35

1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

  • Upload
    others

  • View
    21

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”
Page 2: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

1

คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ” จัดทําข้ึนเพื่อเปนแนวทางใหนิสิตสามารถประเมินระบบหายใจของผูใชบริการไดอยางถูกตอง อันจะเปนสวนหนึ่งของการใหการพยาบาลผูใชบริการอยางมีประสิทธิภาพ ผูเรียบเรียงขอขอบพระคุณผูเรียบเรียงตําราท่ีผูเขียนไดอางอิง และขอขอบพระคุณครู อาจารยทุกทานที่ไดใหความรู คําแนะนําในการจัดทําบทเรียบเรียงนี้

ดร. ฐิติอาภา ต้ังคาวานิช คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร

เมษายน 2552

Page 3: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

2

สารบาญ หนา กายวิภาคศาสตร การประเมินภาวะสุขภาพระบบทางเดินหายใจ การซักประวัติ การตรวจรางกาย การตรวจจมูก การตรวจหลอดลม การตรวจทรวงอก การตรวจทางหองปฏิบัติการ การตรวจพิเศษ

Page 4: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

3

การประเมินภาวะสุขภาพระบบทางเดินหายใจ

ดร. ฐิติอาภา ต้ังคาวานิช แนวคิด ระบบทางเดินหายใจเปนระบบที่มีความสําคัญตอชีวิตมนุษย ความผิดปกติที่ เกิดข้ึนในระบบนี้อาจสงผลตอชิวิตได พยาบาลควรประเมินผูรับบริการอยางละเอียดและถูกตอง ทั้งนี้พยาบาลควรมีความรูพื้นฐานระบบทางเดินหายใจ สามารถถามประวัติ ตรวจรางกาย รวมทั้งวิเคราะหผลการตรวจทางหองปฏิบัติการและการตรวจพิเศษที่เกี่ยวของได เพื่อผูรับบริการไดรับการแกไขไดอยางถูกตองและรวดเร็ว ชวยลดภาวะแทรกซอนที่อาจเกิดข้ึนได วัตถุประสงคของบทเรียน เมื่อจบบทเรียนนี้แลวผูเรียนสามารถ

1. บอกแนวทางการซักประวัติที่เกี่ยวของกับระบบทางเดินหายใจได 2. บอกแนวทางการตรวจรางกายระบบทางเดินหายใจได 3. สามารถระบุส่ิงผิดปกติที่เกิดข้ึนจากการตรวจรางกายระบบทางเดินหายใจได 4. ระบุการตรวจทางหองปฏิบัติการ การตรวจพิเศษที่สัมพันธกับระบบ

ทางเดินหายใจได

Page 5: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

4

กายวิภาคศาสตร ระบบทางเดินหายใจเปนระบบที่สําคัญตอรางกายระบบหนึ่ง การ

หายใจเขาจะนําออกซิเจนเขา สู ร างกาย และ การหายใจออกจะนําคารบอนไดออกไซดออกจากรางกาย โดยผานกระบวนการระบายอากาศและการแพรกระจายของกาซ ระบบทางเดินหายใจประกอบดวย 1.สวนที่เปนทางผานของอากาศ (Air Passage) ประกอบดวย จมูก (Nose) ปาก (Mouth) หลอดคอ (Pharynx) กลองเสียง (Larynx) หลอดลม (Trachea) ข้ัวปอด (Bronchus) และแขนงปอด (Bronchiole) 2.สวนที่ทําหนาที่แลกเปล่ียนกาซ ไดแก ปอด (Lung) ภายในปอดสวนที่เกี่ยวของกับการหายใจประกอบดวย ทางเดินลมหายใจ (Alveolar Duct) และถุงลม (Alveolus) ปอดมี 2 ขาง ซายและขวา อยูในชองอก ระหวางปอด 2 ขาง จะมีหัวใจ หลอดลม หลอดอาหาร เสนเลือดใหญ ทอน้ําเหลืองและตอมน้ําเหลือง ปอดขางขวาใหญกวาปอดขางซาย และมีกระบังลมดานขวานูนสูงข้ึนมาเนื่องจากมีตับหนุนอยูใตกระบังลม สวนที่หอหุมปอดคือเยื่อหุมปอด (Pleura) เปนเยื่อ 2 ชั้น ระหวาง 2 ชั้นนี้ มีของเหลวบรรจุอยู เรียกวา Plural Fluid ซึ่งจะชวยใหปอดชุมชื้นและปองกันการเสียดสีขณะหายใจ การประเมินภาวะสุขภาพระบบทางเดินหายใจ

การประเมินภาวะสุขภาพระบบทางเดินหายใจที่ถูกตองชวยใหผูรับบริการไดรับการแกไขปญหาไดอยางมีประสิทธิภาพ การประเมินภาวะสุขภาพระบบทางเดินหายใจประกอบดวย การซักประวัติ และการตรวจรางกาย

Page 6: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

5

การวิเคราะหผลการตรวจทางหองปฏิบัติการ การตรวจพิเศษที่เกี่ยวของกับระบบทางเดินหายใจ การซักประวัติ (History taking) การซักประวัติในระบบทางเดินหายใจประกอบดวย 1. อาการสําคัญ (Chief Complaint) โดยระบุอาการและระยะเวลาการ ที่เปนสาเหตุใหผูรับบริการมาโรงพยาบาล ตัวอยางอาการที่เกี่ยวของกับระบบทางเดินหายใจไดแก ไอ เจ็บคอ มีไข เจ็บหนาอก หายใจลําบาก เหนื่อย

2. ประวัติสุขภาพในปจจุบัน (Present health status) ถามประวัติสุขภาพระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวของกับการปวยคร้ังนี้ ใหคลอบคลุมประเด็นตางๆ ดังนี้

2.1 อาการไอ การไอเปนการหายใจออกอยางรวดเร็ว จะเกิดจากความต้ังใจหรือไมต้ังใจก็ได อาการไอที่เกิดข้ึนเองเปนรีเฟล็กซ การถามประวัติควรคลอบคลุมประเด็นตอไปนี้ 2.1.1 เร่ิมไอเมื่อใด ไอแบบเฉียบพลันหรือไอเร้ือรัง 2.1.2 ชวงเวลาที่ไอ เชน ไอเฉพาะต่ืนนอนตอนเชา หรือไอเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง อาการไอที่เกิดข้ึนสัมพันธกับกิจกรรมที่ทํา เชน เดินมากๆ แลวไอ ต่ืนข้ึนมาไอกลางดึก หรือจะไอมากในชวงฤดูหนาว อาการไอนี้เปนทั้งวันหรือไม เปนตน 2.1.3 ลักษณะของการไอ เชนไอแหงๆ ไอมีเสมหะ ไอเปนเลือด เปนตน

Page 7: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

6

2.1.4 ความถี่ของการไอ ไอบอย ไอนานๆ คร้ัง หรือไอมากจนไมสามารถทํากิจวัตรประจําวันได เปนตน 2.1.5 ปจจัยที่กระตุนหรือบรรเทาอาการไอ เชน อุณหภูมิของส่ิงแวดลอม ความช้ืน เปนตัวกระตุนใหไอหรือไม เชน อาการไอหลังฝนตก ไอเมื่อเปล่ียนทา เปนตน 2.1.6 อาการอ่ืนๆ เชน หายใจลําบาก เจ็บหนาอก สําลัก เปนตน

2.2 เสมหะ การถามประวัติเกี่ยวกับเสมหะควรใหคลอบคลุมประเด็นตอไปนี้ 2.2.1 เร่ิมมีเสมหะเมื่อใด 2.2.2 ลักษณะของเสมหะ เชน เสมหะเปนหนอง (Purulent) เสมหะเปนมูกใส (Mucoid) เสมหะมูกปนหนอง (Muco purulent) เสมหะมีสีอะไร เชน สีสนิม (Rusty) สีเลือด (Reddish) เสมหะเปนฟองสีชมพู (Frothy) เปนตน เสมหะมีกล่ินเหม็นหรือไม เสมหะออกมาสมํ่าเสมอ ตลอดเวลา หรือมีมากเฉพาะในชวงเวลาใดเวลาหน่ึง

2.2.3 ปริมาณของเสมหะมีมากหรือนอย 2.2.4 ปจจัยกระตุน เชน อยูในที่มีฝุนควันมากจะมีเสมหะมาก การด่ืมน้ํานอยเสมหะจะนอยและเหนียว การไดรับยาบางอยางอาจทําใหไอมีเสมหะมากข้ึน เปนตน 2.2.5 อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวของ เชน มีไข หายใจหอบเหนื่อย เจ็บหนาอก เปนตน

Page 8: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

7

2.3 อาการเจ็บหนาอก (Chest Pain) ควรถามประวัติคลอบคลุมประเด็นตอไปนี้ 2.3.1 จุดเร่ิมตนของอาการ เร่ิมมีอาการเจ็บหนาอกเมื่อใด

2.3.2 ชวงเวลาของการเจ็บหนาอก เปนอาการเจ็บหนาอก แบบคงที่ หรือเจ็บมากข้ึนเร่ือยๆ อยางตอเนื่อง หรือเปนๆ หายๆ เจ็บหนาอกเวลาใด เชา กลางวัน เย็น หรือตอนกลางคืน อาการเจ็บหนาอกสัมพันธกับการออกกําลังกายหรือไม 2.3.3 ตําแหนงที่มีอาการ เจ็บหนาอกตําแหนงใด และปวดราวไปที่ใดหรือไม 2.3.4 ลักษณะของอาการเจ็บ ปวดแบบใด เชน รูสึกปวดเหมือนถูกแทงบริเวณดานหลัง หรือดานขาง และปวดมากข้ึนเวลาหายใจเขาลึกๆ 2.3.5 ปริมาณความเจ็บปวด ปวดนอยหรือปวดมาก ปวดนอย พอทนไหว หรือปวดมากจนตองนอนลง หรือประเมินดวย Pain Scale 2.3.6 อาการอ่ืนๆ ที่เกี่ยวของ เชน คล่ืนไส อาเจียน หายใจลําบาก มีไข งวง ซึม ซีด เย็น ออนแรง เปนตน

2.3.7 ปจจัยกระตุน เชน หลังจากออกกําลังกาย ประสบอุบัติเหตุ อากาศรอนจัดหรือหนาวจัด หรือความเครียดทําใหมีอาการมากข้ึนหรือไม เปนตน 2.4 อาการหายใจลําบาก (Dyspnea) เปนอาการที่รูสึกวาหายใจขัด ตองออกแรงหายใจมากกวาปกติ และรูสึกเหน่ือยมากกวาปกติ อาการ

Page 9: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

8

หายใจลําบากอาจเกิดข้ึนโดยสัมพันธกับการจัดทาของผูรับบริการเชน มีอาการหายใจลําบากเมื่อนอนราบ หรือนอนตะแคง เปนตน

2.4.1 จุดเร่ิมตนของอาการ เร่ิมมีอาการหายใจลําบากเมื่อใด 2.4.2 ชวงเวลาที่เกิดอาการหายใจลําบาก เกิดข้ึนในชวงเวลา

ใด ชวงเวลาเชา กลางวัน หรือกลางคืน อาการหายใจลําบากสัมพันธกับการทํากิจกรรมอะไรหรือไม ขณะมีอาการหายใจลําบาก อยูในทาใด

2.4.3 ลักษณะของอาการหายใจลําบากเปนอยางไร เชน หายใจลําบากชวงหายใจเขาหรือหายใจออก หายใจลําบากเวลาอยูในทานอน (Orthopnea) ตองนอนหนุนหมอนกี่ใบอาการจึงจะดีข้ึน หรือมีอาการหายใจลําบากหลังจากนอนหลับไปแลวต่ืนข้ึนมาตอนกลางคืนเมื่อลุกนั่งสักพักอาการดีข้ึน จะเปนอาการของ Paroxysmal nocturnal dyspnea เปนตน

2.4.4 อาการหายใจลําบากเกิดข้ึนหลังจากทํากิจกรรมใด เชน ข้ึนบันไดไดกี่ข้ันจึงมีอาการหายใจลําบาก หรืออาการหายใจลําบากนี้สงผลตอการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันหรือไม เปนตน

2.4.5 เหตุการณหรืออาการอ่ืนที่เกี่ยวของ เชน มีความเครียด ความวิตกกังวล มีอาการส่ัน ปวดขา เปนลม เหงื่อออกมาก รวมดวยหรือไม เปนตน

2.5 อาการเสียงแหบ เกิดข้ึนไดในผูรับริการที่มีรอยโรคบริเวณ กลองเสียง เชนการอักเสบ การติดเช้ือ โรคมะเร็ง การใชเสียงมาก หรือในผูรับบริการที่มีอารมณออนไหว การถามประวัติใหคลอบคลุมประเด็น

2.5.1 จุดเร่ิมตนของอาการ เร่ิมเปนเมื่อใด

Page 10: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

9

2.5.2 อาการอื่นๆ ที่เกิดรวมอาการเสียงแหบ เชน มีไข ไอ มี เสมหะ กลืนอาหารลําบาก เปนตน

2.5.3 ปจจัยกระตุน เชน อากาศเย็นหรือรอนเกินไป การใช เสียงมากเกินไป เปนตน

3. ประวัติเจ็บปวยในอดีต (Past medical history) 3.1. ประวัติโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เชน มีการติดเชื้อประเภทใด โรคหอบหืด วัณโรค ถุงลมโปงพอง เปนตน

3.2. ประวัติการบาดเจ็บที่เกิดข้ึนกับอวัยวะในบริเวณทางเดินหายใจ 3.3. ประวัติการผาตัดที่เกิดข้ึนกับอวัยวะในบริเวณทางเดินหายใจ 3.4. ประวัติความเจ็บปวยเรื้อรัง หรือความเจ็บปวยในระบบอ่ืนๆ เชน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคไต เปนตน 4. ประวัติสุขภาพในครอบครัว (Family history) ควรถามพฤติกรรม ความเจ็บปวยของบุคคลในครอบครัว ทั้งในอดีตและปจจุบัน เชน การสูบบุหร่ี ประวัติการปวยเปนโรควัณโรค มะเร็ง ภูมิแพ หอบหืด เปนตน

5. ประวัติสวนตัว (Personal health history) 5.1 ควรถามถึงรายละเอียดของลักษณะงานที่ทํา เพื่อนํามาประกอบการวินิจฉัยโรค เชน ทํางานชางกอสรางอยูในที่มีฝุนมาก ที่ทํางานมีสารเคมีฟุงกระจาย มีขนสัตวฟุงกระจาย เปนตน

5.2 มีความเครียดมาก บอยหรือไม และมีวิธีการจัดการกับความเครียดอยางไร

Page 11: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

10

5.3 การแพยา อาหาร ตนไม ฝุน สัตวเล้ียงตางๆ รวมทั้งการรักษาหรือไม

5.4 ควรถาม ประเภทและปริมาณการใชส่ิงเสพติด เชน บุหร่ี เหลา เปนตน

5.5 ใชยาอะไรเปนประจํา มียาประเภทสูดดม (Inhalants) ดวยหรือไม

5.6 ตรวจสุขภาพเปนประจําหรือไม คร้ังสุดทายเมื่อไร ตรวจอะไร 5.7 ภาวะโภชนาการ น้ําหนักข้ึนหรือลดลงหรือไมในชวงเวลาเทาใด 5.8 ออกกําลังกาย สม่ําเสมอหรือไมชนิดใด 6. สิ่งแวดลอม (Environment) ส่ิงแวดลอมทั้งที่บานและท่ีทํางานมีฝุนละออง ควันมากหรือไม

ชนิดใดบาง และอยูในส่ิงแวดลอมที่มีผูสูบบุหร่ีมากหรือไม 7. การเดินทาง (Travel) ถามประวัติการเดินทาง พึ่งกลับจากประเทศหรือที่มีการแพรระบาดของโรคหรือไม การสังเกตอาการอ่ืนประกอบการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินหายใจ 1. สีผิว สังเกตบริเวณปลายมือปลายเทา ริมฝปาก เยื่อบุตา อาจเกิดภาวะเขียวได หากเขียวบริเวณปลายมือปลายเทา เรียกวา Peripheral cyanosis หรือ เขียวบริเวณริมฝปาก เรียกวา Central cyanosis

Page 12: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

11

2. นิ้วปุม ตรวจโดยการประคองนิ้วผูรับบริการดวยนิ้วหัวแมมือและนิ้วกลาง ใชนิ้วชี้คลําผิวหนังที่โคนเล็บ บริเวณโคนเล็บจะมีลักษณะงุมลง ปลายนิ้วมือมีลักษณะพองนูน พบในผูที่เปนโรคปอดอุดกั้นเร้ือรัง

การตรวจรางกาย (Physical examination) การตรวจรางกายระบบทางเดินหายใจ ตรวจโดยใชเทคนิคการดู คลํา เคาะ และฟง ตามลําดับ การตรวจควรตรวจจากสวนบนลงมาสวนลางของทรวงอก และเปรียบเทียบความแตกตางของอวัยวะทั้งสองขาง ในภาวะปกติ ส่ิงที่ตรวจพบทั้ง 2 ขางควรจะเทากัน (Symmetry) การตรวจจมูก

การถามประวัติเจ็บปวย มีน้ํามูก คัดจมูก เลือดกําเดา การรับกล่ินผิดปกติ มีประวัติการบาดเจ็บที่จมูกหรือไม

ดูลักษณะภายนอกของจมูก เพื่อตรวจความสมมาตร รอยโรคตางๆ อาการบวม และใชไฟฉายสองดูลักษณะภายในรูจมูก ใชคีมถางจมูก (Nasal speculum) สังเกตลักษณะของผนังกั้นจมูก ผนังดานขาง ขนในรูจมูก ลักษณะ สี กล่ินของสารคัดหล่ังจากจมูก นอกจากนี้สังเกตลักษณะจมูกภายนอก หากพบวาปกจมูกบานออกและหุบเขา ขณะท่ีผูรับบริการหายใจเขาออก แสดงวาผูรับบริการกําลังหายใจลําบาก การตรวจหลอดลม (Trachea)

หลอดลมจะอยูตรงกลางคอดานหนา วิธีตรวจใชการคลํา โดยวางนิ้วชี้ที่ Suprasternal notch เหนือ Manubrium sterni แลว คอยๆเคล่ือนข้ึนเปนเสนตรง ถาอยูศูนยกลางของหลอดลมแสดงวาหลอดลมอยูในตําแหนงปกติ

Page 13: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

12

ถาไมอยูตรงกลางใหดูวาเอียงไปดานไหน หลอดลมที่เอียงไปดานใดดานหนึ่ง อาจมีกอนมาดันหรือปอดแฟบไปขางหนึ่งแลวดึงร้ังเอาหลอดลมเอียงไปขางนั้นดวย การตรวจทรวงอก อวัยวะสําคัญของระบบทางเดินหายใจที่อยูในทรวงอกไดแก แขนงหลอดลมใหญทั้งซายและขวา (Bronchi) หลอดลมเล็ก (Bronchus) หลอดลมฝอย (Bronchiole) และปอด ซึ่งเมื่อมีความผิดปกติเกิดข้ึน อาการและอาการแสดงที่ปรากฏอาจเกิดจากพยาธิสภาพที่ระบบทางเดินหายใจโดยตรง หรืออาจเกิดจากอวัยวะระบบอ่ืนที่อยูในทรวงอก ดังนั้นในการตรวจรางกายบริเวณทรวงอก จึงตองทราบถึงตําแหนงอางอิง (Land mark) ที่สําคัญ สําหรับใชบอกตําแหนงของอวัยวะตามลักษณะทางกายวิภาค ตําแหนงอางอิง(Land mark) ที่สําคัญ ((Wilson & Gidden, 2009., page 208, ดังรูปที่ 1) ไดแก ทรวงอกดานหนา (Anterior chest wall) 1. รอยบุมเหนือกระดูกอก (Suprasternal notch) 2. มุมกระดูกอก (Angle of Louis) เปนสวนตอระหวางกระดูก Sternum กับ Manubrium ซึ่งมีลักษณะนูนคลําไดชัดเจน ตรงกับตําแหนงกระดูกซี่โครงที่สองที่เปนจุดเร่ิมตนในการนับกระดูกซี่โครง (Intercostals space) และเปนจุดที่หลอดลมใหญ (Trachea) แยกเปน Main bronchus 2 ขาง ซายและขวา 3 เสนกึ่งกลางกระดูกอก (Midsternal line)

Page 14: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

13

4. ขอบของกระดูกซ่ีโครงที่ตัดกัน (Costal angle) ปกติไมเกิน 90O 5. กระดูกไหปลารา (Clavicle) 6. เสนกึ่งกลางกระดูกไหปลารา (Midclavicular line)

ทรวงอกดานขาง (Lateral chest wall) 1. เสนดานหลังรักแร (Posterior axillary line) 2. เสนดานหนารักแร (Anterior axillary line) 3. เสนกึ่งกลางรักแร (Mid axillary line) ทรวงอกดานหลัง (Posterior Chest Wall) 1. ปุมกระดูกสันหลัง (Spinal Process) ของ Cervical spinal

spine ที่ระดับ 7 (C7) เมื่อใหผูรับบริการกมคอเต็มที่จะคลําไดปุมนูนของกระดูกสันหลังที่เดนชัดคือ Spinal process ของ C7สวนปุมถัดไปเปน Spinal process ของ Thoracic spinal spine ที่ระดับ 1 (T1) ตําแหนงนี้ใชสําหรับนับกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครง ซึ่ง Spinal process ของ Thoracic spinal Spine ที่ระดับ 3 (T3) จะเปนตําแหนงอางอิงในการแบงขอบเขตของปอดกลีบบนและกลีบลาง 2. สวนลางของกระดูกสะบัก (Inferior angle of scapula) ในทาที่ผูรับบริการนั่งตัวตรง ปลอยแขนขางลําตัว สวนนี้จะตรงกับกระดูกซ่ีโครงที่ 7 ดานหลัง

Page 15: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

14

ทรวงอกดานหนา ทรวงอกดานขาง ทรวงอกดานหลัง

ภาพที่ 1 แสดงตําแหนงอางอิง (Land mark) ทรวงอก (Wilson & Gidden, 2009., page 208)

ขอบเขตของปอด

1. ปอดทั้ง 2 ขาง ประกอบดวยยอดปอด (Apex of lung) ซึ่งอยูเหนือกระดูกไหปลาราเล็กนอยทั้งดานหนาและหลัง ฐานปอดหรือชายปอด (Base of lung) อยูบริเวณเดียวกับกระะบังลม โดยที่ชายปอดดานหนาตรงกับกระดูกซี่โครงที่ 6 บริเวณ Mid clavicular line ชายปอดดาน ขางจะอยูตรงกับกระดูกซี่โครงที่ 8 บริเวณ Mid axillary line และชายปอดดานหลังจะอยูตรงกับกระดูกซี่โครงที่ 10 หรือ Spinal process ของ Thoracic spinal spine ที่ระดับ 10 (T10) 2.ปอดขางซายมี 2 กลีบคือ กลีบบน (Left upper lobe) และกลีบลาง (Left lower lobe) โดยมีเสนแบง (Left oblique fissure) ลากจากตําแหนงของ

Page 16: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

15

T3 ของดานหลัง ผานซ่ีโครงที่ 5 ที่บริเวณ Mid axillary line ไปยังกระดูกซี่โครงที่ 6 ดานหนาบริเวณ Mid clavicular line 3.ปอดขางขวามี 3 กลีบคือ กลีบบน (Right upper lobe) กลีบกลาง (Right middle lobe) และกลีบลาง (Right lower lobe) มีเสนแบงกลีบ 2 เสนคือ เสนที่ 1 (Right oblique fissure) ลากจากตําแหนงของ T3 ดานหลังผานซี่โครงที่ 5 บริเวณ Mid axillary line ไปยังกระดูกซ่ีโครงที่ 6 บริเวณ Mid clavicular line ดานหนาและเสนที่ 2 เปนเสนในแนวเดียวกันกับกระดูกซี่โครงที่ 4 ดานหนาลากไปบรรจบกับ Right oblique fissure ที่บริเวณกระดูกซ่ีโครงที่ 5 ดานหนาในแนว Mid axillary line การตรวจทรวงอก และ ปอด (Chest and lung) การตรวจทรวงอก ควรตรวจในหองที่มีแสงสวางเพียงพอ ใชหลักการตรวจรางกายทั้ง 4 อยาง คือ ดู คลํา เคาะ และฟง เร่ิมจากสวนบนลงมาสวนลางของทรวงอกเปรียบ เทียบความแตกตางของทรวงอกและปอดทั้ง 2 ขาง เร่ิมตรวจ ดังนี้ การดู 1. สังเกตดูลักษณะรูปรางและขนาดของทรวงอก เร่ิมดูจากดานหลัง ดานขาง ดานหนา และบริเวณฐานของคอ ดูรูปรางและขนาดของทรวงอกเหมือนกันทั้งสองขางหรือไม ขางใดโปงออกมาหรือบุมเขาไป ในคนปกติถาตัดทรวงอกตามขวางจะไดรูปกลมแบน เสนผาศูนยกลางดานหนาลากไปดานหลังแคบกวาดานขวางในอัตรา 1:2 รูปรางและขนาดของทรวงอกที่ผิดปกติ ที่พบไดบอย (ดังภาพที่ 2)

Page 17: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

16

อกถัง (Barrel chest) ทรวงอกที่มีขนาดใหญกวาปกติมีลักษณะเหมือนโองหรือถังเบียร อัตราสวนจากดานหนาและดานขาง 1:1 มักพบในผูที่เปนโรคปอดหรือหลอดลมอักเสบเร้ือรัง อกไก (Pigeon chest) คือ อกที่มีกระดูกกลางหนาอกโปงยื่นออกมาเหมือนอกไก ซึ่งพบในผูที่เปนโรคกระดูกออน (Rickets) ในวัยเด็กหรือเปนมาแตกําเนิด อกบุม (Funnel chest) อกที่มีกระดูกกลางหนาอกบุมลึกเขาไปมากกวาปกติ พบในผูที่เปนโรคกระดูกออนในวัยเด็ก อกแบนหรือโปงขางเดียว (Unilateral fattening) คือ อกที่แบนแฟบขางเดียวมักเกิดจากหลังคด หรือจากโรคปอดเร้ือรังทําใหเนื้อปอดแฟบ (Atelectasis) ปอดถูกทําลายไปขางหนึ่ง หลังโกง (Kyphosis) พบไดในคนที่มีอายุมากๆ หรือเกิดจากการยุบของกระดูกสันหลังอันใดอันหนึ่งสาเหตุจาก เนื้องอก วัณโรค กระดูกผุ หลังคด (Scoliosis) เนื่องจากกระดูกสันหลังเอียงไปดานขาง มักเปนมาแตกําเนิด โรคเกี่ยวกับระบบกลามเนื้อและประสาท หรือไมทราบสาเหตุ

Page 18: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

17

ภาพที่ 2 แสดงทรวงอกที่ปกติและผิดปกติ (Jarvis, 2008.pp. 467-468)

Page 19: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

18

2. การเคลื่อนไหวของทรวงอก การเคลื่อนไหวของทรวงอกเกิดข้ึนจาก

การหายใจ เมื่อหายใจเขากลามเนื้อซี่โครงจะหดตัวดึงกระดูกซี่โครงใหยกข้ึนและกลามเนื้อกระบังลมจะหดตัวเคล่ือนลงลาง ทําใหทรวงอกและปอดขยายใหญข้ึน และเมื่อหายใจออกกลามเนื้อกระบังลมและกลามเนื้อซี่โครงจะคลายตัว ทําใหทรวงอกคืนเขาสูที่เดิมบีบรัดปอดใหแฟบลงการตรวจใหดูลักษณะการเคล่ือนไหวของทรวงอกทั้ง 2 ขางขยายเทากันหรือไม ถาพบวาไมเทากัน เชน ทรวงอกขางซายเคล่ือนไหวนอยกวาขางขวา มักแสดงวาทรวงอกหรือปอดขางซายผิดปกติ พบไดในผูที่มีเลือดในชองอก (Pneumothorax) เปนตน 3. ลักษณะการหายใจ สังเกต จังหวะ (Rhythm) ความลึกต้ืนของการหายใจ อวัยวะที่ใชชวยในการหายใจ ในคนปกติจังหวะการหายใจจะสม่ําเสมอ อัตราการหายใจในผูใหญปกติจะมีอัตราการหายใจประมาณ 12 – 20 คร้ังตอนาที (Wilson & Gidden, 2009. p. 215) ในเด็กอัตราการหายใจจะเร็วกวาผูใหญ การหายใจที่ผิดปกติ ที่พบบอย (ดังภาพที่ 3) ไดแก 3.1 การหายใจลําบาก (Dyspnea) การหายใจที่ใชกําลังมากกวาปกติ ผูรับบริการที่หายใจลําบากจะมีอาการเหน่ือยหรือหอบ ถาเปนมากจะนอนราบไมได ตองลุกข้ึนนั่งจึงหายใจได สังเกตดูจะพบวากระดูกไหปลารา หัวไหล ยกข้ึนยกลงและปกจมูกจะหุบเขาบานออกตามจังหวะการหายใจ การหายใจลําบากเกิดไดหลายสาเหตุ เชน ออกกําลังมากๆ จะทําใหหายใจไมทัน มีไขสูงหรือไดรับความเจ็บปวดจากโรคประสาทบางอยาง หรือมีอารมณรุนแรง

Page 20: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

19

ทําใหหายใจแรงและลึก โรคปอดหรือโรคเกี่ยวกับหลอดลมทุกชนิดที่เปนมากจะมีอาการหายใจลําบาก เปนตน 3.2 การหายใจเร็ว (Tachypnea) หมายถึงการที่มีอัตราการหายใจเร็วกวาปกติ สาเหตุจากโรคปอด โรคหัวใจ 3.3 การหายใจชา (Bradypnea) หมายถึงมีอัตราการหายใจที่ชากวาปกติ เกิดจากความผิดปกติทางสมอง เชน ศูนยควบคุมการหายใจในสมองถูกกดดวยฤทธิ์ของยานอนหลับ ทําใหหายใจชาลงๆ จนหยุดหายใจ (Apnea) เปนตน 3.4 การหายใจลึก (Hyperpnea) หมายถึง การหายใจที่ลึกกวาปกติซึ่งสังเกตไดจากการท่ีทรวงอกสวนบนขยายตัวออกและหนาทองโปงออกขณะหารใจเขา เกิดจากสาเหตุ การออกกําลังกายมาก ความเจ็บปวด อารมณรุนแรง ความเครียดจากภาวะทางจิตใจ เรียกวา Hyperventilation syndrome 3.5 การหายใจต้ืนและหยุด (Cheyne–Stroke respiration) คือ การหายใจที่เร่ิมดวยการหายใจต้ืนๆ กอนแลวลึกข้ึนๆ จนลึกเต็มที่แลวหายใจต้ืนลงๆ จนหยุดหายใจชวงหนึ่ง แลวเร่ิมตนใหมสลับไปเร่ือยๆ เกิดจากความผิดปกติของศูนยการหายใจ พบไดในผูที่เปนโรคเสนเลือดในสมองแตก ตีบ หรือตัน ภาวะหัวใจวาย 3.6 การหายใจเปนชวงๆ (Biot or cluster respiration) คือการหายใจที่สลับเปนชวงๆ มีชวงหยุดหายใจสลับกับชวงหายใจ ซึ่งแตละชวงระยะเวลาไมเทากัน

Page 21: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

20

3.7 การหายใจลึกและถอนหายใจอยางสม่ําเสมอ (Kussmaul respiration) การกระตุนศูนยหายใจซ่ึงเปนผลทําใหหายใจลึกและอัตราการหายใจเพิ่มข้ึน ลมหายใจมีกล่ินผลไมหรือกล่ินคลายสารอะซิโตน 3.8 การหายใจใกลส้ินใจ (Air hunger) คือการหายใจชาๆ และลึก ขณะที่หายใจเขาศีรษะและหนาอกจะเงยข้ึน ตาเหลือกข้ึนขางบน หนาบิดเบ้ียว ริมฝปาก เล็บมือ เล็บเทาเขียว ปากแสยะเพราะการดึงของกลามเนื้อคอและมุมปาก การหายใจแบบนี้เกิดจากเสนเลือดที่ไปเล้ียงสมองขาดออกซิเจน

ภาพที่ 3 แสดง รูปแบบการหายใจ

(Jarvis, 2008. pp. 468-469)

Page 22: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

21

การคลํา 1. การคลําทั่วไปบริเวณทรวงอก หาตําแหนงที่เจ็บ บริเวณที่มีความ

ผิดปกติโดยคอยๆ คลํา บริเวณที่ผูรับบริการบอกวาเจ็บเบาๆ มีกอน แผล ฝ หรือไม

2. การคลําดูการเคลื่อนไหวของทรวงอกและปอดทั้งสองขาง (Thoracic expansion) ขณะที่หายใจเขาออก การคลําเพื่อดูการเคลื่อนไหว ใหผูรับบริการอยูในทานั่ง ผูตรวจวางมือทั้ง 2 ขาง ทาบลงดานหลังใหนิ้วหัวแมมือวางขนานกันตรงระหวางกระดูกซี่โครงที่ 10 นิ้วที่เหลือทั้ง 4 นิ้ว วางแผไปตามแนวดานขางของขอบกระดูกซี่โครง ใหผูรับบริการหายใจเขาออกลึกๆแรงๆ ทรวงอกจะขยายตัวออกทําใหฝามือ นิ้วมือที่วางไวบนทรวงอกทั้ง 2 ขางแยกหางออกจากกัน สังเกตดูการเคล่ือนไหว ปลายนิ้วแมมือที่ขยายออกจากกันตามจังหวะการหายใจ และดูวาขางใดแยกออกจากจุดกึ่งกลางกระดูกสันหลังมากกวา แสดงวาทรวงอกหรือปอดขางนั้นขยายตัวไดมากกวา ถาทรวงอกมีการเคลื่อนไหวนอยหรือไมเคล่ือนไหว อาจมีพยาธิสภาพเกิดข้ึนที่ปอด เยื่อหุมปอด (ดังภาพที่ 4)

ภาพที่ 4 แสดงการคลําเพื่อดูการเคลื่อนไหวทรวงอกดานหลัง

Page 23: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

22

การตรวจการเคล่ือนไหวและการขยายของทรวงอกทางดานหนาที่ชายโครง ใชนิ้วหัวแมมือทั้ง 2 วางใกลกระดูก Xyphoid process สังเกตดูการเคล่ือนไหว ปลายนิ้วแมมือที่ขยายออกจากกันตามจังหวะการหายใจ (ดังภาพที่ 5)

ภาพที่ 5 แสดง การเคล่ือนไหวทรวงอกดานหนา

3. การคลําการส่ันสะเทือนของเสียงสะทอน (Tactile fremitus) โดยการใชฝามือขางใดขางหนึ่ง หรือทั้ง 2 ขางวางบนผนังอกดานหลังและดานหนา ในตําแหนงที่ตรงกันทั้ง 2 ขางจากบนลงลาง ใหผูรับบริการนับเลข หนึ่ง สอง สาม ดังๆ การนับเลขซ้ําๆ กัน ทําใหเสียงที่เปลงออกมาเปนเสียงระดับเดียวกัน เสียงที่ผูรับบริการเปลงออกมาจะเกิดความส่ันสะเทือนกับอากาศในหลอดลม กระจายผานเนื้อเยื่อของปอดมายังผนังทรวงอกมากระทบมือผูตรวจ ในภาวะปกติความสั่นสะเทือนจะเทากันทั้ง 2 ขาง ความส่ันสะเทือนของเสียงจะลดนอยลงไปเม่ือมีน้ําหรือลมกั้นระหวางผนังทรวงอกกับเนื้อปอดหรือมีการอุดตัน

Page 24: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

23

ของหลอดลมขางใดขางหน่ึง ทําใหการกระจายความสั่นสะเทือนของเสียงมายังผนังทรวงอกไดนอยลง (ดังภาพที่ 6)

ภาพที่ 6 แสดงการคลําการส่ันสะเทือนของเสียงสะทอน การเคาะ การเคาะปอดทางดานหลัง ใหผูรับบริการอยูในทานั่ง เร่ิมเคาะจากชองซี่โครงดานบนไลลงดานลาง หรือเคาะที่ซี่โครงขางซายครั้งหนึ่งขางขวาคร้ังหนึ่งในตําแหนงที่ตรงกัน เพื่อเปรียบเทียบความโปรงความทึบของปอดทั้ง 2 ขาง ซึ่งจะมีเสียงกังวานเทากัน ถาไมเทากันแสดงวามีความผิดปกติเกิดข้ึน ไมเคาะตรงสวนของกระดูกสะบัก เพราะมีกลามเนื้อและกระดูกหนาจะไมเกิดเสียง การเคาะปอดทางดานขาง เคาะจากชองวางระหวางซ่ีโครงดานบนลงมาดานลาง (ซี่โครงที่ 4 ถึง 7) ทั้งดานซายและขวา

Page 25: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

24

การเคาะปอดทางดานหนาใหผูรับบริการนอนหงาย เคาะที่กระดูกไหปลารา บริเวณใตกระดูกไหปลารา และชองกระดูกซ่ีโครงที่ 2 ถึง 6 โดยเคาะหางจาก Sternum ประมาณ 2.5 เซนติเมตร เคาะเปรียบเทียบกันทั้ง 2 ขาง เคาะจากบนลงลาง ผูตรวจจะวางมือขางหนึ่ งโดยนิ้วกลางใหแนบกับทรวงอกของผูรับบริการ และใชนิ้วกลางเคาะตรงตําแหนงนิ้วกลางที่แนบกับทรวงอกของผูรับบริการ การตรวจโดยการเคาะจะตองเคาะทั้งดานหนา ดานขาง และดานหลัง เสียงสะทอนที่เกิดข้ึนจากการเคาะเรียกวา Percussion note ซึ่งความถี่หางตางกันตามความหนาแนนของเนื้อเยื่อที่อยูใตผนังทรวงอก ตามปกติจะเคาะทึบที่ระดับกระดูกซ่ีโครงที่ 6 ทางดานหนา และ ระดับกระดูกซี่โครงที่ 10 ทางดานหลัง (ดังภาพที่ 7)

ภาพที่ 7 แสดง การเคาะปอด (Jarvis, 2008. p. 453)

Page 26: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

25

ลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจากการเคาะ เสียงทึบสนิท (Flatness) การเคาะปอดไดเสียงทึบมาก แสดงวามีของเหลว เชน น้ํา หนอง เลือด อยูในชองปอดเปนจํานวนมาก เปนตน เสียงทึบ (Dullness) เปนเสียงทึบที่ดังนอยกวาเสียงแรก พบในรายที่เยื่อหุมปอดหนาข้ึน ปอดแฟบ ปอดบวม เสียงกังวาน (Resonance) เปนเสียงที่เกิดจากการเคาะบริเวณเนื้อปอดปกติ เสียงโปรง (Hyper resonance) เปนเสียงที่เกิดข้ึนจากการเคาะบริเวณที่มีลมอยูมาก พบในโรคถุงลมโปงพอง (Emphysema) และลมในชองเยื่อหุมปอด (Pneumothorax) เสียงโปรงมาก (Tympany) เปนเสียงทีเ่คาะบริเวณทีม่ีฟองอากาศ เชน กระเพาะอาหาร ทอง ถาเคาะปอดไดเสียงนี้แสดงวามีลมในชองปอดจํานวนมาก

ทรวงอกดานหลัง

ทรวงอกดานหนา

ภาพที่ 8 แสดงเสียงที่เกิดจากการเคาะตําแหนงตางๆ (Harkreader, Hogan, & Thobaben, 2007. p. 165)

Page 27: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

26

การฟง การฟงเปนการตรวจภายในทรวงอกที่สําคัญและจําเปน โดยใชหูฟง

(Stethoscope) ขณะฟงตองสังเกต 1. เสียงหายใจ (Breath sound) เกิดข้ึนจากการเคลื่อนไหวของอากาศ

ในหลอดลม ในขณะที่หายใจเขาและหายใจออกของคนปกติ ใหผูรับบริการหายใจเขาออกแรงๆ จะทําใหไดยินเสียงหายใจผานหลอดลมและปอดไดชัดเจน เสียงหายใจที่ไดยินตามตําแหนงตางๆ (ดังภาพที่ 9) ไดแก 1.1 เสียงหลอดลมใหญ (Bronchial or tracheal breath sound) เปนเสียงที่เกดิจากลมผานเขาออกในหลอดลมใหญ ฟงไดยินตรงตําแหนงที่หลอดลมต้ังอยู บริเวณคอดานหนาและคอดานหลัง ลักษณะการหายใจ ขณะหายใจเขาส้ัน และหายใจออกยาว 1.2 เสียงหลอดลมและถุงลม (Broncho–Vesicular breath sound) ฟงไดยินบริเวณ สวนกลางของทรวงอกดานบน ทั้งดานหนาและดานหลัง มีลักษณะเปนเสียงผสมระหวางเสียงถงุลมกับเสียงหลอดลม 1.3 เสียงถุงลม (Vesicular breath sound) ฟงบริเวณทรวงอกตรงตําแหนงของปอดทั้ง 2 ขาง ทัง้ดานหนาและดานหลัง เปนเสียงทีเ่กิดจากลมผานเขาออกในเนื้อเยื่อปอด ลักษณะเสียงหายใจที่ไดยนิขณะหายใจเขาจะดังและยาวกวาขณะหายใจออก

Page 28: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

27

ภาพที่ 9 แสดง ตําแหนงตางๆ ทีฟ่งเสียงหายใจ (Wilson & Gidden, 2009. p. 219)

2. ความกองของเสียง (Voice sound ) คือเสียงที่พูดออกมาจากลําคอ เชนใหนับเลข 99 – 99 – 99 ใชหูฟงตามตําแหนงตางๆ บนผนงัทรวงอกจะไดยินความกองของเสียงทางหฟูง เรียกวา Vocal fremitus หรือ Auditory fremitus ทั้งนีเ้พราะเนื้อเยื่อปอดมีคุณสมบัติในการนําคล่ืนเสียง ในคนปกติปอดทั้ง 2 ขางมีความกองของเสียงเทาๆ กัน โดย ความแรงและความกองของเสียงข้ึนอยูกับเนื้อเยื่อของปอด การฟงตองฟงทรวงอกทัง้ซายและขวาเพื่อเปรียบเทยีบกนั ถาความกองของเสียงมลัีกษณะดังและชัดกวาปกติ เรียกวา Bronchophony พบไดในภาวะ Consolidation ของเนื้อปอด เชน ปอดอักเสบ เปนตน แตถาความกองของเสียงลดนอยลงไป เสียงที่ไดยินเรียก Whispering

Page 29: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

28

pectoriloguy แสดงวามีของเหลวหรือลมมาก้ันระหวางผนังหนาอกกบัหลอดลม (ดังภาพที1่0)

ภาพที่ 10 แสดงการฟงเสียงหายใจตามตําแหนงตางๆ

3. เสียงผิดปกติอ่ืนๆ (Adventitious sound) แสดงวามีพยาธิสภาพเกิดข้ึนในหลอดลมและปอด เสียงผิดปกติที่พบบอย ไดแก 3.1 Crepitation เปนเสียงที่เกิดข้ึนในหลอดลมและถุงลม หลอดลมแขนงเล็กๆ ที่มีน้ําเสมหะ ขณะหายใจออกถุงลมจะแฟบ ถามีน้ําเมือกหรือเสมหะอยูจะทําใหถุงลมแฟบติดกัน พอหายใจเขาลมจะดันถุงลมใหพองออก จึงเกิดเสียงกรอบแกรบ ลักษณะของเสียงที่ไดยินจะคลายเสียงแตกของฟองอากาศ หรือเสียงเหมือนขยี้ผมใกลๆหู

Page 30: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

29

3.2 Rhonchi และ Wheeze เกิดจากทางเดินหายใจแคบหรือตีบลง เนื่อง จากการเกร็งของกลามเนื้อหลอดลม การบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจ มีเสมหะหรือเนื้องอก ทําใหมีการอุดตันเปนบางสวน ลักษณะของเสียงที่ไดยินคลายเสียงกรนของแมวดังตอเนื่องกัน เสียงที่ไดยินจะแตกตางกันเปนเสียงสูงเสียงตํ่าข้ึนอยูกับขนาดการตีบของรูหลอดลม Sonorous rhonchi เปนเสียงที่ลมหายใจวิ่งผานหลอดลมที่ขรุขระจากการอักเสบหรือมีเสมหะเหนียวติดอยูเปนหยอมๆ ถูกขับออกมาไมได เสียงที่ไดยินจะเปนเสียงตํ่า ดังกรอบแกรบ ไดยินทั้งชวงหายใจเขาและหายใจออก แตจะไดยินชัดเจนขณะหายใจออกมากกวาขณะหายใจเขา เกิดข้ึนในหลอดลมขนาดใหญ Sibilant rhonchi หรือ Wheeze เกิดข้ึนในหลอดลมเล็กๆ มีการบีบรัดตัวของกลามเนื้อหลอดลม ทําใหลมหายใจผานหลอดลมแคบๆ ที่มีความตานทานสูงดวยความลําบากจึงทําใหเกิดเสียงสูง ลักษณะเสียงที่ไดยินดังวี้ดๆ หรือ ฮื้อๆ อาจไดยินโดยไมตองใชหูฟง ไดยินในขณะหายใจออกมากกวาหายใจเขา พบในผูที่มีอาการหอบ หืดหลอดลมอักเสบ 3.3 Friction rub or Plural rub เปนเสียงที่เกิดข้ึนเนื่องจากเยื่อหุมปอดเกิดการอักเสบ เวลาหายใจทําใหเกิดเสียงเสียดสีกันข้ึน ลักษณะเสียงคลายเสียงที่ใชฝามือปดหูขางหนึ่งไวแลวใชมืออีกขางหน่ึงถูไปมาบนหลังมือของฝามือขางที่ปดหูไว จะไดยินเสียงเสียดสีคลายเสียงของเยื่อหุมปอดเสียดสีกัน ในคนปกติเยื่อหุมปอดเสียดสีกัน ไมมีเสียงเพราะเยื่อหุมปอดเรียบและมีน้ําหลอล่ืนอยู เสียง Plural rub จะไดยินชัดบริเวณทรวงอกดานขางใตรักแร

Page 31: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

30

การตรวจทางหองปฏิบัติการ การตรวจทางหองปฏิบัติการ ที่เกี่ยวของกับระบบหายใจที่พบบอย

ไดแก 1. การตรวจเสมหะ (Sputum examination/sputum culture) วิธีการเก็บเสมหะ ควรเก็บเสมหะในตอนเชาหลังต่ืนนอน โดยที่ยังไมตองแปรงฟนลางหนา บวนเสมหะใสภาชนะที่เก็บสงตรวจ ดังตอไปนี้

1.1. ตรวจดวยกลองจุลทรรศนโดยไมยอมสี จะชวยแยกเสมหะทีติดเชื้อแบคทีเรีย และไมใชแบคทีเรีย

1.2. ตรวจดวยกลองจุลทรรศนโดยยอมสี โดย Gram’s strain ดูรูปรางลักษณะเช้ือแบคทีเรีย 1.3. การเพาะเช้ือและทดสอบความไวของยา (Culture and sensitivity) บอกชนิดของแบคทีเรียที่เปนสาเหตุของการติดเช้ือ ยาปฏิชีวนะที่ไวตอเชื้อนั้น การสังเกตสี และลักษณะเสมหะ สามารถระบุไดวาบุคคลนั้นมีการติดเช้ือโรคประเภทไหน เชน เสมหะลักษณะเหลวใส (Watery) แสดงวามีการติดเชื้อไวรัส พบใน Pulmonary congestion เสมหะลักษณะเปนมูกใส (Mucoid) พบในโรคหวัด หลอดลมอักเสบ เสมหะเปนหนอง (Pururent) แสดงวาติดเช้ือแบคทีเรีย พบใน Bronchiectasis , Lung abscess ลักษณะเสมหะเปนฟองสีชมพู (Frothy) พบใน Pulmonary edema สวนสีของเสมหะ ก็สามารถบอกไดวาบุคคลนั้นติดเช้ืออะไร เชน เสมหะสีครีม (Creamy) พบใน Staphylococcal infection เสมหะสีเขียว แสดงวามีการติดเชื้อ

Page 32: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

31

Pseudomonas เสมหะสีสนิมเหล็ก (Rusty) เสมหะเปนเลือด (Reddish) เชน วัณโรค มะเร็ง เปนตน 1.4. การสงเสมหะสงตรวจ Cytology เพื่อหาเซลลมะเร็ง 2. การตรวจทางโลหิตวิทยา (Hematology)

2.1 การตรวจนับเม็ดเลือด (Complete blood count, CBC) โดยการเจาะเลือดประมาณ 2-3 ซีซี ใสในหลอดที่มีสาร EDTA ปองกันการแข็งตัวของเลือด ถามีการติดเช้ือจะพบเม็ดเลือดขาวจํานวนมาก จํานวน Neutrophil จะสูงข้ึนในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย 2.2 การวิเคราะหกาซในเลือดแดง (Arterial blood gas analysis) โดยการเจาะเลือดจากบริเวณ Radial, Brachial, Femoral artery ดูดเลือดใส Syringe ที่ฉาบ Heparin เพื่อปองกันการแข็งตัวของเลือด แลวเสียบจุกยาง ภายหลังเจาะตองเอา Specimen แชในน้ําแข็งเพื่อปองกันการเกิดเมตาบอลิสมของเม็ดเลือด ซึ่งอาจไดคาที่ผิดปกติได ระดับกาซในเลือดแดงชวยบอกถึงความผิดปกติในการแลกเปล่ียนกาซเกี่ยวกับการรับ O2 และการกําจัด CO2 ภาวะกรด - ดางรางกาย

คาปกติ pH (7.35–7.45) PaO2 (90–100 mmHg) PaCO2 (35–45 mmHg) Actual HCO3 (22–26 mEq / L) O2 (saturation 97 %) 3. การตรวจสารน้ําในชองปอด (Pleural fluid) การตรวจลักษณะเซลล (Cytology) โดยแพทยจะเจาะปอด เพื่อนําสารน้ําในชองปอดมาตรวจทางหองปฏิบัติการ

Page 33: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

32

การตรวจพิเศษ การตรวจพิเศษที่เกี่ยวของกับระบบหายใจที่พบบอย ไดแก การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test) เปนการ

ตรวจโดยใชเคร่ืองมือตางๆ ไดแก Spirometer ตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเขาและออกจากปอด การสองกลองเขาทางหลอดลม (Brochoscopy) วิธีนี้ทําโดยใชกลองสองสอดเขาทางปาก หรือจมูก ลงไปหลอดลม จากนั้นแพทยจะไดภาพโดยตรงของหลอดลมและทอหลอดลมในปอด จนถึงกอนเนื้อ แพทยจะดูดหรือตัดชิ้นเนื้อบริเวณนั้นมาเพื่อตรวจทางหองปฏิบัติการตอไป

เอกซเรยปอด (Chest x–ray) คือ การถายภาพปอด ซึ่งเปนอวัยวะภายในทรวงอกลงบนแผนฟลม เมื่อนําฟลมไปผานขบวนการลาง จะไดภาพเอกซเรยของปอด ซึ่งแพทยจะใชประกอบการวินิจฉัยโรค สรุป การประเมินภาวะสุขภาพระบบทางเดินหายใจที่ถูกวิธีและมีความแมนยํา เปนส่ิงสําคัญที่จะชวยในการแกไขความผิดปกติ ลดอาการแทรกซอน ของผูรับบริการ ดังนั้นพยาบาลในฐานะที่อยูใกลชิดผูรับบริการ ตองมีความรูในเร่ืองการซักประวัติ การตรวจระบบทางเดินหายใจ และสามารถประเมินความผิดปกติไดอยางถูกตอง เพื่อผูรับบริการไดรับการแกไขความผิดปกติที่เกิดข้ึน สามารถฟนคืนสูภาวะปกติไดอยางรวดเร็ว

Page 34: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

33

คําถามทายบท ..................1. ผูใชบริการใหประวัติวาหายใจลําบากขณะนอนอานหนงัสือ แสดงวาผูใชบริการรายนี้มีภาวะ Paroxymal nocturnal dyspnea ..................2. ผูใชบริการทีม่ีอาการไขสูง ไอ เจ็บคอ พยาบาลควรซกัประวัติการเดินทางไปตางประเทศรวมดวย ..................3. ทรวงอกที่ปกติ ควรมีเสนผาศูนยกลางดานหนาลากไปดานหลัง และดานขาง มีขนาด 1:1 ..................4. ลักษณะการหายใจที่สลับเปนชวงๆ มีขวงหยุดหายใจสลับกับชวงหายใจซ่ึงแตละเวลาไมเทากนั เรียกวา Cluster respiration ..................5. การเคาะปอดที่ถูกตอง ควรเคาะตรงตําแหนงซี่โครง ..................6. การเคาะปอดเสียงปกติคือเสียง Resonance ..................7. การฟงเสียงหายใจเขา จะฟงไดส้ันกวาเสียงหายใจออก ..................8. การเก็บเสมหะสงตรวจที่ไดผลถูกตอง ควรเก็บเสมหะสงตรวจหลังจากต่ืนนอนตอนเชา ..................9. การสองกลองเขาทางหลอดลม สามารถนําช้ินเนื้อปอดมาตรวจหาความผิดปกติได ..................10. ผูรับบริการที่มีการติดเชื้อไวรัส ลักษณะเสมหะจะมีสีเขียว เฉลย ขอ 1 ผิด ขอ 2 ถูก ขอ 3 ผิด ขอ 4 ถูก ขอ 5 ผิด ขอ 6 ถูก ขอ 7 ผิด ขอ 8 ถูก ขอ 9 ถูก ขอ 10 ผิด

Page 35: 1 คํานํา¸ารประเมิน... · 1 คํานํา บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ ”

34

บรรณานุกรม

จินตนา ศิรินาวิน และสาธิต วรรณแสง. (2549). ทักษะทางคลินิก: Clinical

skills. (พิมพคร้ังที่ 2). กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบาน. วิทยา ศรีมาดา. (2547) การสัมภาษณประวัติและการตรวจรางกาย (พิมพ

คร้ังที่ 11) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพยูนิต้ี พับลิชชิ่ง. Harkreader, H., Hogan, M.A., & Thobaben, M. (2007). Fundamentals of

nursing caring and clinical judgment. St. Louis: Saunders. Jarvis, C. (2008). Physical Examination & Health Assessment. (5th ed.).

St. Louis: Saunders. Wilson, S.F., & Gidden, J.F. (2009). Health assessment for nursing

practice. (4th ed.). St. Louis: Mosby.