และ 7) รายได้ของครอบครัวต่อเดือน

  • ◆ การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ◆

    ของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

    12

    การตรวจสอบขอ้ตกลงเบือ้งตน้ของการวเิคราะหค์วามแปรปรวนทางเดยีวตัวแปรพหนุาม

    พบว่า เมทริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อมท้ัง 7 ด้าน

    ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่จÓแนกตามเพศ การเป็นสมาชิกชมรมด้านสิ่งแวดล้อม และระดับการศึกษา

    ของมารดา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสÓคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าตัวแปรย่อยทั้ง 7 ตัวแปร

    มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสÓคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซ่ึงเป็นไปตามข้อตกลงเบ้ืองต้นของการวิเคราะห์

    ความแปรปรวนทางเดียวตัวแปรพหุนาม และส่วนปัจจัยภูมิหลังอื่น พบว่าเมทริกซ์ความแปรปรวน-

    ความแปรปรวนร่วมของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมทั้ง 7 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสÓคัญ

    ทางสถติิทีร่ะดบั .05 ซ่ึงไมเ่ปน็ไปตามขอ้ตกลงเบือ้งต้น ผู้วจิยัจงึเลือกใช้การวิเคราะหค์วามแปรปรวน

    ทางเดียวแทน

    ตารางที่2ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

    การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวตัวแปรพหุนาม (one-way MANOVA)

    ค่าสถิติ Value F p ตัวแปรตาม Type III SS df MS F p Post hoc

    เพศ : ชาย หญิง

    Pillai’s Trace 0.04 5.04 0.00 ERBcon 2.32 1 2.32 7.94 .01 >

    Wilks’ Lambda 0.96 5.04 0.00 ERBred 2.86 1 2.86 8.21 .00 >

    Hotelling’s Trace 0.04 5.04 0.00

    Roy’s Largest Root 0.04 5.04 0.00

    การเป็นสมาชิกชมรมด้านสิ่งแวดล้อม : เป็นสมาชิกชมรมด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นสมาชิกชมรมด้านสิ่งแวดล้อม

    Pillai’s Trace 0.02 2.61 0.01 ERBact 3.22 1 3.22 13.87 .00 >

    Wilks’ Lambda 0.98 2.61 0.01

    Hotelling’s Trace 0.02 2.61 0.01

    Roy’s Largest Root 0.02 2.61 0.01

    ระดับการศึกษาของมารดา : ต่Óกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี

    Pillai’s Trace 0.07 4.85 0.00 ERBcon 3.19 2 1.60 5.42 .01 >,>

    Wilks’ Lambda 0.93 4.93 0.00 ERBtra 10.58 2 5.29 8.92 .00 >,>

    Hotelling’s Trace 0.08 5.01 0.00 ERBred 3.88 2 1.94 5.61 .00 >

    Roy’s Largest Root 0.08 9.70 0.00

    Levene’s Test : ERBcon F=0.52, p=.59, ERBtra F=1.77, p=.17, ERBred F=0.45, p=.64

  • ◆ ธนดล ยิ้มถนอม และ ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ◆

    13

    ตารางที่2(ต่อ)

    การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)

    ตัวแปรตาม SS df MS F p Post hoc

    ระดับชั้นเรียน : ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6

    ERBpro 14.85 5 2.97 8.89 .00 >, >, >, >

    ERBtra 23.51 5 4.70 8.10 .00 >, >, >

    Levene’s Test : ERBpro F=1.79, p=.11, ERBtra F=1.13, p=.34

    เขตที่อยู่อาศัย : เขตชั้นใน, เขตชั้นกลาง, เขตชั้นนอก, ปริมณฑล

    ERBcit 4.95 3 1.65 4.57 .00 >

    Levene’s Test : ERBcit F=1.779, p=.149

    ระดับการศึกษาของบิดา : ต่Óกว่าปริญญาตรี, ปริญญาตรี, สูงกว่าปริญญาตรี

    ERBcon 1.88 2 0.94 3.22 .04 >

    ERBtra 15.40 2 7.70 13.15 .00 >

    ERBred 3.66 2 1.83 5.29 .01 >

    ERBact 3.52 2 1.76 7.38 .00 >

    Levene’s Test : ERBcon F=1.31, p=.27, ERBtra F=0.17, p=.84, ERBred F=0.94, p=.39, ERBact F=3.86, p=.02

    รายได้ของครอบครัว : น้อยกว่า20,000, 20,001-40,000, 40,001-60,000, 60,001-80,000, 80,001-100,000, มากกว่า100,000

    ERBres 16.72 5 3.35 8.06 .00 >, >

    ERBpro 4.42 5 0.89 2.60 .02 >

    ERBtra 28.18 5 5.64 9.75 .00 >, >, >

    Levene’s Test : ERBres F=0.48, p=.79, ERBpro F=1.30, p=.26, ERBtra F=0.24, p=.94

    ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พบว่าปัจจัยภูมิหลัง

    ทุกปัจจัยส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อมในบางด้าน เช่น เพศส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบ

    ต่อสิ่งแวดล้อมด้านการบริโภค และด้านการลดปริมาณขยะ โดยนักเรียนชายมีพฤติกรรมรับผิดชอบ

    ต่อสิ่งแวดล้อมด้านการบริโภคมากกว่าเพศหญิง แต่นักเรียนหญิงมีพฤติกรรมรับผิดชอบด้านการลด

    ปริมาณขยะมากกว่านักเรียนชาย รายละเอียดของปัจจัยภูมิหลังอื่นๆ สรุปได้ดังตารางที่ 3

  • ◆ การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ◆

    ของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

    14

    ตารางที่3สรุปปัจจัยภูมิหลังที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ

    ปัจจัยภูมิหลังพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

    ERBres ERBcon ERBpro ERBtra ERBred ERBcit ERBact

    เพศ - ชาย>หญิง - - หญิง>ชาย - -

    ระดับชั้นเรียน - - ต่Ó>สูง สูง>ต่Ó - - -

    การเป็นสมาชิกชมรมด้านสิ่งแวดล้อม

    - - - - - - เป็น>ไม่เป็น

    เขตที่อยู่อาศัย - - - - -ใน/

    กลาง>นอก-

    ระดับการศึกษาของบิดา - สูง>ต่Ó - ต่Ó>สูง สูง>ต่Ó - ต่Ó>สูง

    ระดับการศึกษาของมารดา - สูง>ต่Ó - ต่Ó>สูง สูง>ต่Ó - -

    รายได้ของครอบครัวต่อเดือน ต่Ó>สูง - ต่Ó>สูง ต่Ó>สูง - - -

    ERBres: การใช้ทรัพยากร ERBcon: การบริโภค ERBpro: การใช้สิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ ERBtra: การเดินทาง ERBred: การลดปริมาณขยะ ERBcit: การเป็นพลเมือง ERBact: กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

    หมายเหตุ ช่องที่มีข้อความ หมายถึง ปัจจัยภูมิหลังส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ช่องที่มีเครื่องหมาย - หมายถึง ปัจจัยภูมิหลังไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

    4.ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์

    ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อ

    สิ่งแวดล้อมที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่าโมเดลเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิง

    ประจักษ์ มีค่า Chi-Square=134.29, df=136, p=.53, RMSEA=0.00, GFI=0.99, AGFI=0.97

    และ RMR=0.01 แสดงดังภาพ 2

  • ◆ ธนดล ยิ้มถนอม และ ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ◆

    15

    ภาพ2 ผลการวเิคราะหค์วามสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิง่แวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครกับข้อมูลเชิงประจักษ์

    5.ผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยท่ีส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

    เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม พบว่าความรู้ทางสิ่งแวดล้อมส่งผล

    ทางตรงต่อเจตคติต่อสิ่งแวดลอ้มด้วยขนาดอิทธิพล 0.36 โดยความรู้ทางสิ่งแวดลอ้มสามารถอธิบาย

    ความแปรปรวนของเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 13

    เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตน พบว่าเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม

    ส่งผลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถของตนด้วยขนาดอิทธิพล 0.92 และความรู้ทางสิ่งแวดล้อม

    ส่งผลทางอ้อมผ่านเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมด้วยขนาดอิทธิพล 0.33 เมื่อพิจารณาอิทธิพลรวม พบว่า

    เจตคติต่อสิง่แวดล้อมสง่ผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนมากกวา่ความรู้ทางสิง่แวดล้อมซ่ึงคดิเปน็

    ร้อยละ 75 และร้อยละ 25 ของขนาดอิทธิพลท้ังหมดตามลÓดับ โดยความรู้ทางส่ิงแวดล้อมและเจตคติ

    ต่อสิ่งแวดล้อมสามารถอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ความสามารถของตนเองได้ร้อยละ 85

  • ◆ การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ◆

    ของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

    16

    เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจภายใน พบว่าการรับรู้ความสามารถของตนส่งผล

    ทางตรงต่อแรงจูงใจภายในด้วยขนาดอิทธิพล 0.87 และความรู้ทางสิ่งแวดล้อมส่งผลทางอ้อมต่อ

    แรงจูงใจภายในด้วยขนาดอิทธิพล 0.29 และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมส่งผลทางอ้อมต่อแรงจูงใจภายใน

    ผ่านการรับรู้ความสามารถของตน เมื่อพิจารณาอิทธิพลรวม พบว่าการรับรู้ความสามารถของตน

    ส่งผลต่อแรงจูงใจภายในมากกว่าเจตคติต่อส่ิงแวดล้อมและความรู้ทางส่ิงแวดล้อมซ่ึงคิดเป็นร้อยละ 45,

    ร้อยละ 40 และ ร้อยละ 15 ของขนาดอิทธิพลทัง้หมด ตามลÓดบั โดยความรู้ทางสิง่แวดล้อม เจตคติ

    ต่อสิ่งแวดล้อม และการรับรู้ความสามารถของตนเองสามารถอธิบายความแปรปรวนของแรงจูงใจ

    ภายในได้ร้อยละ 76

    เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พบว่าความรู้ทาง

    สิ่งแวดล้อมส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าส่งผลทางอ้อมด้วยขนาด

    อิทธิพล 0.10 และ 0.17 ตามลÓดับ แสดงว่านักเรียนที่มีความรู้ทางสิ่งแวดล้อมดีจะส่งผลทางตรง

    และทางอ้อมให้มีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สÓหรับเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมไม่ส่งผลทางตรง

    ต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ส่งผลทางอ้อมด้วยขนาดอิทธิพล 0.44 แสดงว่านักเรียน

    ท่ีมีเจตคติต่อส่ิงแวดล้อมท่ีดี จะส่งผลทางอ้อมให้มีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อม ส่วนการรับรู้

    ความสามารถของตนส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าส่งผลทางอ้อม

    ด้วยขนาดอิทธิพล 0.67 และ 0.12 ตามลÓดับ แสดงว่านักเรียนที่มีการรับรู้ความสามารถของตน

    ในการแสดงพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อมสูงจะส่งผลทางตรงและทางอ้อมให้มีพฤติกรรมรับผิดชอบ

    ต่อสิ่งแวดล้อม และแรงจูงใจภายในส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยขนาด

    อิทธิพล 0.27 แสดงว่านักเรียนท่ีมีแรงจูงใจในการแสดงพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อมสูงจะส่งผล

    ให้มีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อม เม่ือพิจารณาอ�