10
“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง” , สรุปผลการดำเนินงาน จากการดำเนินกิจกรรมตามความต้องการของประชาชนในชุมชน พบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการเกิดจิตสำนึกที่จะนำ กระบวนการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในครอบครัวและขยายผล ไปสู่ชุมชน โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก ส่งผลให้การดำเนินงานประสบ ความสำเร็จตามเป้าหมาย ทั้งนี้เนื่องจาก ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ในพื้นที่ดูแลเอาใจใส่ช่วยวางแผนการจัดกิจกรรม การให้ความรู้พื้นฐาน ให้ขวัญ และกำลังใจ ให้คำแนะนำปรึกษา รวมทั้งการจัดทำเวทีประชาคมสรุปผลการ ปฏิบัติงานทุกเดือนเพื่อรับทราบผลร่วมกัน รวมทั้งทราบถึงปัญหาอุปสรรค และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน จนประชาชนในชุมชน จำนวน 25 ครัวเรือน 75 คน สามารถนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติ ดังนีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน ซึ่งบางส่วนจะไม่ได้ ลงทุกวันแต่อาจลง 2-3 วันต่อครั้ง เนื่องจากถือว่าเป็นภาระและไม่มีเวลา บางส่วนก็ลงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ก็ทำให้ได้ภาพรวมความเคลื่อนไหวการ ใช้จ่ายในครัวเรือน ทำให้มีความรอบคอบในการใช้จ่ายเงินสามารถควบคุมการ ใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยในครอบครัวได้ การจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อออมทรัพย์และเป็นเงิน กองทุนเพื่อใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ และช่วยเหลือสมาชิกกองทุน การประกอบอาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงปลา เกิดขึ้น เนื่องจากการศึกษาดูงานที่จังหวัด เชียงใหม่ ประชาชนในชุมชนจึงได้นำ ความรู้มาจัดกิจกรรมเลี้ยงปลา เพื่อลด รายจ่ายในครัวเรือน และเพิ่มรายได้จาก การขายปลา < < < l

สรุปผลการดำเนินงานebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_11_20.pdf · การเลี้ยงหมูหลุมเกิดขึ้น

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

��“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

, สรุปผลการดำเนินงาน จากการดำเนินกิจกรรมตามความต้องการของประชาชนในชุมชน

พบว่า ประชาชนที่ เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการเกิดจิตสำนึกที่จะนำ

กระบวนการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในครอบครัวและขยายผล

ไปสู่ชุมชน โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก ส่งผลให้การดำเนินงานประสบ

ความสำเร็จตามเป้าหมายทั้งนี้เนื่องจากครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

ในพื้นที่ดูแลเอาใจใส่ช่วยวางแผนการจัดกิจกรรม การให้ความรู้พื้นฐาน ให้ขวัญ

และกำลังใจ ให้คำแนะนำปรึกษา รวมทั้งการจัดทำเวทีประชาคมสรุปผลการ

ปฏิบัติงานทุกเดือนเพื่อรับทราบผลร่วมกัน รวมทั้งทราบถึงปัญหาอุปสรรค

และหาแนวทางแก้ ไขร่วมกัน จนประชาชนในชุมชน จำนวน 25 ครัวเรือน

75คนสามารถนำความรู้ที่ ได้มาปฏิบัติดังนี้

การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน ซึ่งบางส่วนจะไม่ได้

ลงทุกวันแต่อาจลง 2-3 วันต่อครั้ง เนื่องจากถือว่าเป็นภาระและไม่มีเวลา

บางส่วนก็ลงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ก็ทำให้ ได้ภาพรวมความเคลื่อนไหวการ

ใช้จ่ายในครัวเรือน ทำให้มีความรอบคอบในการใช้จ่ายเงินสามารถควบคุมการ

ใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยในครอบครัวได้

การจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อออมทรัพย์และเป็นเงิน

กองทุนเพื่อใช้จ่ายในการประกอบอาชีพและช่วยเหลือสมาชิกกองทุน

การประกอบอาชีพเสริมได้แก่

การเลี้ยงปลา เกิดขึ้น

เนื่ องจากการศึกษาดู งานที่ จั งหวัด

เชียงใหม่ ประชาชนในชุมชนจึงได้นำ

ความรู้มาจัดกิจกรรมเลี้ยงปลา เพื่อลด

รายจ่ายในครัวเรือน และเพิ่มรายได้จาก

การขายปลา

<

<

<

l

�� “กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

การเลี้ยงหมูหลุม เกิดขึ้น

เนื่องจากการศึกษาดูงานที่บ้านห้วยมะเขือ

ส้มจนมีความมั่นใจและตั้งใจที่จะเลี้ยงหมู

หลุม และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถขาย

ได้กำไร และที่สำคัญทำให้กลุ่มผู้เลี้ยงได้ปุ๋ย

หมักจำนวนมากสามารถนำไปใส่แปลงนาได้

นับเป็นการลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยได้ด้วย

การเพาะเห็ด โดยประชาชนได้ ไปศึกษาดูงานโรงเพาะเห็ด

บ้านใหม่ ศูนย์พัฒนาเกษตรที่สูงบ้านห้วยมะเขือส้ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

จนสามารถนำความรู้มาใช้ ในการเพาะ

และดูแลเห็ด ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

นำผลผลิตมาขายในหมู่บ้านได้เงินมาเป็น

กองทุน ได้ผักปลอดสารพิษมีกินตลอดปี

และขยายผลไปสู่เพื่อนบ้าน โดยนำเชื้อ

เห็ดไปทดลองเพาะที่บ้าน ซึ่งเป็นที่พึง

พอใจของสมาชิกทุกคน

การพัฒนาอาชีพเดิมได้แก่

การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ เป็นการลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน ลดการ

ใช้สารพิษที่ใช้ฆ่าแมลง ได้ผักปลอดสารพิษ และขยายต่อให้ครอบครัวอื่นใช้รด

พืชผัก

การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้วัสดุ

ที่มีรอบหมู่บ้านเพื่อผลิตปุ๋ยหมักในการปรับ

สภาพดินเพื่อปลูกข้าวกระเทียม

การทำแปลงเกษตรอินทรีย์

โดยประชาชนสามารถทำแปลงสาธิตเพื่อ

ลดการใช้สารเคมีได้ทุกครัวเรือน

l

l

<

l

l

l

��“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

, ปัญหา/อุปสรรค การแก้ ไขปัญหาบางอย่างไม่ตรงกับความต้องการของกลุ่ม

เป้าหมาย เพราะคนทำงานการศึกษานอกโรงเรียนไม่สามารถแก้ ไขได้ เช่น

ปัญหาด้านที่ดิน การสร้างถนน แหล่งน้ำ โครงสร้างใหญ่ๆ ซึ่งการทำเวที

บางครั้งหากไม่สามารถแก้ปัญหาให้ ได้ทันที ต้องประสานงานกับหน่วยงานที่

เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหา

บุคลากรมีการลาออกไปทำงานในที่ใหม่ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง

ในบางพื้นที่

กลุ่มเป้าหมายบางครั้งไม่มั่นใจในการจัดทำแผน เพราะเบื่อหน่าย

จัดทำแผนหลายครั้งแล้วไม่เกิดผลอะไรเช่นขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

การนัดหมายของแต่ละชุมชนและครอบครัวมีเวลาไม่ตรงกัน

การคมนาคมยากลำบาก ชาวบ้านติดงานภารกิจในการประกอบอาชีพและงาน

อื่นๆต่อเนื่อง

, ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดทำกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา

อย่างยั่งยืน

ประชาชนต้องการไปศึกษาดูงานในพื้นที่อื่นเพื่อนำมาพัฒนางานใน

กลุ่มตนเอง

ควรมีการกระตุ้นให้ชุมชนมีการขับเคลื่อนกิจกรรม

ควรมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลกับหน่วยงานเครือข่าย โดยเฉพาะ

การวางแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกัน

ควรเน้นการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการจัด

กิจกรรม และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้การจัดกิจกรรมเป็นไปตาม

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

<

<

<

<

<

<

<

<

<

กลุ่มอิงดอย ชุมชนเมืองน่าน กับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง

2

��“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

j j

, การก่อเกิดโครงการฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองน่าน วโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 และรัฐบาลได้

เชิญชวนประชาชนทั้งประเทศร่วมจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติโดยพร้อมเพรียง

กัน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองน่านร่วมกับศูนย์การศึกษา

นอกโรงเรียนจังหวัดน่านประกอบด้วย ผู้บริหาร ข้าราชการครูและเจ้าหน้าที่

ทุกคนจึงได้พร้อมใจกันร่วมเทิดพระเกียรติด้วยการจัดโครงการ “ฐานเรียนรู้

เศรษฐกิจพอเพียงเทิดไท้ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60ปี พุทธศักราช 2549”

ขึ้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2549 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันปีพุทธศักราช

2550 ซึ่งเป็นปีมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา โดยมีกิจกรรม

สำคัญอย่างต่อเนื่องได้แก่

<การจัดสร้างฐานกิจกรรมเรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแนว

พระราชดำริ

<การจัดสร้างฐานเรียนรู้

เกษตรธรรมชาติ ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้

ดูงานและฝึกปฏิบัติ

< จัดฝึกอบรมหลักสูตร

ระยะสั้นเพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย

ชุมชนเมืองน่าน กับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง

�� “กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

��“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

, การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมโครงการ กลุ่มเป้าหมายหลักได้แก่

< บุคลากรครูของ ศูนย์บริการ

การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองน่าน

ประกอบด้วย ข้าราชการครู พนักงานของ

รัฐและครูศูนย์การเรียนชุมชนซึ่งจะเป็นผู้

จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่ประชาชน

จำนวน29คน

< นักศึกษา ประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้ลงทะเบียนเพื่อแก้ ไขปัญหา

ความยากจน ในพื้นที่อำเภอเมืองน่านและกิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่านที่ศึกษา

หลักสูตรระยะสั้น

, วิธีการดำเนินงาน มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

<ศึกษา/รวบรวมข้อมูลเชิงนโยบาย แผนยุทธศาสตร์การศึกษานอก

โรงเรียนยุทธศาสตร์จังหวัดและปัญหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

< วิเคราะห์ข้อมูล/ลำดับความสำคัญของปัญหาความต้องการ และ

วางแผนการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ

< จัดกลุ่มภารกิจและมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละระบบและ

ขออนุมัติโครงการ

< ดำเนินการตามแผนประกอบด้วย3กิจกรรมหลักคือ

l การจัดสร้างฐานกิจกรรมเรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตาม

แนวพระราชดำริโดยจัดทำสื่อการเรียนรู้ประกอบด้วยชุดนิทรรศการเคลื่อนที่

25ป้ายรายการหนังสือเสริมความรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง800เล่มบัตรคำ/

เกมคำถามต่างๆ สำหรับใช้จัดอบรมเผยแพร่ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงสู่ปวงชนกลุ่มเป้าหมายในรูปการอบรมหลักสูตรระยะสั้น

�� “กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

l การจัดสร้างฐานเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้

ดูงานและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกพืชผักปลอดสารเคมี

l จัดฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายภายใต้

แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่กลุ่มเป้าหมายผู้ยากจนและผู้มีรายได้น้อย

ในพื้นที่อำเภอเมืองน่านและกิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เช่น การเพาะเห็ด

การเลี้ยงปลากินพืช/ปลาดุก/สาธิตการเลี้ยงจิ้งหรีด/การทำปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์

ชีวภาพ/การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์แห้ง และการทำน้ำยาต่างๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์

จากจุลินทรีย์เช่นน้ำยาล้างจานน้ำยาล้างห้องน้ำน้ำยาล้างรถเป็นต้น

��“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

< ตรวจสอบติดตามผล/ประเมินผล

< นำผลการประเมินมาปรับปรุง/แก้ไขและพัฒนา

< รายงานผลการดำเนินงานทุกไตรมาส

, ผลการดำเนินงาน < ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโดยภาพรวมที่ประสบผลสำเร็จ มี

กิจกรรมที่โดดเด่นดังนี้

l โครงการฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

v มีสิ่งประกอบการจัดกิจกรรมฐานเรียนรู้อย่างหลากหลาย

โดยประกอบด้วย หลักสูตร/สื่อฝึกอบรม ได้แก่ ชุดคำถาม/คำตอบ ชุด

นิทรรศการเคลื่อนที่ 25 ป้าย/แผ่น และหนังสือเสริมความรู้เศรษฐกิจพอเพียง

800เล่ม

v เกิดแหล่งเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ

ภายในบริเวณศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ

เมืองน่าน ประกอบด้วยบ่อปลากินพืช บ่อซีเมนต์เลี้ยงปลาดุก บ่อเลี้ยงจิ้งหรีด

พันธุ์ทองแดงลายและโรงเรือนเพาะเห็ด 2 โรง โรงปุ๋ย 1 โรงแปลงผักปลอดสาร

พื้นที่ 50ตารางวาผักชำถุงไม้ดอกไม้ประดับ/พืชสมุนไพร200ถุงผลิตภัณฑ์

น้ำหมักชีวภาพ3ถัง/ทุก3เดือน(ถังขนาดความจุ20ลิตร)ปุ๋ยจุลินทรีย์แห้ง

20 กระสอบ/3 เดือน และผลิตภัณฑ์จากน้ำหมักเช่น น้ำยาล้างจาน/น้ำยาล้าง

ห้องน้ำ100ขวด/ครั้ง

v เกิดการออมทรัพย์ครู“โครงการวันละบาท”มีสมาชิกเริ่มแรก

29 คน ยอดเงินออมตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม 2549 ถึงเมษายน 2550

(10เดือน)มีเงินออมจำนวน14,100บาทสมาชิกผู้ร่วมโครงการปัจจุบันทั้งสิ้น

จำนวน 38 คน เงินทุนหมุนเวียนจากผลิตผลการเกษตร(การเพาะเห็ด/

การเลี้ยงปลากินพืชและปลาดุก/ผลิตภัณฑ์น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพของกลุ่ม)

�0 “กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

รวมเป็นเงิน15,877.-บาทเงินดอกผลจากการเปิดให้สมาชิกกู้ยืม(ดอกเบี้ยร้อย

ละ1บาท)(เริ่มให้กู้ม.ค-มี.ค50)มีรายได้จากดอกเบี้ยกู้ยืมรวม540.-บาท

รายจ่ายเพื่อลงทุนในฐานเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ รวม 6,680.- บาท โดยสรุปมี

เงินรายได้สุทธิจากโครงการฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ระยะเวลา 10 เดือน

เป็นเงิน23,837.-บาท

v กิจกรรมการฝึกอบรมความรู้เพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย ควบคู่

กับการปลูกฝังแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตได้ก่อให้เกิดกลุ่มอาชีพที่

หลากหลายในชุมชนมีดังนี้

m กลุ่มเพาะเห็ดบ้านดอนอุดมหมู่9ตำบลสวกอำเภอเมือง

จังหวัดน่าน13คนมีเงินทุนหมุนเวียน5,000บาทรายได้ต่อวันเฉลี่ย120-200

บาท

m กลุ่มเลี้ยงสุกรวิธีเกษตรธรรมชาติ(หมูหลุม)บ้านนวราษฎร์

หมู่ที่5ตำบลนาซาวอ.เมืองน่าน16คนจำหน่ายหมูรุ่นที่1เป็นเงิน20,577บาท

กำไรสุทธิ 6,296 บาท ปัจจุบันกำลังเลี้ยงหมูแม่พันธุ์ โดยองค์การบริหาร

ส่วนตำบลนาซาวให้กู้ยืมเงินปลอดดอกเบี้ยซื้อแม่พันธุ์ เป็นเงิน 11,000 บาท

เพื่อขยายการเลี้ยงสุกรสู่สมาชิก

m กลุ่มเลี้ยงสุกรวิธีเกษตรธรรมชาติ(หมูหลุม) บ้านนาปัง

หมู่2ตำบลนาปังกิ่งอำเภอภูเพียงจังหวัดน่าน2กลุ่ม29คนจำหน่ายสุกร

รุ่นแรกแล้ว10ตัวมีเงินกำไรสุทธิ6,000-8,000บาท/กลุ่มปัจจุบันกำลังขยาย

การเลี้ยงในหมู่สมาชิก 5-6 ครัวเรือน โดย เลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ กลุ่ม ละ 1 ตัว

เพื่อให้ลูกหมูแก่สมาชิก

m กลุ่มเลี้ยงสุกรวิธีเกษตรธรรมชาติ(หมูหลุม) บ้านดงป่าสัก

หมู่ 10ตำบลฝายแก้วกิ่งอำเภอภูเพียงจังหวัดน่าน10คน เลี้ยงสุกรรุ่นแรก

5ตัวชำแหละแล้ว1ตัวกำลังจะจำหน่าย2ตัวเหลืออยู่2ตัวอยู่ระหว่าง

ดำเนินการติดตามผล/รายงาน