32
สสสสสส สสสสสสสสสสสส สสสสส สสสสสสสสสส สสสสส สสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสส สสส อออออ(atom) สสสส ส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสส สสส สสสสสสสสสสสส สสสสสสสสอออออออ(molecule) สสสสสสสสสสสสส สสสสส สสสสสสสสสสอออ อออออออออออออออ สสสสอออออออออออ(organelle) สสสสสสสสสสสสสสส ส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสอออออ(cell)สส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสส สสสส ส สสสสส สสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสส ออออออออออ(tissue) สสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสออออออ(organ) สสสส สสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสส สสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสส ออออออออออ สสสส สสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสส อออออออออออ(organism) สสสส สสส สสสสส สสส สสสส สสส สสสส สส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสส ออออออออ (family) สสสส ส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสส สสสสสสสส อออออออ(population) สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสส สสสส สสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสส สสสสสสส สสสสสสสสสสสออออออออออออออออ(community) สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสส ออออ อออออ (ecosystem) 1. ออออออออ อออออออออ (Ecosystems) สสสสสสส สสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสส สสสสสสสสสสสสสสสสส ส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส ออออออออออออ 1 ออออออ ออออออออ อออออออออออ

ใบความรู้ เรื่อง ชีวิตกับ ... · Web viewอะตอม(atom) หลาย ๆ อะตอมทำปฏ ก ร ยาเคม ก

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

ใบความรู้ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

· สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในโลก เริ่มต้นมาจากสารที่เล็กที่สุด คือ อะตอม(atom)

· หลาย ๆ อะตอมทำปฏิกิริยาเคมีกัน หรือมีแรง ยึด ระหว่างอะตอม กลายเป็นโมเลกุล(molecule) โมเลกุลของสาร ต่างๆ รวมกันเป็นสารชีวโมเลกุลเซลล์ หรือออร์แกเนลล์(organelle)

· ออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ร่วมกันทำงานและประกอบกันเป็นเซลล์(cell)ในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาจ มีเพียงเซลล์เดียว ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มี มากกว่าเซลล์เดียวนั้น เซลล์ชนิดเดียวกัน

· หลาย ๆ เซลล์ ทำหน้าที่ ร่วมกันเรียกว่า เนื้อเยื่อ(tissue) เช่นเนื้อเยื่อกระดูก

· เนื้อเยื่อหลายชนิดร่วมกันทำหน้าที่ กลายเป็นอวัยวะ(organ) เช่น กระดูก

· อวัยวะชนิดเดียวกัน หลายๆ อัน ร่วมกันทำหน้าที่ี่ เรี่ยกว่า ระบบอวัยวะ เช่น ระบบโครงกระดูก

· หลายๆระบบร่วมกันทำงาน กลายเป็น สิ่งมีชีวิต(organism) เช่น แมว สุนัข วัว ควาย ไก่ เก้ง ปู สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอยู่ร่วมกันกลายเป็น ครอบครัว (family)

· หลาย ๆ ครอบครัวอยู่รวมกันในบริเวณ หนึ่ง กลายเป็นประชากร(population)

การดำรงชีวิของสิ่งมีชีวิต

การดำรงชีวิตชนิดเีดียวกัน จะต้อง มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น ต้องมีอาหาร มีที่อยู่อาศัย เป็นต้น จึงต้องเกิดกลุ่มสิ่งมีชีวิต(community) ขึ้นเมื่อรวมกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตในบริเวณนั้น เข้าด้วยกันหลายเป็น ระบบนิเวศ (ecosystem)

1.ความหมายระบบนิเวศ (Ecosystems)  หมายถึง  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่งระบบนิเวศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งมีชีวิต  และแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต  ซึ่งจัดเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่  เรียกว่า  โลกของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ   คือ  1.ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต  2.ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง  โดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในบริเวณนั้น ๆ สู่สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท     1. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment)  หรือปัจจัยทางกายภาพ  (Physical Factor)  ได้แก่  แสงสว่าง  อุณหภูมิ  น้ำและความชื้น  กระแสลม  อากาศ  ความเค็ม  ความเป็นกรด-เบส  แร่ธาตุ  ไฟ แก๊ส     2. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต  (Biotic Environment)  หรือปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic Factor)

· 2.ประเภทของระบบนิเวศ           ระบบนิเวศมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก มีมากมายหลายระบบ แต่ละระบบมีขนาดเล็กใหญ่สลับซับซ้อนแตกต่างกัน โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต(biosphere) ซึ่งเป็นที่รวมระบบนิเวศหลากหลายระบบ           ส่วนที่จัดเป็นระบบนิเวศเล็ก ๆ เช่น ทุ่งหญ้า หนองน้ำ สระน้ำ ริมรั้ว ใต้ขอนไม้ผุระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ1. ระบบนิเวศตามธรรมชาติ          ได้แก่

· ระบบนิเวศบนบก เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย

· ระบบนิเวศแหล่งน้ำ แบ่งเป็นระบบนิเวศน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง          (ระบบนิเวศน้ำเค็ม เช่น ทะเล มหาสมุทร          ( ระบบนิเวศน้ำกร่อย เช่น บริเวณปากแม่น้ำ

2. ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น           เช่น ระบบนิเวศชุมชนเมือง แหล่งเกษตรกรรม  นิคมอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งตู้ปลา อ่างเลี้ยงปลา ก็จัดเป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น

3. โครงสร้างระบบนิเวศ ประกอบด้วย

1.กลุ่มสิ่งมีชีวิต ( community )หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆที่ยู่รวมกันในแหล่งที่อยู่   มีหลากหลายชนิดทั้งพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ซึ่งมีความแตกต่างกันตามชนิดและจำนวน 

2.แหล่งที่อยู่ ( habitat ) หมายถึงบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต จำแนกได้เป็น          แหล่งที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ แหล่งน้ำจืด ทะเล มหาสมุทร           แหล่งที่อยู่บนบก ได้แก่ ที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง ทุ่งหญ้า ป่า ทะเลทราย ดินแดนหิมะ

3.สิ่งแวดล้อม ( Environment)คือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีก็ได้ สามารถมองเห็นได้และมองไม่เห็น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1.1 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ มนุษย์1.2 สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต อากาศ ดิน น้ำ แสงสว่าง แร่ธาตุ1.3 สิ่งแวดล้อมจากฝีมือมนุษย์ เช่น อาคารบ้านเรือน เจดีย์ ตึกหลายชั้น จรวด

4.โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศ

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีบทบาทและความสำคัญแตกต่างกัน ได้แก่1.ผู้ผลิต ( producer )      เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เองจากการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ พืชสีเขียวชนิดต่าง ๆ2.ผู้บริโภค ( consumer )       เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตโดยการกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร ได้แก่      - ผู้บริโภคพืช (Herbivore) เช่น กวาง  กระต่าย  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย             - ผู้บริโภคสัตว์ (carnivore) เช่น เสือ  สิงโต  แมว  สุนัข   - ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) เช่น คน นกเป็ดน้ำ  ปลานิล    - ผู้บริโภคซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว (scavenger) เช่น นกแร้ง ไส้เดือนดิน

3. ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสารอินทรียืให้กลายเป็นสารอนินทรีย์ทำหน้าที่สลายซากสิ่งมีชีวิตและพวกเศษอินทรีย์ต่างๆ ให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง โดยการส่งเอนไซม์ ออกมาย่อยแล้วดูดซึมสารที่ย่อยได้ไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ พวกเห็ด ราและแบคทีเรียต่างๆ

5.ประชากร (population)

ประชากร  (population)  หมายถึง  กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดเดียวกัน  อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ในช่วงเวลาหนึ่ง  ซึ่งในแต่ละบริเวณจะมีจำนวนประชากรที่แตกต่างกันขนาดของประชากร เช่น ประชากรมนุษย์          ในแหล่งที่อยู่แต่ละแห่งจะมีจำนวนกลุ่มสิ่งมีชีวิต หรือจำนวนประชากรแตกต่างกันไปการศึกษาขนาด หรือลักษณะ ความหนาแน่นของประชากรในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ มีปัจจัยดังภาพ

6.ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับปัจจัยทางชีวภาพ  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัย กำหนดด้วยเครื่องหมาย ดังนี้+ คือ การได้ ผลประโยชน์- คือ การเสียผลประโยชน์0 คือ การไม่ได้ ไม่เสีย ผลประโยชน์

1.ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ มี 2 แบบ คือ

 1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียผลดี คือ สร้างความเข้มแข็งและความปลอดภัยในกลุ่มผลเสีย คือ แก่งแย่งอาหาร  แย่งชิงการเป็นจ่าฝูง2. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน  การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปในแหล่งที่อยู่เดียวกัน มีความสัมพันธ์หลายรูปแบบ ได้แก่ 1.ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน ( protoco-operation +, + )  หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ฝ่ายต่างได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ เช่น ผึ้งกับดอกไม้ = ผึ้งได้อาหารจากดอกไม้ ส่วนดอกไม้ได้รับการผสมเกสรจากผึ้งที่เป็นพาหะให้เพลี้ยกับมดดำ  นกเอี้ยงกับควาย ถ้าแยกจากกันก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ

2.ภาวะพึ่งพากัน ( mutualism )  สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่ต้องอยู่ร่วมกันตลอดเวลา หากแยกกันอยู่จะทำให้อีกฝ่าย ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น  ไลเคน โพรโทซัวลำไส้ปลวก  แบคทีเรียในปมรากพืชตระกูลถั่ว

3.ภาวะอิงอาศัย ( commensalism ) สิ่งมีชีวิตฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ แยกกันอยู่ได้ เช่น เถาวัลย์เกาะบนต้นไม้ใหญ่   กล้วยไม้กับต้นสัก  นกทำรังบนต้นไม้  เหาฉลามกับปลาฉลาม เพรียงที่เกาะบนตัวของสัตว์

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

1.แสงสว่าง มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตดังนี้

1.มีผลต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของพืช

2.มีผลต่อการกระตุ้นให้พืชออกดอกเช่น การบานของทานตะวัน

3.มีผลต่อความสามารถในการสังเคราะห์แสง อุณหภูมิที่พอเหมาะ ประมาณ 30 o C เวลาที่พอเหมาะประมาณ 10-11.00 น.

4.เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการออกหากินของสัตว์ เช่น สัตว์บางชนิดออกหากินเวลากลางคืนได้แก่ นกเค้าแมว ค้างคาว  

5. บริเวณที่ลึกมากจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่น้อย และสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ มักจะมีลวดลายเด่นชัดให้เป็นเครื่องหมาย จำพวกเดียวกันในทะเลลึกสัตว์จะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่กำเนิดแสงได้เอง เช่นปลาไหลไฟฟ้า เป็นต้น

2.อุณหภูมิ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตดังนี้1.มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณออกซิเจนในน้ำ เมื่ออุณหภูมิในน้ำสูงขึ้น ความสามารถในการละลาย ของก๊าซออกซิเจนในน้ำจะลดลง ถ้าอุณหภูมิสูง สิ่งมีชีวิตมักจะตาย เพราะประสบปัญหา กับการขาดแคลน ออกซิเจน2. มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปพรรณสัณฐาน และทางสรีระของสิ่งมีชีวิต เช่น การสร้างสปอร์ หรือเกราะ หรือมีระยะดักแด้ ซึ่งต้านทานอุณหภูมิได้ดีหญ้า จะมีเง่า ในกรณีที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม จะทิ้งส่วนอื่นๆหมด เหลือแต่เง่า และรากที่สามารถเจริญได้ถ้าอุณหภูมิเหมาะสม3. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในเขตหนาว จะมีรยางค์สั้นกว่าในเขตร้อน เช่น หาง หู และ ขา4. นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในเขตหนาวจะมีขนาดใหญ่กว่าในเขตร้อน หมีแพนด้า นกเพนกวิน สุนัขพันธุ์ปักกิ่ง5.มีผลต่อการฟักตัว (dormancy) หรือจำศีล เพื่อหลีกเลี่ยงต่ออากาศหนาว เช่น กบจำศีลเพื่อหนีร้อนหรือหนีหนาว6.มีผลต่ออัตราเมตาโบลิซึมของร่างกาย (Metabolism) ถ้าอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น อัตราเมตาเมตาบอลิซึม ก็จะเพิ่มขึ้น มีผลต่อการอพยพของสัตว์ เช่น

· การอพยพของนกนางแอ่นบ้าน จากจีนมาหากินในไทย

· การอพยพของนกปากห่าง จากอินเดียมาผสมพันธุ์ในไทย

· การอพยพของหมีและกวางจากภูเขาสูงไปหุบเขา,

· การเคลื่อนที่หนีความร้อนของสัตว์ในทะเลทราย7. พืชและสัตว์แต่ละชนิด มีความอดทนต่ออุณหภูมิได้ไม่เท่ากัน จึงทำให้ไม่สามารถแพร่กระจายไปที่ต่างๆของโลกได้มาก เช่น ดอกทิวลิป จะไม่ออกดอกถ้าไม่ได้รับอุณหภูมิต่ำในช่วงฤดูหนาว

3. ความชื้น1.มีผลต่อการกระจายของสิ่งมีชีวิต เพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดชอบความชื้นที่ต่างกัน2.มีผลต่อการสืบพันธุ์ของสัตว์ มีผลต่อการคายน้ำของพืช3.มีผลต่อการปรับตัวของรูปร่างของพืช เพื่อลดอัตราการสูญเสียน้ำ เช่นเปลี่ยนใบเป็นหนาม ลดขนาดใบลง เช่นกระบองเพชรเพื่อลดรูปใบเป็นการป้องกันการคายน้ำออกจากใบมากเกินไป4.การปรับตัวของสัตว์ เพื่อดำรงชีวิตในความชื้นต่ำ เช่น หนูแกงการูอยู่ในทะเลทรายจะกินเมล็ดพืชที่แห้งเป็นอาหารเท่านั้นโดยไม่กินน้ำเลย การเปลี่ยนใบกลายเป็นหนามของต้นกระบองเพชร การมีเกล็ดหุ้มตัวของสัตว์เลื้อยคลาน ออกหากินตอนกลางคืน4.แร่ธาตุและก๊าซ

(สิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจ(พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย(ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีผลต่อสัตว์ คือ ถ้าได้รับในปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากทำให้สัตว์มีกระดูกสันหลังรับออกซิเจนได้น้อยลง และเลือดจะมีสภาพความเป็นกรด-เบสไม่เหมาะสม อาจทำให้ตายได้5.ดิน มีผลต่อการเจริญเติบโต ชนิด และปริมาณของพืช - ดินเป็นที่ยึดเกาะของรากพืช เพื่อให้พืชยืนต้นอยู่ได้          - ดินเป็นที่กักเก็บน้ำ สำหรับใช้ในการเจริญเติบโตของพืช          - ดินให้แร่ธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช           - ดินให้อากาศแก่รากพืชมีผลต่อการเจริญเติบโต ชนิด และปริมาณของสัตว์

· อาหารของมนุษย์ ได้มาจากพืชและสัตว์ พืชต้องอาศัยดินในการยังชีพและเจริญเติบโต สัตว์ก็ได้อาหารจากพืชและสัตว์ด้วยกัน ดังนั้นมนุษย์จึงได้รับอาหารจากดินในทางอ้อม

· เครื่องนุ่งห่มของมนุษย์ส่วนมากได้มาจากเส้นใยของพืช หรือจากขนสัตว์ นั่นคือมนุษย์ได้เครื่องนุ่งห่มจากดินในทางอ้อม

· ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ของมนุษย์ได้มาจากวัสดุที่กำเนิดจากดิน เช่น ไม้ อิฐ ซีเมนต์ และเหล็ก เป็นต้น

· ยารักษาโรค เราได้ยารักษาโรคต้นตำรับที่มาจากพืชสมุนไพรต่างๆ นอกจากนี้ จุลินทรีย์ต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตยา เช่น ยาเพนนิซิลลิน ก็เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดิน

4.ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำ สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ในดินและแหล่งน้ำที่มีความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำที่เหมาะสม จึงจะสามารถเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ได้  ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำจะขึ้นอยู่กับปริมาณของแร่ธาตุที่ละลายปะปนอยู่

1.1 ไบโอม หมายถึง

ไบโอม  แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ1. ไบโอมบนบก   ไบโอมบนบก (Terrestrial biomes)  ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนด  ไบโอมบนบกที่สำคัญ  ได้แก่  ไบโอมป่าดิบชื้น  ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น  ใบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น  ไบโอมสะวันนา  ไบโอมป่าสน  ไบโอมทะเลทราย  ไบโอมทุนดรา  เช่น       • ป่าดิบชื้น  (Tropical rain forest)         พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมริกากลาง  ทวีปอเมริกาเอเชียตอนใต้  และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก  ลักษณะของภูมิอากาศร้อนและชื้น  มีฝนตกตลอดปี  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200 – 400 เซนติเมตรต่อปี  ในป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายพันสปีชีส์  เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก

• ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (Temperate deciduous forest)         พบกระจายทั่วไปในละติจูดกลาง  ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดี  โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี  และมีอากาศค่อนข้างเย็น  ในป่าชนิดนี้และต้นไม้จะทิ้งใบหรือผลัดใบก่อนฤดูหนาว  และจะเริ่มผลิใบอีกครั้งเมื่อฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว  ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น  ไม้พุ่ม  รวมถึงไม้ล้มลุก       • ป่าสน (Coniferous forest)

       • ป่าไทกา (Taiga)  และป่าบอเรียล (Boreal)  เป็นป่าประเภทเขียวชอุ่มตลอดปีพบได้ทางตอนใต้ของประเทศแคนนาดา  ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ  ทวีปเอเชียและยุโรป  ในเขตละติจูดตั้งแต่ 45 – 67 องศาเหนือ  ลักษณะของภูมิดากาศมีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน  อากาศเย็นและแห้ง  พืชเด่นที่พบได้แก่  พืชจำพวกสน เช่น ไพน์ (Pine)  เฟอ (Fir)  สพรูซ (Spruce)  และเฮมลอค  เป็นต้น       • ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (Temperate grassland) หรือที่รู้จักกันในชื่อทุ่งหญ้าแพรี่ (Prairie)  ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือและทุ่งหญ้า  สเตปส์ (Steppes) ของประเทศรัสเซีย  สภาพภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25 – 50 เซนติเมตรต่อปี  ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นนี้เหมาะสำหรับการทำกสิกรและปศุสัตว์  เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้านานาชนิดขึ้นอยู่  ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี่ด้วย       • สะวันนา (Savanna) เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกาและพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย  ลักษณะของภูมิอากาศร้อน  พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้กระจายเป็นหย่อม ๆ  ในฤดูร้อนมักเกิดไฟป่า

ทุ่งหญ้าสะวันนา

       • ทะเลทราย (Desert) พบได้ทั่วไปในโลก  ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี  ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน  บางวันแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น  พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำ  โดยใบลดรูปเป็นหนาม  ลำต้นอวบ  เก็บสะสมน้ำดี  ทะเลทรายที่รู้จักกันโดยทั่วไป  ได้แก่  ทะเลทรายซาฮารา (Sahara)  ในทวีปแอฟริกา  ทะเลทรายโกบี (Gobi)  ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะเลทรายโมฮาวี (Mojave)  ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  ประเทศสหรัฐอเมริกา       • ทุนดรา (Tundra) เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน  ฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ  ลักษณะเด่นคือ  ชั้นของดินที่อยู่ต่ำกว่าจากผิวดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งถาวร  ทุนดราพบเพียงตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ  และยูเรเซีย  พบพพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยชนิด  ปริมาณฝนน้อยในฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินละลาย  แต่เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้ในระยะสั้น ๆ  พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม  นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ  เช่น  ไลเคนด้วย

2. ไบโอมในน้ำ    ไบโอมในน้ำที่พบเป็นองค์ประกอบหลักใบไบโอสเฟียร์ประกอบด้วย  ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes)  และไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine Biomes)  และพบกระจายอยู่ทั้งเขตภูมิศาสตร์ในโลกนี้    • ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes) โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำนิ่งซึ่งได้แก่  ทะเลสาบ  สระ  หนอง  หรือบึง  กับแหล่งน้ำไหล  ได้แก่  ธารน้ำไหลและแม่น้ำ  เป็นต้น    • ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine biomes) โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำเค็ม  ซึ่งได้แก่  ทะเลและมหาสมุทร  ซึ่งพบได้ในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลก  และมีความลึกมากโดยเฉลี่ยถึง 3,750 เมตร  ไบโอมแหล่งน้ำเค็มจะแตกต่างจากน้ำจืดตรงที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพสำคัญ  นอกจากนี้ยังพบช่วงรอยต่อของแหล่งน้ำจืดกับน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน  และเกิดเป็นแหล่งน้ำกร่อยซึ่งมักพบบริเวณปากแม่น้ำ

ห่วงโซ่อาหาร (food chain)

        พืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสงของดวงอาทิตย์  โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า  คลอโรฟิลล์  (chlorophyll)  เป็นตัวดูดกลืนพลังงานแสงเพื่อนำมาใช้ ในการสร้างอาหาร  เช่น  กลูโคส  แป้ง  ไขมัน  โปรตีน  เป็นต้น

        พืชจึงเป็นผู้ผลิต (producer)  และเป็นสิ่งมีชีวิตอันดับแรกในการถ่ายทอดพลังงานแบบห่วงโซ่อาหาร สำหรับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ไม่สามารถสร้าง อาหารเองได้  จำเป็นต้องได้รับพลังงานจากการบริโภค สิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร สัตว์จึงถือว่าเป็น ผู้บริโภค (consumer)  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นต้น

· ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง (primary  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้ผลิต

· ผู้บริโภคลำดับที่สอง  (secondary  consumer )  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง

· ผู้บริโภคลำดับสูงสุด  (top  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่อยู่ปรายสุดของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตใด มากินต่อ  อาจเรียกว่า  ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย

สายใยอาหาร ( food web)              ในกลุ่มสิ่ิงมีชีวิตหนึ่งๆ ห่วงโซ่อาหารไม่ได้ดำเนินไปอย่างอิสระ แต่ละห่วงโซ่อาหารอาจมีความสัมพันธ์ กับห่วงโซ่อื่นอีก โดยเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน เช่น สิ่งมีชีวิตหนึ่งในห่วงโซ่อาหาร อาจเป็นอาหาร ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งในห่วงโซ่อาหารอื่นก็ได้  เราเรียกลักษณะห่วงโซ่อาหารหลายๆ   ห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างสลับซับซ้อนว่า  สายใยอาหาร (food web)

         สายใยอาหารของกลุ่มสิ่งมีชีวิตใดที่มีความซับซ้อนมาก แสดงว่าผูู้ั้้้้้้้้้บริโภคลำดับที่ 2 และลำดับที่ 3 มีทางเลือกในการกินอาหารได้หลายทางมีผลทำให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตมากตามไปด้วย 

พีระมิดการถ่ายทอดพลังงาน ( food pyramid )

 1. พีระมิดจำนวน ( pyramid of number )

· แต่ละขั้นแสดงให้เห็นจำนวนสิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับขั้นของห่วงโซ่อาหารต่อหน่วยพื้นที่หรือปริมาตร    สิ่งมีชีวิตที่อยู่บนยอดสุดของพีระมิดถูกรองรับโดยสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก

2. พีระมิดมวลชีวภาพ ( pyramid of biomass )

· คล้ายกับพีระมิดจำนวน

· แต่ขนาดของพีระมิดแต่ละขั้นจะบอก ถึงปริมาณหรือมวลชีวภาพของ สิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับขั้น ของห่วงโซ่อาหาร

3. พีระมิดพลังงาน ( pyramid of energy )

· แสดงค่าพลังงานในสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วยมีหน่วยเป็น กิโลแคลอรีต่อตารางเมตรต่อปี

1.1 ไบโอม

  

กลุ่มสิ่งมีชีวิต  (community ) กลุ่มสิ่งมีชีวิตนอกจากมีความสัมพันธ์กับสิ่งไร้ชีวิตในบริเวณนั้นด้วย  ตัวอย่างพืชเจริญได้ดีในดินที่มีความชื้น  แสงสว่าง  อุณหภูมิ  ความเป็นกรด  เบส  และแร่ธาตุในปริมาณที่หมาะสม  เมื่อพืชเจริญเติบโตดีจะเป็นอาหารของสัตว์พวกหนอน  ผีเสื้อ  ตั๊กแตน  แต่แมลงบางชนิด  เช่น  ผีเสื้อช่วยผสมเกสรดอกไม้ซึ่งให้ประโยชน์แก่พืช  ในขณะที่พืชอยู่รวมกันมากๆต่างแก่งแย่งแสงสว่างกันโดยแข่งกันเพิ่มความสูงจากลำต้น

แหล่งที่อยู่อาศัย (habitat ) หมายถึง

แหล่งที่อยู่อาศัยที่ได้สำรวจ  คือ  สระน้ำ  ขอนไม้ผุ  สวนหย่อม  สนามหญ้า  พุ่มไม้  จัดเป็นระบบนิเวศ  แต่ระบบนิเวศบางระบบนิเวศอาจเรียกชื่อตามสิ่งมีชีวิตที่มีปริมาณมากที่สุดในระบบนิเวศนั้น  เช่น  ระบบนิเวศป่าสัก  ระบบนิเวศป่าแสมโกงกาง  ระบบนิเวศแนวปะการัง  ระบบนิเวศนาข้าว ฯลฯ

บทบาทและหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

การพึ่งพาอาศัยกับระหว่างปลาการ์ตูนและดอกไม้ทะเล ซึ่งปลาการ์ตูนอาศัยอยู่ท่ามกลางหนวดของดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูนช่วยปกป้องดอกไม้ทะเลจากปลาชนิดอื่นที่กินดอกไม้ทะเลเป็นอาหาร และหนวดที่มีพิษของดอกไม้ทะเลจะช่วยปกป้องปลาการ์ตูนจากนักล่า

สิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศมีความสัมพันธ์ที่เห็นได้ชัด คือ  การกินกันเป็นทอดๆ  เช่น  สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนาข้าว  ได้แก่  ต้นข้าว  หนู  ตั๊กแตน  กบ  งู  นกเค้าแมว  คน  อาจแยกความสัมพันธ์ได้ดังนี้

จากผังที่ 1  ต้นข้าวถูกตั๊กแตนกิน  ตั๊กแตนถูกกบกิน  กบถูกงูกิน  งูถูกคนกิน

และผังที่ 2 ต้นข้าวถูกหนูกิน  หนูถูกงูกิน  งูถูกนกเค้าแมวกิน

จากแผนผัง แสดงว่า  ต้นข้าวเป็นผู้ผลิต  ตั๊กแตนเป็นผู้บริโภคพืชหรือผู้บริโภคอันดับแรก  กบเป็นผู้บริโภคสัตว์อันดับแรกหรือผู้บริโภคอันดับสอง  งูเป็นผู้บริโภคสัตว์อันดับสองหรือผู้บริโภคอันดับสาม  คนเป็นผู้บริโภคสัตว์อันดับสามหรือผู้บริโภคอันดัยสี่หรือผู้บริโภคอันดับสุดท้าย

ในขณะที่มีการกินกันเป็นทอดๆ  มีการถ่ายทอดพลังงานที่แตกต่างกันออกไป  เช่น

· ตั๊กแตนกินต้นข้าวมีการถ่ายทอดพลังงานจากผู้ผลิตโดยตรง

· เมื่อกบกินตั๊กแตน  กบได้รับการถ่ายทอดพลังงานจากผู้บริโภคอันดับแรก

· เมื่องูกินกบ  งูได้รับการถ่ายทอดพลังงานจากผู้บริโภคอันดับที่สอง

· เมื่อคนกินงู  คนได้รับการถ่ายทอดพลังงานจากผู้บริโภคอันดับสามหรือผู้บริโภคอันดับสุดท้าย                                

จากรูป (ข)  แสดงว่าต้นข้าวถูกหนูกิน  งูกินหนู  และนกเค้าแมวกินงู  การกินกันเป็นทอดๆนี้เรียกว่า  ห่วงโซ่อาหาร  ( Food chain)  วิธีการเขียนโซ่อาหาร  เริมจากสิงมีชีวิตที่ถูกกิน  มีหัวลูกศรชี้ไปยังตัวกิน  (หัวศรลักษณะคล้ายช้อนเข้าปากผู้บริโภค)  เขียนต่อไปเป็นทอดๆจนหมดโซ่อาหาร

โซ่อาหาร  ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่ต่างกันโดยเริ่มจากพืชที่มีหน้าที่สร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  โดยใช้น้ำและแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์โดยมีพลังงานจากแสง  ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลและแผ้งอยู่ในส่วนต่างๆของพืช  พืชจึงถูกจัดเป็นผู้ผลิต  พืชจะถูกกินโดยผู้บริโภคพืชหรือสัตวฺกินพืช  เช่น  ตั๊กแตน  หนู  กระต่าย  กวาง ฯลฯ  กินเป็นอาหาร  ผู้บริโภคพืชจึงได้รับพลังงานในสารอาหารมาจากพืช  ผู้บริโภคถูก  กบ  งู  สิงโต  จระเข้  กินเป็นอาหาร  สัตว์เหล่านี้คือ  ผู้บริโภคสัตว์  ซึ่งได้รับพลังงานถ่ายทอดมาจากผู้บริโภคพืช  สัตว์บางชนิดสามารถบริโภคได้ทั้งพืชและสัตว์  สัตว์ชนิดนี้จึงเรียกว่า  ผู้บริโภคพืชและสัตว์  เช่น คน แมว  สัตว์ที่จับสัตว์อื่นกินเป็นอาหารโดยการล่า  เรียกว่าผู้ล่า  สัตว์ที่ถูกจับกินเป็นอาหารเรียกว่า เหยื่อ  และยังจัดผู้บริโภคแยกออกเป็นผู้บริโภคอันดับแรก  คือ  ผู้บริโภคพืช  ส่วนสัตว์กินเนื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคอันดับสุดท้าย  คือ ผู้บริโภคที่กินสัตว์

ในแต่ระบบนิเวศมีหลายโซ่อาหารอยู่รวมกันโดยสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งอาจเป็นส่วนประกอบของโซ่อาหารได้หลายโซ่อาหาร ความสัมพันธ์ของโซ่อาหารหลายๆโซ่เรียกว่าสายใยอาหาร(Food Web)ดังตัวอย่าง

ในแต่ระบบนิเวศมีหลายโซ่อาหารอยู่รวมกันโดยสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งอาจเป็นส่วนประกอบของโซ่อาหารได้หลายโซ่อาหาร ความสัมพันธ์ของโซ่อาหารหลายๆโซ่เรียกว่าสายใยอาหาร(Food Web)ดังตัวอย่าง

INCLUDEPICTURE "http://i675.photobucket.com/albums/vv116/claire-bankkyo/18f79431.jpg" \* MERGEFORMATINET

สิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหารมีความสัมพันธ์ในการเป็นอาหารของสัตว์อื่น และขณะเดียวกันก็กินสัตว์อื่นเป็นอาหารด้วย

· ข้าว ข้าวโพด กุหลาบ จัดเป็นผู้ผลิต

· หนูนา ตักแตน ผีเสื้อ แมลงวัน เป็นผู้บริโภคอันดับแรกหรือผู้บริโภคพืช

· สุนัขจิงจอก เหยี่ยว กบ แมลงปอ นก เป็นผู้บริโภคอันดับสองหรือผู้บริโภคสัตว์

· กบ เป็นผู้บริโภคอันดับ 3 เมื่อกับกินแมลงปอ

· งู เป็นผู้บริโภคอันดับ 3 เมื่องูกินกบ กบกินตักแตน ซึ่งกินพืช

· เหยี่ยวเป็นผู้บริโภคอันดับ 4 เมื่อเหยี่ยวกินงู ซึ่งงูกินกบ กบกินตักแตน

ในธรรมชาติยังมีสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง คือผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายหรือของเสียของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศ ผู้ย่อยสลายได้แก่ แบคทีเรีย เห็ด รา

ผู้ย่อยสลายอินทรียสารมีแผร่กระจายอยู่ทั่วไปในดินในน้ำในอากาศเมื่อผู้ย่อยสารย่อยซากสิ่งมีชีวิตต่างๆแล้วได้สารอนินทรีย์ พืชสามารถนำสารอนินทรีย์เหล่านั้นมาใช้ได้อีกเป็นการถ่ายทอดสารเป็นวัฏจักรอยู่ในระบบนิเวศ

แบคทีเรีย เห็ด รา ซึ่งเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสารมนุษย์ได้นำผู้ย่อยสารอินทรียสารหลายชนิดไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น นำแบคทีเรียบางชนิดไปผลิตนมเปรี้ยว น้ำส้มสายชู ราบางชนิดนำไปผลิตที่เป็นยา เช่น เห็ดหลินจือ หรือยา เพนิซิลลิน ที่สร้างโดยราเพนิซินเลียม เห็ดหลายชนิดนำไปใช้เป็นอาหารเช่นเห็ดเผาะเห็ดโคลนเห็ดหอมแต่ราหลายชนิดทำให้เกิดโรคได้ทั้งในพืชและสัตว์รวมทั้งเห็ดอีกหลายชนิดเป็นพิษหากนำไปใช้เป็นอาหารอาจทำให้ถึงตายได้โดยเฉพาะเห็ดที่มีสีสวยและเห็ดรูปร่างแปลกๆ

ในระบบนิเวศที่ค่อนข้างสมดุจ หมายความว่า ไม่ต้องรับสารจากนอกระบบยกเว้นพลังงานจากดวงอาทิตย์ดังนั้นในระบบนิเวศนั้นๆต้องมีสิ่งมีชีวิตทั้ง 3 กลุ่ม คือ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งต้องมีจำนวนมากพอประมาณอีกทั้งยังต้องมีสายใยอาหารที่ซับซ้อน คือผู้บริโภคแต่ละชนิดสามารถกินอาหารได้หลายชนิดดังนั้นเมื่อเหยื่อชนิดใดชนิดหนึ่งหายไปจากระบบนิเวศผู้บริโภคก็ยังมีเหยื่อชนิดอื่นเป็นอาหารได้อีกอย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศยังคงเกิดขึ้นได้เช่นผู้บริโภคเพิ่มจำนวนมากขึ้นจำนวนเหยื่อก็ต้องลดลงแต่การเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศที่สมดุจต้องใช้เวลาค่อนข้างนานยกเว้นสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม พายุหมุน เป็นต้น

ในระบบนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิต ค่อนข้างน้อยชนิดโซ่อาหารมีน้อยไม่ซับซ้อนทำให้สายใยอาหารไม่ซับซ้อนด้วยผู้ล่าแต่ละชนิดอาจกินเหยื่อเพียงชนิดเดียวดังนั้นเมื่ออาหารหรือเหยื่อหมดไปผู้ล่าก็ต้องตายหรือออกไปหาอาหารนอกระบบนิเวศนั้นๆเป็นเหตุให้บ้างพื้นที่ ที่ทำการเกษตรกรรมขนาดใหญ่ เช่น การปลูกป่าสัก หรือ การทำสวนยาง เมื่อมีศัตรูพืชระบาด ต้นสักหรือต้นยาง พืชที่เป็นผู้ผลิตทั้งหมด อาจถูกทำลายลงจนเกิดการขาดแขลนอาหารทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่เป็นผู้บริโภคในระดับต่างๆในระบบนิเวศเดียวกันอาจตายไปพร้อมกันหมดได้เช่นกัน

เมื่อเข้าใจในระบบนิเวศว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันและสิ่งไร้ชีวิตแล้วดังนั้นเมื่อจะทำกิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศจึงต้องระมัดระวังหรือหาทางป้องกันผลิตกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศนั้นด้วย

1. ข้อใดคือความหมายของระบบนิเวศ (ecosystem)

A.      การรวมกลุ่มกันของสิ่งมีชีวิตที่มาจากชนิดเดียวกัน

B.     สิ่งมีชีวิตทุก ๆ กลุ่มที่อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

C.    ระบบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ

D. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ณ บริเวณที่อยู่อาศัย

2. สิ่งมีชีวิตพวกใดที่สามารถเปลี่ยนสารอนินทรีย์ให้เป็นสารอินทรีย์ได้

A. X  พืชสีเขียว

B.   ?    สัตว์กินพืช

C.   ?    สัตว์กินสัตว์

D. :-)  ผู้ย่อยสลาย

3. การอยู่ร่วมกันระหว่างนกเอี้ยงกับควาย เป็นการอยู่ร่วมกันแบบใด

A.   ?    แบบอิงอาศัย

B.   ?    แบบพึ่งพากัน

C. :-)  แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน

D.   ?    แบบปรสิต

4. ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในรูปแบบภาวะพึ่งพากัน

A. :-)  รา กับ สาหร่ายสีเขียว

B. X  ดอกไม้ กับ แมลง

C. X  กล้วยไม้บนต้นโพธิ์

D.   ?    กาฝากบนต้นไทร

5. ภาวะการอยู่ร่วมกันแบบปรสิต เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในลักษณะใด

A.   ?    ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ทั้งคู่

B.   ?    ต่างฝ่ายต่างเสียประโยชน์ทั้งคู่

C. :-)  ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์

D.   ?    ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ไม่เสียประโยชน์

6. สิ่งมีชีวิตในข้อใดอยู่ร่วมกันแบบอิงอาศัย

A. :-)  กล้วยไม้กับต้นสัก

B.   ?    ผึ้งกับดอกไม้

C.   ?    แมวกับหนู

D.   ?    ไลเคนส์

7. พวกปรสิตและผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารมีสิ่งที่เหมือนกันคือ

A.   ?    ทำอันตรายแก่โฮสต์

B.   ?    ดำรงชีวิตอยู่บนสิ่งมีชีวิต

C.   ?    เป็นเชื้อโรค

D. :-)  สร้างอาหารเองไม่ได้

8. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในข้อใดที่มีความสัมพันธ์แตกต่างไปจากพวก

A.   ?    นกทำรังบนต้นไทร

B.   ?    กล้วยไม้บนต้นโพธิ์

C.   ?    ปลาฉลามกับเหาฉลาม

D. :-)  กบกับแมลง

9. จากสิ่งมีชีวิตต่อไปนี้ถ้านำมาเขียนเป็นห่วงโซ่อาหารสิ่งมีชีวิตใดน่าจะเป็นผู้บริโภคอันดับที่ 1

A.   ?    ต้นข้าว

B. :-)  หนอนข้าว

C.   ?    นก

D.   ?    งู

10. ข้อใดคือความหมายของคำว่า “ ประชากร ”

A.   ?    สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในโลกนี้

B. :-)  สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในที่เดียวกัน ในช่วงเวลาหนึ่ง

C.   ?    สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในที่เดียวกัน

D.   ?    สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในทุกที่ที่มีสภาพแวดล้อมเดียวกัน

แบบฝึกหัดที่ 2

1. แบคทีเรียไรโซเบียม มีส่วนเกี่ยวข้องต่อวัฏจักรของสารใดมากที่สุด

A.   ?    วัฏจักรของน้ำ

B.   ?    วัฏจักรของไนโตรเจน

C.   ?    วัฏจักรของคาร์บอน

D.   ?    วัฏจักรฟอสฟอรัส

2. โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง มีการปล่อยสารพิษใดออกสู่อากาศมากที่สุด

A.   ?    ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

B.   ?    ไฮโดรคาร์บอน

C.   ?    ไนโตเจนไดออกไซด์

D.   ?    คาร์บอนมอนนอกไซด์

3. ในธรรมชาติมีกระบวนการใดที่ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศลดน้อยลง

A.   ?    การเผาไหม้

B.   ?    การหายใจ

C.   ?    การสังเคราะห์ด้วยแสง

D.   ?    การระเหยของน้ำ

4. ก๊าชที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกคือ

A.   ?    ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

B.   ?    โอโซน

C.   ?    ไนโตรเจน

D.   ?    คาร์บอนไดออกไซด์

5. ทรัพยากรในข้อใดที่จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สร้างทดแทนใหม่ได้

A.   ?    ดิน น้ำ

B.   ?    น้ำมัน แร่ธาตุ

C.   ?    อากาศ แสง

D.   ?    ดิน ถ่านหิน

6. ข้อใดไม่ใช่การอนุรักษ์ดิน

A.   ?    ปลูกพืชหมุนเวียนในสถานที่เดิม

B.   ?    ปลูกหญ้าเพื่อคลุมดิน

C.   ?    ปลูกพริกไทยในสวนยางพารา

D.   ?    ใส่ปุ๋ยเคมีในดินเป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานาน

7. การกระทำที่ป่าไม้ถูกทำลายเสียหายที่จัดว่าร้ายแรงที่สุด ได้แก่

A.   ?    การนำไม้ออกจากป่าอย่างผิดกฎหมาย

B.   ?    การตัดไม้ทำฟืนเผาถ่านที่ผิดกฎหมาย

C.   ?    การทำไร่เลื่อนลอยบริเวณต้นน้ำลำธาร

D.   ?    การถางป่าเพื่อต้องการที่ดินสำหรับทำการกสิกรรม

8. สัตว์ป่าสงวนที่สูญพันธุ์ไปแล้วคือ

A.   ?    ละมั่ง

B.   ?    สมัน

C.   ?    เลียงผา

D.   ?    กวางผา

9. ข้อใดคือความหมายของปรากฏการณ์เรือนกระจก

A.   ?    ปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดไฟป่าลุกลามทั่วทุกมุมโลก

B.   ?    ปรากฏการณ์ที่กระแสน้ำอุ่นในหมาสมุทรไหลเปลี่ยนทิศทาง

C.   ?    ปรากฏการณ์ที่บรรยากาศชั้นโอโซนถูกทำลาย

D.   ?    ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีก๊าชเรือนกระจกห่อหุ้มโลกมากขึ้น

10. สารที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายบรรยากาศชั้นโอโซน คือ

A.   ?    คลอโรฟลูออร์โรคาร์บอน

B.   ?    คาร์บอนไดออกไซด์

C.   ?    ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

D.   ?    มีเทน

ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

การเกิด

การตาย

ใบความรู้ที่ 2�เรื่อง

1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ� 2. ไบโอม� 3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ