643

การจัดประเภทมาตรฐาน ...riped.utcc.ac.th/wp-content/uploads/2016/03/LFS-Industry...การจ ดประเภทมาตรฐานอ ตสาหกรรมประเทศไทย

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ป 2552 (ฉบับปรับปรุงโดย สํานักงานสถิติแหงชาติ)

    กลุมมาตรฐานสถิติ สํานักบริหารจัดการระบบสถิติ สํานักงานสถิติแหงชาติ

    โทรศัพท : 0 2141 7447 – 9 โทรสาร : 0 2143 8121 ไปรษณยีอิเล็กทรอนิกส : [email protected]

  • หนวยงานทีเ่ผยแพร สํานักสถิติพยากรณ สํานักงานสถิติแหงชาต ิ ศูนยราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคาร B ช้ัน 1 – 4 ถนนแจงวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท 0 2141 7498 โทรสาร 0 2143 8132 ไปรษณยีอิเล็กทรอนิกส : [email protected] ปที่จัดพิมพ 2553 จัดพิมพโดย หางหุนสวนจาํกัด บางกอกบลอก

  • คํานํา

    หนังสือ “การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ป 2552 (ฉบับปรับปรุงโดยสํานักงานสถิติแหงชาต)ิ” นี้ ไดปรับปรุงจากเอกสาร “การจัดประเภทมาตรฐานอตุสาหกรรม (ประเทศไทย) ป 2552 (Thailand Standard Industrial Classification: TSIC 2009) ที่จัดทํารวมกบักรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โดยจดัทําในระดับ 5 หลัก ใหสอดคลองกับสภาวการณของประเทศ และสามารถเปรียบเทียบขอมูลไดทัง้ในระดบัประเทศ ภูมิภาค และระหวางประเทศ โดยจัดทําขึ้นบนพืน้ฐานของมาตรฐานการจัดประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจฉบับสากล 3 ฉบับ คือ

    1. International Standard Industrial Classification of All Economic Activities, Revision 4 (ISIC Rev.4) จัดทําโดย United Nations Statistics Division (UNSD)

    2. ASEAN Common Industrial Classification (ACIC) จัดทําโดยสํานักงานเลขาธิการ ASEAN เพื่อใชเปนมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน

    3. East Asia Manufacturing Industrial Classification (EAMIC) Ver.1 จัดทําโดย EAMS Secretariat รวมกับสํานักงานเลขาธิการ ASEAN เพื่อใชในการบูรณาการขอมูลสถิติอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิก ASEAN +3 (ประเทศสมาชิก ASEAN รวมถึงประเทศจีน ญี่ปุน และเกาหลีใต)

    ทั้งนี้สํานักงานสถิติแหงชาติไดจัดทําขึน้เพื่อใชในการเก็บรวบรวมขอมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจในโครงการสํามะโนและสํารวจตางๆ ของสํานักงานฯ เพื่อนําไปวเิคราะหและวางแผนพัฒนาประเทศ ทั้งทางดานเศรษฐกิจ สังคม และครัวเรือน นอกจากนี้ยังสามารถนําไปใชในการวิเคราะหเชิงลึกในการวางแผนและกําหนดยุทธศาสตรรองรับการเจริญเติบโตทางดานเศรษฐกิจของประเทศได

  • สารบัญ

    หคํานํา

    การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย (TSIC)

    เกณฑการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (ISIC)

    การจัดประเภทหนวยสถิติ

    โครงสรางของการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    รายละเอียดโครงสรางของการจัดประเภทอตุสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    คําอธิบายการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หมวดใหญ A เกษตรกรรม การปาไม และการประมง หมวดใหญ B การทําเหมืองแรและเหมืองหิน 1หมวดใหญ C การผลิต 1หมวดใหญ D ไฟฟา กาซ ไอน้ํา และระบบปรับอากาศ 2หมวดใหญ E การจัดหาน้ํา การจัดการ และการบําบัดน้าํเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล 2หมวดใหญ F การกอสราง 2หมวดใหญ G การขายสงและการขายปลีก การซอมยานยนตและจักรยานยนต 2หมวดใหญ H การขนสงและสถานที่เก็บสินคา 3หมวดใหญ I ที่พักแรมและบริการดานอาหาร 3หมวดใหญ J ขอมูลขาวสารและการสื่อสาร 3หมวดใหญ K กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 3หมวดใหญ L กิจกรรมอสังหาริมทรัพย 4หมวดใหญ M กิจกรรมทางวชิาชีพ วิทยาศาสตร และเทคนิค 4หมวดใหญ N กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน 4หมวดใหญ O การบริหารราชการ การปองกันประเทศ และการประกนัสังคมภาคบังคับ 4หมวดใหญ P การศึกษา 4หมวดใหญ Q กิจกรรมดานสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห 4หมวดใหญ R ศิลปะ ความบนัเทิง และนันทนาการ 4หมวดใหญ S กิจกรรมบริการดานอื่นๆ 4หมวดใหญ T กิจกรรมการจางงานในครัวเรือนสวนบุคคล กิจกรรมการผลิตสินคาและบริการ 5 ที่ทําขึ้นเองเพือ่ใชในครัวเรือน ซ่ึงไมสามารถจําแนกกจิกรรมไดอยางชัดเจน หมวดใหญ U กิจกรรมขององคการระหวางประเทศและภาคีสมาชิก 5

    จง

    นา ค

    1

    5

    11

    25

    27

    83 85 11 21 73 77 87 99 43 61 69 95 11 15 33 53 65 75 87 97 09

    11

  • ฉ จ

    สารบัญ (ตอ)

    หนา

    ภาคผนวก ภาคผนวก ก. ความแตกตางระหวาง ISIC Rev. 4 กับ ISIC Rev. 3.0 513 ภาคผนวก ข. การจัดกลุมขอมูลสถิติในดานตางๆ ตาม TSIC 521 ภาคผนวก ค. ตารางเปรียบเทียบการจัดประเภท ISIC Rev.3.0 กับ TSIC 2009 535 ภาคผนวก ง. ตารางเปรียบเทียบการจัดประเภท TSIC 2009 กับ ISIC Rev.3.0 585

  • การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย (TSIC)

    การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย (TSIC) เปนการจดัประเภทขอมูลอุตสาหกรรมตามประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Activities) เพื่อจัดกลุมประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะการดําเนนิกิจกรรมเหมือนกนัหรือคลายคลึงกันเขาดวยกัน และจัดกลุมหนวยงาน (Unit) ตามประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีห่นวยงานดังกลาวดําเนินการ เพื่อนําไปใชในการเก็บรวบรวม การวิเคราะห และการนําเสนอขอมูลสถิติ ทั้งในสถิติประชากร สถิติการผลิต สถิติแรงงาน และสถิติดานเศรษฐกิจอื่นๆ รวมถึงการจดัทําระบบบัญชีประชาชาติ (System of National Account: SNA) อีกทั้งเพื่อใหสามารถเปรียบเทียบขอมูลกันระหวางประเทศไดทั้งในระดบัสากลและระดับภูมภิาคอาเซียน ในการจดัทํา TSIC ฉบับนี้จึงจัดทําขึน้บนพื้นฐานของมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 3 ฉบับคือ

    − International Standard Industrial Classification of All Economic Activities Revision 4 (ISIC Rev.4)1/

    − ASEAN Common Industrial Classification (ACIC)2/ − East Asia Manufacturing Industrial Classification (EAMIC) Ver. 13/

    TSIC เปนการจัดประเภทกจิกรรมทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานของแนวคดิ production-oriented หรือ supply-based โดยจัดกลุมหนวยงานที่ทําการผลิตสินคา/บริการบนพื้นฐานของ “ความเหมือนกนัของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ” โดยพิจารณาจากปจจยัการผลิต กระบวนการและเทคโนโลยีการผลิต คุณลักษณะของผลผลิต และการนําผลผลิตไปใชงาน โดยใหน้ําหนักกบัแตละปจจัยไมเทากัน

    เกณฑการแบงกิจกรรมทางเศรษฐกจิออกเปนระดับตางๆ นั้น ขึน้อยูกับหลายปจจยั เชน การใชประโยชนและความเหมาะสมของขอมูล ซ่ึงอาจเปลี่ยนแปลงไปตามระดับของโครงสรางของการจัดประเภท เกณฑที่ใชในการจัดกลุมกจิกรรมในระดับยอยที่สุดคือ “ความเหมือนกันของกระบวนการผลิตสินคา/บริการ” เปนสําคัญ ในขณะที่การจัดกลุมในระดับใหญขึ้นไปจะไมใหความสําคญักับประเดน็ดังกลาวมากนกั

    1/ International Standard Industrial Classification of All Economic Activities Revision 4 (ISIC Rev.4) ฉบับเผยแพรอยางเปนทางการในป ค.ศ.

    2008 จัดทําโดย กองสถิติแหงสหประชาชาติ United Nations Statistics Division (UNSD) 2/ ASEAN Common Industrial Classification (ACIC) จัดทําโดยสํานักงานเลขาธิการอาเซียน เปนมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรมในระดับ 3

    หลัก มีวัตถุประสงคเพื่อใชเปนมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน และเพื่อใหประเทศสมาชิกอาเซียนใชเปนแนวทางในการพัฒนา National SIC และสามารถนําไปขยายตอในระดับ 4 หลัก หรือ 5 หลักตอไป มาตรฐานดังกลาวจัดทําขึ้นภายใตโครงการ ASEAN Task Force on Harmonization of Statistical Classifications (TFSC) โดยไดรับการสนบัสนนุจาก ASEAN-EU Program for Regional Integration Support (APRIS)

    3/ East Asia Manufacturing Industrial Classification (EAMIC) Ver. 1 จัดทําโดย EAMS Secretariat รวมกับสํานักงานเลขาธิการ ASEAN ภายใตการสนับสนุนจาก Ministry of Economy, Trade and Industry (METI) ประเทศญี่ปุน เปนมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรม (เฉพาะภาคการผลิต) ในระดับ 4 หลัก มีวัตถุประสงคเพื่อใชเปนมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิก ASEAN +3 (ประเทศสมาชิก ASEAN รวมถึงประเทศจีน ญ่ีปุน และเกาหลีใต) และเพื่อใชในการบูรณาการขอมูลสถิติอุตสาหกรรมในภูมิภาค

  • 2

    “กระบวนการผลิต” เปนเกณฑที่ TSIC พยายามนํามาใชในการจัดกลุมกิจกรรมในระดับยอยที่สุด ดังนั้นกจิกรรมที่มีกระบวนการผลิตสินคาหรือบริการเหมือนกันและใชเทคโนโลยีการผลิตที่คลายกันจะถูกจัดประเภทไวดวยกัน แตพบวายังมหีลายกลุมที่ตองการรักษาความตอเนื่องของขอมูลเพื่อใหสามารถเปรียบเทียบกับการจัดประเภทในฉบบัเกาได จึงทําใหไมสามารถใชเกณฑดังกลาวได เชน การผลิตอาหาร การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ หรืออุตสาหกรรมการบริการ ลักษณะของกิจกรรมดังกลาวมีความหลากหลายมาก จงึไมสามารถใหน้ําหนกักับเกณฑใดเกณฑหนึ่งหรือเนนเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตเพียงอยางเดียว

    TSIC ไมไดจัดประเภทตามลักษณะของการเปนเจาของหนวยที่ทําการผลิตหรือบริการ รูปแบบของการจัดตั้งตามกฎหมาย หรือวิธีการปฏิบัติงาน เนื่องจากเกณฑดังกลาวไมเกี่ยวของกับกระบวนการในการดําเนนิกิจกรรมแตอยางไร หนวยทีด่ําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกจิที่คลายกันจึงจะถูกจดัประเภทไวดวยกนั โดยไมคํานึงวาจะมีรูปแบบเปนวิสาหกจิที่ไมไดอยูในรูปบริษัท วิสาหกจิในรูปบริษัท หรือหนวยงานของรัฐ อยูภายใตการควบคุมของตางชาติ หรือมีหนวยงานแมที่ประกอบดวยสถานประกอบการมากกวาหนึ่งสถานประกอบการก็ได ดังนั้นความสัมพันธระหวาง TSIC กับหนวยสถาบัน4/ ตามความหมายของ SNA จึงไมเกีย่วของกัน

    ในทํานองเดียวกัน หนวยทีด่ําเนินกิจกรรมการผลิตไดจัดประเภทตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หนวยดังกลาวดําเนินงาน โดยไมคํานึงวาจะดําเนินงานโดยใชเครื่องจกัรหรือโดยมอื หรือดําเนินงานในโรงงานหรือในครัวเรือนก็ตาม ความแตกตางระหวางวิธีการผลิตแบบสมัยใหมหรือแบบพื้นบานจึงไมใชเกณฑที่ใชในการจัดประเภทตาม TSIC แมวาความแตกตางดังกลาวอาจมีนัยสําคญัทางสถิติก็ตาม

    นอกจากนี้ TSIC ไมไดจําแนกตามความแตกตางของการดําเนินงานวาอยูในระบบหรือนอกระบบ ถูกตองหรือไมถูกตองตามกฎหมาย ถาตองการจําแนกขอมูลตามรูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย ประเภทขององคกร หรือวิธีการดําเนินงาน อาจทําการจัดจําแนกโดยแยกตางหากจากการจัดประเภทตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อใหไดขอมูลที่ตองการ การจําแนกความแตกตางวาเปนกจิกรรมที่ดําเนนิงานเพื่อธุรกจิหรือไมใชเพือ่ธุรกิจ โดยทั่วไปแลวไมใชประเด็นสําคัญสําหรับ TSIC แตสําคัญสําหรับการใชขอมูลในการจดัทํา SNA ซ่ึงการดําเนนิงานที่ไมใชเพื่อธุรกิจสวนใหญแลวจะดําเนินงานโดยหนวยงานภาครัฐหรือองคกรที่ไมแสวงหากําไรที่ใหบริการครัวเรือน เชน ดานการศึกษา สุขภาพ งานสังคมสงเคราะห ฯลฯ

    4/ หนวยสถาบัน (Institutional Units) หมายถึงหนวยเศรษฐกิจที่ดําเนินงานในนามของตนเอง ทรัพยสินของตนเอง กอใหเกิดหนี้สิน และดําเนิน

    กิจกรรมทางเศรษฐกิจและธุรกรรมกับหนวยอื่นๆ อาจเปนเจาของและทําการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินคาและสินทรัพย ซึ่งในทางกฎหมายแลวตองรับผิดชอบในการดําเนินธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและอาจมีผลตอสัญญาตามกฎหมาย ลักษณะที่สําคัญของหนวยสถาบันคอื ตองมีขอมูลทางบัญชีของหนวยดังกลาวหรือสามารถเก็บรวบรวมได ซึ่งขอมูลทางบัญชี รวมถึงบัญชีการเงินหรืองบดุลของสินทรัพยและหนี้สิน หนวยสถาบัน รวมถึงบุคคลหรือกลุมบุคคลในรูปของครัวเรือนหรือนิติบุคคลหรือหนวยทางสังคม ที่ไดรับการยอมรับทางกฎหมายหรือทางสังคม เปนอิสระจากบุคคลหรือหนวยอื่นๆ ที่อาจครอบครองหรือควบคุมหนวยสถาบัน

  • 3

    การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย (TSIC) ไดจดัจําแนกอุตสาหกรรมออกเปนหมวดใหญ หมวดยอย หมูใหญ หมูยอย และกิจกรรม โดยใชแทนดวยเลขรหัส 5 ตัว ดังนี ้

    หมวดใหญ กลุมอุตสาหกรรมที่ใหญที่สุด 21 หมวดใหญ แทนดวยตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-U หมวดยอย กลุมอุตสาหกรรมซึ่งแบงเปนกลุมยอยจากหมวดใหญ 88 หมวดยอย แทนดวยเลขรหัส 2 ตัวแรก หมูใหญ กลุมอุตสาหกรรมซึ่งแบงเปนกลุมยอยจากหมวดยอย 243 หมูใหญ แทนดวยเลขรหัส 3 ตัวแรก หมูยอย กลุมอุตสาหกรรมซึ่งแบงเปนกลุมยอยจากหมูใหญ 440 หมูยอย แทนดวยเลขรหัส 4 ตัวแรก กิจกรรม กลุมอุตสาหกรรมที่ยอยที่สุด 1,089 กิจกรรม แทนดวยเลขรหัส 5 ตัว ตัวอยางโครงสรางรหัสกิจกรรมทางเศรษฐกจิสามารถแสดงรายละเอยีดในระดับตางๆ ไดดงัตอไปนี ้

    กิจกรรมทางเศรษฐกิจ รหัส หมวดใหญ เกษตรกรรม การปาไม และการประมง A หมวดยอย การเพาะปลูกและการเลี้ยงสตัว การลาสัตว และกิจกรรมบริการที่เกี่ยวของ 01 หมูใหญ การปลูกพืชลมลุก 011 หมูยอย การปลูกธัญพืช (ยกเวนขาว) พืชตระกูลถ่ัว และพืชที่เมลด็ใหน้ํามัน 0111 กิจกรรม การปลูกขาวโพดที่ใชเมล็ดแก 01111

    TSIC ฉบับนี้มีการแตกรายละเอียดของกจิกรรมมากกวาฉบับเกา ซ่ึงเปนไปตามความตองการของผูผลิตและผูใชขอมูลสถิติแตวิธีการลงรหัสยังคงเหมือนเดิม ความตองการใหมๆ ทีเ่พิ่มขึ้นทําใหเกิดการแบงกลุมในระดบัหมวดใหญ (Sections) และหมวดยอย (Divisions) มากขึ้นโดยเฉพาะกิจกรรมการบริการ

    ระดับใหญสุดของโครงสรางแสดงดวยตวัอักษร เรียกวา “หมวดใหญ (Sections) ” ระดับ 2 หลักเรียกวา “หมวดยอย (Divisions)” ระดบั 3 หลักเรียกวา “หมูใหญ (Groups)” ระดับ 4 หลักเรียกวา “หมูยอย (Classes)” และระดับ 5 หลักเรียกวา “กจิกรรม (Activities)” ในขณะที่บางกิจกรรมของ TSIC ยังคงเดิม บางกิจกรรมแตกออกเปนกจิกรรมใหมโดยยกระดับใหสูงขึ้น เชน ในระดับหมวดใหญบางหมวดสามารถเปรียบเทียบกับฉบับเกาไดงาย แตหมวดใหญบางหมวดถูกจดัทําขึน้ใหม (เชน หมวดใหญ J ขอมูลขาวสารและการสื่อสาร) ทําใหยากตอการเปรียบเทียบกับฉบับเกาจึงตองใชตารางเปรียบเทียบเปนเครื่องมือชวย

    เลข “0” จะใชเปนเลขตัวสุดทายของรหัสในกรณีที่ไมมีการแบงยอยรายการออกเปนหลายรหัส เชน รหัสของหมูใหญ “การผลิตเครื่องดื่ม” คือ 110 เนื่องจากหมวดยอย 11 “การผลิตเครื่องดื่ม” ไมมีการแบงยอยรายการออกไปอีก เชนเดยีวกับรหัสของหมูยอย “การผลิตเฟอรนิเจอร” คือ 3100 เนื่องจากทั้งหมวดยอย 31 และหมูใหญ 310 “การผลิตเฟอรนิเจอร” ไมมกีารแบงยอยรายการออกไปอีกเชนกนั

    เนื่องจาก TSIC เปนมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรมที่จัดทําขึ้นบนพื้นฐานของ International Standard Industrial Classification of All Economic Activities Revision 4 (ISIC Rev.4) เปนหลัก ดังนั้น เพื่อใหการใชงาน TSIC เปนไปอยางมีประสิทธิภาพ จึงจําเปนที่จะตองศกึษาถึงเกณฑการจัดประเภทอตุสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (ISIC) เพื่อใหเขาใจถึงที่มาและแนวคดิของการจัดทํามาตรฐานดังกลาวไดอยางชัดเจน

  • 4

  • 5

    เกณฑการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (ISIC) วัตถุประสงคของการจัดประเภทอุตสาหกรรม การศึกษาสภาวการณทางเศรษฐกิจไมสามารถที่จะศึกษาทุกเรื่องที่สนใจไดในคราวเดยีวกัน ดังนั้นในการวิเคราะหจึงจําเปนตองเลือกและจดักลุมเพื่อศึกษาเฉพาะสิ่งที่สนใจ โดยอธิบายในรูปของขอมูลสถิติที่มีการจัดประเภทอยางเปนระบบ การจัดประเภทขอมูลเปนเหมือนกับระบบของภาษาที่ใชเพื่อการสื่อสารและการประมวลผลขอมูลสถิติที่สนใจศึกษา ซ่ึงการจัดประเภทดังกลาวเปนการแบงขอมูลออกเปนกลุมๆ โดยใหในแตละกลุมมีความเหมือนกันมากทีสุ่ดเทาที่จะทําไดเพื่อใหไดคุณลักษณะของสิ่งที่สนใจศึกษา

    ISIC เปนการจัดประเภทตามชนิดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไมใชการจัดประเภทตามชนิดของสินคาหรือบริการ กิจกรรมการผลิตที่เหมือนกันที่ดําเนนิงานโดยหนวยงานตางๆ จะถูกนํามาจดัประเภทรวมไวในกลุมเดียวกนัเพื่อกอใหเกิดเปน “อุตสาหกรรม” ซ่ึงอุตสาหกรรมในที่นี้หมายถึง กลุมของหนวยผลิตทั้งหมดที่ดําเนินกิจกรรมการผลิตหลักที่เหมือนหรือคลายกัน

    การจัดประเภทอตุสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (ISIC) เปนมาตรฐานการจดัประเภทกิจกรรมทั้งการผลิตสินคาและบริการ ที่มีวัตถุประสงคหลักเพื่อใหไดกลุมของกิจกรรมที่นํามาใชในการจดัเกบ็และนําเสนอขอมูลสถิติตามกิจกรรมที่ตองการ ดังนั้น ISIC จึงมีเปาหมายในการนํากลุมของกิจกรรมที่หนวยสถิติ (สถานประกอบการ, วิสาหกิจ, ฯลฯ) ดําเนินการอยูมาจดัประเภทตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยจัดประเภทของกิจกรรมตามกระบวนการทีห่นวยงานดําเนินการเพื่อนํามาอธิบายในรปูของขอมูลสถิติเชิงเศรษฐกจิ รายการขอมูลตางๆ ที่จัดแบงใน ISIC จึงเปนการจดัประเภทตามกิจกรรมที่หนวยสถิติดําเนินการ ไมไดจดัประเภทตามชื่อหรือชนิดของหนวยงาน ดวยเหตผุล 2 ประการคือ

    − การจัดประเภทโดยพิจารณาจากชื่อของหนวยงานเพยีงอยางเดยีวอาจไมถูกตอง เนื่องจากชื่อเหมือนกนัแตอาจดําเนนิกิจกรรมตางกัน เชน การตั้งชือ่วา “อินเตอรเน็ตคาเฟต” อาจดําเนนิกิจกรรมภัตตาคาร/รานอาหารที่มีบริการอินเตอรเน็ตทั้งแบบ wired และ wireless แกลูกคา หรืออาจเปนบริการทางธุรกิจที่ใหเชาเวลาเพื่อใชคอมพิวเตอร ใชอินเตอรเน็ต หรือเพื่อวัตถุประสงคอ่ืนก็ได หรืออาจเปนหนวยธุรกิจที่ใหบริการเพื่อการบนัเทิงโดยใหเลนเกมผานทางอินเตอรเนต็ จะเห็นวาชือ่เหมือนกนัอาจดําเนนิกิจกรรมที่แตกตางกนั ซ่ึงถานําหนวยงานเหลานี้มาจัดประเภทไวดวยกันจะทําใหไดขอมูลที่ไมถูกตองและไมสามารถเปรียบเทียบกันไดอยางแทจริง

    − การจัดประเภทโดยพิจารณาจากชื่อของหนวยงาน ไมไดหมายความวาหนวยงานดังกลาวดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกจิตามชื่อดังกลาว เชน “อูตอเรือ” โดยสวนใหญแลวดําเนนิกิจกรรมการตอเรือ แตในทางปฏิบตัิสามารถใชเครื่องจักร อุปกรณ และสิ่งอํานวยความสะดวกที่ใชสําหรับการตอเรือมาใชเพื่อการรื้อ/แยกชิ้นสวนเรือก็ได ถาอูตอเรือถูกนํามาใชเพื่อการรื้อ/แยก

  • 6

    ช้ินสวนเรือเปนหลัก ก็ไมควรจะจัดประเภทหนวยงานดังกลาวไวในกิจกรรมการตอเรือ อีกตัวอยางหนึ่งคอื “สถานีบริการน้ํามัน” ที่มีรานสะดวกซื้อดวย การมีหมูยอย “สถานีบริการน้ํามันที่มีรานสะดวกซื้อ” ดูเหมือนวาจะชวยใหสามารถจัดประเภทไดงายขึ้น แตกลับพบวาไมสะทอนถึงการดําเนนิกิจกรรมที่แทจริง เนื่องจาก ISIC เปนการจดัประเภทหนวยงานตาม “กิจกรรมหลัก” จึงควรจดัประเภทไวใน “การขายปลีกน้ํามันเชื้อเพลิง” หรือ “รานขายปลีกสินคาทัว่ไปทีม่ีอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาสบูเปนสินคาหลัก” อยางใดอยางหนึ่งตามกิจกรรมหลัก

    ในทางทฤษฎถีา ISIC มีจํานวนรายการกิจกรรมมากเทากับจํานวนกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึน้จรงิ หรือในแตละหนวยงานมกีารดําเนินกจิกรรมเพียงกจิกรรมเดียว การจัดประเภทกิจกรรมของหนวยงานลงในรายการใดรายการหนึ่งใน ISIC ก็เปนเรื่องงาย แตในความเปนจริง ISIC มีจํานวนรายการกิจกรรมที่จํากัด อีกทั้งการกําหนดใหหนวยงานใดหนวยงานหนึง่ที่ดําเนินกิจกรรมมากกวาหนึ่งกิจกรรมแตไมสามารถแยกบัญชีได ตองจัดประเภทไวในกจิกรรมเดยีว ซ่ึงขัดแยงกับความเปนจริงในรายงานทางบัญชี เพราะขอมูลที่นํามาใชคือขอมูลทางการเงิน ซ่ึงเปนขอมูลในภาพรวมทั้งหมดของหนวยงานไมใชเฉพาะกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ทําใหขอมูลที่ไดไมใชขอมูลที่แทจริงของแตละกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    ในการจดัประเภทกจิกรรมตาม ISIC นอกจากจะสามารถนํามาวิเคราะหในแงมุมของความเหมือนกนัของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแลว การวิเคราะหขอมูลจะมีประโยชนมากขึน้ถานําขอมูลที่จัดประเภทตาม ISIC มาวิเคราะหเพิม่เติมในแงมุมของพืน้ที่ภูมิศาสตร ซ่ึงถือเปนอีกปจจยัหนึ่งที่มีความสําคัญในการวเิคราะหขอมูลสถิติ กิจกรรมหลัก กิจกรรมรอง และกิจกรรมสนับสนุน

    คาํวา “กิจกรรม” หมายถึงกจิกรรมการผลิตสินคาและบริการที่ดําเนินงานโดยหนวยงานที่ใชปจจัยการผลิต เชน ทุน แรงงาน พลังงาน วัตถุดิบ ฯลฯ เพื่อกอใหเกิดผลผลิต ซ่ึงผลผลิตที่ไดจากการดําเนินกิจกรรมสามารถโอนยายหรือจาํหนายใหกับหนวยอ่ืน (ทั้งเพื่อธุรกิจหรือไมใชเพื่อธุรกิจ) เก็บไวในคลังสินคา หรือนําไปใชโดยหนวยผลิตเพื่อใชประโยชนขั้นสุดทาย บางกิจกรรมใน ISIC เปนเพยีงกระบวนการงายๆ ในการแปรรูปปจจัยการผลิตเปนผลิตภัณฑ เชน การยอมผา ในขณะที่บางกิจกรรมมีความยุงยากซับซอนและมีหลายขั้นตอน เชน การผลิตยานยนตหรือการบูรณาการระบบคอมพิวเตอร

    กิจกรรมหลัก คือ “กิจกรรมที่กอใหเกิดมูลคาเพิ่มสูงสุด” ซ่ึงวิธีการพิจารณากจิกรรมหลักไดกําหนดใหใชวิธีการแบบบนลงลาง (top-down method) แมวาในความเปนจริงแลวกิจกรรมที่เปน “กิจกรรมหลกั” สวนใหญจะมมีูลคาเพิ่ม 50 เปอรเซ็นตหรือมากกวา หรือมีมูลคาเพิ่มสูงสุดของกิจกรรมที่ดําเนนิงานทั้งหมดในหนวยนัน้ๆ แตในบางกรณีเมื่อใชวิธีการแบบบนลงลางแลวผลที่ไดนัน้อาจไมเปนแบบที่กลาวขางตน นอกจากนี้ผลผลิตที่ไดจากการดําเนินกจิกรรมหลักอาจไดเปนผลิตภณัฑหลักหรือผลิตภัณฑที่เปนผลพลอยไดก็ได เนื่องจากผลพลอยไดเปนผลผลิตที่สําคัญที่ไดมาพรอมกับการผลิตผลิตภัณฑหลัก เชน หนงัดิบซึ่งไดจากการผลิตเนื้อสัตวในโรงฆาสัตว

  • 7

    กิจกรรมรอง คือ กิจกรรมที่แยกตางหากเพื่อการผลิตผลิตภัณฑใหกับบุคคลที่สาม และตองไมใชกิจกรรมหลัก ผลผลิตของกิจกรรมรองคือผลิตภัณฑรอง ซ่ึงหนวยธุรกิจสวนใหญจะมีการผลิตผลิตภัณฑรอง

    กิจกรรมสนับสนุน คือ กิจกรรมที่ชวยใหกจิกรรมหลักและกิจกรรมรองสามารถดําเนินการได ทําหนาที่สงเสริมและสนับสนนุการดําเนินกจิกรรมหลัก โดยการจดัหาสินคาและบริการทั้งหมดหรือบางสวนเพือ่ใชภายในหนวยงาน เชน การทําบัญชี การขนสง การจัดเก็บสินคา การจัดซื้อ การสงเสริมการขาย การทําความสะอาด การซอมแซมและบาํรุงรักษา การรักษาความปลอดภัย ฯลฯ ซ่ึงกิจกรรมเหลานี้มีอยูในทุกๆ หนวยงาน

    การกําหนดกจิกรรม ควรแยกกจิกรรมหลักและกจิกรรมรองออกจากกิจกรรมสนับสนุนใหชัดเจน เนื่องจากผลผลิตของกิจกรรมหลักและกิจกรรมรองคือ ผลิตภัณฑหลักและผลิตภัณฑรองที่ทําขึ้นเพื่อขายสูตลาดหรือเพื่อการใชประโยชนของผูอ่ืน เชน อาจเก็บไวเพื่อขายในอนาคตหรือเพื่อการแปรรูปตอไป แตสําหรับกิจกรรมสนับสนุนมีไวเพื่ออํานวยความสะดวกใหกจิกรรมหลักและกจิกรรมรองสามารถดําเนินงานได

    ลักษณะของกจิกรรมที่บงบอกวาเปนกิจกรรมสนับสนุนที่มักพบเหน็ไดโดยทัว่ไป คอื ผลผลิตที่ไดจะถูกนําไปใชเพื่อการบริโภคขั้นกลางภายในหนวยงานเดยีวกัน และไมไดมีการจดบันทึกทางบัญชีแยกไวอยางชดัเจน แมวากิจกรรมสนับสนุนสวนใหญจะเปนการบริการ แตบางกรณกีารผลิตสินคาก็อาจเปนกิจกรรมสนับสนุนได แตอาจไมไดปรากฏใหเหน็เปนสวนหนึ่งของผลิตภัณฑหลักอยางชัดเจน เชน เครื่องมือกล นั่งราน ฯลฯ ซ่ึงเมือ่เปรียบเทียบแลวพบวากิจกรรมสนับสนุนถือเปนเพียงสวนนอยเมื่อเปรียบเทียบกับกจิกรรมหลัก

    ถากิจกรรมสนับสนุนที่สถานประกอบการดําเนินงานมคีวามโดดเดนและชัดเจนในเชิงสถิติ นั่นคือสามารถแยกบญัชีการดําเนินกิจกรรมสนับสนุนดังกลาวได หรือถาสถานประกอบการนั้นตั้งอยูในพื้นที่ที่แตกตางกันในเชิงภูมิศาสตร ก็เปนการสมควรและมีประโยชนที่จะแยกสถานประกอบการออกเปนหนวยตางหากและจัดประเภทอุตสาหกรรมไวตามกิจกรรมหลักที่ดําเนินงาน แตถาขอมูลพื้นฐานที่มีอยูไมเพียงพอหรือไมเหมาะสมก็ไมควรแยกสถานประกอบการลักษณะนี้ออกมา

    จากคําจํากดัความที่แสดงในขางตน กิจกรรมตอไปนี้จะไมถือวาเปนกจิกรรมสนับสนุน

    − การผลิตสินคาและบริการที่เปนสวนหนึ่งของการสะสมทุน เชน ธุรกจิที่ทําการกอสรางใหกับหนวยงานแม ใหจัดประเภทไวเหมือนกับเปนหนวยงานที่ดําเนินงานกอสรางของตนเอง เนื่องจากมีขอมูลทางบัญชีที่เหมาะสม

    − การผลิตผลิตภัณฑที่นํามาใชเพื่อการบริโภคขั้นกลางสําหรับกิจกรรมหลกัหรือกิจกรรมรองของหนวยงาน แตสวนใหญของผลผลิตที่ผลิตไดนําไปจาํหนายสูตลาด

    − สินคาที่ผลิตไดกลายเปนสวนสําคัญของผลผลิตของกิจกรรมหลักและกิจกรรมรองทีเ่ห็นไดอยางชัดเจน เชน แผนกบรรจุภัณฑที่ทําการผลิตกลอง กระปองดีบกุ หรือบรรจภุัณฑอ่ืนๆ เพื่อใชภายในหนวยงานของตนเอง

    − กิจกรรมการวจิัยและพัฒนาที่เปนสวนหนึง่ของการสะสมทุนในแงของ SNA

  • 8

    หนวยสถิต ิ (Statistical Uhit) สถิติเศรษฐกิจเปนสิ่งที่ใชอธิบายถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหวางหนวยงานที่ดําเนินกิจกรรมทาง

    เศรษฐกิจกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในความเปนจรงิหนวยธุรกิจที่ผลิตสินคาและบริการนั้นมีหลายรูปแบบทั้งในทางกฎหมาย ทางบัญชี องคกร และการปฏิบัติงาน เพื่อจัดทําขอมูลสถิติใหสอดคลองตามลักษณะของธุรกิจและสามารถเปรียบเทียบในระดับสากลได จําเปนตองกําหนดและอธิบายรายละเอียดของหนวยสถิติที่เปนมาตรฐาน (ไมวาจะเปนหนวยสําหรับการศึกษาหรือเพือ่การวิเคราะห) สําหรับการเก็บขอมูลและการจัดกลุม ดังนั้น ถาหนวยสถิติที่เก็บรวบรวมมานัน้มีนิยามและการจัดกลุมที่เหมอืนกัน การเปรียบเทียบขอมลูก็จะสามารถทําไดดยีิ่งขึ้น

    หนวยสถิติในระบบบัญชีประชาชาติ (SNA) การวิเคราะหความสัมพันธระหวางหนวยงานที่ดําเนนิธุรกรรมกับธุรกรรมในระบบบญัชี

    ประชาชาติ (SNA) ใชหนวยสถิติ 2 ประเภทคือ วิสาหกจิ เปนหนวยสถิติที่ใชรวบรวมบัญชีรายได บัญชีสะสมทุน และบัญชีงบดลุ และสถานประกอบการ เปนหนวยสถิติที่ใชสําหรับวิเคราะหกิจกรรมที่เกี่ยวของกับสินคาและบริการและเพือ่รวบรวมบัญชีดานการผลิต

    วิสาหกิจ (Enterprises) หมายถึงหนวยสถาบันที่ผลิตสินคาและบริการ เปนหนวยงานที่ดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกจิที่มีอํานาจในการตดัสินใจทางดานการเงินและการลงทุน รวมถึงอํานาจในการบริหารงานและความรับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยากรเพือ่ใชในการผลิตสินคาและบริการ ซ่ึงวิสาหกิจอาจดําเนินกิจกรรมการผลิตไดตั้งแต 1 กิจกรรมขึ้นไป อาจอยูในรูปบริษัท (หรือกึ่งบริษัท) สถาบันที่ไมแสวงหากําไร หรือกิจการที่ไมใชนิติบุคคลซึ่งนับวาเปนหนวยสถาบันทั้งส้ิน ในอกีแงหนึ่งคําวากิจการที่ไมใชนิติบุคคลจะหมายถึง หนวยสถาบัน (ครัวเรือนหรือหนวยงานของรัฐ) ก็ตอเมื่อมีขีดความสามารถในการผลิตสินคาและบริการ

    วิสาหกจิเปนหนวยสถิติที่มีขอมูลทั้งหมดเกีย่วของกับกจิกรรมหรือการดาํเนนิงานในหนวยงาน รวมถึงบัญชกีารเงินและบัญชงีบดุล การดําเนินงานระหวางประเทศ สถานการณการลงทุนระหวางประเทศ (ถามี) สถานะทางการเงินรวม และมูลคาทรัพยสินสุทธิ

    สถานประกอบการ (Establishments) ในระบบบัญชีประชาชาติ (SNA) เปนหนวยสถิติเพื่อกําหนดและอธิบายขอมูลสถิติอุตสาหกรรมหรือสถิติการผลิต สถานประกอบการเปนวิสาหกิจหรือสวนหนึ่งของวสิาหกจิที่ตั้งอยู ณ สถานที่ใดทีห่นึ่งและดําเนินกจิกรรมการผลิต(ที่ไมใชกิจกรรมสนับสนุน) เพียงอยางเดยีว หรือกจิกรรมการผลิตหลักที่ใหมูลคาเพิ่มสูงสุด

    ISIC ถูกออกแบบมาเพื่อจัดประเภทหนวยงานทีด่ําเนินกจิกรรมทีเ่หมือนกนัหรือคลายกันไวดวยกันเพื่อวัตถุประสงคในการวิเคราะหและรวบรวมขอมูลสถิติการผลิต แมวาจะสามารถนํา ISIC มาจัดประเภทวิสาหกจิตามกจิกรรมหลักและจัดกลุมไปตามประเภทอตุสาหกรรมไดก็ตาม แตเมือ่นําผลที่ไดมาวิเคราะหพบวาในบางอุตสาหกรรมมีความแตกตางกันมาก เนื่องจากใน 1 วิสาหกิจอาจมีกิจกรรมรองที่มีความแตกตางจากกิจกรรมหลักอยูเปนจํานวนมาก จึงจําเปนที่จะตองแตกวิสาหกิจทีป่ระกอบดวยกิจกรรมที่หลากหลายออกเปนหนวยยอยๆ เพื่อใหไดขอมลูการผลิตของแตละอุตสาหกรรมที่แทจริง ขอจํากดัที่สําคัญของการใชหนวยสถิติเปน

  • 9

    วิสาหกิจก็คือทําใหมูลคาเพิ่มสูงสุดของอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งถูกตีความหมายใหเปนมูลคาเพิ่มทั้งหมดของวิสาหกิจ

    แมวาความหมายของคําวาสถานประกอบการ อาจจะมกีิจกรรมรองไดมากกวา 1 กิจกรรม แตกิจกรรมรองกค็วรจะมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกบักิจกรรมหลกั ในกรณีทีก่ิจกรรมรองมีความสําคัญหรือคอนขางสําคัญเทียบเทากจิกรรมหลัก จะทาํใหหนวยสถิติดังกลาวมีลักษณะเปนหนวยพื้นที่ 5 / มากกวาจะเปนลักษณะของสถานประกอบการดงันั้น จึงควรแยกกจิกรรมรองออกจากกจิกรรมหลักเปนอกีหนึ่งสถานประกอบการ

    ในกรณีของหนวยงานที่มีขนาดเล็กและขนาดกลาง การกําหนดใหหนวยงานนั้นๆ เปนวิสาหกจิหรือสถานประกอบการจะสามารถทําไดงาย แตในกรณทีี่หนวยงานดงักลาวเปนหนวยงานขนาดใหญและมีความซับซอนในการดําเนินกจิกรรมทางเศรษฐกิจหลายอยางในอุตสาหกรรมหลายประเภท ซ่ึงเราเรียกหนวยงานลักษณะนีว้า “วิสาหกจิ” เมื่อนําหนวยงานดังกลาวมาจดัประเภทตาม ISIC แลว พบวาวิสาหกิจนั้นสามารถแยกออกเปนสถานประกอบการไดมากกวา 1 สถานประกอบการ ซ่ึงจะชวยใหขอมูลที่เก็บรวบรวมไดมีความถูกตองและครบถวนมากกวาการเกบ็ขอมูลเปนวสิาหกิจ 5/ หนวยพื้นที่ (Local unit) มีหลายวิสาหกิจที่ดําเนินกิจกรรมการผลิตมากกวา 1 สถานที่ ดังนั้นหนวยพื้นที่จะหมายถึง วิสาหกิจหรือสวนหนึ่งของ

    วิสาหกิจ (เชน หองปฏิบัติการ โรงงาน คลังสินคา สํานักงาน เหมือง หรือโกดัง) ที่ดําเนินกิจกรรมการผลิต ณ สถานที่ใดที่หนึ่งหรืออยูหางออกไปอีกที่หนึ่ง ซึ่งจากความหมายขางตนหนวยพื้นทีจ่ะใหแงมุมเพียงดานเดียวโดยไมไดสนใจถึงประเภทกิจกรรมที่ดําเนินงาน เมื่อหลักเกณฑของหนวยประเภทกิจกรรมและหนวยพื้นที่ถูกนํามารวมกัน ก็จะไดเปนความหมายที่สอดคลองกับการดําเนินงานของ “สถานประกอบการ”

  • 10

  • 11

    การจัดประเภทหนวยสถิติ หลักเกณฑการจัดประเภทของ ISIC ไดกาํหนดใหจดัประเภทกิจกรรมของหนวยสถิติตามกิจกรรม

    หลัก แตในทางปฏิบัติมักพบวา ใน 1 หนวยสถิติอาจดาํเนินกจิกรรมทางเศรษฐกิจมากกวาหนึ่งกจิกรรม และเมื่อนํามาจัดประเภทตาม ISIC แลวพบวาจะสามารถจัดประเภทไดมากกวา 1 รายการ การกําหนดกิจกรรมหลักจึงเปนส่ิงสําคัญเพื่อใชในการจดัประเภทหนวยสถิติดังกลาววาควรจะจัดอยูในรายการใดใน ISIC

    การกําหนดวากิจกรรมใดเปนกิจกรรมหลักของหนวยสถิติตองนาํกิจกรรมทั้งหมดมาพิจารณา แตการจัดประเภทหนวยสถิติวาควรจดัประเภทไวในกจิกรรมใดจะพจิารณาเฉพาะกจิกรรมหลักเทานัน้ ซ่ึงในทางทฤษฎี “กิจกรรมหลักคือ กิจกรรมการผลิตสินคาและบริการที่กอใหเกิดมูลคาเพิ่มสูงสุด” ซ่ึงมูลคาเพิ่มคือ มูลคาเพิ่มรวมที่ไดจากคาความตางระหวางมูลคาผลผลิตกับคาใชจายของสินคาขั้นกลาง สิ่งท่ีใชแทนมลูคาเพิ่ม

    เนื่องจากในทางปฏิบัตินั้น การหาขอมูลมูลคาเพิ่มของกิจกรรมตางๆ ของหนวยสถิติทําไดยาก จงึจําเปนตองหาวิธีการเพื่อมาทดแทนคาของมูลคาเพิ่ม

    − แทนคาดวยมลูคาผลผลิต เชน • ผลผลิตมวลรวมของหนวยสถิติที่ไดจากการผลิตสินคาหรือบริการของแตละกจิกรรม • มูลคาขายของกลุมผลิตภัณฑที่จัดประเภทไวในกลุมกจิกรรมเดียวกนั

    − แทนคาดวยปจจัยการผลิต เชน • คาจางและเงนิเดือนของกิจกรรมประเภทตางๆ • จํานวนชั่วโมงการทํางานของกิจกรรมประเภทตางๆ • การจางงานตามสัดสวนของจํานวนคนที่ทาํงานในกิจกรรมตางๆ ของหนวยงาน

    หลักเกณฑดังกลาวสามารถใชเพื่อประมาณคามูลคาเพิ่มที่ไมสามารถหาขอมูลได เพื่อใหไดคาประมาณที่ใกลเคียงที่สุดโดยเปรียบเทียบกับคาของขอมูลที่เปนพื้นฐานของมูลคาเพิ่ม หลักเกณฑนี้สามารถนําไปใชไดไมวาจะใชวิธีการหากิจกรรมหลักแบบทั่วไปหรือวิธีการแบบบนลงลาง แตอยางไรก็ตามการใชวิธีการขางตนอาจทําใหเกิดคาที่ผิดพลาดได จึงควรใชเมื่อไมสามารถหาคามูลคาเพิ่มไดเทานั้น

    ปญหาจากการใชมูลคาผลผลติแทนมูลคาเพิ่ม ในกรณีที่ใชมลูคาผลผลิตที่ขายไดมาแทนมูลคาเพิ่ม ถามูลคาการซื้อขายสินคาและบริการและ

    มูลคาเพิ่มไมไดมีความสัมพนัธที่เปนสัดสวนกนัอยางชดัเจนจะทําใหเกดิปญหาในการประมาณคา เชน มูลคาผลตอบแทนจากการขายสินคามีสัดสวนของมูลคาเพิ่มต่ํากวาภาคการผลิตมาก แมแตภายในภาคการผลิต ความสัมพันธระหวางมูลคาผลผลิตกับมูลคาเพิ่มยังไมมคีวามสัมพันธที่แนนอน ไมวาจะเปนความสัมพันธภายในกิจกรรมประเภทเดยีวกันหรือตางกิจกรรมกันก็ตาม ยิ่งถาพบวาสินคาที่ผลิตไดสวนใหญไมไดนําออกขายสูตลาด

  • 12

    ในชวงเวลาทีท่ําการเก็บขอมูลแตถูกจัดเกบ็อยูในคลังสินคา อาจทําใหมูลคาผลผลิตที่ขายไดต่าํกวามูลคาเพิม่ที่ควรจะเปน นอกจากนี้ ในบางกรณีไมสามารถนํามูลคาการซื้อขายมาใชไดหรือไมมีขอมูล เชน กิจกรรมตัวกลางทางการเงินหรือกิจกรรมการประกันภัย ซ่ึงปญหาลักษณะนี้อาจเกดิขึน้ไดเหมือนกนัถาใชขอมูลผลผลิตมวลรวมมาประมาณคามูลคาเพิ่ม

    ในกรณีที่หนวยสถิติที่ดําเนินกิจกรรมการขายรวมถึงกิจกรรมอื่นๆ มูลคาผลตอบแทนการขายสินคาจะไมใชตัวเลขที่เหมาะสมเพื่อมาประมาณคามูลคาเพิ่ม ตัวเลขที่เหมาะสมกวาคือผลกําไรรวม (ความแตกตางระหวางผลตอบแทนจากการขายสินคากับการซื้อสินคามาเพื่อการขายตอ แลวปรับคาดวยตัวเลขการเปลี่ยนแปลงในคลังสินคา) แตกําไรจากการขายอาจแตกตางกันแมภายในกจิกรรมการขายสงหรือขายปลีกสินคาชนิดเดยีวกัน และอาจแตกตางระหวางการขายสินคาตางชนิดกันก็ได

    ปญหาจากการใชปจจัยการผลิตแทนมลูคาเพิ่ม ในทํานองเดียวกัน การใชปจจัยการผลิตแทนมูลคาเพิ่มควรพิจารณาอยางถ่ีถวนกอนที่จะนํามาใช

    เนื่องจากสัดสวนระหวางคาจางและเงนิเดอืนหรือการจางงานกับมูลคาเพิ่มไมไดคงทีเ่สมอไป และสัดสวนของทนุในแตละกิจกรรมก็มีความแตกตางกันออกไป ถามีสัดสวนของทุนสูงหมายความวา มูลคาเพิ่มที่ไดจะมีคาเสื่อมราคาในอัตราที่สูงและมีสัดสวนของคาจางและเงินเดือนในอัตราที่ต่ํา สัดสวนของทุนจะแตกตางกนัไปในแตละกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แมกระทั่งในกิจกรรมที่จัดประเภทไวในกลุมเดียวกันก็ตาม เชน กจิกรรมการผลิตสินคาที่ดําเนินงานดวยมือจะมีสัดสวนของทุนที่ต่าํกวาการผลิตสินคาชนิดเดยีวกันที่ผลิตในปริมาณมากในโรงงานขนาดใหญ ซ่ึงทั้งสองหนวยงานตางก็จัดประเภทไวในกลุมเดยีวกัน การจัดประเภทหนวยสถิติในกรณีท่ีดําเนนิกิจกรรมหลายกิจกรรม

    อาจมีบางหนวยสถิติที่มีการดําเนินกิจกรรมหลายกิจกรรมภายในหนวยเดยีวกัน ซ่ึงเมื่อจัดประเภทตาม ISIC แลวพบวาสามารถจัดประเภทกจิกรรมไดมากกวา 1 กจิกรรม กรณนีี้อาจเกิดจากการดําเนินกิจกรรมหลายกิจกรรมในลักษณะแนวดิ่ง (vertical integration of activities) เชน การตัดไมที่ดําเนินงานในหนวยเดียวกนักับโรงเล่ือย หรือการผลิตเครื่องแตงกายที่ดําเนินงานในหนวยเดียวกนักับการผลิตส่ิงทอ หรืออาจเปนการดําเนินกิจกรรมหลายกิจกรรมในลักษณะแนวราบ (horizontal integration of activities) เชน การดําเนินกิจกรรมทั้งโรงฆาสัตวและผลิตหนังดิบ หรืออาจเปนการดําเนนิกิจกรรมรวมกันหลายกิจกรรมโดยที่ไมสามารถแยกเปนหนวยสถิติยอยๆ ได การจัดประเภทหนวยสถิติที่ดําเนินกิจกรรมลักษณะดังกลาวขางตน ใหพจิารณาตามเกณฑดังตอไปนี ้

    กรณีท่ีดําเนินกิจกรรมหลายกิจกรรมแยกเปนอิสระจากกัน (Independent Multiple Activities) ในกรณีที่หนวยใดหนวยหนึง่ดําเนินกิจกรรมหลายกิจกรรมที่แยกเปนอสิระจากกนั แตไมสามารถ

    แยกออกเปนหนวยสถิติตามแตละกจิกรรมได เชน การผลิตผลิตภัณฑขนมอบที่ดําเนินงานภายในหนวยงานเดียวกันกับการผลิตขนมหวานจากช็อคโกแลตซึ่งไมสามารถแยกบัญชกีารดําเนนิงานของแตละกจิกรรมได การจัดประเภทหนวยดังกลาวควรจัดประเภทตามกิจกรรมทีใ่หมูลคาเพิ่มสูงสุดตาม “กจิกรรมหลัก” โดยใชวิธีการแบบบนลงลาง (top-down method)

  • 13

    กรณีท่ีดําเนินกิจกรรมในลักษณะแนวดิ่ง (Vertical Integration of Activities) การดําเนนิกิจกรรมหลายกิจกรรมในลักษณะแนวดิ่ง เปนการดําเนินกจิกรรมหลายขั้นตอนที่

    ตอเนื่องกันในหนวยเดียวกัน โดยที่ผลผลิตของขั้นตอนหนึ่งจะถกูนําไปเปนปจจัยสําหรับการผลิตในขั้นตอนถัดไป ตวัอยางของการดําเนินกจิกรรมในลักษณะแนวดิ่ง เชน การตัดไมและนําไมที่ไดมาเปนวตัถุดิบสําหรับโรงเล่ือยที่ดําเนินงานในแหลงเดียวกัน การขุดดินเหนยีวทีด่าํเนินงานรวมกับการผลิตอิฐ หรือการผลิตเสนใยที่ดําเนินงานรวมกับโรงงานทอผา

    กิจกรรมในลักษณะแนวดิ่งถือเปนรูปแบบหนึ่งของการดาํเนินกจิกรรมหลายกิจกรรม โดยใหถือวากิจกรรมทั้งหมดที่ดําเนนิงานอยูดวยกันใหจัดประเภทไวในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึง่ที่เปน “กิจกรรมหลัก” ของหนวยนัน้ๆ นัน่คือกิจกรรมที่ใหมูลคาเพิ่มสูงสุดตามวิธีการแบบบนลงลาง (top-down method) ซ่ึง “กิจกรรม” ในที่นี้หมายถึงกจิกรรมในแตละขั้นตอนการผลิตตามกลุมของ ISIC แมวาผลผลิตของแตละขั้นตอนจะทําขึน้มาเพื่อใชเองภายในหนวยเดียวกัน ไมไดตองการทําขึ้นมาเพื่อขายก็ตาม

    ถาไมสามารถแยกมูลคาเพิ่ม (หรือคาอ่ืนที่ใชแทนมูลคาเพิ่ม) ของกระบวนการผลิตในลักษณะแนวดิ่งออกเปนมูลคาทางบัญชี (คิด ณ ราคาตลาดของผลิตภัณฑขัน้กลางหรือขั้นสุดทาย) ของแตละขั้นตอนยอยๆ ไดอยางชัดเจน อาจตองใชวิธีเปรียบเทยีบคาดังกลาวกับหนวยอ่ืน อยางไรก็ตามตองระมัดระวังถาจะใชคาอื่นแทนมูลคาเพิ่มตามที่ไดอธิบายไวขางตน

    กรณีท่ีดําเนินกิจกรรมในลักษณะแนวราบ (Horizontal Integration of Activities) การดําเนนิกิจกรรมหลายกิจกรรมในลักษณะแนวราบ เปนการดําเนนิกิจกรรมการผลิตผลิตภัณฑ

    หลายๆ อยาง โดยใชปจจัยการผลิตเดียวกนั จึงเปนเรื่องยากที่จะแยกแตละกิจกรรมของการผลิตผลิตภัณฑออกเปนหนวยสถิติตามกระบวนการผลิต หรือแมแตจะหามูลคาเพิ่มของแตละกิจกรรมการผลิตผลิตภัณฑ จึงอาจใชคาอ่ืน เชน ผลผลิตมวลรวม (gross output) แทน แตกไ็มไดมกีารกําหนดเกณฑการแยกกจิกรรมออกเปนแตละกิจกรรมยอยๆ โดยสวนใหญแลวแมวาจะดําเนินกิจกรรมหลายกิจกรรม แตกิจกรรมเหลานั้นก็มกัจัดประเภทไวในกลุมเดียวกัน เชน การผลิตกลีเซอรอลดิบไดจดัประเภทไวในหมูยอย 20231 (การผลิตสบูและสารซักฟอก ผลิตภัณฑเคมีที่ใชในการทําความสะอาดและขัดเงา) ในขณะทีก่ารผลิตกลีเซอรอลสังเคราะหไดจดัประเภทไวในหมูยอย 20115 (การผลิตเคมีภัณฑอินทรียอ่ืนๆ ขัน้มูลฐาน) แตเนื่องจากกลีเซอรอลดิบเปนผลพลอยไดที่ไดจากการผลิตสบู จึงทําใหกระบวนการผลิตกลีเซอรอลดิบไมสามารถแยกออกจากกระบวนการผลิตสบูได ดงันั้นกิจกรรมการผลิตกลีเซอรอลดิบและสบูจึงถูกจัดประเภทไวในกลุมเดียวกัน ในขณะที่การผลิตกลีเซอรอลสังเคราะหเปนกระบวนการผลิตทางเคมีซ่ึงคอนขางแตกตางจากการผลิตกลีเซอรอลดิบ จึงทําใหกิจกรรมทั้งสองถูกจัดประเภทไวคนละกลุมแมวาจะมีผลผลิตที่มีลักษณะทางกายภาพทีค่ลายกันมาก อีกตวัอยางหนึ่งไดแก การผลิตไฟฟาโดยการเผาขยะ ซ่ึงพบวากิจกรรมการเผาขยะไมสามารถแยกออกจากกจิกรรมการผลิตไฟฟาไดและ ISIC ไดจดัประเภทกิจกรรมดังกลาวไวที่ 38212 (การบําบัดและการกําจัดของเสียที่ไมเปนอันตรายโดยการเผาดวยเตาเผาขยะ)

  • 14

    ในบางกรณ ี กิจกรรมหลายกิจกรรมที่ดําเนินงานโดยใชปจจัยการผลิตเดียวกนัแตสามารถแยกกิจกรรมเปนอสิระจากกนัได เชน กิจกรรมการขนสงผูโดยสารและสนิคา ซ่ึงทั้งสองกิจกรรมมีความสําคัญในเชิงปริมาณตอเศรษฐกิจและมวีตัถุประสงคในการวิเคราะหที่แตกตางกนั กิจกรรมทั้งสองจึงไมไดจัดประเภทไวในกลุมเดียวกนั กิจกรรมลักษณะนี้ควรใชมูลคาเพิ่มเปนตัวกําหนดเพื่อหา “กิจกรรมหลัก” ของหนวยถึงแมวาจะดําเนินกิจกรรมทั้งสองกิจกรรมไปพรอมๆ กันก็ตาม

    การกําหนด “กิจกรรมหลัก” โดยวิธีการแบบบนลงลาง (top-down method) การกําหนดกจิกรรมหลักโดยวิธีการแบบบนลงลางเปนไปตามเกณฑของลําดับชั้นโครงสราง โดย

    เร่ิมพิจาณาจากระดับบนสุดเปนลําดับแรก (หมวดใหญ) แลวพจิารณาไลลงไปจนถึงระดับลางสุด (กิจกรรม) ตามวิธีการตอไปนี ้

    ขั้นที่ 1 : หาหมวดใหญที่มีสัดสวนของมูลคาเพิ่มสูงสุด ขั้นที่ 2 : ภายใตหมวดใหญดังกลาว หาหมวดยอยทีม่ีสัดสวนของมูลคาเพิ่มสูงสุด ขั้นที่ 3 : ภายใตหมวดยอยดงักลาว หาหมูใหญที่มีสัดสวนของมูลคาเพิ่มสูงสดุ (ยกเวนในกรณขีอง

    กิจกรรมการคาสงและคาปลีก ดูหวัขอ “การกําหนดกิจกรรมหลักโดยวธีิการแบบบนลงลางในกรณีของกิจกรรมการขายสงและขายปลีก”)

    ขั้นที่ 4: ภายใตหมูใหญดังกลาว หาหมูยอยทีม่ีสัดสวนของมูลคาเพิ่มสูงสุด ขั้นที่ 5: ภายใตหมูยอยดังกลาว หากิจกรรมที่มีสัดสวนของมูลคาเพิ่มสูงสุด

    ตัวอยาง การกําหนดกิจกรรมหลักของหนวยสถิติ โดยใชวิธีการแบบบนลงลาง ซ่ึงภายในหนวยดังกลาวแสดงกิจกรรมที่ดําเนินการดังตอไปนี้

    หมวดใหญ หมวดยอย หมูใหญ หมูยอย

    กิจกรรม คําอธิบาย สัดสวน มูลคาเพิ่ม

    (%) 25121 การผลิตหมอน้ํา (boiler) สําหรับการทําความรอนจาก

    สวนกลาง และเครื่องกระจายความรอน 2 25 251 2512

    25129 การผลิตถังน้ําขนาดใหญ ที่เก็บกักน้ํา และภาชนะบรรจุอื่นๆ ที่ทําจากโลหะ

    5

    281 2816 28160 การผลิตเครื่องอุปกรณที่ใชสําหรับยกและขนยาย 8 2821 28211 การผลิตแทรกเตอรที่ใชในการเกษตร 3

    28221 การผลิตเครื่องจักรที่ใชในการขึ้นรูปโลหะ 5 2822 28229 การผลิตเครื่องมือกลอื่นๆ 16

    28 282

    2824 28240 การผลิตเครื่องจักรที่ใชในการทําเหมืองแร เหมืองหิน และการกอสราง

    8

    C

    29 293 2930 29302 การผลิตอุปกรณไฟฟาสําหรับยานยนต 5

  • 15

    หมวดใหญ หมวดยอย หมูใหญ หมูยอย

    กิจกรรม คําอธิบาย สัดสวน มูลคาเพิ่ม

    (%) 461 4610 46105 การขายสงเครื่องจักรอุตสาหกรรม โดยไดรับ

    คาตอบแทนหรือตามสัญญาจาง 7 G 46

    465 4659 46593 การขายสงเครื่องจักรและอุปกรณชนิดใชในงานอุตสาหกรรม

    28

    M 71 711 7110 71102 กิจกรรมดานวิศวกรรมและการใหคําปรึกษาที่เกี่ย�