13
เศรษฐศาสตรการเลือกตั้ง 2550 คุปต พันธหินกอง ∗∗ ในสังคมที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยหลักการทั่วไปถือวาอํานาจอธิปไตยนั้น มาจากประชาชน ประชาชนเปนผูใหการยอมรับการมีอยูของผูปกครอง การกระทําใดๆของ ผูปกครองหรือรัฐบาลนั้นจะตองไดรับยินยอม (Consent) จากประชาชน อยางไรก็ตามภายใตสังคมทีมีประชาชนเปนจํานวนมาก การสอบถามความยินยอมจากประชาชนทุกครั้งที่มีการตัดสินใจทาง การเมืองจึงเปนเรื่องยาก ลาชา และใชตนทุนที่สูง รูปแบบของประชาธิปไตยสมัยใหมจึงมอบอํานาจ การตัดสินใจและสิทธิของประชาชนไปยัง "ตัวแทน" ที่ไดรับการเลือกจากประชาชนใหทําหนาที่นีแทนพวกเขา ประชาธิปไตยจึงไดพัฒนาเปนระบบตัวแทน (Representative Democracy) เชนนี้แลวจึง ตอง " คัดสรร " ตัวแทนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม และมีความชอบธรรมที่จะเปนตัวแทนของ ประชาชนทั้งประเทศ นั่นคือจะตองเปดโอกาสใหผูที่มีความตองการจะเปนตัวแทนเขามาแขงขัน ประชันความสามารถกัน โดยมีประชาชนเปนผูตัดสินวาใครจะเปนผูชนะ ดังนั้น "การเลือกตั้ง" จึง เปนมรรควิธีที่ประเทศประชาธิปไตยตางใชในการคัดเลือกบุคคลเขาเปนรัฐบาล และถือเปนกิจกรรม ที่มีความสําคัญในทางกระบวนการทางการเมือง เพื่อการแสดงออกถึงเจตจํานงของประชาชน เมื่อมองในเชิงเศรษฐศาสตรภายใตกรอบตลาดแขงขันสมบูรณแลว จะพบวาการเลือกตั้งนั้น มีลักษณะคลายการแขงขันในระบบตลาดอยูไมนอย ในแงที่วาความสัมพันธระหวางพรรคการเมือง กับประชาชนมีการแลกเปลี่ยนกัน พรรคการเมืองมีสถานะคลายผูผลิตในตลาด (Producer) ที่ไมได ผลิตสินคาและบริการขึ้นมา แตผลิต " สัญญา " อยางหนึ่งขึ้นมาวาจะกระทําการบางอยางใหแก ประชาชน เรียกวา " นโยบาย " ซึ่งประกอบไปดวยนโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการ ตางประเทศ และประชาชนอยูในฐานะผูบริโภค (Consumer) โดยคะแนนเสียงในมือประชาชนคือ สื่อกลางที่ใชแลกเปลี่ยน ประชาชนจะใชคะแนนเสียงเหลานั้นในการบริโภค " นโยบาย " ที่ตนเอง พอใจมากที่สุด และในเวลาตอมาหากพรรคที่ชนะการเลือกตั้งไมสามารถ รักษาสัญญาใหไวกับ ประชาชนได ประชาชนก็สามารถไปลงคะแนนใหพรรคอื่นๆไดในการเลือกตั้งครั้งตอไป ใน ขณะเดียวกันพรรคที่ไมมี .. ไดรับเลือกตั้ง ในระยะยาวก็จะตองออกจากตลาดไป อยางไรก็ตามใน สังคมการเมืองจริงๆแลวไมไดมีเงื่อนไขตามนี้ทั้งหมด เชน มีเรื่องตนทุนธุรกรรม (Transaction Cost) เขามาเกี่ยวของ นโยบายในตลาดไมไดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ (Homogeneous) มีพรรค การเมืองบางพรรคที่มีขนาดใหญ และมีอํานาจเหนือตลาด และที่สําคัญคือประชาชนมีความทรงจํา บริบททางประวัติศาสตรเขามาเกี่ยวของ ดังนั้นตัวแบบตลาดแขงขันสมบูรณจึงไมนาจะเปนคําอธิบาย ที่เหมาะสมกับการวิเคราะหการเลือกตั้ง บทความนําเสนอในงานโครงการแขงขันตอบปญหาทางเศรษฐศาสตร และนําเสนอบทความงานวิจัย/บทความยอ ประจําป 2550 คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยแมโจ .เชียงใหม เมื่อวันที23 มกราคม 2551 ∗∗ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปที2 ภาคภาษาไทย คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

Embed Size (px)

DESCRIPTION

การวิเคราะห์์การเลือกตั้งของไทยในปี 2550 ด้วยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ (บทความนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในโครงการแข่งขันเขียนบทความของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2550 จัดโดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

Citation preview

Page 1: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

เศรษฐศาสตรการเลือกตั้ง 2550∗

คุปต พันธหินกอง∗∗

ในสังคมที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยหลักการทั่วไปถือวาอํานาจอธิปไตยนั้นมาจากประชาชน ประชาชนเปนผูใหการยอมรับการมีอยูของผูปกครอง การกระทําใดๆของผูปกครองหรือรัฐบาลนั้นจะตองไดรับยินยอม (Consent) จากประชาชน อยางไรก็ตามภายใตสังคมที่มีประชาชนเปนจํานวนมาก การสอบถามความยินยอมจากประชาชนทุกครั้งที่มีการตัดสินใจทางการเมืองจึงเปนเรื่องยาก ลาชา และใชตนทุนที่สูง รูปแบบของประชาธิปไตยสมัยใหมจึงมอบอํานาจการตัดสินใจและสิทธิของประชาชนไปยัง "ตัวแทน" ที่ไดรับการเลือกจากประชาชนใหทําหนาที่นี้แทนพวกเขา ประชาธิปไตยจึงไดพัฒนาเปนระบบตัวแทน (Representative Democracy) เชนนี้แลวจึงตอง "คัดสรร" ตัวแทนที่มีคุณสมบัติที่ เหมาะสม และมีความชอบธรรมที่จะเปนตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ นั่นคือจะตองเปดโอกาสใหผูที่มีความตองการจะเปนตัวแทนเขามาแขงขันประชันความสามารถกัน โดยมีประชาชนเปนผูตัดสินวาใครจะเปนผูชนะ ดังนั้น "การเลือกตั้ง" จึงเปนมรรควิธีที่ประเทศประชาธิปไตยตางใชในการคัดเลือกบุคคลเขาเปนรัฐบาล และถือเป ็นกิจกรรมที่มีความสําคัญในทางกระบวนการทางการเมือง เพื่อการแสดงออกถึงเจตจํานงของประชาชน เมื่อมองในเชิงเศรษฐศาสตรภายใตกรอบตลาดแขงขันสมบูรณแลว จะพบวาการเลือกตั้งนั้นมีลักษณะคลายการแขงขันในระบบตลาดอยูไมนอย ในแงที่วาความสัมพันธระหวางพรรคการเมืองกับประชาชนมีการแลกเปลี่ยนกัน พรรคการเมืองมีสถานะคลายผูผลิตในตลาด (Producer) ที่ไมไดผลิตสินคาและบริการขึ้นมา แตผลิต "สัญญา" อยางหนึ่งขึ้นมาวาจะกระทําการบางอยางใหแกประชาชน เรียกวา "นโยบาย" ซ่ึงประกอบไปดวยนโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการตางประเทศ และประชาชนอยูในฐานะผูบริโภค (Consumer) โดยคะแนนเสียงในมือประชาชนคือส่ือกลางที่ใชแลกเปลี่ยน ประชาชนจะใชคะแนนเสียงเหลานั้นในการบริโภค "นโยบาย" ที่ตนเองพอใจมากที่สุด และในเวลาตอมาหากพรรคที่ชนะการเลือกตั้งไมสามารถ “รักษาสัญญา” ท ี่ใหไวกับประชาชนได ประชาชนก็สามารถไปลงคะแนนใหพรรคอื่นๆไดในการเลือกตั้งครั้งตอไป ในขณะเดียวกันพรรคที่ไมมี ส.ส. ไดรับเลือกตั้ง ในระยะยาวก็จะตองออกจากตลาดไป อยางไรก็ตามในสังคมการเมืองจริงๆแลวไมไดมีเงื่อนไขตามนี้ทั้งหมด เชน มีเร่ืองตนทุนธุรกรรม (Transaction Cost) เขามาเกี่ยวของ นโยบายในตลาดไมไดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ (Homogeneous) มีพรรคการเมืองบางพรรคที่มีขนาดใหญ และมีอํานาจเหนือตลาด และที่สําคัญคือประชาชนมีความทรงจํา ม ีบริบททางประวัติศาสตรเขามาเกี่ยวของ ดังนั้นตัวแบบตลาดแขงขันสมบูรณจึงไมนาจะเปนคําอธิบายที่เหมาะสมกับการวิเคราะหการเลือกตั้ง ∗ บทความนําเสนอในงานโครงการแขงขันตอบปญหาทางเศรษฐศาสตร และนําเสนอบทความงานวิจัย/บทความยอ ประจําป 2550 ณ คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยแมโจ จ.เชียงใหม เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2551 ∗∗ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปที่ 2 ภาคภาษาไทย คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

Page 2: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

การเลือกตั้งภายใตรัฐธรรมนูญ 2550 มีกติกาที่เปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นไดชัดที่สุดก็คือจํานวนส.ส.ลดลงเหลือ 480 คน การแบงเขตเลือกตั้งก็เปลี่ยนแปลงไป รูปแบบบัญชีรายช่ือ (Party List) ไดกลายเปนรูปแบบสัดสวน (Proportional) และรูปแบบแบงเขต จากรูปแบบเขตเดียวมีส.ส.ไดคนเดียว (Single-member Constituency) กลายเปนรูปแบบเขตเดียวสามารถมีส.ส.ไดหลายคน (Multiple-member Constituency) ซ่ึงก็มีทั้งสวนที่ดีและสวนที่เปนขอสังเกตอยูหลายประการ ในทางวิชาการ เร่ืองรูปแบบการแบงเขตเลือกตั้งที่เหมาะสมที่สุดก็ยังเปนประเด็นที่ยังตองถกเถียงเพื่อหาคําตอบกันอยู แมจะมีขอครหาวาการเปลี่ยนแปลงพรมแดนการเลือกตั้งครั้งนี้เปนไปเพื่อใหมีการไดเปรียบเสียเปรียบในบางพรรคการเมืองก็ตาม (Gerrymandering)1 แตโครงสรางตลาด ก็ยังไมไดเปลี่ยนแปลงไปอยางชัดเจน และผลการเลือกตั้งก็เปนไปตามที่คนสวนใหญไดคาดการณกันเอาไว

หากจะวิเคราะหถึงโครงสรางตลาดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2550 ที่ผานมาก็จะพบวา ทางฝงประชาชน (ผูบริโภค) มีอยูเปนจํานวนมาก โดยมีจํานวนผูมีสิทธิเลือกตั้งจํานวน 44,002,593 คน ผูมาใชสิทธิจํานวน 32,759,009 คน ดานฝงพรรคการเมือง (ผูผลิต) อยูเปนจํานวนมากมายในตลาด โดยมีพรรคที่สงผูแขงขันลงสมัครรับเลือกตั้งอยูถึง 31 พรรค แตสวนแบงตลาดกลับมีความมีความกระจุกตัว (Concentration) อยูคอนขางสูง นั่นคือมีเพียงไมกี่พรรคการเมืองเทานั้นที่ครอบครองเสียงสวนใหญในการเลือกตั้งเอาไว แสดงใหเห็นไดจากตารางดานลาง

ตารางแสดงผลการเลือกตั้ง - จํานวน ส.ส. แยกตามภาค

พรรค เหนือ กลาง อีสาน ใต กทม. รวม ส.ส.แบงเขต

รวม ส.ส.สัดสวน

รวมสุทธิ

พลังประชาชน 47 39 102 2 9 199 34 233 ประชาธิปตย 16 35 5 49 27 132 33 165 ชาติไทย 6 18 7 2 - 33 4 37

เพื่อแผนดิน 1 1 12 3 - 17 7 24 รวมใจไทยฯ 2 - 6 - - 8 1 9 มัชฌิมาธิปไตย 2 2 3 - - 7 - 7 ประชาราช 1 3 - - - 4 1 5

รวม 75 98 135 56 36 400 80 480

ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการการเลือกต้ัง. ขอมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2550 *ปจจุบัน (18 มกราคม พ.ศ.2551) กกต.รับรองส.ส.ไปแลว 460 คนจาก 480 คน ซึ่งเปนจํานวนกวา 95% แลว ด ังนั้นผูเขียนจึงขอใชตารางนี้ตอไปเพราะตัวเลขถือวาเสถียรมากพอสมควรแลว

1 Gerrymandering เกิดขึ้นจากผูวาการรัฐ Massachusetts คือ Elbridge Gerry ในขณะนั้นเห็นวารูปรางของเขตเลอืกตั้งมีลักษณะคลายตวั Salamander ใชในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเขตการเลือกตั้งที่เปนสาเหตุใหคะแนนนิยมของพรรคการเมืองหนึ่งถูกตัดทอนไปหรือไดเพิ่มขึ้นอยางไมยุตธิรรม

Page 3: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

สัดสวนการกระจุกตัวสามารถคํานวณไดจาก Concentration Index (CR)

n

n

iin sssssCR ++++== ∑

=

...3211

โดยที่ หาไดจากจํานวนส.ส.ที่พรรค i สามารถทําได หารดวยจํานวนส.ส.ทั้งหมด ในที่นี้ ส.ส.ทั้งหมดมีจํานวน 480 คน หากจะลองคํานวณดูวา 4 อันดับพรรคแรกที่ไดคะแนนเสียงมากที่สุด ม ีอํานาจตลาดเทาใด สามารถทําไดโดยการแทนคาขอมูลในตาราง ด ังนี้

is

95625.0480

24371652334 =

+++=CR

แสดงวา 4 พรรคแรกที่ไดคะแนนเสียงมากที่สุดมีอํานาจตลาดสูงถึง 95.625% ของสวนแบงการตลาดทั้งหมดในประเทศ หากจะเปรียบเทียบสัดสวนการกระจุกตัวของแตละภาค สำหรับจํานวน ส.ส. แบบแบงเขต เพื่อดูวาภาคใดมีสัดสวนการผูกขาดสูงกวาภาคอื่นๆ ก ็ทําไดดวยวิธีเดิม แตเปลี่ยนจํานวนฐานไปตามแตละภาค ดังนี้

ภาคเหนือ: 9467.075

2616474 =

+++=CR คิดเปน 94.67%

ภาคกลาง: 9694.098

31835394 =

+++=CR คิดเปน 96.94%

ภาคอีสาน: 9407.0135

67121024 =

+++=CR คิดเปน 94.07%

ภาคใต: 00.156

223494 =

+++=CR คิดเปน 100%

กรุงเทพฯ: 00.136

009274 =

+++=CR คิดเปน 100%

ส่ิงที่นาสนใจคือภาคเหนือและภาคอีสานมีระดับการกระจุกตัวต่ํากวาคาเฉลี่ยของประเทศ แมจะตางเพียงเล็กนอยก็ตาม ในขณะที่ภาคใตและกรุงเทพฯ การกระจุกตัวใน 4 อันดับแรกมีคาสูงที่สุดคือรอยละ 100 แสดงใหเห็นวาตลาดการเลือกตั้งมีผูผูกขาดรายใหญเพียงไมกี่รายในทุกภูมิภาค เพราะเหตุใดในเวทีการเมืองถึงมีลักษณะการผูกขาดโดยพรรคใหญ? คําตอบนาจะเปนเรื่องของ Wasted Votes หรือคะแนนเสียงที่สูญเปลา เนื่องจากการเลือกตั้ง โดยเฉพาะระบบเขตเดียวเบอรเดียวเปนระบบแพคัดออก และผูชนะในเขตนั้นจะไดเปนส.ส.ทันที (Winner Takes All) หากผูเลือกตั้งเปนผูมีเหตุผลและไมไดตัดสินใจในหองมืด กลาวคือ เปดรับฟงขาวสารตางๆ เขาจะทราบวาพรรคใดหรือผูลงสมัครในเขตตนคนใด “มาแรง” คลายคลึงกับ Bandwagon Effect ในทางเศรษฐศาสตร2 ดังนั้นจึงไมมีประโยชนที่เขาจะตัดสินใจเลือกพรรคขนาดเล็กเพราะคะแนนเสียงเพียง 1 เสียงของตนไมอาจสรางความเปลี่ยนแปลงใดๆในผลการเลือกตั้งได ยกตัวอยางเชน นางสาว A ช ื่น

2 Bandwagon Effect คือ สภาวะทีค่วามตองการ หรือการตัดสินใจของคนๆหนึ่ง ไมไดเปนอิสระจากปจจัยรอบขางโดยสมบูรณ แตขึ้นอยูกับหรือไดรับอิทธิพล (Externality) จากการตัดสินใจของคนๆอื่นในสงัคม การตัดสินใจจึงมีลักษณะ “แหตามกัน” ไปในแนวทางที่คนสวนใหญเปนกัน มีลักษณะเปนพฤติกรรมรวมหมู (Collective Action) สมมติเหตุการณวา อาจารยสั่งการบานไปเมื่อวาน ว ันนี้อาจารยมาถามนักเรียนวาใครไมไดทํามาบาง หากไมมีใครเริ่มยกมือยอมรับผิดก็จะไมมีใครยกมือเลย แตหากมี 2-3 คนที่ยกมือ คนอื่นๆที่เหลือที่ไมทําการบานก็จะกลายกมือบางเชนกัน

Page 4: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

ชอบผูสมัครจากพรรค X เปนพิเศษ เพราะเปนผูที่มีความสามารถมาก มีผลงาน ม ีวิสัยทัศน และขาวสะอาดมีคุณธรรม แตพรรค X เปนพรรคเล็กและไมดัง ในขณะที่ผูสมัครจากอีกพรรคคือพรรค Y น ั้นมีคุณสมบัติรองลงมา เธอไมคอยจะ “ปล้ืม” ผ ูสมัครคนนี้นักเพราะเห็นวาเปนผูมีอิทธิพลในทองถ่ิน แตดวยพรรค Y เปนพรรคใหญ และคนในเขตเธอมีแนวโนมจะเลือกผูสมัครจากพรรคนี้ ทำใหเธอรูสึกวาลงคะแนนใหผูสมัครพรรค X คงไมสงผลอะไรตอคะแนนรวมเพราะเปนสวนนอยมากๆ ผลลัพธคือเธออาจจะมองหา The Second Best ซ่ึงอาจจะเปนผูสมัครจากพรรค Y ที่มีโอกาสจะไดรับเลือกมากกวา หรืออาจจะเลือกชองไมประสงคจะลงคะแนนก็ได3 แนนอนวาหากคนสวนใหญมีความคิดแบบเธอ ทําใหพรรคการเมืองขนาดใหญมักจะไดรับเลือกตั้ง ส.ส.ในปริมาณมากกวา จึงไมใชเร่ืองแปลกที่เรามักจะเห็นพรรคการเมืองขนาดเล็กแตมีอุดมการณตองลมลงไปในระยะยาว ทำใหผูมีความสามารถที่อยากลงเลนในเวทีการเมืองตองมุงเขาหาพรรคใหญเสมอ แมบางครั้งพรรคดังกลาวจะมีภาพลักษณที่ไมคอยดีก็ตาม แตก็ตองยอมรับเพื่อแลกกับผลประโยชนที่จะไดรับ ทำใหทายที่สุดตองถูกกลืนไปกับพรรคและกลายเปนสีเทาไป อีกลักษณะหนึ่งที่พบในโครงสรางตลาดการเลือกตั้งคือ ความจงรักภักดีในพรรคหรือตราสินคา (Brand Loyalty) ความจงรักภักดีนี้จะสงผลกระทบตอผูบริโภคในแงที่วา ผูบริโภคจะมีความนิยมชมชอบบางสินคาของผูผลิตรายหนึ่งๆมากกวาสินคาเดียวกันจากผูผลิตอื่นๆ (Preference) แมวาสินคานั้นๆจะมีราคาเทากัน ถามองในรูปแบบตลาดพรรคการเมืองก็คือ ความชื่นชมศรัทธากับพรรคการเมืองหรือบุคคลซึ่งอยูในพรรคการเมืองหรือมีสวนเกี่ยวของกับพรรคการเมืองนั้น ซ่ึงสิ่งนี้พบมากในตลาดกึ่งแขงขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) และตลาดผูขายนอยราย (Oligopoly) ความจงรักภักดีในพรรคการเมืองนี้เองที่จะสงผลตอโครงสรางตลาดการเลือกตั้ง ทําใหตลาดมีอุปสรรคในการเขาแขงขัน (Barrier to Entry) เรียกวา การกีดกันเนื่องจากความนิยมชมชอบ (Preference Barrier) กลาวคือพรรคใหมๆที่เกิดขึ้นจะตองลงทุนหาเสียงเปนจํานวนมาก เพื่อใหพรรคของตนเองเปนที่รูจัก การเจาะตลาดใหมๆทําไดยาก ยกตัวอยางเชน ในภาคอีสานนั้นประชาชนนิยมพรรคพลังประชาชน (โดยนิตินัยถือเปนพรรคใหม แตโดยพฤตินัยคือรางทรงของพรรคไทยรักไทยซึ่งไมถือเปนพรรคใหม) มากกวาพรรคอื่นๆ ยากที่พรรคอ่ืนจะเขาไปแยงสวนแบงนี้มาได หรือภาคใตนั้นสวนใหญจะนิยมเลือกพรรคประชาธิปตยมาตลอด หรือในจังหวัดสุพรรณบุรีที่นิยมพรรคชาติไทย เปนตน ดวยเงื่อนไขที่กลาวมา ทำใหตลาดพรรคการเมืองมีแนวโนมจะเกิดปญหา Adverse Selection ไดงาย4 โดยผูสมัครที่เปนคนดี ม ีความสามารถ จะตองไปสังกัดพรรคการเมืองใหญ ซ ึ่งก็เทากับวานําพาตนเองเขาไปสูโครงสรางที่ตนเองมีอํานาจตอรองนอย อาจจะเพราะตนเองมีทุนนอยตองพึ่งพาช่ือเสียงพรรคในการหาเสียง มีขอมูลขาวสารนอย และดวยพัฒนาการของพรรคการเมืองในปจจุบันที่

3 ความจริงแลวไมวาเธอจะเปลีย่นไปลงคะแนนใหพรรคใดๆ หรือไมลงคะแนนก็ตาม ก็ไมสงผลอะไรอยูแลว เพราะการกระทําของเธอเปนสวนนอยเกินกวาที่จะมีอิทธิพลตอคะแนนเสียงโดยรวมได 4 Adverse Selection คือ การที่ตลาดอยูในสภาวะลมเหลว หรือทําใหขนาดของตลาดลดลง มีปริมาณการซื้อขายลดลง หรือตลาดอยูในสภาพที่เรียกวา “ของเลวไลของด”ี อันเนื่องมาจากความไมสามารถของขอมูลขาวสาร

Page 5: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

เนนวินัยของพรรคสูง5 ทำใหผูสมัครตองเชื่อฟงพรรคมาก หรือหากจะไมยอมรับโครงสรางดังกลาวและหันมารวบรวมสมัครพรรคพวกที่มีแนวรวมเดียวกันและตั้งพรรคใหมขึ้นมา ก็มีอุปสรรคกีดกันการเขาตลาดมากมาย ทําใหผูที่จะอยูรอดในตลาดพรรคการเมืองเหลือเพียงแคผูเลนที่มีทักษะทางการเมืองสูง (Politically Sophisticated) มีเลหเหล่ียมที่ดี (Machiavellian)6 และมีวาทศิลป (Rhetoric) เทานั้น ในขณะที่คุณสมบัติดานความรู ความสามารถ ความซื่อสัตยตรงไปตรงมา (Straightforward) ไมไดชวยใหบุคคลคนๆนั้นอยูรอดไดเลยในเวทีการเมือง7

การวิเคราะหในอันดับตอไป จะเนนไปที่รูปแบบการจัดตั้งรัฐบาลโดยใชทฤษฎีเกมเปนกรอบสําคัญ (Game Theory as Framework for Analysis) เพื่อดูถึงความเปนไปไดที่พรรคการเมืองจะรวมกันจัดตั้งรัฐบาลในรูปแบบตางๆกัน โดยผูเขียนจะอาศัยขอสมมติ (Assumption) เพิ่มเติมบางประการเพื่อใหการวิเคราะหมีความชัดเจนมากขึ้น

ขอสมมติประการแรกคือ เรามุงศึกษาถึงพฤติกรรมของพรรคการเมืองเปนหลัก หนวยพื้นฐานในการวิเคราะหจะไมใชระดับปจเจกบุคคลหรือนักการเมืองเพียงคนเดียว (Individual) แตเปนกลุมคนที่รวมตัวกันเปนพรรคการเมือง (Political Party as a Unit for Analysis) ประการที่สองคือ นักการเมืองและนักเลือกตั้ง และกรรมการบริหารพรรคทุกคนในแตละพรรคการเมืองมีความเปนสัตวเศรษฐกิจ (Economic Man) ซ่ึงสอดคลองกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตรทั่วๆไป นั่นคือ พฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกของมนุษยนั้นมุงจะกอใหเกิดประโยชนสูงสุดตอตนเองหรือพรรคตนเอง (Utility Maximization) ภายใตการไตรตรองดวยเหตุผล (Rationality) ในที่นี้ประโยชนในสายตาของพรรคการเมืองก็คือการไดรับความนิยมจากประชาชนสูงสุดจากเลือกตั้ง และการไดรับตําแหนงรัฐมนตรีมากที่สุดในการจัดตั้งรัฐบาล และสามารถรักษาภาพพจนที่ดีในสายตาประชาชนเอาไวใหไดมากที่สุด ประการถัดมา ทุกๆพรรคการเมืองตางมีความปรารถนาจะเปนรัฐบาล ดังนั้นเขาจะใชทุกๆวิธีในการเจรจาตอรองกับพรรคอื่นๆเพื่อใหไดมาซึ่งสถานะการเปนรัฐบาล และหลีกเล่ียงการเปนฝายคานเทาที่สามารถจะทําได ภายใตขอสมมติที่วาทุกๆพรรคการเมืองมีลักษณะกลัวความเสี่ยง (Risk Averse) ดังนั้นเขาจะกระทําการใดๆในแนวทางอนุรักษนิยมเสมอ (Conservative) เพื่อใหมีการสูญเสียนอยที่สุด นั่นหมายความวาภายใตผลประโยชนที่เทากันเขาจะเลือกเขารวมรัฐบาลกับพรรคที่มีความเสี่ยงนอยกวา

5 เนื่องจากทฤษฎีประชาธิปไตยสมัยใหมตองการใหพรรคการเมืองมีลักษณะเปนสถาบันทางการเมือง (Political Institution) ที่เขมแข็ง ดังนั้นจึงตองการความเปนเอกภาพ (Unity) สูง 6 คํานี้มีที่มาจาก Machiavelli นักปรัชญาการเมืองชาวอิตาลี ผูเขียนหนังสือเร่ือง The Prince ที่กลาวถึงคุณสมบัติตางๆที่ผูปกครองประเทศควรจะมีและไมควรจะม ีประการหนึ่งเขาสนับสนุนใหผูปกครองมีลักษณะหนาไหวหลังหลอก 7 ดังนั้นผูเขียนจึงมคีวามเห็นวาการเรียกรองใหนักการเมืองมีคุณธรรมจึงเปนเรื่องที่เสียสต ิ(Absurd) เพราะเปนปญหาเชิงโครงสรางที่ทําใหคนดีอยูไมได และที่สําคัญคือนักการเมืองก็เปนเพียงปุถุชนที่มีกิเลสไมตางจากเจาตัวคนทีก่ําลังเรียกรองคุณธรรม แตถาหากเราไดผูที่มีคุณธรรมก็เปนเร่ืองดี ถือเปนขอยกเวนที่จะไมเกิดขึน้บอย ดังนั้นส ิ่งที่สังคมตองการคือนักการเมืองที่มีความรับผิดชอบ (Accountability) มากกวา น ั่นคือเมื่อทาํผิดตองยอมรับความผิด แสดงสปริตดวยวิธีตางๆ ซึ่งตองอาศัยแรงกดดันจากภาคสังคมดวย

Page 6: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

ประการสุดทายคือ การเลือกตั้งอยูภายใตการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentary System) ซ่ึงประกอบไปดวยทั้งฝายรัฐบาลและฝายคาน ดังนั้นทุกๆพรรคไมสามารถเปนผูจัดตั้งรัฐบาลพรอมกันไดทั้งหมด และโดยทั่วไปแลวในโลกจะพบวาพรรคที่ไดคะแนนอันดับหนึ่งและอันดับสองมักจะเปน "คูปรับ" ตลอดกาล เชน พรรคแรงงาน (Labour Party) และพรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) ในอังกฤษ หรือแมจะไมใชระบอบรัฐสภาแตเปนระบอบประธานาธิบดีก็มีลักษณะที่ไมตางกัน เชนในอเมริกาคือพรรคเดโมแครตและพรรคริพับลิกัน เปนตน จึงมีขอสมมติอีกวาพรรคอันดับหนึ่งและพรรคอันดับสองจะไมเปนรวมกันเปนรัฐบาลอยางแนนอน หลังจากที่ไดวางขอสมมติเสร็จเรียบรอยแลว ตอไปเราจะลองมาดูกันวา ส วนผสมของพรรคในการจัดตั้งรัฐบาลจะสามารถออกมาในรูปแบบใดไดบาง เร่ืองนี้เปนส่ิงที่คนพูดถึงกันมาก และคาดคะเนไปตางๆนานา ตั้งแตวันที่ 23 ธันวาคม 2550 หลังปดหีบเลือกตั้งไมกี่นาที ผลเอ็กซิท โพล (Exit Poll) ชี้ชัดวา พรรคพลังประชาชนเปนพรรคที่มีคะแนนนําและจะไดเปนพรรคจัดตั้งรัฐบาล เร่ือยมาจนถึงวันที่ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งอยางเปนทางการในวันที่ 25 ธันวาคม 2550 แมวา ณ วันนี้แนวโนมของการจับขั้วจะเริ่มชัดเจนขึ้นแลว แตผูเขียนก็ยังตองการที่จะนําเสนอวิธีการประยุกตเอาทฤษฎีเกมไปใชในการคาดการณ เพื่อลองเพิ่มมุมมองใหมๆ ที่มีลักษณะสหวิทยาการใหกับการวิเคราะหการเมืองไทย

สวนผสมที่ 1 : พรรคประชาธิปตย รวมกับพรรคที่มีคะแนนอันดับ 3 – 7 จัดตั้งรัฐบาลและพรรคพลังประชาชนกลายเปนฝายคานพรรคเดียว สวนผสมนี้เปนที่พูดกันหนาหูมากในชวงแรกๆ โดยเฉพาะในชวงกอนการเลือกตั้งไมกี่วัน แตเมื่อผลคะแนนโดยคราวๆออกมาความเชื่อนี้ก็เร่ิมซา แตก็ยังมีคนยืนยันวาเปนไปไดอยูไมนอย พรรครัฐบาล : 165 + 37 + 24 + 9 + 7 + 5 = 247 เสียง พรรคฝายคาน : 233 เสียง รูปแบบนี้พรรคฝายคานจะมีความเขมแข็งมาก เพราะเปนพรรคเดียวคือพลังประชาชน ขณะที่รัฐบาลจะเปนรัฐบาลผสม ที่มีคะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่งมาแบบปริ่มๆ นั่นคือเกินมา 7 คน หากรวมกันไดสําเร็จ ความเสี่ยงก็ยังไมหมดไป เนื่องจากในการออกเสียงในสภาเพื่อผานมติตางๆ รัฐบาลจะเสียงแตกไมไดเลย และตองมาใหครบองคประชุมทุกครั้ง ซ ึ่งนาจะลําบากแนนอนในภายภาคหนา แตกอนจะไปถึงขั้นนั้นเรามาลองดูกันวาในขั้นแรกคือการรวมขั้วกัน จะมีความเปนไปไดมากนอยเพียงใด ข อมูลดานลางเปน Pay-off Matrix แสดงจํานวนรัฐมนตรีที่แตละพรรคจะได พรรคอื่น เขารวมกับ ปชป. เขารวมกับ พปช.

เขารวมกับ ปชป. (6,6) (0,8) พรรคของเรา (พรรคชาติไทย) เขารวมกับ พปช. (8,0) (4,5)

Page 7: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

ภายใตการวิเคราะหดวยทฤษฎีเกม จํานวนโควตารัฐมนตรีที่แตละพรรคจะไดรับจัดสรรคือตัวแปรสําคัญ ดังนั้นวิธีการประมาณคา Pay-off ในตารางดานบนนี้จึงควรจะมีความสมเหตุสมผลพอสมควร เพราะจะสงผลตอผลลัพธของเกมสดวย ในที่นี้จะใชวิธีการอยางงายนั่นคือ การเทียบบัญญัติไตรยางศ จํานวนรัฐมนตรีทั้งหมดมี 35 ตําแหนงคงที่ สวนตําแหนงรองนายกรัฐมนตรีเปนตัวแปรที่ไมคงที่ไมสามารถคาดการณจํานวนที่แนนอนได จึงเห็นวาไมควรจะนํามาคิดรวมดวย อยางไรก็ตามรัฐมนตรีอาจเปนคนภายนอกก็ได ดังนั้นตัวเลขจึงอาจคลาดเคลื่อนไดเล็กนอย จํานวน ส.ส. รวมที่จะกอต ้ังรัฐบาลมี 247 เสียง จํานวนรัฐมนตรี 35 คน

จํานวน ส.ส. พรรคประชาธิปตยมี 165 คน ไดโควตา 2316524735

=× คน

จํานวน ส.ส. พรรคชาติไทยมี 37 คน ไดโควตา 63724735

=× คน

จํานวน ส.ส. พรรคเพื่อแผนดินมี 24 คน ไดโควตา 32424735

=× คน

จํานวน ส.ส. พรรครวมใจไทยฯมี 9 คน ไดโควตา 1924735

=× คน

จํานวน ส.ส. พรรคมัชฌิมาฯมี 7 คน ไดโควตา 1724735

=× คน

จํานวน ส.ส. พรรคประชาราชมี 5 คน ไดโควตา 1524735

=× คน

*จุดทศนิยมที่คํานวณไดของทุกพรรคปดเศษลง ยกเวนพรรคชาติไทยซึ่งเปนพรรคอันดับสองจึงนาจะมีอํานาจตอรองมากที่สุดจึงปดเศษขึ้น เพื่อใหผลรวมเปน 35 คนพอดี ขณะที่หากใชวิธีเดียวกันคํานวณ โดยสมมติใหพรรคพลังประชาชนเปนผูจัดตั้งรัฐบาลเราไดวา (ขอไมแสดงการคํานวณอยางละเอียด) พรรคพลังประชาชนไดโควตา 26 คน พรรคชาติไทย 4 คน พรรคเพื่อแผนดิน 2 คน พรรครวมใจไทยฯ พรรคมัชฌิมาฯ และประชาราชแบงกันไปพรรคละ 1 คน ตัวเลขที่คํานวณไดคือคาผลลัพธของแตละกลยุทธใน Pay-off Matrix ดานบน จากตาราง เราจะสมมติตัวเองใหเปนพรรคการเมืองสักพรรคหนึ่ง ในที่นี้จะสมมติเปนพรรคชาติไทย และใหพรรคอื่นๆแทนพรรคเพื่อแผนดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคประชาราช โดยพรรคเราและพรรคอื่นมี 2 ทางเลือกคือ เขารวมกับพรรคประชาธิปตย หรือเขารวมกับพรรคพลังประชาชน โดยถาหากวาพรรคที่ตนรวมดวยไดเปนรัฐบาลพรรคตนก็จะได โควตารัฐมนตรีดวย ในขณะที่พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคประชาราช นั้นไมคอยมีอํานาจตัดสินใจมากนักเพราะไมวาจะไปอยูพรรคใดก็ไดโควตาไมตางกัน จึงนาจะมีนโยบายตั้งรับ (Passive) เสียมากกวา ตัวแสดงที่สําคัญในเกมจึงเปนพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผนดินวาจะไปทางใด

Page 8: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

หากเปนไปตามสวนผสมที่ 1 คือพรรคเราและพรรคอื่นเขารวมกับพรรคประชาธิปตยเพื่อจัดตั้งรัฐบาล จะพบวาพรรคเราจะไดรับตําแหนงรัฐมนตรี 6 คน ในขณะที่พรรคอื่นจะไดตําแหนงรวมกัน 6 คนเชนกัน ซ่ึงจะมากกวาการที่พรรคเราและพรรคอื่นเขารวมกับพลังประชาชน เพราะพรรคเราจะไดตําแหนงรัฐมนตรีเพียง 4 คน และพรรคอื่นๆจะไดตําแหนงรัฐมนตรีรวมกัน 5 คน ที่เปนเชนนี้เนื่องจาก สัดสวนส.ส.ของพรรคขนาดกลางและเล็ก นั้นเปนสัดสวนที่นอยเมื่อเปรียบเทียบกับพรรคที่เปนแกนนําจัดตั้งรัฐบาล หรืออาจกลาวไดวาพรรคพลังประชาชนมีอํานาจตอรองสูงกวาพรรคประชาธิปตย เนื่องจากมีคะแนนเสียงสูงกวา ทําใหพรรคพลังประชาชนไมตอง “งอ” พรรคขนาดกลางและเล็กมากนัก เพราะเพียงแคตนไดพรรคเล็กเพียง 1-2 พรรคก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลไดแลว หากมีพรรคเล็กๆมาตอรองขอตําแหนงรัฐมนตรีมากๆเขา พรรคพลังประชาชนก็อาจจะตอบปฏิเสธไปแลวไปรวมกับพรรคอื่นที่ยินดีจะไมตอรองมากก็ยอมได ในขณะที่พรรคประชาธิปตยตองใชแรงงอที่สูงกวา เนื่องจากตองการอยางนอยถึง 4 พรรคแรกขึ้นไปจึงจะจัดตั้งรัฐบาลได ทําใหพรรคเล็กๆมีอํานาจตอรองสูง เพื่อใหไดตําแหนงรัฐมนตรีมากๆ หากไมใหตนก็จะไปอยูกับพรรคพลังประชาชน ทําใหพรรคประชาธิปตยตองยอมใหตําแหนงรัฐมนตรีที่มากกวา อยางไรก็ตาม แมการที่พรรคเล็กไปรวมกับประชาธิปตยทั้งหมด จะใหผลตอบแทนที่สูงกวาการไปรวมกับพรรคพลังประชาชนทั้งหมด แตถาพรรคอื่นๆพรอมใจกันทิ้งพรรคชาติไทยไปรวมกับพรรคพลังประชาชนละจะเกิดอะไรขึ้น? แนนอนวาคะแนนของพรรคเรารวมกับพรรคประชาธิปตยจะไดแคเพียง 165 + 37 = 202 เสียงเทานั้น ทําใหไมเพียงพอตอการจัดตั้งรัฐบาลอยางแนนอน ทำใหตําแหนงรัฐมนตรีที่คาดหวังไวกลายเปน 0 ทันที ในขณะที่พรรคอ่ืนๆอาจจะไดตําแหนงรัฐมนตรีเพิ่มขึ้นจาก 6 คนเปน 8 คนก็ได เนื่องจากไมมีพรรคชาติไทย เขาไปเปนสวนแบง (ต ัวหารนอยลง) ในทางกลับกัน หากพรรคเราและพรรคอื่นตกลงกันแลววาจะรวมกับพรรคประชาธิปตย แตเราเปนฝายหักหลังเสียเองจะเกิดอะไรขึ้น? จะกลายเปนวาพรรคจัดตั้งรัฐบาลจะมี 233 + 37 = 270 เสียง ซ่ึงในสภาวะแบบนี้พรรคเราจะมีอํานาจตอรองพรรคพลังประชาชนมากขึ้น (เนื่องจากเปนพรรคเดียวที่มารวมดวย หากไมรับฉันเธอก็จะตองเปนฝายคาน) จึงอาจจะตอรองตําแหนงรัฐมนตรีเพิ่มขึ้นเปน 8 คนก็ได ดังนั้นจะพบวา ไมวาพรรคเราหรือพรรคอื่น ต างก็มีกลยุทธเดนเหมือนกัน น ั่นคือการรวมกับพรรคพลังประชาชน เพราะใหผลตอบแทนที่สูงกวาเสมอไมวาอีกฝายหนึ่งจะรวมกับพรรคใดก็ตาม ยกตัวอยางเชน หากพรรคอื่นรวมกับประชาธิปตย ทางเลือกที่ดีที่สุดของเราคือรวมกับพลังประชาชน เพราะจะไดตําแหนงรัฐมนตรีมากกวา (8 > 6) หรือหากพรรคอื่นรวมกับพลังประชาชนทางเลือกที่ดีที่สุดของเราก็คือรวมกับพรรคพลังประชาชนเชนกัน (4 > 0) หรือในทางกลับกัน หากพรรคเรารวมกับประชาธิปตย ทางเลือกที่ดีที่สุดของพรรคอื่นคือรวมกับพรรคพลังประชาชน (8 > 6) หรือหากพรรคเรารวมกับพรรคพลังประชาชน ทางเลือกที่ดีที่สุดของพรรคอื่นคือรวมกับพรรคพลังประชาชนเชนกัน (5 > 0)

Page 9: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

เกมลักษณะนี้เรียกวา Prisoner’s Dilemma ที่แตละฝายไมไวใจกัน และการเลือกทางเลือกที่กาวราว (Assertive) จะทําใหผลประโยชนของตนสูงกวา ท ั้งที่หากทั้งคูเชื่อใจกัน ไมหักหลังกันจะไดผลตอบแทนที่สูงสําหรับทั้งสองฝาย น ั่นคือจุด (6,6) ซ่ึงมีประสิทธิภาพแบบพาเรโต (Pareto’s Efficiency) แตเนื่องจากเวทีการเมืองทุกคนตองการผลประโยชนสูงสุด จากเดิมตกลงกันวาจะรวมกับประชาธิปตย แตเมื่อตางฝายตางกลัวความเสี่ยง และเห็นวาการไปรวมกับพลังประชาชนจะไดผลตอบแทนมากกวาและไมเสี่ยง หากพรรคเราและพรรคอื่นคิดเชนนี้พรอมกัน ผลสุดทายจึงไปตกอยูตรงขอสรุปที่วา “ทุกๆพรรคจะรวมกับพรรคพลังประชาชน” และพรรคประชาธิปตยจะเปนฝายคานพรรคเดียว ณ จ ุด (4,5) ซ่ึงเปนดุลยภาพแบบแนช (Nash Equilibrium) สวนผสมที่ 2 : มีบางพรรคเทานั้นท่ียินดีจะไปรวมกับพรรคพลังประชาชน และพรรคอื่นๆที่เหลือไมยินดีรวมดวยและหันมารวมกับประชาธิปตยแทน สวนผสมนี้อาจจะออกมาหลายรูปแบบ เชน พรรคพลังประชาชนรวมกับพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผนดิน สวนพรรคที่เหลือรวมกับพรรคประชาธิปตย เปนตน ซ ึ่งพรรครัฐบาลจะมีคะแนนเสียงรวมกัน 294 เสียง และพรรคฝายคานมี 186 เสียง ซ่ึงก็มีความเปนไปไดวาพรรคชาติไทยจะจับมือกับพรรคเพื่อแผนดินเปนพันธมิตรกัน แตไมไดรวมพรรคกัน น ั่นคือ เธอจะไปอยูกับใครฉันจะไปดวย (อาจเปรียบไดกับ Cartel ในทางเศรษฐศาสตร) ซ่ึงจะการรวมเปนพันธมิตรอาจชวยสรางอํานาจตอรองตอพรรคพลังประชาชนที่มากขึ้นได เนื่องจากพรรคพลังประชาชนเองก็อาจไมตองการใหพรรครวมรัฐบาลมีจํานวนมากเกินไปก็เปนได (มีมากๆก็ปวดหัวกับการแบงสรรผลประโยชนใหลงตัว) แตส่ิงที่พรรคพลังประชาชนตองยอมแลกก็คือ ยอมสละเกาอ้ีรัฐมนตรีที่จะตองแบงสรรไปใหพรรคชาติไทยและเพื่อแผนดินใหมากขึ้นเพื่อเปนแรงจูงใจ กลาวคือ ถ าพรรคพลังประชาชนไมชอบใหมีพรรครวมรัฐบาลมากๆ ก็จะมีตนทุนที่สูงขึ้นคือตองยอม “งอ” 2 พรรคนี้มากขึ้น เพราะท ั้งสองพรรคมีเสียงรวมกันถึง 61 เสียง แตอยางไรก็ตาม เกมแหงการตอรองอาจพลิกผันไดถาพรรคพลังประชาชนมีความรูสึก “หวง” เกาอ้ีรัฐมนตรีมากกวา และหันไปรวมกับพรรคที่เล็กกวาแทน น ั่นคือพรรครวมใจไทยฯ พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคประชาราชที่มีอํานาจตอรองนอยกวา (เพราะสามพรรครวมกันไดเพียง 21 เสียงเทานั้น แตก็เพียงพอสําหรับจัดตั้งรัฐบาลแลว) ดังนั้นหากพรรคเพื่อแผนดินและพรรคเพื่อแผนดินเลนตัวมากเกินไป (ขอโนนขอนี่มากเกินไป) อาจจะตองกลายเปนฝายคานโดยไมรูตัว แสดงไดดังตารางขางลางนี้ (ตัวเลข Pay-off Matrix ปรับปรุงจากกรณีที่พรรคพลังประชาชนเปนรัฐบาล)

พรรคเพื่อแผนดิน ตอรองมาก ตอรองนอย

ตอรองมาก (0,0) (0,3) พรรคชาติไทย

ตอรองนอย (5,0) (4,2)

Page 10: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

หากทั้งสองพรรคตอรองมากเกินไป จะตองกลายเปนฝายคาน ส งผลใหไมไดตําแหนงรัฐมนตรีเลย (0,0) หากเกิดสภาวะเชนนี้ผูที่ตอรองนอยกวาจะไดเปรียบ เชนพรรคเพื่อแผนดินยอมตอรองใหนอยลง ขณะที่พรรคชาติไทยยังยืนกรานจะตอรองตอไป ผลก็คือการรวมตัวกันจะลมเหลวเนื่องจากความตองการไมตรงกันเสียแลว (Cartel จะสําเร็จก็ตอเมื่อสมาชิกทุกคนมีนโยบายไปในทางเดียวกัน) และพรรคที่ยังตอรองมากๆจะตองกลายเปนฝายคานไปและไมมีตําแหนงรัฐมนตรี น ั่นคือจุด (0,3) ทําใหพรรคชาติไทยไมไดโควตารัฐมนตรีเลย ขณะที่พรรคเพื่อดินแยกตัวไปรวมกับพรรคพลังประชาชน และพรรคอื่นๆก็จะเขามารวมดวยเปนรัฐบาล 278 เสียง หรือหากเปนไปในทางกลับกันก็คือจุด (5,0) เปนตน หากอาศัยขอสมมติที่วา พรรคตองการเปนรัฐบาล พรรคไมชอบความเสี่ยง และพรรคตองการตําแหนงรัฐมนตรีสูงสุดแลว จุดดุลยภาพก็คือท้ังพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผนดินจะตองตอรองพรรคพลังประชาชนใหนอยลง จ ึงจะใหความพึงพอใจสูงสุด ดังนั้นเกมลักษณะนี้ผูที่ชนะคือผูที่ยืนกรานตอรองมากเกินไป โดยมีผลตอบแทนที่จุด (4,2) สวนผสมที่ 3 : พรรคพลังประชาชนจะเปนฝายจัดตั้งรัฐบาลรวมกับพรรคอื่นๆที่เหลือ ปลอยใหพรรคประชาธิปตยเปนฝายคานพรรคเดียว จากที่เราไดลองอาศัยทฤษฎีเกมในการวิเคราะหไปแลวในสวนผสมแรก บนพื้นฐานของขอสมมติที่ไดกลาวไวแลว จะพบวาพรรคพลังประชาชนมีความไดเปรียบอยูเสมอนั่นคือ พรรคขนาดกลางและเล็กจะเขามารวมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนในทายที่สุด สวนผสมที่ 3 จึงเปนสวนกลับของสวนผสมที่ 1 นั่นเอง นั่นคือ พรรครัฐบาล: 233 + 37 + 24 + 9 + 7 + 5 = 315 เสียง พรรคฝายคาน: 165 เสียง หากเราจะลองสมมติใหเกมนี้ตอไปอีก ใหเปนเกมที่มีการผลัดกันเลน (Sequential Game) จากเดิมที่เราใชเกมรูปแบบที่ผูเลนทุกคนตัดสินใจพรอมกัน สมมติใหมีผูเลน 2 กลุมคือ กลุม A แทนพรรครวมใจไทยฯ พรรคมัชฌิมาฯ และพรรคประชาราชรวมกัน และกลุม B แทนพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผนดินรวมกัน โดยให A ไดเปนผูตัดสินใจกอนวาจะรวมกับพรรคการเมืองใด

รวมกับ ปชป.

รวมกับ พปช.

รวมกับ พปช.

รวมกับ ปชป.

A

B

B

(3,6)

รวมกับ พปช.

รวมกับ ปชป.

(3,0)

(0,6)

(3,9)

Page 11: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

รูปดานบนเปนแผนภาพแบบ Extensive Form ที่ยังคงใชคา Pay-off ที่ไดคํานวณเอาไวเมื่อตอนแรก ในเกมนี้เราจะพบวาการใชยุทธวิธีการขู (Threats) ก็เปนอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถทําไดเชนกัน โดยพรรคกลุม B อาจจะวางเงื่อนไขบางประการเพื่อขูวา หากพรรคพลังประชาชนไมกระทําตามนี้ เขาจะไมยอมเขารวมรัฐบาล หรืออาจจะบอกวาหากไมไดคนของพรรคตนเองเปนส.ส.กระทรวงบางกระทรวงก็จะไมยินยอมเชนกัน แตคำขูของพรรคชาติไทยนั้นขาดความนาเชื่อ (Non-credibility) เพราะหากพรรคกลุม A ตัดสินใจรวมกับพลังประชาชนจริงๆแลว ทางเลือกที่ดีที่สุดของกลุมพรรค B ก็คือการเขารวมกับพลังประชาชนเชนกัน หากจะยังยืนยันตามที่ไดประกาศไวก็จะพลาดโอกาสเปนรัฐบาลไป (อยาลืมวาขอสมมติของเราคือทุกพรรคตองการเปนรัฐบาล) ยิ่งกวานั้นพรรคพลังประชาชนอาจโตตอบกลับดวยการประกาศวา ตนสามารถจัดตั้งรัฐบาลไดแลว ซ่ึงเปนการประกาศที่มีความนาเชื่อถือ (Credibility) มากกวา เพื่อกดดันพรรคชาติไทยใหลดการตอรองลง ดังนั้นจากแผนภาพดังกลาว ทางเลือกที่ดีที่สุดของพรรคชาติไทยก็คือ การเขารวมกับพรรคพลังประชาชนเสียตั้งแตแรก

ขณะเดียวกันถากลุมพรรค A ตัดสินใจรวมกับพรรคประชาธิปตย ทําใหกลุมพรรค B มีแนวโนมที่จะรวมกับพรรคประชาธิปตยเชนกันเนื่องจากมีโอกาสไดจัดสรรโควตาในจํานวนที่สูงกวา ดังนั้นพรรคพลังประชาชนเองสามารถแกลําไดดวยการเพิ่มตําแหนงรัฐมนตรีจากเดิม 6 ใหสูงขึ้นกวา 9 ตําแหนง เพื่อจูงใจใหกลุมพรรค B เขารวมจัดตั้งรัฐบาลไดเชนกัน และกลยุทธนี้พรรคประชาธิปตยไมสามารถนํามาใชดึงดูดใจกลุมพรรค B เมื่อกลุมพรรค A จะเขารวมกับพลังประชาชนได เพราะการดึงกลุมพรรค B มากลุมเดียวนั้นไมเพียงพอแกการจัดตั้งรัฐบาล

จากกรอบวิเคราะหทฤษฎีเกม จึงพอจะสรุปไดวา พรรคใดก็ตามที่มีคะแนนเสียงนําพรรคอันดับสองในระดับที่พอสมควร แตไมเกินครึ่งของจํานวน ส.ส. จะเปนผูไดเปรียบเสมอไมวาจะเลนเกมในรูปแบบใดก็ตาม ดังนั้น ไมวาเกมจะออกมาในรูปแบบใดก็ตาม โอกาสที่พรรคพลังประชาชนจะเปนผูจัดรัฐบาลรวมกับพรรคที่เหลือ ยกเวนพรรคประชาธิปตย ม ีอยูสูงมาก แตอยางไรก็ตาม ความเสี่ยง (Uncertainty) ของเกมก็มีอยูเชนกัน คนสวนใหญมองวาใบเหลือง-ใบแดง จากกกต. จะเปนประเด็นสําคัญ ที่ด ูเหมือนวาพรรคพลังประชาชนจะโดนเพงเล็งประเด็นนี้มากที่สุด ใบเหลืองนั้นไมนาจะเปนปญหาเพราะหากมีการเลือกตั้งใหมในเขตใด พรรคดั้งเดิมที่ชนะไปกอนหนานี้ก็จะไดเปนผูชนะอีกครั้งอยางไมตองสงสัย แตสําหรับใบแดงนั้นหมายถึงการตัดสิทธิผูสมัครในเขตนั้นไปเลย8 ความผิดสวนใหญก็เปนประเด็นเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียง อีกประการหนึ่งก็คือเร่ืองความผิดระดับ

8 ผูเขียนมีความเห็นวา การให ใบแดงกับส.ส.ที่มีความผิดนั้น อาจเปนการกระทําที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยไดในบางกรณี ในเร่ืองความเปนตัวแทนของประชาชน เพราะเมื่อการใหใบแดงผูสมัครที่ไดคะแนนเปนลําดับถัดมาจะไดขึ้นเปนส.ส. แทน ซ ึ่งบุคคลดังกลาวไมใชตัวแทนที่เปนความตองการของประชาชนในเขตนัน้จริงๆ (อาจจะไดคะแนนเสียงประมาณ 15-25% ของประชากรในเขตนั้นเทานั้น) ทางเลือกที่ดีกวาคือเปดโอกาสใหพรรคการเมืองที่มีผูสมัครที่โดนตัดสิทธิในเขตนั้น ไดสงผูสมัครคนใหมเขาแขงขันดวย เปนการตัดสิทธิที่คน ไมใชที่พรรค

Page 12: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

พรรค ซ่ึงอาจเปนเหตุใหยุบพรรคนั้นๆได ดังนั้นผลการคาดการณโดยทฤษฎีเกมจึงอยูภายใตภาวะความไมแนนอน และอาจคลาดเคลื่อนไปจากนี้ได

ทฤษฎีเกมนั้นมีขอจํากัดที่สําคัญประการหนึ่งนั่นคือ “ตัวละครที่เราวิเคราะหจะตองมีความสมเหตุสมผล” นั่นคือการตัดสินใจจะตองมีแบบแผน รูจักเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดดวยการตัดสินใจบนหลักเหตุผล ไมอาศัยอารมณความรูสึก9 และมีขอมูลขาวสารที่คอนขางดี ซ่ึงการนําเอามาวิเคราะหกับการเมืองจึงอาจใหผลลัพธที่ไมตรงกับความเปนจริงเสมอไป เนื่องจากการเมืองเปนสภาพที่มีคานิยม อุดมการณ อคติ และการเลือกที่รักมักที่ชัง อีกทั้งยังมีขอจํากัดมากมายในการตัดสินใจ เชน เงื่อนไขเวลา ผลประโยชนภายในกลุมการเมืองของพรรคที่ขัดแยงกันและคนภายนอกไมรู และกิจกรรมการตัดสินใจหลายๆอยางก็มักเปนความลับ ดวยขอจํากัดดังกลาว การนําเอาทฤษฎีเกมไปใชอธิบายการเมืองในระดับแนวโนมกวางๆ หรือการคาดการณโดยสังเขป จึงจะเหมาะสมกวา

9 ทฤษฎีเกมโดยอาศัย Nash Equilibrium บางครั้งไมเปนจริงหากผูเลนมีลักษณะ “ถาฉันไมได ก ็อยาหวังวาคุณจะได” หรือ “ฉันไมยอมใหใครไดมากกวาฉันเปนอันขาด” ลักษณะเชนนี้ไมสมเหตุสมผลเพราะทางทฤษฎีเกมถือวา ผลประโยชนของตนเองเทานั้นที่สําคัญที่สุด โดยไมสนใจวาคนอื่นจะไดผลประโยชนมากหรือนอยกวาเรา ขอใหเราไดมากที่สุดเปนพอ ท ั้งที่ในความเปนจริงคนเราเปรียบเทียบตนเองกับผูอื่นอยูบอยคร้ัง บางคนเราก็พอใจมากกวาที่เห็นตนเองและคูแขงไมไดประโยชนอะไรเลย ด ีกวาที่จะเห็นตนเองดอยกวาหรือไดนอยผลตอบแทนกวา ดังนั้นถาเกมเปนลกัษณะนี้ควรใช Maximin Equilibrium จะเหมาะสมกวา

Page 13: เศรษฐศาสตร์การเลือกตั้ง 2550

เอกสารและหนังสืออางอิง

Pindyck, Robert S. and Rubinfeld, Daniel E. (2005). Microeconomics, (6th ed.), International Edition, Prentice-Hall.

ชยันต ต ันติวัสดาการ. เอกสารประกอบคําบรรยาย ว ิชา ศ.311 เรื่องทฤษฎีเกม. คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร, 2541. ชลิดาภรณ สงสัมพันธ. คําบรรยายในหองเรียนวิชา ร.211 ความรูเบื้องตนทางรัฐศาสตร. คณะ รัฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. (3 ธันวาคม 2550) นรินทร โอฬารกิจนันท. เอาตัวรอดดวยทฤษฎีเกม. พ ิมพคร้ังที่ 8. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพเดคิซูก ิ ดอท เน็ท, 2549. นิพนธ พัวพงศกร. เอกสารประกอบคําบรรยาย วิชา ศ.311 เรื่องทฤษฎีเกม (ตอนใหม). คณะ เศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2537. รังสรรค ธนะพรพันธุ . ค ูมือการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพคบไฟ, 2544. วิไลวรรณ วรรณนิธิกุล. เอกสารประกอบคําบรรยาย วิชา ศ.481 เรื่องกรอบแนวคิดเศรษฐศาสตร อุตสาหกรรมดั้งเดิม. คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2548. สุพรรณี ชะโลธร. ภูมิศาสตรการเมือง. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2539. สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.). ผลการเลือกตั้งอยางเปนทางการ. (25 ธันวาคม 2550)