24

The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

Embed Size (px)

DESCRIPTION

The decorative patterns used in Wat Pra Singh: deities, flowers, and imaginary animals, reflect the Buddhist ideology of the Thai northern community.

Citation preview

Page 1: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai
Page 2: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai
Page 3: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

อลังการงานประดับ วัดพระสิงห์เชียงราย

ธีรพล จะสาร

Page 4: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

4

วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงราย

วัดพระสิงห์ เชียงราย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่

ที่ถนนสิงหไคล ต�าบลเวียง อ�าเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สันนิษฐาน

กันว่าน่าจะสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1928 ในรัชสมัยของพระเจ้า

มหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา ซึ่งมาครองเมืองเชียงราย

ระหว่างพุทธศักราช 1888-1943 สาเหตุที่วัดนี้มีชื่อว่า “วัดพระ

สิงห์” นั้น น่าจะเป็นเพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป

ส�าคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียก

กันในชื่อสามัญว่า “พระสิงห์” พระอุโบสถสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2432 ถึง

พ.ศ. 2433 รูปทรงเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา สมัยเชียงแสน

โครงสร้างเดิมเป็นไม้เนื้อแข็งและได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพ

สมบูรณ์ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2504 และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2533 โดย

พระราชสิทธินายก เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

ที่มา : http://www.chiangraifocus.com

Page 5: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

55

ที่มา : โชติ กัลยาณมิตร

คติจักรวาล

คติจักรวาล ในพระพุทธศาสนาเป็นการอธิบายการมีอยู่ของ

ภพภูมิทั้งสาม ประกอบด้วย โลกสวรรค์ โลกมนุษย์และโลกนรก โดย

อธิบายว่าลักษณะของจักรวาลมีสัณฐานเป็นทรงกลม มีศูนย์กลาง

ของแต่ละจักรวาลคือเขาพระสุเมรุ ยอดของเขาพระสุเมรุเป็นสวรรค์

ชั้นดาวดึงห์เป็นวิมานของพระอินทร์ผู้ปกครองโลกสวรรค์ และประ

เป็นท่ีประดิษฐานพระเกศแก้วจุฬามณี โดยสวรรค์จะมีหลายชั้นไล่

ระดับตามสวรรค์ช้ันต่าง 16 ช้ันก่อนจะเป็นชั้นพรหมและชั้นนิพพาน

ที่หลุดออกจากการการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว โดยเชิงเขาพระสุเมรุ

เป็นป่าหิมพานต์ รายล้อมเขาพระสุเมรุด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง 7 ชั้น

แล้วคั่นด้วยมหาสมุทรสีทันดร ส่วนโลกมนุษย์นั้นจะอยู่ชั้นกลาง คือ

อาศัยอยู่ในทวีปท้ังสี่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ และโลกนรกจะอยู่ชั้น

ต�่าสุดลงมาจากภูมิของมนุษย ์

Page 6: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

6

ลวดลายดอกพุดตาน พบบนโก่งคิ้ว เป็นภาพดอกพุดตานขนาดใหญ่ ประกอบไป

ด้วยกิ่ง และใบ เทคนิคที่ใช้คือแกะสลักฉลุไม้และปิดทอง

ลวดลายดอกโบตั๋น บนโก่งคิ้ว เป็นลวดลวยดอกโบตั๋น

Page 7: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

77

วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงรายถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่และมีความ

ส�าคัญมากวัดหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ทั้งงามงดงามของลวดลายประดับ

วิหารอย่างวิจิตรอลังการด้วยฝีมือช่างล้านนาที่ได้ผสมผสานลวดลาย

ประดับล้านนาเข้ากับรูปแบบของลวดลายไทยภาคกลาง ลายจีนและ

ตะวันตกได้อย่างลงตัวและงดงามอย่างยิ่ง เป็นสิ่งสะท้อนถึงแรงศรัทธา

ในพระพุทธศสานาของชาวล้านนาอย่างแรงกล้าตลอดจนฝีมือในเชิงช่าง

ภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของบรรพชนที่ได้สร้างานศิลปะอันทรง

คุณค่าให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา

ลวดลายประดับวิหารวัดพระสิงห์เชียงราย แบ่งออกได้ 3 ประเภท

1.ลวดลายพันพฤกษา

2.ลวดลายสัตว์ป่าหิมพานต์

3.ลวดลายประเภทบุคคล

ลวดลายพันธุ์พฤกษา

เป็นลายที่นิยมใช้ประดับหน้าบันและโก่งคิ้วมากที่สุด สามารถ

แบ่งลวดลายพันธุ์พฤกษาได้ 2 ประเภท คือ ประเภทลวดลายดอกไม้

และใบไม้ ซึ่งลวดลายที่ปรากฏได้แก่ ลายดอกพุฒตาน ดอกโบตั๋น

ดอกบัว ดอกทานตะวัน ดอกจันทน์ เป็นต้น อีกประเภท คือลวดลาย

เครือเถาก้านขด ลายเถาเงาะหัวขอด ลายใบไม้ต่างๆ ลวดลายเครือเถา

ทั้งหมดจะแสดงออกถึงความเจริญงอกงาม และความอุดมสมบูรณ์อย่าง

ต่อเนื่อง

Page 8: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

8

ลวดลายดอกพุดตานบนโก่งคิ้วหน้าบัน

ลวดลายดอกโบตั๋นบนโก่งคิ้วหน้าบัน

Page 9: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

99

ลวดลายประเภทดอกไม้

ดอกพุดตาน และดอกโบตั๋น เป็นลวดลายที่รับมาจากอิทธิพลจีน

นิยมใช้ประดับศาสนสถานล้านนามานับแต่โบราณ มักพบลวดลายอยู่บน

หน้าบัน โก่งคิ้ว ปูนปั้นบนผนังอาคาร สันนิษฐานว่าน่าเป็นลวดลายที่เข้า

มาในล้านนาพร้อมกับลวดลายบนเครื่องถ้วยจีน

ลวดลายดอกโบตั๋น จากการค้นพบหลักฐานเครื่องถ้วยจีนในสมัย

ราชวงศ์หยวน - ราชวงศ์หมิง นิยมใช้เป็นลายประดับศาสนสถานมาก

ในสมัยพระเจ้าตโิลกราช เป็นต้นมา เป็นดอกไมท้ี่เป็นตวัแทนของความมั่งมี

ศรีสุข มีลาภยศยิ่งใหญ่ ความมั่งคั่ง ควมยุติธรรม โชคลาภและความร�่ารวย

Page 10: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

10

ลวดลายพญานาคบนหูช้าง

พญานาคปากนกแก้ว บนป้านลม

Page 11: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

1111

ลวดลายสัตว์ป่าหิมพานต์

มักจะน�ามาประดับตกแต่งตามองค์ประกอบทางสถาปัยกรรมของ

วิหาร สัตว์ป่าหิมพานต์ที่นิยมมากในล้านนาได้แก่

พญานาค

คือ งูหรือนาคเป็นสัญลักษณ์ส�าคัญร่วมกันของสังคมที่มีวัฒนธรรม

น�้า ดังนั้นงูหรือนาคจึงปรากฏอยู่ในศิลปะและคติความเชื่อของหลายๆ

ประเทศมาแต่โบราณกา นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดม

สมบูรณ์ ความมีวาสนา และนาคยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสายรุ้งสู่

จักรวาล พญานาคมีความเกี่ยวพันกับพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล

แล้ว ตามพุทธประวัติถือเป็นผู้ปกป้องพระพุทธเจ้า ในทางศิลปกรรมนั้น

พบการสร้างนาคมาตั้งแต่ศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีแล้ว ในล้านนามีการน�า

นาคมาใช้ในการประดับประดางานสถาปัตยกรรมอย่างมากมายในความ

หมายของ “นาคกลางหาว” คือนาคที่ท�าหน้าที่ให้ฝนให้ลมอันก่อให้เกิด

ความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งส�าคัญที่สุดของการด�ารงชีวิต หรืออาจเป็น

นาคสวรรค์อันมีหน้าที่เผ้าประตูวิมานเทวดา สามารถ จ�าแนกประเภทได้

2 ประเภท คือ พญานาคปากนกแก้ว และพญานาคล้านนา

Page 12: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

12

ลวดลายสิงห์ประดับหน้าวิหาร

ลวดลายสิงห์ บนหูช้างและหน้าบัน

Page 13: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

1313

สิงห์ สิงห์เป็นสัตว์ในเทพนิยายที่มีพลังอ�านาจเหนือสัตว์ทั้ง

ปวง นั้นถูกน�ามาใช้ตกแต่งสถาปัตยกรรมที่ เกี่ยวข้องกับกษัตริย์

เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชา พลังอ�านาจ ดวงอาทิตย์

และความแข็งแกร่ง ซึ่งในทุกวัฒนธรรมล้วนแล้วแต่ใช้สิงห์เป็น

สัญลักษณ์ในเชิงนี้กันทั้งสิ้น ในสถาบันศาสนา “สิงห์” ถือว่า

มีบทบาทอย่างมาก ในพระพุทธศาสนา

ล้านนาเชื่อว่าสิงห์เป็นเครื่องหมายของพระพุธทศาสนา เพราะ

พระพุทธเจ้าเอยู่ในวงศ์ศากยะ และเป็นพาหนะของพระโพธิสัตย์

มัญชุลี ผู้เป็นเลิศทางปัญญา ขณะเดียวกันยังเป็นผู้ปกปักรักษา

สิ่งก่อสร้างทางศาสนา เพราะเป็นสัตว์วิเศษ มีพลังอ�านาจขับไล้

ภูตผรปีศาจ จึงนิยมว้รางรูปสิงห์ประดับไว้ตามประตูวิหาร

อย่างไรก็ตามประติมากรรมสิงห์หน้าวัดนักวิชาการเชื่อ

ว่าเป็นอิทธิพลเมื่อครั้งที่พม่าปกครองล้านนา โดยก�าหนดให้รับ

เอาวัฒนธรรมพม่ามาใช้ในล้านนา เช่นบังคับให้เจาะหู สักหมึก

และรวมถึงประติมากรรมรูปสิงห์ประดับหน้าวัดด้วย แต่จากการ

ศึกษาในภายหลังพบว่าล้วนแล้วเป็นศิลปะล้านนา ที่สร้างขึ้นใน

ยุคหลังที่ชาวไทใหญ่ ชาวไทลื้อ ที่มีวัฒนธรรมผสมผสานกับพม่า

และชาวพม่าที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ในล้านนาในยุค ฟื้นฟูล้านนา

และเป็นพ่อค้าท่ีเข้ามาท�าสัมปทานป่าไม้ในตอนต้นพุทธศตวรรษ

ที่ 25

Page 14: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

14

ลวดลายหนุมานบนหูช้างลวดลายหนุมานและช้าง

Page 15: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

15

15

ลายวานร หรือ หรมาน

หรมานเป็นพญาลิง เป็นลิงที่มีฤทธิ์มาก เป็นทหารเอก

และองครักษ์ที่รู้ใจของพรหมจักรทั้งยังเป็นตัวละครเอกในการ

ปราบพระยาวิโรหาซึ่งเป็นฝ่ายอธรรม ซึ่งชาดกเรื่องพรหมจักรนี้เป็น

วรรณกรรมชาดกนอกนิบาตรของล้านนาซึ่งมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับ

รามเกียรติ์ในภาคกลาง โดยครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ในกาลของ

พระธัมมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโพธิสัตย์เสวยพระชาติเป็น

พระยาสิริราช ในครั้งนั้นพระยาสิริราชพร้อมด้วยมเหสีและบริวารได้

ท�าบุญสร้างวิหารถวายอัฐบริขารต่างๆแด่ พระธัมมทัสสีสัมมาสัมพุทธ

เจ้า และพระภิกษุทั้งหลายขณะกรวดน้�าพระองค์ได้อธิฐานว่า ขอเป็น

พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในโลก และขออย่าได้พลัดพรากจากบริวาล

ทั้งหลาย บัดนั้นพระธัมมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ตรัสท�านาย

พระยาสิริราชท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้า

พระนามว่า โคตรมะ หลังจากนั้นพระองค์จึงได้ท�าบุญมิได้ขาด

เมื่อสิ้นพระชนจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ตามบารมีของตน ครั้งจุติจาก

สวรรค์พระโพธิสัตย์ทรงปฏิสนธิเสวยพระชาติเป็นพรหมจักร

Page 16: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

16

ลวดลายนกยูงและกระต่าย สัญลักษณ์แทน พระอาทิตย์และพระจันทร์

ลวดลายนกยูงและกระต่าย ประดับด้านหลังพระประธานในวิหาร

Page 17: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

1717

ภาพพระอาทิตย์กับพระจันทร์

ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปนกยูงกับกระต่าย โดยนกยูงเป็นสัญลักษณ์

แทนพระอาทิตย์ท่ีส่องแสงสว่างในเวลากลางวันและกระต่ายแทน

พระจันทร์แสงสว่างในเวลากลางคืน ตามคติจักรวาลที่มีพระอาทิตย์และ

พระจันทร์โคจรรอบเขาพระสุเมรุ สัญลักษณ์ทั้งสองนี้จะพบที่ด้านหลังพระ

ประธานโดยวางพระอาทิตย์ไว้ด้านขวาพระจันทร์อยู่ทางด้านซ้าย เป็น

สัญลักษณ์ที่แสดงถึงจักรวาล นอกจากนี้ยังมีความหมายเชิงนัยยะในด้าน

ความเชื่อพลังคู่ตรงข้ามและเพศสภาวะ เนื่องจากพระอาทิตย์เป็นพลังแห่ง

แสงสว่างในยามกลางวันเปรียบเสมือนเพศชายที่แข็งแรง ส่วนพระจันทร์

ส่องแสงในยามกลางคืนจึงเปรียบเสมือนเพศหญิงที่มีความนุ่มนวล

อ่อนหวาน ลึกลับอันเป็นพลังแห่งความมืด ทั้งสองเป็นคู่ตรงข้ามแต่ขาด

จากกันไม่ได้ ถ้าขาดสิ่งไดสิ่งหนึ่งไปก็จะไม่สมบูรณ์ และไม่มีความหมาย

เพราะมีกลางวันจึงมีกลางคืน เพราะสิ่งหนึ่งจะคงอยู่ได้ย่อมมีสิ่งหนึ่งที่อยู่

ตรงข้ามมาเปรียบเทียบด้วยเสมอ เป็นธรรมดาของจักรวาล

Page 18: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

18

งานไม้แกะรูปกินนร ร่ายร�า

บนโก่งคิ้วหน้าวิหาร

งานไม้แกะรูปกินรี ร่ายร�า

บนโก่งคิ้วหน้าวิหาร

Page 19: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

1919

ลวดลายประเภทบุคคล

กินรี

กินนร กินรี ในความรู้สึกของคนไทย คือ สัตว์ที่มาจากดินแดน

สวรรค์ ดินแดนแห่งจินตนาการ และเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ กินนรที่พบ

ในวรรณคดีไทยมันถูกกล่าวถึงในแง่ของความงามเสมอ ขณะที่ในงาน

ศิลปกรรมนั้น กินนรจะถูกสร้างขึ้นในความหมายที่เป็นศิริมงคลมากกว่า

อย่างอื่น เราจึงพบรูปกินนรที่เป็นงานจิตรกรรม เขียนอยู่บนจิตรกรรม

ฝาผนังบ้าง สมุดข่อยบ้าง ส่วนในงานประติมากรรมพบว่านิยมปั้นไว้

ส�าหรับประดับสถานที่ส�าคัญๆ เช่นเดียวกัน อาทิ ศาสนสถาน หรือ

พระบรมหราชวัง

Page 20: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

20

Page 21: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

2121

ในทางด้านความเชื่อ ลวดลายเทพที่ปรากฏเป็นอิทธิพลจากภาค

กลาง สะท้อนให้เห็นความเชื่อด้านที่ปกปักคุ้มครองศาสนสถาน เคารพบูชา

พระประธานในวิหาร นอกจากนี้ลวดลายประดับที่ช่างได้สร้างสรรค์ไว้บน

ศาสนถานนั้น เกิดจากความเชื่อทางศาสนาเรื่องคติจักรวาล อันเป็นความ

เชื่อเกี่ยวโลกและดาราศาสตร์ของชาวพุทธในอดีตประกอบไปด้วยสวรรค์

โลกมนุษย์ และนรก โดยดินแดนสวรรค์นั้นมียอดเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง

ของจักรวาล อันมีสวรรค์ชั้นต่างๆตามล�าดับมีเหล่าเทพยดาสถิตอยู่ตามผล

บุญที่ได้กระท�าเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ความเชื่อเหล่านี้มีส่วนช่วยกระตุ้น

และน้อมน�าจิตใจของพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติชอบตามค�าสอนขององค์

พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า และยังเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างได้สร้างสรรค์

งานพุทธศิลป์จากการตีความตามหลักธรรมค�าสอนในพระพุทธศาสนาผ่าน

งานศิลปกรรม ออกมาในเชิงสัญลักษณ์และลวดลายต่างๆมากมาย ทั้งยัง

สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาในเชิงช่างของชาวล้านนา รสนิยมในศิลปะ

อุดมคติทางความงาม ตลอดจนบริบททางสังคมในยุคนั้นๆที่ได้สะท้อน

ออกมาจากงานศิลปะ ลวดลายเหล่านี้ต่างๆที่ประดับบนศาสนสถานนั้นเพื่อ

แสดงถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับสรวงสวรรค์ ในพระพุทธศาสนา ความคิดใน

การคุ้มครองศาสนสถาน ความอุดมสมบูรณ์ แสดงถึงการเฉลิมพระเกียรติ

ของพระมหากษัตรย์ หรือการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ตลอดจน

แนวคิดถึงสิ่งอันเป็นมงคล และการประสาทพรแก่ผู้ที่เข้ามาในศาสนสถาน

Page 22: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai

อลังการงานประดับ วิหารวัดพระสิงห์เชียงราย

© 2015 (พ.ศ. 2558) โดย ธีรพล จะสาร

สงวนลิขสิทธิ์

พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558

จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรียบเรียงและออกแบบโดย ธีรพล จะสาร

ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK 16 pt

หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน

เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา

ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Page 23: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai
Page 24: The Decorative Patterns in Wat Pra Singh, Chaing rai