28
แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแ (COVID-19) แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแ/แแแแ/แแแแแแแ แ. แแแแแแแแแแแแแแแแ สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส/สสสส/สสสสสสส สสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสส สสสสส สสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส COVID - 19 สสสสสสสสสสสสสสสสส สสส สสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสส สสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสส “สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสส (High Performance Organization : HPO) แแแ

¹ผน COVID... · Web viewต วอย างแผนบร หารความเส ยงจากการแพร ระบาดของโรคต ดเช อไวร

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

(ตัวอย่าง)แผนบริหารความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

หรือโรคติดต่อแพร่เชื้อ ของสำนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา/ส่วนแยก

๑. หลักการและเหตุผล

สำนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา/ส่วนแยก เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิในที่ดินของประชาชน และจัดการที่ดินของรัฐ โดยการรังวัดทำแผนที่เพื่อออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง และให้บริการประชาชนด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน และได้รับบริการที่ดี มีประสิทธิภาพ ตอบสนองตามความต้องการของประชาชน ตลอดจนการบริหารจัดการที่ดินของรัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

ปัจจุบันจากสภาวะของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤติการณ์เชื้อไวรัส COVID - 19 ซึ่งอยู่เหนือความคาดหมาย ของหน่วยงานที่จะระบุเป็นความเสี่ยงของหน่วยงานในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ และหากมีการระบาดใหญ่ทั่วโลก จะมี ความเสี่ยงในระดับสูงที่จะส่งผลให้สำนักงานที่ดินไม่สามารถให้บริการประชาชนได้ ซึ่งตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้ให้ความสำคัญกับ “การบริหารความเสี่ยงซึ่งเป็นเครื่องมือสําคัญต่อการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ในการผลักดันให้ภาครัฐมีผลการดําเนินงานที่เป็นเลิศ เป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization : HPO) และเป็นกระบวนการที่สําคัญในการเน้นความสําคัญ หรือชี้ให้เห็นความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรม ที่หน่วยงานต้องดําเนินการให้บรรลุตามเป้าประสงค์ และประเด็นยุทธศาสตร์ที่วางไว้ การบริหารความเสี่ยงที่ดี คือบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายภายในหน่วยงานได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยง และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับหน่วยงานอยู่เสมอ รวมทั้งร่วมกันวางแผนป้องกันและควบคุมให้เหมาะสมกับภารกิจ เพื่อลดสภาพปัญหาหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และสร้างความเสียหายหรือความสูญเสียให้กับหน่วยงานได้ตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด ๒ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งกําหนดว่าส่วนราชการต้องมีการวิเคราะห์และจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO เพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดําเนินแผนงาน/โครงการที่สําคัญ ซึ่งต้องครอบคลุมความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล ในการป้องกันข้อผิดพลาดหรือลดโอกาสที่จะทําให้หน่วยงานเกิดความเสียหายหรือล้มเหลว โดยให้ระดับความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่สามารถรับได้ และมีการติดตามประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามแนวทางการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น จึงได้จัดทําแผนการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานที่ดินขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่สําคัญตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี โดยจะช่วยให้การบริหารงานและการตัดสินใจด้านต่าง ๆ เช่น การวางแผน การกําหนดกลยุทธ์ การติดตามควบคุม และวัดผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการสูญเสียและโอกาส ที่ทําให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงาน อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานตามโครงการ และภารกิจบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การจัดทําระบบบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในยังมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภายนอก และภายในหน่วยงาน นำมาซึ่งการประสานการทํางาน การติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือในการดําเนินการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการดำเนินงานต่อไป

/๒. วัตถุ...

-๒-

๒. วัตถุประสงค์

๑) เพื่อป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID - 19 หรือโรคติดต่อแพร่เชื้ออื่น ๆ

๒) เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยต่อพนักงานกรณีเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID - 19 หรือโรคติดต่อแพร่เชื้อ และลดอัตราการเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคอันเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID - 19 หรือโรคติดต่อแพร่เชื้อ

๓) เพื่อให้สำนักงานที่ดินสามารถดำเนินงาน และให้บริการได้อย่างต่อเนื่องในสภาวะวิกฤตอันเกิด จากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID - 19 หรือโรคติดต่อแพร่เชื้อ

๓. เป้าหมายการบริหารความเสี่ยง

แผนบริหารความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID - 19 หรือโรคติดต่อแพร่เชื้อในสำนักงานที่ดิน ประกอบด้วยแผนที่ใช้ดำเนินการในภาวะต่างกัน ดังนี้

1) แผนก่อนเกิดเหตุโรคระบาด ประกอบด้วย

· แผนการรณรงค์ป้องกันการเกิดโรคระบาดต่อเนื่อง

· แผนการอบรมป้องกันการเกิดโรคระบาดต่อเนื่อง

· แผนการตรวจตราสถานที่เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดต่อเนื่อง

· แผนการตรวจสอบและป้องกันข้อมูล

2) แผนขณะเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 หรือโรคติดต่อแพร่เชื้อ ประกอบด้วย

· แผนการป้องการแพร่กระจายของโรคติดต่อแพร่เชื้อ

· แผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อการให้บริการด้านต่าง ๆ

3) แผนบริหารความต่อเนื่อง

· กลยุทธ์ความต่อเนื่อง

· การวิเคราะห์ผลกระทบกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

· การกำหนดบุคลากรและบทบาทของทีมงานบริหารความต่อเนื่อง

๓.๑ แผนก่อนเกิดเหตุโรคระบาด

๓.๑.๑ แผนการรณรงค์ป้องกันการเกิดโรคระบาดต่อเนื่อง

แผนการรณรงค์ป้องกันเป็นแผนเพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดภายในสำนักงานที่ดิน โดยเป็นการสร้างความสนใจ และส่งเสริมในเรื่องการป้องกันมิให้เกิดโรคระบาด หรือการแพร่กระจายของเชื้อโรคให้เกิดขึ้นในทุกระดับของเจ้าหน้าที่ในแผนการรณรงค์ป้องกันโดยร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อแพร่เชื้อ (Inflections Diseases) การประชาสัมพันธ์จัดทำโปสเตอร์ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของหน่วยงาน ฯลฯ

/๓.๑.๒ แผนการ...

-๓-

๓.๑.๒ แผนการอบรมป้องกันการเกิดโรคระบาดต่อเนื่อง

เป็นการอบรมให้ความรู้ด้านสาธารณสุขกับเจ้าหน้าที่พร้อมกับการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคระบาด ทั้งในเชิงป้องกัน การเฝ้าระวัง และการปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งการเกิดโรคระบาดภายในสถานที่ปฏิบัติงาน ย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการบริการหยุดชะงัก หรืออาจถึงขั้นมีผู้ป่วยติดเชื้อ และแพร่กระจายไปในวงกว้างหรือถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น ในการป้องกันและลดความเสี่ยงด้านการเกิด โรคระบาด จึงจำเป็นต้องจัดให้มีแผนการอบรมให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตัวและวิธีการ ในการยับยั้งและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค และการให้ความร่วมมือในขณะเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในวงกว้าง

๓.๑.๓ แผนการตรวจตราสถานที่และจุดเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคระบาด

เป็นแผนสำรวจ ตรวจตรา ติดตามและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงเป็นระยะ เพราะวิกฤตนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน เช่น การหยุดดำเนินการของผู้ผลิตต่าง ๆอาจะทำให้ความเสี่ยงด้านต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น หากขาดแคลนผู้ผลิต หรือวัตถุดิบที่อาจขาดแคลน ซึ่งความเสี่ยงส่วนนี้อาจมีผลกระทบต่อการให้บริการ

๓.๑.๔ แผนการตรวจสอบและป้องกันข้อมูล

เป็นแผนการสำรวจตรวจตรา และป้องกันข้อมูล โดยทำความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคนทราบเรื่องและต้องมีการบันทึกข้อมูลทางทะเบียนที่ดินและการรังวัดที่ดินให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบันตลอดเวลา

การตรวจสอบ โดยกำหนดให้แต่ละบุคคลมีหน้าที่ตรวจตราฐานข้อมูลที่ดินและข้อมูล ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ โดยให้รายงานผลการตรวจสอบให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดฯ เป็นประจำทุกเดือน อย่างน้อย เดือนละ ๑ ครั้ง

การป้องกันข้อมูล โดยกำหนดให้มีการจัดเก็บข้อมูลทางทะเบียนที่ดินให้เป็นปัจจุบันทุกวัน ซึ่งจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ และจัดเก็บไว้ใน External Harddisk และให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียนเป็นผู้เก็บรักษา

/แผนผัง...

-๔-

แผนผังการตรวจตรา ตรวจสอบ และป้องกันข้อมูล(ข้อ ๓.๑.๓ – ๓.๑.๔)

(ตรวจสอบข้อมูลในระบบทุกสัปดาห์ตรวจสถานที่ตามที่กำหนดส่งแบบรายงานที่ฝ่ายอำนวยการรายงานและสรุปผลเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด มีข้อบกพร่องไม่มีข้อบกพร่องหัวหน้าฝ่ายที่เกี่ยวข้องสั่งการเจ้าหน้าที่รับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขเก็บรวบรวมเอกสารโดยฝ่ายอำนวยการ)

/๓.๒ แผนขณะ...

-๕-

๓.๒ แผนขณะเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 หรือโรคติดต่อแพร่เชื้อ ประกอบด้วย

(ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติตนเมื่อเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส กรณีบุคลากรภายในหน่วยงาน) ๓.๒.๑ แผนการป้องการแพร่กระจายของโรคติดต่อแพร่เชื้อ

(บุคลากรที่มีความเสี่ยงน้อย) (บุคลากรที่มีความเสี่ยงปานกลาง) (บุคลากรที่มีความเสี่ยงสูง)

(ประวัติในช่วง ๑๔ วันก่อนป่วยเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด หรือประเทศที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19) (ประวัติในช่วง ๑๔ วันก่อนป่วยไม่ได้เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด หรือประเทศที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19) (ประวัติในช่วง ๑๔ วันก่อนป่วยไม่ได้เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยตรง)

(ทั้งกรณีที่มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อย และกรณีไม่มีอาการทางกาย แต่กังวลใจว่าจะติดเชื้อ โควิด-19 จากสาเหตุต่าง ๆ ) (อาการสงสัยมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก) (อาการสงสัยมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก)

(นำส่งโรงพยาบาลตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข) (โทรประสานงานกับโรงพยาบาลฯ เพื่อ ขอตรวจรักษาตามอาการ รับยา หรือขอคำแนะนำโรคในกรณีที่จำเป็น ) (โทรประสานงานกับโรงพยาบาลฯ เพื่อขอนัดตรวจคัดกรองเชื้อ Covid-19)

(Admit โรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังโรค ติดเชื้อ) (รอฟังผล และหยุดพักสังเกตดูอาการที่บ้าน ๑๔ วัน )

(ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติตนเมื่อเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส กรณีผู้รับบริการ)

(กรอกข้อมูลบันทึกรายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ วันที่และเวลาของผู้มารับบริการทุกคน เพื่อให้สามารถติดตามตัวได้ในกรณีที่ต้องสอบสวนโรค) (ผู้รับบริการต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกคน ผ่านจุดคัดกรองก่อนเข้ารับบริการ โดยมีการวัดอุณหภูมิ ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ ๗๐% หรือเจลแอลกอฮอล์ ๗๐%) (ประชาชนผู้รับบริการ ต้องจองคิวล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ ผ่านระบบออนไลน์ ผ่านระบบ LINE OA)

(-ประชาสัมพันธ์แจกคิวอัตโนมัติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ -จำกัดผู้รับบริการ อนุญาตให้เฉพาะคู่กรณีเข้าทำนิติกรรมเท่านั้น - ให้บริการตามช่องบริการ และจัดที่นั่งแบบเว้นระยะห่าง สำหรับผู้รับบริการนั่งรอภายในสำนักงานที่ดิน- ผู้รับบริการสามารถตรวจสอบคิวอัตโนมัติ ผ่านระบบออนไลน์ ทั้งระบบ LINE OA และ FACEBOOK และจะแจ้งให้ผ่านทางระบบ LINE ทราบก่อน ๑๕ นาที) (แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจคัดกรองตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข)

(ผู้รับบริการรอรับบริการตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนด จนเสร็จกระบวนการ )

(ไม่ผ่านจุดคัดกรอง)

(ผ่านจุดคัดกรอง)

/โครงสร้าง...

-๖-

โครงสร้างทีมงานแผนบริหารความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส หรือโรคติดต่อแพร่เชื้อ

ผู้ปฏิบัติงาน

หน้าที่รับผิดชอบ

ผู้อำนวยการทีมปฏิบัติการบริหาร ความเสี่ยง(เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา/ส่วนแยก)

1. รับฟังรายการต่าง ๆ เพื่อสั่งการการใช้แผนต่าง ๆ

2. ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. รายงานผลการเกิดเหตุจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไป

4. เสนอข่าวแก่สื่อมวลชน และประชาชนทราบ

หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ

(หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ)

1. เมื่อเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ให้รีบแจ้งเหตุให้กับสำนักงานสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลใกล้เคียง พร้อมส่งรายชื่อผู้รับบริการที่ได้บันทึกไว้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วย

2. สั่งการให้ปิดสำนักงานชั่วคราวตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนด ทั้งนี้ให้เป็นไปตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

3. จัดให้มีมาตรการคุมเข้มในการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยการสั่งการให้ฝ่ายปฏิบัติงานดำเนินการทำความสะอาดสถานที่ให้บริการประชาชนในทันที

4. คัดกรองบุคลากรที่ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยงที่คาดว่าจะติดเชื้อให้ดำเนินการตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด

ฝ่ายปฏิบัติการ (เจ้าหน้าที่ทุกคนในสำนักงานที่ดินตามภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย)

1. เมื่อเกิดเหตุแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ให้หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการแยกชุดปฏิบัติการออกเป็น 2 ชุด ขนย้ายเอกสารสำคัญและวัสดุสำนักงานที่สามารถขนย้ายได้ และชุดทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในสำนักงาน

1.1 ชุดทำความสะอาดเอกสาร เมื่อเกิดเหตุแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ใด ให้ทำความสะอาดเอกสารและวัสดุสำนักงานที่สำคัญเสร็จแล้วให้ทำการขนย้ายเอกสารไปที่จุดที่ปลอดเชื้อโรค ซึ่งเป็นที่ปลอดภัยและมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังดูแลความปลอดภัยป้องกันเอกสารสูญหาย

1.2 ชุดฆ่าเชื้อโรค เมื่อเกิดเหตุแพร่กระจายของเชื้อโรคในพื้นที่ตนเอง ไม่ว่ามากหรือน้อย ชุดปฏิบัติการชุดนี้จะทำความสะอาดสถานที่ให้บริการประชาชน ด้วยการเช็ดถูกระจก ลูกบิดประตู ราวจับบันได เครื่องกดคิว เก้าอี้ประชาชน ห้องน้ำและอื่น ๆ โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค โดยให้ปฏิบัติการภายใต้คำสั่งของหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการในพื้นที่ ในการปฏิบัติการหากจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานท้องถิ่นหรือสำนักงานสาธารณสุขหรือ

หน่วยงานที่มีเครื่องมือฉีดพ่นหรืออุปกรณ์ในการฆ่าเชื้อโรค ให้หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการสั่งดำเนินการ

/2. ทันที...

- 7 -

ผู้ปฏิบัติงาน

หน้าที่รับผิดชอบ

2. ทันทีที่ทราบเหตุของการแพร่กระจายของเชื้อโรคในพื้นที่ตนเอง ให้แจ้งข่าวทางโทรศัพท์ถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้อำนวยการทีมปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง พร้อมทั้งจัดส่งข้อมูลรายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ วันที่และเวลาของผู้มารับบริการทุกคน เพื่อให้สามารถติดตามตัวได้ในกรณีที่ต้องสอบสวนโรค

ฝ่ายสื่อสารและประสานงาน

1. คอยช่วยเหลือประสานงานระหว่างผู้อำนวยการทีมปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. คอยรับ-ส่ง คำสั่งจากผู้อำนวยการทีมปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง ในการติดต่อศูนย์ข่าวและหน่วยงานสาธารณสุขภายในจังหวัด

3. สั่งการแทนผู้อำนวยการทีมปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงในกรณีที่ผู้อำนวยการทีมปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงมอบหมาย

4. ให้รีบไปยังจุดเกิดเหตุ คอยรับคำสั่งจากผู้อำนวยการทีมปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงและหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ

5. ป้องกันมิให้บุคคลภายนอกที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าก่อนได้รับอนุญาต

6. ควบคุมป้องกันทรัพย์สินที่ฝ่ายเคลื่อนย้ายนำมาเก็บไว้

ฝ่ายเคลื่อนย้ายภายใน-ภายนอก

1. ให้รับผิดชอบในการกำหนดจุดปลอดเชื้อในการเก็บวัสดุครุภัณฑ์

2. อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายขนส่งวัสดุครุภัณฑ์

3. จัดยานพาหนะและอุปกรณ์ขนย้าย

หน่วยติดต่อช่วยเหลือจากพื้นที่อื่น

1. เจ้าหน้าที่ที่ทราบเหตุของการแพร่กระจายของเชื้อโรค และต้องการเข้ามาช่วยเหลือให้รายงานตัวต่อผู้อำนวยการทีมปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงเพื่อทำการแบ่งชุดช่วยเหลือส่งเสริมในการปฏิบัติงาน

2. คอยรับคำสั่งจากผู้อำนวยการทีมปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงให้คอยอยู่บริเวณที่เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค

ศูนย์รวมข่าว/สื่อสาร

1. เมื่อทราบข่าวการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ภายในสำนักงานที่ดิน จะต้องทำการตรวจสอบข่าว

2. แจ้งเหตุของการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19

3. ติดตามข่าว แจ้งข่าวเป็นระยะ

4. ติดต่อขอความช่วยเหลือ (ถ้ามีการสื่อสาร)

5. แจ้งข่าวอีกครั้งเมื่อมีการเคลียร์พื้นที่หรือทำการฆ่าเชื้อโรคที่แพร่กระจายเรียบร้อยแล้ว

/๓.๒.๒ แผนฉุกเฉิน...

-๘-

๓.๒.๒ แผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อการให้บริการด้านต่าง ๆ

(๑) จัดให้มีหน้ากากอนามัยแก่บุคลากรในสังกัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานบริเวณเคาน์เตอร์ที่ต้องให้บริการประชาชนให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน

(๒) จัดหาแอลกอฮอล์ชนิดเจลหรือชนิดน้ำให้เพียงพอทั้งบริเวณทางเข้าอาคารสำนักงานที่ดิน และเคาน์เตอร์บริการประชาชน

(๓) จัดหาเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกายและกำหนดจุดตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิของร่างกายเพื่อตรวจวัดบุคลากรในสังกัดและประชาชนทุกคนที่มารับบริการก่อนเข้าภายในอาคารสำนักงานที่ดิน ในกรณีพบผู้มีอุณหภูมิเกินกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ให้ผู้นั้นนั่งรอภายนอกอาคาร เพื่อตรวจวัดซ้ำอีกครั้ง หากอุณหภูมิยังคงเกินกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ห้ามบุคคลนั้นเข้าภายในอาคารสำนักงาน และแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที

(๔) จัดให้มีระบบออนไลน์มาใช้ในการให้บริการประชาชน จัดเก้าอี้ของผู้รับบริการให้มีระยะห่างกันอย่างน้อย ๒ เมตร

๔. แผนบริหารความต่อเนื่องกรณีมีเหตุต้องปิดการให้บริการเนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 หรือโรคติดต่อแพร่เชื้อภายในสำนักงานที่ดิน

๔.๑ กลยุทธ์ความต่อเนื่อง

เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและการรังวัดที่ดิน ให้สำนักงานที่ดินกำหนดกลยุทธ์ความต่อเนื่องของการให้บริการด้านทรัพยากรที่สำคัญ ๕ ด้าน ได้แก่

(๑) ด้านสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง (Working Space Requirement)

ทรัพยากร

สถานที่

4 ชั่วโมง

1 วัน

3 วัน

1 สัปดาห์

2 สัปดาห์

พื้นที่สำหรับสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง

- ศาลากลางจังหวัด......

- สำนักงานที่ดินจังหวัด...... สาขา........

อย่างน้อย ..... ตร.ม.

(.... คน)

อย่างน้อย

..... ตร.ม.

(.... คน)

อย่างน้อย

..... ตร.ม

(.... คน)

อย่างน้อย

..... ตร.ม.

(.... คน)

อย่างน้อย

..... ตร.ม.

(.... คน)

ปฏิบัติงานที่บ้าน

-

-

..... ตร.ม.

(.... คน)

.... ตร.ม.

(.... คน)

.... ตร.ม.

(.... คน)

/(๒) ด้านวัสดุ...

-๙-

(2) ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ (Equipment & Supplies Requirements)

ทรัพยากร

ที่มา

4 ชั่วโมง

1 วัน

1 สัปดาห์

2

สัปดาห์

1

เดือน

1. เครื่องพิมพ์ดีด

- ขอยืมจากสำนักงานที่ดินจังหวัด…….สาขา........ - สำนักงานที่ดินอื่นในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง

-

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

2. คอมพิวเตอร์สำรอง

- ขอสนับสนุนจากกรมที่ดิน

- ขอยืมจากสำนักงานที่ดินจังหวัด.....สาขา.......... - สำนักงานที่ดินอื่นในจังหวัด........ และจังหวัดใกล้เคียง

-

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

3. เครื่องพิมพ์ (Printer)

- ขอสนับสนุนจากกรมที่ดิน

- ขอยืมจากสำนักงานที่ดินจังหวัด.....สาขา.......... - สำนักงานที่ดินอื่นในจังหวัด......และจังหวัดใกล้เคียง

-

....

เครื่อง

….

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

4. โทรศัพท์พร้อมหมายเลข

- ขอสนับสนุนจากกรมที่ดิน

- ผ่านกระบวนการจัดซื้อตามความจำเป็นและเหมาะสม

-

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

6. เครื่องถ่ายเอกสาร

- ขนย้ายจากสำนักงานที่ดินเดิม - ผ่านกระบวนการจัดซื้อตามความจำเป็นและเหมาะสม

-

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

7. อุปกรณ์สำรองข้อมูล

- ผ่านกระบวนการจัดซื้อตามความจำเป็นและเหมาะสม

-

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

8. โทรสารพร้อมหมายเลข/เครื่องสแกนเนอร์

- ขนย้ายจากสำนักงานที่ดินเดิม - ผ่านกระบวนการจัดซื้อตามความจำเป็นและเหมาะสม

-

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

/9. คอมพิวเตอร์...

- 10 -

ทรัพยากร

ที่มา

4 ชั่วโมง

1 วัน

1 สัปดาห์

2

สัปดาห์

1

เดือน

9. คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop/Note book)

- ขอสนับสนุนจากกรมที่ดิน

- ขอยืมจากสำนักงานที่ดินจังหวัด...........สาขา........... - สำนักงานที่ดินอื่นในจังหวัด...........และจังหวัดใกล้เคียง

- ของบุคลากร

-

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

....

เครื่อง

10. อุปกรณ์สำนักงาน

- ผ่านกระบวนการจัดซื้อตามความจำเป็นและเหมาะสม

-

พิจารณาตามความจำเป็น

พิจารณาตามความจำเป็น

พิจารณาตามความจำเป็น

พิจารณาตามความจำเป็น

11. วัสดุอุปกรณ์ป้องกัน/ฆ่าเชื้อ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ หน้ากากอนามัย ถุงมือ แอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น

- ผ่านกระบวนการจัดซื้อตามความจำเป็นและเหมาะสม

-

พิจารณาตามความจำเป็น

พิจารณาตามความจำเป็น

พิจารณาตามความจำเป็น

พิจารณาตามความจำเป็น

12. เครื่องมือการรังวัดด้วยระบบดาวเทียม RTK

ขอสนับสนุนจากกรมที่ดิน

- ขอยืมจากสำนักงานที่ดินจังหวัด...........สาขา.......... - สำนักงานที่ดินอื่นในจังหวัด.......และจังหวัดใกล้เคียง

-

….

เครื่อง

….

เครื่อง

….

เครื่อง

....

เครื่อง

/(๓) ด้านเทคโน...

-๑๑-

(3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทรัพยากร

ที่มา

4 ชั่วโมง

1 วัน

1 สัปดาห์

2

สัปดาห์

1

เดือน

ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

หน่วยงานระบบ IT ของกรมที่ดิน

GFMIS (ระบบเบิกจ่ายเงิน)

หน่วยงานระบบ IT ของกรมที่ดิน

EGP (ระบบจัดซื้อจัดจ้าง)

หน่วยงานระบบ IT ของกรมที่ดิน

ข้อมูลทะเบียนที่ดินและระบบสารสนเทศที่ดินเพื่อใช้ในการบริการประชาชน

หน่วยงานระบบ IT ของกรมที่ดิน

ข้อมูลระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการรังวัดที่ดิน

หน่วยงานระบบ IT ของกรมที่ดิน

(4) ด้านบุคลากรหลักสำหรับความต่อเนื่องเพื่อปฏิบัติงาน (Personnel Requirement)

ทรัพยากร

4 ชั่วโมง

1 วัน

1 สัปดาห์

2

สัปดาห์

1

เดือน

จำนวนบุคลากรปฏิบัติงานที่สำนักงาน/สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง

..

..

..

..

..

จำนวนบุคลากรปฏิบัติงานที่บ้าน

..

..

..

..

..

/(๕) ด้านความ...

-๑๒-

(5) ด้านความต้องการคู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ

ทรัพยากร

4 ชั่วโมง

1 วัน

1 สัปดาห์

2

สัปดาห์

1

เดือน

ผู้ให้บริการไฟฟ้า

ผู้ให้บริการน้ำประปา

ผู้ให้บริการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (TOT/CAT/ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ)

ผู้ให้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานภาคเอกชน)

หมายเหตุ : การจัดหาอุปกรณ์เชื่อมโยงระบบเครือข่ายต่อผ่านอินเทอร์เน็ตแบบพกพา (Air Card) ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเชื่อมโยงการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญของหน่วยงานกลางผ่านอินเทอร์เน็ต ในกรณีที่ผู้ให้บริการหลักและสำรองไม่สามารถให้บริการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ขั้นตอนการบริหารความต่อเนื่องและกอบกู้กระบวนการ

๔.2 ผลกระทบกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สำนักงานที่ดินจังหวัด..........ได้ทำการวิเคราะห์กระบวนงานและภารกิจให้บริการที่มีผลกระทบต่อการให้บริการแก่ประชาชนและได้กำหนดระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนสภาพของสำนักงานที่ดินในช่วงเวลาที่เกิดการระบาดของเชี้อไวรัส COVID-19 หรือโรคติดต่อแพร่เชื้อ โดยสรุป ได้ดังนี้

กระบวนการหลัก

ระดับความเร่งด่วน

ระยะเวลาเป้าหมายในการพื้นคืนสภาพ

1

ชม.

1

วัน

3

วัน

1 สัปดาห์

2 สัปดาห์

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงาน สารบรรณ และงานธุรการทั่วไป

สูง

2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงิน การบัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ การติดต่อประสานงาน งานสถิติข้อมูล

สูง

3. ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลทะเบียนที่ดินและระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในระบบบริการประชาชน

สูง

/4. การดำเนิน...

- 13 -

กระบวนการหลัก

ระดับความเร่งด่วน

ระยะเวลาเป้าหมายในการพื้นคืนสภาพ

1

ชม.

1

วัน

3

วัน

1 สัปดาห์

2 สัปดาห์

4. การดำเนินการเกี่ยวกับการรับคำขอเบ็ดเตล็ดทุกประเภทที่ไม่ต้องมีการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรม

สูง

5. การดำเนินการเกี่ยวกับการรับคำขอ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องลงนามจดทะเบียนในเอกสารสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

สูง

6. ดำเนินการเกี่ยวกับงานรังวัดที่ดิน

สูง

๔.๓ บุคลากรและบทบาทของทีมงานบริหารความต่อเนื่องของสำนักงานที่ดินจังหวัด........

บุคลากรหลักที่ต้องดำเนินการภายใต้ภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และเชื้อโรคติดต่ออื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มีดังนี้

บุคลากรหลัก

บทบาท

บุคลากรเสริม

เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด

หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่อง

-

หัวหน้าฝ่ายทะเบียน

ทีมงานบริหารความต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนทุกคน

หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการที่ดิน

ทีมงานบริหารความต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่กลุ่มงานวิชาการที่ดิน ทุกคน

หัวหน้าฝ่ายรังวัด

ทีมงานบริหารความต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่ฝ่ายรังวัดทุกคน

หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ

ทีมงานบริหารความต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการทุกคน

หัวหน้าฝ่ายควบคุมและรักษาหลักฐานที่ดิน

ทีมงานบริหารความต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมและรักษาหลักฐานที่ดินทุกคน

/๕. การสื่อสาร...

-๑๔-

๕. การสื่อสารกับประชาชน

ประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยจังหวัด หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เว็บไซต์สำนักงานที่ดิน เว็บไซต์กรมที่ดิน และช่องทางการติดต่อของสำนักงานที่ดิน ติดป้ายประชาสัมพันธ์ ณ ที่ทำการเดิม และที่ทำการใหม่ (ชั่วคราว)

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ให้ไว้ ณ วันที่ ..... เดือน .......... พ.ศ. 2563