12

Arunothai issue 4of 2012

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Arunothai,Thailand Public Yoga Journal issue4/2012

Citation preview

Page 1: Arunothai issue 4of 2012
Page 2: Arunothai issue 4of 2012

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 | 2

“การจัดระเบียบร่างกายสำหรับการฝึกโยคะอาสนะ”คือหัวข้อการเข้าร่วมเวิร์คช็อปล่าสุดซึ่ง“อรุโณทัย”ได้รับเกียรติ

เชิญเข้าร่วมฝึกจากครูจิมมี่(ยุทธนาพลเจริญ)ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่29เมษายนที่ผ่านมาที่สถาบันฟิตและฟิตสตูดิโอ

เพลินจิตกรุงเทพฯซึ่งครูจิมมี่เป็นผู้สอนและผู้อำนวยการหลักสูตรครูโยคะของฟิตโดยใช้ชั่วเวลาในการฝึกยาวนานกว่าหก

ชั่วโมง(09.00–16.30)เป็นเวิร์คช็อปเข้มข้นทั้งภาคทฤษฎีและได้ลงลึกในการลองปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ที่จะจัดและปรับท่าอาสนะ

ให้เข้าท่าได้อย่างถูกต้องและลึกยิ่งขึ้น

ในช่วงแรกเพื่อให้การจัดท่าและปรับท่าอาสนะได้ดีขึ้นนั้นควรจะเข้าใจสาเหตุที่เราควรจะเข้าไปช่วยในการจัดปรับท่า

ก่อนว่าเกิดขึ้นจากเห็นการวางท่าผิดจึงเข้าไปช่วยแนะนำหรือจัดท่าให้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของท่าและเพื่อความถูกต้องใน

ตำแหน่งการลงน้ำหนักการเหยียดยืดการวางเท้าหรือกล้ามเนื้อส่วนต่างๆโดยผู้ที่จะเข้าไปปรับ–จัดนั้นจะต้องใช้เวลาในการ

จัดท่าให้น้อยแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีในการปรับและจัดท่าอาสนะนั้นก็จะต้องให้ผู้ทำท่าอาสนะค้างท่าเอาไว้ก่อนจนกว่า

จะได้บอกรายละเอียดทุกขั้นตอนในการฝึกท่านั้นๆครบถ้วนแล้วจึงให้เปลี่ยนท่า

รายละเอียดของการจัดท่าฝึกและช่วยปรับท่าอาสนะนั้นทำได้3แนวทางด้วยกันคือ

1.การใช้คำพูดเพื่อเตือนหรือสะกิดให้ผู้ฝึกรู้ตัวและมีการขยับปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ถูกต้องเหมาะสมโดยที่ไม่มีการ

เข้าไปสัมผัสแตะตัวตัวผู้ฝึก

2.ใช้การสัมผัสช่วยในการจัดท่าฝึกโดยการขออนุญาตผู้ฝึกก่อนที่จะเข้าไปช่วยและใช้การสัมผัสช่วยในการจัดท่าฝึก

ตำแหน่งที่จะเข้าไปแตะหรือเข้าไปจัดท่าควรจะอยู่ด้านหลังของผู้ฝึกและให้แน่ใจว่าผู้ฝึกจะไม่เสียการทรงตัวและบาดเจ็บจาก

การที่เข้าไปช่วยจัดท่า

ขยับเพื่อยืดเปิด(ใจ)เพื่อเรียนรู้

3.การเข้าสัมผัสตัวผู้ฝึก

ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะด้วยกันเช่นการหาจุดที่ผู้ฝึกทำ

ท่านั้นบกพร่องอยู่แตะเพื่อบอกตำแหน่งในการจัด

ระเบียบร่างกายแตะเพื่อบอกถึงจุดหรือตำแหน่งที่ผู้ฝึก

จะต้องมองไปแตะเพื่อจัดให้ได้ท่าฝึกที่ถูกต้องเหมาะ

สมตามโครงสร้างร่างกายของผู้ฝึกแต่เพื่อช่วยให้ผู้ฝึก

ทรงตัวได้ดีขึ้นแต่ด้วยความปรารถนาดีที่ต้องการจะ

พัฒนาศักยภาพของผู้ฝึกโดยที่ขั้นตอนการจัดและปรับ

ควรจะเริ่มจากการใช้น้ำเสียงสะกิดเตือนหรือบอกให้

ปรับท่าก่อนเมื่อไม่เกิดอะไรขึ้นหรือทำท่าอาสนะได้

ไม่ดีขึ้นค่อยใช้การสัมผัสจัดปรับเข้าช่วย

Page 3: Arunothai issue 4of 2012

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 | 3

สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน เน้นการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ก่อตั้งเมื่อมีนาคม 2554

Facebook Page: อรุโณทัย

www.arunothai.net

ผลิตโดย ลิตเติลซันไชน์โยคะ

[email protected]

โทร. 081 246 7862

บรรณาธิการและผู้เขียน : อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง [email protected]

ศิลปกรรมและจัดรูปเล่ม : อรปวีณ์ รุจิเทศ [email protected]

ข้อเขียนหรือความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏใน เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนข้อเขียนนั้นๆเอง ทางผู้ผลิตไม่จำเป็น

จะต้องคิดเห็นเช่นเดียวกันหรือคิดเหมือนกัน หากต้องการนำข้อความหรือเนื้อหาของอรุโณทัยไปเผยแพร่ต่อ โปรดระบุด้วยว่า

นำมาจาก “อรุโณทัย - สื่อโยคะทางเลือก”

ทั้งนี้มีข้อควรระวังหรือควรละเว้นมากมายเช่นกรณีที่ครูหรือผู้สอนที่เป็นผู้ชายพึงระมัดระวังเรื่องการเข้าไปสัมผัสแตะ

ต้องร่างกายแบบรุกล้ำในที่ที่ไม่สมควรจุดสงวนต่างๆเช่นใบหน้าใบหูสะโพกหน้าท้องส่วนล่างและหน้าอกของผู้ฝึกผู้หญิง

ก่อนการสัมผัสหรือแตะเพื่อการจัดปรับจะต้องให้ผู้ฝึกรู้ตัวเสียก่อนไม่แตะแบบเดาสุ่มโดยไม่มีจุดหมายซึ่งจะก่อให้เกิดความสับ

สนในตัวผู้ฝึกหรือไม่แตะแบบสัมผัสเบาๆเพื่อกระตุ้นความรู้สึกซึ่งเป็นการแตะต้องที่ไม่เหมาะสม

ความสนุกและน่าสนใจในการเวิร์คช็อปเพื่อจัดปรับท่าอาสนะครั้งนี้อยู่ที่การได้ลงมือปฏิบัติโดยการจัดคู่และสลับ

ตำแหน่งกันของผู้ที่เข้าฝึกเพื่อช่วยกันปรับแก้จัดท่าอาสนะในกลุ่มต่างๆนับแต่ท่าไหว้พระอาทิตย์ท่ายืนทรงตัวท่านอนคว่ำ

ท่านอนหงายท่าบิดตัวไปจนกระทั่งถึงท่านอนพักสุดท้ายหลังการฝึกในศวาสนะอย่างครบถ้วนและเป็นประโยชน์ในการที่จะนำ

ไปแก้ไขและให้คำชี้แนะสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูโยคะหรือผู้สอนโยคะได้เป็นอย่างดี

Page 4: Arunothai issue 4of 2012

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 | 4

อิทธิฤทธิ์ประคำทอง:เรื่อง

ภาพทั้งหมดโดย“ครูเก๋”

บ่มเพาะ ปลูกฝัง สร้างความสมดุลจากภายนอกสู่ภายในด้วย

“โยคะเด็ก” “รสสุคนธ์ซันจวน”

เราทุกคนตระหนักดีว่าโยคะคือหนทางแห่งความสุขสงบและสมดุลทุกวันนี้มีโยคะหลากหลายรูปแบบเปิดให้คนทุก

ประเภททุกวัยได้ฝึกฝนกันในบ้านเราเช่นเดียวกับที่มีการสอนให้เด็กๆรู้จักตัวเองรู้จักหนทางแห่งความสุขสงบและ

สร้างความสมดุลจากภายนอกสู่ภายในผ่านโยคะที่เรียกว่า“โยคะ(สำหรับ)เด็ก”เปิดขึ้นตามสตูดิโอโยคะต่างๆ

รสสุคนธ์ซันจวนหรือ“ครูเก๋”แห่งBudharasYoga(บูธาราโยคะ)เป็นครูโยคะคนหนึ่งที่ให้ความสนใจจริงจัง

ในการปลูกฝังและบ่มเพาะหนทางแห่งความสงบสุขและสมดุลจากโยคะให้แก่เด็กและเรื่องโยคะสำหรับครอบครัวโดย

สอนโยคะให้กับทั้งเด็กเล็กๆเด็กโตและวัยรุ่นอย่างต่อเนื่องทั้งที่สตูดิโอของตัวเองและสอนแบบส่วนตัวนอกจากนี้ยังจัด

กิจกรรมค่ายโยคะครอบครัวที่เรียกว่าTheLittleOm:FamilyYogaCampต่อเนื่องมาเป็นปีที่สองแล้วในปีนี้

มหาตมะคานธีกล่าวไว้ว่า“If we are to teach real peace in this world, and if we are to carry

on a real war against war, we shall have to begin with the children.”...หากต้องการสอนให้คน

บนโลกนี้รู้จักความสงบสุขที่แท้จริงเราควรจะเริ่มต้นที่เด็ก...

มาลองสัมผัสความคิดและประสบการณ์ของครูโยคะเด็กกันใน“อรุโณทัย”ฉบับนี้

ครูเก๋สอนโยคะควบคู่กับการทำงานประจำมาตลอด ใช่ไม่รู้อันไหนงานประจำอันไหนงานอดิเรก(หัวเราะ)มีความรู้สึกว่าสอนโยคะเป็นงานประจำทุกวันนี้ที่บ้านซึ่งเป็น

บูธาราโยคะอยู่ตรงห้าแยกปากเกร็ดสอนวันเสาร์เป็นคลาสเด็กวันอาทิตย์คลาสผู้ใหญ่แล้วก็มีสอนแบบส่วนตัว(ไพรเวทคลาส)

ให้เด็กออทิสติกที่บ้านแล้วก็มีไพรเวทคลาสโยคะผู้ใหญ่วันธรรมดาที่สุขุมวิทอีกแล้วก็ทำงานประจำ(ทำงานด้านจัดซื้อให้บริษัท

แห่งหนึ่ง)ก็เลยต้องจัดเวลา

Page 5: Arunothai issue 4of 2012

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 | 5

โยคะช่วยให้เจอสมดุลในหลาย ภาคของชีวิตที่ทำอยู่ไหม เก๋คิดว่าเก๋เข้าใจนักเรียนที่ใช้ชีวิตแบบยุ่งวุ่นวาย

แบบคนทำงานที่จะต้องมีการเดินทางเหนื่อยแบบชั่วโมงครึ่ง

เก๋เข้าใจว่ามันเมื่อยแค่ไหนเวลาทำงานกับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน

เพราะฉะนั้นจะรู้เลยเรื่องความเหนื่อยความเครียดที่นักเรียน

บอกมาไม่ใช่ว่าเราจะตื่นเช้ามาแบบชิลล์ๆแล้วคิดว่าวันนี้เรา

จะไปสอนโยคะที่ไหนชีวิตไม่ใช่อย่างนั้น

แล้วมีจุดเริ่มต้นกับโยคะได้อย่างไร เก๋ไปเริ่มต้นเรียนโยคะที่สหรัฐอเมริกาในฟิตเนส

ตอนนั้นปี2548ช่วงที่พอเรียนจบปริญญาโทไปเรียนMBA

ประมาณปีครึ่งพอเรียนจบก็เริ่มทำงานเพื่อนก็ชวนไปฟิตเนส

ไปออกกำลังกายซึ่งมีโยคะด้วยเราก็ไปเรียนโยคะก็สนุกดี

เพราะเป็นคลาสสั้นๆแค่ชั่วโมงเดียวเองแต่ว่าพอดีชอบครูที่

สอนรู้สึกว่าครูสอนดีผ่านไปไม่กี่เดือนเราเริ่มรู้สึกว่าโยคะ

เหมือนการปฏิบัติธรรมเพราะเราปฏิบัติธรรมมาก่อนก็เลย

เห็นว่าน่าสนใจช่วงศวาสนะเหมือนกับการทำสมาธิซึ่งคนข้างๆ

เราตอนนั้นเขาอาจจะนอนหายใจธรรมดาแต่ความที่เรานั่ง

วิปัสนามาพออยู่อย่างนี้เราก็อยู่กับลมหายใจแล้วก็จริงๆ

ก็คล้ายๆกัน

เรารู้สึกได้เอง ไม่ใช่ว่าครูบอก ไม่แต่ครูเขาก็สอนและก็สอนสนุกดีทำให้อยากมา

เรียนแล้วก็แต่ว่าตรงจุดนั้นคือค้นพบเองในลมหายใจเองว่า

ลมหายใจมันเป็นแบบนี้คือปกติเวลาปฏิบัติธรรมเราก็หายใจ

แบบพองยุบรู้สึกว่าค่อนข้างมีกรอบพอสมควรแต่พอมาทำ

โยคะมันเหมือนอยู่ระหว่างหรือกึ่งๆอิสระขึ้นเพราะเขาก็

ไม่ได้บอกว่าเรามาปฏิบัติธรรมแต่เรารู้สึกว่าเราจูนกับสติได้

แล้วพอเล่นไปสักพักก็เลยมองว่าจริงๆแล้วโยคะมันเหมือน

ทางผ่านระหว่างชีวิตประจำวันกับนั่งสมาธิเหมือนกับเป็น

ตัวจูนคือนั่งสมาธิเก๋ว่ามันละเอียดเรายุ่งๆมาถึงจะให้มานั่ง

หลับตาก็อาจจะยังยากอยู่เก๋ว่ามันละเอียดเกินไปแต่พอโยคะ

สักพักโยคะมาอยู่ตรงกลางมาช่วยกรองระดับหนึ่งพอเริ่มนิ่ง

เราก็เริ่มปฏิบัตินั่งสมาธิได้ส่วนใหญ่เก๋จะนั่งสมาธิหลังจาก

โยคะเก๋ว่ามันเหมือนกับการที่เราคั้นน้ำส้มคุณเล่นทุกอย่าง

มาดีหมดแต่สุดท้ายคุณได้น้ำหรือที่เราทำน้ำซุปแล้วแต่คุณไม่

กินน้ำที่ได้นั้นก็จะน่าเสียดายเก๋รู้สึกว่าที่สุดของโยคะคือตอนที่

จบแล้วนอนศวานะคืออารมณ์ความนิ่งตรงนั้นเก๋ว่าเราเอามา

ใช้เป็นอารมณ์ในการนั่งสมาธิได้

สิ่งนี้คือที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือโยคะเป็นเหมือนระหว่างทาง

คือทางด้านจิตใจส่วนด้านกายภาพจริงๆเก๋เป็นคนหลังโก่ง

เพราะเรียนหนักตอนเด็กๆก็จะก้มเขียนก็จะเป็นคนเดินแบบ

หลังโก่งๆแล้วก็ปวดหลังตลอดเป็นชีวิตประจำวันแล้วพอ

เล่นโยคะได้สามเดือนเราก็ไม่ได้คิดเราก็เล่นไปไม่ได้คิดถึงผล

ว่าจะหุ่นดีภายในสามวันคือก็เล่นไปแล้วก็นั่งสมาธิควบคู่กันไป

เรื่อยๆวันหนึ่งก็รู้สึกว่าเรานั่งได้ตรงจากที่ในชีวิตนี้ไม่เคยนั่งได้

ตรงเลยการนั่งสมาธิเป็นอะไรที่ทรมานมากไม่อยากนั่งเลย

นั่งแล้วมันไม่สบายพอเริ่มนั่งได้แล้วก็เลิกปวดหลังตั้งแต่วันนั้น

เป็นต้นมาก็ไม่เคยปวดหลังอีกเลยจากการนั่งหรือว่าอะไร

ก็เลยมองว่าโยคะมีประโยชน์ตอนนั้นน่าจะเล่นได้3-4เดือน

แล้วก็แค่ในฟิตเนสยังไม่ได้ไปสตูดิโอหรูหราอะไรเลย

จากจุดนั้นได้แรงบันดาลใจมาต่อยอดเพื่อเรียนเป็นครูได้

ยังไง เก๋ว่าเก๋โชคดีที่ได้ครูดีแล้วก็พอครูสอนคือมีครูผู้ชาย

คนหนึ่งเป็นครูที่สอนอัษฎางค์โยคะ(AshtangaYoga)เก๋เล่น

Ashtangaด้วยพอจบคลาสครูก็จะนั่งจะยิ้มดูมีความสุข

ปกติครูสอนเสร็จจะพับเสื่อออกไปแต่ครูคนนี้ก็จะนั่งยิ้มดู

นักเรียนพับเสื่อเก็บเสื่อออกไปจากห้องเราก็อิจฉา(เน้นเสียง)

รู้สึกว่าเป็นงานที่มีความสุขก็อยากทำแล้วก็พอเริ่มเล่นไป

สักพักก็รู้สึกว่าอยากสอนคนในครอบครัวมีช่วงหนึ่งกลับมา

จากอเมริกาตอนนั้นยังไม่ได้เป็นครูกลับมาเราก็จับคนที่บ้าน

มาสอนโยคะแต่ก็รู้สึกว่าสอนไม่ได้(หัวเราะ)แต่อยากสอน

แต่ไม่รู้ว่าจะสอนยังไง

พอดีมีเพื่อนเขาคุยให้ฟังว่ามีคอร์สครูโยคะจะมีครู

จากแมสซาชูเสตส์จะมาสอนในเมืองที่อยู่ตอนนั้นเขาบอกว่า

ลองดูไหมเขาจะไปคุยกับเครูแต่เราไม่เคยคิดอยู่ในหัวก็แค่

ลองไปดูไปเป็นเพื่อนไปเล่นๆตอนนั้นฝึกโยคะได้เกือบๆปี

เท่านั้นเองเราก็ไปฟังคุยไปคุยมาก็เห็นว่าน่าสนใจแล้วก็

สมัครเรียนรู้สึกว่าน่าสนใจรู้สึกว่าเรามีพื้นฐานที่เราคิดว่า

อยากจะเรียนอยู่แล้วแต่ว่าไม่แน่ใจแล้วพออันนี้มันมาประ

จวบเหมาะกับความคิดเดิมที่เรามีอยู่คืออยากจะสอนเราก็

เลยว่าก็เรียนล่ะกันคือค่าใช้จ่ายเยอะด้วยเราไม่เคยลงทุน

อะไรในชีวิตขนาดนี้มาก่อนตอนนั้นบ้านก็ไม่มีมีรถคันเดียว

ในที่อเมริการู้สึกว่าเป็นการลงทุนครั้งแรกในชีวิตแล้วก็

ทำงานประจำเต็มเวลาไปด้วยก็เหนื่อยเหมือนกัน

Page 6: Arunothai issue 4of 2012

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 | 6

โยคะที่เรียนครั้งนั้นเป็นสไตล์ไหน เป็นIyengarbasedคือที่ต้องบอกว่านี้เพราะว่าถ้า

เป็นpureIyengarจริงๆเขาจะเคร่งครัดมากแล้วก็จะต้อง

อุปกรณ์แล้วก็ต้องแบบขาต้องแบบนี้แล้วก็ตามครูเป๊ะแล้วก็

จะต้องเรียนตามIyengarinstituteเท่านั้นแต่เก๋ให้ความชื่นช

มเขาถึงไม่กล้าบอกว่าเป็นไอเยนการ์เพราะว่ามันจะต้อง

certifiedIyengarteacherแต่ที่เก๋เรียนครูก็จะมีแนวทาง

ของเขาเองหลายอย่างแล้วก็มีเรื่องhealing(การเยียวยา)

แล้วก็เน้นด้านจิตใจคือไม่ใช่แบบพาวเวอร์ที่ตัดสินใจไปเรียน

ครูโยคะเพราะจุดมุ่งหมายอะไร

จริงๆมันเหมือนจะต้องเรียนหรือยังไงไม่รู้เหตุผลมัน

ไม่เยอะคิดตัดสินใจนานมากอย่าเรียนเลยแล้วก็เลิกแล้วก็

คิดอีกถ้าใช้สมองคิดมันไม่ควรจะเรียนแล้วมันก็คอยคิดอีกว่า

เรียนเถอะเหมือนใจมันให้เรียนน่ะแต่เหตุผลจริงๆเหมือนว่า

ถามตัวเองว่าชีวิตนี้จะเป็นครูเหรอตอนนั้นเองก็ยังไม่ใช่เราก็

แบบต้องจ่ายเงินค่าเรียนเยอะมากจ่ายไปทำไมเราจะไปเรียน

เหรอ

ความสนใจในการสอนโยคะให้เด็กมีจุดเริ่มต้นอย่างไร จริงๆการสอนโยคะเด็กไม่เคยอยู่ในสมองไม่เคยคิดว่า

จะทำงานกับเด็กไม่แม้แต่จะใกล้เคียงแต่ว่ากลับมาคิดวันหนึ่ง

ว่าคือเรารู้สึกว่าที่เรามาเป็นตัวตนของเราได้ในทุกวันนี้มันมี

แบคกราวน์มาจากครอบครัวมีพื้นฐานชีวิตบางอย่างในวัยเด็ก

ที่ทำให้เรามาเป็นตัวเราทุกวันนี้ทั้งในเรื่องดีและไม่ดีเราก็เลย

มองว่าจุดนั้นมันเป็นช่วงชีวิตที่สำคัญเพราะฉะนั้นน่าจะบ่ม

เพาะเรื่องดีๆให้กับเด็กเราก็เลยมองว่าโยคะเป็นทางเป็นตัว

หนึ่งที่จะช่วยได้เพราะว่าแนวทางการสอนโยคะของเก๋

ไม่ใช่เฉพาะด้านกายภาพเป็นเรื่องของจิตใจเป็นเรื่องของสติ

ด้วยเก๋มองว่าโยคะเป็นเรื่องของการฝึกสมาธิก็เลยอยากที่จะ

เริ่มแต่ตอนนั้นไม่มั่นใจเลยไม่คิดว่าจะทำได้เสียด้วยซ้ำแต่ว่าก็

ลองดู

ตอนนั้นเริ่มสอนแล้วที่อเมริกาพอจบได้สักสองสาม

เดือนเก๋ขึ้นเว็บเลยเพราะตอนนั้นครูบอกว่าพยายามให้เริ่มไม่

อยากให้หยุดเพราะมันจะหลุดวงโคจรคือเราก็สอนในแนวที่

เราอยากจะสอนสอนที่บ้านนั้นแหละก็เลยมีประสบการณ์ใน

การสอนโยคะให้คนต่างชาติก่อนตอนกลับมาแรกๆเครียดมาก

เลยเพราะต้องแปลหมดเลยภาษาอังกฤษเราก็ไม่ได้เก่งแต่ด้วย

ความคุ้นเคยเรื่องอนาโตมี(กายวิภาค)โดยศัพท์ทางเทคนิค

เราก็เรียนมาเป็นภาษาอังกฤษหมดเลย

สอนโยคะให้เด็กก็เริ่มที่อเมริกาเหมือนกัน ใช่ตอนนั้นก่อนกลับไม่นานก็ไปก็ไปเรียนที่Teacher

Trainingที่RadiantChildYogaเป็นแนวกุณฑลินีโยคะแต่

คิดค้นมาเป็นกุณฑลินีสำหรับเด็กทำไมเลือกไปเรียนที่นี่

สอนโยคะให้เด็กก็เริ่มที่อเมริกาเหมือนกัน ใช่ตอนนั้นก่อนกลับไม่นานก็ไปก็ไปเรียนที่Teacher

Trainingที่RadiantChildYogaเป็นแนวกุณฑลินีโยคะแต่

คิดค้นมาเป็นกุณฑลินีสำหรับเด็กทำไมเลือกไปเรียนที่นี่

ก็หาอยู่นานคือพยายามเลือกที่ดีที่สุดของที่อเมริกา

ก็มาได้สองที่คือYogaKidsซึ่งเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้วของ

อเมริกากับที่นี่คือก็ดูที่เป็นออริจินัลที่สุดเพราะที่อื่นเขาจะไป

เรียนมาจากที่หลักๆแล้วก็มาตั้งเองแต่ที่นี่ครูสอนมา30-40

ปีทั้งคู่ก็เลยไปเรียนก็เลยได้คนละแนวทั้งสองแห่งเขาก็มีจุด

แข็งด้วยกันทั้งคู่RadiantChildYogaซึ่งเป็นการโมดิฟาย

กุณฑลินีเขาจะเน้นจิตใจเยอะเน้นพลังงานแต่YogaKids

จะเน้นอาสนะก็เรียนแล้วเอามารวมกันก็บวกปฏิบัติธรรมของ

เก๋เข้าไป

ความพิเศษของการเรียนครูโยคะสำหรับเด็กคืออะไร

มันคนละแนวกันคือโยคะคิดส์เก๋ว่าหลักสูตรเขาเป็นแบบ

เป็นแผนมากกว่าคือท่าเขาจะเยอะมากเป็นท่าอาสนะแบ่ง

หมวดหมู่เป็นหมวดอาหารหมวดนกหมวดเลขเขาแบ่งเป็น

เซ็คชั่นของท่าเขาจะมีหมวดเจลลี่หรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับน้ำ

ท่าอาสนะก็จะเกี่ยวข้องกับอะไรแบบนั้นคือเขาแบ่งออกมา

แล้วท่าจะเยอะมาเพลงresourceเยอะมากแต่เรเดียนท์

ไชลด์หนังสือที่เรียนบางมาก

Page 7: Arunothai issue 4of 2012

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 | 7

ควรจะดูองค์ประกอบอะไรบ้างว่าโยคะเหมาะสำหรับลูก

หรือเปล่า คือถ้าเด็กอยากเรียนได้ก็เก่งแล้วถ้าเด็กอยากเรียนได้

อันนั้นคือคำตอบจะด้วยอะไรก็แล้วแต่แล้วก็แต่ถ้าจะดูผลว่า

เรียนโยคะแล้วได้ผลไหมได้อะไรพ่อแม่จะต้องให้เวลานิดหนึ่ง

เด็กอาจจะไม่ได้นิ่งเพราะว่าธรรมชาติของเด็กพ่อแม่คาดหวัง

ว่าอยากจะให้ลูกเรียบร้เอยแต่ธรรมชาติของเด็กอาจจะไม่ได้

เรียบร้อยลูกอาจจะไม่ใช่อย่างนั้นคือมองว่าเขาควบคุมตัว

เองได้ดีแค่ไหนคือเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันหมายถึงว่าเช่น

บางทีเวลาที่เขาตื่นเต้นเขาสอบเขาสามารถเอาสิ่งที่เขาเรียนไป

ใช้ได้ไหมแต่ว่าจริงๆแล้วจุดประสงค์ที่เก๋อยากจะให้เกิดขึ้น

คือเป็นการปลูกฝังวันนี้อาจจะเรียนจบสองปีอาจจะไม่เห็น

อะไรเลยก็ได้แต่เก๋เชื่อว่าสิ่งที่เก๋สอนไปทั้งหมดเด็กเขาผ่าน

ประสบการณ์และเขาจำแล้ววันหนึ่งเมื่อเขาโตขึ้นอย่างเก๋

สอนเรื่องสติการเอาใจอยู่กับตัวเก๋จะสอนผ่านประสบการณ์

เก๋ไม่ใช้คำพูดพอเวลาเขาโตขึ้นเขาไปปฏิบัติธรรมเขาไปฝึก

เขาจะเข้าใจ

ในฐานะเป็นครูโยคะอะไรคือความแตกต่างระหว่างโยคะ

สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ต่างกันเยอะนะคะ(น้ำเสียงครุ่นคิด)สอนโยคะเด็ก

สิ่งที่ยากที่สุดคือการดึงเด็กให้ร่วมทำกิจกรรมเก๋ว่าอันนั้นน่ะ

ยากที่สุดแล้วทำยังไงถึงจะสอนให้เด็กเขาสนใจเช่นเวลา

สอนท่านักรบผู้ใหญ่เราบอกท่าให้ทุกคนเอาขาหน้าวางงอเข่า

ขาหลังตรงวางเท้าลงยกมือขึ้นแล้วทำไปแต่ถ้าเป็นเด็ก

เขาจะถามว่าทำไมต้องอเข่ายกเว้นแต่เป็นเด็กที่เชื่อฟังคำสั่ง

แล้วผู้ใหญ่ให้ทำตามแบบเซ็งๆว่าเสร็จยังจบยังอันนี้สำหรับ

เด็กเล็กความยากคือว่าแล้วจะสอนยังไงแต่สำหรับพรีทีน

11-12ปียังพอคุยได้ว่าท่านี้ทำให้ร่างกายแข็งแรงมันจะหลอก

ไม่ได้แล้วบางทีมันจะอยู่กึ่งๆอาจจะพูดแบบเด็กๆได้บ้าง

หลอกแบบไร้สาระไม่ได้แล้วแต่กลุ่มเด็กเล็กทุกอย่างจะต้อง

เป็นเป็นเกมจะต้องมีเนื้อหาสนุกที่จะดึงให้เขาเล่นด้วย

ทำไมจะต้องแบ่งโยคะเด็กออกไปจากโยคะทั่วไป เพราะว่าวิธีการสอนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงถ้าเป็น

เด็กเล็กนะคะแต่ถ้าเป็นเด็กวัยรุ่นยังใกล้เคียงคือถ้าวัยรุ่น

เก๋เองก็คงจะสอนแบบผู้ใหญ่แต่อาจจะใช้ภาษาที่ดูสบายๆ

ไม่เครียดมากแล้วก็เน้นคือเก๋สอนการใช้ชีวิตด้วยถ้าสอนเด็ก

วัยรุ่นก็จะออกไปแนวนั้น

แต่ว่าได้อะไรเยอะมากอย่างน่าประหลาดเก๋ว่าจะได้เรื่องสมาธิ

เยอะกว่าของโยคะคิดส์เขาจะมีเกมหลายอย่างในการเรียก

สมาธิอย่างอันหนึ่งเช่นการฝึกให้เด็กทำศวาสนะด้วยการให้

อาหารนกอันนี้ก็ได้มากจากของเรเดรียนไชลด์

โยคะสำหรับเด็ก คิดว่าเด็กควรจะสัมผัสโยคะตั้งแต่เมือ

ไหร่ ต้องมองแล้วแต่มุมจริงๆที่อเมริกาเขาจะมีโยคะ

ตั้งแต่เบบี้เด็กเล็กๆส่วนใหญ่ก็จะเป็นเบบี้แอนด์มัมก็คือ

แม่เพิ่งคลอดฝึกกับลูกแต่เก๋ไม่ได้เรียนแบบนั้นที่เก๋ไปเรียน

เขาเน้น4ขวบขึ้นไปจนถึงวัยรุ่นแล้วเก๋ก็สอนในแนวนี้4-8ปี

9-13ปีซึ่งเป็นช่วงพรีทีน(ก่อนวัยรุ่น)แล้วก็14ปีขึ้นไปถือว่า

เป็นวัยรุ่นไม่ให้เรียนรวมกันตอนนี้พรีทีนเก๋สอนเป็นไพรเวท

เฉยๆในคลาสที่สอนจะสอนเด็ก4-8ปีเยอะกว่า

คนที่จะมาเรียนมีข้อกำหนดอะไรไหม ก็มาเรียนได้เลยตอนนี้เด็กที่เรียนอยู่ก็มาเรียนกับเก๋

สองปีกว่าแล้วคือเรียนไปเรื่อยๆจะบอกว่าจริงๆเป็นอะไรที่

ทั้งเด็กและพ่อแม่เขาตั้งใจจริงๆเก๋ว่าเด็กเขามีทางเลือกตั้ง

เยอะที่เขาจะไปเรียนอื่นๆพ่อแม่เองก็มีเวลาจำกัดเขาตั้งใจที่

จะมาเรียนอันนี้พ่อแม่เขาต้องคาดว่าจะได้อะไร

ข้อแนะนำอะไรไหมสำหรับพ่อแม่ และข้อควรระวังใน

การพาเด็กไปฝึกโยคะ ก็มาหาครูแล้วก็บอกดูว่าเด็กมีข้อจำกัดอะไรหรือ

เปล่าแล้วก็มีประเด็นอะไรเป็นพิเดศษที่อยากจะให้ครูทราบ

เอาไว้แล้วก็อยู่ที่ครูและสภาพแวดล้อมของคลาสด้วยนอกจาก

นั้นก็ไม่มีอะไรมาก

Page 8: Arunothai issue 4of 2012

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 | 8

สอนเด็กผ่านประสบการณ์เป็นอย่างไร อย่างเช่นฝึกการเอาใจอยู่กับตัวเก๋จะให้เขานอนถ้า

เมื่อไรเขาได้ยินเสียงกระดิ่งให้ยกมือนี่เก๋ไม่ได้สอนเรื่องสมาธิ

เลยนะเพราะว่าไม่มีคำว่าสติไม่มีคำว่าสมาธิเด็กก็จะนอนเล่น

กันตีกันเล่นกันหยอกกันอะไรบ้างอยากตีก็ตีกันไปเก๋จะ

บอกว่าเสียงมาแล้วนะพวกที่คุยก็ยังคุยยังเล่นอยู่แต่ก็จะมี

เด็กบางคนที่ยกมือเร็วหลังจากศวาสนะพอเขายกมือเก๋ก็จะ

พูดโอ้โหคนนั้นยกมือเร็วจังเลยเด็กที่มัวแต่เล่นไม่สนใจก็จะ

เริ่มมองแล้วให้เขาคิดเองในห้องมันจะมีเด็กดีกับเด็กเกเรเรา

ก็จะให้เด็กดีน่ะเป็นคนบอกเด็กเกเรว่าเขาทำได้ยังไงลองบอก

เพื่อนสิเขาก็จะบอกด้วยภาษาที่เขาพูดเองเพื่อนก็จะอ๋อแล้ว

เขาก็จะเริ่มเรียนรู้คลาสที่สองผ่านไปหนึ่งอาทิตย์เขาก็จะเริ่ม

เงียบเพราะกลัวยกมือไม่ทันเพื่อนพอสามคลาสสี่คลาสเด็ก

เริ่มรู้แล้วเอ้าทุกคนจะฟังเสียงกระดิ่งพอได้ยินเสียงกระดิ่ง

จะเงียบกริบเขาก็จะรู้แล้วว่าจะเอาใจไว้ที่ไหนนี่คือตัวอย่าง

ของสติการฟังแต่ก็จะมีสติการมองและเรื่องอื่นๆด้วยสอน

เสร็จแล้วเขาก็จะเริ่มเรียนรู้เริ่มเงียบกลัวยกมือไม่ทันเพื่อน

3-4คลาสผ่านไปเด็กเริ่มรู้แล้วทุกคนฟังเสียงกระดิ่งเอาใจ

ไว้ที่ไหนเอาใจไว้ที่หูนี่คือตัวอย่างเรื่องการฝึกสติจากการการ

ฟังก็จะมีสติอื่นๆที่เก๋บอกว่าใช้ประสบการณ์อย่างฝึก

ศวาสนะให้เด็กด้วยการให้อาหารนกเก๋จะให้เด็กนอนแล้วบอก

ว่าเราจะให้อาหารนกกันให้เขานอนหงายลงแล้วก็จะบอกเมนู

ว่าวันนี้เมนูให้นกได้แก่ข้าวกล้องแล้วก็มีสีด้วยนะเช่น

ข้าวโพดสีแดงสีเหลืองสีขาวแล้วก็ทำเป็นเอาไปวางที่มือ

แล้วส่วนใหญ่ที่พบเด็กที่มาเรียนมาเองหรือพ่อแม่อยาก

ให้มาเรียน เด็กมาเรียนเก๋จะให้ทดลองเรียนก่อนแล้วพ่อแม่เขา

จะถามว่าอยากเรียนไหมเก๋ไม่แนะนำให้พ่อแม่บังคับเด็ก

เพราะเก๋มองว่าเด็กมาเล่นโยคะเพื่อให้มีความสุขคือถ้าเด็กทำ

กิจกรรมอื่นๆแล้วมีความสุขอยู่แล้วไม่ต้องมาเรียนก็ได้อันนี้

ไม่ได้หมายความว่าให้เด็กมีปัญหาเท่านั้นมาเรียนแต่หมายถึง

ว่าอะไรที่เด็กมีความสุขให้เด็กทำตรงนั้นเลยแต่ถ้าทดลอง

เรียนแล้วถามเด็กว่าอยากเรียนไหมแต่ส่วนใหญ่เด็กก็จะ

อยากเรียนมาแล้วก็จะอยากเรียนแล้วก็อยู่กับพ่อแม่ด้วยว่า

อยากจะให้ลูกเรียนอะไรยังไงพอใจกับผลไหมเพราะว่าเรียน

ตรงนี้มันระยะยาวคือถ้าพ่อแม่คิดว่าให้ลูกเรียนสองเดือนแล้ว

จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอันนี้เก๋จะไม่รับประกันอาจจะไม่

ได้บรรลุวัตถุประสงค์ของพ่อแม่

ของเขาบอกว่านกจะมากินอาหารที่มือแต่ว่านกนี่เขาจะกลัว

เด็กที่เสียงดังคือถ้าหนูจุ๊กจิ๊กๆนกเขาจะไม่มากินอาหารที่มือ

น้องก็เลยนอนกันนิ่งเลยนะนี่คือเด็กเล็ก4-8ปีก็จะแกล้ง

เหมือนเอาอาหารมาวางแปะที่มือด้วยการออกแรงกดที่มือ

เบาๆนิดหนึ่งให้เขารู้ว่าอันนี้คือสิ่งที่ใจเขาจะต้องจดจ่อมาที่มือ

มีสีเหลืองสีแดงสีขาวนกจะกลัวเด็กที่เสียงดังถ้าหนูจุกจิกๆ

นกจะไม่มากินอาหารแล้วเราก็วางอาหารบนมือเอาไปแตะที่

มือให้เขารู้ว่าสิ่งที่ก็คือว่าจะกดนิดนึงพอเด็กๆนอนลงก็จะ

บอกเขาว่าเริ่มเห็นนกมาแล้วหนึ่งตัวสองตัวหนูดูนะว่าเห็นนก

สีอะไรกี่ตัวแล้วใจเขาก็จะอยู่กับจินตนาการแล้วใจก็อยู่กับ

ความคิดก็คือให้เขาอยู่กับตัวเองเราก็บอกว่าดูสิว่านกกิน

อาหารหมดหรือยังเขาก็จะเอาใจไปอยู่ที่มือแล้วเขาก็จะเริ่ม

นิ่งบางทีก็จะถามว่าวันนี้จะเอาอะไรให้นกกินให้เขาคิดเอง

เหมือนว่าการสอนโยคะเด็กนี่ไม่ได้อยู่กับความเงียบเลย

ใช่ไหม โอ้โหคือจะต้องพูด95เปอร์เซ็นต์เหนื่อยมากคือ

แบบจับปูใส่กระด้งคือนอกจากพูดสอนแล้วยังจะต้องคอยห้าม

เวลาเขาแกล้งเพื่อนก็จะต้องดึงเขากลับมาคือพูดนอกรอบด้ว

ยแล้วก็ต้องพูดการสอนด้วย

เคยเบื่อไหม มันไม่มีเวลาเบื่อค่ะ(หัวเราะ)

Page 9: Arunothai issue 4of 2012

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 | 9

สำหรับคนที่สนใจอยากจะเป็นครูสอนโยคะเด็ก มีคำ

แนะนำอย่างไรหรือฝึกฝนอย่างไร เรียนอะไรโดยเฉพาะ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลหลักสูตรครูสอนโยคะเด็กใน

ประเทศไทยส่วนตัวเก๋เองได้จัดทำหลักสูตรครูสอนโยคะเด็ก

ขั้นพื้นฐาน3ชั่วโมง(BudharasYogaforKidsTeacher

Training–Foundationprogram,BYKT)เพื่อให้ครูโยคะที่

สนใจจะสอนเด็กได้เห็นภาพรวมของการสอนเข้าใจหลักการ

ได้รับชุดการสอนเพื่อไปเริ่มต้นและได้ฝึกคิดท่าเองทั้งนี้เพื่อ

นำไปประยุกต์เข้ากับรูปแบบการสอนเฉพาะตัวของตัวเองต่อ

ไปสำหรับในต่างประเทศให้ลองดูเว็บไซต์www.yogakids.

comซึ่งมีครูที่ผ่านการรับรองสอนอยู่ทั่วโลกคาดว่ามีบางแห่ง

ในภูมิภาคเอเชียใกล้บ้านเราที่สามารถไปเรียนได้ผู้ที่อยากเป็น

ครูโยคะเด็กควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร

สิ่งที่สำคัญคือมีความอดทนมีเมตตาต่อเด็กและมีจุด

ประสงค์ในการสอนอย่างแท้จริงเนื่องจากการสอนโยคะเด็ก

เป็นงานที่เหนื่อยพูดเยอะและอดทนกับพฤติกรรมของเด็กที่

บางครั้งไม่ได้เป็นอย่างที่เราต้องการและต้องพัฒนาปรับ

เปลี่ยนการสอนตลอดเวลาหากขาดสิ่งนี้ถึงแม้ว่าจะมีความรู้

ในการสอนเพียงใดเกรงว่าจะทำให้ถอดใจกลางทางไปก่อน

สำหรับเรื่องอื่นๆที่จะช่วยงานสอนคือความคิดสร้างสรรค์

เพราะเราต้องสามารถประยุกต์เนื้อหาที่ต้องการสื่อให้เด็กออก

มาอยู่ในรูปแบบที่เด็กสนใจเช่นนิทานเกมส์ซึ่งทำให้การ

สอนของเราไม่มีขอบเขตและปรับให้เหมาะกับพฤติกรรมเด็ก

แบบต่างๆ

ได้ค่ายโยคะครอบครัวปีนี้เป็นครั้งที่สองแล้วมีความตั้งใจ

อย่างไร จริงๆคิดแค่ว่าอยากจะปลูกฝังเด็กไม่ได้คิดถึง

ครอบครัวการที่มาเป็นโยคะครอบครัวเหมือนทุกวันนี้ไม่ได้คิด

เพิ่งจะมีความคิดในเรื่องโยคะสำหรับครอบครัวนี้ในช่วงสองปีที่

ผ่านมาจุดประสงค์ก็คืออยากให้พ่อแม่มีความพร้อมในการ

ดูแลลูกเราสอนโยคะเด็กปลูกฝังสิ่งต่างๆอาทิตย์ละครั้ง

สุดท้ายต้องขึ้นกับพ่อแม่ถ้าจะปลูกฝังจริงๆยังไงต้องพ่อแม่

พ่อแม่ต้องพร้อมทางด้านจิตใจคือเก๋มองว่าถ้าพ่อแม่มีพลังงาน

ที่ดีเด็กเขาจะได้รับพลังงานดีๆไปจากพ่อแม่ก็พยายามปลูก

ฝังอยากจะให้พ่อแม่มีความสุขในระดับที่ทำได้โยคะสำหรับ

พ่อแม่ก็จะเป็นเรื่องของการรักษาพลังงานดีๆเพื่อส่งผ่านไป

ให้ลูกกับการมองลูกอย่างเข้าใจกับการคาดหวังส่วนของเด็ก

เก๋ก็ยังเน้นเรื่องของการปลูกฝังทำให้เด็กเขาเรียนรู้จาก

ประสบการณ์แล้วค่อยเอาคำพูดตามมาให้เขารู้จักนามธรรม

แล้วค่อยเอารูปธรรมหรือคำพูดเก๋เริ่มเห็นว่าเด็กเขาเข้าใจเก๋

เพิ่งเริ่มต้นสอนเด็กมาได้สามปีเด็กรุ่นแรกเพิ่งเห็นว่าเขาเก็ท

แล้วก็เห็นว่ามันสำคัญนะทุกอย่างเราไม่รู้มันจะต้องพิสูจน์

Page 10: Arunothai issue 4of 2012

อิทธิฤทธิ์ประคำทอง:เรื่อง

ภาพคัดลอกจาก(Photo:Thanksto)http://www.travelblog.org/Asia/India/Karnataka/Mysore/blog-698706.html

ประภาการ์หรือ“ประโภ”เพื่อนร่วมคลาสและเป็นเหมือนรูมเมทของผมที่อาศรมศิวนันทะที่เนยาร์แดมเมืองตรีวันดรัม

อาจจะรู้สึกงงงวยเล็กน้อยว่าผมจะอยากไป“ที่นั่น”ทำไมขณะที่มีเวลาสั้นๆเพียงเท่านี้แม้จะไม่ได้พูดออกมาดังๆ

(ให้ผมเสียน้ำใจ)แต่ผมคิดว่าในใจเขาคงจะพูดว่า“ใครๆเขาก็ไป‘มัยซอร์’กันเป็นเดือนๆด้วยกันทั้งนั้น”

ช่างโชคร้ายในความโชคดีที่หลังจากจบการเรียนหลักสูตรครูโยคะที่เนยาร์แดมเสร็จแล้วผมบังเกิดความรู้สึกกำเริบ

เสิบสานขึ้นมาว่าอย่างไรเสียก่อนกลับบ้านก็อยากจะไปให้ถึง“มัยซอร์”(Mysore)ให้จงได้เพราะไหนๆก็ลงทุนลงแรงเดิน

ทางมาถึงถิ่นอินเดียแล้วเดินทางต่อไปอีกหน่อยจะเป็นไรจะได้ไม่ต้องเสียเที่ยวตีตั๋วเครื่องบินกลับมาอีกเวลาที่นึกขึ้นมาว่า

อยากจะไปเห็น(และเที่ยว)มัยซอร์ในวันข้างหน้า

เวลาในตอนนั้นที่ผมมีคือประมาณสิบวันและได้“ประโภ”นั่นเองเป็นคนแนะนำและช่วยติดต่อหาที่ฝึกโยคะในเมืองมัย

ซอร์ให้...ใช่แล้วครับใครๆที่นึกถึงมัยซอร์ก็มักจะนึกถึงการไปเพื่อไปฝึกโยคะที่เมืองนี้กันทั้งนั้น

ประโภแนะนำผมว่าน่าจะไปฝึกมัยซอร์กับครูโยคะที่เขารู้จักคนหนึ่งชื่อ“อะเจย์”(AjayKumar)ซึ่งเขาจะเป็นคนติด

ต่อสอบถามให้ผมก่อนว่าพอจะมีที่ว่างให้นักเรียนนอกคอกผู้มีเวลาน้อยแค่ไม่ถึงครึ่งเดือนขอเข้าไปฝึกด้วยที่“ศาลา”(Shala)

ของครูอะเจย์ด้วยจะได้หรือไม่

หลังจากประโภติดต่อให้ไปแล้วเขาก็บอกว่าอย่างไรเสียผมก็น่าจะได้โทรไปพูดคุยกับครูเองเผื่อจะสอบถามอะไรหรือได้รู้

คำตอบด้วยตัวเองว่าจะพอแทรกตัวเข้าไปฝึกในศาลาของครูอะเจย์ได้หรือไม่นั่นเป็นเหตุผลที่ผมจะต้องไปเฝ้าวนเวียน

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 | 10

เวลาอันอเนกอนันต์ณมัยซอร์

Page 11: Arunothai issue 4of 2012

แถวบู้ทโทรศัพท์ของอาศรมที่เนยาร์แดมในทุกขณะที่มีเวลาว่างจากการเรียน การฝึกและทำกิจกรรมให้อาศรม(กรรมโยคะ)

และต้องฝ่าฟันกับแถวต่อคิวยาวเหยียดของผู้คนในอาศรมที่กระหายการติดต่อกับโลกภายนอก

“นายมาเรียนได้ถ้าหากว่ายอมที่จะเข้าฝึกในคลาสตอนตีห้าตกลงไหม”ปลายทางของสายโทรศัพท์ที่มัยซอร์คือน้ำเสียงของ

“อะเจย์”ที่ผมได้ยินเป็นครั้งแรกแต่ยังคาดเดาไม่ออกว่าเขาจะเป็นชายในวัยใดได้แต่นึกไปก่อนว่าจากการที่ทั้งประโภและนิเลศ

(เพื่อนชาวอินเดียที่อาศรมฯซึ่งรู้จักอะเจย์ทั้งยังเคยไปช่วยอะเจย์สอน)เป็นผู้แนะนำผมบอกว่าอะเจย์เป็นครูอัษฎางคะโยคะ

สไตล์มัยซอรที่ได้รับการยอมรับที่สุดคนหนึ่งตอนนี้ผมเองก็คิดว่าเขาเองน่าจะมีอาวุโสมากไม่น้อย

ต้นเดือนที่สองของปี2553ผมลากกระเป๋าแบกเป้หลังใบเขื่องนั่งรถไฟตอนกลางคืนเพื่อจะไปถึงรุ่งเช้าที่เมืองบังกาลอร์

(ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการตอนนี้คือเมืองBengaluru)เมืองใหญ่ที่ใกล้ที่สุดกับมัยซอร์ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง140กิโลเมตรและ

ผมก็จับรถไฟเที่ยวแรกในตอนเช้าวันนั้นแบกเป้หลังย่อมๆอีกใบหนึ่ง(ที่เหลือผมเช่าล็อกเกอร์เก็บกระเป๋าเอาไว้ที่สถานีรถไฟ

บังกาลอร์นั่นเอง)ใช้เวลาเดินทางแค่ชั่วนั่งเพลินๆไม่กี่ชั่วโมงด้วยบริการรถไฟตู้นั่งปรับอากาศแสนสบายผมก็มาถึงมัยซอร์เอา

เมื่อต้นบ่ายของวันเดียวกันจัดการเรียกรถออโต้ริกชอว์หรือรถตุ๊กตุ๊กของอินเดียมุ่งตรงดิ่งไปยัง“ศาลาแปด”(Sthalam8)ของ

อะเจย์ในบัดดลเพื่อรายงานตัวกับครูก่อนว่าแม้จะมีเวลาน้อยในการมาขอเข้าฝึกแต่ผมก็ไม่ได้เบี้ยว(นะคร้าบ)

ถึงจะหง่อมและกรำจากการเดินทางรอนแรมหลายต่อจากตรีวันดรัมมาเมืองโคชินจากโคชินมาบังกาลอร์แล้วค่อยต่อ

รถมาถึงมัยซอร์ในที่สุดแต่สัมผัสแรกของผมที่ได้เห็นเมืองนี้ก็รู้สึกดีทีเดียวและรู้สึกได้ถึงความร่มรื่นไม่พลุกพล่านเป็นเมืองเล็กๆ

ที่น่าอยู่และน่าใช้เวลาดีทีเดียว

พอไปถึงและได้พูดคุยกันสักครู่ผมถึงได้พบว่าครูอะเจย์ในตอนนั้นเป็นแค่เด็กหนุ่มท้องถิ่นอายุอานามประมาณ24

ปีเท่านั้นเองถึงแม้จะยังดูเด็กแต่เขาก็มีรังสีออร่าน่าเชื่อถือเขาได้บอกให้คนที่ศาลาพาผมไปเช็คอินในโรงแรมที่อยู่ไม่ห่างจากที่ฝึก

แค่เพียงสองกิโลเมตรเท่านั้นเหมาะสำหรับการเดินเท้าออกมาฝึกมัยซอร์ในคลาสกับอะเจย์ตอนตีห้าได้(แน่ล่ะว่าผมจะต้องตื่น

และก้าวเท้าออกจากโรงแรมที่พักก่อนเวลาตีห้า!)และบอกว่าพรุ่งนี้เช้าค่อยมาเจอกัน

ศาลาแปดของอะเจย์นั้นแม้จะอยู่ไม่ห่างจากใจกลางเมืองของมัยซอร์นักก็ตามแต่ก็ขยับไกลออกไปจาก

“พระราชวังของมหาราชามัยซอร์”(MysorePalace)ที่เที่ยวอันดับต้นๆและตลาดร้านรวงต่างๆโดยเฉพาะตลาดหลักที่มีชื่อว่า

“เทวราชา”(Devaraja)ตลาดสดและขายสินค้าขนาดใหญ่ที่มีสีสันมากแต่โรงแรมที่ผมพักกลับอยู่ใกล้ที่เที่ยวและย่านใจกลาง

เมืองกว่าแค่เดินเล่นออกไประยะทางไม่เกินหนึ่งหรือสองกิโลเมตรเท่านั้น

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 | 11

รุ่งเช้าอีกวันผมออกเดินจากที่พักตอนตีสี่ครึ่งเมืองทั้งเมือง

ยังเงียบสงัดแต่ไม่ค่อยวังเวงเท่าไรนักอากาศยังคงเย็นเพราะ

เป็นอากาศช่วงต้นปีอยู่แต่เมื่อฝึกมัยซอร์เสร็จตอนประมาณ

เจ็ดโมงเช้าร่างกายกลับแข็งแรงขึ้นและมีพลังอย่างประหลาด

ตอนนั้นผมแอบนึกเสียดายว่าตัวเองจะมีเวลาฝึกโยคะที่เมือง

นี้ไม่กี่วันเมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนคนอื่นๆซึ่ง80เปอร์-

เซ็นต์เป็นฝรั่งผมทองทั้งชายและหญิงมีชาวเอเชียจากญี่ปุ่น

บ้างไต้หวันบ้าง...และมีคนไทยคือผมเพียงคนเดียวซึ่งคนส่วน

ใหญ่ทั้งที่มาเข้าคลาสมัยซอร์หรือเพื่อที่จะเรียนเป็นครูสไตล์

มัยซอร์โยคะมักจะมาเรียนกับอะเจย์หรือที่ศาลาโยคะอื่นๆ

นานหนึ่งเดือนถึงสาม

เดือนเลยทีเดียว สำหรับคนที่มีพื้นฐานในการฝึกโยคะสไตล์Ashtangaมาบ้างคงจะพอคุ้นเคยเคยได้ยินหรือเคยฝึกMysoreYoga

มาบ้างซึ่งจากประสบการณ์ในการฝึกมัยซอร์ของผมที่เมืองไทยและจากอินเดีย(ก็ที่มัยซอร์นั่นแหละครับ)ผมขอเล่าคร่าวๆ

ถึงโยคะรูปแบบนี้ให้ฟัง

Page 12: Arunothai issue 4of 2012

มัยซอร์โยคะ(MysoreYoga)มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและเกี่ยวพันกับคุรุโยคะยุคใหม่ของอินเดียที่ล่วงลับไป

แล้วสองท่านคือท่านกฤษณมาจารย์(SriTirumalaiKrishnamacharya)และท่านศรีภัตตาปิโชอิส(SriKPattabhiJois

AshtangaYogaInstituteที่เมืองมัยซอร์)ท่านกฤษณมาจารย์เป็นครูของท่านศรีปัตตาภิโชอิสและเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนโยคะ

ขึ้นในวังมหาราชามัยซอร์ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในรัฐกรณาฏกะ(Karnataka)เมืองนี้มีภาษาประจำรัฐหรือภาษาถิ่นของ

ตัวเองเช่นเดียวกับหลายๆรัฐของอินเดียคือภาษากันนาดา

แต่มัยซอร์โยคะเป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลกจากการสืบสานหฐโยคะในแบบอัษฎางคโยคะของท่านปัตตาภิโชอิสต่อ

มาจากครูของท่านและทำให้เกิดความสนใจของผู้ฝึกโยคะจากทั่วโลกให้เดินทางมาสู่เมืองเล็กๆทางตอนใต้ของอินเดียแห่งนี้เพื่อ

ให้ได้ชื่อว่า“ได้มาฝึกมัยซอร์กับคุรุจี”แล้ว

โยคะสไตล์มัยซอร์คือโยคะแบบอัษฎางคะโยคะอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะฝึกกันในเวลาเช้าตรู่เท่านั้นและมีรูปแบบการฝึกที่

เปิดโอกาสให้ผู้ฝึกทุกคนจะต้องฝึกโดยการนับลมหายใจในแต่ละท่าอาสนะด้วยตัวเองและปฏิบัติอาสนะไล่เรียงไปในซีรีส์ที่ฝึก

ด้วยตนเองโดยที่ครูผู้สอนจะไม่ได้ทำหน้าที่“สอน”โดยการบอกวิธีการฝึกหรือการเข้าสู่อาสนะแต่ครูจะทำหน้าที่คอยดูแล

ช่วยเหลือและช่วยปรับจัดท่าของผู้ฝึกแต่ละคนเพื่อให้เข้าสู่อาสนะได้ลึกขึ้นหรือทำได้ถูกต้องยิ่งขึ้นเสน่ห์ที่ทำให้มัยซอร์โยคะ

เป็นที่นิยมฝึกนั้นผมเองคิดว่าเป็นเรื่องของผลจากสมาธิที่ได้จากการฝึกจากการจดจ่อในท่าอาสนะที่ตัวเองจะต้องทำและการ

นับลมหายใจขณะอยู่ในท่านั้นๆด้วยตนเอง

ในห้องฝึกมัยซอร์โยคะที่ผมฝึกที่“ศาลาแปด”ของครูอะเจย์เองนั้นเป็นบ้านสไตล์อินเดียประยุกต์ในลักษณะบ้านเดี่ยว

สองชั้นชั้นบนเป็นห้องฝึกที่ไม่กว้างนัก(ถึงกระนั้นพวกเราก็ยังแออัดยัดทะนานกันเข้าไปฝึกได้รอบละเกือบ20คน!)มีพื้นที่โล่ง

ในบรรยากาศสบายๆเอาไว้ให้นั่งเล่นพูดคุยกันกินขนมอ่านหนังสือหรือสั่งเครื่องดื่มพวกจัย(ชาอินเดีย)มาจิบได้เมื่อฝึกเสร็จ

แล้ว

เวลาอันอเนกอนันต์ที่มัยซอร์ของผมนั้นเกิดขึ้นจากเมื่อฝึกโยคะจากการดุ่มเดินออกจากโรงแรมตอนตีสี่นิดๆเข้าสู่ห้อง

ฝึกสองชั่วโมงโดยประมาณตอนตีห้าถึงเจ็ดโมงเช้าเมื่อฝึกเสร็จก็จะค่อยๆเดินเตร็ดเตร่แวะซื้อโยเกิร์ตสด(ราคาถูกมากเพราะที่

อินเดียนิยมกินโยเกิร์ตจากนมวัวและนมกระบือเป็นหนึ่งในมื้ออาหารของพวกเขา)และแวะจิบชาถ้วยเล็กๆสนนราคาเพียง

แก้วละ3รูปีก่อนจะเดินกลับไปพักเอาแรงที่ห้องพอสายๆค่อยย่างกรายออกไปเดินเที่ยวในเมืองและไปชมสถานที่ท่องเที่ยว

สำคัญๆในเมืองมัยซอร์ไม่ว่าจะเป็นตลาดสดที่เปี่ยมด้วยสีสันของข้าวของดอกไม้ผลไม้กระทั่งผู้คนท้องถิ่นจำนวนมากที่มาซื้อ

หาข้าวของที่ตลาดเทวราชากันทั้งวี่วันหรือไม่ก็ไปเที่ยวชมพระราชวังมัยซอร์ที่ยังคงยิ่งใหญ่และงดงามน่าสัมผัสแต่ส่วนมาก

แล้วผมมักจะวนเวียนอยู่ตามร้านกาแฟร่วมสมัยยี่ห้อท้องถิ่นของอินเดียเองไม่ว่าจะเป็นร้านCaféCoffeeDayหรือBarista

ในตัวเมืองเสียมากกว่า

แม้ไม่สามารถจะติดต่อเพื่อเข้าฝึกที่สถาบันมัยซอร์โยคะของคุรุจีปัตตาภิโชอิสก็ตามผมเองก็ถือโอกาสไปเยี่ยมชมศาลา

ของท่านและบรรยากาศแถวๆย่านที่ตั้งของโยคะศาลาของท่านซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองออกไปหลายกิโลเมตรโดยเดินทางไป

ด้วยรถออโต้ริวกชอว์ย่านนั้นเรียกว่าย่านGokulamมีบรรยากาศสบายๆไม่แออัดเต็มไปด้วยบ้านพักอาศัยที่ดูเหมือนบ้านคน

ที่มีฐานะดีส่วนศาลาของคุรุจีนั้นก็ดูยิ่งใหญ่และมีขนาดใหญ่กว่าศาลาที่ผมฝึกอยู่มากทีเดียว

นอกจากการเดินเล่นในเมืองแวะชมตลาดซื้อผลไม้หรือหาขนมหวานท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อระดับประเทศขนานแท้ของมัยซอร์

กินเล่นไปชมวังทั้งในตอนกลางวันและตอนกลางคืนที่มีการประดับแสงไฟสวยงามผมยังชอบที่จะนั่งรถประจำทางออกไปที่

ภูเขาลูกหนึ่งที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของที่นี่เรียกว่าChamundiHillsรถเมล์ท้องถิ่นจะค่อยๆแล่นพาเราออกนอกเมืองไปทาง

ทิศตะวันออกวนเวียนไต่เขาขึ้นไปด้วยระยะทาง12กิโลเมตรซึ่งพอไปถึงบนยอดเขาที่ไม่สูงมากเท่าไรนักก็ไม่ได้มีกิจกรรมอะไร

มากไปกว่าการไปไหว้พระในวัดฮินดูและการเดินเล่นหรือไม่ก็นั่งลงชมวิวของตัวเมืองที่มองเห็นอยู่วิบๆจากนั้นก็ค่อยนั่งรถกลับ

ลงมาเตรียมตัวพักเพื่อที่จะตื่นแต่เช้าเดินเข้าห้องฝึกโยคะอีกครั้งตอนเช้ามืดเวลาและกิจวัตรหมุนวนเป็นเช่นนี้ตลอดช่วงอยู่ที่

นั่นจนดูเหมือนว่าระยะเวลา24ชั่วโมงในหนึ่งวันที่มัยซอร์ถูกดึงยืดขยายออก...ให้นานขึ้น...เป็นเวลาอเนกอนันต์ที่ไม่รู้กาลจบลง

• เว็บไซต์“ศาลาแปด”ของอะเจย ์www.sthalam8.com

• EverythingaboutMysore!ดูได้ที่เว็บไซต ์www.mysore.ind.in

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 | 12