17
หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 1 แผนทีภาพถ่ายดาวเทียม ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เส้นแบ่งเวลาของประเทศไทย กับทวีปต่างๆ ความแตกต่างของ เวลามาตรฐานกับเวลาท้องถิ่น การใช้ เครื่องมือทาง ภูมิศาสตร์ ตัวชี้วัดชั้นปี 1. เลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (ลูกโลก แผนที่ กราฟ แผนภูมิ) ในการสืบค้น ข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและสังคมของประเทศไทยและทวีป เอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย (ส 5.1 ม.1/1) 2. อธิบายเส้นแบ่งเวลาและเปรียบเทียบ วัน เวลาของประเทศไทยกับทวีปต่างๆ (ส 5.1 ม.1/2) การใช้เครื่องมือ ทางภูมิศาสตร์ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

1

แผนที่

ภาพถ่ายดาวเทียม

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

เส้นแบ่งเวลาของประเทศไทย

กับทวีปต่างๆ

ความแตกต่างของ

เวลามาตรฐานกับเวลาท้องถิ่น

การใช้

เครื่องมือทาง

ภูมิศาสตร์

ตัวชี้วัดชั้นป ี

1. เลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (ลูกโลก แผนที่ กราฟ แผนภูมิ) ในการสืบค้น

ข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและสังคมของประเทศไทยและทวีป

เอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย (ส 5.1 ม.1/1)

2. อธิบายเส้นแบ่งเวลาและเปรียบเทียบ วัน เวลาของประเทศไทยกับทวีปต่างๆ

(ส 5.1 ม.1/2)

การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

Page 2: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

การใช้ข้อมูลและเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

สิ่งที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกมีทั้งสิ่งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและ

สิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนั้นในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลกและสิ่งแวดล้อม จึงมีความจำเป็น

อย่างยิ่งที่ต้องมีข้อมูลที่มีคุณภาพและเหมาะสมในการนำไปใช้ ในปัจจุบันได้มีการสร้างเครื่องมือ

ทางภูมิศาสตร์และนำเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์มาใช้บันทึกและแปลความหมายปรากฏการณ์ทาง

ภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้น ช่วยให้มนุษย์เข้าใจสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏและนำความรู้ความเข้าใจนั้นมาใช้

ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมต่อไป

แผนที่

แผนที ่ คือ การจำลองลักษณะของพื้นที่ผิวโลกและสิ่งที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้น

ตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นลงบนแผ่นแบนราบ โดยย่อขนาดให้เล็กลงตามอัตราส่วนที่

ต้องการและมีการใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก

ประโยชน์ของแผนที่

แผนที่มีความสำคัญต่อกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ และมนุษย์ก็รู้จักการใช้แผนที่มาตั้งแต่สมัย

โบราณ ประโยชน์ของแผนที่มีดังนี้

1. ด้านการเมืองการปกครอง การวางแผนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการ

รักษาความมั่นคงของประเทศชาติ มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์เพื่อเตรียมรับ

หรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง เช่น แผนที่แนวพรมแดนระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ยังต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่ต่างๆ อีกมาก

2. ด้านการทหาร แผนที่มีความจำเป็นอย่างมากเพื่อใช้ในการพิจารณาวางแผนทาง

ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และจะต้องเป็นแผนที่ที่ให้ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทันสมัยเกี่ยวกับสภาพทาง

ภูมิศาสตร์และตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแน่นอน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดต่างๆ

3. ด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมี

ความจำเป็นที่ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลเพื่อให้ทราบปัจจัยการผลิต ทำเลที่ตั้ง สภาพทางกายภาพ

แหล่งทรัพยากร

Page 3: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

4. ด้านสังคม ลักษณะทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งมีผลทำให้สภาพแวดล้อม

ทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปด้วย การศึกษาสภาพความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมต้องอาศัยการอ่าน

รายละเอียดในแผนที่ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อดำเนินการและวางแผนพัฒนาสังคมไปในแนวทาง

ที่ถูกต้อง

ประเภทของแผนที่

แผนที่ที่ใช้กันในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

1. แบ่งตามรายละเอียดที่ปรากฏบนแผนที ่ จำแนกได้ ดังนี้

1.1 แผนที่ลายเส้น เป็นแผนที่ที่แสดงรายละเอียดที่เป็นลายเส้น เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง

หรือเส้นใดๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเส้น เช่น แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคมทางบก โดยเป็นเส้นเดี่ยวหรือ

เส้นคู่ขนาน เป็นต้น

1.2 แผนที่รูปถ่าย เป็นแผนที่ที่รายละเอียดได้จากการถ่ายภาพภูมิประเทศด้วย

กล้องถ่ายรูป โดยมีการตัดแก้รูปถ่ายแล้วนำมาประกอบเป็นแผ่นแผนที่

1.3 แผนที่แบบผสม เป็นแผนที่แบบผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่รูปถ่าย

เป็นแผนที่ที่สะดวกต่อการอ่าน เพราะมีการพิมพ์แยกสี รายละเอียดที่เป็นลายเส้นจึงชัดเจนกว่า

รูปภาพจากกล้องถ่ายรูป เช่น แม่น้ำ บ้านเรือน ถนน เป็นต้น

2. แบ่งตามขนาดของมาตราส่วน จำแนกได้ ดังนี้

2.1 แผนที่มาตราส่วนเล็กเป็นแผนที่ซึ่งมีมาตราส่วนเล็กกว่า 1 : 1,000,000 โดยใช้

เขียนแผนที่ของพื้นที่ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ทำให้สามารถแสดงข้อมูลเฉพาะที่สำคัญเท่านั้น ส่วน

รายละเอียดปลีกย่อยไม่สามารถเขียนลงในแผนที่ชนิดนี้ได้ แผนที่มาตราส่วนเล็ก เช่น แผนที่

ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย แผนที่โลก แผนที่ทวีปต่างๆ เป็นต้น

2.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง เป็นแผนที่ที่มีมาตราส่วนใหญ่กว่า 1 : 50,000 ถึง

1 : 250,000 ใช้เขียนครอบคลุมพื้นที่ได้มากว่ามาตราส่วนเล็ก ทำให้สามารถแสดงข้อมูลที่มีราย

ละเอียดที่สำคัญได้มากขึ้น แผนที่มาตราส่วนกลาง เช่น แผนที่ประเทศไทย แผนที่จังหวัด เป็นต้น

2.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ เป็นแผนที่ที่มีมาตราส่วนใหญ่กว่า 1 : 50,000 ใช้เขียน

แผนที่ของพื้นที่ขนาดเล็ก สามารถแสดงรายละเอียดที่สำคัญในแผนที่ได้มากขึ้น แผนที่มาตรา

ส่วนใหญ่ เช่น แผนที่อำเภอ แผนที่ตำบล เป็นต้น

3. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน จำแนกได้ ดังนี้

3.1 แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่แสดงความสูงต่ำของพื้นผิวโลก ทั้งพื้นที่ขนาดเล็ก

และขนาดใหญ่ โดยใช้เส้นชั้นความสูง เส้นลายขวานสับ หรือสี เป็นสัญลักษณ์ นอกจากนี้ยังนำ

Page 4: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

แผนที่ทวีปแอฟริกามาตราส่วนเล็ก

แผนที่จังหวัดนราธิวาส

มาตราส่วนกลาง

แผนที่เมืองปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน

มาตราส่วนใหญ่

สิ่งที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกมาแสดงในแผนที่ด้วย เช่น แม่น้ำ ลำคลอง มหาสมุทร ทะเล ภูเขา

สิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

3.2 แผนที่รัฐกิจ เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะทางการเมืองการปกครองของประเทศต่างๆ

มีชื่อและที่ตั้งแสดงไว้ในแผนที่ เช่น ประเทศ เมืองหลวง เมืองสำคัญ เป็นต้น โดยมีสัญลักษณ์

อธิบายสิ่งต่างๆ ไว้ด้วย

3.3 แผนที่ เฉพาะกรณี เป็น

แผนที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเฉพาะ

เรื่อง เช่น แผนที่แสดงเขตภูมิประเทศ แหล่ง

แร่ธาตุ เส้นทางคมนาคมขนส่ง เป็นต้น

3.4 แผนที่ เล่ม เป็นการรวม

แผนที่หลายฉบับไว้ในเล่มเดียวกัน ไม่ว่าจะ

เป็นแผนที่ภูมิประเทศ ลักษณะพืชพรรณ

ธรรมชาติ เขตการปกครอง ความหนาแน่น

ของประชากร เป็นต้น

Page 5: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

เส้นขอบระวางแผนที่เสริม พื้นที่ขอบระวาง เส้นขอบระวางแผนที่ พื้นที่บริเวณที่เป็นแผนที่

ภาพแสดงรูปแบบขอบระวางแผนที่

องค์ประกอบของแผนที่

องค์ประกอบของแผนที่ คือ สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่เพื่อให้ผู้ที่ใช้แผนที่ได้รับทราบ

ข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดเพียงพอสำหรับการใช้แผนที่นั้นๆ แผนที่ที่สมบูรณ์จะต้องประกอบ

ด้วยองค์ประกอบใหญ่ๆ ดังนี้

1. ขอบระวางแผนที่ โดยปกติแผนที่ทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่ง

มีส่วนต่างๆ ดังนี้

1.1 พื้นที่บริเวณที่เป็นแผนที่ แสดงรายละเอียดที่ปรากฏในพื้นที่ภูมิประเทศจริงหรือ

สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นตามขนาดที่กำหนดของแผนที่แต่ละประเภท

1.2 เส้นขอบระวางแผนที่ เป็นเส้นที่กั้นขอบเขตรายละเอียดบริเวณแผนที่กับพื้นที่นอก

ขอบระวางแผนที่ ห่างจากริมทั้งสี่ด้านของแผนที่ เส้นขอบระวางแต่ละด้านจะมีตัวเลขบอกค่า

พิกัดกริดและค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (ค่าของละติจูดและลองจิจูด) หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง

1.3 เส้นขอบระวางแผนที่เสริม เพื่อให้เกิดความสวยงาม อาจทำเป็นเส้นขอบหนา

ขอบบางสองชั้นห่างกันพอสมควร

1.4 พื้นที่ขอบระวาง เป็นส่วนที่อยู่นอกเส้นขอบระวางแผนที่สำหรับแสดงรายละเอียด

ขององค์ประกอบภายนอกขอบระวางแผนที่ ซึ่งจะมีขอบจำกัดการแสดงรายละเอียด

1.5 ขอบแผนที่ เป็นสิ่งที่กำหนดขนาดของแผนที่ทั้งหมด โดยตัดตามขนาดที่ต้องการ

หลังจากการพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว

Page 6: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

2. องค์ประกอบภายในขอบระวางแผนที่ เป็นรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ภายในกรอบของ

เส้นขอบระวางแผนที่ ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่าแผนที่ โดยมีองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

2.1 สัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายหรือสิ่งที่ใช้แทนรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิว

ภูมิประเทศหรือให้ข้อมูลอื่นใดที่ต้องการแสดงไว้ในแผนที่นั้น อาจจะเป็นรูปทรง ลายเส้นต่างๆ โดย

มีคำอธิบายความหมายเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์และอ่านความหมายในแผนที่ได้

อย่างถูกต้องและชัดเจน สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะที่ปรากฏในภูมิประเทศจริงในแผนที่นั้นจำแนก

ได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1) ลักษณะทางกายภาพ ใช้แสดงรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

2) ลักษณะทางวัฒนธรรม ใช้แสดงสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์

3) ข้อมูลเฉพาะเรื่อง เป็นสัญลักษณ์ที่คิดขึ้นมาแทนข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ผู้ผลิต

ต้องการแสดงเป็นพิเศษ เช่น สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงลักษณะของหิน ธรณีสัณฐาน ดิน หรือลักษณะ

ทางด้านปริมาณและคุณภาพ เป็นต้น

2.2 ส ี สีที่ใช้บริเวณขอบระวางแผนที่จะเป็นสีของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนรายละเอียดหรือ

ข้อมูลต่างๆ ของแผนที่ การเลือกสีในสัญลักษณ์ต่างๆ มักจะเลือกให้สอดคล้องกับรายละเอียดที่ใช้

สัญลักษณ์นั้นๆ แทน เช่น

สีแดง ใช้แสดง ถนนและเส้นทางคมนาคม

สีเขียว ใช้แสดง บริเวณพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ราบ

สีน้ำเงิน ใช้แสดง บริเวณที่เป็นน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง มหาสมุทร

เป็นต้น

สีน้ำตาล ใช้แสดง ที่สูงและเทือกเขา

สีดำ ใช้แสดง สถานที่ที่มนุษย์สร้าง

สีอื่นๆ ใช้แสดง รายละเอียดพิเศษโดยกำหนดไว้ในขอบระวาง

แผนที่

2.3 ชื่อภูมิศาสตร์ เป็นตัวอักษรกำกับรายละเอียดต่างๆ เพื่อบอกให้ทราบว่าสถานที่นั้น

หรือสิ่งนั้นมีชื่อว่าอะไร

2.4 ระบบอ้างอิงตำแหน่ง เป็นเส้นหรือตารางที่แสดงไว้ในขอบระวางแผนที่ เพื่อใช้

กำหนดค่าพิกัดของตำแหน่งต่างๆ บนแผนที่นั้น ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่งมีหลายชนิด

ที่นิยมใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ

1) พิกัดภูมิศาสตร์ ได้แก่ เส้นขนานและเส้นเมริเดียนที่บอกค่าละติจูดและลองจิจูด

อาจแสดงเป็นเส้นยาวจรดขอบระวางแผนที่ หรืออาจแสดงเฉพาะส่วนที่ตัดกันเป็นกากบาท หรือ

อาจแสดงเป็นเส้นสั้นๆ เฉพาะที่ขอบ

Page 7: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

L 7 0 18 องค์ประกอบที่ 1 องค์ประกอบที่ 4

องค์ประกอบที่ 2

องค์ประกอบที่ 3

2) พิกัดกริด ได้แก่ เส้นขนานสองชุดที่มีระยะห่างๆ เท่ากัน ตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม

มุมฉาก เส้นขนานทั้งสองชุดดังกล่าวอาจแสดงไว้เป็นแนวเส้นตรงยาวจรดขอบระวางหรืออาจแสดง

เฉพาะส่วนที่ตัดกันก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม

พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด

3. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง เป็นพื้นที่ตั้งแต่เส้นขอบระวางไปถึงริมแผ่นแผนที่ทั้ง

สี่ด้าน บริเวณพื้นที่ดังกล่าวผู้ผลิตแผนที่จะแสดงรายละเอียดอันเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้แผนที่ควรทราบ

และใช้แผนที่นั้นได้อย่างถูกต้องตรงตามความมุ่งหมายของผู้ผลิตแผนที่ รายละเอียดภายนอกขอบ

ระวางจะขึ้นกับชนิดของแผนที่ สำหรับแผนที่ภูมิประเทศที่ผลิตขึ้นใช้โดยทั่วไปมีรายละเอียด ดังนี้

3.1 ระบบบ่งระวาง เป็นหลักเกณฑ์ของระบบเรียกชื่อและเลขหมายของแผนที่แต่ละชุด

แต่ละวาง ประกอบด้วย

1) ชื่อชุด เช่น “ประเทศไทย 1 : 50,000” เป็นชื่อชุดแผนที่มูลฐานมาตราส่วน 1 :

50,000 ของประเทศไทย

2) เลขลำดับชุด ตัวอย่างเช่น “L 7018 มาตราส่วนประเทศไทย 1 : 50,000 ขนาด

15 15 ลิปดา” ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 L คือ ภูมิภาคในเอเชียส่วนใหญ่ เช่น อินเดีย จีน ไทย ลาว

พม่า เวียดนาม กัมพูชา เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 2 7 คือ หมู่มาตราส่วนซึ่งเป็นตัวกำหนดขนาดมาตราส่วน ระหว่าง

1 : 70,000 ถึง 1 : 35,000

Page 8: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

ประเทศไทย 1 : 50,000 ชุด L7017 ชื่อชุด เลขลำดับชุด

แหล่งโบราณคดีบ้านเมืองดงละคร 5237 III เลขหมายระวาง

แผนที่แสดงแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยกรมแผนที่ทหาร

ชื่อระวาง

องค์ประกอบที่ 3 0 คือ ภูมิภาคย่อยในเอเชีย ได้แก่ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา

และมาเลเซีย

องค์ประกอบที่ 4 18 คือ แผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ในภูมิภาค L

3) ชื่อระวาง เป็นชื่อของระวางแผนที่ โดยทั่วไปจะเอารายชื่อของรายละเอียดที่

สำคัญและเด่นที่สุดในแผนที่ระวางนั้น

4) เลขหมายระวาง เป็นเลขหมายประจำของแผนที่ตามระบบดัชนี แผนที่เพื่อ

สะดวกในการอ้างอิงหรือค้นหาแผนที่ เลขหมายระวางจะประกอบด้วยเลข 4 ตัวและต่อท้ายด้วย

เลขโรมัน (I, II, III, และ IV) เป็นตัวที ่ 5 จะปรากฏอยู่มุมบนขวาและมุมซ้ายล่างของแผ่นแผนที่

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีอื่นๆ

นอกจากการใช้แผนที่เพื่อศึกษาพื้นที่ในแต่ละบริเวณแล้ว ยังมีเครื่องมือสารสนเทศและ

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทางภูมิศาสตร์อีกหลายรูปแบบ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ภาพถ่าย

ทางอากาศ (Aerial Photophy) ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite Imagery) ระบบกำหนด

Page 9: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

ตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

(Geographic System : GIS)

ภาพถ่ายทางอากาศ

ภาพถ่ายทางอากาศ หมายถึง รูปถ่ายของภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่บนผิวโลก ซึ่งได้จากการ

ถ่ายภาพจากที่สูงในอากาศเหนือพื้นโลก โดยใช้เครื่องบินหรือบอลลูนที่มีการติดกล้องถ่ายภาพแล้ว

บินเหนือบริเวณที่ต้องการถ่ายภาพ เมื่อกล้องถ่ายภาพบันทึกภาพนั้นไว้แล้ว จึงนำมาเรียงต่อกันก็จะ

เห็นรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่จริงบนผิวโลก

ภาพถ่ายทางอากาศแสดงเขื่อนเก็บกักน้ำ

การนำภาพถ่ายทางอากาศไปใช้

ภาพถ่ายทางอากาศมีประโยชน์ในการศึกษา วิเคราะห์ และตีความข้อมูลเกี่ยวกับ

ทรัพยากรธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา งานด้านต่างๆ ที่

ใช้ภาพถ่ายทางอากาศ เช่น การทำแผนที่ การวางผังเมือง การศึกษาพื้นที่ป่าไม้ การศึกษาการ

เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เป็นต้น

ภาพถ่ายดาวเทียม

ภาพถ่ายดาวเทียม หมายถึง ภาพถ่ายที่ได้จากการบันทึกข้อมูลของดาวเทียมด้วย

กระบวนการสำรวจระยะไกลหรือ รีโมตเซนซิง (Remote Sensing : RS) ด้วยอุปกรณ์บันทึก

ข้อมูล โดยใช้หลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อบันทึกข้อมูลในลักษณะของช่วงคลื่น

Page 10: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

�0

ภาพถ่ายดาวเทียม แสดงการก่อตัวของพายุ

รีโมตเซนซิง

รีโมตเซนซิง เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่แขนงหนึ่งที่ใช้ในการบ่งบอก จำแนก

หรือวิเคราะห์คุณลักษณะของวัตถุต่างๆ โดยปราศจากการสัมผัสโดยตรง ทั้งนี้โดยการบันทึก

คุณลักษณะของวัตถุต่างๆ ที่อยู่บนพื้นโลกจากการสะท้อนหรือการแผ่รังสีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า

ผ่านอุปกรณ์ที่ติดอยู่บนเครื่องบินหรือดาวเทียม ทั้งนี้การบันทึกข้อมูลหรือรูปภาพจากเครื่องบินและ

จากดาวเทียมจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เนื่องจากเครื่องบินมีข้อจำกัดด้านการบินระหว่างประเทศ

และสามารถถ่ายเฉพาะช่วงที่ไม่มีเมฆฝนมาบดบังทัศนียภาพ แต่ดาวเทียมสามารถบันทึกข้อมูลของ

บริเวณต่างๆ ของโลกได้ทั้งหมด เพราะดาวเทียมโคจรรอบโลกอยู่ในอวกาศและมีอุปกรณ์บันทึก

ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

การนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมไปใช้

ปัจจุบันนี้ได้มีการนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมไปศึกษา แปลความหมาย ตีความ และ

วิเคราะห์กันอย่างกว้างขวางในหลายสาขา ได้แก่

- ด้านป่าไม้ เช่น การติดตามตรวจสอบพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม การศึกษาพื้นที่ป่าชายเลน

การศึกษาไฟป่า เป็นต้น

- ด้านเกษตรกรรม เช่น การศึกษาพื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืช การสำรวจสภาพของ

พืชที่ปลูก การกำหนดเขตศักยภาพในการเพาะปลูก เป็นต้น

Page 11: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

��

- ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาภาวะโลกร้อน การตรวจสอบคุณภาพน้ำและตะกอน

ในอ่าวไทย การติดตามตรวจสอบมลพิษทางอากาศ เป็นต้น

- ด้านอุทกวิทยา เช่น การวิเคราะห์และประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย การศึกษาปริมาณ

และคุณภาพน้ำตามธรรมชาติ การวางแผนการชลประทาน เป็นต้น

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกหรือจีพีเอส เป็นเครื่องมือสมัยใหม่ ที่มีทั้งขนาดใหญ่และขนาด

เล็กที่พกพาได้สะดวก สามารถใช้กำหนดพิกัดของผิวโลกได้อย่างแม่นยำ ค่าที่อ่านได้จะเป็นค่า

ละติจูดและลองจิจูดหรือค่ายูทีเอ็ม (Universal Transuerse Mercator : UTM) ทั้งนี้ระบบกำหนด

ตำแหน่งบนโลกมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1. ส่วนอวกาศ เป็นส่วนของดาวเทียมที่โคจรรอบโลกในอวกาศ ซึ่งมีจำนวน 24 ดวง แบ่ง

ออกเป็น 6 วงโคจร โดยใช้ระยะทางและเวลาของดาวเทียมแต่ละดวง โดย 21 ดวงจะทำหน้าที่ส่ง

สัญญาณคลื่นวิทยุจากอวกาศมายังสถานีรับสัญญาณ รับสัญญาณจากสถานีควบคุม ส่วนที่เหลือ

จะเป็นดาวเทียมเสริมปฏิบัติการ

2. ส่วนควบคุม จะประกอบด้วยสถานีควบคุมพื้นดินที่คอยตรวจสอบการโคจรของดาวเทียม

แต่ละดวง โดยการสื่อสารผ่านวิทยุที่มีความเร็วคลื่นประมาณ 186,000 ไมล์ต่อวินาที

3. ส่วนผู้ใช้ จะประกอบด้วยเครื่องระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ซึ่งทำหน้าที่แปลง

สัญญาณที่ได้รับจากดาวเทียมมาคำนวณหาพิกัดตำแหน่งบนผิวโลกและหาความสูงเฉลี่ยจากระดับ

พื้นดิน

การนำระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกไปใช้

ปัจจุบันได้มีการนำระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกมาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ เช่น ใช้ใน

การติดตั้งระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ใช้ในการจราจรและขนส่ง ใช้ในการทำรังวัดและการทำแผนที่

เป็นต้น

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรห์รือจีไอเอส หมายถึง ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่

ช่วยในการจัดเก็บ จัดการ จัดทำ วิเคราะห์ ทำแบบจำลองและการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบ

คอมพิวเตอร์

Page 12: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

��

การจัดการข้อมูลที่สำคัญของระบบจีไอเอส

ปัจจุบันเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ

ประกอบการตัดสินใจในระดับต่างกัน ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน ซึ่งในการจัดการข้อมูล

ภูมิศาสตร์ที่สำคัญมีอยู่ 4 ประการ คือ

1. การนำเข้าข้อมูล เป็นการป้อนข้อมูลต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถใช้

กับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้ เช่น แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม เข้าระบบ

คอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่จัดเก็บแล้วสามารถเก็บไว้ในฐานข้อมูลซึ่งสามารถแก้ไขปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่

เสมอ

2. การจัดเก็บข้อมูล เป็นการจัดเก็บและแก้ไขข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธีการในการ

จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของแฟ้มของข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านค่าได้และจัดการข้อมูล รวม

ทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงลักษณะประจำ

3. การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้ผลของข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

โดยอาจวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลชั้นเดียวหรือวิเคราะห์จากข้อมูลหลายชั้น

4. การแสดงผล เป็นการแสดงผลข้อมูลต่อผู้ใช้ในรูปของตัวเลข ข้อมูลภาพ หรือแผนที่

ตาราง คำบรรยาย

การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้

ประเทศไทยได้มีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้แก่

- ด้านป่าไม้ เช่น การจัดการพื้นที่ป่า การวิเคราะห์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เป็นต้น

- ด้านสาธารณสุข เช่น การติดตามตรวจสอบไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีก การวิเคราะห์การ

แพร่กระจายของโรคระบาด เป็นต้น

- ด้านผังเมือง เช่น การวางผัง การวางแผนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย เป็นต้น

- ด้านสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ เช่น การวิเคราะห์พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัย

สึนามิ การวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง เป็นต้น

- ด้านการเกษตร เช่น การศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ การ

ประเมินทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูก เป็นต้น

Page 13: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

��

การแบ่งเขตวันและเวลา

การแบ่งเขตวันและเวลาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะอาศัยเส้นลองจิจูดในการคำนวณหาวัน

และเวลาในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้โลกมีเส้นลองจิจูดหรือเส้นเมริเดียน 360 เส้น โดยกำหนดให้เส้น

ลองจจิดูทีล่ากผา่นเมอืงกรนีชิ ประเทศองักฤษ เปน็เสน้ลองจจิดูที ่ 0 องศา ทีเ่รยีกวา่ เมรเิดยีนแรก

หรือ เมริเดียนปฐม และเนื่องจากเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ จะใช้เวลา 24 ชั่วโมง นั่นคือ

โลกหมุนรอบแกนเป็นมุม 360 องศา ดังนั้น โลกจะหมุนไป 15 องศาลองจิจูดทุกๆ 1 ชั่วโมง หรือ

หมุนไป 1 องศาลองจิจูดทุกๆ 4 นาที

เวลามาตรฐานกรีนิช หมายถึง เวลาสากล ตามข้อตกลงใน ค.ศ. 1884 กำหนดให้เส้น

เมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งราชสำนักอังกฤษ ที่เมืองกรีนิช ใกล้กรุงลอนดอน ประเทศ

สหราชอาณาจักร เป็นมาตรฐานในการเทียบเวลาทุกแห่งของประเทศต่างๆ

เวลามาตรฐานกับเวลาท้องถิ่น

ในอดีต เมืองแต่ละเมืองจะกำหนดเวลาตามเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านเมืองนั้นๆ เวลาดังกล่าวนี้

เรียกว่า เวลาท้องถิ่น แต่เนื่องจากเวลาท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามลองจิจูด ดังนั้นเวลาของ

ตำบลต่างๆ ในเขตการปกครองเดียวกันแต่อยู่ต่างลองจิจูดกันจึงไม่เท่ากัน เช่น เวลาท้องถิ่นของ

กรุงเทพฯ กับจังหวัดอุบลราชธานีย่อมไม่เท่ากัน เป็นต้น

เมื่อมนุษย์ได้เดินทางติดต่อกันและกันอย่างกว้างขวางการใช้เวลาท้องถิ่นก่อให้เกิดความ

ยุ่งยากและสับสนมากขึ้น จากความยุ่งยากนี้จึงมีความพยายามที่จะกำหนดเวลามาตรฐานขึ้น ซึ่ง

ได้กลายมาเป็นระบบเวลาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

เวลาท้องถิ่น (local time) หมายถึง เวลากำหนดขึ้นในชุมชนเล็กๆ ซึ่งถือตามลองจิจูดที่

เป็นศูนย์กลางของชุมชนนั้นๆ ตำบลที่ตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนต่างกันจะมีเวลาท้องถิ่น

แตกตา่งกนัไป โดยคำนวณระยะหา่ง 1 องศา มเีวลาแตกตา่งกนั 4 นาท ี (24 x 60 = 4) 360

เวลามาตรฐาน (standard time) คือ เวลาที่กำหนดขึ้นใช้ในบริเวณหนึ่งๆ เพื่อให้เป็นเวลา

เดียวกันทั้งหมด ในทางทฤษฎีแล้ว ระบบเวลามาตรฐานจะแบ่งออกเป็นเขต เป็นแนวจากขั้วโลก

เหนือถึงขั้วโลกใต้ โดยแบ่งออกเป็นเขตละ 15 องศาลองจิจูด ซึ่งเทียบค่าได้ 1 ชั่วโมง และถือเอา

Page 14: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

��

เส้นลองจิจูดของเมริเดียนกลางของเขตนั้นๆ เป็นเวลาของเขตทั้งเขต เมริเดียนย่านกลางนี้ถือเอา

เมริเดียนทุก 15 องศาลองจิจูด เช่น 0 องศา 15 องศา 30 องศา เป็นต้น อาณาเขตของแต่ละเขต

ของเวลามาตรฐานจะคลุมบริเวณไปทางตะวันตกและตะวันออกของเมริเดียนย่านกลางข้างละ 7

องศา 30 ลิปดา ซึ่งเมื่อรวมแล้วแต่ละเขตจะครอบคลุมพื้นที่ 15 องศาลองจิจูด

การเปลี่ยนเวลาจะเปลี่ยนไปต่อเมื่อสิ้นสุดอาณาเขตของเขตนั้นๆ และเปลี่ยนไปทีละ

1 ชั่วโมง เช่น ถ้าเขตหนึ่งเป็นเวลา 3.00 นาฬิกา เขตที่อยู่ถัดไปทางตะวันออก 1 เขต จะเป็นเวลา

4.00 นาฬิกา และในทำนองเดียวกัน เขตที่อยู่ถัดไปทางตะวันตก 1 เขต จะเป็นเวลา 2.00

นาฬิกา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ เวลามาตรฐานที่ใช้กันอยู่จริงๆ นั้น ขอบเขตของเขต

ต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ใช้แนวเมริเดียนเป็นขอบเขตของเขตโดยตลอด แต่ละเส้นขอบเขตของเขตจะเป็น

เส้นคดโค้งไปตามเขตของภูมิภาคทางการปกครอง

ประเทศต่างๆ อาจกำหนดให้เวลาที่ใช้ในประเทศของตนเป็นไปตามเวลามาตรฐานในเขตที่

ครอบคลุมประเทศนั้นๆ บางประเทศอาจกำหนดเวลาของตนเองตามเวลามาตรฐานเขตใดเขตหนึ่ง

เพียงเขตเดียว เช่น ประเทศไทยกำหนดเวลามาตรฐานตามเวลาในเขตที่ 19 หรือประเทศญี่ปุ่น

กำหนดเวลาในเขตที ่ 21 เปน็ตน้ แตบ่างประเทศมอีาณาเขตกวา้งขวาง โดยทางตะวนัตกและตะวนั-

ออกของประเทศอยู่ห่างไกลกันมาก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และออสเตรเลีย จึงต้องกำหนดให้

เวลาที่ใช้ในประเทศของตนเป็นไปตามเวลามาตรฐานหลายเขต

เขตเวลามาตรฐานโลกเทียบจากเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านตำบลกรีนิช

Page 15: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

��

ด้วยเหตุที่การแบ่งเขตของเวลามาตรฐานไม่ได้ใช้เส้นลองจิจูดเป็นเส้นแบ่งขอบเขตของแต่ละ

เขตอย่างแท้จริง ทำให้ไม่สามารถคำนวณหาเวลามาตรฐานของประเทศต่างๆ โดยอาศัยเส้น

ลองจิจูดได้ ยกเว้นจะรู้ว่าประเทศนั้นๆ อยู่ในเขตเวลามาตรฐานใด ใช้เส้นลองจิจูดที่เท่าไรในการ

กำหนดเวลามาตรฐานประเทศของตน จึงจะหาเวลามาตรฐานของประเทศนั้นๆ ได้ การใช้เส้น

ลองจิจูดเพื่อคำนวณหาเวลาของตำบลต่างๆ นั้น จะเป็นเวลาท้องถิ่นไม่ใช่เวลามาตรฐาน

เวลามาตรฐานของโลกกำหนดให้ต่างกันเขตละ 1 ชั่วโมง ได้ 24 เขต เนื่องจากโลกหมุน

รอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง ผ่านลองจิจูดบนพื้นโลก 360 องศาหรือผ่าน

เมริเดียน 360 เส้น ดังนั้นทุกๆ 15 องศาของเส้นเมริเดียนจะเปลี่ยนไป 1 ชั่วโมง

(24 x 60 x 15 = 60 นาท)ี 360

เส้นวันที่สากล

เส้นวันที่สากล เป็นเขตกำหนดการเปลี่ยนวัน โดยจะใช้เส้นเมริเดียนแรกเริ่มวัดไปทางทิศ

ตะวันตกและทิศตะวันออกข้างละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันตกและ 180

องศาตะวันออกจะทับกันพอดี ถ้าเอาลูกโลกมาดูจะเห็นว่าเส้นเมริเดียนที่ 180 องศานี้อยู่ตรงข้าม

กับเส้นเมริเดียนเริ่มแรกพอดี เช่น ตำบลกรีนิชตั้งอยู่เส้นเมริเดียนแรกเป็นเวลา 12.00 น.หรือ

เที่ยงวันของวันอาทิตย์ เวลาของตำบลที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเส้นนี้จะช้ากว่าตำบลกรีนิช เช่น

ที่ลองจิจูด 90 องศาตะวันออกเป็นเวลา 6.00 น. ของวันอาทิตย์และเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา

ตะวันตก จะเป็นเวลา 24.00 น. วันเสาร์หรือ 0.00 น. ของวันอาทิตย์ กล่าวคือสิ้นสุดวันเสาร์และ

เริ่มขึ้นวันอาทิตย์ ขณะเดียวกันตำบลที่ตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก จะมีเวลา

มาตรฐานตรงกับ 18.00 น. ของวันอาทิตย์และตำบลที่ตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา

ตะวันออก จะเป็นเวลา 24.00 น. ของวันอาทิตย์หรือ 0.00 น. ของวันจันทร์ กล่าวคือ สิ้นสุดวัน

อาทิตย์และเริ่มขึ้นวันจันทร์

Page 16: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

��

กลางคืน

เวลาก่อนเที่ยง

ของวันอาทิตย์

เวลาหลังเที่ยง

ของวันอาทิตย์

กลางวัน

6.00 น. วันอาทิตย์ 18.00 น. วันอาทิตย์ 90o ตต

90o ตอ

12.00 น. วันอาทิตย์

24.00 น. วันเสาร์ หรือ

0.00 น. วันอาทิตย์

24.00 น. วันอาทิตย์หรือ

0.00 น. วันจันทร์

180o

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 1

1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษารายละเอียดแผนที่ภูมิประเทศของท้องถิ่นที่นักเรียนสนใจ

โดยศึกษาองค์ประกอบของแผนที่ว่ามีอะไรบ้าง แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน

2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลภูมิศาสตร์จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ แล้วนำเสนอราย

ละเอียดข้อมูลภูมิศาสตร์ที่สืบค้นได้

แสดงเวลาที่เส้นเมริเดียน 180 องศาตะวันออกและตะวันตกทับกับเส้นเดียวกันและ

อยู่ตรงกันข้ามหรืออยู่คนละซีกโลกกับเส้นเมริเดียน 0 องศา

เส้นวันที่สากลนี้ไม่ได้ลากตามแนวเมริเดียนที่ 180 องศาตลอดขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ แต่

อนุโลมให้ลากเบนออกไปทางซ้ายหรือขวาของเมริเดียนที่ 180 องศา ในกรณีที่ผ่านพื้นที่ที่เป็นพื้น

ดินหรือหมู่เกาะต่างๆ ของประเทศใดประเทศหนึ่งเพื่อให้บริเวณนั้นมีเวลาอยู่ในวันเดียวกัน

Page 17: หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 การ ...3.1 แผนท ภ ม ประเทศเป นแผนท แสดงความส

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1

��

คำถามท้ายหน่วย

1. เหตุใดแผนที่จึงมีความสำคัญและมีประโยชน์ในทางภูมิศาสตร์ จงอธิบาย

2. ในทางภูมิศาสตร์ เส้นละติจูดและลองจิจูดมีความสำคัญอย่างไร

3. ภาพถ่ายทางอากาศมีความแตกต่างกับรูปภาพทั่วไปหรือไม่ อย่างไร

4. เหตุใดจึงต้องนำข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียมมาแปลความหมาย

5. ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก แตกต่างจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อย่างไร

6. การกำหนดเวลามาตรฐานของโลกจะยึดตามแนวเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านบริเวณใด