15
GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารัตน์ สาระพล หน้า 1 เอกสารประกอบการสอน รายวิชา สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า (GEL1103) อาจารย์ธิดารัตน์ สาระพล ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 1

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา

สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

(GEL1103)

อาจารย์ธิดารัตน์ สาระพล

ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Page 2: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 2

แผนบริหารการสอนประจ าบทท่ี 2 หัวข้อเนื้อหา

1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความต้องการ 2) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ 3) การก าหนดความต้องการสารสนเทศ 4) การก าหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ 5) การวางแผนการค้นหาสารสนเทศ 6) การเขียนแผนที่ความคิด(Concept Mapping)

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1) ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ 2) ผู้เรียนมีความสามารถในการก าหนดความต้องการสารสนเทศ 3) ผู้เรียนมีความสามารถในการก าหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ 4) ผู้เรียนมีความสามารถในการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ 5) ผู้เรียนมีความสามารถในการเขียนแผนที่ความคิด(Concept Mapping)

วิธีการสอนและกิจกรรม

1) บรรยาย ประกอบการน าเสนอสื่อการสอนแบบ PowerPoint หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อ่ืน 2) นักศึกษาจัดกลุ่ม จ านวนกลุ่มละ 6-7 คน อภิปรายกลุ่ม ในประเด็นสารสนเทศ ข่าวสาร ที่

น่าสนใจ 3) นักศึกษาอภิปรายกลุ่มในประเด็นสารสนเทศ ข่าวสาร ที่น่าสนใจ

สื่อการเรียนการสอน

1) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการบรรยาย เช่น PowerPoint 2) เอกสารประกอบการสอน 3) สารสนเทศ ข่าวสาร ที่น่าสนใจ ประกอบการอภิปรายกลุ่ม

การวัดผล

1) สังเกตพฤติกรรมผู้เรียน 2) สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม 3) คะแนนแบบฝึกหัด

Page 3: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 3

บทท่ี 2 ความต้องการสารสนเทศ

ความน า

ยุคสังคมสารสนเทศ (Information Age) เป็นยุคที่มีสารสนเทศแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว วิถีชีวิตประจ าวันของมนุษย์มีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การเรียนการศึกษา การประกอบอาชีพ การประกอบธุรกิจ การบริหารกิจการของรัฐ การปฏิบัติงานของภาครัฐ เป็นต้น สังคมและวัฒนธรรมการด าเนินชีวิตของคนยุคใหม่ล้วนแต่ต้องพ่ึงพาสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น

สารสนเทศมีความส าคัญความจ าเป็นต่อการด าเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าระดับใหญ่หรือระดับเล็ก ต้องใช้สารสนเทศในการขับเคลื่อนองค์กรแทบทุกกระบวนงาน การใช้และเผยแพร่สารสนเทศ การติดต่อสื่อสารเพ่ือเป้าหมายหรือผลลัพท์ที่มีประสิทธิภาพสูง หรือแม้กระทั่งการใช้และเผยแพร่สารสนเทศส่วนบุคคลที่ในปัจจุบันมีสื่อสังคม (Social Media) ส่วนบุคคลเผยแพร่และได้รับความนิยมในเครื่องข่ายสังคม (Social Network) จ านวนมาก

เมื่อสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทส าคัญ ท าให้ความต้องการสารสนเทศปรับเปลี่ยนไป ประเภทของผู้ใช้สารสนเทศหลากหลายมากข้ึนเป็นประชาชนในทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ เนื้อหาของสารสนเทศเน้นใช้ในชีวิตประจ าวันมากขึ้น มิใช่เพ่ือการเรียนการศึกษาเหมือนอดีต ลักษณะของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการก็เปลี่ยนเป็นรูปภาพ เสียง หรือสื่อมัลติมีเดีย มากกว่าข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นเพ่ือให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ จึงต้องศึกษาความรู้ หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพ่ือให้สามารถก าหนดความต้องการสารสนเทศ ก าหนดคุณลักษณะของสารสนเทศและการวางแผนในการค้นหาสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความต้องการ(Needs)

ความหมายของความต้องการ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายว่า ความต้องการ หมายถึง

อยากได้ ใคร่ได้ ประสงค์จะได้ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546, 436) ประยูรศรี มณีสร (2532, 99-100) กล่าวว่า ความต้องการ หมายถึง ความอยากได้อยากมี

มนุษย์มีความต้องการตามธรรมชาติหากได้รับการตอบสนองตามความต้องการนั้น ก็จะมีความสุขในชีวิต เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความพยายามที่จะท าประโยชน์ต่อไป แต่ถ้าไม่ได้รับการตอบสนองอย่างที่มุ่งหวังไว้ ก็ย่อมจะท าให้เกิดปัญหาทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ขึ้น

Page 4: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 4

ทฤษฎีที่เกี่ยวกับความต้องการ เพ่ือให้เข้าใจพ้ืนฐานของความต้องการ จึงได้ยกตัวอย่างทฤษฎีความต้องการที่ส าคัญบาง

ทฤษฎีมา 2 ทฤษฎี ดังนี้ มาสโลว์ (Maslow, 1970) ได้จัดความต้องการขั้นพ้ืนฐานของมนุษย์ตามทฤษฎีล าดับความ

ต้องการ (Hierachy of Needs Theory) ไว้ดังนี้ 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Basic Physioloyical Need) เป็นความต้องการเกี่ยวกับ

ปัจจัยพื้นฐานที่ส าคัญต่อการด ารงชีวิต เช่น อากาศ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การพักผ่อน การขับถ่าย เป็นต้น

2. ความต้องการความปลอดภัย (Safe and Security Need) เป็นความต้องการความปลอดภัย ความมัน่คง การปกป้อง การคุ้มครอง ความต้องการความปลอดภัยมั่นคงทางวัตถุภายนอก ความปลอดภัยจากการคุกคาม ความปลอดภัยจากความวิตกกังวล ความปลอดภัยจากอันตรายและความเจ็บปวดต่าง ๆ

3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Need) หมายถึง ความต้องการทางสังคม เช่น ความรัก อยากให้ตนเป็นที่รักได้รับการยอมรับจากกลุ่ม ต้องการมีส่วนร่วมในกลุ่ม

4. ความต้องการการยอมรับนับถือ (Esteem Need) หมายถึง ความต้องการความเคารพนับถือจากผู้อื่น (Respect from others) บางที่เรียกว่า Self Esteem

5. ความต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน (Self Actualization Need) เป็นความต้องการสูงสุดของบุคคล ที่พยายามท าทุกสิ่งทุกอย่างตามความเหมาะสมและความสามารถของตนเองในทางท่ีสร้างสรรค์ดีงาม

Page 5: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 5

ภาพประกอบ 2.1 ล าดับขั้นความต้องการของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์ (Maslow, 1970) อัลเดอร์เฟอร์ (Alderfer 1969, 142-175 อ้างถึงใน สิรินาตย์ กฤษฎาธาร, 2552) ได้แบ่ง

ความต้องการของมนุษย์ที่เรียกว่า ทฤษฎีความต้องการ ERG ออกเป็น 3 ระดับ คือ 1. ความต้องการที่จะด ารงชีวิต (Existence: E) เป็นความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคม

ด้วยดี เป็นความต้องการปัจจัยสี่ในการด ารงชีวิต ความต้องการทางวัตถุ เงินเดือน ประโยชน์ตอบแทน สภาพการท างาน ปัจจัยอ านวยความสะดวกในการท างาน เป็นต้น

2. ความต้องการด้านความสัมพันธ์ (Relatedness: R) คือ ความต้องการผูกพันกับผู้อ่ืนในการท างาน ต้องการได้รับความยอมรับ ร่วมรับรู้และแบ่งปันความรู้สึกระหว่างกันต้องการมีความสัมพันธ์กับผู้อ่ืน ต้องการเป็นเพื่อน

3. ความต้องการด้านความเจริญเติบโต (Growth: G) เป็นความต้องการที่จะเจริญก้าวหน้าในการท างาน สามารถทุ่มเทความรู้ ความสามารถของตนในการท างานอย่างเต็มที่และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเพ่ิมขึ้นด้วย

Esteem (Self-esteem, Confidence,

Achievement)

Social Needs (Friendship, Family)

Safety and Security

Physiological Needs(Survival) (Air, Shelter, Water, Food, Sleep, Sex)

actualization

Self-

(Creativity, Problem Solving, Authenticity,

Spontaneity)

Page 6: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 6

ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ภาพประกอบที่ 2.2 ทฤษฎีความต้องการ ERG ของอัลเดอร์เฟอร์ (Alderfer, 1969)

จากตัวอย่างทฤษฎีความต้องการแสดงให้เห็นภาพรวมของความต้องการสารสนเทศว่า

ความต้องการสารสนเทศนั้นเป็นความต้องการขั้นสูงสุดหลังจากที่มนุษย์ได้รับความต้องการพ้ืนฐาน เช่น ความต้องการทางกายภาพ ความปลอดภัย ความสัมพันธ์กับคนในสังคม เป็นต้น จากนั้นจึงเกิดความต้องการการพัฒนาศักยภาพของตนเองหรือการเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ซึ่งการใช้สารสนเทศ คือ ระดับความต้องการที่น าไปสู่การพัฒนาตนเองและสังคมด้วย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ (Information Needs)

การเกิดและการแพร่กระจายของสารสนเทศจ านวนมหาศาลซึ่งมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ฯลฯ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้สารสนเทศในยุคปัจจุบัน เช่น ผู้ใช้สารสนเทศต้องการความสะดวก ความรวดเร็ว ทันเวลา ในการค้นหา การใช้ ตลอดจนการเผยแพร่สารสนเทศ แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาที่ถูกต้องและการเข้าใช้ การเผยแพร่อย่างถูกกฎหมาย มีศีลธรรม จริยธรรม ยังคงจ าเป็นต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ใช้ตระหนักจึงจะเกิดศักยภาพการเรียนรู้ที่เหมาะสม ความหมายของความต้องการสารสนเทศ

การนิยามความหมายของความต้องการสารสนเทศนั้น ได้มีอาจารย์ นักวิชาการ นักการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้ให้ความหมายและอธิบายความ ดังต่อไปนี้

อัครพร สุทธิกุญชร (2534, 17) ให้ความหมายว่า ความต้องการสารสนเทศ หมายถึง ความอยากได้อยากมีข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ เรื่องราวต่าง ๆ เพ่ือน ามาใช้ในการตอบปัญหาหรือตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

สิริญดา สิทธิบุ่น (2541) กล่าวถึงความหมายของความต้องการสารสนเทศว่าหมายถึง การที่บุคคลค้นพบว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่ท าให้ต้องตัดสินใจค้นหาค าตอบ หรือหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งและมีความต้องการสารสนเทศเพ่ือน ามาใช้ในการนี้มากสถานการณ์นี้ท าให้ผู้ใช้เล็งเห็นความต้องการของตนเอง

Existence Needs Relatedness

Needs Growth Needs

Page 7: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 7

ความต้องการสารสนเทศ หมายถึง การตระหนักรู้ถึงความไม่รู้หรือความไม่แน่ใจที่มีอยู่ของสารสนเทศ และต้องการสารสนเทศเพ่ือช่วยให้สามารถด าเนินการต่าง ๆ ได้ เช่น เพ่ือให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เพ่ือเสริมสร้างความแน่ใจ เพ่ือแก้ไขปัญหา และเพ่ือตัดสินใจ เป็นต้น

Dictionary of Information Science and Technology นิยามความหมายของความต้องการสารสนเทศว่าหมายถึง การที่บุคคลต้องการสารสนเทศเพ่ือน ามาใช้ตามเป้าหมายอย่างเหมาะสม และตรงตามวัตถุประสงค์ (Khosrow-pour, 2007)

พิชัย วาสนาส่ง (2528) กล่าวถึงสารสนเทศว่า สารสนเทศที่บุคคลมีความต้องการ สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. สารสนเทศที่ต้องรู้ เช่น กฎหมาย หน้าที่ และความรับผิดชอบของประชาชนต่อประเทศชาติ

2. สารสนเทศที่ควรรู้ เช่น ข่าวความเคลื่อนไหวในสังคม เพ่ือจะได้ทราบว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม

3. สารสนเทศที่อยากรู้ เช่น ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์แวดล้อม เพ่ือสนองความต้องการแต่ละบุคคล

โดยสรุป ความต้องการสารสนเทศจึงหมายถึง ความอยากรู้ในเรื่องราวต่าง ๆ เพ่ือประโยชน์เฉพาะอย่างหรือวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง

พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ เดชา นันทพิชัย (2547, 3) ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการสารสนเทศ การ

แสวงหา และการใช้สารสนเทศว่า เมื่อผู้ใช้มีความต้องการสารสนเทศ จะท าการแสวงหาสารสนเทศ และรวบรวมสารสนเทศ เพ่ือน ามาใช้หรือแก้ปัญหาตามความต้องการ ดังภาพประกอบนี้

ภาพประกอบที่ 2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการสารสนเทศ การแสวงหา และการใช้สารสนเทศ (เดชา นันทพิชัย, 2547, 3)

ความต้องการสารสนเทศ

การแสวงหาสารสนเทศ การใช้/การแก้ปัญหา

ความต้องการสารสนเทศ

ผู้ใช ้

Page 8: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 8

ข้อสรุปจากความสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า 1. ความต้องการสารสนเทศเป็นเรื่องต่อเนื่อง เริ่มจากวัตถุประสงค์ที่เกิดความต้องการ เช่น

เพ่ือแก้ปัญหา ตอบค าถาม ข้อสงสัย เพ่ือตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มีความคาดหวังในเนื้อหาของสารสนเทศที่คาดว่าจะได้รับว่าเป็นสารสนเทศประเภทใด และลักษณะใด

2. ความต้องการสารสนเทศจะยุติลงเมื่อหยุดการแสวงหาสารสนเทศ หรือไม่ได้รับค าตอบที่ต้องการ หรือระยะเวลาในการค้นหายาวนาน ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เรื่องที่ต้องการไม่ใช่เรื่องด่วนหรือไม่จ าเป็นต้องใช้ทันที ไม่รู้จักแหล่งสารสนเทศ ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น

จากความต้องการสารสนเทศน าสู่การศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ ได้มีนักวิชาการศึกษาเพ่ือค้นหาตัวแบบทฤษฎีในแนวคิดท่ีหลากหลาย จึงขอน าตัวแบบดังกล่าวมาเพ่ือเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศและพฤติกรรมที่เก่ียวข้อง ดังนี้

ทฤษฎีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ Leckie, Pettigrew & Sylvain (1996) เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสวงหา

สารสนเทศโดยเสนอว่ามีส่วนประกอบที่ส าคัญ ดังนี้ 1. อาชีพ (Work Roles) 2. ภาระงาน (Tasks) 3. คุณลักษณะของความต้องการสารสนเทศ (Characteristics of Information Needs) 4. การตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ (Awareness of Information Needs) 5. การเลือกแหล่งสารสนเทศ (Source of Information) 6. ผลลัพท์ (Outcomes) โดยแสดงเป็นภาพประกอบได้ดังนี้

ภาพประกอบ 2.3 พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของ Leckie, Pettigrew & Sylvain (1996)

Work Roles

Tasks

Characteristics of Information Needs

Awareness of Information Needs

Source of Information

Outcomes

Infor

mat

ion

is

soug

ht

Page 9: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 9

พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักเรียนนักศึกษาที่ขาดพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะกลายเป็นบัณฑิตที่มีระดับความรู้ความสามารถต่ า กล่าวคือ ไม่มีทักษะการแสวงหาความรู้เพ่ือพัฒนาการปฏิบัติงานและพัฒนาตนให้เจริญก้าวหน้า ไม่มีคุณลักษณะของผู้รู้สารสนเทศและไม่เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นจึงจ าเป็นที่จะต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการก าหนดความต้องการสารสนเทศ

การก าหนดความต้องการสารสนเทศ

เมื่อความต้องการสารสนเทศส่วนบุคคลในชีวิตประจ าวันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากความต้องการแก้ปัญหา การต้องการค าตอบ การตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นในสังคม วิธีการในการจัดการกับความต้องการสารสนเทศนั้นจึงจ าเป็นต้องใช้หลักการพ้ืนฐานเหล่านี้เพ่ือปรับพ้ืนฐานความเข้าใจ ได้แก่

1. เข้าใจวัตถุประสงค์ในการใช้สารสนเทศ 2. การก าหนดกรอบความต้องการ ควรก าหนดค าถามเพ่ือหาค าตอบได้ว่า ใคร ท าอะไร ที่

ไหน เมื่อไร อย่างไร 3. การเชื่อมโยง สารสนเทศที่ต้องการ กับความรู้เดิมท่ีมีอยู่มีความจ าเป็น 4. การก าหนดหรือตั้งค าถามนั้น ควรพิจารณาว่าความต้องการนั้นเป็นแบบปลายเปิด หรือ

การแสวงหาทางเลือก หรือต้องการค าตอบว่าใช่ หรือไม่ใช่เท่านั้น และเมื่อวิเคราะห์มาตรฐานการรู้สารสนเทศ จะเห็นว่าความจ าเป็นในการก าหนดความ

ต้องการสารสนเทศคือ ผู้รู้สารสนเทศจะสามารถก าหนดชนิดและขอบเขตของสารสนเทศที่ตนต้องการได้ ตระหนักว่าตนมีความต้องการสารสนเทศและก าหนดขอบเขตสารสนเทศที่สอดคล้องหรือตรงกับความต้องการของตนเองได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี ้

วิธีการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 1. ก าหนดหัวข้อ (Topic) โดยค้นหาความสนใจหรือความต้องการของตนเองที่มีต่อเรื่องใด

เรื่องหนึ่ง เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งความสนใจหรือความต้องการนั้นยังอาจยังไม่ได้รับค าตอบหรือไม่ได้รับค าตอบเพียงพอ ปรึกษาหารือกันในกลุ่ม หรือกับอาจารย์ผู้สอน เพ่ือก าหนดหัวข้อ (Topic) ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า เพ่ือนิยามและให้ความชัดเจนในความต้องการสารสนเทศ ดังนั้น ในกระบวนการนี้ผู้รู้สารสนเทศสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อที่ตนเองมีความต้องการในกิจกรรมกลุ่มร่วมกับสมาชิก รวมทั้งอาจารย์ผู้สอนได้

2. ขยายประเด็นแนวคิด ของสารสนเทศท่ีต้องการตามหัวข้อ (Topic) ที่ก าหนดโดยจะต้องไม่ลืมและเข้าใจวัตถุประสงค์ ขอบเขต และความเหมาะสมของแหล่งสารสนเทศ โดย

2.1 ใช้แหล่งสารสนเทศ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต หรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการเพ่ือช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องการศึกษาค้นคว้า

2.2 ใช้ความรู้พ้ืนฐานที่มีอยู่ในตนเอง เพื่อขยายไปสู่ความรู้ใหม่ เป็นการต่อยอดความรู้เดิม เชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ

Page 10: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 10

3. ก าหนดขอบเขตหรือกรอบความต้องการสารสนเทศ โดยให้ประเด็นแนวคิดต่างๆมีความสัมพันธ์กัน ควรท าในรูปแบบของแผนที่ความคิด(Concept mapping) จะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของแนวคิดที่เกิดจากการระดมสมองในกลุ่มได้ง่าย

การเขียนแผนที่ความคิด(Concept Mapping) แผนที่ความคิด แผนที่มโนทัศน์ หรือ ผังมโนทัศน์ ในภาษาอังกฤษใช้ค าว่า Concept

Mapping Mind Map Mind Mapping จะต้องมีวิธีการในการเรียนรู้หลัก ๆ ดังนี้ 1. เรียนรู้วิธีคิด/ฝึกคิด 2. มองกว้าง มองลึก มองทั้งสองแบบสลับไปมา 3. แบ่งความคิดเป็นช่วงชั้น ฝึกการคิดเป็นช่วงชั้น โดยมีองค์ประกอบดังนี้ 1. กระดาษเปล่า ไม่มีเส้น แผ่นเดียว 2. สีสันหลากหลายและเป็นระบบ 3. โครงสร้างตามธรรมชาติที่แผ่กระจายออกมาจุดศูนย์กลาง 4. มีเส้นโยง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ และรูปภาพที่ผสมผสานร่วมกันอย่างเรียบง่าย

วิธีการเขียนแผนที่ความคิด 1. กระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัด โดยวางกระดาษในแนวนอน 2. วาดภาพหรือเขียนข้อความท่ีสื่อถึงเรื่องที่จะท าไว้กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย

3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต 3. เขียนเป็นค าที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นค าส าคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มี

ความหมาย 4. แตกความคิดหลักของหัวเรื่องส าคัญแต่ละเรื่องออกเป็นก่ิง ๆ 5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง

ข้อพึงปฏิบัติในการเขียนแผนที่ความคิด 1. การเขียนค า ควรเขียนด้วยค าที่เป็นค าส าคัญ (Key Word) หรือค าหลักที่มีความหมาย

ชัดเจน 2. ค า วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการท าให้เด่น เช่น การตีกรอบ 3. ควรตกแต่งแผนที่ความคิด ด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดท่ีเชื่อมโยงต่อกัน

Page 11: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 11

การก าหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ

1. Content เนื้อหาของสารสนเทศ เป็นเนื้อหาแบบความรู้ทั่วไป ความรู้พื้นฐาน หรือว่าเป็นเนื้อหาแบบเฉพาะสาขาวิชา

2. Nature ลักษณะของสารสนเทศ มีลักษณะใดบ้าง เช่น ลายลักษณ์อักษร ข้อความ ตัวเลข ภาพประกอบ มัลติมีเดีย เป็นต้น

3. Quantity จ านวนของสารสนเทศที่ต้องการ จ าเป็นต้องใช้จ านวนมากหรือน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์

4. Format รูปแบบของสารสนเทศ หรือประเภทสื่อ เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ รายงานการวิจัย หนังสือพิมพ์ วีดิทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

5. Data Range ช่วงอายุของสารสนเทศ ควรค านึงถึงช่วงอายุของสารสนเทศว่าเป็นสารสนเทศทันสมัย ล้าสมัย หรือไม่

6. Quality คุณภาพของสารสนเทศ โดยพิจารณาจากหลากหลายองค์ประกอบ เช่น ความมีชื่อเสียงของผู้เขียน หรือส านักพิมพ์ เป็นต้น

7. Language ภาษาของสารสนเทศ นอกจากเอกสารภาษาไทย การใช้เอกสารภาษาต่างประเทศบางเนื้อหาอาจท าให้การค้นหาสารสนเทศท าได้กว้างมากข้ึน

นอกจากนี้ การพิจารณาก าหนดคุณลักษณะของสารสนเทศอาจก าหนดได้ ดังนี้ 1. สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ 2. สารสนเทศที่มีลักษณะสอดคล้องกับค่านิยม ความเชื่อ และ 3. ทัศนคติของบุคคล 4. สารสนเทศที่ได้มาด้วยความสะดวก 5. สารสนเทศที่มีลักษณะเฉพาะสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างของบุคคลได้ 6. สารสนเทศที่มีความหลากหลาย ถูกต้องและครบถ้วน

การวางแผนการค้นหาสารสนเทศ

เมื่อได้ก าหนดความต้องการสารสนเทศออกเป็นหัวข้อหลัก (Topic) ขยายประเด็นแนวคิดหรือหัวเรื่องย่อยๆ แล้ววางกรอบความสัมพันธ์โดยการเขียนแผนที่ความคิด (Concept Mapping) แล้วนั้น ขั้นตอนที่ส าคัญต่อมาคือ การวางแผนในการค้นหาสารสนเทศโดยการคิดวิเคราะห์จากการก าหนดความต้องการสารสนเทศและการก าหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ ซึ่งมีประเด็นส าคัญดังนี้

1. ห้วงระยะเวลาในการแสวงหาสารสนเทศ โดยการคิดค านึงถึงความส าคัญและความจ าเป็นว่าจะใช้สารสนเทศในช่วงเวลาใด จากนั้นท าการวางแผนในการค้นหาจากหลากหลายแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ

2. แหล่งสารสนเทศที่จะใช้ค้นหา เป็นการวางแผนขั้นต้นถึงแหล่งสารสนเทศที่คาดว่าจะมีเนื้อหาสอดคล้องกับหัวข้อ (Topic) และการก าหนดคุณลักษณะอย่างไร โดยแหล่งสารสนเทศที่จะ

Page 12: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 12

เลือกนั้นจะต้องค านึงถึงสถานที่ตั้ง ความสะดวกในการเข้าใช้ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต บุคคล สื่อมวลชน หรือแหล่งสารสนเทศอ่ืน ๆ

3. ทรัพยากรสารสนเทศที่จะใช้ เมื่อวางแผนเลือกแหล่งสารสนเทศจะต้องค านึงด้วยว่าในแหล่งสารสนเทศที่เลือกนั้นจะมีทรัพยากรสารสนเทศใดบ้างที่สอดคล้องกับหัวข้อ (Topic) ที่ต้องการ เช่น หากเลือกห้องสมุด ทรัพยากรส่วนใหญ่ที่มีจะเป็นทรัพยากรสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ ต ารา เอกสารประกอบการสอน รายงานการวิจัย วารสาร นิตยสาร เป็นต้น บรรณานุกรม ถอ เหลาทอง. (2552). การรับรู้บทบาทหน้าที่และความต้องการในการพัฒนาตนเองของ

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

พิชัย วาสนาส่ง. (2528). สังคมข่าวสารในชีวิตประจ าวัน. ห้องสมุด, 29(1), 32—34. วัชราภรณ์ ตังควณิชย์. (2554). ความต้องการสารสนเทศของบุคลากรในกระทรวงยุติธรรม .

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ) มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชราภรณ์ ตังควณิชย์ และ ขวัญชฎิล พิศาลพงศ์. (2554). ความต้องการสารสนเทศของบุคลากรในกระทรวงยุติธรรม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 19(32), 175-189.

สิรินาตย์ กฤษฎาธาร. (2552). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท การบินไทย จ ากัด (มหาชน). ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สิริญดา สิทธิบุ่น. (2541). รายงานผลการวิจัย การใช้และความต้องการใช้สารสนเทศของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น . ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัญชนา วงศ์สมศักดิ์. (2541). ความต้องการสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับต าบลในจังหวัดมหาสารคาม. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัครพร สุทธิกุญชร. (2534). ความต้องการและการใช้สารนิเทศของบุคลากรผู้ปฏบัติงานทางด้านเทคนิค บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จ ากัด. [กรุงเทพฯ] : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Alderfer, C. (1969). An Empirical Test of a New Theory of Human Needs. Organizational Behavior and Human Performance, 4, 142 – 175.

Leckie, G. J., Pettigrew, K. E., & Sylvain, C. (1996). Modeling the information seeking of professionals: A general model derived from research on engineers, health care professionals, and lawyers. Library Quarterly, 66(2), 161–193.

Page 13: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 13

Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality(2nd Ed.). New York : Harper & Row. Miranda, S. V. & Tarapanoff, K. M. A. (2008). Information needs and information

competencies: A case study of the off-site supervision of financial institutions in Brazil. Information Research: An International Electronic Journal, 13(2).

Normore, L. (2011). Information needs in a community of reading specialists: What information needs say about contextual frameworks. Information Research: An International Electronic Journal, 16(4).

Khosrow-pour, M. (2007). Dictionary of Information Science and Technology. Hershey, PA : Idea Group Reference

Page 14: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 14

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1. นักศึกษาอธิบาย ความหมาย ความส าคัญ ของค าต่อไปนี้ 1.1 ความต้องการ หมายถึง……………………………………………………………………………………….…

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

1.2 ความต้องการสารสนเทศ หมายถึง.................................................................................... ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2. นักศึกษาอธิบาย วิธีการก าหนดความต้องการสารสนเทศ

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3. นักศึกษาอธิบาย วิธีการก าหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

Page 15: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ... · 2016. 8. 30. · gel1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 15

4. นักศึกษาเขียนแผนที่ความคิด(Concept Mapping) ในหัวข้อ “การพัฒนาตนเอง”