36
1 เขื่อน กับความต้องการของประเทศไทย - สถานการณ์ปัจจุบันและประเด็นปัญหาเขื่อนในประเทศไทย - แนวคิดและความจาเป็นในการสร้างเขื่อน ณ ปัจจุบันในประเทศไทย ภาระกิจ + วิศวกรรมและธรณีวิทยาเกี่ยวกับเขื่อน + ความจาเป็นในการสร้างเขื่อนในประเทศไทย (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น + ประเทศไทยจาเป็นต้องมีเขื่อนเพิ่มขึ้นหรือไม่ (ผลกระทบทางบวก/ลบ ด้านธรณีวิทยา) + ทาไมหน่วยงานต่างๆ จึงพูดถึง เขื่อนแก่งเสือเต้นอีกครั้ง

ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

1

เขื่อน กับความต้องการของประเทศไทย

- สถานการณ์ปัจจุบันและประเด็นปัญหาเขื่อนในประเทศไทย

- แนวคิดและความจ าเป็นในการสร้างเขื่อน ณ ปัจจุบันในประเทศไทย

ภาระกิจ

+ วิศวกรรมและธรณีวิทยาเกี่ยวกับเขื่อน

+ ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนในประเทศไทย (แก่งเสือเต้น)

ความคิดเห็น

+ ประเทศไทยจ าเป็นต้องมีเขื่อนเพิ่มขึ้นหรือไม่ (ผลกระทบทางบวก/ลบด้านธรณีวิทยา)

+ ท าไมหน่วยงานต่างๆ จึงพูดถึง เขื่อนแก่งเสือเต้นอีกครั้ง

Page 2: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

2

ประเทศไทยมี ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนเพิ่มหรือไม่ ประเทศไทยได้มีการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ าเป็นจ านวนมากในช่วงสาม

ทศวรรษที่ผ่านมา และมีโครงการท่ีจะสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นอีกเป็นจ านวนมากในอนาคต ประเทศไทยมีวัตถุประสงค์หลายประการในการสร้างเขื่อน

. เพ่ือจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประชาชนในราคาต่ า . เพ่ือการชลประทาน . เพ่ือการจัดหาน้ าเพื่อการอุปโภคและบริโภค .. ครัวเรือน .. อุตสาหกรรม . เพ่ือป้องกันน้ าท่วม เขื่อนเก็บกักน้ าแห่งแรกของไทยได้ถูกสร้างขึ้นหลังจากสงครามโลกคร้ังที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมิได้ต้ังอยู่ในบริเวณท่ีอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรพลังงานประเภทถ่านหิน หรือปิโตเลียม นอกจากนี้แล้ว ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังอยู่ในภาคเกษตรกรรมมีรายได้ที่ไม่แน่นอน เพราะปริมาณผลผลิตขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม ในฤดูฝนบางปีที่มีฝนตกมาก เกษตรกรจะประสบปัญหาน้ าท่วมไร่นาเสียหาย ในฤดูร้อน เกษตรกรก็ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ าเพื่อการเพาะปลูก ดังนั้นการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ าจึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาความแน่นอนของปริมาณน้ าเพ่ือการเกษตรได้ทางหนึ่ง

Page 3: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

3

โดยมีหลักการง่าย ๆ ว่าเขื่อนจะเก็บกักน้ าที่มีมากในช่วงฤดูฝนและเมื่อถึงฤดูแล้งก็จะค่อย ๆ ระบายน้ าออกจากเขื่อนเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ า การชลประทานจากเขื่อนจะสามารถท าให้เกษตรกรเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ได้มากขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากการเพิ่มผลิตภาพในการผลิตหรือจากการปลูกพืชได้มากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี (Multiple crop cultivation) นอกจากผลประโยชน์ด้านพลังงานและการชลประทานแล้ว ประโยชน์ทางอ้อมที่อาจจะเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อน ได้แก่ . การเดินเรือ . การป้องกันน้ าท่วม . การป้องกันการแทรกซึมของน้ าทะเล . การประมง และการท่องเที่ยว ซึ่งผลประโยชน์ต่าง ๆ เหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของเขื่อนและท่ีตั้งโครงการ การสร้างเขื่อนต้องอาศัยเงินลงทุนที่สูง และจ าเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการไหลของกระแสน้ าตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการใช้น้ าที่มีอยู่เดิม รวมไปถึงสภาพความเป็นอยู่ของชมุชนและสิ่งแวดล้อม ท าให้การสร้างเขื่อนนั้นไม่ได้จ ากัดเพียงแค่การสร้างและใช้งานเขื่อนเพื่อพัฒนาและปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชน เท่านั้น แต่รวมไปถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสังคมและส่ิงแวดล้อมอีกด้วย (World Commission on Dams, 2000)

Page 4: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

4

เช่น ประชาชนที่ต้องอพยพออกจากบริเวณก่อสร้างอ่างเก็บน้้านั้นได้รับความเสียหายจากการจัดสรรที่ดินใหม่ที่มีคุณภาพต่้า ขาดแคลนน้้าและสาธารณูปโภค หรือในบางครั้งปริมาณน้้าในอ่างเก็บน้้าไม่เพียงพอ ท้าให้เขื่อนอเนกประสงค์ (Multipurpose dam) ไม่สามารถด้าเนินการเพื่อวัตถุประสงค์หลาย ๆ ด้านไปพร้อมกัน จ้าเป็นต้องเลือกด้าเนินการเพียงวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้น เช่น เลือกที่เก็บกักน้้าเพ่ือจะผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่ค้านึงถึงวัตถุประสงค์ด้านการชลประทานหรือการป้องกันน้้าท่วม เหตุการณ์เช่นน้ีจะน้าไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากโครงการได้

โครงการเขื่อนอเนกประสงค์ในประเทศไทยจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐทั้งหมดสามหน่วยงาน ได้แก่

. กรมชลประทาน

. การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

. ส้านักงานพลังงานแห่งชาติ

ท้าหน้าที่ในการจัดหาน้้าชลประทาน ผลิตกระแสไฟฟ้าและจัดการพลังงานของประเทศ

โดยหน่วยงานดังกล่าวอาศัยการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Feasibility Analysis) เพ่ือประเมินความเหมาะสมโครงการสร้างเขื่อน และ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะประเมินว่าโครงการสร้างเขื่อนนั้นมีความเหมาะสมในเชิงเศรษฐศาสตร์หรือไม่

Page 5: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

5

การระบุผลกระทบจากโครงการ

ผลกระทบของโครงการสร้างเขื่อนนั้นมีทั้งผลกระทบเชิงบวก (Positive Impacts) และผลกระทบเชิงลบ (Negative Impacts) ทั้งที่จับต้องได้ (Tangible impacts) และจับต้องไม่ได ้(Intangible impacts) The World Commission on Dams ได้พยายามอธิบายถึงประเด็นต่าง ๆ ทีอ่าจจะเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนดังแสดงในรูปที่ 1

Page 6: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

6

Page 7: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

7

จากรูปที ่1 แสดงให้เห็นว่าการสร้างเขื่อนนั้นมีผลกระทบหลาย ๆ ด้าน เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของชุมชน โดยผลกระทบต่าง ๆ เหล่านี้จ าแนกได้เป็นสองประเภทคือ ผลกระทบในทางลบ (Negative impacts) และผลกระทบในทางบวก (Positive impacts)

Page 8: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

8

ผลกระทบในเชิงลบ

1. ผลกระทบทางกายภาพ (Physical impacts)

ประกอบด้วยการก่อสร้าง การใช้งานและการบ ารุงรักษา การบรรเทาผลกระทบ และการท าลายเขื่อนเมื่อหมดอายุการใช้งาน

- การก่อสร้าง (Construction) หมายถึงการสร้างเขื่อน ระบบชลประทาน และทางระบายน้ า โดยวิศวกรจะท าการประเมินจ านวนแรงงาน วัสด ุและอุปกรณ์ที่จ าเป็นในการก่อสร้าง เพื่อใช้ในการประเมินต่อไป - การด าเนินงานและการบ ารุงรักษา (Operation and Maintenance) หมายถึงการบริการและวัสดุท่ีใช้ในระหว่างที่เขื่อนมีการใช้งาน เช่น การบริการของวิศวกร เชื้อเพลิง และแรงงานอื่น ๆ - การบรรเทาผลกระทบ (Mitigation) หมายถึงมาตรการท่ีจะลดผลกระทบในเชิงลบที่อาจมีสาเหตุจากการสร้างเขื่อน เนื่องจากเขื่อนจะมีการเปลี่ยนกระแสน้ าตามธรรมชาติท่ีอาจกระทบต่อประชาชนที่อาศัยในบริเวณที่ต้องการสร้างอ่างเก็บน้ า เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ าท าให้ปลาไม่สามารถไปวางไข่บริเวณเหนือน้ าได้ จ านวนปลาในแหล่งน้ ามีแนวโน้มที่จะลดลง ดังนั้นโครงการอาจบรรเทาผลกระทบดังกล่าวโดยสร้างบันไดปลาโจนเพื่อให้ปลาสามารถว่ายขึ้นไปเหนือน้ าเพื่อวางไข่ได้เมื่อถึงฤดูกาล

Page 9: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

9

- การท าลายเขื่อนเมื่อหมดอายุการใช้งาน (Decommission)1 ผลกระทบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเขื่อนหมดอายุการใช้งาน หมายถึงการท าลายเขื่อนและฟื้นฟูแม่น้ าให้อยู่ในสภาพก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อน (pre-dam state) การท าลายเขื่อนนั้นมีความจ าเป็นในแง่ของความปลอดภัยและการรักษาสภาพแวดล้อม เพราะการท าลายเขื่อนผิดวิธีนั้นจะท าให้เกิดความเสียหายได้ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์โดยทั่วไม่มักไม่ได้พิจารณาการท าลายเขื่อนเป็นผลกระทบส าคัญของโครงการเนื่องจากเหตุผลส าคัญหลายประการ (1) เขื่อนไม่จ าเป็นต้องถูกท าลายเมื่อหมดอายุการใช้งาน แต่อาจสามารถท่ีจะซ่อมแซมเพื่อให้เขื่อนสามารถใช้งานต่อไปได้แทนที่จะท าลายแล้วปรับสภาพแหล่งน้ าให้เหมือนเดิม (2) บางคร้ังไม่สามารถฟื้นฟูแหล่งน้ าหรือสร้างเขื่อนใหม่ได้ เนื่องจากมีการตกตะกอนในอ่างเก็บน้ ามากเกินไป และ (3) เมื่อท าการคิดลดต้นทุนในการท าลายเขื่อนและฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ าแล้ว พบว่าต้นทุนดังกล่าวมีมูลค่าน้อยมาก

2. การอพยพและการตั้งถิน่ฐานใหม่ การสร้างเขื่อนมักจ าเป็นต้องใช้พื้นท่ีขนาดใหญ่ในการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ า ท าให้จ าเป็นต้องมีการอพยพประชากรท่ีอยู่อาศัยเดิมออกจากพื้นท่ี แล้วปล่อยให้น้ าท่วมพื้นที่ท่ีราษฎรอยู่อาศัยท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิทธิที่ดินและการใช้ทรัพยากร ชุมชน สังคม และระบบเศรษฐกิจได้รับความเสียหาย ดังนั้นรัฐจะต้องจัดหาที่อยู่อาศัยและที่ดินท ากินแหล่งใหม่ รวมไปถึงการชดเชยให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด

Page 10: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

10

3. ความเสี่ยงจากการพังทลายของเข่ือน การพังทลายของเขื่อนนั้นหมายถึงการท่ีเขื่อนยุบตัวหรือเกิดการเคล่ือนตัวของส่วนใดส่วนหนึ่งของเขื่อนหรือฐานเขื่อน มีผลให้เขื่อนไม่สามารถกักเก็บน้ าไว้ได้ โดยสาเหตุส าคัญที่ท าให้เขื่อนพังทลายอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การกัดกร่อนภายในตัวเขื่อนและฐานเขื่อน หรือทางระบายน้ ามีความจุไม่เพียงพอก็อาจท าให้เกิดการพังทลายของเขื่อนได้ อัตราการพังทลายของเขื่อนนั้นค่อย ๆ ลดลง จนปัจจุบันอยู่ในระดับท่ีต่ ากว่า 5 % (International Commission On Large Dams, 1995) นอกจากนี้ผู้วิเคราะห์ควรค านึงว่าเขื่อนท่ีมีขนาดใหญ่มากมักท าให้โอกาสในการเกิดแผ่นดินไหว มีสูงขึ้น ดังนั้นความเสี่ยงของการพังทลายของจะมีมากขึ้น

4. การใช้ที่ดิน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 2 การสร้างเขื่อนจ าเป็นต้องใช้ท่ีดินขนาดใหญ่ ท าให้สังคมต้องเสียสละที่ดินที่เป็นป่าไม้ ที่ดินท าการเกษตร และท่ีดินท่ีอยู่อาศัยเพื่อใช้ในการสร้างอ่างเก็บน้ าและตัวเขื่อน ป่าไม้เป็นทรัพยากรท่ีมีประโยชน์หลายด้าน เช่น ประโยชน์จากเนื้อไม้ ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เนื้อไม้ สัตว์ป่า ประโยชน์ด้านนิเวศน์วิทยา และประโยชน์ด้านการดูดซับคาร์บอน ดังนั้นการสูญเสียที่ดินที่เป็นป่าไม้ย่อมท าให้เกิดการสูญเสียประโยชน์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากป่าไม้ด้วย

Page 11: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

11

5. ผลภายนอก

ก) การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจกหมายถึงก๊าซท่ีสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นอุปสรรคกีด

ขวางไม่ให้รังสีความร้อนสะท้อนกลับไปอวกาศได้ ท าให้ความร้อนยังคงถูกเก็บรักษาอยู่ในบริเวณผิวโลก โครงการสร้างเขื่อนนั้นจะท าให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพ่ิมขึ้นจากการย่อยสลายของอินทรีย์สารในอ่างเก็บน้ า อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกโดยรวม โครงการสร้างเขื่อนมีข้อดีในด้านการลดปริมาณการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งอื่น ๆ เพราะสามารถผลิตไฟฟ้าพลังน้ าทดแทนเชื้อเพลิงชนิดอื่น ๆ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า

ข) ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากการสร้างเขื่อนจะท าให้เกิดน้ าท่วมบริเวณอ่างเก็บน้ า ซึ่งแต่เดิมอาจ

เคยเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน รวมถึงอาจเป็นแหล่งที่ต้ังโบราณสถานที่ไม่สามารถเคล่ือนย้ายได้ ดังนั้นการสร้างเขื่อนจึงอาจมีผลท าให้สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนเปลี่ยนแปลงไป

Page 12: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

12

ค) การแทรกซึมของน้ าเค็มในดิน การชลประทานเขื่อนนั้นอาจท าให้น้ าใต้ดินมีระดับตื้น เมื่อระดับน้ าใต้ดินใกล้เคียงกับพ้ืนดิน capillary action จะดึงเกลือท่ีมีอยู่ในธรรมชาติขึ้นมาอยู่บนผิวดิน ท าให้ระดับความเค็มของดินเพิ่มสูงขึ้นและมีผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ทนความเค็มได้น้อย

ผลกระทบในเชิงบวก

1. พลังงานไฟฟ้า เขื่อนกักเก็บน้ าสามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้โดยการติดตั้งเครื่องก าเนิดกระแสไฟฟ้าไว้ที่ตัวเขื่อน เมื่อเขื่อนจะน้ าเพื่อการชลประทาน น้ าจะถูกปล่อยผ่านเครื่องก าเนิดไฟฟ้าและเกิดเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยไฟฟ้าพลังน้ านั้นจัดได้ว่าเป็นพลังงานที่มีราคาต่ าประเภทหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้ 2. น้ าชลประทาน การชลประทานนั้นมีอิทธิพลต่อการท าการเกษตร ท าให้ผลผลิตเกษตรมีจ านวนเพ่ิมมากขึ้น โดยขนาดของผลกระทบที่เกิดจากการชลประทานนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ หลายประการ เช่น การส่งน้ า พื้นที่ชลประทาน และแบบแผนในการเพาะปลูก

Page 13: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

13

3. ความเสียหายจากน้ าท่วมและการแทรกซึมของน้ าทะเลลดลง การสร้างเขื่อนนั้นช่วยบรรเทาอุทกภัยได้โดยการเก็บกักน้ าในฤดูฝนและค่อย ๆ ปล่อยน้ าออกมาในฤดูแล้งได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสียหายอันเนื่องมาจากการที่น้ าทะเลแทรกซึมเข้ามาในเขตแม่น้ าได้โดยการปล่อยน้ าจากเขื่อนดันน้ าทะเลออกจากแม่น้ าได้ 4. น้ าเพ่ือการอุปโภคบริโภค ความต้องการน้ าเพื่อการอุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากจ านวนประชากรและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการสร้างเขื่อนสามารถตอบสนองความต้องการใชน้้ าที่เพิ่มขึ้นได้ รวมไปถึงการจัดหาน้ าที่มีคุณภาพดีขึ้นให้กับครัวเรือนและอุตสาหกรรม 5. การท่องเที่ยวและการประมง นอกจากผลประโยชน์ด้านอื่น ๆ แล้ว การสร้างเขื่อนยังมีประโยชน์ในแง่ของการท่องเที่ยวและการประมงอีกด้วย โดยปกติแล้ว หลังจากมีการสร้างเขื่อน กรมประมงจะเพาะพันธุ์ปลาในบริเวณอ่างเก็บน้ าและส่งเสริมการประมงในชุมชน อย่างไรก็ตามหากไม่มีโครงการสร้างเขื่อน ผลประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวและการประมงจะเกิดขึ้นได้จากแม่น้ าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ดังนั้นการประเมินผลกระทบด้านการท่องเที่ยวและการประมงจะต้องพิจารณาท้ังผลประโยชน์ที่ต้องเสียสละไปจากแม่น้ าที่มีอยู่ตามธรรมชาติและผลประโยชน์ทท่ีได้รับจากโครงการ ท าให้ผลกระทบสุทธิด้านการท่องเที่ยวและประมง อาจเป็นได้ท้ังผลกระทบในเชิงบวก และผลกระทบในเชิงลบ

Page 14: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

14

6. การเดินเรือ เนื่องจากปริมาณน้ าในแม่น้ าตามธรรมชาติมักจะลดน้อยลงในฤดูแล้ง เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ ดังนั้นในฤดูแล้ง เขื่อนสามารถปล่อยน้ าเพื่อเพิ่มปริมาณน้ าในแม่น้ าให้เหมาะสมในการเดินเรือได้

ผลกระทบเกี่ยวกับธรณีวิทยา เขื่อนแก่งเสือเต้น . ความไม่ปลอดภัยของเขื่อน -ปัญหาแผ่นดินไหว เขื่อนแก่งเสือเต้นจะถูกสร้างขึ้นในเขตรอยเล่ือนแพร่(Phrae Fault Zone) ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีจัดให้อยู่ในเขตเสี่ยงภัยในการเกิดความเสียหายจากแผ่นดินไหวในระดับปานกลาง(โซน 2) เขตรอยเลื่อนของเปลือกโลกนี้กรมอุตุนิยมวิทยาได้รวบรวมข้อมูลพบว่า ระหว่างปี - พ.ศ.2520-2538 เกิดแผ่นดินไหวถึง 71 คร้ังแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเกิดขึ้นถึง 4 คร้ัง คือ เมื่อ .. วันที่ 22-23 ธันวาคม 2523 มีขนาด 4 และ 4.2 ตามมาตราริคเตอร์ตามล าดับ บริเวณศูนย์กลางอยู่ท่ีเด่นชัย .. เมื่อวันท่ี 24 กรกฎาคม 2532 ขนาด 4.2 ตามมาตราริคเตอร์ บริเวณศูนย์กลางอยู่ท่ี อ.ปง จ.พะเยา

Page 15: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

15

.. ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2538 บริเวณศูนย์กลางอยู่ที่สูงเม่น จ.แพร่ห่างจากที่ตั้งเขื่อนประมาณ 50 กิโลเมตร มีขนาด 5.1 ตามมาตราริคเตอร์ ตามด้วยการเกิดแผ่นดินไหวในลักษณะอาฟ-เตอร์ช็อคอกี 6 ครั้ง รอยเลื่อนที่เกิดการเคลื่อนตัวคร้ังนี้เป็นรอยเล่ือนท่ีมีความยาว 80

กิโลเมตร วางตัวขนานกับแม่น้ ายมตั้งรับกับเขื่อนแก่งเสือเต้นพร้อมทั้งมีรอยเลื่อนของเปลือกโลกแยกออกไปพาดผ่านเขื่อนแก่งเสือเต้นพอดี การศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งไม่ค่อยมีการกล่าวถึงก็คือ มีรอยเลื่อนท่ีมีพลังห่างจากท่ีตั้งเขื่อนแก่งเสือเต้นออกไป 31 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ที่มีนัยส าคัญอันอาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ตามมาตราริคเตอร์ขึ้นได้การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นบนเขตรอยเลื่อนของเปลือกโลกนั้นนอกจากจะท าให้เขื่อนเกิดความไม่ปลอดภัยขึ้นแล้วการกักเก็บน้ าของเขื่อนขนาด 1,175 ล้านลูกบาศก์เมตร์(หรือประมาณ 1,175ล้านตัน)จะท าให้เมื่อน้ าเป็นตัวการล่ันไก(Trigering)น าไปสู่การเกิดแผ่นดินไหวหนักยิ่งขึ้นได้ ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในหลาย ๆ เขื่อน

-ปัญหาดินถล่ม การศึกษาของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า บริเวณด้านตะวันออกของอ่างเก็บน้้าห่างจากที่ตั้งเขื่อน 5.2 กิโลเมตร จะเกิดการพังทลายขึ้นได้ในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวในบริเวณใกล้เคียงมีขนาดมากกว่า 6 ตามมาตราริคเตอร์ การพังทลายนี้มีปริมาตรดินและหินประมาณเกือบ 20 ล้านลูกบาศก์เมตรและอาจก่อให้เกิดคลื่นน้้า ณ. บริเวณที่ตั้งเขื่อนสูงถึง 28 เมตร จากระดับเก็บกักปกติ หรือสูงจากสันเขื่อน 23 เมตร ซึ่งจะท้าให้อ่างเก็บน้้ามีอายุการใช้งานสั้นลง การพังทลายอาจก่อให้เกิดคลื่นน้้าที่อาจท้าความเสียหายต่อเขื่อนและโครงสร้างประกอบ ตลอดจนทรัพย์สินของประชาชนทางด้านท้ายน้้า

Page 16: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

16

- ปัญหาการทับถมตะกอน แม่น้ ายมเป็นแม่น้ าที่มีอัตราการพังทะลายของหน้าดินสูง เนื่องจากมีหินท่ีถูกกัดเซาะได้ง่าย ท าให้เป็นแม่น้ าที่มีการตกตะกอนสูงท่ีสุดสายหนึ่งของประเทศ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เขื่อนแก่งเสือเต้นมีอายุใช้งานสั้นลง ศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา นุตาลัย แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT)ระบุว่า แม่น้ ายมเป็นแม่น้ าที่มี การตกตะกอนมากกว่า 540 ล้านตัน/ปี ซึ่งจะท าให้เขื่อนแก่งเสือเต้นมีดินเต็มปริมาตรออกแบบเก็บกกตะกอนของเขื่อน ภายใน 20 ปี ท าให้เขื่อนมีอายุการใช้งานสั้นลงถึง 30 ปีจากท่ีคาดว่าเขื่อนจะมีอายุการใช้งาน 50 ปี

Page 17: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

17

Page 18: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

18

ความต้องการเขื่อนเพิ่ม ? . Water Resources Development/การพัฒนา

แหล่งน้ า

.. Irrigation /น้ าเพ่ือการชลประทาน

.. Water Supply

+ Domestic Water Supply

+ Industrial Water Supply

.. Water Regulating

+ Artificial Recharge/Groundwater Recharge

+ Flood Regulation/ Detention Dam

Page 19: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

19

Thailand Water Vision

1. Water Resources

1.1 Surface Water

. 5 Regions

. 25 River Basins

+ Rainfall 1700 mm/year ( 800,000 mil. m3)

- 75 % (600,000 mil. m3) Evaporation, Evapotranspiration, Infiltration

- 25 % (200,000 mil. m3) Run-off

+ 60 mil. People - ~ 3,300 m3 /head/year

Page 20: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

20

Page 21: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

21

1.2 Groundwater

- 220 Towns and Cities - 1/5 use G/W

- 700 Sanitary districts - ½ use W/T

- 75 % Domestic Water --- G/W

. Rainfall ---- Infiltration (12.5 – 18 % rainfall)

---- ~ 9 % rainfall -- Reach aquifers

(North, Upper Central Plain, Gulf Coastal Plain)

---- ~ 5 -6 % rainfall reaches aquifers

(Lower Central Plain, Bangkok, Khorat Plateua)

. Groundwater Well Projects : --- ~ 200,000 wells

+ 7.55 mil. m3 /day ( 2,700 mil. m3/year)

(Serve 35 mil. People ~ 75 % domestic water use)

Page 22: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

22

2. Water Provision and Demand

. North and Central Plain ~ 1,200 mm. rainfall/year

. South and East ~ 2,000 – 2,700 mm. rainfall/year

Average 1,700 mm. rainfall/year

+ ~ 25 % Rainfall -- Run-off -- ~ 29 % Run-off (70,770

mil. m3/year)are stored in large – medium scale projects(650 projects), and small scale projects (60,000 projects) -- Irrigable areas ~ 31 mil. Rai

~ 80 years of implementation

+ Present Demand : Irrigation and other uses -- 68,000 mil. m3 /year --- ~ 86,000 mil. m3/year by

year 2006

Page 23: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

23

Page 24: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

24

3. Water Resources Management

. 30 years ago : - water for power

generation, irrigation, domestic and industrial water supplies -- emphasis on EXPANSION of ACCESS to

SERVICE (potable water, food, power,etc.)

.. Inefficient use , excessive use of fertilizers/pesticides, wastewaters ---- Availability/adequacy of water -- Water scarcity

Water Resources based Management:

- Who/allocated ?/ how ?

- Who will provide/deliver

- Who pay ?

Page 25: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

25

4. Water Management Perspective

. Historical perspectives

. River Basin Concept/perspectives

. National Development Plan Perspectives

+ Historical Perspectives

- 1283 – 1857 : Managing people to suit water conditions.

- 1857 – Present : Supply-side management

RID -- canal digging, reservoirs

- NOW – 2025 : Demand-side Management

Transport water to where demands

(people and activities, control/regulate wastewaters, conserve water)

Page 26: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

26

- Water rights, allocation plans ( precious water,treat water like ores)--- World water Congress -- water are free for all.

+ River Basin Perspectives

- Integrated Basin Management (IBM)

- Process- people - develop vision ,agree on shared

values/behaviors, make informed decisions, act together to MANAGE the

NATURAL RESOURCES of their CATCHMENT ---- 5 Regions , 25 River

Basins

+ The National Development Plans

1962 – 1966 (Plan 1) : - Mae Klong, Chao Phraya

dams , Bhumibol dam, Lum Pao/Lum Phraploeng projects, Sao Tong project (Nakhon Si Thamarat), Mae Tang project(Chiang Mai),

- 12 mil. Rai irrigation -- 2,000 mil. ฿ Gov., 1,000 mil. ฿ loans

Page 27: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

27

1967 – 1971(Plan 2) : - Nan/Num Un, Upper Mun-Chi ,

Maekong, Sirikit dam projects.

- Irrigation expansion - 7,300 mil. ฿ - 5,400 mil. ฿

Gov. ,1,950 mil. ฿ loans, 550 mil. ฿ grants

- 15 mil. Rai irrigation by 1971

1972 – 1976(Plan 3) : -- Upper Chao Phraya project

- 8,000 mil. ฿, 6,500 mil. ฿ Gov.,800 mil. ฿ loans, 600

mil. ฿ foreign grants

1977 – 1981 (Plan 4): -- Supply magement and rehabilitation , 20,000 mil. ฿ -- Water resources

deterioration

1982 – 1986(Plan5): - Water shortage/allocation

management/efficient use , L-M-S scale projects , no master plan for water development - RID and many

agencies (~32 agencies/organizations)

Page 28: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

28

1987 – 1991 (Plan 6): - Policy guidelines , small-scale

water resources development, guidelines not implemented thoroughly

1992 – 1996(Plan 7): - Strong devlopment guidelines,

122,000 mil. ฿ ม8,005 projects, 650 L-M scale projects, 7,346 small-scale projects - 28.4 mil. Rai irrigation

(21 % total irrigable land)

- Open access system water free for all , some

payment for wastewater

1997 – 2001(Plan 8): - Water quality/quantity problems,

water resources management plan and guidelines ( 25 river basins)

Basin Management:

- Long-term planning, short-term realtime operation, basin development, environment protection, water quality/quantity, surface and groundwater development

- Water management strategy(clean drinking

water,water quality, pollution control and drainage)

Page 29: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

29

- Institution, policy, technical measures

2002 – 2006(Plan 9): - Basin management approach,

River Basin Authority, etc.

.. Changing from Supply-side approach (30 years of implementation)

to Demand-side approach.

+ Integrated Basin Management

- Institutional,

- Policy,

- Legal, and

- Technical Measures

+ Water as tradable commodity

+ Cost recovery - Economic instrument

+ Participative management , private sector roles

Page 30: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

30

Page 31: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

31

BASIN TARGETS To create a better future we must develop management systems that allow the community and governments at all levels to work together for both public and private good. We will use targets as a way to guide our actions and to measure progress toward achieving the outcomes we agree.

Page 32: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

32

Page 33: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

33

Page 34: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

34

Page 35: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

35

- ประเทศไทย มีความต้องการใชน้้ า ในอนาคตมากเท่าใด ?

- มีแผนกลยุทธ์ ในการพัฒนาแหล่งน้ าอย่างไร ระยะส้ัน กลาง

ระยะยาว

- มีวิธีการพัฒนาแหล่งน้ า อย่างไร มีทางเลือกอะไรบ้าง ?

เราถาม สังคมตอบ เรา (ไม่ใช่คุณคนเดียว) ช่วยกันตัดสิน

- ประเทศไทยต้องการเขื่อนเพิ่มขึ้นหรือไม่ ?

------------------

Page 36: ความจ าเป็นในการสร้างเขื่อนใน ... · 2013. 2. 1. · (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น

36