34
27 วารสารเพศวิถีศึกษา ปที2 .. 2555 ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล Hear the experts: 30 years in the evolution of gender and sexuality in Thailand Timo T. Ojanen Pimpawun Boonmongkon Abstract Hear the experts: 30 years in the evolution of gender and sexuality in Thailand. This article elucidates 1) changes in Thai genders and sexualities in the past 30 years (1980-2010), 2) structural (social, economic and political) factors that have led to such changes and 3) the role of mobile phones and the Internet in these changes. The findings were obtained through a Delphi study, in which viewpoints from 40 experts, mostly academics and activists working on gender and sexuality in Thai society, were collated and synthesized. According to the findings, roughly 2 in 3 viewed that Thai society has seen an increase in sexual liberty, gender equality and understanding of sexual matters in the last 30 years. Some emphasized aspects that had not changed much, such as the oppression of women and stigmatization of LGBT people. The factors considered responsible for these changes were1) mobile phones and the Internet, 2) activism and research on women’s and LGBT issues, 3) the political context, legislation, policy, and state institutions, 4) the expanding capitalist economy and

รวมพลคนรู้เรื่องเพศ: 30 ปีของวิวัฒนาการ เรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

Embed Size (px)

Citation preview

27วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

Hear the experts: 30 years in the evolution of gender and sexuality

in Thailand Timo T. Ojanen

Pimpawun Boonmongkon

Abstract

Hear the experts: 30 years in the evolution of gender and sexuality in Thailand. This article elucidates 1) changes in Thai genders and sexualities in the past 30 years (1980-2010), 2) structural (social, economic and political) factors that have led to such changes and 3) the role of mobile phones and the Internet in these changes. The findings were obtained through a Delphi study, in which viewpoints from 40 experts, mostly academics and activists working on gender and sexuality in Thai society, were collated and synthesized. According to the findings, roughly 2 in 3 viewed that Thai society has seen an increase in sexual liberty, gender equality and understanding of sexual matters in the last 30 years. Some emphasized aspects that had not changed much, such as the oppression of women and stigmatization of LGBT people. The factors considered responsible for these changes were1) mobile phones and the Internet, 2) activism and research on women’s and LGBT issues, 3) the political context, legislation, policy, and state institutions, 4) the expanding capitalist economy and

28 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

urbanization, 5) mass and niche media and 6) the HIV/AIDS epidemic. The experts’ views are compared with related research and statistics. Keywords: Delphi study, sexual liberty, gender equality, stigma and discrimination, mobile phones, Internet, state policy, capitalism, urbanization, media, HIV/AIDS

29วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการ

เรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย ติโหมะ ที โอะหยะเน็น*

พิมพวัลย บุญมงคล**

บทคัดยอ

บทความนี้มีวัตถุประสงคที่จะอธิบายถึง 1) การเปล่ียนแปลงในเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย ในรอบ 30 ปที่ผานมา (ระหวางป พ.ศ.2523-2553), 2) ปจจัยเชิงโครงสราง (ดานนโยบายสังคม เศรษฐกิจและการเมือง) ที่สงผลตอการเปลี่ยนแปลงดังกลาวและ 3) บทบาทของโทรศัพทมือถือและอินเทอรเน็ตในการเปล่ียนแปลงดังกลาวโดยศึกษาผานการศึกษาเดลไฟ (Delphi study) ซึ่งในกรณีนี้คือการรวบรวมและสังเคราะหความคิดเห็นจากผูเชี่ยวชาญจํานวน 40 คนที่สวนใหญเปนนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวในประเด็นเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทยผลการศึกษาพบวาผูเชี่ยวชาญประมาณ 2 ใน 3 เห็นวาในชวง 30 ปที่ผานมา สังคมไทยมีเสรีภาพทางเพศความเทาเทียมทางเพศภาวะ และความเขาใจในเรื่องเพศมากขึ้น ขณะที่ผูเชี่ยวชาญบางสวนเนนส่ิงที่ไมเปล่ียนแปลงไปมากนัก เชน ผูหญิงยังถูกกดขี่ และ LGBT ยังถูกตีตราอยู สวนปจจัยที่ผูเชี่ยวชาญเห็นวาสงผลทําใหเกิดความเปลี่ยนแปลงไดแก 1) โทรศัพทมือถือและอินเทอรเน็ต 2) การเคลื่อนไหวและการวิจัยในประเด็นสตรีและ LGBT 3) บริบททางการเมือง กฎหมาย นโยบาย และหนวยงานภาครัฐ 4) การขยายตัวทางเศรษฐกิจทุนนิยมและความเปนเมือง 5) ส่ือมวลชนและสื่อเฉพาะกลุม และ 6) การระบาดของ * นักวิจัย ศูนยศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล

** อาจารยประจําภาควิชาสังคมศาสตรสุขภาพ และหัวหนาศูนยศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล

30 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

เอชไอวี/เอดสซึ่งบทความนี้ยังไดเปรียบเทียบระหวางความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญและงานวิจัยและสถิติตางๆ ที่เกี่ยวของ

คําสําคัญ: การศึกษาเดลไฟ, เสรีภาพทางเพศ, ความเทาเทียมทางเพศภาวะ, การตีตราและเลือกปฏิบัติ, โทรศัพทมือถือ, อินเทอรเน็ต, นโยบายรัฐ, ทุนนิยม, ความเปนเมือง, ส่ือ, เอชไอวี/เอดส

31วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

บทนํา ระบบเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทยเปนปรากฏการณทางสังคมที่เพ่ิงจะมีการพูดถึงและนํามาศึกษากันเมื่อไมนานนี้ โดยเฉพาะการศึกษาอยางวิพากษถึงเบ้ืองหลังความคิดความเชื่อเรื่องระบบเพศภาวะและเพศวิถีพรอมๆ กับการพยายามสรางพ้ืนที่ในเชิงความรูขึ้นมาใหม โดยเฉพาะเพื่อการหลีกเล่ียงการสรางหรือผลิตซ้ํามายาคติเร่ืองเพศและนําไปสูการผลักดันนโยบายสาธารณะและการเคล่ือนไหวทางสังคมเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ (พิมพวัลย , 2554, น .ii และ กฤตยา, 2554, น.3) เพศภาวะและเพศวิถีมิใชเรื่องหยุดนิ่งแตมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งในแงปจเจกบุคคลและในแงระบบสังคม (กฤตยา, 2554, น.3) ทั้งนี้เพราะบริบทสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมมิไดหยุดนิ่ง ย่ิงระบบสังคม ชุมชน หรือประเทศตางๆ ไดกลายเปนสวนใหญของระบบโลกหรือกระบวนการโลกาภิวัตน โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสารออนไลนรูปแบบตางๆ โทรศัพทมือถือ อินเตอรเน็ตไดมีบทบาทสําคัญในชีวิตผูคนทุกรุนและวัย (พิมพวัลยและคณะ, 2555) บทความเรื่องนี้เปนสวนหนึ่งของโครงการวิจัยใหญเรื่อง “การศึกษา การเปลี่ยนแปลงเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมเอเชีย” ซึ่งดําเนินการโดยภาคีความรวมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ดานเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ (คอนซอรเทียม) ซึ่งเปนเครือขายงานวิชาการที่ทํางานในประเด็นเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต การวิจัยชิ้นนี้เปรียบเทียบระหวางสมาชิกไดแก อินโดนีเซีย ฟลิปปนส ลาว เวียดนาม และประเทศไทย บทความนี้มีวัตถุประสงคที่จะอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงเพศภาวะและเพศวิถีของคนในสังคมไทยรอบ 30 ปที่ผานมา (ระหวางป พ.ศ. 2523-2553 หรือปค.ศ.1980-2010) ทั้งยังมุงอธิบายถึงปจจัยเชิงโครงสราง ซึ่งหมายถึงปจจัยดานนโยบายสังคม เศรษฐกิจและการเมืองในแตละชวงเวลาที่ผานมา ที่สงผลตอการเปล่ียนแปลงเพศภาวะ และเพศวิถีของคนในสังคมไทย นอกจากนี้ยังมุงอธิบายเกี่ยวกับบทบาทของการใชโทรศัพทมือถือและอินเตอรเน็ตที่มีอิทธิพลตอการเปล่ียนแปลงรูปแบบเพศวิถีของคนในสังคมไทย

32 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

วิธีวิทยา ระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษาครั้งนี้คือการวิจัยเชิงคุณภาพ เพ่ือหาคําตอบเชิงพรรณนาในประเด็นวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทยในรอบ 30 ปที่ผานมา วิธีการเก็บขอมูลหลัก ไดแก การศึกษาเดลไฟ (Delphi study) ซึ่งก็คือวิธีเก็บขอมูลโดยรวบรวมความคิดเห็นจากกลุมผูเชี่ยวชาญ ผานการสงแบบสอบถามซึ่งจะเปนคําถามปลายเปดใหผูเชี่ยวชาญตอบคําถามในประเด็นที่ศึกษาอยางเปดกวางและมีรายละเอียดเทาที่จะมากได จํานวน 3 ครั้ง ในแตละครั้งจะรวบรวมคําตอบที่เหมือนและแตกตางกัน แลวสรุปสังเคราะหภาพรวมนําเสนอตอกลุมผูเชี่ยวชาญกลุมเดิมเพ่ือขอความเห็นชอบในขอสรุปคําตอบ เปนระดับมาก ปานกลาง หรือนอย เพ่ือนําไปสูการตอบคําถามรอบที่สอง เมื่อไดคําตอบจากรอบที่สองแลวนักวิจัยจะรวบรวมขอสรุปและสังเคราะหคําตอบ ถาในรอบที่สองได คําตอบที่เปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ไมขัดแยงกัน ก็จะจบการรวบรวมขอมูล แตถา คําตอบจากผูเชี่ยวชาญในรอบสองมีขอมูลเพ่ิมเติมจะตองขอความเห็นอีกเพราะยังไมมีขอสรุปที่สอดคลอง จากนั้นจึงสามารถสงคําตอบและความคิดเห็นที่รวบรวมไปใหกับกลุมผูเชี่ยวชาญเพื่อใหความเห็นโดยวัดระดับการเห็นดวยในประเด็นตางๆ ในระดับมาก ปานกลาง หรือนอย และขอความคิดเห็นเพ่ิมเติม เมื่อได คําตอบในรอบที่สาม นักวิจัยจะกลับมารวบรวมคําตอบและความคิดเห็นที่เพ่ิมเติม หาขอสรุปรวมจากคําตอบตางๆ กระบวนการถามกลับไปยังผูเชี่ยวชาญนั้นสามารถทําไดหลายรอบจนกระทั่งไดคําตอบที่สอดคลองกัน (Pickard, 2007) การศึกษาเดลไฟเกิดขึ้นครั้งแรกโดย Helmer และ Rescher ซึ่งทํางานในฐานทัพการบินในประเทศสหรัฐอเมริกา ในป ค.ศ. 1959 โดยมีวัตถุประสงคทํานายแนวโนมในอนาคตของประเด็นที่ตองการศึกษา ในรอบ 50 ปที่ผานมามีผูนําการศึกษาเดลไฟมาใชในการศึกษาหลายเรื่อง ไมใชเพียงการศึกษาเพื่อคาดทํานายอนาคตเทานั้น แตเพ่ือคนหาความคิดเห็นของกลุมผูเชี่ยวชาญ (Pickard, 2007, p.126) ในประเด็นตางๆ อนึ่ง การใชการศึกษาเดลไฟในงานชิ้นนี้ไมไดใชอยางเต็มรูปแบบ เนื่องจากมีเวลาคอนขางจํากัด และผูเชี่ยวชาญที่ไดติดตอไวสวนใหญก็มีงานยุงตลอด ทําใหตองรอรับคําตอบจากแตละคนคอนขางนาน ในงานวิจัยนี้จึงไดรับคําตอบจากผูเชี่ยวชาญแตละคนเพียงรอบเดียว กลาวคือ ไมมีรอบตอๆ ไปตามหลักการของการศึกษาเดลไฟซึ่งตองมีการหามติเอกฉันทจากผูเชี่ยวชาญในประเด็นที่ศึกษาไว แตผูดําเนินการวิจัยไดสรุปขอมูลจากการตอบของผูเชี่ยวชาญ

33วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

ในรอบแรก โดยวิเคราะหคําตอบจากแตละคนในเชิงคุณภาพ และแบงประเด็นตางๆ ในชุดขอมูลเปนหมวดหมูดวยโปรแกรม ATLAS.ti 5.0 อยางไรก็ตาม การขอคําตอบจากผูใหขอมูล 16 คนตองมีการติดตอกันหลายครั้งเนื่องจากทั้ง 16 คนนี้เลือกที่จะใหสัมภาษณ (ตัวตอตัวหรือทางโทรศัพท โดยบันทึกเสียงในทั้งสองกรณี) แทนที่จะเขียนคําตอบดวยตนเอง ผูสัมภาษณไดสรุปขอมูลจากการสัมภาษณและสงขอสรุปที่ เปนลายลักษณ อักษรใหผู ใหสัมภาษณตรวจ แกไข และ/หรือเพ่ิมเติมขอมูลอีกครั้งตามที่ตองการ นอกจากนี้ ในกระบวนการการวิจัยไดมีการแบงปนผลการวิจัยเบ้ืองตนระหวางคณะผูวิจยัจากแตละประเทศ และคณะผูวิจัยจากประเทศอื่นๆ ไดเสนอใหเปดเผยชื่อของผูใหขอมูลเพ่ือเพ่ิมความนาเชื่อถือของผลงานวิจัย แตเนื่องจากในชวงเก็บขอมูลยังไมไดแจงเรื่องการเปดเผยชื่อแกผูใหขอมูล จึงตองมีการติดตอผูใหขอมูลทุกคนอีกครั้งเพ่ือขออนุญาตเปดเผยชื่อและขอประวัติส้ันๆ จากแตละคนอีกดวย ซึ่งผูใหขอมูลทุกคนยินดีใหเปดเผยชื่อและประวัติดังกลาว ในบทความนี้ระบุเพียงชื่อและนามสกุลเทานั้น (ดูภาคผนวก) ผูใหขอมูล การสรรหาผูใหขอมูลเริ่มจากคณะผูวิจัยเตรียมรายชื่อผูเชี่ยวชาญ 49 คน อีกทั้งผูวิจัยยังไดขอใหผูใหขอมูลแตละคนแนะนําผูเชี่ยวชาญคนอื่นๆ ที่คิดวาควรเปนผูใหขอมูลคนตอไป ดวยวิธีการดังกลาวคณะผูวิจัยไดรับความรวมมือจาก ผูเชี่ยวชาญ 31 คนในรายชื่อที่ไดเตรียมไวลวงหนา และอีก 9 คนที่ผูใหขอมูล ในรายชื่อดังกลาวไดแนะนําใหติดตอ รวมเปนทั้งหมด 40 คน เมื่อแบงตามบริบทการทํางาน ผูใหขอมูลประกอบดวยนักวิชาการ 12 คน นักเคลื่อนไหว 16 คน ผูที่ประกอบวิชาชีพอื่นๆ เชนดานส่ือมวลชน 10 คน และผูที่ทํางานในองคกรระหวางประเทศอีก 2 คน (แตหลายคนยังมีบทบาทรองนอกจากบทบาทหลักดวย เชน นักวิชาการที่เปนนักเคลื่อนไหวดวย) อยางไรก็ดี การขาดตัวแทนจากหนวยงานภาครัฐ (นอกเหนือจากมหาวิทยาลัย) ถือเปน ขอจํากัดประการหนึ่งของการวิจัยครั้งนี้ ผู ให ข อมู ลประกอบดวยคนไทย 33 คน และชาวต างชาติ 7 คน (ชาวตะวันตกประเทศตางๆ 6 คนและชาวเกาหลี 1 คน) สวนใหญอาศัยอยูใน

34 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

เมืองใหญ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ เชียงใหมและเมืองใหญในตางประเทศซึ่งอาจมีผลทําใหผูใหขอมูลตระหนักถึงพัฒนาการในเขตเมืองมากกวาชนบท ผูใหขอมูลที่เปนคนไทยสวนใหญอาศัยอยูภาคกลางหรือภาคเหนือ มีไมกี่คนที่อยูในภาคอีสาน และไมมีผูใหขอมูลที่อาศัยอยูในภาคใตซึ่งเปนขอจํากัดเชนเดียวกัน เมื่อแบงตามเพศ มีผูใหขอมูลเพศชาย 22 คน และเพศหญิง 18 คน (ในจํานวนนี้ 5 คนเปนหญิงขามเพศ) ผูรวบรวมขอมูลไมไดต้ังคําถามเกี่ยวกับวิถีทางเพศ (sexual orientation) ของผูใหขอมูลเนื่องจากผูใหขอมูลหลายคนอาจไมสะดวกใจที่จะเปดเผยเรื่องนี้ตอสาธารณชน แตกลาวไดวาผูที่มีอัตลักษณ LGBT1 แบบใดแบบหน่ึงในกลุมผูใหขอมูลนั้นมีสัดสวนมากกวาในประชากรทั่วไป ในวงการผูที่ทํางานในประเด็นเพศภาวะและเพศวิถีก็มีชาว LGBT มากกวาประชากรทั่วไปอยูแลว แตผูวิจัยตระหนักวาสัดสวนของผูใหขอมูลที่ทํางานในประเด็น LGBT มีมากกวาสัดสวนผูใหขอมูลที่ทํางานในประเด็นของผูหญิง ซ่ึงอาจจะสะทอนไดวา ผูที่ทํางานเรื่องผูหญิงมีนอยคนที่สนใจหรือมีความเชี่ยวชาญเรื่องเพศวิถี อีกทั้งนาจะเปนเพราะวาคณะผูวิจัยรูจักนักเคลื่อนไหวและนักวิชาการในดานประเด็น LGBT มากกวาในประเด็นของผูหญิง นอกจากนั้น ผูเชี่ยวชาญที่ผูวิจัยรูจักเปนการสวนตัวซึ่งสวนใหญเปนผูที่ทํางานดาน LGBT อาจจะมีแนวโนมที่จะสละเวลาในการใหขอมูลไดมากกวาผูเชี่ยวชาญที่ผูวิจัยติดตอเพ่ือขอขอมูลแตไมรูจักเปนการสวนตัว ในภาคผนวกจะระบุชื่อและหมายเลขประจําตัวผูใหขอมูล (หมายเลขเหลานี้ต้ังตามลําดับที่ไดวิเคราะหขอมูล)

1 บทความนี้ใชคําวา “LGBT” (ยอมาจากคําวา lesbian, gay, bisexual และ transgender หรือหญิงรักหญิง ชายรักชาย คนรักสองเพศ และคนขามเพศ) แทนคําวา “LGBTIQ” ซ่ึงหมาย รวมทั้ง intersex (คนที่มีอวัยวะ 2 เพศหรืออวัยวะเพศที่ไมเปนแบบเพศชายหรือเพศหญิงอยางชัดเจน) และ queer (ผูที่นําคําดาคํานี้ซ่ึงแปลวา “ประหลาด” มาเปนคําเรียกตนเองก็เพื่อบงบอกวาเขาไมอยูในกรอบของจารีตประเพณีในเร่ืองเพศ) เน่ืองจากสองกลุมน้ียังไมคอยปรากฏตัวเปนกลุมอัตลักษณในสังคมไทย และเพราะการตระหนักรูของสังคมกระแสหลักที่มีมากข้ึนตอ LGBT ยังไมครอบคลุมสองกลุมน้ี

35วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

ผลการวิจัย เมื่อสังเคราะหขอมูลจากผูใหขอมูลทั้ง 40 คน เห็นไดชัดวาขอคิดเห็นที่รับมาแบงไดเปนสองสวน สวนแรกคือส่ิงที่เปล่ียนแปลงและไมเปล่ียนแปลงในเพศภาวะและเพศวิถี และสวนที่สองคือสาเหตุที่ทําใหเกิดความเปลี่ยนแปลงและไมเปล่ียนแปลงดังกลาว ทั้งสองสวนนั้นยังสามารถแบงเปนหัวขอยอยตามแตละประเด็นไดอีกดวย ในสวนนี้ของบทความจะอธิบายวาแตละหัวขอมีภาพรวมอยางไรและประกอบดวยประเด็นใดบาง แตละหัวขอมีตารางที่รวบรวมประเด็นตามลําดับจํานวนผูใหขอมูลที่แสดงขอคิดเห็นในประเด็นนั้นๆ (แตเพ่ือไมใหตารางยาวมาก จะไมระบุประเด็นที่ผูใหขอมูลไดกลาวถึงนอยกวา 3 คน) ความเปลี่ยนแปลงและไมเปล่ียนแปลงในเพศภาวะและเพศวิถี ตารางที่ 1 รูปแบบของเพศภาวะและเพศวิถีที่เปล่ียนแปลงไป

ประเด็นยอย n - ความสัมพันธแบบคูรักและความสัมพันธทางเพศสรางไดงายข้ึน 30 - LGBT เปดเผยตัวตนมากกวาเดิม 23 - คนในสังคมสามารถกําหนดเพศภาวะและเพศวิถีของตนดวยตนไดมากขึ้น 22 - กลุม LGBT ปรากฏใหเห็นในสังคมมากขึ้น 21 - มีการยอมรับตอกลุม LGBT มากขึ้น 20 - มีการตระหนักถึงการดํารงอยูของ LGBT ในสังคมมากขึ้น 16 - มีการพูดถึงเพศวิถีและเพศภาวะในสังคมมากขึ้น 16 - คนในสังคมเขาถึงขอมูลที่เกี่ยวกับเพศภาวะและเพศวิถีมากขึ้น 13 - สังคมมีความเขาใจตอเพศวิถีและเพศภาวะมากขึ้น 13 - บทบาทของบรรทัดฐานทางเพศแบบจารีตลดลง 11 - การยอมรับตนเองในกลุม LGBT มีมากขึ้น 10 - ผูหญิงมีบทบาทในสังคมมากขึ้น และมีหนาที่การงานที่สูงข้ึน 9 - กลุม LGBT มีบทบาทในสังคมมากขึ้น และมีหนาที่การงานที่สูงข้ึน 8 - การคบหลายคนในฐานะแฟนหรือกิ๊กในเวลาเดียวกันแพรหลายมากขึ้น 6 - การหยาราง/ครอบครัวที่แตกแยก มีมากขึ้น 6

36 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

ประเด็นยอย n - มีการลองรูปแบบเพศภาวะที่หลากหลายขึ้น 5 - อายุการมีเพศสัมพันธครั้งแรกลดลง 5 - โรงเรียนมีการสอนเพศวิถีศึกษามากขึ้น 5 - มีการมีเพศสัมพันธกับคนอื่นนอกจากคูสมรส (ที่ไมเปนการซื้อบริการ)

มากขึ้น 5

- ปญหาทองไมพรอม / การทําแทง 5 - อัตลักษณของเกยและกะเทยแยกออกจากกันชัดเจนขึ้น 5 - มีคนจํานวนมากขึ้นที่ถือวาเพศสัมพันธเปนแคเรื่องของความสนุกสนาน 4 - อายุที่คนเริ่มแสดงอัตลักษณ LGBT และดําเนินชีวิตในรูปแบบ LGBT ลดลง 3 หมายเหตุ: n หมายถึงจํานวนผูใหขอมูลที่กลาวถึงประเด็นน้ี

โจทยที่ผูวิจัยใหผูใหขอมูลพิจารณานั้นมุงเนนใหผูใหขอมูลกลาวถึงความเปล่ียนแปลงมากกวาการคงอยูในลักษณะเดิมของเพศภาวะและเพศวิถี แตการที่ ผูใหขอมูลมากกวา 3 ใน 4 เห็นดวยวาใน 30 ปที่ผานมา รูปแบบเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทยมีความเปลี่ยนแปลงจริงนั้นสนับสนุนขอคิดที่วา ส่ิงเหลานี้ไดมีการเปล่ียนแปลงจริงในสังคมไทย อยางไรก็ตาม ผูใหขอมูลหลายคนมองวาถึงแมจะมีความเปลี่ยนแปลง แตก็ยังมีอีกหลายๆ สวนที่คงดํารงอยูเหมือนหรือคลายกับแตเดิม เชน ผูหญิงอาจจะมีความอิสระในการดําเนินชีวิตทางเพศมากกวา 30 ปที่แลว แตในปจจุบันผูหญิงก็ยังถูกกดดันใหอยูในกรอบเรื่องเพศแบบจารีตประเพณีอยูดี จากตารางที่ 1 ภาพรวมความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือ ทุกเพศมีเสรีภาพในการกําหนดชีวิตทางเพศของตนมากขึ้น สามารถมีเพศสัมพันธและสรางความสัมพันธทางเพศหรือความสัมพันธแบบคูรักไดงายขึ้น เสรีภาพดังกลาวสงผลตอ ผูหญิงและชาว LGBT มากเปนพิเศษเพราะสองกลุมนี้เคยถูกควบคุมและจํากัดสิทธิมากกวาผูชายรักตางเพศ แตเมื่อกลุมเหลานี้มีเสรีภาพมากขึ้น ผูชายรักตางเพศก็สามารถมีเพศสัมพันธกับผูหญิง (ทั้งที่เกิดในรางกายของผูหญิงและผูหญิงขามเพศ) ไดงายขึ้นดวย นอกเหนือจากเรื่องเพศโดยตรงแลว การกดขี่ผูหญิงและชาว LGBT ไดลดลง และยังมีการเปดโอกาสทางสังคมใหกลุมเหลานี้มีความกาวหนาในหนาที่การงาน การศึกษา และบทบาทตางๆ ทางสังคมอีกดวย การเปลี่ยนแปลง

37วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

อ่ืนๆ ไดแก การมีรูปแบบเพศภาวะและเพศวิถีที่หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการมีความสัมพันธทางเพศกับคนอื่นๆ พรอมๆ กันในเวลาเดียวกัน การหยารางเพ่ิมมากขึ้น การมีเพศสัมพันธเพ่ือความร่ืนรมยเพ่ิมมากขึ้น รวมท้ังปญหาการทองไมพรอมและการทําแทงของผูหญิงเพ่ิมมากขึ้น คนในสังคมมีการพูดถึงและเขาถึง ขอมูลเรื่องเพศมากขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนตางๆ มีการสอนเพศวิถีศึกษามากขึ้น ทําใหคนเขาใจเพศวิถีและเพศภาวะมากขึ้น ตารางที่ 2 รูปแบบเพศภาวะและเพศวิถีที่ยังคงอยูเหมือนเดิม

ประเด็นยอย n - LGBT ยังถูกตีตราและจํากัดบทบาทในสังคมอยู 16 - ผูหญิงยังถูกควบคุมโดยสังคมอยู 10 - LGBT ยังมักจะไมเปดเผยตัวตนอยู 10 - โครงสรางทางสังคมแบบชายเปนใหญยังคงมีอยู 5 - คนในสังคมยังขาดความเขาใจในประเด็นเพศวิถีและเพศภาวะอยู 5 - ระบบเพศภาวะแบบเดิมยังคงมีอยู 4 - เพศวิถีของคนในสังคมไมคอยเปล่ียนแปลงมากนัก 3

หมายเหตุ: n หมายถึงจํานวนผูใหขอมูลที่กลาวถึงประเด็นน้ี

หัวขอที่สรุปไวในตารางที่ 2 สะทอนส่ิงที่ผูใหขอมูลบางสวนมองวาไมคอยมีความเปลี่ยนแปลงมากนัก สวนใหญเนนวาสังคมไทยยังคงจํากัดโอกาสและควบคุมทั้งผูหญิงและชาว LGBT อยูดวยบรรทัดฐานและโครงสรางทางสังคมแบบจารีตนิยมที่ต้ังชายเปนใหญ ทําใหชาว LGBT ยังไมสามารถเปดเผยตัวตนไดอยางเต็มที่ในสังคมไทย นอกจากนี้ผูใหขอมูลบางคนยังใหขอคิดเห็นวา โดยรวมแลวระบบเพศภาวะและเพศวิถียังคงไมเปล่ียนแปลงมากนัก อีกทั้งสังคมยังขาดความเขาใจในเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีอยูดวย

38 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

ตารางที่ 3 ประเด็นเกาที่มีการเปล่ียนรูปแบบ ประเด็นยอย n

- การขายบริการทางเพศ 11 - ส่ือโป 9 - ความรุนแรงทางเพศ 5

หมายเหตุ: n หมายถึงจํานวนผูใหขอมูลที่กลาวถึงประเด็นน้ี นอกเหนือจากประเด็นที่ผูใหขอมูลไดกลาวถึงการเปลี่ยนแปลงหรือ การคงอยูตามเดิม ในตารางที่ 3 ไดแสดงใหเห็นวามีบางประเด็นที่สังคมไทยมีมานานแลว ส่ิงเหลานี้ก็ยังมีอยูเหมือนเดิมแตมีรูปแบบที่เปล่ียนไป โดยเฉพาะการซื้อขายบริการทางเพศและสื่อโป เชน ส่ือโปมีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกสมากขึ้น สวนการซื้อขายบริการทางเพศนั้นยายออกจากซองและมาปรากฏตัวผานการขายบริการอื่นๆ (เชน รานนวด สปา) หรือการขายตรงโดยไมมีนายหนา การโฆษณาและการติดตอกันเพ่ือซื้อขายเพศสัมพันธนั้นทําไดงายขึ้นดวยเทคโนโลยีสมัยใหม เชน อินเตอรเน็ตและโทรศัพทมือถือ รวมท้ังความรุนแรงทางเพศก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกดวย ปจจัยที่ทําใหเกิดความเปลี่ยนแปลงในเพศภาวะและเพศวิถี ปจจัยที่ผูใหขอมูลจํานวนมากกลาววาสงผลตอเพศวิถีและเพศภาวะมากที่สุดคือ บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารรวมสมัย ซึ่งก็คืออินเตอรเน็ตและโทรศัพทมือถือ โจทยที่ใหไวก็ต้ังคําถามกับปจจัยเหลานี้อยูแลว แตผูใหขอมูลสวนใหญเห็นดวยวาส่ิงเหลานี้สงผลตอเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทยจริง ดังจะเห็นไดจากตารางที่ 4 ผลของเทคโนโลยีการส่ือสารเหลานี้ที่ผูใหขอมูลกลาวถึงมากที่สุดคือ การที่ความสัมพันธแบบคูรักสรางไดงายขึ้น และการนัดเพ่ือมีเพศสัมพันธก็ทําไดงายขึ้นเชนเดียวกัน (ผูใหขอมูล 3 ใน 4 กลาวถึงประเด็นนี้) แตนอกจากนี้ โทรศัพทมือถือและอินเตอรเน็ตยังทําใหผูใชเทคโนโลยีเหลานี้เขาถึงขอมูลเกี่ยวกับเรื่องเพศงายขึ้น ทําใหเพศวิถีและเพศภาวะ (รวมทั้งแบบที่เคยถูกตีตรา เชน วิถีชีวิตของ LGBT) ถูกพูดถึงมากขึ้น ซึ่งนําไปสูการยอมรับทั้งตนเองและผูอ่ืนที่เกิดขึ้นไดงาย

39วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

กวาเดิม นอกจากนี้ ยังเกิดชุมชนออนไลนของคนที่มีลักษณะคลายๆ กัน ซึ่งก็ตางเพ่ิมพ้ืนที่ทางสังคมสําหรับกลุมตางๆ รวมทั้งเกิดรูปแบบใหมของการผลิตและ เผยแพรส่ือโป เชน การถายคลิปวิดีโอดวยกลองโทรศัพทมือถือและสงตอ ผานระบบ Bluetooth หรือทางอินเตอรเน็ต รวมทั้งเกิดระบบการหาคูออนไลนและรูปแบบใหมของความสัมพันธทางเพศ (เซ็กสโฟนและไซเบอรเซ็กส) ดวย ขณะเดียวกันยังมีปรากฏการณที่รัฐเขามาควบคุมกํากับเพศวิถีรูปแบบตางๆ ในส่ือดวยโดยการปดหรือเซ็นเซอรชองทางหรือเนื้อหาของสื่อดานเพศตางๆ ตารางที่ 4 บทบาทของอินเตอรเน็ต โทรศัพท (มือถือ) และผลที่มีตอเพศภาวะและเพศวิถี

ประเด็นยอย n - การใชโทรศัพทมือถือ 31 - ความสัมพันธแบบคูรักและความสัมพันธทางเพศสรางไดงายขึ้น 30 - การใชอินเตอรเน็ต 28 - การติดตอส่ือสารที่งายขึ้น 28 - สมารทโฟน 18 - มีการตระหนักถึงการดํารงอยูของ LGBT ในสังคมมากขึ้น 16 - สังคมไทยมีการพูดถึงเพศวิถีและเพศภาวะมากขึ้น 16 - ความกาวหนาของเทคโนโลยี 15 - คนในสังคมเขาถึงขอมูลที่เกี่ยวกับเรื่องเพศมากขึ้น 13 - ความอันตรายที่เกิดไดจากการใชโทรศัพทมือถือ 11 - โปรแกรมแช็ตในอินเตอรเน็ตและโทรศัพทมือถือ 11 - การยอมรับตนเองในกลุม LGBT มีมากขึ้น 10 - เว็บโซเชียลเน็ตเวิรก 10 - โทรศัพทมือถือมีราคาที่ถูกลงและเขาถึงไดงายขึ้น 9 - ส่ือโป 9 - ไซเบอรเซ็กส / เซ็กสโฟน 9

40 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

ประเด็นยอย n - ชุมชนเสมือนจริง (ชุมชนออนไลน) 9 - SMS/MMS 8 - แคมฟร็อก 7 - มีการติดตอส่ือสารกับชาวตางชาติมากขึ้น 6 - การใชโทรศัพทมือถือเปนเครื่องบงบอกอัตลักษณหรือฐานะ 6 - โทรศัพทติดสาย 6 - การถายคลิปโปจากโทรศัพทมือถือ 6 - การใชอินเตอรเน็ตมีคาใชจายถูกลงและเขาถึงไดงายขึ้น 6 - แอปพลิเคชั่นสมารทโฟนสําหรับการหาคู 5 - อัตลักษณเสมือนจริงและอัตลักษณปลอมแปลง 5 - การเซ็นเซอรควบคุมส่ือโดยรัฐ 4 - การมีโทรศัพทมือถือหลายเครื่องหรือ SIM หลายใบ 4 - สังคมมีความเปนปจเจกนิยมมากขึ้น 3 - การเปดแขงขันเสรีในตลาดการสื่อสาร 3

หมายเหตุ: n หมายถึงจํานวนผูใหขอมูลที่กลาวถึงประเด็นน้ี ในดานของบทบาทประชาสังคม (ตารางที่ 5) ผูใหขอมูลหลายคนเปนนักเคล่ือนไหวดาน LGBT จึงไมแปลกที่มากกวาครึ่งหนึ่งกลาวถึงการเคลื่อนไหวในประเด็นเหลานี้ ในขณะที่การเคลื่อนไหวในประเด็นของผูหญิงไดรับการกลาวถึงนอยกวา อยางไรก็ตาม การใชกรอบแนวคิดแบบสิทธิมนุษยชนไดสงผลตอการเคล่ือนไหวทั้งสองรูปแบบ (ผูใหขอมูลมากกวาครึ่งหนึ่งกลาวถึงประเด็นนี้) ในขณะที่การระบาดของโรคเอดสทําใหเกิดกลไกสนับสนุนการทํางานในประเด็น LGBT โดยที่มีเงินทุนและโครงสรางทางสังคมที่เปดโอกาสสําหรับการทํางานประเด็น LGBT ที่ครอบคลุมมากกวาแคประเด็นเอดส

41วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

ตารางที่ 5 การเคลื่อนไหวและการวิจัยในประเด็นผูหญิงและ LGBT ประเด็นยอย n

- การเคลื่อนไหวและการผลักดันประเด็น LGBT 22 - มุมมองสิทธิมนุษยชน 22 - สังคมมีการพูดถึงเพศวิถีและเพศภาวะมากขึ้น 16 - คนในสังคมเขาถึงขอมูลที่เกี่ยวกับเรื่องเพศมากขึ้น 13 - การเรียกรองความเสมอภาคทางเพศ 11 - เงินทุนที่เกี่ยวของกับประเด็น HIV/AIDS 8 - ขบวนการในประเด็นของผูหญิงในสังคมไทย 6 - บริบททางการเมืองของยุค 1970's 6 - NGO ที่ใชมุมมองสิทธิเปนฐาน 6 - การแทรกแซงในเรื่องเพศ 6 - บริการและแผนงานดานสุขภาวะทางเพศ 6 - การสอนเพศวิถีศึกษาในโรงเรียน 5 - ปญหาทองไมพรอม / การทําแทง 5 - งานวิจัยเรื่องเพศและเพศวิถีในสังคมไทย 4 - ประเด็นแนว “ผูหญิงและการพัฒนา” 4 - การเกิดสตรีศึกษาในสังคมไทย 3

หมายเหตุ: n หมายถึงจํานวนผูใหขอมูลที่กลาวถึงประเด็นน้ี กลุมประเด็นที่สามที่ผูใหขอมูลกลาววาเปนปจจัยที่ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงและไมเปล่ียนแปลงในเพศภาวะและเพศวิถี คือ ประเด็นทางการเมือง กฎหมาย นโยบาย และหนวยงานภาครัฐ ซึ่งมีประเด็นหลายแบบและไมมีประเด็นใดที่จะเดนมากหรือมีคนกลาวถึงมากเทากับในกรณีเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งประเด็นเหลานี้ครอบคลุมตั้งแตบรรยากาศในชวงทศวรรษ 1970s ( พ.ศ. 2513-2522) ที่เปดพ้ืนที่สําหรับ การพูดถึงเรื่องเพศ ความพยายามของรัฐที่จะปรับเปล่ียนเพศวิถีและ เพศภาวะของคนไทยทั้งในรูปแบบของการสงเสริมสุขภาวะทางเพศ เปดสอน

42 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

เพศวิถีศึกษาในโรงเรียน และในรูปแบบการรณรงคใหคนในสังคมดําเนินชีวิต ทางเพศตามจารีตประเพณีหรือการเซ็นเซอรเนื้อหาเรื่องเพศในส่ือ นอกจากนี้ยังมีนโยบายดานตางๆ เชน นโยบายทางเศรษฐกิจหรือการศึกษาที่สงผลตอเพศวิถีและเพศภาวะในทางออม สวนตัวอยางของหนวยงานภาครัฐที่ผูใหขอมูลคิดวา สงผลตอเพศภาวะและเพศวิถี คือ การเกิดขึ้น ดํารงอยู และบทบาทในการดําเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย (ดูตารางที่ 6) ตารางที่ 6 บริบททางการเมือง กฎหมาย นโยบาย และหนวยงานภาครัฐ

ประเด็นยอย n - การเมือง นโยบาย หรือกฎหมาย 21 - LGBT ยังถูกตีตราและจํากัดบทบาททางสังคมอยู 16 - หนวยงานภาครัฐที่ทํางานในประเด็นเพศภาวะหรือเพศวิถี 8 - คนในสังคมเขาถึงการศึกษามากขึ้น 8 - บริบททางการเมืองของยุค 1970's 6 - การควบคุมเพศภาวะและเพศวิถีโดยรัฐ 6 - บริการและแผนงานดานสุขภาวะทางเพศ 6 - การแทรกแซงในเรื่องเพศ 6 - โครงสรางทางสังคมแบบชายเปนใหญ 5 - การสอนเพศวิถีศึกษาในโรงเรียน 5 - การเซ็นเซอรควบคุมส่ือโดยรัฐ 4 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ 4 - บรรยากาศของประชาธิปไตย 4 - การตอตานโลกาภิวัตนและการขยายตัวของเขตเมืองจากแงมุม

ชาตินิยมหรือทองถ่ินนิยม 3

- การเปดแขงขันเสรีในตลาดการสื่อสาร 3 หมายเหตุ: n หมายถึงจํานวนผูใหขอมูลที่กลาวถึงประเด็นน้ี

43วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

การระบาดของโรคเอดสในสังคมไทย (ตารางที่ 7) เปนปรากฏการณสําคัญของ 30 ปที่ผานมาสําหรับทุกเพศ ผูใหขอมูลหลายคนคิดวาไดปรับเปล่ียนเพศวิถีของคนหมูมากในสังคมไทย เชน ความกลัวตอโรคเอดสและการตีตราพนักงานบริการทางเพศวาเปนผูแพรเชื้อทําใหการซื้อขายบริการทางเพศลดลง ขณะเดียวกันก็ทําใหการมีเพศสัมพันธนอกหรือกอนสมรสที่ไมอาศัยการซื้อขายบริการเพิ่มมากขึ้น (เพราะรูปแบบเพศวิถีในลักษณะนี้ไมถูกเนนในการรณรงค) อยางไรก็ดี ส่ิงเหลานี้มิไดเกิดจากการมีโรคเอดสโดยตรง แตเกิดจากวิธีการรับมือกับโรคเอดสของสังคมและรัฐไทย ซึ่งในชวงแรกอาศัยการสรางบรรยากาศของความกลัวตอเรื่องเพศโดยทั่วไปและการซื้อบริการทางเพศในบริบทของคนรักตางเพศโดยเฉพาะ ในระยะตอมาไดมีการสรางการตระหนักถึงผลเสียของการตีตรา ผูติดเชื้อ และมีการใหความหมายตามแนวคิดระบาดวิทยาเรื่อง “กลุมเส่ียง” และเรื่องเพศของกลุม LGBT บางอยาง ตารางที่ 7 HIV/AIDS และผลที่มีตอสังคมไทย

ประเด็นยอย n - HIV/AIDS 15 - การรับมือกับ HIV/AIDS 13 - เงินทุนที่เกี่ยวของกับประเด็น HIV/AIDS HIV/AIDS 8 - บริการและแผนงานดานสุขภาวะทางเพศ 6 - ความกลัวตอ HIV/AIDS 3 - การเขาถึงยาตาน HIV อยางทั่วถึง 3

หมายเหตุ: n หมายถึงจํานวนผูใหขอมูลที่กลาวถึงประเด็นน้ี อีกหัวขอที่ผู ใหขอมูลเกือบครึ่งหนึ่ งกลาวถึงคือ การขยายตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมและประเด็นตางๆ ที่เกี่ยวของ (ตารางที่ 8) เชน การที่ปจเจกบุคคลมีรายไดของตนเอง โลกาภิวัตน การที่คนในสังคมไทยอยูในเขตเมืองมากขึ้น และความสําคัญของการศึกษาที่เพ่ิมมากขึ้น พรอมทั้งการเจาะตลาดเฉพาะกลุม (เชน LGBT) ประเด็นเหลานี้ทําใหคนในสังคมมีความเปนปจเจกมากขึ้นและสามารถกําหนดวิถีชีวิตทางเพศของตนไดมากขึ้นดวย แตในอีกแงหนึ่ง ความอิสระดังกลาวก็มีเง่ือนไขคือ จะมีความอิสระ (รวมท้ังในเรื่องเพศ) ไดก็ตอเมื่อมีเงิน

44 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

ตารางที่ 8 การขยายตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมและเขตเมือง และผลที่มีตอสังคม ประเด็นยอย n

- การขยายตัวของเศรษฐกิจทุนนิยม 19 - โลกาภิวัตน 13 - มีการติดตอส่ือสารกับชาวตางชาติมากขึ้น 11 - คนในสังคมเขาถึงการศึกษามากขึ้น 8 - การเจาะตลาดเฉพาะกลุม LGBT 8 - การติดตอส่ือสารกับชาวตางชาติ 6 - ชนชั้นทางสังคม 6 - คนในสังคมมีความมั่งคั่งมากขึ้น 7 - การขยายตัวของเขตเมือง 6 - การยายถิ่นของแรงงาน 4 - สังคมมีความเปนปจเจกนิยมมากขึ้น 3 - ประเด็น “ผูหญิงและการพัฒนา” 3

หมายเหตุ: n หมายถึงจํานวนผูใหขอมูลที่กลาวถึงประเด็นน้ี หัวขอสุดทายที่ผูใหขอมูลกลาวถึงคือ บทบาทของสื่อมวลชนและส่ือเฉพาะกลุม (ตารางที่ 9) ขอคิดเห็นจากผูใหขอมูลชี้ใหเห็นวา ส่ือมวลชนแบบดั้งเดิม ไมวาส่ือส่ิงพิมพ วิทยุ หรือโทรทัศนก็ลวนสงผลตอเพศวิถีและเพศภาวะของคนไทย ผานการเปดพ้ืนที่สําหรับการพูดถึงเรื่องเพศ ในแงหนึ่งทําใหบางประเด็น เชน การดํารงอยูของกลุม LGBT เปนที่ตระหนักรูของคนในสังคมมากขึ้น แตในอีกแงหนึ่งก็ทําใหเรื่องเพศของผูหญิงและชาว LGBT ถูกตีตราดวย สวนเมื่อเริ่มมีส่ือเฉพาะกลุม เชน นิตยสารเกย ก็ย่ิงเกิดพ้ืนที่สําหรับการสรางอัตลักษณเฉพาะกลุมในรูปแบบใหมๆ มากขึ้น

45วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

ตารางที่ 9 ส่ือมวลชนและส่ือเฉพาะกลุม ประเด็นยอย n

- สังคมมีการตระหนักถึงการดํารงอยูของ LGBT มากขึ้น 16 - สังคมมีการพูดถึงเพศวิถีและเพศภาวะมากขึ้น 16 - LGBT ยังถูกตีตราและจํากัดบทบาทในสังคมอยู 16 - คนในสังคมเขาถึงขอมูลที่เกี่ยวกับเพศภาวะและเพศวิถีมากขึ้น 13 - ส่ือมวลชน 12 - ขาวหนังสือพิมพเกี่ยวกับ LGBT 9 - การมีเนื้อหาเกี่ยวกับ LGBT ในภาพยนตรและโทรทัศน 8 - โทรทัศน 8 - การเซ็นเซอรควบคุมส่ือโดยรัฐ 4

หมายเหตุ: n หมายถึงจํานวนผูใหขอมูลที่กลาวถึงประเด็นน้ี อภิปรายผลการวิจัย โจทยที่งานวิจัยนี้ชวนใหผูเชี่ยวชาญ 40 คนพิจารณาเปนโจทยที่กวางมาก ครอบคลุมทุกมิติของวิวัฒนาการเพศภาวะและเพศวิถีของสังคมไทยใน 30 ปในที่ผานมา ดังนั้น บทความสั้นๆ นี้ก็ไมสามารถครอบคลุมปรากฏการณทุกอยางที่ผูใหขอมูลกลาวถึงได (ดูรายละเอียดใน Ojanen, 2011) ผูเขียนจึงตองเลือกสะทอนเฉพาะบางประเด็นที่เดนเทานั้น และเปรียบเทียบกับองคความรูเดิม บางสวนที่เกี่ยวของ เพศวิถีและเพศภาวะของคนไทยเปลี่ยนแปลงจริงหรือไม? ผูใหขอมูลสวนใหญมองวาเพศวิถีและเพศภาวะในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงจริงในระยะเวลา 30 ปที่ผานมา อยางไรก็ตาม ผู ใหขอมูลบางสวนสงสัยวา ส่ิงเหลานี้เปล่ียนแปลงจริงหรือเพียงแคถูกพูดถึงอยางเปดเผยมากขึ้น ถาวิเคราะหประเด็นนี้ในแงของงานวิจัยที่คณะผูวิจัยไดทบทวนไว ก็ดูเหมือนมุมมองดังกลาวทั้งสองอาจจะสะทอนความเปนจริง

46 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

ความเปลี่ยนแปลงในเพศวิถีแบบรักตางเพศ ขอมูลประเภทหนึ่งที่สะทอนความเปลี่ยนแปลงในเพศวิถีของคนไทยเกี่ยวกับประเภทของคนที่ชายไทยมีเพศสัมพันธครั้งแรกดวย ซึ่ง Ngamprapasom (2001) ไดรวบรวมสถิติเหลานี้ไวต้ังแตรุนที่เกิดเมื่อประมาณ 70 ปที่แลวจนถึงรุนที่เกิดเมื่อประมาณ 30 ปที่แลวนั้น สถิติเหลานี้ชี้ใหเห็นวารุนที่มีอายุมากที่สุดสวนใหญมีเพศสัมพันธครั้งแรกกับภรรยา แตสัดสวนของการมีเพศสัมพันธครั้งแรกกับคนขายบริการก็เพ่ิมขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเปนประเภทของการมีเพศสัมพันธครั้งแรกของหนุมไทยที่มีสัดสวนสูงที่สุดในชวงเวลาสั้นๆ ราว พ.ศ. 2528 และถัดมา การมีเพศสัมพันธครั้งแรกกับ “เพ่ือนสนิท” (ซึ่งในนี้อาจจะหมายถึง “แฟน”) กลายเปนประเภทของการมีเพศสัมพันธครั้งแรกของชายไทยที่มีสัดสวนสูงที่สุด วิวัฒนาการลาสุดตามขอมูลเหลานี้คือ สัดสวนของการมีเพศสัมพันธครั้งแรกกับคนประเภท “อ่ืนๆ” นั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ชี้ใหเห็นวา ต้ังแตยุคที่ชายไทยมักจะมีเพศสัมพันธครั้งแรกกับ “เพ่ือนสนิท” หญิงไทยสวนใหญก็นาจะมีเพศสัมพันธครั้งแรกเมื่อ (ยัง) ไมไดแตงงาน เปนความเปลี่ยนแปลงประการหนึ่งจากบรรทัดฐานเดิมที่กดดันใหหญิงไทยละเวนการมีเพศสัมพันธจนกวาจะแตงงานและมีสามีแลว นอกจากนี้ การมีเพศสัมพันธครั้งแรกเมื่อ (ยัง) ไมไดแตงงานที่กลายเปนเพศวิถีกระแสหลักของสังคมปจจุบันสวนใหญก็ไมไดอาศัยการซื้อขายบริการทางเพศดวย เมื่อเปรียบเทียบขอมูลจากการสํารวจประสบการณทางเพศของคนไทยระดับชาติครั้งแรกในป พ.ศ. 2533 (Sittitrai, Phanuphak, Barry & Brown, 1992) กั บ ก ารสํ า รวจค รั้ งที่ ส อ งใน ป พ .ศ . 2549 (Chamratrithirong, Kittisuksathit, Podhisita, Isarabhakdi & Sabaiying, 2007) พบวา ใน พ .ศ. 2533 ยังมีสัดสวนของหญิงไทยนอยมากที่ระบุวาตนเคยมีเพศสัมพันธนอกหรือกอนสมรส ขณะที่การสํารวจใน พ.ศ. 2549 พบวาวัยรุนหญิงไทย (อายุ 18-24 ป) รอยละ 60 ระบุวาเคยมีเพศสัมพันธแลว นอกจากนั้น รอยละ 70 ระบุวาเปนเพศสัมพันธที่ไมไดมีกับสามี จึงเห็นไดวา จากขอมูลของ Ngamprapasom (2001) ที่กลาววา เพศสัมพันธที่ไมไดเกิดขึ้นระหวางคูสามี-ภรรยาอาจจะเปนเรื่องธรรมดามาตั้งแตประมาณ 25 ปที่แลว แตสังคมไทยยังตองรออีกประมาณ 20 ปจนกวาเรื่องนี้กลายเปนเรื่องที่ฝายซึ่งเส่ียงตอการถูกตีตรา (ผูหญิงไทย) กลาเปดเผยตอนักสํารวจที่มาสัมภาษณเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ

47วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

สถิติอ่ืนๆ ที่สะทอนวาคนไทยจํานวนมากหลุดจากกรอบเรื่องเพศตามจารีตประเพณีมีอยูหลายอยาง เชน อายุเฉล่ียการมีเพศสัมพันธครั้งแรกในวัยรุนลดลงเหลือแคประมาณ 10 ถึง 14 ป (Sabaiying, 2009, อางถึงใน กฤตยา, 2554) จํานวนบุตรที่ผูหญิงไทยอายุตํ่ากวา 15 ปคลอดตอปน้ันเพ่ิมเกือบ 8 เทาระหวางป พ .ศ . 2523 ถึ งป พ .ศ . 2553 (National Economic and Social Development Board & United Nations Population Fund Thailand/NESDB & UNFPA Thailand, 2011) สัดสวนผูหญิงอายุ 50-54 ปที่ไมเคยแตงงานเพิ่มสูงขึ้นสองเทาจากรอยละ 3.4 เปนรอยละ 7.6 ในระยะเวลาเดียวกัน (NESDB & UNFPA Thailand) และอัตราของการหยารางตอการจดทะเบียนสมรสเพิ่มขึ้นมากกวา 3 เทา จากรอยละ 9.7 ในป พ.ศ. 2536 เปนรอยละ 36.3 ในป พ.ศ. 25522 ความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอัตลักษณ LGBT การเปนชาว LGBT เปนเรื่องที่ถูกตีตราในสังคมไทย แมแตการสํารวจในป พ.ศ. 2549 (Chamratrithirong et al, 2007) กลุมตัวอยางเพียงรอยละ 6 ถึง 15 ระบุวายอมรับเพศสัมพันธระหวางคนเพศเดียวกัน (ผูสูงอายุมีสัดสวนของคนที่ยอมรับต่ําที่สุด) ดังนั้น คงไมแปลกที่การสํารวจครั้งแรก (Sittitrai et al, 1992) พบกลุมตัวอยางเพียงรอยละ 0.2 (ชาย) และรอยละ 0.9 (หญิง) ที่ระบุวาเคยมีเพศสัมพันธเพียงกับคนที่เปนเพศเดียวกัน ในขณะที่สัดสวนนี้เพ่ิมขึ้นประมาณสองเทานับเปนประมาณรอยละ 1 (ชาย) และรอยละ 2 (หญิง) ในการสํารวจครั้งที่สองและการสํารวจวัยรุนไทยโดยเฉพาะ (ศิรินันท, 2551, Tangmunkongvorakul, Banwell, Carmichael, Utomo & Sleigh, 2010) พบวัยรุน รอยละ 6.7 ถึ งรอยละ 22.7 (ขึ้นอยูกับเพศกําเนิดและการศึกษา) ที่ไมไดระบุวาตนเปนคนรักตางเพศหรือไมแนใจวาตนชอบเพศใด สะทอนใหเห็นวา ในขณะท่ีการยอมรับตอส่ิงที่เคยถูกตีตราเพ่ิมขึ้น สัดสวนของคนรุนใหมที่กลาเปดเผยในเรื่องนั้นๆ ก็เพ่ิมขึ้นดวย

2 คํานวณจากสถิติการสมรสและการหยาจากกรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย, พ.ศ.

2552, จากhttp://203.113.86.149/web_pages/m03093000/services_files/modules52_1.xls

48 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

สถิติเหลานี้ทั้งหมดสนับสนุนแงมุมที่วา ความเปลี่ยนแปลงเปนวงจร กลาวคือ เมื่อพฤติกรรมใด (เชน การมีเพศสัมพันธกอนหรือนอกสมรส หรือการแสดงออกวาตนเปน LGBT) กลายเปนที่ยอมรับของสังคมมากขึ้น คนก็ยอมกลาที่จะมีพฤติกรรมนั้นๆ มากขึ้น พูดถึง เปดเผยวาตนมีพฤติกรรมดังกลาว ซึ่งก็ตางทําใหพฤติกรรมนั้นๆ กลายเปนเรื่องที่ปกติธรรมดาในสายตาสังคมรอบขางมากขึ้นอีก ความเทาเทียมทางเพศภาวะ (gender equality) ที่คอยๆ เพ่ิมขึ้นในสังคมไทย สวนดานความเทาเทียมทางเพศภาวะในแงของการเขาถึงตําแหนงสูงๆ ในสังคม (เชน ส.ส. ส.ว. หรือผูบริหารหนวยงานภาครัฐหรือบริษัทเอกชน) สถิติต างๆ (เช น Office of Women and Family Development, Ministry of Social Development and Human Security & United Nations Development Programme Thailand/OWAFD & UNDP Thailand, 2008) สนับสนุนความเห็นของผูใหขอมูลวา ผูหญิงไทยเขาถึงตําแหนงเหลานี้มากขึ้น แตสวนใหญ ผูชายยังมีสัดสวนที่สูงกวาผูหญิงในเกือบทุกดาน และในบรรดา “ผูชาย” เหลานี้ ถาจะหาคนที่ดําเนินชีวิตในรูปแบบเกยหรือไบเซ็กชวลอยางเปดเผย คงแทบจะหาไมเจอ ดังนั้น ผูชายที่เปน (หรือเสแสรงเปน) คนรักตางเพศก็ยังมีโอกาสมากกวาเพศอื่นๆ อยู แตมีดานหนึ่งที่ชองวางระหวางชายหญิงพลิกขั้วไปแลว คืออัตราการเขาเรียนระดับอุดมศึกษา ซึ่งในป พ.ศ. 2550 เปนรอยละ 55 สําหรับผูหญิงไทยแตเพียงรอยละ 44 สําหรับผูชายไทย (World Bank, 2009) ปจจัยที่ทําใหเกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเพศวิถีและเพศภาวะในสังคมไทย อินเตอรเน็ตและโทรศัพทมือถือ เมื่อพิจารณาปจจัยที่ทําใหเกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเพศวิถีและเพศภาวะในสังคมไทย การใชโทรศัพทมือถือเปนปจจัยที่งานวิจัยนี้ตองการมุงศึกษาเปนพิเศษ จึงไดต้ังคําถามเกี่ยวกับบทบาทของโทรศัพทมือถือที่มีตอวิวัฒนาการของเพศวิถีโดยเฉพาะ คําตอบที่ไดจากผูใหขอมูลสะทอนวาผูใหขอมูลสวนใหญมองวาทั้งอินเตอรเน็ตและโทรศัพทมือถือทําใหการสื่อสารมีลักษณะรวดเร็ว งาย และเปนสวนตัวมากขึ้น ลักษณะดังกลาวเปดโอกาสในการสรางความสัมพันธทาง

49วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

เพศหรือความสัมพันธแบบคูรักงายขึ้น อีกทั้งผูใหขอมูลหลายคนยังเนนวาการเขาถึงขอมูลและการสรางเครือขายก็ทําไดงายกวาเดิมดวย นําไปสูการพูดถึง ตระหนักถึง และยอมรับเรื่องเพศมากขึ้น โดยเฉพาะอยางยิ่งเรื่องเพศของ LGBT นอกจากนี้ บางคนยังกลาวถึงปรากฏการณเฉพาะที่เกิดจากการใชเทคโนโลยีเหลานี้ อาทิ การหาคูดวยแอพพลิเคชั่นเฉพาะกิจ ไซเบอรเซ็กส (เชน ผานแคมฟร็อก) เซ็กสโฟน คลิปโปที่ถายและเผยแพรดวยโทรศัพทมือถือของตนเอง ฯลฯ เมื่อเปรียบเทียบคําตอบจากผูใหขอมูลกับงานวิจัยในดานนี้ในสังคมไทยจะพบวา บทบาทของอินเตอรเน็ตมีผูวิจัยคอนขางมากแลว (พบงานวิจัยนับสิบๆ เรื่อง) แตงานวิจัยเหลานั้นมักจะเลือกปรากฏการณเฉพาะดานมาศึกษาในเชิงลึกมากกวาที่จะดูภาพรวม เชน อาจจะศึกษาไซเบอรเซ็กส (เชน รณภูมิ, พิมพวัลย และ วชิรา, 2551) การซื้อขายบริการทางเพศผานการใชอินเตอรเน็ต (เชน Wanichanun, 2007) ส่ือโปออนไลน (เชน Petchum, 2003) ความเสี่ยงทางเพศจากการใชอินเตอรเน็ต (เชน ชายไทย, 2550) หรือชุมชนออนไลนของคนรักเพศเดียวกันและคนขามเพศ (เชน จตุรวิทย, 2551) ถึงแมวางานวิจัยเหลานี้เลือกศึกษาประเด็นที่หลากหลาย แตทุกๆ เรื่องสะทอนใหเห็นวาการใชอินเตอรเน็ตมีบทบาทในการสงเสริมพฤติกรรมและอัตลักษณทางเพศที่ยังถูกตีตราในสังคมออฟไลนอยู ในขณะเดียวกัน ผลจากการใชโทรศัพทมือถือที่มีตอเพศวิถีและเพศภาวะในสังคมไทยนั้นมีผูวิจัยนอยมาก ทั้งที่โทรศัพทมือถือและอินเตอรเน็ตเกิดขึ้นประมาณ 30 ปที่แลว และเพ่ิงกลายมาเปนวิธีส่ือสารกระแสหลักของคนไทยภายในประมาณ 10 ปที่ผานมา ทวาในขณะที่ครัวเรือนไทยรอยละ 80 มีโทรศัพทมือถืออยางนอยหนึ่งเครื่อง (ขอมูลป พ.ศ. 2552) อัตราการมีสัญญากับผูใหบริการอินเตอรเน็ต (Internet Subscription) ตอประชากรมีเพียงรอยละ 20.1 (ขอมูลปเดียวกัน, Tangkitvanich & Wongkitrungruang, 2011) แมวาคนอีกจํานวนมากใชอินเตอรเน็ตในรานอินเตอรเน็ต สถาบันการศึกษา หรือที่ทํางาน แตสัดสวนของ คนไทยที่ใชโทรศัพทมือถือก็ยังสูงกวาสัดสวนที่ใชอินเตอรเน็ตอยูดี ดังนั้นการที่มี ผูวิจัยเกี่ยวกับอินเตอรเน็ตมากกวาโทรศัพทมือถือในแงของผลที่มีตอเพศวิถีและเพศภาวะของคนในสังคมไทยจึงดูเหมือนจะไมคอยสอดคลองกับระดับความสําคัญของเทคโนโลยีสองประเภทนี้มากนัก

50 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

การเคลื่อนไหวและการวิจัยในประเด็นผูหญิงและ LGBT ผูใหขอมูลมากกวาครึ่งหนึ่ง (22 คน) กลาวถึงการเคลื่อนไหวของชาว LGBT ขณะที่ เพียง 6 คนกลาวถึงการเคลื่อนไหวของผูหญิง สะทอนใหเห็นลักษณะของกลุมผูใหขอมูลที่มีนักเคลื่อนไหวและนักวิจัยที่ทํางานในประเด็น LGBT มากกวาคนที่จะทํางานในประเด็นของผูหญิง และยังสะทอนวานักเคล่ือนไหวในดาน LGBT หลายคนก็อาจจะไมตระหนักถึงบทบาทของการเคลื่อนไหวในประเด็นของผูหญิงมากนัก เมื่อพิจารณาบทบาทของการการวิจัยและการเคลื่อนไหวในเรื่องเพศ มีผูใหขอมูลเพียง 4 คนกลาวถึงบทบาทของการวิจัย จึงเห็นไดวาการเคลื่อนไหวถูกมองวามีบทบาทที่สําคัญกวาอยางชัดเจน อยางไรก็ตาม ประมาณ 10 ปที่ผานมามีการวิจัยประเด็น LGBT มากกวาเดิมหลายเทา และแงมุมของผู วิจัยก็เปน ในเชิงบวกมากขึ้น (Ojanen, 2009) สังคมไทยมีการกอตั้งองคกรผูหญิงหลายองคกร เชน มูลนิธิผูหญิง มูลนิธิเพ่ือนหญิง มูลนิธิเอ็มพาวเวอร รวมท้ังกลุมอัญจารีที่ทํางานเกี่ยวกับประเด็นของหญิงรักหญิงในชวงประมาณ 25-30 ปที่แลว ผูใหขอมูลมองวาองคกรเหลานี้ไดมีอิทธิพลตอโครงสรางสังคมมากกวาองคกร LGBT แตกตางจากคําวิจารณของนุมนวล (2549) ท่ีไดศึกษาประวัติศาสตรของการเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิสตรีในสังคมไทยและมองวาองคกรผูหญิงไทยเนนการใหบริการตอปจเจกบุคคลแตไมคอยไดเปล่ียนโครงสรางของสังคม ทวาผูใหขอมูลบางคนก็ใหความคิดเห็นวา งานดานเพศวิถี สุขภาพ หรือสิทธิทางเพศของผูหญิงเพ่ิงเริ่มมีในชวงหลังๆ ขณะที่การเคล่ือนไหวในชวงแรกที่เนนประเด็นในลักษณะ “ผูหญิงและการพัฒนา” หรือความเทาเทียมทางเพศภาวะนั้นประสบความสําเร็จในเชิงโครงสรางมากกวางานที่ทําในชวงหลัง องคกร LGBT (นอกจากอัญจารี) เพ่ิงเกิดขึ้นในชวง 15 ปที่ผานมา (เชน กลุมที่กอต้ังสมาคมฟาสีรุงแหงประเทศไทยเริ่มมีกิจกรรมเมื่อป พ.ศ. 2542) อีกทั้งในชวงไมกี่ปที่ผานมา จํานวนองคกร LGBT ที่ทํางานในประเด็น HIV/AIDS เปนหลักนั้นเพ่ิมขึ้นอยางรวดเร็ว เพราะในชวงหลังมีเงินทุนสําหรับงานดานเอดสในกลุมชายที่มี เพศสัมพันธกับชายคอนขางมาก (World Health Organization, Regional Office for South East Asia/WHO-SEARO, 2010)

51วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

ขณะที่เงินทุนที่มาผานกลไกสําหรับประเด็นเอดสจํากัดขอบเขตของงานที่นักเคลื่อนไหวดาน LGBT สามารถทําได (Burford, 2010) แตผูใหขอมูลจํานวนมากก็ไดกลาวถึงการผลักดันในดานสิทธิมนุษยชนที่ เกี่ยวกับ LGBT และในลักษณะเดียวกัน กฤตยา (2554) ชี้วาการผลักดันของนักเคลื่อนไหว LGBT ประมาณ 10 ปที่ผานมาทําใหกรมสุขภาพจิตยืนยันวาการรักเพศเดียวกันไมเปนความเจ็บปวย และทําใหมีการออกขาวเกี่ยวกับประเด็น LGBT อยางมาก พรอมทั้งทําใหเจตนารมณของรัฐธรรมนูญป พ.ศ. 2550 ระบุวาการเลือกปฏิบัติอยางไมเปนธรรมตอ LGBT จะกระทํามิได จึงกลาวไดวาการเคลื่อนไหวของ LGBT ก็ประสบความสําเร็จในเชิงโครงสรางเชนเดียวกัน กรณีนี้อาจสงผลใหสังคมยอมรับ LGBT มากขึ้น เมื่อสังคมยอมรับ LGBT มากขึ้น คนที่เปน LGBT ก็อาจจะยอมรับและเปดเผยตนเองไดมากขึ้นดวย ขอจํากัดอยางหน่ึงที่เห็นจากขอคิดเห็นของผูใหขอมูลคือ ไมมีการกลาวถึงอัตลักษณหรือประเด็นของคนที่มีอวัยวะ 2 เพศหรืออวัยวะเพศที่ไมเปนแบบเพศชายหรือเพศหญิงอยางชัดเจน (intersex) หรือบุคคลที่รักสองเพศ (bisexual) ซึ่งสะทอนใหเห็นวาส่ิงเหลานี้ยังไมไดรับการมองไมเห็น และไมไดรับการพูดถึงมากนักในสังคมไทย บริบททางการเมือง กฎหมาย นโยบาย และหนวยงานภาครัฐ หัวขอใหญตอไปเกี่ยวของกับบริบททางการเมือง กฎหมาย นโยบาย และหนวยงานภาครัฐ ประเด็นเหลานี้ผูใหขอมูลหยิบมาสะทอนอยางหลากหลายมาก และไมมีประเด็นใดที่ผูใหขอมูลมากกวาครึ่งหนึ่งจะพูดถึงแตในภาพรวม คําตอบของผูใหขอมูลนั้นสะทอนวา บรรยากาศทางการเมือง กฎหมายและนโยบาย ทั้งเปดและปดโอกาสในการพูดถึงและผลักดันนโยบายเกี่ยวกับเรื่องเพศ อีกทั้งหนวยงานภาครัฐก็มีบทบาททั้งในแงของการสงเสริมสุขภาวะทางเพศและความเทาเทียมทางเพศภาวะ และในแงของความพยายามที่จะควบคุมเรื่องเพศใหเปนไปตามจารีตประเพณี งานวิจัยที่สนับสนุนบทบาทของปจจัยเหลานี้ก็มีเชนเดียวกัน เชน พิมพวัลย, สุไลพร และรณภูมิ (2554) ไดรวบรวมกฎหมายและนโยบายตางๆ ที่สงผลตอเพศวิถีของผูหญิงไทย ทั้งในแงของการสงเสริมสุขภาวะทางเพศ และในแงผลกระทบ

52 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

ทางลบ สวน Yamarat (2007) ไดสะทอนความสําคัญของการเขาถึงการศึกษาที่มีมากขึ้น (เปนผลมาจากนโยบายการศึกษาของรัฐ) ผานการสังเกตการณชีวิตคูของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดกาญจนาบุรี งานวิจัยนี้ชี้ใหเห็นวาการกินอยูดวยกันและการมีเพศสัมพันธโดยไมเปนคูสมรสกันในปจจุบันเปนเรื่องปกติสําหรับ นักศึกษามหาวิทยาลัยที่อยูในหอพัก เพราะการอยูในหอพักทําใหอยูหางไกลจากการควบคุมของพอแม ถือไดวาเปนเรื่องที่สําคัญมากเพราะอัตราการเขาเรียนอยางหยาบ (gross enrolment ratio/GER) ในระดับอุดมศึกษาไดเพ่ิมขึ้นอยาง รวดเร็วจากเพียงรอยละ 7 ในป พ .ศ . 2530 เปนรอยละ 56 ในป พ .ศ . 2548 (World Bank, 2009) นอกจากนี้แลว งานวิจัยที่ไดทบทวนในรายงานฉบับสมบูรณ (Ojanen, 2011) ยังสะทอนบทบาทของรัฐที่สงผลตอประเด็นตางๆ เชน การทําแทงที่ยังเปนเรื่องผิดกฎหมายอยู ทั้งนี้ยกเวนในกรณีการสงผลตอสุขภาพของมารดาและการทองที่เกิดจากการขมขืน ตลอดจนทัศนคติและความเชื่อของสังคมตอการทําแทงที่มองวาเปนเรื่องผิดบาป ทําใหผูหญิงไทยจํานวนมากไดรับผลกระทบทางลบตอสุขภาพ (เชน NESDB & UNFPA Thailand, 2011) หรือประเด็นความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งรัฐพยายามเยียวยาผูถูกกระทําผานการจัดศูนยใหความชวยเหลือขึ้น (เชน OWAFD & UNDP Thailand, 2008) บริการและแผนงานดานสุขภาวะทางเพศ (เชน Ravindran, 2011) ทาที่ของรัฐตอ LGBT (เชน Sanders, 2011) และบทบาทขององคกรภาครัฐใหมๆ ที่ผูใหขอมูลกลาวถึง ไดแก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ซึ่งชวยผลักดันในประเด็นของ LGBT และผูหญิง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย ซึ่ง ณ เวลาที่เขียนบทความนี้กําลังรางกฎหมายดานความเทาเทียมทางเพศภาวะอยู และศูนยเฝาระวังทางวัฒนธรรม (ภายใตกระทรวงวัฒนธรรม) ซึ่งไดพยายามควบคุมการสื่อสารเรื่องเพศใหเปนไปตามจารีตประเพณี HIV/AIDS และผลที่มีตอสังคมไทย ปรากฏการณ HIV/AIDS ในสังคมไทยชวงเวลา 30 ปที่ผานมาไดสงผลตอเพศวิถีของคนไทยหลายดานและมีผูใหขอมูลเกือบคร่ึงหนึ่งไดกลาวถึง เชน หลายคนเนนวาการปรากฏตัวของโรคเอดสทําใหเกิดโครงสรางทางสังคมที่เอื้อตอ

53วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

การทํางานในประเด็นดาน LGBT เนื่องจากมีเงินทุนสนับสนุน แตนอกจากนั้น ผูใหขอมูลหลายคนกลาวถึงความเปลี่ยนแปลงในเพศวิถีของคนไทยที่เกิดจากความกลัวตอโรคเอดสซึ่งสวนหนึ่งเกิดจากการรณรงคของรัฐ Lyttleton (2000) ไดอธิบายวา การรณรงคเพ่ือใหคนในสังคมปองกัน HIV/AIDS โดยภาครัฐในชวงแรกนําไปสูการตระหนักถึงความเสี่ยงเพียงบางอยาง (โดยเฉพาะความเสี่ยงที่ผูชายมีในการมีเพศสัมพันธกับผูหญิงที่ขายบริการทางเพศ) และการละเลยความเสี่ยงในรูปแบบอื่นๆ (เชน การมีเพศสัมพันธนอกสมรสโดยไมอาศัยการซื้อขาย หรือเพศสัมพันธระหวางเพศเดียวกัน) อีกทั้งพฤติกรรมของคนก็เปล่ียนไปตามความตระหนักและไมตระหนักเหลานี้ดวย อนึ่ง เนื่องจากเพศสัมพันธระหวางคูชาย-ชายไมไดรับความสนใจในการรณรงคเปนเวลานาน (ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ) ความชุกของการติดเชื้อในกลุมชายที่มีเพศสัมพันธกับชายจึงสูงกวาประชากรทั่วไปกวา 10-20 เทาในปจจุบัน (WHO-SEARO, 2010) ความรูเชิงวิทยาศาสตรและระบาดวิทยาที่มากับนโยบายเอดสชาติไดสะทอนความวิตกกังวลที่มีตอพฤติกรรมทางเพศนอกกรอบ และสนับสนุนหรือเปนเครื่องมือในการควบคุมเรื่องเพศของคนในสังคมเพื่อใหมีวิถีทางเพศที่สอดคลองกับกระแสหลัก กรอบคิดเรื่องเพศคือการเปนรักตางเพศ และเรื่องเพศถูกจํากัดในสถาบันการแตงงานแบบผัวเดียวเมียเดียว การมีความรักเดียวใจเดียว ความ ซื่อสัตย และการมีครอบครัวที่อบอุน นโยบายเอดสชาติของรัฐไทยจึงเปนปจจัยหนึ่งที่ตรึงเพศวิถีแบบจารีตใหคงอยูตอไป (พิมพวัลย, สุไลพร และ รณภูมิ, 2554, ชลิดาภรณ, 2547) การขยายตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมและเขตเมือง และผลที่มีตอสังคม ผูใหขอมูลเกือบครึ่งหนึ่งยังไดกลาวถึงบทบาทของเศรษฐกิจทุนนิยมและการอยูในสังคมเมืองวาเปนปจจัยสองประการที่มีความสําคัญมากขึ้น โดยในแงหนึ่งการที่คนในสังคมมีรายไดของตนเองและอยูในเขตเมืองนั้นสรางพ้ืนที่สําหรับปจเจกบุคคล (ทั้งชาย หญิง และ LGBT) ที่จะดําเนินชีวิตทางเพศตามที่ตนตองการ แตก็ทําใหความไมเทาเทียมทางเศรษฐกิจเพ่ิมขึ้นดวย นอกจากนี้ ผูให ขอมูลอยางนอยหนึ่งคนก็ใหขอคิดเห็นวา ขณะที่การอยูในเขตเมืองเปดโอกาส

54 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

สําหรับบางคนที่จะดําเนินชีวิตตามความตองการของตนเอง แตคนอีกสวนหนึ่งอาจถนัดที่จะจัดการชีวิตทางเพศของตนเองในบริบทของชนบทมากกวา และ การยายเขาอยูในเมืองอาจจะลดโอกาสในชีวิตทางเพศของคนเหลานี้ก็ได ถาพิจารณาความเปล่ียนแปลงเชิงโครงสราง ในชวง 30 ปที่ผานมานี้ GDP ตอคนของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 8 เทา (จาก 1,089 ดอลลารสหรัฐในป พ.ศ. 2523 เปน 8,644 ดอลลารสหรัฐในป พ.ศ. 2553 ตามขอมูลจาก indexmundi, 2011) แตอัตราสวนประชากรที่อยูในเขตเมือง (ตามสถิติทางการ) เพ่ิมจากรอยละ 27 ใน ป พ .ศ . 2523 เป น ร อ ย ล ะ 34 ใน ป พ .ศ . 2553 (NESDB & UNFPA Thailand, 2011) หรือไมมากนัก ขณะที่การยายถิ่นแบบชั่วคราวเพ่ือการทํางานหรือการเรียนในตางถิ่นที่ไมปรากฏในสถิติเหลานี้ก็มีอีกมาก สงผลตอเพศวิถีของคนจํานวนมากโดยการใหชวงเวลาของการไมคอยถูกควบคุมจากคนรอบขาง (Lyttleton, 2000, Yamarat, 2007) ส่ือมวลชนและส่ือเฉพาะกลุม หัวขอสุดทายที่ผูใหขอมูลกลาวถึงคือส่ือมวลชนและสื่อเฉพาะกลุม ผูใหขอมูลมองวาส่ือไดเพ่ิมการพูดถึงเรื่องเพศ ทั้งในแงของการสรางความตระหนักตอประเด็นที่เคยถูกกดทับไว และในแงของการผลิตซ้ํามายาคติและภาพเหมารวมเกี่ยวกับทั้งผูหญิงและ LGBT คลายกับขอสรุปของกาญจนา (2543) ที่ยังไดสังเกตดวยวาการเพิ่มจํานวนของผูหญิงในวงการสื่อมวลชนทําใหมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นผูหญิงในส่ือมากขึ้นดวย สวนในดาน LGBT นั้น Jackson (2011) ไดกลาววา ความหมายของกลุมอัตลักษณ เชน กะเทย เกย ทอม ดี้นั้นถูกตอกย้ําและตกผลึกดวยอิทธิพลของนิตยสารสําหรับผูอานทั่วไปในยุค 1970s ( พ.ศ. 2513-2522) และต้ังแตทศวรรษตอจากนั้น เกยไทยไดเริ่มสรางความหมายเกี่ยวกับกลุมของตนเองผานนิตยสารเกยที่ผลิตในไทย โดยคนไทย สําหรับคนไทย สวนนิตยสารของหญิงรักหญิงมีบทบาทที่จํากัดกวา แตที่ลืมไมไดคือบทบาทของโทรทัศน ซึ่งครัวเรือนไทยเพียงประมาณ 1 ใน 5 มีในป พ.ศ. 2523 (nationmaster.com, 2011) แตในปจจุบัน เกือบทุกครัวเรือนมีโทรทัศนแลว (Tangkitvanich & Wongkitrungruang, 2011) ซึงอาจจะมีบทบาทสําคัญในการกําหนดวาทกรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศในสังคมไทยจนถึงปจจุบัน

55วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

บทสรุป งานวิจัยชิ้นนี้ไดทดลองใชวิธีวิทยา Delphi Method ซึ่งยังไมเคยถูกใชในดานการวิจัยเพศวิถีและเพศภาวะในสังคมไทย ในกรณีนี้หมายถึงการรวบรวมและสังเคราะหประเด็นจากผูเชี่ยวชาญ 40 คน เพ่ือใหเห็นภาพรวมของวิวัฒนาการของเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทยใน 30 ปที่ผานมา งานวิจัยนี้ไดแบงปจจัยที่ผูใหขอมูลกลาววาสงผลตอเพศวิถีและเพศภาวะเปนหมวดหมูและเปรียบเทียบขอคิดเห็นของผูใหขอมูลกับงานวิจัยและสถิติตางๆ ซึ่งอาจจะมีความแตกตางในระดับรายละเอียด แตในภาพรวม แหลงขอมูลทั้งสองแบบตางชี้วาอินเตอรเน็ต โทรศัพทมือถือ ส่ือมวลชนและสื่อเฉพาะกลุม บริบททางการเมืองและเศรษฐกิจ การเคลื่อนไหวและงานวิจัยในประเด็นผูหญิงและ LGBT และการระบาดของ HIV/AIDS ลวนแลวแตสงผลตอการประกอบสรางและการปรับเปล่ียนรูปแบบเพศวิถีและเพศภาวะของคนไทยในชวง 30 ปที่ผานมา ในดานบทบาทของโทรศัพทมือถือตอวิวัฒนาการของเพศวิถีในสังคมไทย ซึ่งเปนประเด็นที่งานวิจัยนี้พยายามสรางความเขาใจโดยเฉพาะ ผูใหขอมูลสวนใหญมองวาไดสงผลตอเพศวิถีอยางมาก ทําใหการสื่อสารงาย เร็ว และสวนตัวมากขึ้น ซึ่งทําใหการสรางความสัมพันธรูปแบบตางๆ งายขึ้นดวย และยังมีปรากฏการณเฉพาะอยางมากมายเกิดขึ้นดวย เชน การหาคูดวยโปรแกรมในสมารตโฟน การเลนเซ็กสโฟน หรือการถายและเผยแพรคลิปโปดวยโทรศัพทมือถือ ในภาพรวมยังสรุปไดดวยวา เสรีภาพทางเพศและความเทาเทียมทางเพศภาวะไดเพ่ิมขึ้นในสังคมไทยใน 30 ปที่ผานมาสําหรับทุกเพศ (แตโดยเฉพาะสําหรับผูหญิงและ LGBT) แตโครงสรางอํานาจเกาที่ใหอภิสิทธิ์กับผูชายรักตางเพศทั้งในชีวิตทางเพศและโอกาสทางสังคม พรอมทั้งจารีตประเพณีที่ตีตราและควบคุมเพศภาวะและเพศวิถีซึ่งไมอยูในกรอบเดิมนั้นก็ยังคงมีอยูและสงผลตอชีวิตของคนทุกเพศ (แตโดยเฉพาะของผูหญิงและ LGBT) กิตติกรรมประกาศ งานวิจั ยนี้ เป นส วนหนึ่ งของโครงการวิจัย “Exploring Gender and Sexuality in Changing Asia: A Research Capacity Building Program” ที่ดําเนินการโดยภาคีความรวมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ดานเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ (คอนซอรเทียม) และไดรับการสนับสนุนจาก Ford Foundation

56 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

ขอขอบคุณผูใหขอมูลทั้ง 40 คนที่สละเวลาเพื่อใหงานวิจัยนี้เกิดขึ้น ขอขอบคุณที่ปรึกษาโครงการ ไดแก Dr.Le Minh Giang (Vice Chair, Department of Ethics and Social Medicine, Hanoi Medical University) แ ล ะ Dr. Michael L. Tan (Dean, College of Social Sciences and Philosophy, University of the Philippines Diliman, Quezon City) รวมท้ังคุณสุวรรณี หาญมุสิกวัฒนกูร และคุณเจษฎา แตสมบัติ (คอนซอรเทียม) คุณมุจลินท ชลรัตน คุณปธิตา จันทรสวาง และคุณสิริกร โสภา (ศูนยศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล) ที่ไดใหการสนับสนุนดานการประสานงานและการสนับสนุนเชิงเทคนิค รายการอางอิง ภาษาไทย กฤตยา อาชวนิจกุล. (2554). เพศวิถีที่กําลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย. ใน สุรียพร พันพึ่ง

และมาลี สันภูวรรณ (บรรณาธิการ). จุดเปลี่ยนประชากร จุดเปลี่ยนสังคมไทย (น.43-66). นครปฐม: สํานักพิมพประชากรและสังคม.

กาญจนา แกวเทพ . (2543). ความเรียงวาดวยสตรีและส่ือมวลชน. กรุงเทพ : สํานักพิมพมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร.

จตุรวิทย ทองเมือง. (2551). ชีวิตของคนที่มีความหลากหลายทางเพศในชุมชนเสมือนจริง. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.

ชายไทย รักษาชาติ. (2550). ผูหญิง เซ็กส และอินเตอรเน็ต: อาณาจักร (เสรี) ของการคามนุษยที่ใหญที่สุด-ทําเปนมองไมเห็น. เชียงใหม: ศูนยสตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

ชลิดาภรณ สงสัมพันธ. (2547). ฐานคิดเรื่องเพศวิถีในนโยบายเรื่องเอดสของรัฐไทย. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

นุมนวล ยัพราช. (2549). พัฒนาการทางการเมืองของขบวนการสิทธิสตรีไทย. ใน ใจ อึ๊งภากรณ และคณะ (บรรณาธิการ). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในไทย (น .97-127). กรุงเทพ: สํานักพิมพประชาธิปไตยแรงงาน.

พิมพวัลย บุญมงคล. (2554). บทบรรณาธิการ. วารสารเพศวิถีศึกษา, 1: i-xi. พิมพวัลย บุญมงคล, สุไลพร ชลวิไล และรณภูมิ สามัคคีคารมย. (2554). ความเปนผูหญิง ความ

เส่ียง ความเปราะบางตอการติดเชื้อและการปองกันเอชไอวี/เอดส. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, ศูนยศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม.

57วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

พิมพวัลย บุญมงคล, Timo Ojanen, รณภูมิ สามัคคีคารมย, Thomas Guadamuz, อนุสรณ พยัคฆาคม มุจลินท ชลรัตน. (2555). โลกาภิวัตน และการรังแกในพื้นที่ไซเบอรของวัยรุนหญิงไทย. บทความนําเสนอในการประชุมวิชาการสังคมศาสตรและสุขภาพคร้ังที่ 1 ประจําป 2555 ณ หองประชุมภาณุรังษี โรงแรมรอยัลริเวอร บางพลัด กรุงเทพฯ ระหวางวันที่ 27-28 ตุลาคม 2555.

รณภูมิ สามัคคีคารมย, พิมพวัลย บุญมงคล และ วชิรา จันทรทอง. (2551). เพศวิถีชายรักชายในแคมฟร็อก: พื้นที่ไซเบอร โครงสรางอํานาจ และสุขภาวะทางเพศ. ใน พิมพวัลย บุญมงคล, รณภูมิ สามัคคีคารมณ วชิรา จันทรทอง, ภานุพัฒน พุมพฤกษ และ ชยานันท นโมเกษมสุข, เพศวิถีในส่ือนิยม: บริบทเสี่ยงและเสริมตอสุขภาวะทางเพศ (น.17-66). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, มูลนิธิสรางความเขาใจเรื่องสุขภาพผูหญิงและสถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

ศิรินันท กิตติสุขสถิต. (2551). รสนิยมทางเพศของวัยรุนไทยยุคไซเบอร. ใน กฤตยา อาชวนิจกุล และ กาญจนา ตั้งชลทิพย (บรรณาธิการ), ประชากรและสังคม 2551: มิติ "เพศ" ในประชากรและสังคม. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาษาอังกฤษ Burford, J. (2010). (The) margin(s) speak! A multifaceted examination of practicing ‘Men

who have sex with men’ development in Bangkok. Unpublished master’s thesis, Victoria University of Wellington, Aotearoa-New Zealand. Available online http://researcharchive.vuw.ac.nz/bitstream/handle/10063/1645/thesis.pdf ?sequence=1

Chamratrithirong, A., Kittisuksathit, S., Podhisita, C., Isarabhakdi, P. & Sabaiying, M. (2007). National sexual behavior survey of Thailand 2006. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research.

Indexmundi. (2011). Thailand GDP – per capita (PPP). Retrieved June 14, 2011, from http://www.indexmundi.com/thailand/gdp_per_capita_(ppp).html

Jackson, P. A. (2011). Capitalism, LGBT activism, and queer autonomy in Thailand. In P. A. Jackson (Ed.), Queer Bangkok: 21st century markets, media and rights. (pp. 195-204). Chiang Mai: Silkworm Books.

Lyttleton, C. (2000). Endangered relations: Negotiating safe sex and AIDS in Thailand. Bangkok: White Lotus.

National Economic and Social Development Board & United Nations Population Fund Thailand (NESDB & UNFPA Thailand). (2011). Impact of demographic change

58 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

in Thailand. Bangkok: United Nations’ Population Fund Country Office in Thailand.

NationMaster.com. (2011). Media Statistics > Households with television > % > Thailand (historical data). Retrieved on July 18, 2011, from http://www.nationmaster. com/time.php?stat=med_hou_wit_tel-media-households-withtelevision&country =th-thailand

Ngamprapasom, N. (2001). The first sexual intercourse of Thai men. Unpublished doctoral thesis, Mahidol University, Nakhon Pathom.

Office of Women and Family Development, Ministry of Social Development and Human Security & United Nations Development Programme Thailand (OWAFD & UNDP Thailand). (2008). Report on Thailand gender-disaggregated statistics. Bangkok: UNDP Thailand.

Ojanen, T. T. (2009). Sexual/gender minorities in Thailand: Identities, challenges, and voluntary-sector counseling. Sexuality Research and Social Policy. 6(2): 4-34.

Ojanen, T. T. (2011). The Thai Delphi Panel: Impact of structural factors on gender and sexuality in Thailand in the past 30 years (second draft). Unpublished manuscript, available from the author.

Petchum, S. (2003). The relationship between exposure to sexually explicit content via the Internet, and the sexual knowledge and behavior of adolescents in Bangkok. Unpublished master’s thesis, Mahidol University, Salaya, Nakhon Pathom, Thailand.

Pickard, A. J. (2007). Research methods in information. London, UK: Facet. Ravindran, T. K. S. (2011). Reclaiming and redefining rights. Thematic studies series 2:

Pathways to universal access to reproductive health care in Asia. Kuala Lumpur, Malaysia: Asian-Pacific Resource & Research Center for Women (ARROW).

Sanders, D. (2011). The Rainbow Lobby: The Sexual Diversity Network and the military-installed government in Thailand. In P. A. Jackson (Ed.), Queer Bangkok: 21st century markets, media and rights. (pp. 229-250). Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books.

Sittitrai, W., Phanuphak, P., Barry, J. & Brown, T. (1992). Thai sexual behavior and risk of HIV Infection: A report of the 1990 Survey of Partner Relations and Risk of HIV Infection. Bangkok: Program on AIDS, Thai Red Cross Society and Institute of Population Studies, Chulalongkorn University.

59วารสารเพศวิถีศึกษา ปที่ 2 พ.ศ. 2555

ติโหมะ ที โอะหยะเน็น และ พิมพวัลย บุญมงคล

Tangmunkongvorakul, A., Banwell, C., Carmichael, G., Utomo, I. D. & Sleigh, A. (2010). Sexual identities and lifestyles among non-heterosexual urban Chiang Mai youth: Implications for health. Culture, Health & Sexuality, 12(7): 827 — 841. doi: 10.1080/13691058.2010.499150

Tangkitvanich, S. & Wongkitrungruang, W. (2011). Mapping digital media: Thailand. London, United Kingdom: Open Society Foundation. Retrieved July 18, 2011, from http://www.soros.org/initiatives/media/articles_publications/publications/map ping-digital-media-thailand-20110610/mapping-digitalmedia-thailand-20110610.pdf

Wanichanun, A. (2007). The internet sex service of female students. Unpublished master’s thesis, Mahidol University, Salaya, Nakhon Pathom, Thailand.

World Bank. (2009). Towards a competitive higher education in a global economy. Bangkok: Author.

World Health Organization, Regional Office for South East Asia. (2010). HIV/AIDS among men who have sex with men and transgender populations in South-East Asia: The current situation and national responses. New Delhi, India: Author.

Yamarat, K. (2007). Self-designed sexual companionship: A case study of college students in Kanchanaburi, Thailand. Unpublished doctor’s thesis, Mahidol University, Nakhon Pathom.

60 Journal of Sexuality Studies, year 2, 2012

รวมพลคนรูเรื่องเพศ: 30 ปของวิวัฒนาการเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย

ภาคผนวก

รายชื่อผูใหขอมูล P1 อ.วิโรฒ ตั้งวานิช P22 คุณสุภชัญญา P2 คุณสุพีชา เบาทิพย P23 ดร.นรินทร กรินชัย P3 Prof.Douglas Sanders P24 คุณนิกร อาทิตย P4 Dredge Byung'chu Käng P25 Philippe Girault P5 Jan W. de Lind van Wijngaarden P26 คุณสุภาภรณ อัษฎมงคล P6 คุณจตุพร บุญ-หลง P27 คุณทฤษฎี สวางยิ่ง P7 คุณกมลเศรษฐ เกงการเรือ P28 Asst.Prof.Dr.Thomas Guadamuz P8 รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล P29 คุณนที ธีระโรจนพงษ P9 คุณมารุต ประเสริฐศรี P30 รศ.ดร.ชลิดาภรณ สงสัมพันธ P10 Asst.Prof.Dr.Megan Sinnott P31 คุณนาดา ไชยจิตต P11 Prof.Dr.Peter A. Jackson P32 คุณไพศาล ลิขิตปรีชากุล P12 คุณพงศธร จันทรเลื่อน P33 คุณเจษฎา แตสมบัติ P13 พระชาย วรธัมโม P34 คุณอัชฌานนท บุญเทพ P14 ดร.พรเทพ แพรขาว P35 คุณจ๋ิม ซารา P15 คุณระพีพันธ จอมมะเริง P36 คุณสมชาย พรอมสมบัติ P16 Assoc.Prof.Dr.Sam Winter P37 ผศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ P18 คุณสุไลพร ชลวิไล P38 คุณวราภรณ วิชญรัฐ P19 คุณธนัช ถ่ินวัฒนากูล P39 คุณนัยนา สุภาพึ่ง P20 คุณสุรางค จันทรแยม P40 คุณดนัย ลินจงรัตน P21 คุณฉันทลักษณ รักษาอยู P41 คุณอัญชนา สุวรรณานนท

หมายเหตุ: ตารางนี้ไมระบุชื่อ P17 ที่สงคําตอบและไดรับหมายเลขประจําตัวผูใหขอมูล แตเม่ืออานคําตอบมีเพียงคําอธิบายวา P17 ไมถนัดใหขอมูลประเด็นน้ีจึงไมเขารวมงานวิจัย

หมายเลขประจําตัวผูใหขอมูลจึงมีถึง P41 ทั้งๆ ที่มีขอมูลจากเพียง 40 คน สวน P22 เลือกใหระบุเพียงชื่อ (ไมระบุนามสกุล)

••••••••••••••••••••