The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

Preview:

DESCRIPTION

The decorative patterns used in Wat Pra Singh: deities, flowers, and imaginary animals, reflect the Buddhist ideology of the Thai northern community.

Citation preview

อลังการงานประดับ วัดพระสิงห์เชียงราย

ธีรพล จะสาร

4

วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงราย

วัดพระสิงห์ เชียงราย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่

ที่ถนนสิงหไคล ต�าบลเวียง อ�าเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สันนิษฐาน

กันว่าน่าจะสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1928 ในรัชสมัยของพระเจ้า

มหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา ซึ่งมาครองเมืองเชียงราย

ระหว่างพุทธศักราช 1888-1943 สาเหตุที่วัดนี้มีชื่อว่า “วัดพระ

สิงห์” นั้น น่าจะเป็นเพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป

ส�าคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียก

กันในชื่อสามัญว่า “พระสิงห์” พระอุโบสถสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2432 ถึง

พ.ศ. 2433 รูปทรงเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา สมัยเชียงแสน

โครงสร้างเดิมเป็นไม้เนื้อแข็งและได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพ

สมบูรณ์ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2504 และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2533 โดย

พระราชสิทธินายก เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

ที่มา : http://www.chiangraifocus.com

55

ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร

คติจักรวาล

คติจักรวาล ในพระพุทธศาสนาเป็นการอธิบายการมีอยู่ของ

ภพภูมิทั้งสาม ประกอบด้วย โลกสวรรค์ โลกมนุษย์และโลกนรก โดย

อธิบายว่าลักษณะของจักรวาลมีสัณฐานเป็นทรงกลม มีศูนย์กลาง

ของแต่ละจักรวาลคือเขาพระสุเมรุ ยอดของเขาพระสุเมรุเป็นสวรรค์

ชั้นดาวดึงห์เป็นวิมานของพระอินทร์ผู้ปกครองโลกสวรรค์ และประ

เป็นท่ีประดิษฐานพระเกศแก้วจุฬามณี โดยสวรรค์จะมีหลายชั้นไล่

ระดับตามสวรรค์ช้ันต่าง 16 ช้ันก่อนจะเป็นชั้นพรหมและชั้นนิพพาน

ที่หลุดออกจากการการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว โดยเชิงเขาพระสุเมรุ

เป็นป่าหิมพานต์ รายล้อมเขาพระสุเมรุด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง 7 ชั้น

แล้วคั่นด้วยมหาสมุทรสีทันดร ส่วนโลกมนุษย์นั้นจะอยู่ชั้นกลาง คือ

อาศัยอยู่ในทวีปท้ังสี่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ และโลกนรกจะอยู่ชั้น

ต�่าสุดลงมาจากภูมิของมนุษย ์

6

ลวดลายดอกพุดตาน พบบนโก่งคิ้ว เป็นภาพดอกพุดตานขนาดใหญ่ ประกอบไป

ด้วยกิ่ง และใบ เทคนิคที่ใช้คือแกะสลักฉลุไม้และปิดทอง

ลวดลายดอกโบตั๋น บนโก่งคิ้ว เป็นลวดลวยดอกโบตั๋น

77

วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงรายถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่และมีความ

ส�าคัญมากวัดหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ทั้งงามงดงามของลวดลายประดับ

วิหารอย่างวิจิตรอลังการด้วยฝีมือช่างล้านนาที่ได้ผสมผสานลวดลาย

ประดับล้านนาเข้ากับรูปแบบของลวดลายไทยภาคกลาง ลายจีนและ

ตะวันตกได้อย่างลงตัวและงดงามอย่างยิ่ง เป็นสิ่งสะท้อนถึงแรงศรัทธา

ในพระพุทธศสานาของชาวล้านนาอย่างแรงกล้าตลอดจนฝีมือในเชิงช่าง

ภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของบรรพชนที่ได้สร้างานศิลปะอันทรง

คุณค่าให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา

ลวดลายประดับวิหารวัดพระสิงห์เชียงราย แบ่งออกได้ 3 ประเภท

1.ลวดลายพันพฤกษา

2.ลวดลายสัตว์ป่าหิมพานต์

3.ลวดลายประเภทบุคคล

ลวดลายพันธุ์พฤกษา

เป็นลายที่นิยมใช้ประดับหน้าบันและโก่งคิ้วมากที่สุด สามารถ

แบ่งลวดลายพันธุ์พฤกษาได้ 2 ประเภท คือ ประเภทลวดลายดอกไม้

และใบไม้ ซึ่งลวดลายที่ปรากฏได้แก่ ลายดอกพุฒตาน ดอกโบตั๋น

ดอกบัว ดอกทานตะวัน ดอกจันทน์ เป็นต้น อีกประเภท คือลวดลาย

เครือเถาก้านขด ลายเถาเงาะหัวขอด ลายใบไม้ต่างๆ ลวดลายเครือเถา

ทั้งหมดจะแสดงออกถึงความเจริญงอกงาม และความอุดมสมบูรณ์อย่าง

ต่อเนื่อง

8

ลวดลายดอกพุดตานบนโก่งคิ้วหน้าบัน

ลวดลายดอกโบตั๋นบนโก่งคิ้วหน้าบัน

99

ลวดลายประเภทดอกไม้

ดอกพุดตาน และดอกโบตั๋น เป็นลวดลายที่รับมาจากอิทธิพลจีน

นิยมใช้ประดับศาสนสถานล้านนามานับแต่โบราณ มักพบลวดลายอยู่บน

หน้าบัน โก่งคิ้ว ปูนปั้นบนผนังอาคาร สันนิษฐานว่าน่าเป็นลวดลายที่เข้า

มาในล้านนาพร้อมกับลวดลายบนเครื่องถ้วยจีน

ลวดลายดอกโบตั๋น จากการค้นพบหลักฐานเครื่องถ้วยจีนในสมัย

ราชวงศ์หยวน - ราชวงศ์หมิง นิยมใช้เป็นลายประดับศาสนสถานมาก

ในสมัยพระเจ้าตโิลกราช เป็นต้นมา เป็นดอกไมท้ี่เป็นตวัแทนของความมั่งมี

ศรีสุข มีลาภยศยิ่งใหญ่ ความมั่งคั่ง ควมยุติธรรม โชคลาภและความร�่ารวย

10

ลวดลายพญานาคบนหูช้าง

พญานาคปากนกแก้ว บนป้านลม

1111

ลวดลายสัตว์ป่าหิมพานต์

มักจะน�ามาประดับตกแต่งตามองค์ประกอบทางสถาปัยกรรมของ

วิหาร สัตว์ป่าหิมพานต์ที่นิยมมากในล้านนาได้แก่

พญานาค

คือ งูหรือนาคเป็นสัญลักษณ์ส�าคัญร่วมกันของสังคมที่มีวัฒนธรรม

น�้า ดังนั้นงูหรือนาคจึงปรากฏอยู่ในศิลปะและคติความเชื่อของหลายๆ

ประเทศมาแต่โบราณกา นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดม

สมบูรณ์ ความมีวาสนา และนาคยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสายรุ้งสู่

จักรวาล พญานาคมีความเกี่ยวพันกับพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล

แล้ว ตามพุทธประวัติถือเป็นผู้ปกป้องพระพุทธเจ้า ในทางศิลปกรรมนั้น

พบการสร้างนาคมาตั้งแต่ศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีแล้ว ในล้านนามีการน�า

นาคมาใช้ในการประดับประดางานสถาปัตยกรรมอย่างมากมายในความ

หมายของ “นาคกลางหาว” คือนาคที่ท�าหน้าที่ให้ฝนให้ลมอันก่อให้เกิด

ความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งส�าคัญที่สุดของการด�ารงชีวิต หรืออาจเป็น

นาคสวรรค์อันมีหน้าที่เผ้าประตูวิมานเทวดา สามารถ จ�าแนกประเภทได้

2 ประเภท คือ พญานาคปากนกแก้ว และพญานาคล้านนา

12

ลวดลายสิงห์ประดับหน้าวิหาร

ลวดลายสิงห์ บนหูช้างและหน้าบัน

1313

สิงห์ สิงห์เป็นสัตว์ในเทพนิยายที่มีพลังอ�านาจเหนือสัตว์ทั้ง

ปวง นั้นถูกน�ามาใช้ตกแต่งสถาปัตยกรรมที่ เกี่ยวข้องกับกษัตริย์

เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชา พลังอ�านาจ ดวงอาทิตย์

และความแข็งแกร่ง ซึ่งในทุกวัฒนธรรมล้วนแล้วแต่ใช้สิงห์เป็น

สัญลักษณ์ในเชิงนี้กันทั้งสิ้น ในสถาบันศาสนา “สิงห์” ถือว่า

มีบทบาทอย่างมาก ในพระพุทธศาสนา

ล้านนาเชื่อว่าสิงห์เป็นเครื่องหมายของพระพุธทศาสนา เพราะ

พระพุทธเจ้าเอยู่ในวงศ์ศากยะ และเป็นพาหนะของพระโพธิสัตย์

มัญชุลี ผู้เป็นเลิศทางปัญญา ขณะเดียวกันยังเป็นผู้ปกปักรักษา

สิ่งก่อสร้างทางศาสนา เพราะเป็นสัตว์วิเศษ มีพลังอ�านาจขับไล้

ภูตผรปีศาจ จึงนิยมว้รางรูปสิงห์ประดับไว้ตามประตูวิหาร

อย่างไรก็ตามประติมากรรมสิงห์หน้าวัดนักวิชาการเชื่อ

ว่าเป็นอิทธิพลเมื่อครั้งที่พม่าปกครองล้านนา โดยก�าหนดให้รับ

เอาวัฒนธรรมพม่ามาใช้ในล้านนา เช่นบังคับให้เจาะหู สักหมึก

และรวมถึงประติมากรรมรูปสิงห์ประดับหน้าวัดด้วย แต่จากการ

ศึกษาในภายหลังพบว่าล้วนแล้วเป็นศิลปะล้านนา ที่สร้างขึ้นใน

ยุคหลังที่ชาวไทใหญ่ ชาวไทลื้อ ที่มีวัฒนธรรมผสมผสานกับพม่า

และชาวพม่าที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ในล้านนาในยุค ฟื้นฟูล้านนา

และเป็นพ่อค้าท่ีเข้ามาท�าสัมปทานป่าไม้ในตอนต้นพุทธศตวรรษ

ที่ 25

14

ลวดลายหนุมานบนหูช้างลวดลายหนุมานและช้าง

15

15

ลายวานร หรือ หรมาน

หรมานเป็นพญาลิง เป็นลิงที่มีฤทธิ์มาก เป็นทหารเอก

และองครักษ์ที่รู้ใจของพรหมจักรทั้งยังเป็นตัวละครเอกในการ

ปราบพระยาวิโรหาซึ่งเป็นฝ่ายอธรรม ซึ่งชาดกเรื่องพรหมจักรนี้เป็น

วรรณกรรมชาดกนอกนิบาตรของล้านนาซึ่งมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับ

รามเกียรติ์ในภาคกลาง โดยครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ในกาลของ

พระธัมมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโพธิสัตย์เสวยพระชาติเป็น

พระยาสิริราช ในครั้งนั้นพระยาสิริราชพร้อมด้วยมเหสีและบริวารได้

ท�าบุญสร้างวิหารถวายอัฐบริขารต่างๆแด่ พระธัมมทัสสีสัมมาสัมพุทธ

เจ้า และพระภิกษุทั้งหลายขณะกรวดน้�าพระองค์ได้อธิฐานว่า ขอเป็น

พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในโลก และขออย่าได้พลัดพรากจากบริวาล

ทั้งหลาย บัดนั้นพระธัมมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ตรัสท�านาย

พระยาสิริราชท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้า

พระนามว่า โคตรมะ หลังจากนั้นพระองค์จึงได้ท�าบุญมิได้ขาด

เมื่อสิ้นพระชนจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ตามบารมีของตน ครั้งจุติจาก

สวรรค์พระโพธิสัตย์ทรงปฏิสนธิเสวยพระชาติเป็นพรหมจักร

16

ลวดลายนกยูงและกระต่าย สัญลักษณ์แทน พระอาทิตย์และพระจันทร์

ลวดลายนกยูงและกระต่าย ประดับด้านหลังพระประธานในวิหาร

1717

ภาพพระอาทิตย์กับพระจันทร์

ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปนกยูงกับกระต่าย โดยนกยูงเป็นสัญลักษณ์

แทนพระอาทิตย์ท่ีส่องแสงสว่างในเวลากลางวันและกระต่ายแทน

พระจันทร์แสงสว่างในเวลากลางคืน ตามคติจักรวาลที่มีพระอาทิตย์และ

พระจันทร์โคจรรอบเขาพระสุเมรุ สัญลักษณ์ทั้งสองนี้จะพบที่ด้านหลังพระ

ประธานโดยวางพระอาทิตย์ไว้ด้านขวาพระจันทร์อยู่ทางด้านซ้าย เป็น

สัญลักษณ์ที่แสดงถึงจักรวาล นอกจากนี้ยังมีความหมายเชิงนัยยะในด้าน

ความเชื่อพลังคู่ตรงข้ามและเพศสภาวะ เนื่องจากพระอาทิตย์เป็นพลังแห่ง

แสงสว่างในยามกลางวันเปรียบเสมือนเพศชายที่แข็งแรง ส่วนพระจันทร์

ส่องแสงในยามกลางคืนจึงเปรียบเสมือนเพศหญิงที่มีความนุ่มนวล

อ่อนหวาน ลึกลับอันเป็นพลังแห่งความมืด ทั้งสองเป็นคู่ตรงข้ามแต่ขาด

จากกันไม่ได้ ถ้าขาดสิ่งไดสิ่งหนึ่งไปก็จะไม่สมบูรณ์ และไม่มีความหมาย

เพราะมีกลางวันจึงมีกลางคืน เพราะสิ่งหนึ่งจะคงอยู่ได้ย่อมมีสิ่งหนึ่งที่อยู่

ตรงข้ามมาเปรียบเทียบด้วยเสมอ เป็นธรรมดาของจักรวาล

18

งานไม้แกะรูปกินนร ร่ายร�า

บนโก่งคิ้วหน้าวิหาร

งานไม้แกะรูปกินรี ร่ายร�า

บนโก่งคิ้วหน้าวิหาร

1919

ลวดลายประเภทบุคคล

กินรี

กินนร กินรี ในความรู้สึกของคนไทย คือ สัตว์ที่มาจากดินแดน

สวรรค์ ดินแดนแห่งจินตนาการ และเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ กินนรที่พบ

ในวรรณคดีไทยมันถูกกล่าวถึงในแง่ของความงามเสมอ ขณะที่ในงาน

ศิลปกรรมนั้น กินนรจะถูกสร้างขึ้นในความหมายที่เป็นศิริมงคลมากกว่า

อย่างอื่น เราจึงพบรูปกินนรที่เป็นงานจิตรกรรม เขียนอยู่บนจิตรกรรม

ฝาผนังบ้าง สมุดข่อยบ้าง ส่วนในงานประติมากรรมพบว่านิยมปั้นไว้

ส�าหรับประดับสถานที่ส�าคัญๆ เช่นเดียวกัน อาทิ ศาสนสถาน หรือ

พระบรมหราชวัง

20

2121

ในทางด้านความเชื่อ ลวดลายเทพที่ปรากฏเป็นอิทธิพลจากภาค

กลาง สะท้อนให้เห็นความเชื่อด้านที่ปกปักคุ้มครองศาสนสถาน เคารพบูชา

พระประธานในวิหาร นอกจากนี้ลวดลายประดับที่ช่างได้สร้างสรรค์ไว้บน

ศาสนถานนั้น เกิดจากความเชื่อทางศาสนาเรื่องคติจักรวาล อันเป็นความ

เชื่อเกี่ยวโลกและดาราศาสตร์ของชาวพุทธในอดีตประกอบไปด้วยสวรรค์

โลกมนุษย์ และนรก โดยดินแดนสวรรค์นั้นมียอดเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง

ของจักรวาล อันมีสวรรค์ชั้นต่างๆตามล�าดับมีเหล่าเทพยดาสถิตอยู่ตามผล

บุญที่ได้กระท�าเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ความเชื่อเหล่านี้มีส่วนช่วยกระตุ้น

และน้อมน�าจิตใจของพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติชอบตามค�าสอนขององค์

พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า และยังเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างได้สร้างสรรค์

งานพุทธศิลป์จากการตีความตามหลักธรรมค�าสอนในพระพุทธศาสนาผ่าน

งานศิลปกรรม ออกมาในเชิงสัญลักษณ์และลวดลายต่างๆมากมาย ทั้งยัง

สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาในเชิงช่างของชาวล้านนา รสนิยมในศิลปะ

อุดมคติทางความงาม ตลอดจนบริบททางสังคมในยุคนั้นๆที่ได้สะท้อน

ออกมาจากงานศิลปะ ลวดลายเหล่านี้ต่างๆที่ประดับบนศาสนสถานนั้นเพื่อ

แสดงถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับสรวงสวรรค์ ในพระพุทธศาสนา ความคิดใน

การคุ้มครองศาสนสถาน ความอุดมสมบูรณ์ แสดงถึงการเฉลิมพระเกียรติ

ของพระมหากษัตรย์ หรือการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ตลอดจน

แนวคิดถึงสิ่งอันเป็นมงคล และการประสาทพรแก่ผู้ที่เข้ามาในศาสนสถาน

อลังการงานประดับ วิหารวัดพระสิงห์เชียงราย

© 2015 (พ.ศ. 2558) โดย ธีรพล จะสาร

สงวนลิขสิทธิ์

พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558

จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรียบเรียงและออกแบบโดย ธีรพล จะสาร

ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK 16 pt

หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน

เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา

ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่