8
80 วารสารวิจัย ปีท่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559 http://ird.rmutto.ac.th การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาสภาพ ภูมิศาสตร์ร่วมกับคุณภาพน�้า: กรณีศึกษาล�าน�้าว้า อ�าเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน The Application of Geographic Information System (GIS) for Evaluating Geography and Water Quality: A Case Study of Wa River Amphur Bo Klua, Nan Province เชาวลีย์ ใจสุข 1* อมรชัย ล้อทองค�า 1 พัชรา นิธิโรจน์ภักดี 2 และมุทิตา วงศ์สงคราม 3 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน จังหวัดน่าน 2 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี 3 ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กองช่าง) องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน * E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การศึกษานี้ประยุกต์ใช ้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินสภาพพื้นที่พิจารณาร ่วมกับปัจจัย คุณภาพน�้าทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เพื่อทราบถึงสภาพและคุณภาพน�้าของล�าน�้าว้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ซึ่งสภาพ พื้นที่มีระดับความสูงจากระดับน�้าทะเลปานกลางระหว่าง 718 ถึง 800 m มีความลาดชันตั้งแต่น้อยกว่า 2 ถึง 75 % และตลอดริมล�าน�้าส่วนใหญ่เป็นไร่หมุนเวียน นาข้าว และที่อยู ่อาศัย ในส่วนของสภาพแหล่งน�้าและคุณภาพน�้าเก็บข้อมูล ในฤดูน�้ามากและน�้าน้อย พบล�าน�้าว้า มีความลึกและความเร็วกระแสน�้าแตกต่างกันตามขนาดของล�าน�้า ปริมาณน�้า ในแต่ละบริเวณ และฤดูกาล โดยความเร็วกระแสน�้าในฤดูน�้ามากต�่าสุดที่ 32.11 m/s และเร็วสุดที่ 133.74 m/s ใน ฤดูน�้าน้อยต�่าสุดที่ 24.26 m/s และเร็วสุดที่ 72.72 m/s คุณภาพน�้าตลอดปีมีค่าเฉลี่ยดังนี้ อุณหภูมิ 22.34 ± 1.06 o C ความโปร่งแสง 70.57 ± 31.13 cm ความขุ่น 4.05 ± 1.17 FTU ความเป็นกรด-ด่าง 7.41± 0.27 ความกระด้าง 78.20 ± 13.02 mg/l ความน�าไฟฟ้า 174.57 ± 51.10 µs/cm ของแข็งที่ละลายในน�้า 83.63 ± 29.40 mg/l และออกซิเจน ละลายน�้า 7.34 ± 0.48 mg/l ซึ่งคุณภาพน�้าในพื้นที่ศึกษาจัดอยู ่ในเกณฑ์คุณภาพน�้าผิวดินประเภทที่ 2 ค่าดัชนี ความหลากหลายจากปัจจัยทางชีวภาพแสดงให้เห็นว่าถึงคุณภาพน�้าอยู่ในเกณฑ์ดีปานกลาง และมีความเหมาะสม ต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น�้า ค�าส�าคัญ: คุณภาพน�้า ล�าน�้าว้า แม่น�้าน่าน เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพ Abstract Geographic Information System (GIS) is technology for evaluating geography and water quality of Wa River, Amphur Boklua, Nan Province. The results showed an elevation of 715–800 m., slope ranging between 2-75%. The area along the river is swidden cultivation, paddy field and residence. The water depths and velocity were different depending on the size of river, volume of water and season. In dry and wet season, the minimum and maximum of water velocity were 32.11 m/s and 133.74 m/s, 24.26 m/s and 72.72 m/s respectively. The water quality averagely was as follow; temperature 22.34 ± 1.06 °C., transparency 70.57 ± 31.13, turbidity 4.05 ± 1.17 FTU, pH 7.41± 0.27, hardness 78.20 ± 13.02 mg/l, conductivity 174.57 ± 51.10 µs/cm, total dissolved solid 83.63 ± 29.40 mg/l, and dissolved oxygen 7.34 ± 0.48 mg/l. The water quality of Wa River was

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ...old.rmutto.ac.th/fileupload/Wannasa Balsong69-2-9.pdf · 2017-10-11 · 1.1 การจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ...old.rmutto.ac.th/fileupload/Wannasa Balsong69-2-9.pdf · 2017-10-11 · 1.1 การจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

80

วารสารวิจัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559 http://ird.rmutto.ac.th

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาสภาพ

ภูมิศาสตร์ร่วมกับคุณภาพน�้า: กรณีศึกษาล�าน�้าว้า อ�าเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

The Application of Geographic Information System (GIS) for Evaluating

Geography and Water Quality: A Case Study of Wa River

Amphur Bo Klua, Nan Province

เชาวลีย์ ใจสุข1* อมรชัย ล้อทองค�า1 พัชรา นิธิโรจน์ภักดี2 และมุทิตา วงศ์สงคราม3 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน จังหวัดน่าน2 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี

3 ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กองช่าง) องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน*E-mail : [email protected]

บทคัดย่อ การศึกษานี้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินสภาพพื้นที่พิจารณาร่วมกับปัจจัย

คุณภาพน�้าทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เพื่อทราบถึงสภาพและคุณภาพน�้าของล�าน�้าว้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ซึ่งสภาพ

พื้นที่มีระดับความสูงจากระดับน�้าทะเลปานกลางระหว่าง 718 ถึง 800 m มีความลาดชันตั้งแต่น้อยกว่า 2 ถึง 75 %

และตลอดรมิล�าน�า้ส่วนใหญ่เป็นไร่หมนุเวียน นาข้าว และทีอ่ยูอ่าศยั ในส่วนของสภาพแหล่งน�า้และคณุภาพน�า้เกบ็ข้อมูล

ในฤดูน�้ามากและน�้าน้อย พบล�าน�้าว้า มีความลึกและความเร็วกระแสน�้าแตกต่างกันตามขนาดของล�าน�้า ปริมาณน�้า

ในแต่ละบริเวณ และฤดูกาล โดยความเร็วกระแสน�้าในฤดูน�้ามากต�่าสุดที่ 32.11 m/s และเร็วสุดที่ 133.74 m/s ใน

ฤดูน�้าน้อยต�่าสุดที่ 24.26 m/s และเร็วสุดที่ 72.72 m/s คุณภาพน�้าตลอดปีมีค่าเฉลี่ยดังนี้ อุณหภูมิ 22.34 ± 1.06 oC

ความโปร่งแสง 70.57 ± 31.13 cm ความขุ่น 4.05 ± 1.17 FTU ความเป็นกรด-ด่าง 7.41± 0.27 ความกระด้าง 78.20

± 13.02 mg/l ความน�าไฟฟ้า 174.57 ± 51.10 µs/cm ของแข็งที่ละลายในน�้า 83.63 ± 29.40 mg/l และออกซิเจน

ละลายน�้า 7.34 ± 0.48 mg/l ซ่ึงคุณภาพน�้าในพื้นท่ีศึกษาจัดอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน�้าผิวดินประเภทที่ 2 ค่าดัชนี

ความหลากหลายจากปัจจัยทางชีวภาพแสดงให้เห็นว่าถึงคุณภาพน�้าอยู่ในเกณฑ์ดีปานกลาง และมีความเหมาะสม

ต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น�้า

ค�าส�าคัญ: คุณภาพน�้า ล�าน�้าว้า แม่น�้าน่าน เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพ

Abstract Geographic Information System (GIS) is technology for evaluating geography and water

quality of Wa River, Amphur Boklua, Nan Province. The results showed an elevation of 715–800 m.,

slope ranging between 2-75%. The area along the river is swidden cultivation, paddy field and

residence. The water depths and velocity were different depending on the size of river, volume of

water and season. In dry and wet season, the minimum and maximum of water velocity were

32.11 m/s and 133.74 m/s, 24.26 m/s and 72.72 m/s respectively. The water quality averagely was

as follow; temperature 22.34 ± 1.06 °C., transparency 70.57 ± 31.13, turbidity 4.05 ± 1.17 FTU, pH

7.41± 0.27, hardness 78.20 ± 13.02 mg/l, conductivity 174.57 ± 51.10 µs/cm, total dissolved solid

83.63 ± 29.40 mg/l, and dissolved oxygen 7.34 ± 0.48 mg/l. The water quality of Wa River was

Page 2: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ...old.rmutto.ac.th/fileupload/Wannasa Balsong69-2-9.pdf · 2017-10-11 · 1.1 การจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

81

วารสารวิจัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559http://ird.rmutto.ac.th

considered to be in class 2 of the surface water quality standard. Moreover, species diversity index

demonstrated moderate water quality and suitable for aquatic animal.

Keywords: water quality, Wa River, Nan River, Geographic Information System, biodiversity

1. บทน�า ปัจจบุนัเทคโนโลยสีารสนเทศภมูศิาสตร์ได้เข้ามามบีทบาทส�าคัญในการด�าเนนิงานเพือ่การจัดการทีห่ลากหลาย

รูปแบบเนื่องด้วยประสิทธิภาพและความทันสมัยของข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร

ป่าไม้ น�้า ดิน ฯลฯ การศึกษานี้จึงน�าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทั้งทางภูมิศาสตร์ร่วมกับ

คุณภาพน�้า เนื่องจากสาเหตุส�าคัญหนึ่งของการลดลงของทรัพยากรปลาท้องถิ่นอาจเป็นผลมาจากความเสื่อมโทรม

ของระบบนเิวศแหล่งน�า้ ทีอ่าจเป็นสบืเนือ่งมาจากความอดุมสมบรูณ์ของระบบนเิวศโดยรวม เช่น ความอดุมสมบรูณ์ของ

ระบบนิเวศแหล่งน�้าเป็นผลมาจากระบบนิเวศบนบก ปริมาณธาตุอาหาร การมีร่มเงา หรือความเสื่อมโทรมของแหล่งน�้า

ที่ได้รับผลกระทบมาจากการได้รับสารพิษหรือการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรที่ไหลลงสู่แหล่งน�้า นอกจากนั้น

ยังมีอีกหลายๆ กิจกรรมที่ส่งผลในการรบกวนระบบนิเวศท้ังเกิดโดยมนุษย์ การขุดลอกล�าน�้า หรือโดยธรรมชาติ เช่น

การไหลหลากของน�้าในฤดูฝน การพัดพาตะกอน และการแห้งขอดของล�าน�้าในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อการ

เปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของล�าน�้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดงันัน้เพือ่การรกัษาความหลากหลายทางชวีภาพของทรพัยากรแหล่งน�า้การศกึษานีจ้งึพฒันาแนวทางการศกึษา

เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแหล่งน�้าโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่ออธิบายถึง

คุณภาพของแหล่งน�้าร่วมกับข้อมูลสภาพภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการด�าเนินงานอนุรักษ์ เพิ่มประสิทธิภาพ

และเพื่อช่วยให้การตัดสินใจวางแผนด�าเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อแหล่งน�้าหรือทรัพยากรปลาท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนั้นโครงการวิจัยนี้จะเป็นการสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นที่แม่น่านตอนบน จังหวัดน่าน เพื่อ

การใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไป

วิธีด�าเนินการวิจัย

1. การส�ารวจภาคสนาม 1.1 การจ�าแนกการใช้ประโยชน์ท่ีดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม และส�ารวจภาคสนาม เพื่อข้อมูลทาง

ภูมิศาสตร์ ในพื้นที่ขอบเขตลุ่มน�้าที่ศึกษา คือ ล�าน�้าว้า ในพื้นที่ ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน

1.2 ก�าหนดจุดศึกษาจ�านวน 15 สถานี และเก็บข้อมูล 2 ช่วงฤดู คือ ช่วงฤดูน�้ามาก เดือน กันยายน 2556 และ

ฤดูน�้าน้อย เดือน กุมภาพันธ์ 2557

1.3 เก็บข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งน�้า ได้แก่ ความเร็วกระแสน�้า ระดับความลึก คุณภาพน�้าทั้งทางเคมี

กายภาพ และทางชีวภาพ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ ความโปร่งแสง ความขุ่น ความเป็นกรด-ด่าง ความกระด้าง ความน�าไฟฟ้า

ของแข็งที่ละลายน�้า และออกซิเจนท่ีละลายในน�้า โดยเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน�้าภาคสนาม และเก็บตัวอย่าง

แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสตัว์ ด้วยถุงกรองแพลงก์ตอน จ�าแนกชนดิตาม ลดัดา (2542); ลดัดา (2543) และเกบ็ตวัอย่าง

สตัว์หน้าดนิ ด้วย Surber จัดจ�าแนกชนดิตาม Wiggins, (1977); Morse et al. (1984); Merritt and Cummins (1996);

Dudgeon (1999); Yule and Sen (2004) แล้วค�านวณค่าดชันคีวามหลากหลายของชนดิพนัธุ ์(Diversity Index) ค�านวณ

โดยใช้สูตรของ Shannon – Weiner Diversity Index (Ludwig and Reynold, 1988)

Page 3: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ...old.rmutto.ac.th/fileupload/Wannasa Balsong69-2-9.pdf · 2017-10-11 · 1.1 การจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

82

วารสารวิจัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559 http://ird.rmutto.ac.th

ผลการวิจัยการอภิปรายผล ผลการศึกษา เพื่อศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ และคุณภาพน�้า ในพื้นที่ล�าน�้าว้า ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ในช่วง

ฤดูน�้ามาก และฤดูน�้าน้อย รายละเอียดดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ศึกษา พื้นที่ศึกษาตั้งอยู่ที่ระดับความสูงจากระดับน�้าทะเลปานกลางระหว่าง 718 ถึง 800 เมตร พื้นที่มีความลาดชัน

ตั้งแต่น้อยกว่า 2 % ถึง 50-75 % ประเภทดินส่วนใหญ่เป็นประเภท 62 ซึ่งเป็นดินที่พบมีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะ

ของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นก�าเนิดในบริเวณน้ัน มักมีเศษหิน

ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจาย จากข้อมูลดาวเทียมและการส�ารวจจากภาคสนามพบสภาพทางภูมิศาสตร์ของ

พื้นที่ศึกษาสามารถจ�าแนกการใช้ประโยชน์

ภาพที่ 1 จุดเก็บตัวอย่าง

ภาพท่ี 1 จุดเก็บตัวอยาง ท่ีดินเรียงลําดับพ้ืนท่ีจากมากไปนอยไดดังน้ี พ้ืนท่ีไรหมุนเวียน พ้ืนท่ีปาผลัดใบสมบูรณ พ้ืนท่ีนาขาว พ้ืนท่ีปาดิบสมบูรณ พ้ืนท่ีท่ีอยูอาศัย และพ้ืนท่ีการเกษตรอ่ืน ๆ (ตารางท่ี 1) พ้ืนท่ีหมุนเวียนท่ีพบในพ้ืนท่ีสวนใหญเปนการเพาะปลูกขาวไร และมีระยะเวลาของการหมุนเวียนการใชท่ีดิน 2-3 ป เกษตรกรในพ้ืนท่ีทําการเกษตรกรรมปลอดสารเคมี และไมพบการเพาะปลูกขาวโพดเลี้ยงสัตว และพ้ืนท่ีตลอดริมลํานํ้าสวนใหญเปนไรหมุนเวียน นาขาว และท่ีอยูอาศัย

Page 4: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ...old.rmutto.ac.th/fileupload/Wannasa Balsong69-2-9.pdf · 2017-10-11 · 1.1 การจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

83

วารสารวิจัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559http://ird.rmutto.ac.th

ที่ดินเรียงล�าดับพื้นที่จากมากไปน้อยได้ดังนี้ พื้นที่ไร่หมุนเวียน พื้นที่ป่าผลัดใบสมบูรณ์ พื้นที่นาข้าว พื้นที่ป่าดิบ

สมบูรณ์ พื้นที่ที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตรอื่นๆ (ตารางที่ 1) พื้นที่หมุนเวียนที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก

ข้าวไร่ และมีระยะเวลาของการหมุนเวียนการใช้ท่ีดิน 2-3 ปี เกษตรกรในพื้นที่ท�าการเกษตรกรรมปลอดสารเคมี และ

ไม่พบการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่ตลอดริมล�าน�้าส่วนใหญ่เป็นไร่หมุนเวียน นาข้าว และที่อยู่อาศัย

ตารางที่ 1 พื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท (ตารางกิโลเมตร; ไร่)

ประเภทการใช้ที่ดิน ตร.กม. ไร่

พื้นที่ไร่หมุนเวียน 8.828 5,517.577

พื้นที่ป่าผลัดใบสมบูรณ์ 6.125 3,828.616

พื้นที่นาข้าว 3.339 1,970.872

พื้นที่ป่าดิบสมบูรณ์ 1.476 922.685

พื้นที่ที่อยู่อาศัย 0.747 466.936

พื้นที่การเกษตรอื่น ๆ 3.363 2,102.334

2. ปัจจัยด้านสภาพพื้นที่แหล่งน�้า ในฤดูน�้ามากความน�้าลึกเฉลี่ยของน�้าตื้นที่สุดคือ 11.02 เซนติเมตร, ลึกที่สุด 87.83 เซนติเมตร ในฤดูน�้าน้อย

ความน�้าลึกเฉลี่ยของน�้าตื้นที่สุด คือ 6.80 เซนติเมตร, ลึกที่สุด 103.02 เซนติเมตร และความเร็วกระแสน�้าในฤดูน�้ามาก

ความเร็วกระแสน�้าต�่าสุดที่สุด 32.11 เมตรต่อวินาที, เร็วที่สุด 133.74 เมตรต่อวินาที ในฤดูน�้าน้อยความเร็วกระแสน�้า

ต�่าสุดที่สุด 24.26 เมตรต่อวินาที, เร็วที่สุด 72.72 เมตรต่อวินาที ทั้งนี้ระดับความลึกและความเร็วกระแสน�้าแตกต่างกัน

ออกไปตามขนาดของล�าน�้าซึ่งแสดงถึงปริมาณน�้าในแต่ละบริเวณและฤดูกาล (นันทนา, 2544)

3. ปัจจัยด้านคุณภาพน�้าทางกายภาพและเคมี ผลการศึกษาคุณภาพน�้า 8 พารามิเตอร์ ได้แก่ อุณหภูมิ ความโปร่งแสง ความขุ่น ความเป็นกรด - ด่าง ความ

กระด้าง ความน�าไฟฟ้า ของแขง็ทีล่ะลายน�า้ และออกซเิจนทีล่ะลายในน�า้ ทัง้ในฤดนู�า้มาก ฤดนู�า้น้อย และค่าเฉลีย่คุณภาพ

น�้าจากพื้นที่ทั้ง 15 สถานี ทั้ง 2 ฤดูกาลอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน�า้ในแหล่งน�้าผิวดินประเภทที่ 2 (กรมควบคุม

มลพิษ, 2538) และเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น�้า (ประเทือง, 2534) (ตารางที่ 2)

Page 5: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ...old.rmutto.ac.th/fileupload/Wannasa Balsong69-2-9.pdf · 2017-10-11 · 1.1 การจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

84

วารสารวิจัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559 http://ird.rmutto.ac.th

ตารางท่ี 2 คุณภาพน�้าของล�าน�้าว้าในพ้ืนที่ศึกษา เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน�้าในแหล่งน�้าผิวดิน

ประเภทที่ 2 และคุณภาพน�้าเพื่อการเพาะเลี้ยง และอยู่อาศัยของสัตว์น�้า

พารามิเตอร์ น�้ามาก น�้าน้อย ค่าเฉลี่ย แหล่งน�้าผิวดิน ส�าหรับสัตว์น�้า

ประเภทที่ 2

1 อุณหภูมิ (oC) 23.94 ± 1.11 20.73 ± 1.62 22.34 ± 1.06 ไม่สูงกว่าอุณหภูมิตาม 23 - 32 oC

ธรรมชาติเกิน 3 oC

2 ความโปร่งแสง (cm) 77.48 ± 33.43 63.67 ± 32.78 70.57 ± 31.13 30 - 60 cm

3 ความขุ่น (FTU) 4.67 ± 1.46 3.42 ± 2.10 4.05 ± 1.17

4 ค่า pH 7.29 ± 0.36 7.52 ± 0.37 7.41± 0.27 มีค่าระหว่าง 5 - 9 8 - 9

5 ความกระด้าง (mg/l) 62.40 ± 15.46 94.00 ± 18.37 78.20 ± 13.02 80 - 200 mg/l

6 ความน�าไฟฟ้า (us/cm) 62.40 ± 5.46 94.00 ± 18.37 174.57 ± 51.10 ไม่เกิน 300 (µs/cm)

7 ของแข็งละลายน�้า 118.67 ± 29.79 230.47 ± 76.23 83.63 ± 29.40 สูงไม่เกิน

(mg/l) 150 -200 mg/l

8 ออกซิเจนละลายน�้า 7.07 ± 0.67 7.60 ± 0.76 7.34 ± 0.48 ไม่น้อยกว่า 6.0 mg/l ไม่น้อยกว่า 4 mg/l

(mg/l)

4. ผลการส�ารวจความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ แพลงก์ตอนพชื แพลงก์ตอนสตัว์และสตัว์หน้าดนิ 4.1 แพลงก์ตอนพืช

จากการศึกษาการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชบริเวณบริเวณล�าน�้าว้าในฤดูน�้ามากและน�้าน้อย พบ

แพลงก์ตอนพืช 3 ดิวิชั่น 37 สกุล ประกอบด้วย Division Cyanophyta (สาหร่ายสีเขียวแกมน�้าเงิน) 5 สกุล Division

Chlorophyta (สาหร่ายสีเขียวและยูกลีนอยด์) 19 สกุล Division Chromophyta (ไดอะตอมและไดโนแฟลกเจลเลต)

13 สกุล โดยแพลงก์ตอนพืช ไดอะตอมมีจ�านวนชนิดสูงสุดตลอดการศึกษา เช่นเดียวกับ ธิดาพร (2540) พบว่าชนิด

แพลงก์ตอนพืชที่พบมากคือกลุ่มไดอะตอม โดยเฉพาะระบบนิเวศแหล่งน�้าไหล (ยุวดี, 2542) ในช่วงฤดูน�้ามาก พบ

แพลงก์ตอนพืชไดอะตอมมีจ�านวนชนิดสูงสุด (8 ชนิด) ได้แก่ สกุล Denticula sp. Bacillaria sp. Synedra sp.

Cymbella sp. Craticula sp. Gyrosigma sp. Navicula sp. และ Tabellaria sp. คิดเป็น 53.3 เปอร์เซ็นต์ ของ

จ�านวนชนิดแพลงก์ตอนพืชที่พบทั้งหมด แพลงก์ตอนพืชสีเขียวแกมน�้าเงินมีจ�านวนชนิดต�่าสุด คิดเป็น 6.7 เปอร์เซ็นต์

ของจ�านวนชนดิแพลงก์ตอนพชืทีพ่บทัง้หมด ส่วนฤดนู�า้น้อยพบแพลงก์ตอนพชืสเีขยีวมคีวามหลากหลายของจ�านวนชนดิ

สูงที่สุด คิดเป็น 54.5 เปอร์เซ็นต์ ของจ�านวนชนิดแพลงก์ตอนพืชที่พบทั้งหมด แพลงก์ตอนพืชสีเขียวแกมน�้าเงินมีจ�านวน

ชนิดต�่าสุด คิดเป็น 15.1 เปอร์เซ็นต์ของจ�านวนชนิดแพลงก์ตอนพืชที่พบทั้งหมด

4.2 ความหลากหลายและการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนสัตว์

ความหลากหลายและการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนสตัว์ในฤดนู�า้มากและน�า้น้อย พบแพลงก์ตอนสตัว์

ทั้งหมด 3 ไฟลั่ม 6 สกุล/กลุ่ม แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มโรติเฟอร์มีความหลากหลายของชนิดมากที่สุดเช่นเดียวกับ ละออศรี

(2537) พบโรติเฟอร์มากกว่าแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มอื่น โดยฤดูน�้ามากพบแพลงก์ตอนสัตว์ ไฟล่ัม Rotifer มีความ

หลากหลายของจ�านวนชนิดสูงสุด (3 สกุล) ได้แก่ สกุล Polyarthra sp. Monostyla sp. และ Brachionus sp. คิดเป็น

50 เปอร์เซน็ต์ของจ�านวนชนดิแพลงก์ตอนสตัว์ทีพ่บทัง้หมด แพลงก์ตอนสตัว์กลุม่ Protozoa มจี�านวนชนดิต�า่สดุ คิดเป็น

16.7 เปอร์เซน็ต์ของจ�านวนชนดิแพลงก์ตอนสตัว์ทีพ่บทัง้หมด ส�าหรบัฤดนู�า้น้อยพบแพลงก์ตอนสัตว์ทัง้หมด 3 ไฟล่ัม เช่น

เดียวกับฤดูน�้ามากโดยไฟลั่ม Arthropoda และ Rotifer มีความหลากหลายของจ�านวนชนิดสูงกว่าไฟลั่ม Protozoa ซึ่ง

พบเพียงสกุลเดียว คือ Acella sp. คิดเป็น 16.7 เปอร์เซ็นต์ของจ�านวนชนิดแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบทั้งหมด

Page 6: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ...old.rmutto.ac.th/fileupload/Wannasa Balsong69-2-9.pdf · 2017-10-11 · 1.1 การจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

85

วารสารวิจัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559http://ird.rmutto.ac.th

4.3 ความหลากหลายและการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดิน

ความหลากหลายและการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในฤดูน�้ามากและน�้าน้อย พบการแพร่กระจาย

ของสัตว์หน้าดินทั้งหมด 3 ไฟลั่ม ได้แก่ ไฟลั่ม Arthropoda, Mollusca และ Annelida 32 ครอบครัว โดยตลอด

การศกึษาไฟลัม่ Arthropoda Class Insecta มคีวามหลากหลายของจ�านวนชนดิสงูสดุ เช่นเดยีวกบั Thammakhantha

et al. (2009) พบอันดับแมลง (Insecta) มีความหลากหลายของชนิดสูงกว่าอันดับอื่น โดยครอบครัว trichoptera

มีความหลากหลายของชนิดมากท่ีสุด เช่นเดียวกับ Boonsoong and Sangpradub (2008) พบว่า trichoptera

มีความหลากหลายของชนิดสูงกว่าครอบครัวอื่น และ Dudgeon (1999) รายงานว่าในเขตร้อนชื้น trichoptera มีความ

หลากหลายสูงหรือมีจ�านวนชนิดสูง โดยที่ในช่วงฤดูน�้ามาก พบว่าสัตว์หน้าดินทั้งหมด 2 ไฟลั่ม ได้แก่ ไฟลั่ม Arthropoda

และ Mollusca โดยไฟลั่ม Arthropoda มีความหลากหลายของจ�านวนชนิดสูงสุด คิดเป็น 93.8 เปอร์เซ็นต์ของจ�านวน

ชนดิสตัว์หน้าดนิทีพ่บทัง้หมด พบหอยฝาเดยีว (ไฟลัม่ Mollusca) มจี�านวนชนดิต�า่สดุ คดิเป็น 3.1 เปอร์เซน็ต์ของจ�านวน

สัตว์หน้าดินที่พบทั้งหมด ในฤดูน�้าน้อยพบสัตว์หน้าดินทั้งหมด 3 ไฟลั่ม ได้แก่ ไฟลั่ม Arthropoda, Mollusca และ

Annelida โดยไฟลั่ม Arthropoda Class Insecta มีความหลากหลายของจ�านวนชนิดสูงสุด คิดเป็น 92.6 เปอร์เซ็นต์

ของจ�านวนชนดิสตัว์หน้าดนิทีพ่บทัง้หมดเช่นเดยีวกบัในฤดนู�า้มาก และพบหอยฝาเดยีว (ไฟลัม่ Mollusca) มจี�านวนชนดิ

ต�่าสุดคิดเป็น 3.7 เปอร์เซ็นต์ของจ�านวนสัตว์หน้าดินที่พบทั้งหมด

5. ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ ค่าดัชนีความหลากหลายโดยใช้ปริมาณแพลงก์ตอนพืชที่จ�าแนกถึงระดับสกุล (Genus) ในฤดูน�้ามากและ

ฤดนู�า้น้อยพบดชันคีวามหลากหลายของแพลงก์ตอนพชืเฉล่ีย 1.13 ± 0.13 และ 1.60 ± 0.39 ตามล�าดบั มค่ีาเฉล่ียเท่ากับ

1.36 ± 0.23 แสดงให้เห็นว่าคุณภาพน�้าและความอุดมสมบูรณ์ของน�้าในล�าน�้าว้าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (Wilhm and

Dorris, 1968)

ค่าดัชนีความหลากหลายโดยใช้ปริมาณแพลงก์ตอนสัตว์ ที่จ�าแนกถึงระดับกลุ่ม (Group)/ชนิด (Species) ใน

ฤดนู�า้มากและฤดนู�า้น้อยพบดชันคีวามหลากหลายของแพลงก์ตอนสตัว์เฉลีย่ 0.54 ± 0.32 และ 0.22 ± 0.38 ตามล�าดบั

มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.38 ± 0.16 แสดงถึงการมีความหลากหลายค่อนข้างต�่า เช่นเดียวกับ ณภัทร (2543) พบดัชนี

ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนสัตว์ ระบบนิเวศแหล่งน�้าไหลของลุ่มน�้าล�าพระเพลิงในฤดูร้อน (0.64)

ฤดูฝน (0.09) และฤดูหนาว (0.08) มีค่าเฉลี่ยตลอดการศึกษาเท่ากับ 0.18 แสดงให้เห็นว่าคุณภาพน�า้และความ

อุดมสมบูรณ์ของน�้าในล�าน�้าว้าอยู่ในเกณฑ์ต�่าเน่ืองจากมีค่าน้อยกว่า 1.0 (Wilhm and Dorris, 1968) ทั้งนี้เนื่องจาก

ในบางสถานีเก็บตัวอย่างมีดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 0 ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น ลักษณะ

ที่อยู่อาศัย ระดับน�้า มีผลต่อการแพร่กระจายและความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์ในแต่ละสถานี

ค่าดัชนีความหลากหลายโดยใช้ปริมาณสัตว์หน้าดินที่จ�าแนกถึงระดับครอบครัว (Family) ในฤดูน�้ามากและ

ฤดูน�้าน้อย พบดัชนีความหลากหลายของสัตว์หน้าดินเฉลี่ย 1.64 ± 0.52 และ 1.53 ± 0.88 ตามล�าดับ ผลการศึกษาดัชนี

ความหลากหลายเฉลีย่ของสตัว์หน้าดนิทัง้สองฤดกูาลมค่ีา 1.59 ± 0.06 แสดงให้เหน็ว่าคุณภาพน�า้และความอดุมสมบรูณ์

ของน�้าในล�าน�้าว้าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 1.0-3.0 (Wilhm and Dorris, 1968)

บทสรุป 1. ขอบเขตลุ่มน�้าที่ท�าการศึกษามีสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกันตลอดล�าน�้า

2. ความเร็วกระแสน�้า และระดับความลึก ขึ้นอยู่กับลักษณะของล�าน�้าในแต่ละบริเวณที่ศึกษา คุณภาพน�้า

โดยเฉลี่ยตลอดล�าน�้าไม่มีความแตกต่างกัน จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน�้าแหล่งน�้าผิวดินประเภทที่ 2 และ

เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น�้า

Page 7: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ...old.rmutto.ac.th/fileupload/Wannasa Balsong69-2-9.pdf · 2017-10-11 · 1.1 การจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

86

วารสารวิจัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559 http://ird.rmutto.ac.th

3. ระดบัความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสตัว์ และสตัว์หน้าดนิ แสดงค่าดชันคีวามหลากหลาย

ถึงคุณภาพน�้าส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มีความสมบูรณ์ปานกลาง

ข้อเสนอแนะ 1. การศกึษาทีพ่บว่าสภาพภมูศิาสตร์ คณุภาพน�า้ทางเคม ีกายภาพ และชวีภาพ อยูใ่นสภาวะปกตติลอดขอบเขต

ลุม่น�า้ทีศ่กึษา อาจเป็นผลมาจากพ้ืนทีศ่กึษาทีค่่อนข้างเป็นพืน้ทีป่่าและท�าการเกษตรปลอดสารเคม ีดงันัน้การด�าเนนิงาน

ในล�าดับต่อไปควรท�าการศึกษาเปรียบเทียบกับพื้นท่ีท่ีมีการใช้สารเคมีทางการเกษตร และให้ความส�าคัญต่อการตรวจ

วิเคราะห์สารเคมีหรือโลหะหนักอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพน�้าและการใช้ประโยชน์ของชุมชน

2. การบริหารจัดการทรัพยากรน�้าควรให้ความส�าคัญต่อการด�าเนินการที่มีผลในการเปล่ียนแปลงสภาพนิเวศ

แหล่งน�้า เช่น การขุดลอกล�าน�้า การสร้างเข่ือน/ฝาย ควรมีการพิจารณาอย่างรอบครอบและมีแผนงานรองรับการ

เปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อทรัพยากรน�้าและทรัพยากรสัตว์น�้า

3. ควรมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาข้อมูลลุ่มน�้ามากยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อ

การพัฒนาแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรประมงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กิตติกรรมประกาศ โครงการนีด้�าเนนิงานจนส�าเร็จลงได้ด้วยการได้รบัการสนบัสนนุงบประมาณการวจัิยจากส�านกังานคณะกรรมการ

วิจัยการแห่งชาติ อุปกรณ์และครุภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ

ขอขอบคุณกัลยาณมิตรอีกหลายท่านที่ให้ความช่วยเหลือและค�าปรึกษาที่ดีตลอดการวิจัย

เอกสารอ้างอิงกรมควบคุมมลพิษ. 2538. เกณฑ์ระดับคุณภาพน�้าและมาตรฐานคุณภาพประเทศไทย. กองจัดการคุณภาพน�้า กรม

ควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.

ณภัทร น้อยน�้าใส. 2543. ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนและความสัมพันธ์กับปัจจัยสิ่งแวดล้อม

ในระบบนิเวศแหล่งน�้าไหลของลุ่มน�้าล�าพระเพลิง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาชีววิทยาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ธิดาพร หรบรรพ์. 2540. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน�้ากับแพลงก์ตอนพืชในแม่น�้าบางปะกง. มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นันทนา คชเสนี. 2544. คู่มือปฏิบัติการนิเวศวิทยาน�้าจืด. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ประเทือง เชาว์วันกลาง. 2534. คุณภาพน�้าทางการประมง. ส�านักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, กรุงเทพฯ.

ยุวดี พีรพรพิศาล. 2542. สาหร่าย : การจัดจ�าแนกและการน�ามาใช้ประโยชน์. เอกสารประกอบการบรรยาย.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ละออศรี เสนาะเมือง. 2537. การศึกษาชนิดและการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนสัตว์ในเขตจังหวัดขอนแก่นและ

กาฬสินธุ.์ รายงานการวิจัย. กองทุนพัฒนาและส่งเสริมด้านวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลัดดา วงศ์รัตน์. 2542. แพลงก์ตอนพืช พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ลัดดา วงศ์รัตน์. 2543. แพลงก์ตอนสัตว ์พิมพ์ครั้งที่ 2. ส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Page 8: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ...old.rmutto.ac.th/fileupload/Wannasa Balsong69-2-9.pdf · 2017-10-11 · 1.1 การจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

87

วารสารวิจัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559http://ird.rmutto.ac.th

Boonsoong, B. and N. Sangpradub. 2008. Diversity of stream benthic macroinvertebrates at the Loei

River and adjacent catchments, Northeastern Thailand. KKU Science Journal. Vol. 36.

pp. 107-121

Clarke, K.R. and R.M. Warwick. 1994. Change in Marine Communities. Plymouth Marine Laboratory.

Dudgeon, D. 1999. Tropical Asian stream zoobenthos, Ecology and conservation. Hong Kong

University Press, Hong Kong.

Ludwig, J.A. and J.F. Reynold. 1988. Statistical Ecology. John Wiley and Sons, New York.

Merritt R. W. and K.W. Cummins. 1996. An introduction to the Aquatic Insects of North America

(3rd ed.). Iowa: Kendall/Hunt. Dubuque.

Morse J. C., Y. Lianfang and T. Lixin. 1984. Aquatic insects of China useful for monitoring water

quality (2nd ed.). USA: Kendall/Hunt, Dubuque.

Thammakhantha, S., P. Yossuk, K. Sringenyuang and B. Montian-art. 2009. Surveying on Benthic Fauna

in Hui Mae-Kiang Mountain Creek. Journal of Fisheries Technology Research. Vol. 3. No. 1.

pp. 150-160

Wiggins, G. B. 1977. Larvae of the North American Caddisfly Genera (Trichoptera). Canada:

University of Toronto Press.

Wilhm, J. L. and Dorris, T. C. 1968. “Biological Parameters for Water Criteria”. Biosci. Vol. 18. No.6.

pp. 477-481

Yule, C. M. and Y. H. Sen. 2004. Freshwater invertebrates of the Malaysian Region. Malaysia:

Academy of science Malaysia.