46
ความชุกทางซีรัมวิทยาและปจจัยเสี่ยงการติดเชื้อ Brucella melitensis และ caprine arthritis-encephalitis virus ในแพะภาค ตะวันตกของประเทศไทย Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and caprine arthritis-encephalitis virus in goats in the western Thailand โดย ชองมาศ อันตรเสน ตระการศักดิแพไธสง และ พิไลพร เจติยวรรณ Chongmas Antarasena Trakarnsak Paethaisong and Philaiphon Chetiyawan ศูนยวิจัยและพัฒนาการสัตวแพทยภาคตะวันตก อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ทะเบียนวิจัยเลขที: 55(1)-0115-005

Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

ความชุกทางซีรัมวิทยาและปจจัยเสี่ยงการติดเชื้อ Brucella

melitensis และ caprine arthritis-encephalitis virus ในแพะภาคตะวันตกของประเทศไทย

Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and caprine arthritis-encephalitis virus in goats in the western Thailand

โดย

ชองมาศ อันตรเสน ตระการศักดิ์ แพไธสง และ พิไลพร เจติยวรรณ Chongmas Antarasena Trakarnsak Paethaisong and Philaiphon Chetiyawan

ศูนยวิจัยและพัฒนาการสัตวแพทยภาคตะวันตก อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ทะเบียนวิจัยเลขท่ี : 55(1)-0115-005

Page 2: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

ความชุกทางซีรัมวิทยาและปจจัยเสี่ยงการติดเชื้อ Brucella

melitensis และ caprine arthritis-encephalitis virus ในแพะภาคตะวันตกของประเทศไทย

Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and caprine arthritis-encephalitis virus in goats in the western Thailand

โดย

ชองมาศ อันตรเสน ตระการศักดิ์ แพไธสง และ พิไลพร เจติยวรรณ Chongmas Antarasena Trakarnsak Paethaisong and Philaiphon Chetiyawan

ศูนยวิจัยและพัฒนาการสัตวแพทยภาคตะวันตก อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ทะเบียนวิจัยเลขท่ี : 55(1)-0115-005

Page 3: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

สารบัญ หนา

บทคัดยอ/ Abstract                  1 บทนํา 3 อุปกรณและวิธีการ 8

ผลการศึกษา 12 วิจารณ 21 เอกสารอางอิง 31 ภาคผนวก  

แบบสอบถาม 39 ภาพการดําเนินงาน 43 

Page 4: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

1

ความชุกทางซีรัมวิทยาและปจจัยเสี่ยงการติดเชื้อ Brucella melitensis และ caprine arthritis-encephalitis virus ในแพะภาคตะวันตกของประเทศไทย

Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and caprine arthritis-encephalitis virus in goats in the western Thailand

ชองมาศ อันตรเสน1* ตระการศักดิ์ แพไธสง1 และ พิไลพร เจติยวรรณ1 Chongmas Antarasena1* Trakarnsak Paethaisong1 and Philaiphon Chetiyawan1

--------------------------------------------------------- บทคัดยอ

วัตถุประสงค—โรคบรูเซลโลซิสและโรคขออักเสบและสมองอักเสบในแพะเปนโรคติดตอชนิดเร้ือรังที่สําคัญและสงผลกระทบตอการเพิ่มผลผลิตของแพะ มีสาเหตุเกิดจากเชื้อ Brucella melitensis และ caprine arthritis-encephalitis virus (CAEV) ตามลําดับ การศึกษานี้มีวัตถุประสงคเพื่อสํารวจความชุกทางซีรัมวิทยาและปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการติดเชื้อ B. melitensis และ CAEV ในแพะที่เล้ียงในภาคตะวันตกของประเทศไทย เพื่อใชในการวางแผนกําจัดโรคและลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ วัสดุ อุปกรณ และวิธีการ — ทําการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) ระหวางเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2555 และสุมเก็บตัวอยางซีรัมแพะที่เล้ียงในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันตกของประเทศไทยแบบระดับชั้น (stratified random sampling) ไดแก จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ เพชรบุรี และราชบุรี จากฟารมแพะ 87 ฟารม รวมจํานวน 1,379 ตัวอยาง ตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ดวยวิธี indirect ELISA และ complement fixation test (CFT) สวนการตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ใชวิธี cELISA และศึกษาปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการเกิดโรคทั้งสอง ทั้งแบบรายตัวและรายฝูง โดยใชแบบสอบถามเก็บขอมูล เพื่อวิเคราะหตัวแปรที่ตั้งเปนสมมติฐานแบบการถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา—พบความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในระดับรายตัวและรายฝูงที่ระดับความเชื่อมั่น95% เทากับ 5.08% และ 18.39% ตามลําดับ โดยพบความชุกของโรคสูงสุดที่จังหวัดกาญจนบุรี สวนโรคขออักเสบและสมองอักเสบในแพะตรวจพบความชุกในระดับรายตัวและรายฝูงที่ระดับความเชื่อมั่น 95% คิดเปน 1.81% และ 9.20% ตามลําดับ โดยพบความชุกของโรคสูงสุดที่จังหวัดเพชรบุรี จากการวิเคราะหปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการเกิดโรคทั้งสอง ดวยวิธีวิเคราะหการถดถอยโลจิสติก พบวาปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการติดเชื้อ B. melitensis ในระดับรายตัว อยางมีนัยสําคัญไดแก การเลี้ยงแพะและแกะรวมกัน (OR=6.248 ; 95%CI: 3.063-12.745; p<0.001)

Page 5: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

2

และการที่แพะในฟารมมีประวัติการแทง (OR=3.796; 95% CI: 2.305-6.254; p<0.001) สวนปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในระดับรายตัวอยางมีนัยสําคัญไดแก ขนาดของฟารม ( OR: 8.50; 95% CI : 3.09-23.43; p<0.001) การมีประวัตินําพอพันธุแพะไปผสมกับแพะฟารมอื่น (OR: 2.81 ; 95% CI: 1.24-6.38; p<0.013) และการที่เคยมีแพะในฟารมแสดงอาการเขาไดตามนิยามโรค CAE (OR: 3.45 ; 95% CI : 1.61-7.40 ; p<0.001) ทั้งนี้ไมพบปจจัยที่มีความสัมพันธกับการติดเชื้อ B. melitensis และ CAEV ในระดับรายฝูง ขอสรุป—ผลการศึกษาครั้งนี้บงชี้วายังคงมีการติดเชื้อ B. melitensis และ CAEV ในฝูงแพะที่เล้ียงในภาคตะวันตก ดังนั้นกรมปศุสัตวและผูเกี่ยวของควรดําเนินการเฝาระวังและควบคุมโรคอยางตอเนื่อง โดยตรวจคัดกรองโรค และทําลายแพะตัวที่ใหผลบวก เพื่อกําจัดพาหะของโรค ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ B. melitensis ทั้งในคนและแพะรวมฝูง คําสําคัญ: ความชุกทางซีรัมวทิยา โรคบรูเซลโลซิส โรคขออักเสบและสมองอักเสบในแพะ แพะ ภาคตะวันตก 1ศูนยวิจยัและพัฒนาการสัตวแพทยภาคตะวันตก ตูปณ. 18 อําเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 70150 *ผูเขียนที่ใหการติดตอ : โทร. 0-3222-8419 โทรสาร. 0-3222-8379 ตอ 114 e-mail : [email protected] ทะเบียนวิจยัเลขที่ : 55(1)-0115-005

Abstract  Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are infectious diseases caused by Brucella melitensis and caprine arthritis-encephalitis virus (CAEV) respectively. They are the important persistent diseases of goats that affect productivity. This study explored information to support disease control plan. The study objectives were to determine seroprevalence of B. melitensis and CAEV infections in goats in the western provinces of Thailand and to identify potential risk factors associated with farms and goats seropositivity. Materials and Methods—A cross-sectional study was conducted between January and March 2012. Target population is goats in 5 provinces of western Thailand namely; Kanchanaburi, Nakhonpathom, Prachuapkhirikhan, Petchaburi and Ratchaburi. A total of 1,379 serum samples from 87 goat farms were selected by stratified random sampling method. The indirect ELISA and complement fixation test (CFT) were used to screen and confirm B. melitensis antibody detection, respectively. The presence of CAEV antibody was determined using competitive ELISA. Risk

Page 6: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

3

factors associated with the seropositivity were determined with 95% confident and using logistic regression analysis. Results—The overall seroprevalence of brucellosis at the individual and herd levels were 5.08% and 18.39%, respectively. The highest prevalence was observed in Kanchanaburi province. The overall seroprevalence of CAE at the individual and herd levels were 1.81% and 9.20%, respectively. The highest prevalence was observed in Petchaburi province. Statistically significant of association on animal level was found between B. melitensis infection and mixed rearing goat and sheep (OR=6.248; 95%CI: 3.063-12.745; p<0.001) and history of abortion (OR=3.796; 95% CI: 2.305-6.254; p<0.001). Logistic regression analysis showed that herd size (OR: 8.50; 95% CI : 3.09-23.43; p<0.001), shared rams with other farms (OR: 2.81 ; 95% CI: 1.24-6.38; p<0.013) and the presence of goat with signs conformed with CAE (OR: 3.45 ; 95% CI : 1.61-7.40 ; p<0.001) were risk factors associated with CAEV positivity on individual level. There was no risk factor associated with B. melitensis and CAEV on herd level. Conclusions—The results indicated that goats population particularly those reared in western provinces of Thailand are at risk of B. melitensis and CAEV infections. The implementation of periodical test and stamping-out measures should be established in order to reduce risk of both diseases in goats and B. melitensis infection in human. Keywords: seroprevalence, brucellosis, caprine arthritis-encephalitis, goats, western Thailand 1Veterinary Research and Development Center (Western Region), Po. Box 18, Chom bueng District, Ratchaburi Province, 70150

*Corresponding author: Tel. 0-3222-8419 Fax. 0-3222-8379 Ext. 114 e-mail: [email protected]

บทนํา

โรคบรูเซลโลซิส (caprine brucellosis) และโรคขออักเสบและสมองอักเสบในแพะ (caprine arthritis-encephalitis; CAE) เปนโรคติดตอชนิดเรื้อรังที่สําคัญและสงผลกระทบตอการเพิ่มผลผลิตของแพะ กอใหเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจตอผูเล้ียงแพะทั้งเกษตรกรรายยอยและขนาดใหญเปนอยางมาก พบการเกิดโรคทั้งสองในหลายประเทศทั่วโลกที่มีการเลี้ยงแพะทั้งในทวีปยุโรป เอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต โรคทั้งสองชนิดนี้เปนโรคติดเชื้อแบบแอบแฝง (persistent infection) แพะที่ติดเชื้อมักไมแสดงอาการปวย แตเชื้อโรคจะแฝงตัวอยูในรางกายสัตว และเปนพาหะนําโรคตลอดชีวิต จึงกอใหเกิดความเสียหายอยางยาวนานและตอเนื่อง ทําใหประเทศตางๆทั่วโลกตระหนักถึงความสําคัญ จึงไดกําหนดแผนและมาตรการควบคุม ปองกันและกําจัดโรคในระดับชาติ (CFSPH, 2007; CFSPH, 2009)

Page 7: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

4

โรคบรูเซลโลซิสในแพะ มสีาเหตุเกิดจากเชื้อ Brucella melitensis ซ่ึงเปนเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบ เชื้อนี้ประกอบดวย 3 biovars (biovars 1-3) เชื้อจะเจริญในเซลลของเนื้อเยื่อระบบน้ําเหลือง (reticuloendothelial system) เตานม และอวยัวะสืบพันธุ แพะและแกะเปนสัตวที่ติดเชื้อไดตามธรรมชาติ ความรุนแรงของโรคขึ้นกับพันธุสัตว สายพนัธุของเชื้อแบคทีเรีย และจํานวนของเชื้อที่เขาสูรางกาย แพะทุกสายพนัธุมีความไวตอการติดเชื้อ แพะติดเชื้อ B. melitensis โดยการกนิหรือสัมผัสเชื้อที่อยูในสิ่งคัดหล่ังตางๆ เมื่อเชื้อ B. melitensis เขาสูรางกายจะผานเขาเยือ่เมือกของคอหอย (oropharynx) ทางเดินหายใจสวนตน เยื่อบุตา รวมทั้งติดตอผานทางเยื่อเมอืกของอวัยวะระบบสืบพันธุทั้งเพศผูและเพศเมยี เชื้อที่เขาสูรางกายจะเพิ่มจํานวนในเซลลของตอมน้ําเหลืองบริเวณใกลเคียง จากนั้นจะแพรกระจายไปอวยัวะตางๆ ไดแก เตานม ตอมน้ําเหลือง มามและอวยัวะสืบพันธุ หลังติดเชื้อ 10-20 วันจะตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในกระเลือด และคงอยูนานตั้งแต 30 วนัจนถึง 2 เดือน ในสัตวที่ตัง้ทอง เชื้อในกระแสเลือดจะผานเขาสูมดลูกทําใหสัตวแทงลูก เกิดรกคาง การแทงพบในแมแพะที่ตั้งทองครั้งแรกโดยสัตวจะแทงลูกเพียงครั้งเดยีว และพบในเดือนที่ 3 หรือ 4 ของระยะการตั้งทอง (แพะตั้งทอง 5 เดอืนหรือ 146-155 วัน) (CFSPH, 2009) ในฝูงแพะที่ตดิเชื้อเปนครั้งแรก ชวงแรกจะมกีารแทงที่รุนแรง แพะทีต่ิดเชือ้จะแทงลูกประมาณ 60-84% แตจะลดความรุนแรงในเวลาตอมา แมแพะจะขับเชื้อปริมาณสูงออกมาพรอมลูกแทง รก ส่ิงคัดหล่ังจากมดลูกและชองคลอดในระหวางคลอดหรือแทงลูกไดนานอยางนอย 2-3 เดือนหลังตกลูก เชื้อจะปนเปอนสูส่ิงแวดลอมภายในฟารม คนสามารถติดเชื้อ B. melitensis ได กอใหเกดิโรค Malta fever ทั้งนี้เชื้อ B. melitensis มีความรุนแรงในการกอโรคในคนไดมากที่สุดเมื่อเทียบกับเชื้อ Brucella spp. อ่ืน โรคบรูเซลโลซิสจึงมีความสําคัญทางสัตวแพทยสาธารณสุข โดยทัว่ไปมักพบผูปวยในกลุมผูที่ทํางานใกลชิดกับสัตวที่เปนโรคไดแก สัตวแพทย เกษตรกรผูเล้ียงแพะตลอดจนคนงานในฟารมเลี้ยงสตัวซ่ึงมีความเสี่ยงตอการติดเชือ้สูงจากการสัมผัสโดยตรงกับรก ลูกแทง ซ่ึงอาจติดเชือ้โดยการกนิหรือทางการหายใจ ติดเชื้อผานทางเยื่อบุตา บุคคลทั่วไปติดเชื้อไดโดยบริโภคน้ํานมและผลิตภัณฑจากนมที่ไมผานกระบวนการฆาเชื้อ (EU, 2001)

แมแพะที่ไมตัง้ทองจะไวตอการติดเชื้อ B. melitensis โดยเปนโรคแบบเรื้อรังและเปนพาหะแพรเชื้อตอไปภายในฝูง สวนลูกแพะที่ตดิเชื้อและหายปวยจะเปนพาหะนําโรคเปนระยะเวลานานโดยขับเชื้อออกมาทางอุจจาระ แพะเพศผูจะแสดงอาการอัณฑะอกัเสบ (orchitis) ทอนําน้ําเชือ้อักเสบ (epididymitis) อาจพบขออักเสบรวมดวย พอพันธุจะขับเชื้อออกผานทางน้าํเชื้อ (semen) เปนเวลานานหรือตลอดชีวติ แพะที่ติดเชื้ออาจเกิดกลไกปองกันตนเองของรางกาย (self-limiting infection) โดยไมแสดงอาการปวย แตเชือ้จะแฝงตวัอยูในเตานม และตอมน้ําเหลืองบริเวณเตานมและอวยัวะสืบพันธุ ทําใหเชื้อปริมาณสูงถูกขับออกมาทางน้ํานมและสิ่งคัดหล่ังของระบบสืบพันธุ(EU, 2001)

Page 8: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

5

แพะที่ตดิเชื้อ B. melitensis จะสรางแอนตบิอดีหลังการติดเชื้อ 2-4 สัปดาห ในสัตวที่ตั้งทองและเชื้อผานเขามดลูก รางกายจะสรางแอนติบอดีปริมาณสูงและคงอยูยาวนาน แตอยางไรก็ตามระดับแอนติบอดีที่เกิดขึน้อาจมีความแปรปรวน โดยคอยๆลดลงในบางครั้งจนตรวจไมพบก็เปนได หรือตรวจพบไดในสัตวที่ตัง้ทองไปจนถึงระยะแทงลูกหรือตกลูก การตรวจทางซีรัมวิทยาเปนวธีิมาตรฐานวิธีหนึ่งที่องคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศ (World Organization for Animal Health หรือ OIE) แนะนําใหใชตรวจคัดกรองโรคเบื้องตน (screening test) เพื่อคนหาแพะที่เปนพาหะนําเชื้อ Brucella ภายในฝูง หากตรวจพบแพะที่ใหผลบวกตอการทดสอบใหกําจัดทิ้งเพือ่ควบคุมโรค วิธีที่นิยมใชกนัมากในหองปฏิบัติการไดแก Rose bengal test (RBT), Complement fixation test (CFT) และ Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) ในการดําเนินงานตามแผนการกําจัดโรคบรูเซลโลซิสในฝูงที่ติดเชื้อ เพื่อคัดทิ้งแพะตวัที่เปนพาหะนําโรคนั้น EU (2001) แนะนําใหใชการตรวจหลายวิธีรวมกัน เชน RBT รวมกบั CFT สวนวธีิ indirect ELISA (iELISA) เปนวิธีที่มีความไวสูงเชนเดียวกับวิธี RBT และ CFT และสามารถตรวจตัวอยางซรัีมจํานวนมากพรอมกัน ปจจุบันจึงนยิมใชในการตรวจเพื่อคัดกรองโรค ทั้งในระดบัฝูงและรายตวั (EU, 2001; OIE, 2009)

ในประเทศไทยมีผูสํารวจความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในแพะในหลายพื้นที่ของประเทศไทย พรทิพยและคณะ (2550) และ พรทพิยและอรรถพร (2555) ศกึษาสภาวะโรคบรูเซลโลซิสในแพะในภาคใตของประเทศไทย 2 ชวง คือระหวางป พ.ศ. 2547-2549 และ 2551-2553 พบความชกุของโรครายตัวเทากับ 1.14-1.96% และ 0.62-1.40% ตามลําดับ พิเชษฐและวิเชยีร (2550) ศึกษาโรคบรูเซลโลซิสในแพะแกะทางซีรัมวิทยาที่จังหวดัชัยนาทในป พ.ศ. 2548 พบความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในแพะเทากับ 1.59% สวนในภาคตะวันตกตระการศักดิ์และพิไลพร (2550) ศึกษาสภาวะโรคบรูเซลโลซิสในแพะระหวางป 2547-2549 พบอัตราบวก 1.52-5.14% สวนโรคบรูเซลโลซิสในคนมีผูรายงานการเกิดโรคนี้ในหลายจังหวดัของประเทศไทย ทกุรายมีประวัติเคยสัมผัสแพะปวย หรือดื่มนมแพะที่ไมผานกระบวนการพาสเจอรไรซ Visudhiphan and Na Nakorn (1970) รายงานการเกิดโรคนี้เปนครั้งแรกในเกษตรกรเลี้ยงแพะที่จังหวดัระยอง ตอมาในป 2547 มผูีรายงานการเกิดโรคนี้ในคนจํานวน 5 ราย ทีจ่ังหวดักาญจนบุรี กรุงเทพ จังหวดัละ 1 ราย ผูปวยทั้งสองรายมีประวตัิดื่มนมแพะ และจังหวัดสตลู 3 ราย ผูปวยเปนคนงานในฟารมเลีย้งแพะมีประวตัิสัมผัสแพะปวย (Manosuthi et al., 2004) ในปพ.ศ. 2549 Paitoonpong et al. (2006) รายงานการเกดิโรคในเกษตรกรเล้ียงแพะที่จังหวัดเพชรบูรณ ทุกรายยนืยันผลโดยตรวจพบเชื้อ B. melitensis และตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ Brucella ในตัวอยางเลือดของผูปวย สวนในปพ.ศ. 2552 วิไลภรณและคณะ (2552) รายงานการเกดิโรคในคนที่จังหวัดเพชรบูรณจํานวน 4 ราย ผูปวยทั้งหมดมปีระวัติสัมผัสแพะ ไมวาเปนการสัมผัสสิ่งคัดหล่ัง บริโภคเนื้อหรือนมแพะ ตอมาในปพ.ศ. 2555 มีผูปวยดวยโรคนี้

Page 9: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

6

ที่จังหวดัลําปางจํานวน 1 ราย มีอาชีพเล้ียงแพะ และกอนปวยเคยทําคลอดใหแพะและไมไดใสถุงมือปองกันโรค แพะฝูงนี้ตรวจพบวาเปนโรคบรูเซลโลซิส (สํานักระบาดวทิยา, 2555) โรคขออักเสบและสมองอักเสบในแพะ (caprine arthritis-encephalitis, CAE) มีสาเหตุเกิดจากเชื้อ caprine arthritis encephalitis virus (CAEV) จัดอยูใน genus Lentivirus, family Retroviridae มีลักษณะสายพันธุกรรม (genome) เปนแบบ RNA virus สายเดี่ยว มีเปลือกหุม (envelope) จากการวิเคราะหลักษณะทางพันธุกรรมพบวา เชื้อ CAEV มีความคลายคลึงและสัมพันธใกลชิดกับเชื้อ Maedi- visna virus (MVV) ที่กอใหเกิดโรค ovine progressive pneumonia (OPP) ในแกะ เชื้อไวรัสทั้งสองชนิดจัดอยูในกลุม Small-ruminant lentiviruses (SRLVs) (Pasick, 1998; OIE, 2008) แพะเปนสัตวที่ติดเชื้อ CAEV ไดตามธรรมชาติ สวนแกะติดเชื้อไดจากการทดลอง เชื้อ CAEV มีหลายสายพันธุและมีความรุนแรงของการกอโรคแตกตางกัน (Reina et al., 2009a) พบโรคนี้ในหลายประเทศทั่วโลกที่มีการเลี้ยงแพะแบบอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแพะนม ไดแกประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา นอรเวย สวิตเซอรแลนด ฝร่ังเศส และเม็กซิโก ซ่ึงพบความชุกของโรคสูงมากกวา 65% (Nord et al., 1998; Kahn and Line, 2008) การติดเชื้อไวรัสสวนใหญ ลูกแพะจะไดรับเชื้อไวรัสจากแมตั้งแตชวงแรกคลอดโดยกินน้ํานมเหลือง (colostrum) และน้ํานมของแมแพะที่เปนโรคนี้ เมื่อเชื้อไวรัสเขาสูระบบทางเดินอาหาร จะเขาสูผนังลําไสเล็ก และแทรกตัวเขาสู monocytes และ macrophages ของโฮสท เซลลเหลานี้จะแพรกระจายไปยังอวัยวะเปาหมาย ไดแก เยื่อหุมขอ เตานม ปอด ตอมน้ําเหลือง และระบบประสาทสวนกลาง แพะที่ติดเชื้อสวนใหญมักไมแสดงอาการปวย แตจะเปนพาหะนําโรค (carriers) ตลอดชีวิต เชื้อไวรัสจะแฝงตัวอยูในเซลลเม็ดเลือดขาวทั้งสองชนิดตลอดชีวิต (persistent infection) โดยมีไขกระดูกเปนแหลงรังโรคที่สําคัญของเชื้อไวรัสในรางกายสัตว (Gendelman et al., 1985) ถึงแมวารางกายมีการตอบสนองของระบบภูมิคุมกันก็ตาม แตภูมิคุมกันที่เกิดขึ้นไมสามารถปองกันโรคได (Kahn and Line, 2008) อาการเดนชัดที่สัตวแสดงออกมี 2 ลักษณะอาการคือ ในแพะโตเต็มวัย (อายุมากกวา 6 เดือนขึ้นไป) สัตวแสดงอาการขออักเสบ ขอบวมซึ่งเปนลักษณะเฉพาะของโรคนี้ โรคจะดําเนินไปอยางชาๆและตอเนื่อง อาจพบอาการปอดบวมเรื้อรัง ในแมแพะอาจพบอาการเตานมอักเสบ น้ํานมลด สัตวปวยมีน้ําหนักตัวลดลงอยางตอเนื่องและมักพบรวมกับอาการแบบอื่นๆขางตน สวนในลูกแพะอายุ 2-6 เดือน จะพบอาการสมองอักเสบ เดินไมสัมพันธกัน ขาออนไมมีแรง หรือเปนอัมพาต (Pugh, 2002) แพะที่ติดเชื้อ CAEV จะสรางแอนติบอดีตอเชื้อภายใน 3 ถึง 12 สัปดาห และเนื่องจากเชื้อไวรัสจะคงอยูในรางกายสัตวตลอดชีวิต ดังนั้นการตรวจพบแอนติบอดีจึงบงชี้ถึงการติดเชื้อ CAEV การตรวจทางซีรัมวิทยาเปนวิธีมาตรฐานวิธีหนึ่งที่ใชตรวจคัดกรองโรคเบื้องตน เพื่อหาแพะที่เปนพาหะนําเชื้อไวรัสภายในฝูง วิธีที่นิยมใชกันมากไดแก Agar gel immunodiffusion test (AGID) และวิธี ELISA (De Andres et al., 2005; OIE,2008) จากการเปรียบเทียบความไวระหวางการทดสอบทั้ง

Page 10: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

7

สองวิธีพบวา วิธี ELISA มีความไวสูงกวา AGID โดยสามารถตรวจพบแอนติบอดีไดในระยะแรกของการติดเชื้อ (De Andres et al., 2005; Brinkhof and van Maanen, 2007) เทคนิค competitive-inhibition ELISA (cELISA) เปนเทคนิค ELISA ที่พัฒนาขึ้นใชในการตรวจแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV สามารถตรวจตัวอยางโดยไมตองเจือจางซีรัม Herrmann et al. (2003a; 2003b) และ Ozyoruk et al. (2001) ใชวิธีนี้ตรวจหาแอนติบอดีตอ surface envelope glycoprotein (SU) ของเชื้อ CAEV ในฝูงแพะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พบวาวิธีนี้มีความไวสูงถึง 100% และมีความจําเพาะ 96.4% เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี radio-immunoprecipitation (IP)

ในประเทศไทยมีผูรายงานสภาวะโรค CAE หลายรายจากหลายภูมิภาค อุราศรีและคณะ (2528) รายงานการตรวจพบลักษณะของเชื้อ Retrovirus ดวยกลองจุลทรรศนอิเลคตรอน และตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในฝูงแพะพันธุซาเนน นําเขาจากประเทศออสเตรเลียและถูกนํามาเลี้ยงที่จังหวัดราชบุรี โดยแพะแสดงอาการปวยคลายโรค CAE ชัยวัธนและคณะ (2533) รายงานการสํารวจแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในแพะที่เล้ียงในภาคเหนือของประเทศไทยดวยวิธี AGID ในป พ.ศ. 2530 และ 2531 ตรวจพบแอนติบอดีในแพะพันธุซาเนนจํานวน 1 ตัว จากการสํารวจทั้งหมด 155 ตัวในป 2530 สวนในป 2531 ตรวจไมพบแพะที่มีแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV จากการสํารวจแพะจํานวน 365 ตัว ตอมาในป 2545 สุพลและมนัสชัย (2547) ทําการสํารวจโรคนี้ทางซีร่ัมวิทยาดวยวิธี AGID ในฟารมแพะที่เล้ียงในจังหวัดราชบุรี และแพะฝูงนี้แสดงอาการขอขาอักเสบ บวม มีอัตราการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV 21% (25/119) ขณะที่นิอรและคณะ (2552) ศึกษาความชุกของเชื้อ CAEV ในแพะที่เล้ียงในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทยในป 2552 ดวยวิธี ELISA โดยใชชุดทดสอบสําเร็จรูป พบความชุกของการติดเชื้อ CAEV ในแพะรายตัวสูง 12.40 % (105/847) และมีความชุกรายฟารมสูง 47% (47/100) สวนในภาคใตชองมาศและคณะ (2555) ศึกษาความชุกของโรค CAE ในแพะที่เล้ียงใน 8 จังหวัดภาคใตระหวางปพ.ศ. 2551-2553 โดยวิธี cELISA ตรวจพบความชุกของโรครายตัวและรายฝูงเทากับ 2.36 % (76/3,227) และ 15 % (42/280) ตามลําดับ ตอมาในระหวางปพ.ศ. 2552-2554 สุจิราและคณะ (2555) ศึกษาสภาวะโรคขออักเสบและสมองอักเสบในแพะในพื้นที่ภาคกลาง (ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี และสิงหบุรี) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา ชัยภูมิ และบุรีรัมย) ดวยวิธีเดียวกันพบแพะที่เล้ียงในภาคกลางมีความชุกรายฟารมและรายตัวเทากับ 38.21% และ 1.98% ตามลําดับ สวนภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบความชุกรายฟารมและรายตัวสูงกวาภาคกลางคิดเปน 47.79% และ 12.68% ตามลําดับ

ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันตกของประเทศ ไดแกจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ เปนพื้นที่ที่มีเกษตรกรประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตวอยางหนาแนน มีประชากรแพะ 18.65% สูงเปนอันดับสองของประเทศไทย โดยมีเกษตรกรประกอบอาชีพเล้ียงแพะจํานวน 4.28% สูงเปนอันดับ 3 ของประเทศ (ศูนยสารสนเทศ กรมปศุสัตว, 2554) ประกอบกับ

Page 11: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

8

พื้นที่หลายจังหวัดมีแนวทางติดตอกับประเทศเพื่อนบานเปนระยะทางยาว อาจมีแพะที่เปนพาหะของโรคทั้งสองเล็ดลอดผานเขามาในประเทศไทยโดยมิไดผานการทดสอบโรค แพะในพื้นที่นี้สวนหนึ่งถูกสงไปเลี้ยงยังพื้นที่อ่ืนโดยเฉพาะในภาคใตเนื่องจากมีชาวไทย-มุสลิมมากถึงรอยละ 80-85 ซ่ึงมีความตองการแพะเพื่อการบริโภคทั้งเนื้อและนม และยังใชเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (ซารีนา, 2550) ประกอบกับตั้งแตปพ.ศ.2552 เปนตนมา กระทรวงเกษตรและสหกรณมอบนโยบายใหกรมปศุสัตวพัฒนาการเลี้ยงแพะเพื่อใหไดผลผลิตที่มีมาตรฐานความปลอดภัยดานอาหาร เฝาระวัง ปองกัน ควบคุมโรคระบาดที่เปนปญหาทางเศรษฐกิจและ/หรือโรคสัตวติดคนที่เปนปญหาทางสาธารณสุข พรอมทั้งใหจัดทําแผนยุทธศาสตรการพัฒนาแพะทุกดานอยางครบวงจร ทั้งนี้กรมปศุสัตวสนับสนุนใหเกษตรกรรายยอยและเกษตรกรที่เล้ียงเชิงพานิชเล้ียงแพะที่ตองปลอดโรคบรูเซลโลซิส และ CAE หากมีการสํารวจความชุกของโรคทั้งสองอยางเปนระบบรวมทั้งวิเคราะหปจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค จะทําใหทราบขอมูลสภาวะโรคบรูเซลโลซิส และโรค CAE ในฝูงแพะในภาคตะวันตก เพื่อจะไดวางแผนบริหารจัดการ ควบคุมและปองกันโรคอยางยั่งยืน วัตถุประสงคของการศึกษานี้ เพื่อสํารวจความชุกของการติดเชื้อ B. melitensis และเชื้อ CAEV และวิเคราะหปจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโรคทั้งสองชนิดในแพะภาคตะวันตกของประเทศไทย เพื่อใชองคความรูที่ไดเปนขอมูลทางระบาดวิทยาในการวางแผนบริหารจัดการปองกันและควบคุมโรคบรูเซลโลซิสและโรค CAE ในแพะในภาคตะวันตกของประเทศไทย มิใหโรคแพรระบาดออกไปในวงกวาง และลดความสูญเสียเนื่องจากโรคทั้งสอง

อุปกรณและวิธีการ

พื้นท่ีดําเนินการและวิธีการสุมตัวอยาง ในระหวางเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2555 ดําเนินการสุมตัวอยางแพะในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวนัตกของประเทศไทย ไดแก กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ เพชรบุรี และราชบุรี ซ่ึงเปนพื้นที่ที่มีประชากรแพะจํานวน 79,571 ตัว และมีเกษตรกรผูเล้ียงแพะจํานวน 1,767 ราย คิดเปน 18.65% และ 4.28% ของประเทศตามลําดับ โดยเฉลี่ยเล้ียงแพะจํานวน 44.85 ตัวตอครัวเรือน ชนิดแพะที่เล้ียงมีทั้งแพะเนื้อและแพะนม

รูปแบบการวิจัยเปนการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) และวิธีการสุมเก็บตัวอยางแบบระดับชั้น (stratified random sampling) คํานวณขนาดตัวอยางแพะในแตละจังหวัดโดยใชขอมูลประชากรสัตวของกรมปศุสัตวประจําป 2554 (ศูนยสารสนเทศ กรมปศุสัตว, 2554) ดวยโปรแกรมสําเร็จรูป (Win Episcope 2.0, Civil, The University of Edinburgh) โดยใชคาประมาณการความชุก (estimated prevalence) ของโรคบรูเซลโลซิสและโรค CAE ที่ 10-20 % มีระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได 5% (% of accepted error) และระดับความเชื่อมั่น (confidence

Page 12: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

9

interval ; CI) ที่ 95% คํานวณตัวอยางแพะได 139-246 ตัวอยาง และเพื่อใหมั่นใจไดวาตัวอยางที่ไดจะเปนตัวแทนของประชากร จึงไดทําการกระจายจํานวนตัวอยาง ตามสัดสวนประชากรแพะที่มีอยูในแตละจังหวัด ไดฟารมแพะ 87 ฟารม รวมจํานวน 1,379 ตัวอยาง (Table 1, Figure 1)

ในแตละจังหวัดสุมเลือกอําเภอที่มีฟารมเลี้ยงแพะ จังหวัดละ 2-5 อําเภอ แตละอําเภอสุมเลือกฟารมแพะอยางนอย 3-4 ฟารม กําหนดจํานวนตัวอยางดังนี้ ฟารมที่มีจํานวนแพะตั้งแต 30 ตัวขึ้นไปจะเก็บตัวอยาง 15 ตัวตอฟารม สวนฟารมที่มีจํานวนแพะนอยกวา 30 ตัว จะเก็บตัวอยาง 5-10 ตัวตอฟารม ดําเนินการเก็บตัวอยางเลือดแพะ พรอมสัมภาษณเกษตรกร/ผูเล้ียงแพะทุกราย เพื่อสํารวจตัวแปรที่คาดวาเปนปจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคบรูเซลโลซิสและโรค CAE ไดแก ขอมูลทั่วไปของฟารม จํานวนแพะทั้งหมดในฝูง เพศ อายุ สภาวะสุขภาพสัตว การนําแพะตัวใหมเขามาเล้ียงในฝูง ประวัติการเกิดโรค และการจัดการฟารม (แบบสอบถาม ในภาคผนวก)

Table 1 Population of goats in 5 provinces in western Thailand and number of goats and goat

herds sampling for antibody against B. melitensis and CAEV.

Province Goats population* Number of samples

Goats (%) Herd (%) Goats (%) Herd (%) Kanchanaburi Nakhonpathom Prachuapkhirikhan Petchaburi Ratchaburi

22,867 (28.74) 7,988 (10.04)

30,944 (38.89) 9,212 (11.58) 8,560 (10.76)

341 (19.30) 152 (8.60) 827 (46.80) 224 (12.68) 223 (12.62)

359 (26.03) 161 (11.68) 472 (34.23) 211 (15.30) 176 (12.76)

24 (27.59) 11 (12.64) 30 (34.48) 11 (12.64) 11 (12.64)

Total 79,571 (100) 1,767 (100) 1,379 (100) 87 (100) *ศูนยสารสนเทศ กรมปศุสัตว ( 2554)

Page 13: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

10

การเก็บตัวอยางซีรัม

แพะที่ทําการเก็บซีรัมมีอายุตั้งแต 6 เดือนขึ้นไป เก็บตัวอยางเลือดจากเสนเลือดดําบริเวณคอ (jugular vein) ตัวละ 10 มิลลิลิตร โดยใช monovette นํามาแยกปนเก็บซีรัมที่อุณหภูมิ -20o C จนกวาจะนํามาทดสอบโรคบรูเซลโลซิสและโรค CAE การตรวจหาแอนติบอดตีอเชื้อ Brucella melitensis

ดําเนินการทดสอบ 2 วิธีคือวิธี iELISA เพื่อตรวจคัดกรองโรค และยืนยันโรคดวยวิธี CFT 1. วิธี indirect Enzyme-linked immunosorbent assay : ทําการตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ Brucella spp. โดยใชชุดทดสอบสําเร็จรูป PrioCHECK® Brucella antibody (PrioNics, The Netherlands) วิธีการตามขั้นตอนที่แนะนําโดยบริษัทผูผลิต ชุดทดสอบนี้ใชเชื้อ Brucella abortus strain S-99 เปนแอนติเจน โดย sonicate และ inactivate แลวนํามาเคลือบบนผิว microplate ตัวอยางซีรัมใหเจือจางเปน 1: 2.5 เทากอนนํามาทดสอบ สวนปฏิกิริยาการทดสอบอาศัยหลักการที่แอนติบอดีในตัวอยางซี รัมแพะจับตัวกับแอนติเจนบนผิว microplate ตรวจการจับกันของแอนติเจน-แอนติบอดีดวย monoclonal antibody anti-bovine IgG1 conjugate จากนั้นใส TMB ซ่ึงเปน substrate วัดคาการดูดกลืนแสง (optical density, O.D.) ดวยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอรที่ความยาวคลื่น 450 nm คํานวณคา percent positivity (PP) โดยใชสมการ

Figure 1 : Distribution of 87 goat herds (•) examined for B. melitensis and CAEV antibodies in 5 provinces of western Thailand during January-March, 2012.

Page 14: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

11

PP = [(corrected OD 450 test sample) ÷ (corrected OD 450 strong positive control serum)] 100 การแปลผล : หากคา % positivity (PP) > 40% ถือวาใหผลบวกตอการทดสอบ

2. วิธี Complement fixation test : นําซีรัมแพะที่ใหผลบวกตอการทดสอบโรคบรูเซลโลซีสดวยวิธี iELISA มาตรวจยืนยันการติดเชื้อ B. melitensis ดําเนินการตามวิธีของ OIE (2009) และ French Food Safety Agency (2009)  ทําการทดสอบวิธี CFT แบบ cold fixation มีวิธีการโดยยอดังนี้ นําตัวอยางซีรัมทดสอบ ซีรัมควบคุมบวกและลบที่ inactivated แลว จํานวน 25 ไมโครลิตร มาเจือจางโดยทําเปน two-fold dilution จากนั้นเติมแอนติเจนซึ่งทําจากเชื้อ Brucella abortus strain 99 (Antifix®, Synbiotics corporation, Lyon, France) ปริมาตร 25 ไมโครลิตร ลงไปทุกหลุมยกเวนหลุม

ซีรัมควบคุม เติม complement ปริมาตร 25 ไมโครลิตร ทุกหลุม เก็บไวที่อุณหภูมิ 2 - 8°C ประมาณ 16-20 ช่ัวโมง เติม Sensitized SRBCs (เม็ดเลือดแดงแกะและฮีโมลัยซินผสมรวมกัน) ปริมาตร 50

ไมโครลิตรทุกหลุม นําไปบมในตูบมเชื้อ อุณหภูมิ 35 - 39°C นาน 30 นาที หรือเก็บไวในตูเย็น

อุณหภูมิ 2 - 8°C คางคืน อานผลการเกิดปฏิกิริยา fixation ในการอานผลใหคะแนนตามระดับของปฏิกิริยา กลาวคือปฏิกิริยา fixation ที่ 0% = 0, 25% =1, 50%=2, 75%=3 และ 100%=4 โดยแปลผลดังนี้ ปฏิกิริยา fixation เกิดขึ้น 50-100% ที่ระดับซีรัมเจือจาง ≥ 1: 4 ถือวาใหผลบวกตอการทดสอบ (OIE, 2009) การตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อไวรัสขออักเสบและสมองอักเสบ (CAEV)

ทําการตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV (anti- CAEV SU antibodies) ดวยวิธี cELISA โดยใชชุดทดสอบสําเร็จรูป caprine arthritis encephalitis virus antibody test kit cELISA (VMRD, Inc.,Pullman, USA) วิธีการตามขั้นตอนที่แนะนําโดยบริษัทผูผลิต ชุดทดสอบนี้ coat ดวยแอนติเจนสวน surface envelope glycoprotein (SU) ของเชื้อ CAEV-63 สวนปฏิกิริยาการทดสอบอาศัยหลักการที่แอนติบอดีในตัวอยางซีรัมแพะจะยับยั้งการจับตัว (binding) ของ monoclonal antibody 74A ซ่ึงจําเพาะตอเชื้อ CAEV และอยูในรูปของ antibody-peroxidase conjugate กับแอนติเจน วัดคาการดูดกลืนแสง (optical density, O.D.) ดวยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอรที่ความยาวคลื่น 620, 630 หรือ 650 nm. และแปลผลโดยคํานวณคา % Inhibition (%I) ดังนี้

%I = 100 - [(sample O.D. 100) ÷ (mean negative control O.D.)] หากคา % Inhibition ≥ 35% ถือวาใหผลบวกตอการทดสอบ ปฏิกิริยานี้มีความไว 100%

และความจําเพาะ 96.4% (Herrmann et al., 2003a) การวิเคราะหคาทางสถิติ นําผลการทดสอบที่ไดคํานวณคารอยละของจํานวนแพะรายตัวและรายฟารมที่ตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis และ CAEV โดยใชสถิติเชิงพรรณนา ฟารมที่ตรวจพบแพะที่ให

Page 15: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

12

ผลบวกตั้งแต 1 ตัวขึ้นไปถือวาฟารมนั้นใหผลบวกตอการทดสอบโรคและแสดงอัตราการตรวจพบระดับจังหวัดลงบนแผนที่โดยใชโปรแกรม Quantum GIS version 1.5.0 (The Open Source Geospatial Foundation; OSGeo)

วิเคราะหความสัมพันธระหวางการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis และ CAEV กับปจจัยเสี่ยงที่ตั้งเปนสมมติฐานทั้งแบบฝูงและแยกรายตัว โดยใชสมการถดถอยแบบปจจัยเดี่ยว (univariate logistic regression analysis) คํานวณคา odds ratio (OR), 95% confidence interval และหากตัวแปรใดมีคา p value<0.05 จะทําการวิเคราะหตอดวยการวิเคราะหการถดถอยพหุโลจิสติก (multivariate logistic regression analysis) โดยใชโปรแกรมสําเร็จรูป Epi Info version 3.5.1 (CDC, Atlanta, Georgia, USA)

ผลการศึกษา

ความชุกทางซีรัมวิทยาของการติดเชื้อ B. melitensis และ CAEV จากการตรวจหาแอนติบอดตีอเชื้อ B. melitensis ในซีรัมแพะทีเ่ล้ียงในพื้นที่ 5 จังหวัดภาค

ตะวนัตก ไดแก จังหวดักาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ เพชรบุรี และราชบุรี จํานวน 87 ฟารม รวม 1,379 ตัวอยาง จําแนกเปนฟารมแพะนมจํานวน 5 ฟารมและแพะเนื้อ 82 ฟารม ตรวจพบความชุกของการติดเชื้อ B. melitensis ในแพะรายตัวและรายฟารมคิดเปน 5.08% (70/1,379) และ 18.39% (16/87) ตามลําดับ โดยฟารมที่ตรวจพบแพะทีใ่หผลบวกตอการทดสอบพบความชุกต่ําสุด 4.35% (1/23) ที่จังหวัดเพชรบุรี และสูงสุด 81.82% (9/11) ที่จังหวดัประจวบคีรีขันธ (รายละเอียดไมไดแสดง) พบความชุกของโรคสูงสุดทั้งระดบัรายตัวและรายฟารมในจังหวัดกาญจนบรีุเทากับ 9.75% (35/359) และ 33.33% (8/24) ตามลําดับ เมื่อพิจารณาอัตราการตรวจพบแอนตบิอดีตอเชื้อ B. melitensis ระดับรายตัวในแตละจังหวัด พบความชุกของโรคที่จังหวดันครปฐม ประจวบคีรีขันธ เพชรบุรี และราชบุรี เทากับ 4.79% (8/161), 3.81% (18/472), 3.79% (8/211) และ 0.57% (1/176) ตามลําดับ สวนความชกุระดับรายฟารมพบความชุกของโรคที่จังหวัดเพชรบุรี นครปฐม ราชบุรี และประจวบครีีขันธ เทากับ 27.27% (3/11), 18.18% (2/11), 9.09% (1/11) และ 6.67% (2/30) ตามลําดับ ดังผลตาม Table 2 (Figure 2 & 3)

Page 16: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

13

Table 2 Seroprevalence of B. melitensis and CAEV infections in goats in 5 provinces in western Thailand during January-March, 2012.

Province

Prevalence B. melitensis CAEV

Individual (n=1,379)

Herd (n=87)

Individual (n=1,379)

Herd (n=87)

Kanchanaburi 9.75(35/359) 33.33(8/24) 0.28(1/359) 4.17(1/24) Nakhonpathom 4.79(8/161) 18.18(2/11) 3.73(6/161) 9.09(1/11) Petchaburi 3.79(8/211) 27.27(3/11) 6.64(14/211) 27.27(3/11) Prachuapkhirikhan 3.81(18/472) 6.67(2/30) 0.85(4/472) 10.00(3/30) Ratchaburi 0.57(1/176) 9.09(1/11) 0(0/176) 0(0/11)

Total 5.08(70/1,379) 18.39(16/87) 1.81(25/1,379) 9.20(8/87)

Figure 2 : Distribution of brucellosis (%) in goats at individual level in western Thailand during January-March, 2012.

Page 17: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

14

ผลการตรวจหาแอนติบอดีตอแอนติเจนสวน SU ของเชื้อ CAEV พบความชุกของการติด

เชื้อ CAEV ในแพะรายตัวและรายฟารมคิดเปน 1.81% (25/1,379) และ 9.20% (8/87) ตามลําดับ โดยฟารมที่ตรวจพบแพะที่ใหผลบวกตอการทดสอบโรค พบความชุกต่ําสุด 4.17% (1/24) ที่จังหวัด ประจวบคีรีขนัธ และสูงสุด 40.00% (6/15) ที่จังหวัดนครปฐม (รายละเอียดไมไดแสดง) โดยพบความชุกของโรคสูงสุดทั้งระดับรายตัวและรายฟารมในจงัหวัดเพชรบุรี เทากับ 6.64% (14/211) และ 27.27% (3/11) ตามลําดับ และตรวจไมพบโรคนี้ที่จังหวดัราชบุรี (0%) เมื่อพิจารณาอัตราการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ระดับรายตวัในแตละจังหวดั พบความชกุของโรคที่จังหวัดนครปฐม ประจวบคีรีขันธ และกาญจนบุรี เทากับ 3.73% (6/161), 0.85% (4/472) และ 0.28% (1/359) ตามลําดับ ขณะทีค่วามชุกรายฟารมที่จังหวดัประจวบคีรีขันธ นครปฐม และกาญจนบุรีเทากับ 10.00% (3/30), 9.09% (1/11) และ 4.17% (1/24) ตามลําดับ ดังผลตาม Table 2 (Figure 4 & 5)

Figure 3 : Distribution of brucellosis (%) in goats at farm level in western Thailand during January-March, 2012.

Page 18: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

15

Figure 4 : Distribution of CAE (%) in goats at individual level in western Thailand during January-March, 2012.

Figure 5 : Distribution of CAE (%) in goats at farm level in western Thailand during January-March, 2012.

Page 19: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

16

การวิเคราะหปจจัยเสี่ยง จากการวิเคราะหความสัมพนัธของการติดเชื้อ B. melitensis กับปจจยัเสี่ยงที่ตั้งเปน

สมมติฐานในระดับรายตวั ทําการวิเคราะหแตละตวัแปรดวยวิธี univariate logistic regression analysis พบวาการเลี้ยงแพะและแกะรวมกนั และการที่แพะในฟารมเคยแสดงอาการแทงมากอน มีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis เมื่อพิจารณาคา OR พบวาในฟารมที่มีการเลี้ยงแพะและแกะรวมกัน มีความเสี่ยงตอการติดเชื้อ B. melitensis เปน 5.44 เทาของฟารมที่เล้ียงแพะอยางเดียวอยางมนีัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (OR: 5.44 ; 95% CI : 2.94-10.07;p<0.001) สวนฟารมที่เคยมีแพะแสดงอาการแทงมากอน มีความเสี่ยงตอการติดเชื้อ B. melitensis เปน 3.56 เทาของฟารมที่ไมเคยพบแพะแสดงอาการแทงมากอนอยางมนีัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (OR: 3.56; 95% CI: 2.24-5.65; p<0.001) (Table 3)

จากการวิเคราะหความสัมพนัธของการติดเชื้อ B. melitensis กับปจจยัเสี่ยงที่ตั้งเปนสมมติฐานในระดับรายฟารม ทําการวิเคราะหแตละตัวแปรดวยวิธี univariate logistic regression analysis ผลการศึกษาครั้งนี้ไมพบปจจัยใดๆที่มีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ในระดับรายฟารม และเมื่อพิจารณาคา OR พบวาฟารมที่มีการเลี้ยงแพะและแกะรวมกันมแีนวโนมเสี่ยงตอการติดเชื้อ B. melitensis เปน 4.93 เทาของฟารมที่มีการเลี้ยงแพะอยางเดียว แตไมพบวามีนยัสําคัญทางสถิติ (OR: 4.93; 95% CI: 0.76-32.02; p=0.095) (Table 4)  

เมื่อนําปจจยัทีไ่ดจากการวิเคราะหแบบ univariate มาวิเคราะหแบบ multivariate logistic regression analysis ในระดับรายตัวพบวาการเลี้ยงแพะและแกะรวมกัน (OR=6.248 ; 95%CI: 3.063-12.745; p<0.001) และมีแพะในฟารมแสดงอาการแทงมากอน (OR=3.796; 95% CI: 2.305-6.254; p<0.001) เปนปจจยัเสี่ยงของการติดเชื้อ B. melitensis ในแพะ (Table 5) ขณะที่การวิเคราะหในระดบัรายฟารมในการศกึษาครั้งนี้ไมพบความสัมพนัธระหวางปจจยัเสี่ยงตางๆกับความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในแพะ

Page 20: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

17

Table 3 Classification of individual goat as Brucella melitensis seropositive and seronegative in

respect to different risk factors.

*p value significant

Risk factor Category B.melitensis serosensitivity OR CI p value +ve(n=70) -ve(n=1,309)

Age >=3 year <3 year

34 36

487 822

1.59 0.99-2.57 0.056

Gender Male Female

11 59

153 1,156

1.41 0.73-2.73 0.311

Herd size <50 >=50

28 42

621 688

0.74 0.45-1.20 0.224

FMD vaccination Yes No

57 13

1,054 255

1.06 0.57-1.97 0.851

Use of disinfectants Yes No

37 33

717 592

0.93 0.57-1.50 0.753

Mixed rearing goats and sheep Yes No

12 58

48 1,261

5.44 2.94-10.07 <0.001*

Contact with other goat from other farm

Yes No

12 58

168 1,141

1.41 0.74-2.66 0.297

Breeding Method Natural Mixed(Natural+AI)

64 6

1,160 149

1.37 0.59-3.21 0.468

Shared rams with other farm Yes No

8 62

199 1,110

0.72 0.34-1.52 0.389

Ever tested brucellosis in farm before

Yes No

48 22

978 331

0.74 0.44-1.24 0.251

Tested brucellosis before to add new goat into herd

Yes No

31 39

569 740

1.03 0.64-1.68 0.893

Pervious case of abortion Yes No

40 30

357 952

3.56 2.24-5.65 <0.001*

Knowledge of owner about brucellosis

Yes No

50 20

1,033 276

0.67 0.39-1.14 0.137

Page 21: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

18

Table 4 Classification of goat herds as Brucella melitensis seropositive and seronegative in

respect to different risk factors.

Table 5 Final logistic regression model for positive risk factors associated with Brucella melitensis infection in goats on animal level.

B : regression coefficient, SE : standard error, CI : confidence interval at 95%

Risk factor Category B. melitensis serosensitivity OR CI p value +ve(n=16) -ve(n=71)

Herd size <=50 >50

5 11

36 35

0.44 0.14-1.38 0.159

Contact with other goat from other farm

Yes No

3 13

8 63

1.82 9.43-7.66 0.416

FMD vaccination Yes No

14 2

55 16

2.04 0.43-9.66 0.371

Use of disinfectants Yes No

7 9

40 31

0.60 0.20-1.79 0.361

Mixed rearing goats and sheep

Yes No

2 14

2 69

4.93 0.76-32.02 0.095

Breeding Method Natural Mixed(Natural+AI)

15 1

64 7

0.61 0.07-5.34 0.652

Ever tested Brucellosis in farm before

Yes No

13 3

52 19

1.58 0.41-6.12 0.505

Shared rams with other farm

Yes No

2 14

11 60

0.780 0.16-3.91 0.762

Previous case of abortion Yes No

7 9

30 41

1.06 0.36-3.17 0.913

Knowledge of owner about Brucellosis

Yes No

12 4

57 14

0.74 0.21-2.62 0.638

Variable B SE P Odds CI Mixed rearing goats and sheep

1.832 0.364 <0.001 6.248 3.063-12.745

Previous case of abortion

1.334 0.255 <0.001 3.796 2.305-6.254

Constant -3.651 0.200 <0.001 0.026 -

Page 22: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

19

จากการวิเคราะหความสัมพนัธของการติดเชื้อ CAEV ในระดบัรายตวักับปจจัยเสีย่งตางๆดวยวิธี univariate logistic regression analysis พบวาขนาดของฟารม การมีประวัตนิําพอพันธุแพะไปผสมกับแพะฟารมอื่น และการที่เคยมแีพะในฟารมแสดงอาการเขาไดตามนยิามโรค CAE มีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV เมื่อพิจารณาคา OR พบวาฟารมที่เล้ียงแพะนอยกวา 50 ตัว มีความเสีย่งตอการติดเชื้อ CAEV เปน 8.50 เทาของฟารมที่เล้ียงแพะตั้งแต 50 ตัวขึ้นไปอยางมนีัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (OR: 8.50; 95% CI : 3.09-23.43; p<0.001) ฟารมที่เคยนําพอพันธุแพะในฟารมของตนไปผสมกับแพะตางฟารมมีความเสี่ยงตอการติดเชื้อ CAEV เปน 2.81 เทาของฟารมที่ไมเคยนําพอพนัธุแพะไปผสมกับแพะฟารมอื่นมากอนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (OR: 2.81 ; 95% CI: 1.24-6.38; p=0.013) และฟารมที่เคยมีแพะในฟารมแสดงอาการเขาไดตามนยิามโรค CAE มีความเสี่ยงตอการติดเชื้อ CAEV เปน 3.45 เทาของฟารมที่ไมเคยพบแพะแสดงอาการเขาไดตามนิยามโรค CAE อยางมีนยัสําคัญยิง่ทางสถิติ (OR: 3.45 ; 95% CI : 1.61-7.40 ; p<0.001) (Table 6)

จากการวิเคราะหความสัมพนัธของการติดเชื้อ CAEV กับปจจัยเสีย่งทีต่ั้งเปนสมมตฐิานในระดับรายฟารม ทําการวิเคราะหทีละตวัแปรดวยวิธี univariate logistic regression analysis ผลการศึกษาครั้งนี้ไมพบปจจัยใดๆที่มีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนตบิอดีตอเชื้อ CAEV ในระดับฟารม และเมือ่พิจารณาคา OR พบวาฟารมที่มีการเลี้ยงแพะนอยกวา 50 ตัว มีแนวโนมเสี่ยงตอการติดเชื้อ CAEV เปน 2.78 เทาของฟารมที่มีการเลี้ยงแพะตั้งแต 50 ตัวข้ึนไป แตไมพบวามีนยัสําคัญทางสถิติ (OR: 2.78 ; 95% CI: 0.56-13.83; p=0.212) และฟารมที่เคยมแีพะในฟารมแสดงอาการเขาไดตามนยิามโรค CAE มีแนวโนมเสีย่งตอการติดเชื้อ CAEV เปน 2.76 เทาของฟารมที่ไมเคยพบแพะแสดงอาการเขาไดตามนยิามโรค CAE แตไมพบวามนีัยสําคัญทางสถิติ (OR: 2.76; 95% CI : 0.66-11.51; p=0.163) (Table 7) เมื่อนําปจจัยที่ไดจากการวิเคราะหแบบ univariate มาวิเคราะหแบบ multivariate logistic regression analysis ในระดับรายตัวพบวาฟารมที่มีการเลี้ยงแพะนอยกวา 50 ตัว (OR: 8.503; 95%CI: 2.533-28.543; p=0.001) เปนปจจัยเสี่ยงที่สัมพันธกับความชุกของโรค CAE ในแพะ (Table 8) ขณะที่การวิเคราะหในระดับรายฟารม ในการศึกษาครั้งนี้ไมพบความสัมพันธระหวางปจจัยเสี่ยงตางๆกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในแพะ

Page 23: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

20

Table 6 Classification of individual goat as caprine arthritis encephalitis virus seropositive and seronegative in respect to different risk factors.

*p value significant

Risk factor Category CAEV serosensitivity OR CI p value +ve(n=25) -ve(n=1,354)

Age >=3 year <3 year

11 14

510 844

1.30 0.59-2.88 0.517

Gender Male Female

2 23

162 1,192

0.64 0.15-2.71 0.544

Herd size <50 >=50

22 3

627 727

8.50 3.09-23.43 <0.001*

FMD vaccination Yes No

23 2

1,088 266

2.81 0.70-11.28 0.145

Use of disinfectants Yes No

13 12

741 613

0.90 0.41-1.98 0.786

Mixed rearing goats and sheep

Yes No

0 25

60 1,294

0.00 - 0.282

Contact with other goat from other farm

Yes No

1 24

194 1,160

0.25 0.04-1.59 0.142

Shared rams with other farm

Yes No

8 17

199 1,155

2.81 1.24-6.38 0.013*

Tested CAEV before to add new goat into herd

Yes No

2 23

44 1,310

2.5 0.62-10.74 0.190

Presence of goat with signs conformed with CAE

Yes No

15 10

410 944

3.45 1.61-7.40 <0.001*

Page 24: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

21

Table 7 Classification of goat herds as caprine arthritis encephalitis virus seropositive and seronegative in respect to different risk factors.

Table 8 Final logistic regression model for positive risk factors associated with CAEV infection in goats on animal level.

B : regression coefficient, SE : standard error, CI : confidence interval at 95%

วิจารณ

ผลการตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ในแพะในพื้นที่ภาคตะวันตกในครั้งนี้ พบความชุกรายตัว 5.08% (70/1,379) และรายฝูง 18.39% (16/87) ซ่ึงสูงกวาการศึกษาของตระการศักดิ์และพิไลพร (2550) ที่รายงานผลการตรวจโรคบรูเซลโลซิสในแพะในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันตกโดยวิธี RBT พบโรคนี้ในป 2547 และ 2549 เทากับ 1.52% และ 3.68% ตามลําดับ สวนในป 2548 ตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis เทากับ 5.14% ซ่ึงใกลเคียงกับการศึกษานี้ เมื่อเปรียบเทียบ

Risk factor Category CAEV serosensitivity OR CI p value +ve(n=8) -ve(n=79)

Herd size <50 >=50

2 6

38 41

2.78 0.56-13.83 0.212

Contact with other goat from other farm

Yes No

1 7

11 68

0.88 0.10-7.88 0.911

FMD vaccination Yes No

7 1

62 17

1.92 0.23-16.14 0.548

Use of disinfectants Yes No

4 4

43 36

0.84 0.20-3.58 0.811

Mixed rearing goats and sheep

Yes No

0 8

4 75

0.00 - 0.515

Presence of goat with signs conformed with CAE

Yes No

4 4

21 58

2.76 0.66-11.51 0.163

Variable B SE P Odds CI Herd size (<50) 2.140 0.618 0.001 8.503 2.533-28.543

Constant -5.490 0.579 <0.000 0.004 -

Page 25: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

22

กับการศึกษาโรคบรูเซลโลซิสในแพะในพื้นที่ภาคอื่นของประเทศ พบวาการศึกษาครั้งนี้สูงกวาทุกพื้นที่ทั้งระดับรายตัวและรายฟารม กลาวคือในภาคใตที่พรทิพยและอรรถพร (2555) สํารวจความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในแพะใน 8 จังหวัดภาคใต พบความชุกรายตัวและรายฟารมเทากับ 1.02% และ 5.71% ตามลําดับ ซ่ึงตรวจโดยวิธี RBT และ cELISA ในภาคกลางที่นพวรรณ (2552) ศึกษาโรคนี้ในแพะนมที่จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ซ่ึงทดสอบโรคโดยวิธี RBT และ CFT พบความชุกรายตัว 0.25% และรายฝูง 6.3% โดยพบโรคที่จังหวัดนนทบุรีเพียงจังหวัดเดียว และในแพะเนื้อที่จังหวัดชัยนาทที่วัชรพงษ (2554) ศึกษาพบความชุกรายตัว 1.33% และรายฝูง 14.08% ซ่ึงทดสอบโรคโดยวิธี RBT และ CFT สาเหตุที่ตรวจพบแพะที่ใหผลบวกตอโรคบรูเซลโลซิสในแพะในภาคตะวันตกสูงกวาภาคอื่นอาจเนื่องจากการเคลื่อนยายแพะเขามาเลีย้งในฟารมในพื้นที่ปศุสัตวเขต 7 และพ้ืนที่หลายจังหวัดมีแนวชายแดนติดตอกับประเทศเพื่อนบาน จึงอาจมีการลักลอบนําสัตวผานชายแดนเขามาเลี้ยงรวมกับแพะในพื้นที่นี้ ซ่ึงแพะเหลานั้นมีโอกาสเปนพาหะนาํเชื้อ B. melitensis สูง และเมื่อพิจารณาผลการตรวจรายจังหวัดพบวาที่จังหวัดกาญจนบุรีซ่ึงการศึกษานี้พบความชุกของโรคสูงสุดทั้งระดับรายตัวและรายฟารมเทากับ 9.75% (35/359) และ 33.33% (8/24) ตามลําดับ ต่ํากวาการศึกษาของวีรภัสรา (2551) ที่ศึกษาความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในแพะที่จังหวัดกาญจนบุรีในป 2550 พบความชุกรายตัวและรายฝูงสูงถึง 11.51% และ 45.80% ซ่ึงตรวจโดยวิธี RBT, iELISA และ CFT ผลการศึกษาครั้งนี้ตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ในทุกจังหวัดที่ทําการสํารวจ โดยมีความชุกระดับรายฟารมสูงกวารายตัว แสดงถึงการแพรกระจายของเชื้อ B. melitensis อยางกวางขวางในแพะที่เล้ียงในภูมิภาคนี้ ซ่ึงแพะที่ใหผลบวกตอการทดสอบจะเปนพาหะนําเชื้อ B. melitensis สูคนที่ทํางานใกลชิดกับสัตวที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะเกษตรกรผูเล้ียงแพะตลอดจนคนงานในฟารมเลี้ยงสัตว มีความเสี่ยงตอการติดเชื้อสูงจากการสัมผัสโดยตรงกับรก ลูกแทง ซ่ึงอาจติดเชื้อโดยการกินหรือทางการหายใจ ติดเชื้อผานทางเยื่อบุตา รวมทั้งผูบริโภคน้ํานมและผลิตภัณฑจากนมที่ไมผานกระบวนการฆาเชื้อ กอใหเกิดปญหาดานสัตวแพทยสาธารณสุข การศึกษานี้บงชี้วาแผนการดําเนินงานควบคุมโรคบรูเซลโลซิสในแพะ- แกะที่กรมปศุสัตวดําเนินการมาตั้งแตป 2548 จนถึงปจจุบันนั้น จําเปนตองดําเนินการตอไปอยางตอเนื่องและเขมงวดมากขึ้นเพื่อใหความชุกของโรคทั้งระดับรายตัวและรายฟารมในทุกจังหวัดที่ทําการสํารวจลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในประเทศที่เล้ียงแพะเปนอุตสาหกรรม พบวาความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในภาคตะวันตกทั้งระดับรายตัวและรายฝูง ต่ํากวาอัตราการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ที่ประเทศเม็กซิโก ซ่ึงพบความชุกรายตัวและรายฝูงสูงถึง 9.8% และ 70.89% ตามลําดับ (Solorio-Rivera et al., 2007) ประเทศโปรตุเกสที่พบความชุกรายฝูงสูง 48.23% ซ่ึงทั้งสองประเทศนี้ตรวจโดยวิธี RBT และ CFT (Coelho et al., 2007) Kaoud

Page 26: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

23

et al. (2010) รายงานความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในแพะ แกะ และโคที่ประทศอียิปตเทากับ 14.5%, 21.20% และ 2.16% ตามลําดับ ซ่ึงตรวจโดยวิธี RBT และ iELISA ขณะที่ Negash et al. (2012) รายงานความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในสัตวเคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในภาคตะวันออกของประเทศเอธิโอเปย พบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ในแพะและแกะ เทากับ 9.39% และ 8.77% ตามลําดับ ซ่ึงตรวจโดยวิธี RBT และ CFT แตการศึกษาในภาคตะวันตกของประเทศไทยครั้งนี้สูงกวาการศึกษาของ Kabagambe et al. (2001) ที่รายงานความชุกของโรคบรูเซลโลซิสในแพะในภาคตะวันออกและตะวันตกของประเทศอูกันดา พบความชุกรายตัวและรายฝูงสูง 2% และ 13% ตามลําดับซึ่งตรวจโดยวิธี card test และ tube agglutination test ขณะที่ Islam et al. (2010) ตรวจโรคนี้ในแพะนมที่ประเทศบังคลาเทศในป 2008-2009 โดยวิธี RBT และ microagglutination test พบความชุกของโรคนี้สูง 3.37% การวินิจฉัยโรคบรูเซลโลซิสในแพะทางซีรัมวิทยามีหลายวิธี แตละวิธีมีขอจํากัดคือไมมีวิธีใดที่มีความไวและความจําเพาะเทากับ 100% จึงควรใชวิธีการตรวจอยางนอย 2 วิธีรวมกันเพื่อความถูกตองแมนยําในการยืนยันโรค EU (2001) และ OIE (2009) แนะนําวาวิธี RBT และ iELISA เปนวิธีที่เหมาะสมใชในการตรวจคัดกรองโรคเบื้องตน และใชวิธี CFT เพื่อตรวจยืนยันโรค ในประเทศไทย มนยาและคณะ (2553) ประเมินประสิทธิภาพการวินิจฉัยโรคบรูเซลโลซิสในแพะพบวาวิธี RBT และ iELISA มีคาความไวของการทดสอบใกลเคียงกันคือ 99.2% สวนวิธี CFT เทากับ 95.3% และคาความจําเพาะของวิธี RBT iELISA และ CFT เทากับ 100% 99.9% และ 100% ตามลําดับ ซ่ึงแสดงวาวิธี RBT และ iELISA มีความแมนยํา ความสอดคลองของการทํานายการเปนโรค และคาทํานายการไมเปนโรคสูง จึงเหมาะสมในการตรวจคัดกรองโรคได และใหใชวิธี CFT ในการตรวจยืนยันโรคเนื่องจากมีความจําเพาะสูงถึง 100% และจากผลการเปรียบเทียบการทดสอบดวยวิธี iELISA และ CFT กับการแยกเชื้อ Brucella spp. พบวามีคาความสอดคลอง (Kappa value) เทากับ 0.99 และ 0.95 ตามลําดับ (มนยาและคณะ, 2552) ในการศึกษานี้เลือกใชวิธี iELISA เปนวิธีการตรวจคัดกรองโรคเนื่องจากทําไดงาย รวดเร็ว ตรวจตัวอยางไดมาก อีกทั้งยังมีความไวและความจําเพาะสูงในการตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ Brucella spp. จากการวิเคราะหปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ในแพะทั้งแบบ univariate logistic regression analysis และ multivariate logistic regression analysis พบวาการเลี้ยงแพะและแกะรวมกัน (OR=6.248 ; 95%CI: 3.063-12.745; p<0.001) และการที่แพะในฟารมแสดงอาการแทงมากอนเปนปจจัยเสี่ยงที่มีนัยสําคัญ (OR=3.796; 95% CI: 2.305-6.254; p<0.001) (Table 4 & 5) โดยพบวาแพะที่เล้ียงรวมกับแกะจํานวน 60 ตัวจากแพะ 4 ฟารม ใหผลบวกตอการทดสอบโรคสูงถึง 12 ตัว หรือคิดเปน 20% สวนแพะที่ไมไดเล้ียงรวมกับแกะจํานวน 58 ตัวจาก 14 ฝูงใหผลบวกตอการทดสอบโรคหรือคิดเปน 4.40% (Table 3 &

Page 27: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

24

4) ซ่ึงสอดคลองกับการศึกษาของ Kabagambe et al. (2001) ที่ประเทศอูกันดา โดยกลาววาแพะที่เล้ียงรวมกับแกะมีโอกาสติดเชื้อ B. melitensis สูงกวาฟารมที่เล้ียงแพะอยางเดียว 6.0 เทา (OR=6.0; 95%CI= 1.5-23.7) สวนที่ประเทศอียิปตพบวาแพะที่เล้ียงรวมกับแกะหรือโคจะมีความเสี่ยงเปนโรค บรูเซลโลซิสสูงถึง 28.80 เทา (Kaoud et al., 2010) ที่เปนเชนนี้เนื่องจากเชื้อ Brucella spp. กอโรคในสัตวไดหลายชนิด แพะและแกะเปนสัตวเคี้ยวเอื้องขนาดเล็กที่ไวตอการติดเชื้อ B. melitensis สูง ดังนั้นการเลี้ยงสัตวตางชนิดรวมกันอยางใกลชิดจะเพิ่มโอกาสของการแพรกระจายของเชื้อและการติดเชื้อระหวางสัตวตางชนิดกัน (CFSPH, 2009) แตตางกับการศึกษาของวัชรพงษ (2554) ที่ไมพบวาการเลี้ยงแพะรวมกับแกะเปนปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ในแพะ (p=0.333) สวนฟารมที่เคยพบแพะที่แสดงอาการแทงหรือเขานิยามของโรคบรูเซลโลซิสเปนปจจัยเสี่ยงที่สําคัญของการตรวจพบผลบวกของแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ซ่ึงสอดคลองกับการศึกษาของวัชรพงษ (2554) ที่ศึกษาโรคนี้ที่จังหวัดชัยนาท พบวาฟารมแพะที่เคยมีประวัติพบการแทงมีโอกาสพบผลบวกทางซีรัมวิทยาตอเชื้อ B. melitensis สูงเปน 12.5 เทา ของฟารมที่ไมเคยพบ สวนนพวรรณ (2552) กลาววาฝูงที่เคยพบผลบวกทางซีรัมตอการติดเชื้อ B. melitensis เปนปจจัยเสี่ยงตอการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis (p =0.02) และเปนไปในแนวทางเดียวกับการศึกษาของ Islam et al. (2010) ที่บังคลาเทศ และ Ashagrie et al. (2011) ที่ประเทศเอธิโอเปย พบวาแพะที่แสดงอาการแทงเพียงครั้งเดียวมีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ทั้งนี้เนื่องจากแพะที่ติดเชื้อ B. melitensis เชื้อจะยังคงอยูในรางกายสัตวไดเปนเวลานานและขับเชื้อออกมาทางสิ่งคัดหล่ังอยางตอเนื่อง ทําใหเชื้อแพรกระจายอยูในสิ่งแวดลอมเปนเวลานานและติดตอสูแพะที่เล้ียงภายในฝูงเดียวกัน (EU, 2001) สวนตัวแปรอื่นๆ ไดแก เพศ อายุ ขนาดฟารม รวมทั้งการทดสอบโรคบรูเซลโลซิสในแพะกอนที่จะนําเขามาเลี้ยงรวมกับแพะในฟารม ไมมีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ซ่ึงตางกับรายงานการศึกษาทั้งในประเทศและตางประเทศ เชน Duangdao (2009) ที่ศึกษาปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการตรวจพบผลบวกตอโรคบรูเซลโลซิสในแพะและแกะ ที่จังหวัดราชบุรีในปพ.ศ. 2549 พบวาฟารมขนาดใหญ (เล้ียงแพะ 69-394 ตัว) มีความเสี่ยงตอการเปนโรคบรูเซลโลซิสมากกวาฟารมขนาดเล็ก 8.29 เทา (OR=8.29, 95%CI= 3.01-22.83) ในประเทศเม็กซิโก ที่พบวาแพะที่เล้ียงในฝูงขนาดใหญ (มากกวา 34 ตัว) มีความหนาแนนสูง และมีอายุมากกวา 24 เดือน มีความเสี่ยงตอการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis โดยมีคา OD เทากับ 2.0 1.7 และ 1.8 ตามลําดับ (Solorio-Rivera et al., 2007) และในประเทศโปรตุเกส ที่พบวาฟารมที่มีแพะมากกวา 116 ตัวขึ้นไป และฟารมแพะที่ไมเคยตรวจคัดกรองโรคบรูเซลโลซิสกอนนําเขามา

Page 28: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

25

เล้ียงใหม เปนปจจัยเสี่ยงที่สําคัญของการติดเชื้อ B. melitensis โดยมีคา OD เทากับ 2.99 และ 12.11 ตามลําดับ (p <0.001) (Coelho et al., 2007) เมื่อพิจารณาปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis ในแพะในระดับรายฝูง ไมพบวามีปจจัยใดๆที่มีความสัมพันธกับการตรวจพบผลบวกของโรคบรูเซลโลซิสในฝูง ถึงแมวาฟารมที่มีการเลี้ยงแพะและแกะรวมกันมีแนวโนมเสี่ยงตอการติดเชื้อ B. melitensis เปน 4.93 เทาของฟารมที่เล้ียงแพะอยางเดียว แตไมมีนัยสําคัญทางสถิติ (OR=4.93; 95%CI= 0.76-32.02; p =0.095) จากผลการตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในซีรัมแพะใน 5 จังหวัดภาคตะวันตกในครั้งนี้พบแพะที่ ใหผลบวกตอการทดสอบจํานวน 4 จังหวัดคือ จังหวัด เพชรบุ รี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ และกาญจนบุรี สวนจังหวัดราชบุรีใหผลลบทุกตัวอยาง โดยพบความชุกของการติดเชื้อระดับรายตัว 1.81% และรายฝูง 9.20% แสดงใหเห็นถึงการแพรกระจายของเชื้อ CAEV อยางกวางขวางเกือบทุกจังหวัด แตในฝูงแพะแตละแหงมีแพะติดเชื้อไมสูงมากนัก คือจํานวน 1-6 ตัวตอฝูง ในระยะเวลาที่ผานมามีผูศึกษาความชุกและสภาวะโรค CAE ในพื้นที่ภาคตะวันตกหลายราย ผลการศึกษาครั้งนี้ต่ํากวาทุกรายงานทั้งระดับรายตัวและรายฝูง ไดแก สุพลและมนัสชัย (2547) ที่สํารวจแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV โดยวิธี AGID พบอัตราการติดเชื้อ CAEV สูง 21% นิอรและคณะ (2552) รายงานความชุกของการติดเชื้อ CAEV ในพื้นที่ภาคกลาง (จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี) และภาคตะวันตก (นครปฐม ราชบุรี และกาญจนบุรี) ดวยวิธี iELISA พบความชุกรายตัวและรายฝูงเทากับ 12.40% และ 47% ตามลําดับ ตอมา Lin et al. (2011) สํารวจความชุกของโรค CAE ใน 3 จังหวัดภาคตะวันตก (ราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 ถึงมกราคม 2554 ดวยวิธี cELISA ซ่ึงทั้งสามจังหวัดที่ทําการสํารวจเปนแนวตะเข็บชายแดนติดตอกับเขตตะนาวศรี (Tanintharyi division) ประเทศเมียนมาร พบความชุกรายตัว 5.52% และรายฝูง 31% ในปตอมาพิไลพรและเยาวรัตน (2555) รายงานสภาวะโรค CAE ในภาคตะวันตก โดยใชขอมูลที่ไดจากการเฝาระวังโรคทางหองปฏิบัติการระหวางปพ.ศ. 2551-2554 ซ่ึงตรวจดวยวิธีเดียวกัน พบแพะที่ใหผลบวกตอการทดสอบโรค CAE ระดับรายตัวและรายฝูงเทากับ 2.44% และ 36.06% ตามลําดับ ขณะที่สาโรชและสามารถ (2553) รายงานความชุกทางซีรัมวิทยาของโรค CAE ในแพะที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ ตรวจดวยวิธี cELISA พบแพะที่ใหผลบวกตอการทดสอบโรคในระดับรายตัว 6.77% และรายฝูง 37.25% อาจกลาวไดวาอัตราการติดเชื้อ CAEV ในแพะในภาคตะวันตกลดลงอยางตอเนื่องทั้งระดับรายตัวและรายฟารม เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาความชุกของโรค CAE ในแพะในพื้นที่ภาคอื่นของประเทศพบวาการศึกษานี้ต่ํากวาภาคอื่นของประเทศ กลาวคือ ในภาคตะวันออกที่มุทิตะ (2554) สํารวจการกระจายของการติดเชื้อ CAEV ในแพะในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคตะวันออก โดยรวบรวมขอมูลที่ไดจาก

Page 29: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

26

การเฝาระวังโรคทางหองปฏิบัติการระหวางปพ.ศ. 2549-2553 ซ่ึงตรวจดวยวิธี iELISA พบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในระดับรายตัวและรายฝูงเทากับ 14.35% และ 55.93% ตามลําดับ ในภาคใตที่ชองมาศและคณะ (2555) ศึกษาความชุกของโรค CAE ใน 8 จังหวัดภาคใต ระหวางปพ.ศ. 2551-2553 ดวยวิธี cELISA พบความชุกของการติดเชื้อ CAEV ในระดับรายตัว 2.36% และรายฝูง 15 % สวนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สุจิราและคณะ (2555) รายงานการศึกษาโรค CAE แบบ cross-sectional study ในป 2552-2554 ดวยวิธี cELISA พบความชุกของโรคนี้ในพื้นที่ปศุสัตวเขต 1 ในระดับรายตัวและรายฝูงเทากับ 1.98% และ 38.21% สวนในพื้นที่ปศุสัตวเขต 3 ความชุกในระดับรายตัวและรายฝูงเทากับ 12.68% และ 47.79% ตามลําดับ ขณะที่ลัขณาและภัทริน (2555) รายงานการเฝาระวังโรค CAE ทางหองปฏิบัติการระหวางปพ.ศ. 2550-2554 ดวยวิธีเดียวกัน พบแพะที่ใหผลบวกทางซีรัมวิทยาใน 14 จังหวัดภาคกลางในระดับรายตัว 2.47% และรายฝูง 46.27% สวนใน 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเทากับ 2.47% และ 46.27% ตามลําดับ จากรายงานการตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในแตละภาคจะพบวาความชุกของโรคในระดับรายฟารมจะสูงกวารายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับความชุกของโรค CAE ในหลายประเทศพบวาอัตราการติดเชื้อ CAEV ในพื้นที่ภาคตะวันตกต่ํากวาในประเทศออสเตรเลียที่มีรายงานความชุกของโรค CAE ในหลายรัฐ ไดแก Grewals et al. (1986) สํารวจแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในแพะนมที่เลี้ยงในพื้นที่ New South Wales (NSW) ดวยวิธี AGID พบความชุกรายตัวสูง 24.4-43.8 % โดยตรวจพบไดในแพะนมทุกสายพันธุและพบในแพะทุกอายุ และกลาววา 85% ของแพะที่ตรวจพบแอนติบอดีมีอาการปกติ ขณะที่แพะที่แสดงอาการขออักเสบมีอัตราการตรวจพบแอนติบอดีสูงเพียง 42% ตอมาในป 1984-1986 และ 1986-1988 Surman et al. (1987) และ Greenwood et al. (1995) สํารวจโรค CAE ทางซีรัมวิทยาในภาคใตของออสเตรเลียและใน NSW ซึ่งตรวจโดยวิธี AGID และ ELISA พบความชุกในแพะรายตัวสูงถึง 40-45% และ 56.8-59.7% ตามลําดับ และสามารถแยกเชื้อ CAEV ไดจากแพะที่แสดงอาการขออักเสบอีกดวย ในประเทศนอรเวย Nord et al. (1998) รายงานความชุกของโรค CAE ในระดับรายตัวและรายฝูงเทากับ 36.50% และ 86.27% ตามลําดับ ซ่ึงตรวจโดยวิธี ELISA ตอมา Al-Qudah et al. (2006) รายงานการตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในประเทศจอรแดนดวยวิธี cELISA พบความชุกระดับรายตัว 8.9% และรายฟารม 23.2% ขณะที่ในประเทศบราซิล Bandeira et al. (2009) ศึกษาความชุกของการติดเชื้อ CAEV ในพื้นที่ Cariri ดวยวิธี AGID พบความชุกรายตัวและรายฟารมเทากับ 8.2% และ 35% ตามลําดับ ตอมา Ghanem et al. (2009) ศึกษาความชุกของโรค CAE ในภาคเหนือของประเทศโซมาเลียดวยวิธี cELISA พบความชุกของโรคในระดับรายตัวและรายฟารมเทากับ 6.0% และ 76.59% ตามลําดับ ขณะที่ Elfahal et al. (2010) รายงานการตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในประเทศซูดานโดยวิธีเดียวกันพบความชุกรายตัว 7.3 %

Page 30: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

27

ในประเทศไทยอุราศรีและคณะ (2528) รายงานการตรวจพบลักษณะของเชื้อ Retrovirus และตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในแพะพันธุซาเนนที่นําเขาจากประเทศออสเตรเลีย เพื่อใชปรับปรุงพันธุแพะนมในประเทศและแพะฝูงนี้แสดงอาการปวยคลายโรค CAE ซ่ึงอาจเปนสาเหตุหนึ่งของการนําเชื้อ CAEV ที่แฝงตัวอยูในรางกายแพะ จากประเทศที่มีอุบัติการณของโรคนี้ในระดับสูงไดแกประเทศออสเตรเลีย (Grewals et al.,1986; Surman et al.,1987; Greenwood et al., 1995) และบราซิล (Bandeira et al., 2009) เปนตน เขามาเลี้ยงในประเทศไทย ซ่ึงปญหาดังกลาวเกิดขึ้นในหลายประเทศที่นําแพะที่เปนพาหะของเชื้อ CAEV เขาประเทศ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อใชปรับปรุงพันธุ ไดแกประเทศเม็กซิโก (Torres-Acosta et al., 2003) ญ่ีปุน (Konishi et al., 2004) ซูดาน (Elfahal et al.,2010) ทั้งนี้ถึงแมวากรมปศุสัตวไดกําหนดมาตรการใหมีการตรวจโรค CAE ในแพะกอนนําเขาดวยวิธี ELISA ก็ตาม แตเนื่องจากการตอบสนองของระบบภูมิคุมกันตอการติดเชื้อ CAEV ในรางกายสัตวดําเนินไปอยางชาๆ ซ่ึงอาจใชเวลานานเปนเดือนหรือเปนป หรือระดับแอนติบอดีอาจขึ้นๆลงๆ เกิดขึ้นชั่วขณะเปนพักๆ (De Andres et al., 2005) ทั้งนี้สัตวบางตัวอาจไมเกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุมกันตลอดชีวิต ซ่ึงเปนลักษณะที่สําคัญของการติดเชื้อ Small- Ruminant Lentiviruses (SRLVs) ในสัตวเคี้ยวเอื้องขนาดเล็กไดแกเชื้อ MVV ในแกะ และ CAEV ในแพะ ทําใหไมสามารถตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในกระแสเลือดได นอกจากนี้แพะที่ติดเชื้อไวรัสสวนใหญมักไมแสดงอาการปวย จึงทําใหมีโอกาสสูงที่นําแพะที่เปนพาหะของโรคเขาสูประเทศ (Rimstad et al., 1993)

การวินิจฉัยโรค CAE ทางซีรัมวิทยาเปนวิธีที่นิยมใชกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากแพะที่ติดเชื้อจะมีเชื้อไวรัสอยูในรางกายตลอดชีวิต (Gendelman et al., 1985) ดังนั้นการตรวจพบแอนติบอดีจึงบงชี้วาสัตวเกิดการติดเชื้อ CAEV วิธีการตรวจทางซีรัมวิทยาที่นิยมใชในหองปฏิบัติการไดแกวิธี AGID เนื่องจากวิธีนี้ไมยุงยาก แตมีความไวต่ําคือ 76.3 % และมีความจําเพาะ 98.3 % เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี ELISA (De Andres et al., 2005) ในการศึกษาครั้งนี้ใชวิธี cELISA เพื่อตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV เนื่องจากวิธีนี้มีความไวสูงสามารถตรวจตัวอยางซีรัมโดยไมตองเจือจางทําใหสามารถตรวจหาสัตวที่ติดเชื้อในระยะเริ่มแรกได รวมทั้งลดความคลาดเคลื่อนจากผลลบเทียม แตอยางไรก็ตาม เนื่องจากความลาชาของการตอบสนองทางระบบภูมิคุมกันตอเชื้อ CAEV ซ่ึงอาจใชเวลานานเปนเดือนหรือเปนป (Rimstad et al., 1998) การตรวจหาแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV โดยวิธี ELISA อาจไมพบโรคจากการตรวจครั้งแรก Nord et al. (1998) ทําการตรวจแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในฝูงแพะที่ประเทศนอรเวยโดยวิธี ELISA พบแพะบางฝูงที่ตรวจคัดกรองโรคในครั้งแรกใหผลลบ แตเมื่อตรวจซ้ําหางจากครั้งแรก 1 ป พบแพะในฝูงเหลานั้นใหผลบวกในอัตราสวน 1.4-7.8% นอกจากนี้ลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่นํามาใชเปนแอนติเจนในปฏิกิริยา ELISA อาจไมจําเพาะกับแอนติบอดีตอเชื้อทองที่ CAEV ของประเทศอื่น เนื่องจากมี genotype ตางกัน ทําใหผล

Page 31: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

28

การตรวจโรคคลาดเคลื่อนได (Konichi et al., 2010) De Andres et al. ( 2005) และ Reina et al.      (2009b) แนะนําใหตรวจการติดเชื้อ CAEV ในแพะโดยใชวิธี PCR และ ELISA รวมกัน

จากการวิเคราะหปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในแพะแบบ univariate logistic regression analysis ในระดับรายตัวพบวาขนาดของฟารม การมีประวัตินําพอพันธุแพะไปผสมกับแพะของฟารมอื่น และการที่เคยมีแพะในฟารมแสดงอาการเขาไดตามนิยามโรค CAE เปนปจจัยเสี่ยงที่มีนัยสําคัญ โดยพบวาฟารมที่มีการเลี้ยงแพะนอยกวา 50 ตัวมีความเสี่ยงตอการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV สูงกวาฟารมที่เล้ียงแพะมากกวา 50 ตัว ทั้งการวิเคราะหแบบ univariate และ multivariate logistic regression analysis (OR=8.50; 95%CI=3.09-23.43; p<0.001 และ OR=8.503; 95%CI=2.533-28.543; p=0.001 ตามลําดับ) ซ่ึงการศึกษานี้ตางกับการศึกษาของสาโรชและสามารถ (2553) ภัทรินและคณะ (2554) Lin et al. (2011) Al-Qudah et al. (2006) และ Ghanem et al. (2009) ที่กลาววาฟารมแพะขนาดใหญหรือเล้ียงแพะมากกวา 45-80 ตัวมีความเสี่ยงตอการตรวจพบแพะที่ใหผลบวกตอการตรวจโรค CAE ที่เปนเชนนี้อาจเนื่องจากฟารมขนาดใหญในพื้นที่ปศุสัตวเขต 7 สวนใหญ เปนฟารมมาตรฐานฟารมปลอดโรคตามเกณฑของกรมปศุสัตว ที่นอกจากตองตรวจโรคบรูเซลโลซิสแลว เจาของฟารมยังตรวจโรค CAE อีกดวยเพื่อจุดประสงคในการเคลื่อนยายแพะ ขณะที่ฟารมขนาดเล็กไมเคยผานการตรวจโรคนี้มากอน

ฟารมที่มีประวัตินําพอพันธุแพะไปผสมกับแพะของฟารมอื่นมีความเสี่ยงตอการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV สูงกวาฟารมที่ไมเคยนําพอพันธุแพะไปผสมภายนอกฟารม 2.81 เทา (OR=2.81 ; 95%CI: 1.24-6.38; p=0.013) ทั้งนี้เนื่องจากการใชพอพันธุรวมกันระหวางแพะตางฝูงจะเปนการเพิ่มโอกาสของการติดเชื้อจากแมพันธุตางฝูงโดยผานทางการผสมพันธุ รวมทั้งติดเชื้อจากการสัมผัสโดยตรงกับสิ่งคัดหล่ังไดแกน้ําลายและน้ํามูก ถึงแมวาการติดเชื้อ CAEV ในลักษณะเชนนี้เปนไปไดนอยกวาการติดเชื้อโดยการกินน้ํานมและ/หรือน้ํานมเหลืองของแมแพะที่ติดเชื้อไวรัส ซ่ึงเปนทางติดตอที่สําคัญของโรคนี้ ขณะที่พอพันธุหากเปนโรคจะขับเชื้อ CAEV ปนเปอนออกมาพรอมน้ําเชื้อและแพรเชื้อไปยังแพะตางฝูงกอใหเกิดการแพรกระจายของเชื้ออยางกวางขวาง (Al Ahmad et al., 2008)

สวนฟารมที่เคยพบแพะแสดงอาการเขาไดตามนิยามโรค CAE เปนปจจัยเสี่ยงที่สําคัญของการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในระดับรายตัว ซ่ึงเปนไปในทิศทางเดียวกับการศึกษาของ Lin et al. (2011) ที่พบวาฟารมแพะที่เคยตรวจพบโรค CAE มากอนจะใหผลบวกตอการทดสอบโรคสูงกวาฟารมแพะที่ไมเคยมีแพะแสดงอาการของโรค CAE มากอนทั้งระดับรายตัวและรายฝูง (p =0.042 และ p =0.037) ทั้งนี้เนื่องจากแพะที่ติดเชื้อ CAEV เชื้อจะแฝงตัวอยูในเซลลเม็ดเลือดขาวชนิด monocytes และ macrophages ของโฮสทตลอดชีวิต โดยมีไขกระดูกเปนแหลงรังโรคที่สําคัญของเชื้อไวรัสในรางกายสัตว ดังนั้นสัตวเหลานี้จึงเปนพาหะนําโรคอยางตอเนื่อง หากไมมีการกําจัด

Page 32: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

29

โรคออกไปจากฟารมจะทําใหเกิดโรคอุบัติซํ้า ทั้งนี้แพะติดเชื้อ CAEV ไดหลายทางนอกเหนือจากการติดตอผานทางการกินน้ํานมเหลืองและ/หรือน้ํานมในลูกแพะตั้งแตระยะแรกเกิดซึ่งเปนทางติดเชื้อที่สําคัญแลว อาจติดตอจากการสัมผัสโดยตรงกับสิ่งคัดหล่ังไดแกน้ําลาย น้ํามูก และเลือดแพะโดยผานทางเข็มฉีดยา ติดตอระหวางแพะที่เปนพาหะกับแพะที่เล้ียงในฝูงเดียวกัน รวมทั้งติดตอผานทางการผสมพันธุ (Adams et al., 1983; Al Ahmad et al., 2008) จากการศึกษาของ Ghanem et al. (2009) พบวาฝูงแพะที่มีการเลี้ยงหนาแนนเปนปจจัยหนึ่งที่ทําใหความชุกของโรคเพิ่มขึ้นทั้งรายตัวและรายฟารม นอกจากนี้การติดเชื้ออาจติดตอผานทางน้ํานมในระหวางขบวนการรีดนม โดยเชื้อปนเปอนไปกับผูรีดรวมทั้งเครื่องมือตางๆที่ใชรีดนม (Nord et al., 1998) สวนตัวแปรอื่นๆ ไดแก เพศ อายุ การเลี้ยงแพะและแกะรวมกัน รวมทั้งการทดสอบโรค CAE ในแพะกอนที่จะนําเขามาเลี้ยงรวมกับแพะในฟารม ไมมีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ซ่ึงสอดคลองกับรายงานของชองมาศและคณะ (2555) ที่กลาววาเพศไมมีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ถึงแมวาแพะเพศผูมีแนวโนมเสี่ยงตอการติดเชื้อ CAEV เปน 1.28 เทาของแพะเพศเมีย แตไมพบวามีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.35) และเปนไปในทิศทางเดียวกับการศึกษาของ Ghanem et al. (2009) ที่ประเทศโซมาเลียไมพบความแตกตางของการเกิดโรค CAE ในระหวางกลุมเพศ ขณะที่ Bandeira et al. (2009) ศึกษาที่ประเทศบราซิลพบวาแพะเพศผูจะมีโอกาสตรวจพบแอนติบอดีไดบอยครั้งมากกวาแพะเพศเมีย (28.3% และ 5.9% ตามลําดับ) และตางกับรายงานการศึกษาของ นิอรและคณะ (2552) ที่พบความชุกในแพะเพศเมียสูงกวาในแพะเพศผูซ่ึงมีความชุก 13.21% และ 6.67% ตามลําดับ (p = 0.54) โดยใหเหตุผลวาเนื่องจากมีตัวอยางแพะเพศผูนอยกวาแพะเพศเมียและแพะเพศผูจะถูกขายไปตั้งแตอายุนอย

สวนตัวแปรดานอายุ การศึกษานี้ไมพบวาอายุเปนปจจัยเสี่ยงที่สําคัญ ถึงแมวาอัตราการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในกลุมแพะที่อายุ > 3 ปสูงกวากลุมอายุ < 3 ป คิดเปน 2.11% และ 1.63% ตามลําดับ แตไมพบวามีความสําคัญทางสถิติ (p =0.517) (Table 6) ขณะที่การศึกษาในหลายภูมิภาคจะพบวาความชุกของโรค CAE เพิ่มสูงขึ้นตามอายุแพะ (นิอรและคณะ, 2552; Lin et al., 2011; ชองมาศและคณะ, 2555; Greenwood et al., 1995; Al-Qudah et al., 2006; Ghanem et al., 2009) ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลหลายประการไดแก สัตวที่มีอายุมากจะมีโอกาสไดรับเชื้อไวรัสจากแพะพาหะของโรค (carriers) ที่เล้ียงรวมกันในฝูงอยางตอเนื่องและยาวนาน ทําใหระดับแอนติบอดีที่รางกายสรางเพิ่มขึ้นตามอายุแพะ การติดเชื้อภายในฝูงสามารถเกิดไดหลายทางนอกเหนือจากการติดตอผานทางการกินน้ํานมเหลืองหรือน้ํานมในระยะแรกเกิดแลว อาจติดตอจากการสัมผัสโดยตรงระหวางแพะที่เปนพาหะกับแพะที่เล้ียงในฝูงเดียวกัน และการที่สัตวบางตัวมีการตอบสนองของระบบภูมิคุมกันตอการติดเชื้อ CAEV ลาชา อาจเปนอีกสาเหตุหนึ่งที่ทําใหระดับแอนติบอดีที่

Page 33: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

30

รางกายสรางขึ้นจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของแพะ (Greenwood et al., 1995; Nord et al., 1998; Al-Qudah et al., 2006) เมื่อพิจารณาปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธกับการตรวจพบแอนติบอดีตอเชื้อ CAEV ในแพะในระดับรายฝูง ไมพบวามีปจจัยใดๆที่มีความสัมพันธกับการตรวจผลบวกของโรคขออักเสบและสมองอักเสบในแพะ ถึงแมวาฟารมที่มีการเลี้ยงแพะ >50 ตัว จะมีแนวโนมเสี่ยงตอการติดเชื้อ CAEV สูงเปน 2.78 เทาของฟารมที่เล้ียงแพะ <50 ตัว แตไมมีนัยสําคัญทางสถิติ (OR=2.78; 95%CI= 0.56-13.83; p =0.212) และฝูงแพะที่แสดงอาการเขาไดตามนิยามโรค CAE มีแนวโนมเสี่ยงตอการติดเชื้อ CAEV สูงเปน 2.76 เทาของฟารมที่ไมมีแพะแสดงอาการ แตไมมีนัยสําคัญทางสถิติ (OR=2.76; 95%CI= 0.66-11.51; p =0.163)

จากขอมูลการสํารวจแอนติบอดีตอเชื้อ B. melitensis และ CAEV ในแพะที่เล้ียงในภาคตะวันตกครั้งนี้ บงชี้ถึงความชุกของโรคบรูเซลโลซิสทั้งในระดับรายตัวและรายฝูงในอัตราสูง แตความชุกของโรค CAE ทั้งในระดับรายตัวและรายฝูงในระดับต่ํา โดยพบวาการที่เคยมีแพะในฟารมแสดงอาการแทงและแพะแสดงอาการเขาไดตามนิยามโรค CAE เปนปจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธตอการตรวจพบแพะที่ใหผลบวกของโรคบรูเซลโลซิสและ CAE ตามลําดับ ดังนั้นหากตรวจพบสัตวที่ใหผลบวกตอการทดสอบโรคตองกําจัดสัตวที่ติดเชื้อออกไปจากฝูงทันที เพื่อควบคุมมิใหสัตวเหลานั้นแพรเชื้อในฝูง ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของเชื้อที่กอใหเกิดโรค การแพรกระจายของเชื้อ และทางติดตอของเชื้อเขาสูรางกายสัตว เปนปจจัยที่สําคัญของการติดเชื้อภายในฝูงไดรวดเร็ว ในแมแพะที่ติดเชื้อ B. melitensis เมื่อคลอดลูกหรือแทงลูกจะขับเชื้อปริมาณสูงออกมาพรอมลูกแรกเกิดหรือลูกแทง น้ําคร่ํา รวมทั้งสิ่งคัดหล่ังจากมดลูก โดยขับเชื้อออกมาทางชองคลอด รวมทั้งขับเชื้อผานทางน้ํานมอยางยาวนานและตอเนื่อง สวนแพะตัวผูขับเชื้อออกมาทางน้ําเชื้ออยางตอเนื่อง (EU, 2001; CFSPH, 2009) ทําใหเชื้อแพรกระจายอยูในสิ่งแวดลอมเปนเวลานานและติดตอสูแพะที่เล้ียงภายในฝูงเดียวกันอยางรวดเร็วทั้งทางตรงและทางออม ไดแกทางการหายใจ การกินอาหารและน้ําที่ปนเปอนเชื้อ หากไมกําจัดแพะพาหะของโรคบรูเซลโลซิสออกไปจากฝูง นอกจากแพะรวมฝูงจะมีโอกาสติดเชื้อไดเพิ่มมากขึ้นแลว เกษตรกรผูเล้ียงแพะตลอดจนคนงานในฟารมยังมีโอกาสติดเชื้อ B. melitensis สูงจากการสัมผัสสิ่งปนเปอนเชื้อโรคในฟารมอีกดวย

สวนโรค CAE เนื่องจากอัตราการติดเชื้อในระดับรายตัวต่ํา อีกทั้งในแตละฝูงมีแพะติดเชื้อไมสูงนัก (1-6 ตัว) จึงสามารถสรางฟารมปลอดโรคไดงาย นอกจากนี้แพะที่เล้ียงในพื้นที่ปศุสัตวเขต 7 สวนใหญเปนแพะเนื้อ ซ่ึงมีอายุการเลี้ยงสั้นกวาแพะนม อีกทั้งการแพรกระจายของเชื้อ CAEV สูส่ิงแวดลอมเปนไปไดนอยกวาฟารมแพะนมที่มีความเสี่ยงของการติดเชื้อ CAEV สูงกวา เนื่องจากการแพรกระจายของเชื้อและทางติดเชื้อเขาสูรางกายสวนใหญผานทางน้ํานมและ/หรือน้ํานมเหลือง ในการเลี้ยงแพะนมมักนําน้ํานมจากแมแพะหลายตัวที่ไมผานกระบวนการฆาเชื้อมารวมกัน ทําให

Page 34: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

31

ลูกแพะติดเชื้อตั้งแตแรกเกิด และเชื้อยังแพรกระจายในระหวางกระบวนการรีดนมโดยปนเปอนไปกับเครื่องมือตลอดจนคนรีดนม สวนการติดเชื้อโดยการสัมผัสโดยตรงระหวางแพะรวมฝูงเปนไปไดนอยกวา (Adams et al. 1983)

ปจจุบันกรมปศุสัตวไดดําเนินโครงการสงเสริมและพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะใหแกเกษตรกรเพื่อสรางรายไดทั้งเปนรายไดหลักและรายไดเสริม ซ่ึงรูปแบบการเลี้ยงมีทั้งเลี้ยงในครัวเรือนและเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรม นอกจากเพื่อการบริโภคภายในประเทศแลว ยังสามารถสงไปจําหนายยังประเทศใกลเคียง เชน ประเทศมาเลเซีย ลาว และเวียดนามอีกดวย โดยมีแนวโนมวาตลาดจะขยายตัวอีกมาก อีกทั้งในป 2558 ประเทศไทยจะเขารวมเปนสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อันจะนํามาซึ่งโอกาสทางการคา โดยเฉพาะสินคาดานปศุสัตว ดังนั้นเพื่อสรางความเขมแข็งและไดเปรียบทางการคา โดยการผลิตเนื้อสัตวที่มีคุณภาพ ไดมาตรฐาน และความปลอดภัยตรงตามความตองการของผูบริโภค กรมปศุสัตวจึงควรกําหนดมาตรการการควบคุมและกําจัดโรคทั้งสองโดยการคัดทิ้งหรือทําลายแพะที่ใหผลบวก สวนฝูงแพะที่ตรวจพบความชุกของโรค ควรเฝาระวังทั้งการสังเกตอาการทางคลินิกของสัตวปวย รวมกับการตรวจแอนติบอดี เปนประจําทุก 6 เดือน หากพบแพะที่ใหผลบวกตอการทดสอบใหคัดทิ้งทันที การอบรมเกษตรกรผูเล้ียงแพะก็เปนอีกกลยุทธหนึ่งเพื่อใหเกษตรกรไดมีความรูและเห็นความสําคัญของการควบคุม ปองกันโรคและพรอมใหความรวมมือกับกรมปศุสัตวในการกําจัดโรคและสามารถดําเนินอาชีพเล้ียงแพะอยางยั่งยืน

กิตติกรรมประกาศ คณะผูวิจัยขอขอบคุณสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติที่สนับสนุนงบประมาณแผนดินปงบประมาณ 2555 เพื่อดําเนินการวิจัย เจาหนาที่ปศุสัตวอําเภอปศุสัตวจังหวัดในพื้นที่ที่เกี่ยวของและเจาหนาที่ศูนยวิจัยและพัฒนาการสัตวแพทยภาคตะวันตกที่ชวยเหลือในดานการเก็บตัวอยางและการตรวจทางหองปฏิบัติการทําใหงานวิจัยนี้สําเร็จลงดวยดี และสพ.ญ.มนยา เอกทัตรที่ชวยตรวจทานตนฉบับ

เอกสารอางอิง ชัยวัธน วิฑูระกูล วัชรา นพคุณ และ วารุณี นาแพร. 2533. การสํารวจโรคขออักเสบและสมอง

อักเสบในแพะ. สัตวแพทยสาร. 41(3): 125-128. ชองมาศ อันตรเสน ศศิวิมล ทองมี สายัณห ยอยดํา และธีรพรรณ ภูมิภมร. 2555.การตรวจหา

แอนติบอดีตอเชื้อ Caprine arthritis encephalitis virusในซีรัมของแพะภาคใตของประเทศไทย. ประมวลเรื่องการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร คร้ังที่ 50. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร กรุงเทพฯใ ระหวางวันที่ 31 มกราคม-2 กุมภาพันธ 2555. หนา 259-272.

Page 35: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

32

ซารีนา สือแม. 2550. การเลี้ยงแพะตามวิถีมุสลิม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. 2(1): 72-81. ตระการศักดิ์ แพไธสง และ พิไลพร เจติยวรรณ. 2550. สภาวะโรคบรูเซลโลซิสในแพะในภาค

ตะวันตกของประเทศไทย. วารสารสถาบันสุขภาพสัตวแหงชาติ 2(2): 54-61. นพวรรณ บัวมีธูป. 2552. การติดเชื้อ Brucella melitensis ในฝูงแพะนมที่จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี

และพระนครศรีอยุธยา: ความชุกและปจจัยเสี่ยง ความรู ทัศนคติ และการปฏิบัติของเกษตรกร และการประเมินความสอดคลองของวิธีทดสอบ. วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบาดวิทยาทางสัตวแพทย ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขศาสตรและการบริการวินิจฉัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

นิอร รัตนภพ ธีระ รักความสุข และสิริลักษณ จาละ. 2552.ความชุกทางซีรัมวิทยาของการติดเชือ้ไวรัสขออักเสบ และสมองอักเสบในแพะที่เล้ียงในภาคกลางและภาคตะวนัตกของประเทศไทย. เร่ืองเต็มการประชุมวิชาการ คร้ังที่ 47 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร เลมที่ 3 สาขาสัตวแพทยศาสตร. หนา 63-69.

พรทิพย ชูเมฆ บุญเลิศ อาวเจริญ และประสบพร ทองนุน. 2550. การศึกษาสภาวะโรค Brucellosis  ในแพะภาคใตของประเทศไทย ระหวางป พ.ศ. 2547-2549. วารสารสถาบันสุขภาพสัตว  แหงชาติ 1(3): 189-195.

พรทิพย ชูเมฆ และ อรรถพร จีนพันธ. 2555. การศึกษาทางซีรัมวิทยาของโรคบรูเซลโลสิสและเมลิ  ออยโดสิสในแพะที่เล้ียงในภาคใตของประเทศไทย. ประมวลเร่ืองการประชุมทางวิชาการ

ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร คร้ังที่ 50. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร กรุงเทพฯใ ระหวางวันที่ 31 มกราคม-2 กุมภาพันธ 2555. หนา 329-338.

พิเชษฐ ฟกบวั และวิเชยีร จารุเพ็ง. 2550. การเฝาระวังทางซีรัมวิทยาของโรคบรูเซลโลซิสในแพะ- แกะของจังหวดัชัยนาทในป 2548. Available online: http://www.dld.go.th/region1/ column/column7.pdf.

พิไลพร เจติยวรรณ และ เยาวรัตน สวัสดี. 2555. สภาวะโรคขอและสมองอักเสบในแพะภาค ตะวันตกของประเทศไทยระหวางป พ.ศ. 2551-2554.จดหมายขาวศูนยวิจัยและพัฒนาการ สัตวแพทยภาคตะวันออกเฉยีงเหนือตอนลาง ปที่ 9 ฉบับเดือนกันยายน 2555. หนา 14-25. ภัทริน โอภาสชัยทัตต สุวิชา เกษมสุวรรณ สุขุม สนธิพันธ วัชรพงษ สุดดี เขมพรรษ บุญโญ และ   พิพัฒน อรุณวิภาส. 2554. ความชุกทางซีรัมวิทยาและปจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสขอ  อักเสบและสมองอักเสบในแพะของแพะเนื้อในจังหวัดชัยนาท. วารสารสัตวแพทย 21(1): 32-41. มนยา เอกทตัร เรขา คณิตพันธ พิทยา ขุนชติ สุรีย ธรรมศาสตร และ สุรพงษ วงศเกษมจิตต. 2552.   ความเที่ยงตรงของวิธีอินไดเร็คอีไลซาในการชันสูตรการติดเชื้อ Brucella spp. ในโคและ

Page 36: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

33

แพะ. วารสารสัตวแพทย 19 (1): 1-8. มนยา เอกทัตร เรขา คณิตพันธ พิทยา ขุนชิต วรวรรณ อรามพงศ ศรศักดิ์ รักษาจิตร สุรีย ธรรมศาสตร

อุทิศ ตรีนันทวัน ไพรัช ทุมชะ และ สุรพงษ วงศเกษมจิตต. 2553.การเปรียบเทียบการทดสอบทางซีรัมวิทยาสําหรับการตรวจแอนติบอดีตอการติดเชื้อ Brucella melitensis ในแพะ. วารสารสัตวแพทย 20 (1): 19-26.

มุทิตะ ชลามาตย. 2554. การศึกษาทางซีรัมวิทยาของโรคขออักเสบและสมองอักเสบติดตอในแพะ ในเขตภาคตะวันออก ป 2549-2553. วารสารวิชาการดานสุขภาพสัตว ปที่ 1. หนา 29-36. ลัขณา รามริน และ ภัทริน โอภาสชัยทัตต. 2555. การเฝาระวังทางหองปฏิบัติการโรคขออักเสบและ สมองอักเสบในแพะ. วารสารสถาบันสุขภาพสัตวแหงชาต ิ7(2): 62-72. วัชรพงษ สุดดี. 2554. ความชุกและปจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อบรูเซลลาของแพะเนื้อและการประเมิน

ความเสี่ยงเชิงปริมาณตอโอกาสในการนําเชื้อบรูเซลลาเขาสูจังหวัดชัยนาทผานทางการนําเขาแพะเนื้อ. วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบาดวิทยาทางสัตวแพทย ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขศาสตรและการบริการวินิจฉัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

วิไลภรณ วงศพฤกษาสูง ศณิษา สันตยากร วาที สิทธิ ธีรศักดิ์ ชักนํา ภาวิณี ดวงเงิน ณัฐกิจ พิพัฒนจาตุรนต อภิชาต กันทุ บัณฑิตา ภูยาธร ศิริรัตน ประเสริฐและสุชาติ อุดม. 2553. การสอบสวนผูปวยและเสียชีวิตโรคบรูเซลโลซิสในอําเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ เดือนธันวาคม 2552. รายงานการเฝาระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห ปที่ 41 ฉบับที่ 34 : 539-544.

วีรภัสสรา แกวเกษ. 2551. การศึกษาระบาดวิทยาทางน้ําเหลืองตอแอนติบอดีของบรูเซลลา เมลิเทนสิสในแพะและเกษตรกรที่สัมผัสแพะ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนยสารสนเทศ กรมปศุสัตว. 2554. สถิติขอมูลการปศุสัตว 2554. Available from: http://www.dld.go.th/ict/th/images/stories/stat_web/yearly/2554/sheep54/report_ sheep_54.pdf

สาโรช จันทรลาด และ สามารถ ประสิทธิผล. 2553. ความชุกทางซีรัมวิทยาและปจจัยเสี่ยงของโรค ขออักเสบและสมองอักเสบในแพะในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ ป 2553. Available online : http://www.dld.go.th/dcontrol/th/images/stories/research/23122553_1.pdf. สุจิรา ปาจริยานนท นรี เกตุสิงห บัณฑิต นวลศรีฉาย และ วรา วรงค.2555. การศึกษาสภาวะโรค  ขอและสมองอักเสบในแพะ. วารสารสถาบันสุขภาพสัตวแหงชาติ 7(1): 21-30.

Page 37: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

34

สุพล จันทโคตร และ มนัสชัย วัฒนกุล. 2547. กรณีศึกษาแอนติบอดีตอเชื้อไวรัสขออักเสบและสมองอักเสบในแพะที่ฟารมในจังหวัดราชบุรี. จุลสารปศุสัตวเขต 7. 9(1-3) : 58-69.

สํานักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. 2555. สรุปการตรวจสอบขาวการระบาดของโรคในรอบสัปดาห . รายงานการเฝาระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห 43 (25): 377-378.

อุราศรี ตันตสวัสดิ์ วัฒนา วัฒนวิจารณ วาสนา ภญิโญชนม อารุณี มาลยมาน อารี ทรัพยเจริญ และสุจิรา ปาจริยานนท. 2528. Caprine arthritis-encephalitis like virus infection ในแพะพันธุซาเนน. ประมวลเรื่องการประชุมวิชาการทางสัตวแพทย คร้ังที่ 12 ประจําป 2528. สัตวแพทยสมาคมแหงประเทศไทย. 2-4 ธันวาคม 2528. หนา 376-377.

Adams, D.S., Klevjer-Anderson, P., Carlson, J.L., McGuire, T.C. and Gorham, J.R. 1983. Transmission and control of caprine arthritis-encephalitis virus. Am. J. Vet. Res. 44(9): 1670-1675. Ali Al Ahmad, M.Z., Fieni, F., Pellerin, J.L., Guiguen, F. Cherel, Y., Chatagnon, G., Bouzar, A.B. and Chebloune, Y. 2008. Detection of viral genomes os caprine arthritis- encephalitis virus (CAEV) in semen and in genital tract tissues of male goat. Theriogenology. 69(4) : 473-480. Al-Qudah, K., Al-Majali, A.M. and Ismail, Z.B. 2006. Epidemiological studies on caprine

arthritis-encephalitis virus infection in Sudan. Small Rumin. Res. 66(1): 181-186. Ashagrie, T., Deneke, Y. And Tolosa, T. 2011. Seroprevalence of caprine brucellosis and

associated risk factors in south Omo zone of southern Ethiopia. African J. Microbiol. Res. 5(13); 1682-1685.

Bandeira, D.A., de Castro, R.S., Azevedo, E.O., Melo, L.S.S. and de Melo, C.B. 2009. Seroprevalence of caprine arthritis-encephalitis virus in goats in the Cariri region, Paraiba state, Brazil. The Vet. J. 180:399-401.

Brinkhof, J. and van Maanen, C.. 2007. Evaluation of five enzyme-linked immunosorbent assays and an agar gel immunodiffusion test for detection of antibodies to small ruminant lentiviruses. Clin. and Vacc. Immunol. 14(9): 1210-1214.

Coelho, A.M., Coelho, A.C. Roboredo, M. and Rodrigues, J. 2007. A case-control study of risk factors for brucellosis seropositivity in Portuguese small ruminants herds. Prev. Vet. Med. 82: 291-301.

CFSPH (Center for Food Security and Public Health). 2007. Caprine Arthritis and Encephalitis. [cited 5 July 2012]; Available from: http://www.cfsph.iastate.edu/Factsheets/pdfs/

Page 38: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

35

caprine_arthritis_encephalitis.pdf CFSPH (Center for Food Security and Public Health). 2009. Ovine and Caprine Brucellosis:

Brucella melitensis. [cited 5 July 2012]; Available from: http://www.cfsph.iastate. edu/Factsheets/pdfs/brucellosis_melitensis.pdf

De Andres, D., Klein, D., Watt, N.J., Berriatua, E., Torsteinsdottir, S., Blacklaws, B.A. and Harkiss, G.D. 2005. Diagnostic tests for small ruminant lentiviruses. Vet. Microbiol. 107: 49-62.

E.C. (European Commission). 2001. Brucellosis in Sheep and Goats (Brucella melitensis). SANCO.C.2/AH/R23/2001. Report of The Scientific Committee on Animal Health and Animal Welfare. [cited 5 July 2012]; Available from: http://europa.eu.int/ comm

/food/fs/sc/scah/out59_en.pdf. Elfahal, A.M., Zakia, A.M. and El-Hussien, A.M. 2010. First report of caprine arthritis-

encephalitis virus infection in Sudan. J. Anim. Vet. Adv. 9(4): 736-740. French Food Safety Agency. 2009. Brucellosis Complement Fixation Test (French technique)

Standard Operating Procedure, Rev.001 05/06/2009, OIE/FAO Brucellosis Reference Laboratory, p1-12.

Gendelman, H.E., Narayan, O., Molineaux, S., Clements, J.E. and Ghotbi, Z. 1985. Slow, persistent replication of lentiviruses: Role of tissue macrophages and macrophage precursors in bone marrow. Proc. Natl. Acad. Sci. USA. 82: 7086-7090.

Ghanem, Y.M., El-Khodery, S.A., Saad, A.A., Elragaby, S.A., Abdelkader, A.H. and Heybe, A. 2009. Prevalence and risk factors of caprine arthritis-encephalitis virus infection (CAEV) in Northern Somalia. Small Rumin. Res. 85: 142-148.

Greenwood,P., North, R. and Kirkland, P. 1995. Prevalence spread and control of caprine arthritis-encephalitis virus in dairy goat herds in New South Wales. Aus. Vet. J. 72(9):341-345.

Grewal, A.S., Greenwood, P.E. Burton, R.W., Smith, J.E., Batty, E.M. and North, R. 1986. Caprine retrovirus infection in New South Wales: virus isolations, clinical and histopathological findings and prevalence of antibody. Aus. Vet. J. 63(8): 245-248. 

Herrmann, L.M., Cheevers, W.P., McGuire, T.C., Adams, D.S., Hutton, M.M., Garin, W.G. and Knowles, D.P. 2003a. Competitive-inhibition enzyme-linked immunosorbent assays for detection of serum antibodies to caprine arthritis-encephalitis virus : Diagnostic tool for successful eradication. Clin. Diag. Lab. Immunol. 10(2): 267-271.

Page 39: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

36

Herrmann,L.M.,Cheevers, W.P.,Maeshall, K.L., McGuire, T.C.,Hutton, M.M., Lewis, G.S. and Knowles, D.P. 2003b. Detection of serum antibodies to ovine progressive pneumonia virus in sheep by using a caprine arthritis-encephalitis virus competitive-inhibition enzyme-linked immunosorbent assay. Clin. Diag. Lab. Immunol. 10(5):862-865.

Islam, M.A., Samad, M.A. and Rahman, A.K.M.A. 2010. Risk factors associated with prevalence of brucellosis in black Bengal goats in Bangladesh. Bang. J. Vet Med. 8(2); 141-147.

Kabagambe, E.K., P.H. Elzer, J.P. Geaghan, J. OpudakAsibo, D.T. Scholl and J.E. Miller. 2001. Risk factors for Brucella seropositivity in goat herds in eastern and western Uganda. Prev. Vet. Med. (52): 91-108.

Kahn, C.M. and Line, S. editors. 2008. The merck veterinary manual (online). Whitehouse Station, NJ: Merck and Co., 2008. Caprine arthritis-encephalitis. Available online: http://www.merckvetmanual.com/mvm/index.jsp?cfile=htm/bc/55000.htm.

Kaoud, H.A., Zaki, M.M., El-Dahshan, A.R. and Nasr, S.A. 2010. Epidemiology of brucellosis among farm animals. Nature and Science. 8(5): 190-197.

Konishi, M., Tsuduku, S., Haritani, M., Murakami, K., Tsuboi, T., Kobayashi, C., Yashikawa, K., Kimura, K.M. and Suntsui, H. 2004. An epidemic of caprine arthritis-encephalitis in Japan: isolation of the virus. J. Vet. Med. Sci. 66(8): 911-917.

Konishi, M., Yamamoto, T., Shimada, T., Shirafuji, H., Kameyama, K., Suntsui, H. and Murakami, K. 2010. Development of enzyme-linked immunosorbent assay for detection of antibody against caprine arthritis-encephalitis virus using recombinant protein of the precursor of the major core protein, p55gag. J. Vet. Diagn. Invest. 22: 415-419.

Lin, T.N., Ngarmkum, S., Oraveerakul, K., Virakul, P. and Techakumphu, M. 2011. Seroprevalence and risk factors associated with caprine arthritis-encephalitis virus infection in goats in the western part of Thailand. Thai. J. Vet. Med. 41(3): 353-360.

Manosuthi, W., Thummakul, T., Vibhagool, A. Vorachit, M. and Malathum, K. 2004. Brucellosis: A re-emerging disease in Thailand. Southeast Asian J. Trop. Med. Public Health. 35(1): 109-112.

Negash, E., Shimelis, S. and Beyene, D. 2012. Seroprevalence of small ruminant brucellosis and its public health awareness in selected sited sites of Dire Dawa region, Eastern Ethiopia. J. Vet. Med. Anim. Health. 4(4): 61-66.

Page 40: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

37

Nord, K., Rimstad, E., Storset, A.K. and LØken, T. 1998. Prevalence of antibodies against caprine arthritis-encephalitis virus in goat herds in Norway. Small Rumin. Res. 28: 115-121.

OIE (World Organization for Animal Health). Chapter 2.7.3/4. 2008. Caprine arthritis-encephalitis and maedi-visna. In: Manual of Standards for diagnostic Test and Vaccines for terrestrial animals (mammal, birds and bees). Ed. OIE, 6th ed., Volume 2, OIE, Paris, France. p.983-991

OIE (World Organization for Animal Health). Chapter 2.7.2. 2009. Caprine and Ovine Brucellosis (excluding Brucella ovis ). In: Manual of Standards for diagnostic Test and Vaccines for terrestrial animals (mammal, birds and bees). p. 1-10. Available online: http://www.oie.int/fileadmin/home/eng/health_standards/tahm/2.07.02_caprine_ovine_bruc.pdf.

Ozyoruk, F., Cheevers, W.P., Hullinger, G.A., McGuire, T.C., Hutton, M. and Knowles, D.P. 2001. Monoclonal antibodies to confirmation epitopes of the surface glycoprotein of caprine arthritis-encephalitis virus: Potential application to competitive-inhibition enzyme-linked immunosorbent assays for detecting antibodies in goat sera. Clin.Diagn. Lab. Immunol. 8: 44-51.

Paitoonpong, L., Ekgatat, M., Nunthapisud, P., Tantawichien, T. and Suankratay, C. 2006. Brucellosis: the First Case of King Chulalongkorn Memorial Hospital and Review of the Literature. J. Med. Assoc. Thai. 89 (8): 1313-7. Pasick, J. 1998. Maedi-visna virus and caprine arthritis-encephalitis virus: distinct species or

quasispecies and its implications for laboratory diagnosis. Can. J. Vet. Res. 62: 241-244. Pugh, D.G. 2002. Sheep and Goat Medicine. W.B. Saunders Company, Philadelphia, p. 239-240. Raksakul, D. 2009. Risk factors associated with seropositive tests for brucellosis in sheep and 

goat populations in Ratchaburi province, Thailand. Thesis for the Degree of Master of Science Colorado State University Fort Collins, Colorado.

Reina, R., Grego, E., Bertolotti, L., Meneghi, D. And Rosati, S. 2009a. Genome analysis of Small ruminant lentiviruses genotype E : a caprine lentivirus with natural deletions of the dUTPase subunit, vpr-like accessory gene, and 70-base-pair repeat of the U3 region. J. Virol. 83(2): 1152-1155.

Page 41: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

38

Reina, R., Berriatha, E., Lujan, L., Juste, R., Sanchez, A., de Andres, D. and Amorena, B. 2009b. Prevention strategies against small ruminant lentiviruses : An update. The Vet. Journal. 182: 31-37.

Rimstad, E., East, N.E., Torten, M., Higgins, J., Derock, E. and Pedersen, N.C. 1993. Delayed seroconversion following naturally acquired caprine arthritis-encephalitis virus infection in goats. Am. J. Vet. Res. 54: 1858-1862.

Solorio-Rivera, J. L., Segura-Correa, J.C. and Sánchez-Gil, L.G. 2007. Seroprevalence of and risk factors for brucellosis of goats in herds of Michoacan, Mexico. Prev. Vet. Med. 2(3- 4): 282-290.

Surman, P.G., Daniels, E. and Dixon, B.R. 1987. Caprine arthritis-encephalitis virus infection of goats in South Australia. Aust. Vet. J. 64(9): 266-271.

Torres-Acosta, J.F.J., Gutierrez-Ruiz, E.J., Butter, V., Schmidt, A., Evans, J., Babington, J., Bearman, K., Fordham, T., Brownlie, T., Schroer, S., Camara-G., E. and Lightsey, J. 2003. Serological survey of caprine arthritis-encephalitis virus in goat herds of Yucatan, Mexico. Small Rumin. Res. 49: 207-211.

Visudhiphan, S. and Na-Nakorn, S. 1970. Brucellosis first case report in Thailand. J. Med. Asso. Thai. 53: 289-290.

Page 42: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

39

ภาคผนวก

แบบสอบถาม

โครงการวิจัยเร่ือง “ความชุกทางซีรัมวิทยาและปจจัยเสี่ยงการตดิเชื้อ Brucella melitensis และ caprine arthritis encephalitis virus (CAEV) ในแพะภาคตะวันตกของประเทศไทย” ปงบประมาณ 2555

วัน/เดือน/ป ท่ีสัมภาษณ............................................... ผูสัมภาษณ.................................................................. ผูใหสัมภาษณ...............................................................ความสัมพันธกับเจาของสัตว.....................................

คําชี้แจง : โปรดทําเครื่องหมาย ลงใน และเติมขอความลงใน……….ของแตละขอท่ีตรงกับความเปนจริง

1.ขอมูลจําเพาะของเกษตรกร ชื่อ-นามสกุล เจาของสัตว (นาย/นาง/นางสาว)......................................................................................อายุ...............ป ท่ีต้ังฟารม บานเลขที่......................หมูที่...........ตําบล............................อําเภอ..............................จังหวัด............................... โทร.........................................................................จุดพิกัด E................................N................................ ท่ีอยู ท่ีเดียวกับที่ต้ังฟารม (ไมตองระบุท่ีอยู) คนละที่กับที่ต้ังฟารม (ระบุท่ีอยู) บานเลขที่........................หมูที่...............ตําบล.................................อําเภอ.....................................จังหวัด...................................

โทร........................................................................จุดพิกัด E................................N................................ ระดับการศึกษา ประถม มัธยมตน มัธยมปลาย ปวช. ปวส. ปริญญาตรี อื่นๆ (ระบุ)......................... ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ธุรกิจสวนตัว รับราชการ อื่นๆ (ระบุ)................................................................. 2.ขอมูลท่ัวไปเก่ียวกับการเลี้ยงแพะ 2.1) สัตวเล้ียงรวมในฟารม โค-กระบือ แกะ สัตวปก สุนัข-แมว อื่นๆ (ระบุ).................................................... 2.2) จํานวนแพะที่เล้ียงทั้งหมด........................ตัว พอพันธุ............ ตัว แมพันธุ............ตัว (กําลังรีดนม.........ตัว) ลูกอายุระหวาง 2-6 เดือน..........ตัว (ผู......ตัว, เมีย......ตัว) แมสาว...............ตัว ผูรุน.................ตัว (ขุน......................ตัว) ลูกอายุตํ่ากวา 2 เดือน................ตัว 2.3) วัตถุประสงคของการเลี้ยง แพะเนื้อ แพะนม ทั้งสองอยาง พันธุ..................................................... โดยเลี้ยงเปน อาชีพหลัก อาชีพเสริม 2.4) มีการรีดนมแพะหรือไม มี ไมมี ถามี มีการตม กอนบริโภคหรือขายหรือไม มี ไมมี 2.5) ลักษณะการเลี้ยงแพะ (ถามีลักษณะผสมผสาน สามารถตอบไดมากกวา 1 ขอ) พ้ืนที่สวนตัว พ้ืนที่สาธารณะ พ้ืนที่ผูอื่น มีแพะผูอ่ืนปะปนหรือไม มี ไมมี ไมมีโรงเรือน มีโรงเรือน (ระบุ).................................................... ถามีโรงเรือนมีการทําความสะอาดโรงเรือนหรือไม มี ไมมี มีการใชน้ํายาฆาเชื้อรวมดวยหรือไม ใช ไมใช ปลอยแปลงหญาอิสระ ผูกลาม เลี้ยงรวมกับสัตวอื่นๆ (ระบุ) ............................................. 2.6) อาหาร หญาอยางเดียว หญาและอาหารเสริม (ระบุ)......................................................................................... 2.7) แหลงน้ํา บอน้ํา น้ําประปา บอบาดาล คลอง แมน้ํา ฯลฯ ผานการฆาเชื้อ อื่นๆ (ระบุ)............................ 2.8) การถายพยาธิ เคย ทุกๆ..................เดือน ลาสุดเมื่อ...........................................ชนิดตัวยา...................................................... ไมเคย ไมทราบ 2.9) การทําวัคซีน เคย ทุกๆ..................เดือน ลาสุดเมื่อ...........................................ชนิดวัคซีน.................................................... ไมเคย ไมทราบ

Page 43: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

40 2.10) การผสมพันธุ (ตอบไดมากกวา 1 ขอ)

ผสมตามธรรมชาติ โดยใช พอพันธุในฝูง พอพันธุของราชการ (ระบุ) ....................................................... พอพันธุของเกษตรกรรายอื่นๆ (ระบุ) .....................................................................

ผสมเทียม โดย หนวยราชการ (ระบุ) ........................................... เอกชน (ระบุ) ......................................... อื่นๆ (ระบุ) ......................................................... เคยนําแพะพอพันธุไปผสมพันธุกับแพะฟารมอ่ืนหรือไม เคย ไมเคย ไมทราบ 3. แหลงที่มาของแพะ / ประวัติการซื้อ-ขายแพะ 3.1) เปนพอคารับซื้อ-ขายแพะ ใช ไมใช 3.2) การเลี้ยงแพะ

- เล้ียงมานาน..................................ป / เดือน - ทราบที่มาของแพะหรือไม ทราบ ไมทราบ - ท่ีมาของแพะ (ตอบไดมากกวา 1 ขอ)

แพะดั้งเดิม พอคาเร (ระบุ) ................................................................. โครงการของราชการ (ระบุ) ..................................... ศูนย / สถานีบํารุงพันธุสัตว (ระบุ) .................................. เกษตรกรรายอื่น (ระบุ) ............................................ อื่นๆ (ระบุ) ......................................................................

- กรณีท่ีไดจากเกษตรกรรายอื่นหรือพอคาเร ภายในตําบลเดียวกัน ภายในอําเภอเดียวกัน ภายในจังหวัดเดียวกัน จากตางจังหวัด (ระบุ) ................................... อื่นๆ (ระบุ).................................................................................................

3.3) ความถี่ในการซื้อแพะ ทุก.......................วัน / เดือน จัดหาแพะเขามาลาสุดเม่ือ.............................................จํานวน.............ตัว ท่ีมาของแพะครั้งลาสดุ พอคาเร (ระบุ) .............................................. โครงการของราชการ (ระบุ) ................................... สถานีบํารุงพันธุ (ระบุ) ................................... เกษตรการรายอื่น (ระบุ) .......................................... 3.4) ความถี่ในการขายแพะ ทุก.....................วัน / เดือน ขายแพะออกไปลาสุดเม่ือ..............................................จํานวน.............ตัว สถานที่ปลายทางที่นําแพะไป........................................................................................................................................................ ขายแพะคร้ังสุดทายเพื่อ บริโภค เลี้ยงตอ ไมทราบ อื่นๆ (ระบุ)................................................................ ชําแหละแพะเองหรือไม ใช ไมใช 4. ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับโรคบรูเซลโลซิสในแพะ 4.1) ทานรูจักหรือมีประสบการณเก่ียวกับโรคนี้มากอนหรือไม เชน เคยพบคนหรือแพะที่ปวยเปนโรคนี้ รูจัก / มี ไมรูจัก / ไมมี 4.2) แพะในฟารมเคยไดรับการตรวจโรคนี้มากอนหรือไม เคย ไมเคย ไมทราบ 4.3) ถาเคย ตรวจบอยแคไหน ทุกๆ........................เดือน ลาสุดเม่ือ.......................................................................................... พบวาแพะใหผลบวกตอโรคบรูเซลโลซิสหรือไม พบ จํานวน...........ตัว ไมพบจํานวน...........ตัว ไมทราบ มีการตรวจโรคบรเูซลโลซิสกอนนําแพะใหมเขาฟารมหรือไม มี ไมมี ไมทราบ ถามี ตรวจครบทุกตัวหรือไม ครบ ไมครบ กรณีท่ีพบวาแพะใหผลบวกตอโรคบรูเซลโลซิส ทานดําเนินการอยางไร ขายตอ ชําแหละขายเนื้อ ชําแหละกินเอง ทําลาย โดยวิธี (ระบุ)............................................................. อื่นๆ (ระบุ)..........................................................

Page 44: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

41 4.4) เคยพบแพะที่เล้ียงในฟารมแสดงอาการปวยดังนี้หรือไม แพะเพศผู (ถามแยกเปนอาการๆ สามารถตอบไดมากกวา 1 ขอ) ขอบวม อัณฑะบวม ไมพบอาการที่เกี่ยวของ ถาพบ จะพบที่ชวงอายุ......................................... แพะเพศเมีย (ถามแยกเปนอาการๆ สามารถตอบไดมากกวา 1 ขอ) แทงลูก (ระบุลักษณะการแทง สามารถตอบไดมากกวา 1 ขอ) แทงเฉพาะทองแรก แทงครั้งเดียว แทงมากกวา 1 ครั้ง แทงทุกการตั้งทอง อายุต้ังทองขณะแทง...........................เดือน รกคาง ลูกตายแรกคลอด ลูกออนแอ ผสมติดยาก อ่ืนๆ (ระบุ) ................................................................................. ไมพบอาการที่เก่ียวของ 4.5) เม่ือชวยทําคลอดแพะ ทานมีการปองกันตัวเองจากการติดตอโรคจากแพะหรือไม มี ไมมี หากมีการปองกัน ทานปองกันตัวเองโดยวิธีใด (สามารถตอบไดมากกวา 1 ขอ) สวมถุงมือ ลางมือดวยสบู ลางมือดวยสบูและน้ํายาฆาเชื้อ อื่นๆ (ระบุ) ...................................................... 4.6) ทานรูหรือไมวาโรคนี้สามารถติดตอสูคนได รู ไมรู 4.7) ทานคิดวาแพะที่ปวยดวยโรคนี้สามารถรักษาหายไดหรือไม หาย ไมหาย ไมทราบ 4.8) ทานคิดวาคนที่ปวยดวยโรคนี้สามารถรักษาหายไดหรือไม หาย ไมหาย ไมทราบ 5. ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับโรค CAE (ขออักเสบและสมองอักเสบ) ในแพะ 5.1) ทานรูจักหรือมีประสบการณเก่ียวกับโรคนี้มากอนหรือไม เชน เคยพบแพะที่ปวยเปนโรคนี้ รูจัก / มี ไมรูจัก / ไมมี 5.2) แพะในฟารมเคยไดรับการตรวจโรคนี้มากอนหรือไม เคย ไมเคย ไมทราบ 5.3) ถาเคย ตรวจบอยแคไหน ทุกๆ........................เดือน ลาสุดเม่ือ.......................................................................................... พบวาแพะใหผลบวกตอโรค CAE หรือไม พบ จํานวน...........ตัว ไมพบจํานวน...........ตัว ไมทราบ มีการตรวจโรค CAE กอนนําแพะใหมเขาฟารมหรือไม มี ไมมี ไมทราบ ถามี ตรวจครบทุกตัวหรือไม ครบ ไมครบ กรณีท่ีพบวาแพะใหผลบวกตอโรค CAE ทานดําเนินการอยางไร ขายตอ ชําแหละขายเนื้อ ชําแหละกินเอง ทําลาย โดยวิธี (ระบุ)............................................................. อื่นๆ (ระบุ)..........................................................

Page 45: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

42 5.4) เคยพบแพะที่เล้ียงในฟารมแสดงอาการปวยดังนี้หรือไม พบ ไมพบ แพะโตเต็มวัย แพะอายุ 1-6 เดือน ขาหนาออนแอ ขาหลังออนแอ ขาหนาออนแอ ขาหลังออนแอ ขออักเสบ เดินโซเซ เสียการทรงตัว ขออักเสบ เดินโซเซ เสียการทรงตัว เดินกระเผลก เดินดวยเขา เดินกระเผลก เดินดวยเขา ยืนดวยเขา อัมพาต ยืนดวยเขา อัมพาต ไมคอยเคลื่อนไหว อื่นๆ(ระบุ) ...................................... ไมคอยเคลื่อนไหว อื่นๆ(ระบุ) ................................. 5.5) ทานคิดวาแพะที่ปวยดวยโรคนี้สามารถรักษาหายไดหรือไม หาย ไมหาย ไมทราบ 6. ถามีแพะปวยดวยโรคใดๆ เกิดขึ้นในฟารม ทานดําเนินการอยางไร ขายตอ ชําแหละขายเนื้อ ชําแหละกินเอง ทําลาย โดยวิธี (ระบุ)............................................................................ อื่นๆ (ระบุ)................................................................ 7. หากมีแพะปวยดวยโรคใดๆ เกิดขึ้นในฟารม ทานเคยติดตอสัตวแพทยหรือเจาหนาที่ปศุสัตวเพื่อขอคําแนะนําบางหรือไม เคย ไมเคย ถาไมเคยติดตอ เนื่องจาก.......................................................................................................................

ขอขอบพระคุณทุกทานที่กรุณาตอบแบบสอบถาม

ศูนยวิจัยและพัฒนาการสัตวแพทยภาคตะวันตก โทร.032-228419, 032-228379

Page 46: Seroprevalence and risk factors of Brucella melitensis and ...vrd-wp.dld.go.th/.../report/research/2555_bruCAE.pdf · Objectives—Brucellosis and caprine arthritis-encephalitis are

43

ภาพการดําเนนิงาน