16
วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ) ปีท6 ฉบับที2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559 1 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มี อิทธิพลต่อสภาพการบริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ A LINEAR STRUCTURAL EQUATION MODEL OF FACTORS INFLUENCING EDUCATIONAL ADMINISTRATION OF DISTRICT NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION CENTRE พล ศรีกัลยา 1* ช่อเพชร เบ้าเงิน 1 และดิศกุล เกษมสวัสดิ2 Phon Srikanlaya, Chopetc Boutngern and Disakul Kasemsawas บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้าง เชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอาเภอ ประชากร คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ จานวน 927 แห่ง จาก 77 จังหวัด กลุ่มตัวอย่าง ใช้สถานศึกษาเป็นหน่วยวิเคราะห์ กาหนดขนาด กลุ่มตัวอย่าง จานวน 280 แห่ง ใช้สูตรของ ทาโร่ เยมาเน่ ผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร จานวน 280 คน ครู จานวน 560 คน รวม 840 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ของ ลิเคิร์ต มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.9 5 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์รูปแบบ โดยโปรแกรมสาเร็จรูป เพื่อตรวจสอบความสอดคล้อง ระหว่างรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหาร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ มีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ ( 2 = 183.55, df = 158, P-value = 0.05, GFI = 0.97, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.01) เรียงลาดับค่าอิทธิพลขององค์ประกอบจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ สมรรถนะขององค์การ การวางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ และภาวะผู้นาของผู้บริหาร มีผลทางตรงกับสภาพการบริหาร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ คาสาคัญ: รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น การบริหาร ศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ ____________________________________ 1 สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2 สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สานักงานปลัดกระทรวงศึกษา * ผู้นิพนธ์ประสานงาน Email: [email protected]

ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

1

ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบท่ีมีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารสถานศึกษา สังกัดส านักงานส่งเสริม

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ

A LINEAR STRUCTURAL EQUATION MODEL OF FACTORS INFLUENCING EDUCATIONAL ADMINISTRATION OF DISTRICT NON-FORMAL

AND INFORMAL EDUCATION CENTRE

พล ศรีกัลยา1* ช่อเพชร เบ้าเงิน1 และดิศกุล เกษมสวสัดิ์2

Phon Srikanlaya, Chopetc Boutngern and Disakul Kasemsawas

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เ พ่ือตรวจสอบและยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้าง เชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอ าเภอ ประชากร คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเ ภอ จ านวน 927 แห่ง จาก 77 จังหวัด กลุ่มตัวอย่าง ใช้สถานศึกษาเป็นหน่วยวิเคราะห์ ก าหนดขนาด กลุ่มตัวอย่าง จ านวน 280 แห่ง ใช้สูตรของ ทาโร่ เยมาเน่ ผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร จ านวน 280 คน ครู จ านวน 560 คน รวม 840 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ของ ลิเคิร์ต มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยการหาค่าสถิติ พ้ืนฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์รูปแบบ โดยโปรแกรมส าเร็จรูป เพ่ือตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์ก า ร ศึกษ าน อกร ะบ บ แล ะก า รศึกษ า ตามอัธยาศัยอ าเภอ มีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ (2 = 183.55, df = 158, P-value = 0.05, GFI = 0.97, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.01) เรียงล าดับค่าอิทธิพลขององค์ประกอบจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ สมรรถนะขององค์การ การวางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ และภาวะผู้น าของผู้บริหาร มีผลทางตรงกับสภาพการบริหาร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ

ค าส าคัญ: รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น การบริหาร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ

____________________________________ 1สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลยัราชภฏัวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ ์ 2ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษา *ผู้นิพนธ์ประสานงาน Email: [email protected]

Page 2: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

2

ABSTRACT This research purposes were to 1) examine and determine the linear relationship structural model of factors influencing the Educational Administration of District Non-Formal and Informal Education Centres. The population was 927 District Non-Formal and Informal Education Centres in 77 provinces. The sample consisted of 280 District Non-Formal and Informal Education Centres which included 280 administrators and 560 teachers selected by using Taro Yamane’s multi-stage random sampling. The research tool was Likert’s five-point-rating scale questionnaire, with a reliability of 0.95. The data were analyzed by using descriptive statistics, percentage, mean and standard deviation. The model was analyzed by computer program to find the accordance between the hypothesis model and the empirical data. The research results were as follows: The model of factors influencing the Educational Administration of District Non-Formal and Informal Education Centres was valid and well fitted to empirical data at the acceptable levels (2 = 183.55, df = 158, P-value = 0.05, GFI = 0.97, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.01) which were ranked from the highest to the lowest relationship as follows: competency, strategy planning, learning organization and administrator leadership and direct effects on the Educational Administration of District Non-Formal and Informal Education Centres. Keywords: Linear Structural Equation Model, Administration, District Non-Formal and

Informal Education Centre บทน า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐบาลรัฐสภาต่างมีอุดมการณ์และหลักการการจัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้ และเพ่ือให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษา พัฒนาคนได้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจความรู้ที่พึงประสงค์ มาตรฐานการศึกษาของชาติก าหนดไว้ว่า อุดมการณ์ส าคัญของการจัดการศึกษาคือ การจัดให้มีการศึกษาตลอดชีวิต และการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การศึกษาท่ีสร้างคุณภาพชีวิตและสังคมบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรม เป็นการศึกษาตลอดชีวิตเพ่ือคนไทยทั้งปวง มุ่งสร้างพ้ืนฐานที่ดีในวัยเด็ก ปลูกฝังความเป็นสมาชิกท่ีดีของสังคมตั้งแต่วัยการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน และพัฒนาความรู้ความสามารถเพ่ือการท างานที่มีคุณภาพ โดยให้สังคมทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบอย่างมั่นใจว่า การศึกษา

Page 3: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

3

เป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคม เป็นปัจจัยส าคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สามารถพ่ึงตนเองและพ่ึงกันเองได้ และสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ และมาตรฐานชาติ มี 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและ พลโลก คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข เป้าหมายของการจัดการศึกษาอยู่ที่การพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็น คนเก่ง คนดี และมีความสุข โดยมีการพัฒนาที่เหมาะสมกับช่วงวัย พัฒนาคนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ตรงตามความต้องการ ทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และทักษะ คุณธรรมและจิตส านึกที่พึงประสงค์ และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข มาตรฐานที่ 2 แนวการจัดการศึกษา จัดการเรียนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นส าคัญและการบริหารโดยใช้สถานศึกษา เป็นฐาน การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ ผู้เรียนเห็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิด ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตรงตามความต้องการ และมีความสุขในการเรียนรู้ ครู คณาจารย์รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล เตรียมการสอนและใช้สื่อที่ผสมผสานความรู้สากลกับ ภูมิปัญญาไทย จัดบรรยากาศเอ้ือต่อการเรียนรู้ จัดหาและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และพัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ ความส าเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญข้ึนอยู่กับ 1) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ผู้เรียน ครู คณาจารย์ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และสมาชิกชุมชน และ 2) ปัจจัยด้านการบริหาร ได้แก่ หลักการบริหารจัดการและหลักธรรมาภิบาล มีการบริหารจัดการที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน องค์กร ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนตามสภาพท้องถิ่น สภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการทางการศึกษาของสถานศึกษา มีการก าหนดระบบประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา เพ่ือน าไปสู่การพัฒนาคุณภาพ และสามารถรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้ มาตรฐานที่ 3 แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคม แห่งความรู้ การสร้างวิถีการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง การเรียนรู้ ความรู้ นวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยส าคัญของการพัฒนาสู่สังคมแห่งความรู้ การส่งเสริมและสร้างกลไกเพ่ือให้คนไทยทุกคนมีโอกาสและทางเลือกที่จะเข้าถึงปัจจัยและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย โดยการได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม จะน ามาซึ่งการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และขีดความสามารถของคนไทยในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการเพ่ิมศักยภาพการแข่งขันของประเทศ (ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2548) ระบบการศึกษาในฐานะที่เป็นกลไกส าคัญในการเตรียมและพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมือง ที่มีคุณภาพ สามารถปรับตัว และแก้ไขปัญหาที่มีความหลากหลายในสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งสามารถริเริ่มพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติให้พัฒนาและก้าวหน้าไปได้อย่างมีหลักการบนพ้ืนฐานของความเข้าใจและเหตุผลความถูกต้อง ความดีงาม และความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จึงจ าเป็นต้องปรับเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้ทันกับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น วิชาชีพครู ในฐานะฟันเฟืองส าคัญของระบบการศึกษาในการพัฒนาคุณภาพของคนไทยในทุกมิติ จึงทวีความส าคัญมากยิ่ง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2554) กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความส าคัญกับ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ซึ่งมีนโยบายปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ซึ่งมุ่งเน้นการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ที่เอ้ือโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้

Page 4: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

4

ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิตและมีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพ่ือท าให้ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ การปฏิรูปการศึกษารอบที่สอง ได้ให้ความส าคัญกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเท่าเทียมกับการศึกษาในระบบเพราะการศึกษา ทั้งสองรูปแบบดังกล่าวเป็นกลไกส าคัญที่จะท าให้การศึกษาตลอดชีวิตบังเกิดผลขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552) ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ก าหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงานไว้ว่า คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพ เพ่ือการมีงานท าที่มีคุณภาพได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพ่ือให้เกิดสังคมฐานความรู้ การมีอาชีพ และการมีความสามารถเชิงการแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน และพันธกิจไว้ดังนี้ จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพ่ือยกระดับการศึกษา สมรรถนะในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา พัฒนาอาชีพคุณภาพชีวิตและสังคม และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการด าเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเทศอาเซียนเพ่ือผนึกก าลัง ในการพัฒนาคุณภาพของประชากร พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และส่งเสริม การน าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพ่ือให้รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชน และการส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้และการด าเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียนในรูปแบบต่าง ๆ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถด าเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพ่ือส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ (ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2557) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ เป็นสถานศึกษาในราชการ บริหารส่วนกลาง สังกัดส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ท าหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน การศึกษาสายอาชีพ การศึกษาเพ่ือพัฒนาชุมชนและสังคม การศึกษาเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต ห้องสมุดประชาชน (ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2551) ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว มีความจ าเป็นต้องมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิผล ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มี อิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอ าเภอ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ผู้วิจัยได้สร้างองค์ประกอบหลัก 5 ตัว และองค์ประกอบย่อย 21 ตัว สร้างรูปโครงสร้าง และน าไปจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยผู้ เชี่ยวชาญ จ านวน 10 คน ผู้วิจัยได้น า ข้อปรับปรุงตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญสนทนากลุ่ม ได้องค์ประกอบหลัก 5 ตัว คือ ภาวะผู้น าของ

Page 5: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

5

ผู้บริหาร การวางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ สมรรถนะขององค์การ และประสิทธิผลการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ และองค์ประกอบย่อย 21 องค์ประกอบ คือ ภาวะผู้น าทางวิชาการ ภาวะผู้น าเพ่ือการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้น าตามสถานการณ์ การก าหนดพันธกิจ การก าหนดเป้าหมาย การก าหนดกลยุทธ์ การก าหนดแผนงาน การติดตาม และปรับปรุงงาน บุคคลมีความเป็นเลิศ การคิดอย่างเป็นระบบ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม รูปแบบ วิธีคิด การมีวิสัยทัศน์ร่วม โครงสร้างการบริหาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการบริหาร การจัดสภาพแวดล้อม การประสานเครือข่าย การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป เมื่อได้องค์ประกอบจากการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (2559) แล้วผู้วิจัยมีความสนใจที่จะน าองค์ประกอบดังกล่าวมาด าเนินการวิจัยต่อเนื่องเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 840 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จ านวน 280 คน ครู จ านวน 560 คน เพ่ือน ามาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการตรวจสอบและยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น ขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ โดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติให้ได้รูปแบบการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอเพ่ือใช้การบริหารงานของสถานศึกษาต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย เพ่ือตรวจสอบและยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ สมมติฐานของการวิจัย รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตามทฤษฎีระหว่างองค์ประกอบที่มีอิทธิพลกับสภาพการบริหารงานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีด าเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาจากประชากร คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ จ านวน 927 แห่ง จาก 77 จังหวัด 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอ าเภอ จ านวน 280 แห่ง ใช้สูตรของ ทาโร่ เยมาเน่ ผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม 840 คน 2.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ผู้อ านวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ จ านวน 280 คน

Page 6: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

6

2.2 ครูของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ จ านวน 280 แห่ง แห่งละ 2 คน รวมจ านวน 560 คน วิธีด าเนินการวิจัย 1. ด าเนินการสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 2. สร้างแบบสอบถามองค์ประกอบที่ เป็นตัวแปรสังเกตได้ จ านวน 21 ตัวแปร ประกอบด้วย ตัวแปรเหตุ 17 ตัวแปร คือ 1) ภาวะผู้น าทางวิชาการ 2) ภาวะผู้น าเพ่ือการเปลี่ยนแปลง 3) ภาวะผู้น าตามสถานการณ์ 4) การก าหนดพันธกิจ 5) การก าหนดเป้าหมาย 6) การก าหนดกลยุทธ์ 7) การก าหนดแผนงาน 8) การติดตามและปรับปรุงงาน 9) บุคคลมีความเป็นเลิศ 10) การคิดอย่างเป็นระบบ 11) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 12) รูปแบบวิธีคิด 13) การมีวิสัยทัศน์ร่วม 14) โครงสร้างการบริหาร 15) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการบริหาร 16) การจัดสภาพแวดล้อม 17) การประสานเครือข่าย และตัวแปรผล 4 ตัวแปร คือ 1) การบริหารงานวิชาการ 2) การบริหารงานงบประมาณ 3) การบริหารงานบุคคล 4) การบริหารทั่วไป 3. น าแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปหาความเที่ยงตรงของเนื้อหาเป็นการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างค าถามกับค านิยามศัพท์ วิเคราะห์ด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Congruence: IOC) เพ่ือดูข้อค าถามเป็นรายข้อ โดยผู้วิจัยน าแบบสอบถามที่ได้สร้างและพัฒนาขึ้น ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จ านวน 5 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 4. น าแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงและพัฒนาตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาไปทดลองกับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอ าเภอ 20 แห่ง ประกอบด้วย ผู้บริหาร จ านวน 20 คน ครู จ านวน 40 คน รวม 60 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จ านวน 60 ฉบับ และน ามาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือด้วยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบัค (Cronbach Alpha Coefficient) 5. น าแบบสอบถามในการวิจัยส่งให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามและส่งกลับคืนมา เพ่ือด าเนินการวิจัยต่อไป 6. น าแบบสอบถามที่ เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ เพ่ือตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบทางทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัย จากการวิจัย เรื่อง รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพล ต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ได้น าผลมาเสนอ เป็นประเด็น ดังนี้ ตรวจสอบและยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ 1. ผลการวิเคราะห์ความถี่และร้อยละของข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้บริหารและครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Page 7: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

7

อ าเภอ จ านวน 840 คน เพศชาย ร้อยละ 36.78 และเพศหญิง ร้อยละ 63.22 ต าแหน่ง ผู้อ านวยการสถานศึกษา ร้อยละ 28.22 ครู ร้อยละ 71.78 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 70.17 ปริญญาโท ร้อยละ 28.22 และปริญญาเอก ร้อยละ 1.07 2. ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ และความโด่งของ ตัวแปรสังเกตได้แต่ละองค์ประกอบพบว่า อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ เมื่อพิจารณาความเบ้ และค่าความโด่ง พบว่า ส่วนใหญ่มีค่าใกล้เคียงกับศูนย์ แสดงว่าการแจกแจงข้อมูลมีลักษณะเข้าใกล้ การแจกแจงปกติ (Normal Curve) 3. ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวของตัวแปรแฝงด้านภาวะผู้น าของผู้บริหารด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านสมรรถนะขององค์การ และด้านสภาพการบริหาร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.52 ถึง 0.88 ซึ่งคู่ท่ีมีความสัมพันธ์กันสูงสุด 3 ล าดับ คือ ตัวแปรสังเกตได้การบริหารงานวิชาการกับการบริหารงานบุคลากร ตัวแปรสังเกตได้ การบริหารงานบุคลากรกับการบริหารงานทั่วไป และตัวแปรสังเกตได้ภาวะผู้น าเพ่ือการเปลี่ยนแปลงกับภาวะผู้น าตามสถานการณ์ โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.88, 0.87 และ 0.85 ตามล าดับ ส่วนคู่ที่มีค่าความสัมพันธ์กันน้อยที่สุด คือ ตัวแปรสังเกตได้ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกับการบริหารทั่วไป 0.52 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ของตัวแปรแฝงด้านภาวะผู้น าของผู้บริหาร ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านสมรรถนะขององค์การ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรสังเกตได้ของสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.52 ถึง 0.84 ซึ่งคู่ท่ีมีค่าความสหสัมพันธ์สูงสุด 3 ล าดับแรก คือ ตัวแปรสังเกตได้โครงสร้างการบริหารกับการบริหารงานบุคลากร ตัวแปรสังเกตได้การประสานเครือข่ายกับ การบริหารงานวิชาการ ตัวแปรสังเกตได้การจัดสภาพแวดล้อมกับการบริหารงานบุคลากร และตัวแปรสังเกตได้ การจัดการสภาพแวดล้อมกับการบริหารงานวิชาการ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.84, 0.83 และ 0.82 ตามล าดับ คู่ที่มีค่าความสัมพันธ์ต่ าสุด คือ ตัวแปรสังเกตได้การมีวิสัยทัศน์ร่วมกับ การบริหารงานทั่วไป 0.52 4. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ซึ่งวิเคราะห์โดยภาพรวม ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ X = 183.55, P = 0.05, df = 158, RMSEA = 0.01, GFI = 0.96, AGF = 0.97, SRMR = 0.01 ซึ่งหมายความว่า โมเดลที่สร้างขึ้นสามารถอธิบายสภาพ การบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอได้ ตามตารางท่ี 1

Page 8: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

8

ตารางท่ี 1 ค่าดัชนีความกลมกลืนและดัชนีเปรียบเทียบของโมเดลสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ

ดัชนี เกณฑ์ ค่าสถิติในโมเดล

2 ไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ

หรือสัดส่วน 2/ df ไม่เกิน 2 2 ที ่df 158 เท่ากับ 183.55 (p = .05)

GFI มากกว่า 0.90 0.97 AGFI มากกว่า 0.90 0.96

RMSEA น้อยกว่า 0.08 0.01 SRMR น้อยกว่า 0.05 0.01

5. ผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงกับสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ องค์ประกอบด้านสมรรถนะขององค์การ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ องค์ประกอบด้านพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ภาวะผู้น าของผู้บริหาร มีอิทธิพลทางตรงเป็นบวกเท่ากับ 0.93, 0.27, 0.25 และ 0.19 ตามล าดับ 6. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบด้านภาวะผู้น าของผู้บริหารมีอิทธิพลทางตรงกับองค์ประกอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ และด้านสมรรถนะขององค์การ มีอิทธิพลทางตรงเป็นบวก 0.95, 0.16 และ 0.07 ตามล าดับ 7. ผลการวิ เคราะห์องค์ประกอบด้านการวางแผนกลยุทธ์มี อิทธิพลทางตรงกับองค์ประกอบด้านพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ และด้านสมรรถนะขององค์การมีอิทธิพลทางตรง เป็นบวก 0.81, และ 0.15 ตามล าดับ 8. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบด้านการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้มีอิทธิพลกับองค์ประกอบด้านสมรรถนะขององค์การมีอิทธิพลทางตรงเป็นบวก 0.74 9. เมื่อพิจารณาอิทธิพลรวมและค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ที่มีต่อสภาพการบริหาร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอมากที่สุด คือ ตัวแปรแฝงสภาพ การบริหารค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์รวมสูงสุด เท่ากับ 0.93 มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์เท่ากับ 0.94 รองลงมาคือ ตัวแปรแฝงการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์รวม เท่ากับ 0.92 มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ เท่ากับ 0.91 ส่วนตัวแปรสมรรถนะขององค์การ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์รวม เท่ากับ 0.89 มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ เท่ากับ 0.91 และตัวแปรแฝงการวางแผนกลยุทธ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์รวม เท่ากับ 0.95 มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์เท่ากับ 0.89 อภิปรายผลการวิจัย จากผลการศึกษา เรื่อง รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อ สภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้น าเสนอประเด็นเพื่อการอภิปรายผลเป็นรายองค์ประกอบในการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น

Page 9: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

9

ขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ตลอดจนน าเสนอรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแต่ละด้านที่มีต่อด้านสภาพการบริหาร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ดังรายละเอียด ดังนี้ ผลการวิจัยสามารถอภิปรายรูปแบบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่มีผลต่อด้านสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ พบว่า โมเดลสมมติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่ดัชนีวัดความกลมกลืนเปรียบเทียบที่ปรับแก้แล้ว (AGFI = 0.96) ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นที่มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับได้ในระดับดีมาก ตามรายละเอียดที่ผู้วิจัยน ามาอภิปราย ดังนี้ 1. องค์ประกอบด้านภาวะผู้น าของผู้บริหาร ส่วนใหญ่ผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอมีภาวะผู้น าทางวิชาการอยู่ในระดับมาก ( X = 4.31) ภาวะผู้น า การเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก (X = 4.29) และภาวะผู้น าตามสถานการณ์อยู่ในระดับมาก ( X = 4.19) เช่นกัน อาจเป็นเพราะว่า ผู้บริหารมีการวางแผนงานร่วมกับครูและสนับสนุน ด้านวิชาการต่าง ๆ พร้อมกับการปรับการท างานในสถานศึกษาได้เหมาะสม และสอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงในสังคม นอกจากนี้ ผู้บริหารยังใช้การบริหารงานให้เหมาะสมตามสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งศึกษาโดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารและมีวิสัยทัศน์ ปรับองค์กร โครงสร้างการบริหารสอดคล้องกับ ประเวส วะสี (2542) ลักษณะของผู้น าทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องเป็นคนฉลาด เห็นแก่ส่วนรวม การติดต่อสื่อสารรู้เรื่องและเป็นที่ยอมรับของสังคม มีใจฝักใฝ่ด้านวิชาการเป็นผู้ทรงปัญญาและตั้งอยู่ในความถูกต้อง Davis & Thomas (1989) ผู้น าทางวิชาการ คือ ผู้ที่มีความสามารถในการน าและบริหารคนให้กระท ากิจกรรมทางด้านวิชาการ ให้บรรลุ ซึ่งจะมีผลต่อการเรียนการสอนของนักเรียน Evans (1988) ผู้น าทางการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยแยกลักษณะการบริหารสถานศึกษา เป็น 3 แบบ คือ แบบผู้ตอบสนอง แบบผู้จัดการ และแบบผู้ริเริ่ม ผลการวิจัย พบว่า สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลต่ ากว่าสถานศึกษาอ่ืน ๆ ผู้บริหารสถานศึกษาจะใช้พฤติกรรมผู้น าทางการเปลี่ยนแปลงแบบตอบสนอง ในขณะที่สถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูง ผู้บริหารสถานศึกษาจะใช้วิธีพฤติกรรม ผู้น าทางการเปลี่ยนแปลงแบบผู้ริเริ่ม Owens (1991) เสนอยุทธวิธีการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา 3 แบบ 1) ยุทธวิธีการเปลี่ยนแปลงแบบมีเหตุผล 2) ยุทธวิธีการใช้อ านาจบังคับ 3) ยุทธวิธีใช้มาตรฐานการศึกษาเป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความเชื่อ Fiedler (1967) ได้น าเสนอต าแหน่งความเป็น ผู้น าเชิงสถานการณ์ที่มีประสิทธิภาพอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการก าหนดสถานการณ์เฉพาะที่จะ ท าให้ผู้น ามีคุณลักษณะที่มีประสิทธิภาพและเกี่ยวข้องกับการพิจารณาถึงปัจจัยสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นมีอิทธิพลและมีผลต่อประสิทธิภาพของผู้น า หรือมีอ านาจท าให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในตัวผู้น า การเป็นผู้น าจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการที่จะประสบผลส าเร็จ ในการเป็นผู้น านั้น ก็ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ Hersey & Blanchard (1993) ทฤษฎีความเป็นผู้น าตามวงจรชีวิต หรือเรียกอีกอย่างว่าความเป็นผู้น าตามสถานการณ์ ได้กล่าวว่า ผู้น าที่มีประสิทธิผลเป็นผลมาจากความเหมาะสมระหว่างรูปแบบของการเป็นผู้น าและความเต็มใจของผู้ตาม ความเต็มใจของผู้ตามจะเพ่ิมขึ้นในช่วงวงจรชีวิตของความสัมพันธ์ของพวกเขากับผู้น า Ivancavich (1977) กล่าวว่า ผู้น าได้ถูกพิจารณาว่าเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญที่สุดที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของ

Page 10: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

10

องค์การ โดยส าหรับผู้บริหารนั้น ภาวะผู้น าได้มุ่งเน้นถึงการท าให้จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ ในกิจกรรมต่าง ๆ ประสบผลส าเร็จและองค์การด าเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ Bass (1985) กล่าวว่า ภาวะผู้น าเป็นกระบวนการที่ส่งผลต่อกิจกรรมกลุ่มที่ส่งผลต่อความส าเร็จขององค์การ 2. องค์ประกอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ ผลการศึกษาพบว่า การก าหนดแผนงาน การติดตามและปรับปรุงงาน การก าหนดภารกิจ การก าหนดกลยุทธ์ การก าหนดจุดมุ่งหมายอยู่ในระดับมาก ( X = 4.30, 4.28, 4.26, 4.25 และ 4.20 ตามล าดับ) อาจเป็นเพราะว่าศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอมีการด าเนินงานดังกล่าวตามระบบประกันคุณภาพการศึกษามาบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ภาพรวมของการวางแผนกลยุทธ์อยู่ในระดับดีสอดคล้องกับแนวคิด เสน่ห์ จุ้ยโต (2551) กลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์ ในวงการทหารเรียกว่า ยุทธศาสตร์ แปลว่า การท าสงครามเพ่ือชัยชนะด้วยการก าหนดยุทธศาสตร์ที่ดี ในทางธุรกิจเรียกว่า กลยุทธ์ แปลว่า การบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศ เป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร เป็นการบริหา ร ที่ก าหนดแนวทางที่ดี บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปกรณ์ ปรียากร (2542) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ไว้ว่าเป็นเข็มทิศน าทางหรือเป็นตัวก าหนดแนวทางไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ โดยการวางแผนกลยุทธ์นับเป็นรากฐานที่ส าคัญ Anthony (1965) กล่าวว่า การวางแผนกลยุทธ์ เป็นกระบวนการในการตัดสินใจเกี่ยวกับการก าหนดวัตถุประสงค์ และการจัดสรรทรัพยากรเพ่ือการบรรลุเป้าหมายขององค์การที่ได้ตั้งไว้ Glueck (1977) ได้ให้ความหมายของ การวางแผนกลยุทธ์ ว่าเป็นแผนซึ่งได้ท าไว้อย่างเป็นมาตรฐาน มีความสมบูรณ์ ง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นการผสมผสานความคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพ่ือให้เป็นหลักประกันว่า การด าเนินกิจกรรม ขององค์การมีประสิทธิภาพจะต้องประสบกับความส าเร็จ Davies & Ellison (1997) กล่าวว่า การวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนเป็นการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบของโรงเรียน และสภาพแวดล้อม ที่เกี่ยวข้อง เพ่ือก าหนดวัตถุประสงค์หลักเชิงกลยุทธ์ เพ่ือให้โรงเรียนสามารถด าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. องค์ประกอบด้านการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ผลการศึกษา พบว่า บุคคล มีความเป็นเลิศ รูปแบบวิธีคิด การมีวิสัยทัศน์ร่วม และการคิดอย่างเป็นระบบ อยู่ในระดับมาก ( X = 4.29, 4.26, 4.26, 4.23 และ 4.20 ตามล าดับ) เป็นเพราะบุคลากรส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาตนเองและเรียนรู้วิธีการท างาน วิธีการสอนใหม่ ๆ โดยเน้นความต้องการของนักศึกษา และชุมชน และยังมีความต้องการที่จะมีอิสระในการจัดการเรียนการสอนของตนเอง เพ่ือพัฒนาสถานศึกษา และให้ความส าคัญกับชุมชน นอกจากนี้ ผู้บริหารให้ความส าคัญกับการสนับสนุน ทางสังคมของครูเป็นอย่างมาก โดยสนับสนุน ช่วยเหลือ รับฟังความคิดเห็น ให้ก าลังใจ ยกย่อง ชมเชยครู และเพ่ือนร่วมงานก็มีความส าคัญในการท างานร่วมกันสอดคล้องกับ Swiering & Wierdsma (1992) กล่าวว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ ไม่เพียงเป็นความสามารถในการเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นความสามารถในการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ต่อไป Bennete & O’Brueb (1994); Marquart (1996); Gephart & Marsick (1996); Luthans (1998); Longworth & Davies (1999); Kaiser (2000)

Page 11: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

11

4. องค์ประกอบด้านสมรรถนะองค์การ ผลการศึกษาพบว่า การประสานเครือข่าย โครงสร้างการบริหาร การจัดการสภาพแวดล้อม และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก ( X = 4.26, 4.24, 4.24 และ 4.21 ตามล าดับ) อาจเป็นเพราะการบริหารตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ส่งผลให้ภาพรวมของสมรรถนะองค์การอยู่ในระดับดี สอดคล้องกับแนวคิดของ กิตติ บุนนาค (2541) ได้เสนอกรอบแนวคิดทางการบริหารองค์การยุคใหม่ ที่จะมีอิทธิพลต่อการแข่งขัน จะต้องมีองค์ประกอบเพ่ือเพ่ิมสมรรถนะองค์การ โดยได้น าเสนอรายละเอียดดังนี้ 1) การลดขั้นตอนการท างาน 2) โครงสร้างการจัดองค์การ ที่มีความคล่องตัว 3) การกระจายอ านาจจะต้องเอ้ืออ านวยต่อการปฏิบัติงานทุกจุดในองค์การ 4) การสื่อสารที่ดีภายในองค์การ 5) การน าเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาใช้ 6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการระดมความคิดภายใต้ขอบเขตที่เหมาะสมรูปแบบการบริหาร 7) ระบบข้อมูลภายในและ จากภายนอกองค์การจะต้องมีคุณภาพและทันเวลาการบริหารงานในองค์การนั้น Boyatzis (1982) ตัวชี้วัดสมรรถนะขององค์การที่เป็นสถานศึกษานั้น สามารถวัดได้จากการที่สถานศึกษามีการจัดการอาคาร สถานที่ ภูมิทัศน์โดยรวมอย่างเป็นระบบและมีการซ่อมบ ารุงรักษาอย่างสม่ าเสมอ ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า สถานศึกษาจะต้องมีการจัดการสภาพแวดล้อมที่เป็นการสร้างสมรรถนะขององค์การ อย่างหนึ่ง 5. สภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ผลการศึกษาพบว่า การบริหารทั่วไป การบริหารบุคลากร การบริหารวิชาการ และการบริหารงบประมาณ อยู่ในระดับดี (X = 4.29, 4.26, 4.24 และ 4.24 ตามล าดับ) เป็นเพราะการบริหารของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอด าเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและตามมาตรฐานการประกันภายใน สอดคล้องกับแนวคิดของ ส านักงานรับรองมาตรฐาน และการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้ก าหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ (ส านักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) , 2554) ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา โดยพิจารณาจาก ผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ 4 ข้อ ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัดส าหรับการศึกษา นอกระบบ ตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของสถานศึกษาในสังกัดส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตัวบ่งชี้ที่ 3.4 ผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา (ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2556) ผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ผลการบริหารจัดการตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการองค์กรด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ และด้านบริหารทั่วไป ครอบคลุมครบถ้วนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานทั่วไป 6. แบบจ าลองโครงสร้างที่เกี่ยวกับรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นเกี่ยวกับ ด้านภาวะผู้น าของผู้บริหาร ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ ด้านสมรรถนะองค์การมีผลโดยตรงกับสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอ าเภอ ด้านภาวะผู้น าของผู้บริหาร ด้านการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนมีผลทางอ้อม

Page 12: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

12

กับสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย จากผลการวิจัยสามารถอภิปรายผลโดย พบว่า แบบจ าลองด้านภาวะผู้น าของผู้บริหาร มีผลทางตรงต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด แบบจ าลองด้านการวางแผน กลยุทธ์มีผลทางตรงต่อสภาพต่อการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดแบบจ าลองโครงสร้างด้านการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้มีผลทางตรงต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดแบบจ าลองโครงสร้าง ด้านสมรรถนะองค์การมีผลทางตรงต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ในการวิจัยครั้งนี้ นอกจากรายละเอียดของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงโครงสร้าง (Path Diagram) แบบจ าลองโครงสร้างรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบ ที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ที่สอดคล้องกับโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐานแล้ว โมเดลรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอที่ได้จากโปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝง ด้านภาวะผู้น าของผู้บริหาร ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ และ ด้านสมรรถนะองค์การ ส่งผลทางตรงกับสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย สรุปได้ตามภาพที่ 1

Page 13: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

13

ภาพที่ 1 เปรียบเทียบโมเดลการวิจัยรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มี

อิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้น และโมเดลการวิจัยรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ

สรุปผลการวิจัย ความตรงของโมเดลรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพล ต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอตามสมมติฐานสอดคล้องกับความตรงของโมเดลรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มิอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอที่วิเคราะห์โดยการใช้โปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ ได้รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ที่มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์และยอมรับได้ 1. องค์ประกอบด้านสมรรถนะขององค์การ พบว่า สมรรถนะขององค์การของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอมีอยู่ในระดับสูง โดยองค์ประกอบด้านสมรรถนะ ขององค์การส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อสภาพการบริหารสถานศึกษามากกว่าองค์ประกอบอื่น

การก าหนดเป้าหมาย

การก าหนดพนัธกิจ

การก าหนดกลยุทธ ์ การก าหนดแผนงาน

การติดตามและปรับปรุง องค์ประกอบ

ด้านการวางแผนกลยุทธ์

องค์ประกอบ ด้านภาวะผู้น า ของผู้บริหาร

องค์ประกอบ ด้านการพัฒนา

องค์กรแห่งการเรียนรู้

ประสิทธิผล การบริหารศูนย์ฯ

องค์ประกอบ ด้านสมรรถนะขององค์การ

ภาวะผู้น าทางวิชาการ

ภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลง

ภาวะผู้น าตามสถานการณ์

การบริหารงานวิชาการ

การบริหารงบประมาณ

การบริหารงานบุคคล

การบริหารงานทั่วไป

การประสานเครือข่าย

การจัดการสภาพแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อการบริหาร

โครงสร้างการบริหารงาน บุคคลมีความเป็นเลิศ

การคิดอย่างเป็นระบบ

การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม

การมีวิสัยทัศน์ร่วม

รูปแบบวิธีคิด

Page 14: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

14

2. องค์ประกอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ พบว่า การวางแผนกลยุทธ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภออยู่ในระดับสูง โดยองค์ประกอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อสภาพการบริหารศูนย์ ส่งผลเป็นบวกกับการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ และสมรรถนะขององค์การ 3. องค์ประกอบด้านการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ พบว่า ด้านการพัฒนาองค์การ แห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอมีอยู่ในระดับปานกลางส่งผลทางตรงเป็นบวกต่อสภาพการบริหารศูนย์ สมรรถนะขององค์การ 4. องค์ประกอบด้านภาวะผู้น าของผู้บริหาร พบว่า ภาวะผู้น าของผู้บริหารของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอมีอยู่ในระดับปานกลาง โดยองค์ประกอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ส่งผลทางตรงเป็นบวกต่อสภาพการบริหารศูนย์ การวางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้และสมรรถนะขององค์การ ข้อเสนอแนะ จากการศึกษารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ ได้ข้อเสนอแนะ 2 ประการ ดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะส าหรับการน าผลวิจัยไปใช้ 1.1 สมรรถนะขององค์การ มีอิทธิพลทางตรงกับสภาพการบริหารศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอสูง ดังนั้น ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สามารถน าไปใช้ก าหนดเป็นหลักสูตรการอบรมบุคลากรของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ 1.2 สมรรถนะขององค์การ มีอิทธิพลทางตรงกับสภาพการบริหารศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอสูง ดังนั้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอ าเภอ จะต้องน าไปบริหารสถานศึกษา โดยมี โครงสร้างการบริหาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการบริหาร การจัดการสภาพแวดล้อม และการประสานงานเครือข่าย ซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยของสมรรถนะขององค์การ 2. ข้อเสนอแนะส าหรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรท าการวิจัยเกี่ยวกับสมรรถนะขององค์การว่ามีองค์ประกอบอ่ืน ๆ อีกหรือไม่ที่มาสนับสนุนสมรรถนะขององค์การ เพ่ือให้การบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2.2 ควรท าการวิจัยเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับสมรรถนะองค์การ เพ่ือเป็นการศึกษา ในเชิงลึกว่ามีสาเหตุอ่ืน ๆ ของสมรรถนะขององค์การที่ส่งผลต่อสภาพการบริหารศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ

Page 15: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

15

เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ยุทธศาสตร์และมาตรฐานการปฏิรูประบบคุรุศึกษาของประเทศ.

กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวชั่น. กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). นโยบายและจุดเน้นการด าเนินงาน ส านักงาน กศน.

ประจ าปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค. กิตติ บุนนาค. (2541). การน านโยบายการบริหารงานขององค์การธุรกิจไทยไปปฏิบัติ:

ศึกษาปรากฏการณ์ปัญหาในอดีต เพื่อการพัฒนาสู่ศตวรรษท่ี 21. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

ปกรณ์ ปรียากร. (2542). การวางแผนกลยุทธ์: แนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์. กรุงเทพฯ: ประเวศ วะสี. (2542). ผู้น า. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มติชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2551). การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย

ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2559. มหาสารคาม: ม.ป.ป. ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2548). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. 2542 และท่ีแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2544. กรุงเทพ: สกายบุกส์. ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2556). ยุทธศาสตร์และ

จุดเน้นการด าเนินงาน ส านักงาน กศน. ประจ าปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2556). การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัดส าหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: รังษีการพิมพ์.

ส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). การประกันคุณภาพ ตามมาตรฐานตามตัวบ่งช้ี และเกณฑ์การประเมินรอบสาม พ.ศ. 2554-2558. กรุงเทพฯ: ม.ป.ป.

ส านักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (ม.ป.ท.). ตัวบ่งช้ี และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม พ.ศ. 2554-2558. กรุงเทพฯ: ม.ป.ป.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2551). องค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectations.

New York: Free Press. Bennett, J. K., & O’Brien, M. J. (1994). The Building Blocks of the Learning

Organization. Training. 31(June) Boyatzis, R. E. (1982). The Competency Manager: A model of Effective

Performance. New York: John Wiley and Sons. Davies, B., & Ellison, L. (1997). Futures and Strategic Perspectives in School Planning.

In Paper Presenter at the American Educational Research Association Annual Meeting. Chicago: March.

Page 16: ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_01.pdf · 2017-01-23 · Valaya Alongkorn Review (Humanities

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

16

Davis, G. A., & Thomas, M. A. (1989). Effective School and Effective Teacher. Boston: Allyn and Bacon.

Dubrin, A. J. (1973). Fundamentals of Organizational Behavior. New York: Pregamon.

Evan, R. L. (1988). Teachers Projections of Principals Change Facilitators Styles School that Differ According to effectiveness and Socioeconomic Context. Dissertation Abstract International.

Fiedler, F. E. & Chemers, Martin M. (1974). Leadership and Effective Management. Glenview, III: Scott, Foresman.

Gephart, M., Marsick, V., Van, D.M., & Spiro, M. (1996). Learning Organizations Come Alive. Training & Development.

Glueck, W. F. (1977). Management Hinsdale: The Dryden Press. Hersey, P. & Blanchard, K. H. (1993). Management of Organizational Behavior:

Utilizing Human Resources. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall. House, J. S. (1981). Work Stress and Social Support. Reading Massachusetts:

Addison-Wesley Publishing Company. Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational Administration: Theory Practice.

(6th ed.). New York: McGraw-Hill. Ivancervich, J. M. (1977). Organizational Behavior and Performance and

Performance. California: Goodyear. Kaiser, S. M. (2000). Mapping the Learning Organization: Exploring a model of

organizational learning. Doctoral Dissertation, Louisiana State University, USA.

Longworth, N. & Dvies, k. (1999). Lifelong Learning: New Vision, New Implications, New Roles for People, Organization, Nations, and Communities in the 21st Century. London: Kogan Page.

Lutthan, F. (1998). Organization Behavior. New Jersey: McGraw-Hill. Marquardt, M. (1996). Building the Learning Organization. New York:

McGraw-Hill. Owen, R. G. (1991). Organizational Behavior in Education. (4th ed.). New Jerzy:

Prentice-Hall. Swieringa, J. & Wierdsma, A. (1992). Becoming a Learning Organization. Wesley:

Reading Mass.