Transcript
Page 1: สารสำนักหอสมุดกลาง ปีที่ 33 ฉบับที่ 10 เดือน ตุลาคม 2560 · Title: สารสำนักหอสมุดกลาง

เนื่องในงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ปรากฏคําศัพท์ที่เกี่ยว เนื่องในการพระราชพิธีเป็นจํานวนมากซึ่งสะท้อนมรดก ภูมิปัญญาทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ทั้งที่เกี่ยวกับราชประเพณ ีเครื่อง

ประกอบพระราชพิธ ีศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประชาชนอาจไม่ทราบถึงความหมาย รวมถึงรายละเอียดของคําศัพท์ที่ปรากฏ ตามสื่อต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้หนังสือเล่มนี ้จึงรวบรวมคําศัพท์ต่าง ๆ ของงานพระราชพิธีพระบรมศพตั้งแต่พระราชกุศล ณ พระที่นั่ง

ดุสิตปราสาท กระทั่งถึงการถวายพระเพลงิพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง หนังสอืเล่มนี้จึงมีประโยชนท์ี่ได้อ่าน

เพื่อได้เข้าใจถึงความหมายของศัพท์ต่าง ๆ ในพระราชพิธ ี

เรื่อง คําศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ผู้แต่ง กลุ่มจารีตประเพณ ีสํานักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

เลขหมู ่ PL4189 ค228 2560

สถานที ่ สํานักหอสมุดกลาง ชั้น 4 อาคาร 1.

ปทีี่ 33 ฉบับที ่10 เดือน ตุลาคม 2560

สำนักหอสมุดกลางเข้าร่วมกิจกรรม มร.

ผศ. วุฒิศักดิ ์ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคําแหง

นําคณะผู้บริหาร คณาจารย ์บุคลากร นักศึกษา และประชาชน ร่วม

ตักบาตรพระสงฆ์ ๙ รูป และยืนไว้อาลัยเป็นเวลา ๘๙ วินาที เพื่อถวาย

เป็นพระราชกุศล และน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 13 ตุลาคม

พ.ศ. 2560 ณ บริเวณลานด้านหน้าอาคารหอประชุมพ่อขุนรามคําแหง

มหาราช บุลากรสํานักหอสมุดกลางได้เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้

กิจกรรมสำนักหอสมุดกลาง

สํานักหอสมุดกลาง จัดประชุมชี้แจงนโยบายสํานักหอสมุดกลาง

โดยมี รศ. ปิยะนุช เงินคล้าย รักษาราชการแทนผู้อํานวยการ

สํานักหอสมุดกลาง เป็นประธานในการเปิดประชุม พร้อมกล่าวถึง

การดําเนินงานของสํานักฯ และเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ซักถาม

เรื่องการดําเนินงานต่าง ๆ ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคาร 3 ในวันที่

4 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยมีบุคลากรทั้งสํานักหอสมุดกลางเข้าร่วม

กิจกรรมในครั้งนี้

โดย อาริษา พูลเผือก

Page 2: สารสำนักหอสมุดกลาง ปีที่ 33 ฉบับที่ 10 เดือน ตุลาคม 2560 · Title: สารสำนักหอสมุดกลาง

ฝนตก น้ําขัง ระวังไข้เลอืดออก

*พัลลภ อิงควิศาล

ถ้าเอ่ยถึงโรคไข้เลือดออก เชื่อว่าหลาย ๆ คนต่างก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ยุงลาย คือพาหะนําโรคที่สําคัญของ โรคนี้ จัดเป็นโรคที่เหล่าบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหลายต่างกังวลกันไม่น้อย เพราะส่วนใหญ่ มักพบบ่อยในเด็กต่ํา กว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 8 ขวบ ส่วนในผู้ใหญ่แม้จะพบได้น้อยกว่า แต่ก็ยังมีหลายคนที่ต้องเผชิญกับโรค ไข้เลือดออกนี้อยู่ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยในแหล่งที่มียุงลายชุกชุม หรือทํางานในสถานที่ที่มียุงลายอาศัยอยู่มาก ยุงลายชอบกัดตอนไหน ช่วงไหนควรระวังพาหะไข้เลือดออก

ยุงลายที่กัดเราแล้วจะทําให้เป็นโรคไข้เลือดออกมีเฉพาะยุงลายตัวเมียเท่านั้น เพราะยุงลายตัวเมียต้องการโปรตีน จากเลือดเพื่อสร้างไข่ และมักจะออกหาเหยื่อในช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน ฉะนั้นช่วงกลางวันจึงเป็นช่วงเวลา

อันตรายที่ต้องเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัดมากที่สุด แต่ทั้งนี้ช่วงเวลาไหน ๆ ก็อย่ายอมให้ยุงมากัดน่าจะปลอดภัยกว่า

อาการของโรคไข้เลือดออก

– ในระยะแรกของการได้รับเชื้อจะมีอาการไข้ขึ้น 39 - 40 องศา นานประมาณ 2 - 7 วัน ร่วมกับมีอาการ

ปวดเมื่อยตามร่างกาย และปวดศีรษะ

– ต่อมาจะเริ่มมีจุดเลือดออกมาตามบริเวณร่างกาย ทั้งแขน ขา หรือท้อง เป็นต้น ร่วมกับอุจจาระมีสีดํา

และมีอาการอาเจียน

– ตับเริ่มโต เวลากดจะรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงด้านขวา – ต่อมาจะเริ่มมีภาวะช็อก เนื่องจากระบบไหลเวียนของเลือดภายในร่างกายทํางานผิดปกติ เมื่อไข้ลดลง

มือและเท้าจะเริ่มเย็น เกิดอาการกระสับกระส่าย ร่วมกับมีความดันต่ํา และชีพจรเต้นเบาและเร็ว

– หากมีอาการรุนแรงจะเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ํา และไตวาย จนกระทั่งเสียชีวิตได้ในที่สุด

วิธีการรักษาและป้องกันโรคไข้เลือดออก

– ควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้อย่างพาราเซตามอล โดยห้ามให้ยาแอสไพรินแก่ผู้ป่วยเด็ดขาด

– ให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามาก ๆ และหากร่างกายผู้ป่วยขาดน้ํามากให้ดื่มน้ําเกลือแร่ทดแทน – คอยสังเกตอาการของผู้ป่วยตลอดเวลา หากเริ่มมีอาการใจสั่น หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน ควรรีบพาไปพบแพทย์

– ควรหมั่นกําจัดแหล่งที่มีน้ําขังต่าง ๆ ในบริเวณบ้าน อย่างเช่น อ่างน้ํา ขวดน้ํา เป็นต้น รวมทั้งการแจ้งเจ้าหน้าที่

ให้มาฉีดพ่นสารเคมีตามลําคลองที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อกําจัดลูกน้ํายุงลายพาหะสําคัญของโรคไข้เลือดออก – การสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รวมทั้งการใช้ยาทากันยุง ก็นับเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันยุงลายกัดได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ทุกบ้านจึงควรช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้มีแหล่งน้ําท่วมขังที่ยุงลายจะสามารถเพาะพันธุ์ได้ โดยเฉพาะภายใน บ้าน รวมทั้งการนอนในมุ้ง หรือติดลวดมุ้งตามประตู หน้าต่างทุกแห่งภายในบ้าน เพื่อป้องกันยุงลายเข้ามา

บรรณานุกรม โรคไข้เลือดออก สาเหตุ อาการ การป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออก. (มปป.). (ออนไลน)์ เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2560. จาก www.เกร็ดความรู.้ net/โรคไข้เลือดออก/

*บรรณารักษ์ปฏิบัติการ สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง

2


Recommended