22
93 แผนบริหารการสอนประจาบทที7 หัวข้อเนื้อหาประจาบท บทที7 การวางแผนการผลิตรวม มีหัวข้อดังต่อไปนี1. แผนการผลิตรวม 2. การวางแผนการผลิตรวม 3. การวางแผนความต้องการวัสดุ 4. โครงสร้างการวางแผนความต้องการวัสดุ 5. การจัดตารางการวางแผนความต้องการวัสดุ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม การจัดการเรียนการสอนบทที7 มีวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติได้ ดังต่อไปนี1. อธิบายถึงความหมายและความสาคัญของการวางแผนการผลิตรวมได้ 2. อธิบายถึงกระบวนการของการวางแผนการผลิตรวมได้ 3. อธิบายถึงความหมายและวัตถุประสงค์ของการวางแผนความต้องการวัสดุได้ 4. สามารถอธิบายถึงใบแสดงรายการวัสดุได้ 5. สามารถความเข้าใจและจัดทาตารางการวางแผนความต้องการวัสดุได้ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท บทที7 มีวิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ดังต่อไปนี1. วิธีสอน ผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย และวิธีการสอนแบบถามตอบ 2. กิจกรรมการเรียนการสอน สามารถจาแนกได้ ดังนี2.1 กิจกรรมก่อนเรียน ผู้เรียนศึกษาบทเรียนที7 2.2 กิจกรรมในห้องเรียน มีดังต่อไปนี 2.2.1 ผู้สอนปฐมนิเทศรายวิชา โดยอธิบายแผนการจัดการเรียน การสอนตลอดจนกิจกรรมต่างๆตามแผนบริหารการสอนประจาบท 2.2.2 ผู้สอนบรรยายเนื้อหาบทที่ 7 และมีกิจกรรมพร้อม ยกตัวอย่างประกอบ ถาม - ตอบ จากบทเรียน 2.3 กิจกรรมหลังเรียน ผู้เรียนทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนในบทที่ 6 โดยใช้

93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

93

แผนบรหิารการสอนประจ าบทที ่7

หวัข้อเนื้อหาประจ าบท บทที่ 7 การวางแผนการผลิตรวม มีหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. แผนการผลิตรวม 2. การวางแผนการผลิตรวม 3. การวางแผนความต้องการวัสดุ 4. โครงสร้างการวางแผนความต้องการวัสดุ 5. การจัดตารางการวางแผนความต้องการวัสดุ วตัถุประสงคเ์ชิงพฤติกรรม การจัดการเรียนการสอนบทที่ 7 มีวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้ 1. อธิบายถึงความหมายและความส าคัญของการวางแผนการผลิตรวมได้ 2. อธิบายถึงกระบวนการของการวางแผนการผลิตรวมได้ 3. อธิบายถึงความหมายและวัตถุประสงค์ของการวางแผนความต้องการวัสดุได้ 4. สามารถอธิบายถึงใบแสดงรายการวัสดุได้ 5. สามารถความเข้าใจและจัดท าตารางการวางแผนความต้องการวัสดุได้

วธิสีอนและกจิกรรมการเรยีนการสอนประจ าบท

บทที่ 7 มีวิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ดังต่อไปนี้ 1. วิธีสอน ผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย และวิธีการสอนแบบถามตอบ 2. กิจกรรมการเรียนการสอน สามารถจ าแนกได้ ดังนี้ 2.1 กิจกรรมก่อนเรียน ผู้เรียนศึกษาบทเรียนที่ 7 2.2 กิจกรรมในห้องเรียน มีดังต่อไปนี้ 2.2.1 ผู้สอนปฐมนิเทศรายวิชา โดยอธิบายแผนการจัดการเรียนการสอนตลอดจนกิจกรรมต่างๆตามแผนบริหารการสอนประจ าบท 2.2.2 ผู้สอนบรรยายเนื้อหาบทที่ 7 และมีกิจกรรมพร้อมยกตัวอย่างประกอบ ถาม - ตอบ จากบทเรียน 2.3 กิจกรรมหลังเรียน ผู้เรียนทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนในบทที่ 6 โดยใช้

Page 2: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

94

ค าถามจากค าถามทบทวนท้ายบท ตลอดจนการศึกษาบทต่อไปล่วงหน้าหนึ่งสัปดาห์ 2.4. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุดหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

สื่อการเรยีนการสอนประจ าบท

สื่อที่ใช้ส าหรับการเรียนการสอน มีดังต่อไปนี้ 1. แผนบริหารการสอนประจ าบท 2. พาวเวอร์พอยท์ประจ าบท 3. เอกสารประกอบการสอน 4. หนังสือ ต ารา และเอกสารที่เก่ียวข้อง 5. สื่ออิเล็กทรอนิกส์

การวดัผลและประเมนิผลประจ าบท

1. สังเกตการณ์ตอบค าถามทบทวนเพ่ือน าเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียน 2. สังเกตการตั้งค าถาม และการตอบค าถามของผู้เรียน หรือการท าแบบฝึกหัดในชั้นเรียน 3. วัดเจตคติจากพฤติกรรมการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน และความกระตือรือร้นในการท ากิจกรรม 4. ความเข้าใจและความถูกต้องในการท าแบบฝึกหัด

Page 3: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

95

บทที ่7

การวางแผนการผลติรวม

ในปัจจุบันแรงกดดันของการแข่งขันท าให้ธุรกิจไม่สามารถที่จะผลิตสินค้าหรือให้บริการออกขายแก่ลูกค้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอ่ืน เช่น รูปแบบของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ความต้องการของลูกค้า ก าลังซื้อ และปริมาณการผลิตที่เหมาะสม เป็นต้นแต่การด าเนินการธุรกิจจะต้องมีการจัดระบบให้มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสม และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ การวางแผนและการควบคุมการด าเนินงานที่ดีจะช่วยลดปัญหาและขจัดอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการปฎิบัติงาน ในบทนี้จะกล่าวถึงการวางแผนการผลิตรวม (Aggregate Planning) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนอัตราการผลิต การใช้แรงงาน และวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ท้ังองค์ ซึ่งจะแสดงภาพรวมของระบบปฎิบัติการและด าเนินงานของธุรกิจในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดสรรทรัพยากรที่มีของธุรกิจ เพ่ือเป็นแนวทางส าหรับผู้อ่านในการน าไปประยุกต์ในการปฎิบัติงานในอนาคต

7.1 แผนการผลติรวม แผนการผลิตรวม (Aggregate Plan)เป็นแผนการผลิตหรือการด าเนินงานที่เกี่ยวกับการก าหนดอัตราการผลิต ระดับแรงงาน และการเก็บวัสดุและสินค้าคงคลัง โดยใช้ความต้องการของลูกค้าและก าลังการผลิตที่มีอยู่จ ากัดขององค์การประกอบในการตัดสินใจ แผนการผลิตรวมจะพิจารณาจากแผนปฎิบัติงานที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ได้พยากรณ์ไว้โดยท าให้ต้นทุนรวมที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด ปกติเราจะเรียกแผนการผลิตรวมในธุรกิจอุตสาหกรรมหรือการผลิตสินค้าว่า"แผนการผลิต (Production Plan)" ขณะที่เราเรียกแผนการผลิตรวมในธุรกิจบริการว่า "แผนบุคลากร (Staffing Plan)" โดยแผนการผลิตรวมจะมีเป้าหมายส าคัญดังต่อไปนี้

1. การรวมกัน (Aggregation) หมายถึง การก าหนดแผนการผลิตรวมของระบบโดยไม่ลงรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน

2.ความสัมพันธ์กับแผนอ่ืน (Relationship to Other Plans) หมายถึงแผนการผลิตและแผนงานอ่ืนขององค์การจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและเกื้อหนุนกัน เพ่ือให้การด าเนินงานสู่เป้าหมายรวมที่ต้องการ

ถึงแม้แผนการผลิตรวมจะให้ความส าคัญกับภาพรวมโดยมุ่งไปที่ การกระท าทั่วๆไปที่สอดคล้องกับเป้าหมาย กลยุทธ์ และวัตถุประสงค์ โดยไม่ลงรายละเอียดของกระบวนการ แต่แผนการผลิตรวมจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ เนื่องจากจะให้ภาพรวมของความสัมพันธ์และการท างานของระบบร่วมกัน โดนทั่วไปแผนการผลิตรวมจะพิจารณาการรวมกันในเรื่องสินค้าหรือบริ การระดับแรงงานและเวลา โดยสามารถแยกอธิบายแต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้

Page 4: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

96

1.กลุ่มของผลิตภัณฑ์ (Product Families) หมายถึงกลุ่มสินค้าหรือบริการที่มีความต้องการวัตถุดิบ องค์ประกอบ กระบวนการผลิตโดยทั่วไป และแรงงานในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยบางธุรกิจจะผลิตสินค้าหลายชนิดและ/หรือประเภท ซึ่งสินค้าแต่ละชนิดจะมีหน่วยของผลิตภัณฑ์ที่อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การผลิตเฟอร์นิเจอร์จะประกอบด้วย ตู้โต๊ะ และเก้าอ้ีส านักงาน เป็นต้น ซึ่งจะท าให้ไม่สะดวกในการวางแผนรวม ดังนั้นผู้วางแผนจึงต้องน าเอาผลลัพธ์จากการผลิตต่างๆที่ได้มารวมกันแล้วเทียบออกมาเป็นหน่วยที่เท่ากันได้แก่ จ านวนชั่วโมงแรงงานหรือชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตรถจักรยานอาจจะจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เป็น 3 กลุ่ม คือ รถจักรยานทางเรียบ รถจักรยานเสือภูเขาและรถจักรยานทั่วไป เพ่ือความสะดวกในการวางแผนการผลิต เป็นต้น

2.แรงงาน (Labor) การรวบรวมในวิธีต่างๆมีหลายวิธีแล้วแต่ความยืดหยุ่นของแรงงาน ตัวอย่างเช่น คนงานของโรงงานรถจักรยานจะได้รับการฝึกอบรมให้ประกอบได้ทั้งรถจักรยานเสือภูเขา รถจักรยานทางเรียบ รถจักรยานทั่วไป เพ่ือพิจารณาแรงงานในระดับการรวมกลุ่มอย่างเดียว ถึงแม้ว่าแรงงานอาจจะทักษะการท างานที่แตกต่างกัน หรือผู้บริหารอาจใช้วิธีรวบรวมแรงงานที่อยู่ในสายของกลุ่มสินค้า เช่น แยกคนงานเป็นกลุ่มย่อย แล้วให้ท างานในหน้าที่ที่ต่างกันในการผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่มของแต่ละผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

3.เวลา (Time) เป็นการวางแผนตามแนวราบ โดยทั่วไปใช้ระยะเวลา 1 ปี เพ่ือหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่ออัตราผลผลิตและการใช้งาน โดยท าการปรับปรุงตามปกติเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส ตามความเหมาะสมของสถานการณ์และอุตสาหกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เพ่ือให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมของระบบการด าเนินงาน บริษัทใช้เวลาวัดการด าเนินงานรวมกันเป็นเดือน ไตรมาส หรือฤดูกาล มากกว่าใช้เวลาเป็นวันหรือชั่วโมง ธุรกิจหลายแห่งใช้การวางแผนรายเดือนหรือ 3 เดือน เพ่ือการวางแผนในเดือนหรือไตรมาสถัดไปโดยที่ระยะเวลาการวางแผนมีผลต่อการด าเนินงานขององค์การดังต่อไปนี้

1.ลดการวางแผนที่ซับซ้อน โดยจ ากัดขอบเขตในการตัดสินใจ 2.เพ่ือความยืดหยุ่นต่อการปรับอัตราผลผลิตและระดับแรงงาน เมื่อการพยากรณ์

ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้ผลิตรถจักรยาน เลือกการวางแผนการผลิตรายเดือนมาใช้โดยการปรับปรุงระดับสินค้าคงคลัง เป็นต้น

3.แสดงภาพรวมความต้องการ ความสามารถ และสถานะของธุรกิจ เพ่ือที่จะป้องกันความผิดพลาดหรือความสูญเสียในการจัดสรรทรัพยากร เนื่องจากการให้ความสนใจกับส่วนย่อยของปัญหาหรือระบบมากเกินไป

ผู้บริหารระดับสูงจะน าวิสัยทัศน์ขององค์การมาก าหนดเป็นภารกิจและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ หรือสามารถกล่าวได้ว่าความต้องการในอนาคตขององค์การ จากนั้นจะน าแผนกลยุทธ์มาก าหนดเป็นแผนธุรกิจ (Business Plan) หรือแผนประจ าปี (Annual Plan) ส าหรับใช้เป็นแนวทางการด าเนินงานธุรกิจในแต่ละปี โดยแผนธุรกิจจะให้ความส าคัญกับภาพรวมขององค์การในด้านสถานะทางการเงิน การด าเนินการและการท ารายได้ ซึ่งแสดงในรูปแบบงบประมาณ งบการเงิน หรือข้อมูลประกอบอ่ืน โดยผู้บริหารจะต้องตรวจสอบ ประเมินและปรับปรุงธุรกิจทุกรอบระยะเวลา 1-2

Page 5: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

97

ปีเพ่ือให้แผนการมีความสอดคล้องกับสถานะของธุรกิจและสภาพแวดล้อม จากนั้นผู้บริหารในแต่ละฝ่ายจะน าแผนธุรกิจมาใช้เป็นแนวทางการก าหนดแผนงานของฝ่ายตน เช่น แผนการผลิต (Product Plan) และแผนบุคคล (Staffing Plan) ซึ่งจะถ่ายทอดต่อไปเป็นแผนปฎิบัติการ เช่น ตารางผลิตหลัก (MPS) หรือตารางแรงงาน (Workforce Schedule) ส าหรับผู้ปฎิบัติงานน าไปใช้จริง แบบจ าลองในรูปที่8.1 แสดงให้เห็นว่า แผนระดับธุรกิจและปฎิบัติการต่างมีความสัมพันธ์ต่อกันด้วย นอกจากนี้สัญลักษณ์ลูกศรยังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแผนงานแต่ละระดับที่ต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน การปรับเปลี่ยนแผนงานระดับสูงจะมีผลกระทบต่อการจัดท าแผนปฎิบัติการ ในทางตรงข้าม แผนการด าเนินการก็จะมีผลต่อความส าเร็จและการบรรลุเป้าหมายของแผนในระดับสูงขึ้นเช่นกัน

แผนการผลิตรวมไม่ใช่ผลลัพธ์ของปัจจัยน าเข้าทางการจัดการ ( Managerial Input ) ในแต่ละหน้าที่เท่านั้น แต่มีผลกระทบต่อหน้าที่ทางการด าเนินงานทางธุรกิจ แผนการผลิตรวมมีผลกระทบต่อทิศทางในอนาคตทั้งระยะใกล้และระยะไกลขององค์การ ปกติองค์การที่มีการด าเนินงานแบบกระบวนการสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับความยืดหยุ่นของการผลิตและความต้องการในแต่ละช่วงเวลา โดยการจ้างผู้รับเหมาย่อยหรือปรับเปลี่ยนระดับของแรงงานในธุรกิจ อย่างไรก็ตาม องค์การที่ให้ความส าคัญกับผลิตภัณฑ์พบว่า ปัญหาความยืดหยุ่นของการผลิตมีความยากต่อการแก้ไขกระบวนการและระดับการผลิต ถ้ามีปริมาณความต้องการเปลี่ยนแปลง ท าให้ต้องมีการปรับตารางการผลิตหรือปิดโรงงาน

7.2 การวางแผนการผลติรวม

การวางแผนการผลิตรวมเป็นการวางแผนที่ก าหนดระยะเวลาที่จะด าเนินตามแผนอย่างแน่นอนในรูปที่ 7.1 ได้อธิบายกระบวนการวางแผนการผลิตที่มีการพลวัตจึงต้องการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องซึ่งมีข้ันตอนในการวางแผนการผลิตรวมดังต่อไปนี้

Page 6: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

98

ภาพที่ 7.1 กระบวนการวางแผนการผลิตรวม

1. การก าหนดความต้องการ กระบวนการวางแผนจะต้องก าหนดลูกค้าในแต่ละช่วงเวลาโดยอาศัยข้อมูลในอดีตส าหรับการพยากรณ์ความต้องการรวมทั้งหมด

2. การก าหนดทางเลือกของข้อจ ากัดและต้นทุน วิเคราะห์ข้อมูลเพ่ือท าการก าหนดทางเลือกของข้อจ ากัดและต้นทุนส าหรับการวางแผนโดยรวมข้อจ ากัดและแสดงดังแบบจ าลองในรูปที่ 7.1 รวมถึงความสามารถจัดการการจ้างงานใหม่ก าหนดการผลิตการควบคุมจัดเก็บสินค้าคงคลังและค านวณหาต้นทุนการเตรียมการวางแผนการผลิตรวมดังต่อไปนี้

1. ต้นทุนการท างานปกติ 2. ต้นทุนค่าล่วงเวลา

3. ค่าใช้จ่ายการจ้างงานและการให้ออกจากงาน 4 .ต้นทุนการรักษาระดับสินค้าคงคลัง 5. ต้นทุนสินค้าค้างส่งหรือสินค้าขาดมือ

3. การเตรียมการและการวางแผนที่ได้รับการยอมรับ เป็นการเตรียมการวางแผนการ วางแผนการผลิตรวมโดยท าการเลือกกลยุทธ์ในการวางแผนการผลิตที่มีความเป็นไปได้ภายใต้ข้อก าหนดและนโยบายที่ก าหนดไว้โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงหลายขั้นตอนเพ่ือการยอมรับแผนการนั้นแต่ถ้าแข่งกันไม่ได้รับการยอมรับผู้วางแผนจะต้องกลับไปพิจารณาทางเลือกใหม่

การก าหนดความต้องการส าหรับการวางแผนในแนวราบ

การก าหนดทางเลือกของข้อจ ากัดและต้นทุน

การเตรียมการยอมรับการวางแผนส าหรับในแนวราบ

ยอมรับแผน

การประยุกต์และพัฒนาแผนงาน การก้าวไปข้างหน้าเพื่อพัฒนาแผนงาน

ไม ่

Page 7: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

99

4. การประยุกต์และการพัฒนาแผนงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการวางแผนการผลิตซึ่งการยอมรับความว่าทุกคนต้องยอมรับหมดแต่เป็นการบอกว่าทุกคนจะต้องท าเพ่ือให้บรรลุตามแผนซึ่งอาจเกิดปัญหาในการด าเนินงานและความแตกต่างระหว่างเล่นจริงท าให้ต้องมีการวิเคราะห์หาแนวทางปรับปรุงแผนงานและการด าเนินงานให้เหมาะสมต่อไป

การวางแผนการผลิตรวมส าหรับงานบริการ จะเกี่ยวกับการวางแผนบุคลากรซึ่งมีทางเลือกท่ีหลากหลายดังนั้นการวางแผนการผลิตส าหรับการบริการถูกจะใช้วิธีการลองผิดลองถูกในการพัฒนาแผนงานโดยการเปรียบเทียบแล้วท าการปรับปรุงแผนหรือกลยุทธ์จนได้ผลเป็นที่พอใจจึงสามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน 7.3 การวางแผนความตอ้งการวัสด ุ(Material Requirement Planning: MRP)

การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning: MRP) แผนความต้องการวัสดุเป็นแผนที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงจะมาจากการเปลี่ยนแปลงของ แบบผลิตัณฑ์ ตารางการผลิตหลัก ตารางการท างานของพนักงาน เป็นต้นดังนั้นฝ่ายผลิตจึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแผนความต้องการวัสดุให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ความหมายของการวางแผนความต้องการวสัด ุ(Material Requirement Planning: MRP) การวางแผนความต้องการวัสดุเป็นการวางแผนการผลิตและควบคุมวัสดุที่อาศัยคอมพิวเตอร์

เข้ามาช่วยค านวณเพ่ือจัดหาวัสดุต่างๆ ให้เพียงพอกับช่วงเวลาที่มีความต้องการที่เกิดขึ้นในทุกๆ ระดับการผลิต หรือเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการวางแผนความต้องการช่วงเวลา (Time-phase requirement planning) MRP จะเก่ียวข้องกับการจัดตารางการผลิตและควบคุมวัสดุคงคลังโดยท าหน้าที่เป็นกลไกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตารางการผลิตเมื่อมีการทบทวนแผนงานเกิดขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยท าให้การคงคลังมีระดับต่ าสุด และจะมีวัสดุไว้ใช้อย่างพอเพียงเมื่อต้องการ (พิภพ ลิลตาภรณ์, 2545)

วัตถุประสงค์ของการวางแผนความต้องการวัสดุ การวางแผนความต้องการวัสดุมีวัตถุประสงค์หลักสองประการคือ ค านวณความต้องการวัสดุ

และปฏิบัติตามล าดับก่อนหลังให้เป็นปัจจุบัน 1. ค านวณความต้องการวัสดุ เป็นวัตถุประสงค์ของการวางแผนการผลิตและควบคุมการผลิต

ที่ต้องการวัสดุที่ถูกต้อง ปริมาณที่ถูกต้อง และเวลาที่ถูกต้อง เพ่ือให้วัสดุที่เพียงพอกับการผลิตสินค้า วัตถุประสงค์ของระบบ MRP นี้เป็นการค านวณหาความต้องการชิ้นส่วนเพ่ือผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับตารางการผลิตหลัก และการก าหนดเวลาน าจะสามารถค านวณหาช่วงเวลาที่เป็นไปได้ที่ชิ้นส่วนที่สั่งซื้อหรือสั่งผลิตจะมาส่ง โดยสรุปแล้วจะค านวณหาสิ่งต่อไปนี้

- สั่งซื้ออะไร - สั่งซื้อจ านวนเท่าไร - สั่งชื้อเมื่อไร

Page 8: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

100

- ก าหนดส่งเมื่อไร 2. ปฏิบัติตามความส าคัญให้เป็นปัจจุบัน ความต้องการวัสดุ และการจัดหาชิ้นส่วนมีการ

เปลี่ยนแปลงทุกวัน ลูกค้าสั่งชื้อหรือเปลี่ยนแปลงค าสั่งชื้อ ชิ้นส่วนถูกใช้มากกว่าก าหนด ผู้ขายส่งของล่าช้า เกิดความเสียหาย ความสมบูรณ์ของค าสั่งชื้อ และเครื่องจักรหยุดท างาน ในการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในระบบ MRP จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนล าดับความส าคัญก่อนหลังเพ่ือที่จะท าให้เป็นปัจจุบัน โดยทั่วไปอุปสงค์อิสระมักจะมีลักษณะค่อนข้างคงที่และต่อเนื่องถ้าไม่พิจารณาดัชนีฤดูกาล ส่วนอุปสงค์ตามมักจะลักษณะไม่ต่อเนื่อง คือจะมีความต้องการเป็นช่วงๆ ดังแสดงในภาพที่ 1 (พิภพ, 2543: 190) การบริหารสินค้าคงเหลือด้วยแบบ EOQ เหมาะกับอุปสงค์อิสระ ส่วน MRP จะเหมาะกับอุปสงค์ตาม

7.3.1 หลักการของการวางแผนความต้องการวัสดุ 1) ท าให้เกิดความมั่นใจว่ามีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ใช้อย่างพอเพียง เช่น วัตถุดิบส่วนประกอบ

และผลิตภัณฑ์ที่ได้วางแผนการผลิตไว้ และท่ีจะต้องจัดส่งให้ลูกค้า 2) ท าให้มีการคงไว้ซึ่งระดับการคงคลังในปริมาณที่ต่ าสุดตลอดเวลา 3) เพื่อการวางแผนการผลิตตารางการจัดส่งและการจัดซื้อ

การวางแผนการสั่งและการเปลี่ยนแปลงตารางการสั่งเพ่ือรองรับความต้องการในระดับต่ า ส าหรับช่วงของเวลาที่ต้องการนั้น จะเป็นการก าหนดระยะเวลา (Time Period) ที่งานจะต้องเสร็จ (หรือการจัดวัสดุไว้ให้พร้อม) และพร้อมที่จะจัดส่งในรูปของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (End Item) ตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในตารางการผลิตหลัก ปัจจัยหลักของระบบ MRP จะประกอบไปด้วยตารางการผลิตหลัก (Master Production Schedule), บันทึกการคงคลัง (Inventory Structure Records) และบันทึกโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ (Production Structure Records: MPS) ถ้าปราศจากปัจจัยพ้ืนฐานดังกล่าวนี้แล้ว ระบบ MRP จะไม่สามารถท าหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ในตารางการผลิตหลัก แสดงถึงแผนการผลิตของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Finish Goods) ในขณะที่บันทึกวัสดุคงคลังจะบอกถึงรายละเอียดทั้งหมดของวัสดุ ส่วนประกอบ หรือส่วนประกอบย่อยที่ต้องการของแต่ละผลิตภัณฑ์สุดท้าย นอกจากนั้นบันทึกการคงคลังจะบอกสถานการณ์ของายการ การคงคลังทั้งที่มีอยู่บนมือ (On Hand) และที่อยู่ในสถานะระหว่างการสั่งซื้อ (On Order) อุปสงค์ส าหรับผลิตภัณฑ์สุดท้าย จะถูกก าหนดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และจะถูกบันทึกลงในตารางการผลิตหลัก (MPS) ซึ่งในตารางการผลิตหลักจะแสดงถึงปริมาณและเวลาของแต่ละรายการที่ต้องการ การวางแผนส าหรับ MPS ควรจะนานพอที่จะครอบคลุมถึงเวลาน าของการจัดหาและการผลิต ส าหรับส่วนประกอบ และการประกอบของผลิตภัณฑ์สุดท้าย MRP จะเป็นตัวก าหนดรายการที่จะต้องสั่งซื้อ และจ านวนที่ต้องใช้ในช่วงเวลาที่จะมีการผลิตส าหรับรายการสุดท้าย แผนการสั่ง (Order Release) จะระบุถึงปริมาณและเวลา ซึ่งอาจจะเป็นใบสั่งงาน (Work Order) ที่จ่ายออกไปในโรงงานหรือการสั่งซื้อกับผู้จัดจ าหน่าย MRP นอกจากจะเป็นเครื่องมือวางแผน และจัดตารางอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

Page 9: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

101

ระบบ MRP ยังสามารถท านายการขาดแคลนหรือส่วนเกินของวัสดุได้อย่างรวดเร็ว ท าให้สามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น นอกจากนั้น MRP ยังสามารถท าให้รู้ถึงอุปสงค์และอุปทานที่ไม่สอดคล้องในช่วงเวลาใด ๆ MRP สามารถช่วยให้การด าเนินงานเป็นไปตามแผนที่ต้องการ และเสร็จสิ้นในเวลาเดียวกับวันครบก าหนดส่ง (Due Date) ซึ่งเป็นผลห้าการลงทุนด้านการคงคลังมีค่าใช้จ่ายต่ า ถ้าในกรณีที่ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการประกอบ จัดหามาได้ไม่ทันตามแผนที่ได้วางไว้ MRP ก็สามารถช่วยจัดตารางความต้องการกับส่วนประกอบอ่ืน ๆ ที่ต้องใช้ประกอบร่วมกันให้เปลี่ยนไปอยู่ในวันถัดไป และท าการจัดล าดับตารางงานเสียใหม่ MRPเป็นวิธีการที่น ามาใช้กับงานประเภทการสร้าง (Fabricate) แบะการประกอบ (Assembly) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการประกอบจะหมายถึงการรวบรวมเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ (Parts) หรือส่วนประกอบย่อย (Subassemblies) มารวมเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีค าที่คล้ายกันกับการประกอบนั่นก็คือ การประกอบย่อย ซึ่งจะเป็นการประกอบเช่นเดียวกัน แต่อยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป (Higher-level) ค าว่า “ส่วนประกอบ” ที่ใช้ใน MRP จะหมายถึงรายการคงคลังทั้งหมดที่อยู่ต่ ากว่าระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ซึ่งจะรวมถึงส่วนประกอบย่อย ชิ้นส่วนและวัตถุดิบ (ทั้งที่ผลิตขึ้นเองหรือซื้อจากผู้จัดจ าหน่าย) แต่ใน MRP จะพิจารณาเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างการประกอบกับส่วนประกอบเท่านั้น ส่วนค าอ่ืน ๆ เช่น การประกอบย่อย ชิ้นส่วนที่สร้างขึ้น ชิ้นส่วนที่ซื้อมา หรือวัตถุดิบ จะถูกรวมอยู่ภายใต้หัวข้อย่อยของส่วนประกอบทั้งสิ้น ในรายการวัสดุ จะระบุถึงชื่อรายการต่าง ๆ หรือวัสดุที่น ามาใช้ในการผลิตรายการสุดท้ายหรือผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังแสดงถึงล าดับขั้นตอนในการผลิต ตลอดจนปริมาณที่ต้องใช้ในและรายการ เพ่ือที่จะน าไปประกอบเป็นรายการหลัก (Parent assembly) รายการต่าง ๆ นั้น ได้แก่ ส่วนประกอบย่อย ชิ้นส่วน และวัตถุดิบ ความถูกต้องของใบรายการวัสดุ เป็นสิ่งจ าเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ส าหรับรายละเอียดของข้อมูลที่มีอยู่ใน BOM คือหมายเลขชิ้นส่วน ปริมาณที่ต้องการ หน่วยที่ใช้วัด และลักษณะเฉพาะอ่ืน ๆ MRP จะด าเนินไปไม่ได้ถ้าขาดโครงสร้างของใบรายการวัสดุ ทั้งนี้เพราะไม่อาจจะแปลตารางการผลิตหลักให้เป็นจ านวนความต้องการทั้งหมดในระดับท่ีต่ ากว่ารายการสุดท้ายได้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว BOM ส าหรับผลิตภัณฑ์จะบอกถึงโครงสร้างโดยแสดงส่วนประกอบทั้งหมดที่จะประกอบเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย โครงสร้างของ BOM จะไม่เพียงแต่ก าหนดส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังบอกถึงขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละระดับจะแสดงถึงความส าเร็จของผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่ง วิธีการวางแผนความต้องการวัสดุจะน าไปใช้ในการจัดการของคงคลังและควบคุมปริมาณการผลิตของชิ้นส่วนต่างๆ ที่จะน าไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ส าเร็จรูป ส าหรับวิธีการควบคุมของคงคลังแบบเดิมจะพิจารณาชิ้นส่วนของแต่ละรายการแยกเป็นอิสระจากกันและจะใช้ระดับการสั่งซื้อใหม่ (Re-order Points) เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าเมื่อไรจึงควรสั่งซื้อ ส าหรับการวางแผนความต้องการวัสดุก็เพ่ือหลีกเลี่ยงของคงคลังขาดแคลน ซึ่งจะท าให้การผลิตสามารถด าเนินไปได้อย่างราบรื่นเป็นไปตามแผนและลดต้นทุนในวัตถุดิบและของคงคลังที่เป็นงานระหว่างการผลิต และ

Page 10: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

102

ปัจจุบันการวางแผนสามารถท าได้ง่ายมากขึ้นโดยการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจึงท าให้การวางแผนความต้องการวัสดุ ได้รับความนิยมน าไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น

ระบบ MRP เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการหาจ านวนวัสดุ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ ที่เป็นอุปสงค์ตามเพ่ือให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามจ านวนและเวลาที่ก าหนดตามตารางการผลิต ด้วยสาเหตุนี้เองจึงท าให้ระบบ MRP เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการอุตสาหกรรม

การหาปริมาณของการสั่งซื้ออย่างประหยัด (Economic Order Quantity) และระบบการจัดการเกี่ยวกับของคงคลัง ซึ่งระบบของคงคลัง ระบบหนึ่งที่จะขออ้างถึง คือ ระบบปริมาณการสั่งซื้อคงท่ี (Fixed Order Size System) เมื่อ Q คือปริมาณที่สั่งซื้อในแต่ละครั้ง ดังนั้นเมื่อไม่มีการก าหนดของคงคลังส ารอง (Safety Stock) ปริมาณ Q ก็คือ ปริมาณของคงคลังสูงสุดและจุดการสั่งซื้อจะพิจารณา เมื่อของในคลังตกลงมาถึงระดับของการสั่งซื้อใหม่ที่ได้ค านวณไว้สถานการณ์ ดังกล่าวอยู่ภายใต้ ข้อสมมติฐานที่ว่า อัตราการใช้ของคงคลังเป็นไปอย่างคงที่และสม่ าเสมอตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงความต้องการจะเกิดขึ้นเป็นช่วงไม่สม่ าเสมอ วิธีการที่ดีกว่า คือ การสั่งให้เท่ากับปริมาณที่ต้องการจริง และการสั่งนั้นจะต้องท าให้ของคงคลังส่งทันเวลากับความต้องการที่เกิดขึ้น ซึ่งแนวความคิดท่ีกล่าวมานี้ นับได้ว่าเป็นหัวใจของการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP) ในขั้นต่อไป จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการบริหารของคงคลังตามระบบปริมาณการสั่งซื้อคงที่หรือระบบจุดสั่งซื้อ (สืบค้นจาก http://www.slideshare.net/TeeTre/5-47221449)

ใบแสดงรายการวัสดุ (Bill of Material: BOM) ใบรายการวัสดุ (Bill of Material: BOM) คือ บันทึกข้อมูลที่แสดงถึงรายการวัสดุและ

ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่จ าเป็นต้องใช้ในการผลิตหรือประกอบให้เป็นผลิตภัณฑ์ส าเร็จรูป รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิต ซึ่งผู้ผลิตจะต้องรู้ชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบของสินค้านั้นมีอะไรบ้าง และต้องเอาส่วนประกอบแต่ละชนิดไปใช้ในขั้นตอนใด แต่ละขั้นตอนใช้เวลาเท่าไหร่ เพ่ือจะได้วางแผนการสั่งวัตถุดิบหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ในจ านวนและเวลาที่ถูกต้อง ซึ่งเราจะสามารถรู้ความต้องการส่วนประกอบหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ จากตารางการผลิต (MPS) โดยทั่วไปแล้ว BOM หรือรายการโครงสร้างวัสดุ ไม่เรียกว่าสูตร เพราะการผลิตสินค้าไม่ได้มีเฉพาะตัวสินค้า แต่ยังต้องมีบรรจุภัณฑ์ หรือ Process Aids หรือวัสดุที่ช่วยในการผลิต แต่ไม่ได้อยู่ใน Finished Good หรือสินค้าที่ส าเร็จที่พร้อมส่งมอบให้ลูกค้า BOM ที่ไม่ตรงกับการใช้งานจริง ก็มีหลายสาเหตุ เช่น ป้อนผิด แผนกวิจัยวิจัยไม่ดี จนได้สูตรไม่ดี ผลิตต้องปรับเปลี่ยนจ านวน และชนิดวัสดุที่ใช้ แล้วไม่แจ้งใคร %Scrap ตั้งน้อยไปมากไป ฯลฯ BOM ที่ไม่ตรงกับความจริง จะก่อปัญหาที่มีปริมาณความเสียหายสูงมาก ท าให้ยอดของคงคลังผิดเพ้ียนไปได้มาก และเร็ว ถ้าใช้ระบบตัดยอดของคงคลังโดยใช้ BOM ตัดแบบอัตโนมัติ เมื่อป้อนจ านวนสินค้าที่ผลิตได้ BOM จึงเป็นส่วนส าคัญของส่วนน าเข้าของระบบ MRP ดังนั้นใบแสดงรายการวัสดุจึงมีความส าคัญที่สามารถแสดงความต้องการปริมาณความต้องการของวัสดุหรือวัตถุดิบที่ต้องน ามาใช้ในการผลิตความต้องการผลิตภัณฑ์ ความต้องการส่วนประกอบและ MRPการจัดการความต้องการวัสดุประเภทส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ (Component) มีความแตกต่างจากการจัดการผลิตภัณฑ์ (Finished Goods) กล่าวคือ

Page 11: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

103

ปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ (Finished Goods) เกี่ยวเนื่องกับความต้องการของตลาด ตัวอย่างเช่น ปริมาณความต้องการของโต๊ะขึ้นอยู่กับค าสั่งซื้อของลูกค้า แต่ปริมาณความต้องการวัสดุประเภทส่วนประกอบผลิตภัณฑ์สามารถค านวณได้จากปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่นโต๊ะ 1 ตัว ประกอบด้วยขาโต๊ะ 4 ขา เพราะฉะนั้น ถ้ามีความต้องการโต๊ะ 100 ตัว ปริมาณขาโต๊ะที่ต้องการเท่ากับ 4 * 100 = 400 ขา ดังแสดงในรูปที่ 7.2

ภาพที่ 7.2 ปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์

ที่มา: จากการรวบรวมข้อมูลของผู้เขียน โดยใช้ฐานข้อมูลจากการบริหารผลิตและการปฎิบัติการ,2559

เนื่องจาก MRP วางแผนความต้องการวัสดุถึงระดับส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ ฉะนั้นก่อนท า MRP ต้องทราบถึงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพ่ือให้สามารถค านวณจ านวนความต้องการของทุกส่วนประกอบเมื่อมีความต้องการผลิตภัณฑ์ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีความต้องการโต๊ะ 100 ตัวในเช้ าวันศุกร์ และเวลาที่ต้องการใช้ในการประกอบโต๊ะคือ 3 วัน ฉะนั้นเช้าวันอังคารจะต้องมีพ้ืนโต๊ะ 100 ชิ้นและขาโต๊ะ 4 * 100 = 400 ขา เพื่อรอการประกอบ

7.4 โครงสร้างการวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning: MRP)

ในการท างานภายใต้ระบบ MRP จะมีองค์ประกอบที่ส าคัญอยู่ 3 ส่วนคือ (1) ส่วนน าเข้าข้อมูล(Input) (2) ส่วนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ MRP (MRP Computer Program) และ (3) ส่วนผลได้ (Output) ดังแสดงตาม

Page 12: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

104

ส่วนน าเข้าข้อมูลสู่ระบบ MRP ประกอบด้วยรายการชุดข้อมูลที่ส าคัญ 3 ชุดคือ ชุดข้อมูลตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling) แฟ้มข้อมูลบัญชีรายการวัสดุ (Bill of Material File) และ แฟ้มข้อมูลสถานะพัสดุคงคลัง (Inventory status file) โดยตารางการผลิตหลักจะท าหน้าที่ เสมือนเป็นตัวขับเคลื่อนระบบ MRP ทั้งหมด โดยจะก าหนดเป้าหมายให้ ระบบMRP ทราบว่า อะไรคือสิ่งที่บริษัทต้องการจะผลิต เพ่ือที่ระบบ MRP จะได้ท าการวางแผนการจัดหาวัสดุมาให้ได้ตามที่ต้องการ ส่วน แฟ้มข้อมูลบัญชีรายการวัสดุ (Bill of Material File) และ แฟ้มข้อมูลสถานะพัสดุคงคลัง (Inventory status file) จะสนับสนุนสารสนเทศที่จ าเป็นต่อการค านวณความต้องการวัสดุส าหรับผลิตภัณฑ์ที่ระบุในตารางการผลิตหลัก

เพ่ือให้เข้าใจกลไกการท างานของระบบ MRP ได้ดียิ่งขึ้น จะแสดงรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบของระบบ MRP ดังภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 7.3 องค์ประกอบของ MRP

ที่มา: จากการรวบรวมข้อมูลของผู้เขียน โดยใช้ข้อมูลจากการจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ,2559

เนื่องจาก MRP วางแผนความต้องการวัสดุถึงระดับส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ ฉะนั้นก่อนท า MRP ต้องทราบถึงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพ่ือให้สามารถค านวณจ านวนความต้องการของทุกส่วนประกอบเมื่อมีความต้องการผลิตภัณฑ์ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีความต้องการโต๊ะ 100 ตัวในเช้า

Page 13: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

105

วันศุกร์ และเวลาที่ต้องการใช้ในการประกอบโต๊ะคือ 3 วัน ฉะนั้นเช้าวันอังคารจะต้องมีพ้ืนโต๊ะ 100 ชิ้นและขาโต๊ะ 4 * 100 = 400 ขา เพื่อรอการประกอบ

ภาพที่ 7.4 ตัวอย่าง Bicycle BOM (Bill of Materials)

ที่มา : http://docplayer.net/6051055-Chapter-3-production-bill-of-materials.html

Page 14: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

106

ภาพที่ 7.5 ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ตามโครงสร้างผลิตภัณฑ์ ชุดเครื่องเสียง Awesome

ที่มา: http://www.slideshare.net/TeeTre/5-47221449

Page 15: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

107

Structure นี้มี 4 level (ระดับ) คือ 0, 1, 2, and 3 * มี 4 Parents คือ A, B, C, and F แต่ละ Parent มี Level below อย่างน้อย หนึ่ง Level * รายการ B, C, D, E, F, And G คือ Components เพราะ แต่ละรายการมี one level

above * ตัวเลขในวงเล็บแสดงจ านวนที่แต่ละ Component ต้องใช้ในการประกอบให้เป็นหนึ่ง

Parent ดังนั้น ต้องใช้ B สองชิ้นเพื่อประกอบเป็น A หนึ่งหน่วย และ F(2) แปลว่า ต้องใช้ F สองชิ้นเพ่ือประกอบเป็น C หนึ่งหน่วย ในกรณีที่ MPS แสดงว่ามีความต้องการผลิตภัณฑ์ Awesome speaker kit (A) จ านวน 50 ชุด

. Part B: 2 x number of A = 2×50 = 100

. Part C: 3 x number of A = 3×50 = 150

. Part F: 2 x number of C = 2×150 =300

. Part D: 2 x number of B + 2 x number of F = 2×100 + 2×300 = 800

. Part E: 2 x number of B + 2 x number of C = 2×100 + 2×150 = 500

. Part G: 1 x number of F = 1×300 =300 ผลลัพธ์ (Outputs) มีสองผลลัพธ์และหลากหลายข้อความหรือรายงานที่แจกจ่ายออกมาจากระบบ ผลลัพธ์ที่หนึ่ง คือ "ตารางการผลิตที่แนะน า" ซึ่งจะบอกรายละเอียดของความต้องการต่ าสุดและวันที่สิ้นสุดการผลิตในแต่ละข้ันตอน และวัสดุที่ต้องใช้เพื่อให้เพียงพอกับค าสั่งจากตารางการผลิตหลัก(Master Production Schedule, MPS)

ผลลัพธ์ที่สอง คือ "ตารางการจัดซื้อที่แนะน า" ซึ่งจะบอกรายละเอียดทั้งวันที่ที่จะได้รับของที่ได้จัดซื้อไปแล้ว และวันที่ควรจะจัดซื้อเพ่ือให้เหมะสมกับตารางการผลิต

Lead Times เวลาน าของแต่ละส่วนประกอบวัสดุที่ท าการผลิตเอง ช่วงเวลาน าประกอบด้วย เวลาเตรียมงานด้านเอกสาร บวก เวลาเตรียมการผลิต และบวกด้วยเวลาที่ใช้ตลอดการผลิตวัสดุที่สั่งซื้อจากภายนอก ช่วงเวลาน าประกอบด้วย เวลาเตรียมการเพ่ือขออนุมัติการสั่งซื้อ การออกใบสั่งซื้อ เวลาตรวจรับ และน าวัสดุเข้าเก็บในคลังเพื่อรอการน าไปใช้

Page 16: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

108

ตัวอย่าง ชุดเครื่องเสียง Awesome ต้องการชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ตามโครงสร้างผลิตภัณฑ์

รูปที่ 7.6 ความต้องการชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ตามโครงสร้างผลิตภัณฑ์ชุดเครื่องเสียง Awesome

ที่มา:การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ (รชฏ บุญข า และคณะ,2559)

ค าจ ากดัความ Lot for lot (รุ่นต่อรุ่น) การก าหนดรุ่นการสั่งที่เป็นแนวทางพ้ืนฐานของระบบ MRP โดย

วิธีการดังกล่าว จะท าการสั่งวัสดุในปริมาณเท่ากับความต้องการจริงในแต่ละช่วงเวลา Common item (วัสดุใช้ร่วม) วัสดุรายการใด ๆ ที่มีที่ใช้มากกว่าหนึ่งที่ในระบบโครงสร้าง

ผลิตภัณฑ์ Gross requirement (ความต้องการขั้นต้น) ยอดรวมความต้องการทั้งหมดของวัสดุรายการ

ใดรายการหนึ่งในแต่ละช่วงเวลา โดยยังไม่ได้พิจารณาถึงวัสดุคงคลังพร้อมใช้ และวัสดุที่อยู่ระหว่างสั่งว่ามีมากน้อยเพียงใด

Scheduled receipt (ก าหนดการรับของ) วัสดุที่ได้ท าการสั่งซื้อ หรือสั่งผลิตไปแล้ว อยู่ระหว่างการรอรับของที่จะมาส่งมอบตามเวลาที่ได้ตกลงกันไว้

Available inventory (วัสดุคงคลังพร้อมใช้) ปริมาณของวัสดุที่อยู่ในคลัง หรืออยู่ระหว่างการสั่งที่ไม่ติดเงื่อนไขการใช้ คือไม่รวม Safety stock หรือปริมาณที่ถูกจัดสรร (Allocates quantity) เป็นต้น

Net Requirement (ความต้องการสุทธิ) ปริมาณความต้องการในช่วงเวลาที่มีความต้องการของวัสดุรายการหนึ่ง ซึ่งจะต้องได้รับการสั่งซื้อ หรือสั่งผลิต Plan order receipt (แผนรับของที่สั่งไว้) คือ แผนที่ก าหนดจ านวนของวัสดุ แต่ละรายการที่ควรจะได้ในแต่ละช่วงเวลาของช่วงการวางแผน การก าหนดแผนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับ

Page 17: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

109

เงื่อนไขทุกด้านท่ีได้ก าหนดไว้ ทั้งภายในและภายนอก เช่น ขนาดรุ่นการสั่ง ความต้องการสุทธิ เป็นต้น

Plan order releases (แผนการออกใบสั่ง) คือ แผนที่ก าหนดจ านวนของวัสดุแต่ละรายการที่จะต้องท าการสั่งในแต่ละช่วงเวลาของช่วงการวางแผน แผนการออกใบสั่งจะต้องพิจารณาควบคู่ไปกับแผนรับของตามสั่ง โดยสั่งก่อนล่วงหน้าตามช่วงเวลาน า เพ่ือให้ได้รับของตามแผน Allocated quantity (ปริมาณที่จัดสรรไว้) หมายถึง วัสดุใด ๆ ที่อยู่ในคลัง หรือท่ีอยู่ระหว่างการสั่ง แต่ได้ถูกมอบให้ใบสั่งใด ๆ ที่ขอจองไว้ล่วงหน้าแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้เบิกออกจากคลัง ดังนั้น วัสดุคงคลังในปริมาณดังกล่าวจึงต้องจัดสรรไว้ ไม่สามารถน าไปใช้ได้

Inventory on hand (วัสดคุงคลังในมือ) หมายถึง จ านวนของวัสดุที่มีอยู่ในคลังจริง ซึ่งปริมาณดงักล่าวอาจมี Safety stock และปริมาณจัดสรรรวมอยู่ แต่ไม่รวมวัสดุที่อยู่ระหว่างสั่ง

Service parts (ชิ้นส่วนบริการ) วัสดุที่ถูกสั่งโดยศูนย์บริการหรือลูกค้า เพ่ือใช้ในการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ วัสดุดังกล่าวนี้ตามปกติจะเป็น Dependent demand เนื่องจากถูกใช้เป็นส่วนประกอบของ Parent item ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าในโครงสร้างผลิตภัณฑ์ แต่ในกรณีท่ีเป็นชิ้นส่วนบริการ จะมีสถานะเป็น Independent demand 7.5 การจัดตารางการวางแผนความต้องการวสัดุ

ในการจัดท าตารางการวางแผนความต้องการวัสดุ จะใช้ข้อมูลน าเข้าเหล่านี้มาท าการประมวลผลเพ่ือค านวณหาความต้องการสุทธิในแต่ละช่วงเวลาของวัสดุรายการต่างๆที่จะต้องไปด าเนินการจัดหามาไม่ว่าจะเป็นวัสดุสั่งซื้อหรือสั่งผลิตพร้อมทั้งก าหนดเวลาที่ควรการออกใบสั่งและรับของของวัสดุแต่ละรายการ ส่วนผลได้จากระบบ MRP ประกอบด้วยรายงานแผนการปฏิบัติการด้านความต้องการวัสดุที่ฝ่ายผลิตและฝ่ายจัดซื้อจะต้องน าไปด าเนินการจัดหา เช่น ก าหนดการที่ควรออกใบสั่งซื้อหรือสั่งผลิต ส าหรับ ชิ้นส่วนประกอบย่อย ชิ้นส่วน และ วัตถุดิบ เป็นต้น

1. รายการสุดท้าย (หรือรายการ)ท่ีสร้างข้ึนมา บางครั้งเรียกว่า Independent Demand หรือระดับ "0" ที่อยู่บน BOM (Bill of materials)

2. ปริมาณเท่าไรที่ต้องการ ณ เวลานั้น 3. เมื่อไรที่ปริมาณท่ีผลิตออกมาจะเพียงพอกับความต้องการ 4. ช่วงอายุของวัสดุที่อยู่ในคงคลัง 5. การบันทึกสถานะของคงคลัง คือ มีอยู่จริงเท่าไร และก าลังสั่งซื้ออีกเท่าไรและจะได้เมื่อไร 6. Bills of materials รายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์และ sub-assemblies ที่ต้องใช้ในการผลิต 7. ข้อมูลการวางแผน ประกอบไปด้วยต าแหน่งและทิศทางในการผลิตจนได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

ซึ่งจะรวมไปถึงเรื่องของเส้นทางการผลิต แรงงานและมาตรฐานของเครื่องจักร คุณภาพและมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์ การวางแผนในระบบดึงและผลัก ขนาดของ Lot (เช่น

Page 18: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

110

Fixed Lot Size, Lot-For-Lot, Economic Order Quantity), เปอร์เซ็นต์ของเสียและแหล่งวัตถุดิบอ่ืน ๆ

ตวัอยา่ง ถ้าต้องการผลิตภัณฑ์ A จ านวน 50 หน่วยในสัปดาห์ที่ 8 ส าหรับตัวอย่างนี้จะท าการสร้างแผนความต้องการวัสดุ โดยมีข้อมูลเพ่ิมเติมเก่ียวกับ Projected on hand วัสดุคงคลังพร้อมใช้ ดังนี้

Projected on hand วัสดุคงคลังพร้อมใช้

Item A B C D E F G

On hand 10 15 20 10 10 5 0

Page 19: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

111

Page 20: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

112

ที่มา: https://apiwatsite.wordpress.com/2015/12/05/mrp/

บทสรุป การวางแผนการผลิตรวมจะเป็นการก าหนดกลยุทธ์ของอัตราการผลิตสินค้าหรือบริการระดับแรงงาน และการรักษาระดับสินค้าคงคลังในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งแผนการผลิตรวมจะอธิบายให้ผู้ปฏิบัติทราบว่าองค์การจะท างานอย่างไร เพ่ือให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ต้องค านึงถึงอุปสงค์ของลูกค้าและก าลังการผลิตของธุรกิจ โดยพยายามจัดให้เหมาะสมกับแผนระยะ 1-2 ปี แผนการผลิตรวมในองค์การเกี่ยวกับการผลิตจะโยงไปถึงกลยุทธ์การท าตารางการผลิตหลัก ซึ่งเรียกว่า “แผนการผลิตหลัก หรือ MPS” ส าหรับธุรกิจบริการจะโยงไปถึงกลยุทธ์ในการวางแผนตารางแรงงาน ซึ่งเรียกว่า “แผนบุคลากรพนักงาน”

การวางแผนการผลิตรวมจะลดความต้องการในรายละเอียดลง โดยการจัดให้สินค้าหรือบริการของธุรกิจรวมเป็นหน่วยเดียวกัน พิจารณาแรงงานก็จะรวมเข้าเป็นสายการผลิตเดียวกันโดยไม่แยกตามทักษะ ความสามารถ หรือธุรกิจบริการ ซึ่งจะพิจารณารวมเป็นเดือนหรือไตรมาส โดยอาศัยปัจจัยน าเข้าจากหลายๆฝ่ายในองค์การ ซึ่งอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่ขัดแย้งกัน เช่น การต้องการบริการลูกค้าให้มาก แต่ต้องการให้ระดับแรงงานเท่าเดิม และไม่ต้องการให้สินค้าคงคลังมาก เป็นต้น การสร้างสรรค์และการประนีประนอมซึ่งกันและกันจะช่วยปรับความขัดแย้งให้กลับมาเป็นความลงตัว

Page 21: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

113

ของแผนการผลิตรวมและการบรรลุเป้าหมายร่วมกันการพัฒนาการผลิตรวมเป็นการท าขั้นตอนของการก าหนดอุปสงค์ซ้ าคือ การพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละแผน ท าการเลือกแผนที่คาดว่าจะใช้ได้ และท าการค านวณหาต้นทุนจากนั้นท าการเปรียบเทียบแผนที่เลือก ท าการตัดสินใจเลือกแผนที่จะใช้ แล้วจึงปฏิบัติตามแผนที่ให้ตัดสินใจเลือกนั้น ปัจจุบันเราสามารถใช้เทคนิคเชิงปริมาณ เช่น การใช้ตารางการวางแผนการผลิตหลักและเทคนิคก าหนดการเส้นตรงมาช่วยในการก าหนดแผนการผลิตรวมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเทคนิคเชิงปริมาณสามารถช่วยวิเคราะห์ทางเลือกที่มีความซับซ้อนได้ แต่การวางแผนการผลิตรวมก็เป็นพ้ืนฐานการบริหารการสลายความขัดแย้งและการประนีประนอม ซึ่งท้ายที่สุดแล้วการตัดสินใจต้องท าโดยวิจารณญาณของผู้จัดการ ไม่ใช่โดยอาศัยเทคนิคทางคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว ค าถามทา้ยบท

1.แผนการผลิตรวมคืออะไร และมีเป้าหมายอย่างไร 2.การวางแผนการผลิตรวมมีความเกี่ยวข้องกับแผนงานอ่ืนของธุรกิจอย่างไร 3.การวางแผนการผลิตรวมต้องพิจารณาปัจจัยอะไรบ้าง 4.อธิบายวัตถุประสงค์พ้ืนฐานของการวางแผนการผลิตรวม 5.อธิบายความหมายของการวางแผนความต้องการของวัสดุ (MRP) 6.MRP มีวัตถุประสงค์ส าคัญและมีประโยชน์ต่อการด าเนินธุรกิจอย่างไรบ้าง 7.อุปสงค์อิสระคืออะไร และเกี่ยวข้องกับการจัดการวัสดุคงคลังอย่างไร 8.ปัจจัยน าเข้าส าคัญในการท างานของ MRP มีอะไรบ้าง 9.ใบก ากับวัสดุ (BOM) คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการผลิตสินค้าอย่างไร 10.อธิบายความหมายและวัตถุประสงค์ของตารางการผลิตหลัก (MPS)

Page 22: 93¹ผน... · แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 7 ... ไม่ต้องค านึงถึงปัจจัยอื่น เช่น

114

เอกสารอา้งองิ

จินตนัย ไพรสณฑ์ และคณะ. (2556). การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิค.

ฐิติมา ไชยะกุล. (2548). หลักการจัดการการผลิตเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็นดูเคชั่น อินโด ไชน่า.

ธงชัย สันติวงษ์. (2540). องค์การและการจัดการทันสมัยยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ประสงค์ ประณีตพลกรัง และคณะ. (2547). การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ . กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จ ากัด .

เปรื่อง กิจรัตน์ภร. (2543). การจัดองค์กรอุตสาหกรรมและการผลิต. กรุงเทพฯ : . พิชิต สุขเจริญพงษ์. (2545). การจัดการวิศวกรรมการผลิต. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ ากัด

(มหาชน). พิภพ ลลิตาภรณ์. (2553). การควบคุมกิจกรรมการผลติ : การจดัตารางการผลิตและการควบคุม.

กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). พิภพ ลลิตาภรณ์. (2556). การวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. ศุทธวัต แก้วขาว https://apiwatsite.wordpress.com/2015/12/05/mrp/

Stevenson, W.J. (2007). ). Opertion Management, 9th edition. New York, NY : McGraew-Hill/Irwin.

Herzer, J.& Render,B. (2014). Opertion Management: Sustainability and Supply Chain Management, 11th ed

Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall. Herzer, J.& Render,B. (2006). Opertion Management, 8th edition,Upper Saddle River,

NJ: Pearson Prentice Hall. Nigel Slack, Alistair Brandon-Jones and Robert Johnston. (2013). Operation Management, 7th ed. London : Copyright Licensing Agency Ltd. Roberta S. Russell and Bernard W.Taylor. (2014). Operation and Supply Chain Management, 8 th ed. Singapore : John Wiley & Sons Singapore Pte.Ltd