3
Q uality M anagement Q uality M anagement >>> รศ.สุพัตรา สุภาพ อาจารย์อาวุโส จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกคนอยากมีรายได้ มีการงานที่มั่นคง แต่บางครั้งคนไม่น้อยพยายามสมัครงาน แต่ไม่ได้งาน หรือได้งานที่ไม่ถนัด หรือได้งานเงินเดือนต่ำเกินไป บางคนก็ตกงานเมื่อนายจ้างปรับโครงสร้างจนต้อง ออกจากงาน หรือบางคนมีกิจการ แต่สู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะสดใสนัก จนอาจต้องปิดกิจการ หลายคนเคว้งคว้างไม่รู้จะทำอะไรต่อไป Amy H.Berger เขียนเรื่อง Be your Own Business พูดในเรื่องนี้ว่า ทุกอย่างในโลกมีขึ้นมีลง มีมืดก็มีสว่าง เราจึงอย่าท้อก่อนได้เริ่มต้น หากเราจะทำอย่างไร ก็ควรศึกษาให้ดีและดูว่าคุ้มทุนไหม บางธุรกิจอาจจะไม่เหมาะกับเรา หากปิดกิจการไปก็ดีกว่าเปิดให้ขาดทุนต่อไป แถวบ้านผู้เขียนเปิด ร้านก๋วยเตี๋ยวและขายข้าวขาหมู ขายอยู่ 3 เดือนหาคนมาซื้อไม่ค่อยได้ ปิดกิจการไป เพราะสู้ราคา เช่าร้าน ค่าลูกจ้าง ค่าวัตถุดิบไม่ไหว เนื่องจากทำของที่ขายไม่อร่อยพอจะให้คนมาอุดหนุนได้ ประสบความสำเร็จ วิธีทำธุรกิจที่ถนัด 044 For Quality Vol.14 No.121

วิธีทำธุรกิจที่ถนัด - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.121 ลูกค้าให้กว้างขวางขึ้นประมาณหนึ่งปี

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: วิธีทำธุรกิจที่ถนัด - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.121 ลูกค้าให้กว้างขวางขึ้นประมาณหนึ่งปี

Quality Management

Quality Management

>>>รศ.สุพัตรา สุภาพ อาจารย์อาวุโสจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทุกคนอยากมีรายได้ มีการงานที่มั่นคง แต่บางครั้งคนไม่น้อยพยายามสมัครงาน แต่ไม่ได้งาน

หรือได้งานที่ไม่ถนัด หรือได้งานเงินเดือนต่ำเกินไป บางคนก็ตกงานเมื่อนายจ้างปรับโครงสร้างจนต้อง

ออกจากงาน หรือบางคนมีกิจการ แต่สู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะสดใสนัก จนอาจต้องปิดกิจการ

หลายคนเคว้งคว้างไม่รู้จะทำอะไรต่อไป

Amy H.Berger เขียนเรื่อง Be your Own Business พูดในเรื่องนี้ว่า ทุกอย่างในโลกมีขึ้นมีลง

มีมืดก็มีสว่าง เราจึงอย่าท้อก่อนได้เริ่มต้น หากเราจะทำอย่างไร ก็ควรศึกษาให้ดีและดูว่าคุ้มทุนไหม

บางธุรกิจอาจจะไม่เหมาะกับเรา หากปิดกิจการไปก็ดีกว่าเปิดให้ขาดทุนต่อไป แถวบ้านผู้เขียนเปิด

ร้านก๋วยเตี๋ยวและขายข้าวขาหมู ขายอยู่ 3 เดือนหาคนมาซื้อไม่ค่อยได้ ปิดกิจการไป เพราะสู้ราคา

เช่าร้าน ค่าลูกจ้าง ค่าวัตถุดิบไม่ไหว เนื่องจากทำของที่ขายไม่อร่อยพอจะให้คนมาอุดหนุนได้

ประสบความสำเร็จ วิธีทำธุรกิจที่ถนัด

044 For Quality Vol.14 No.121

Page 2: วิธีทำธุรกิจที่ถนัด - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.121 ลูกค้าให้กว้างขวางขึ้นประมาณหนึ่งปี

Quality Management

Berger เตือนผู้ที่จะลงทุนธุรกิจว่า ค้นให้พบว่า

เราถนัดอะไรและต้องการทำอะไรโดยไม่เสี่ยงภัยนัก ที่

สำคัญต้องมีกำลังใจจะฝ่าฟันอุปสรรคต่อไป Berger ยก

ตัวอย่างผู้หญิง 3 คน ที่เริ่มธุรกิจจนประสบความสำเร็จ

ด้วยความมานะพยายาม

PMS-Cravings เจ้าของ MargieOstrower

15 ปีก่อน เธอเป็นผู้หญิงที่คิดจะเป็นแม่บ้าน

อย่างเดียวหลังแต่งงาน แถมมีลูกชายวัย 3 ขวบ ที่กำลัง

ซนจนแทบไม่มีเวลาไปทำอะไร แต่ความชอบทำขนม

เธอจึงเจียดเวลามาทำของว่างกิน

เธอเล่าว่า ตอนเธอเป็นวัยรุ่น เธอชอบทำของ

ขบเคี้ยว แบบเค็มและหวาน โดยใช้ชื่อ PMS Crunch

และให้เพื่อนๆ ลองชิม ปรากฏว่าทุกคนบอกว่าอร่อยมาก

และเป็นแฟนขนมขบเคี้ยวของเธอ

เมื่อมีครอบครัว เธอจึงทำให้ โดนัลด์ (สามี) กิน

โดยไม่ได้คิดจะทำเป็นธุรกิจ จนกระทั่งวันหนึ่ง โดนัลด์

มาหาของขบเคี้ยวกิน ซึ่งบังเอิญหมดพอดี โดนัลด์เลย

บอกมากี้ว่า เธอควรจะทำของขบเคี้ยวนี้เป็นธุรกิจจะได้มี

กินตลอดเวลา คำพูดของสามีทำให้มากี้ได้คิดว่า เธอน่า

จะเริ่มต้นทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ประกอบกับโดนัลด์ให้

ข้อคิดว่า การทำของขบเคี้ยวให้ได้ส่วนแบ่งตลาด เธอจะ

ต้องทำหลายรส โดยผู้ชายชอบรสเค็มส่วนผู้หญิงชอบรส

หวาน มากี้เอาคำแนะนำของสามีมาวิจัยและปรับปรุงขนม

ขบเคี้ยวอย่างจริงจังว่าลูกค้าต้องการอะไร แต่ที่เป็นปัญหา

คือ การจะผลิตสินค้าสักตัวไม่ใช่ของง่าย เพราะมีราย-

ละเอียดมากมาย ไม่พอ ยังเจอกฎเกณฑ์ของรัฐด้วย และ

จากการวิจัยผลิตภัณฑ์และการตลาดก็พบว่า ของขบเคี้ยว

ไม่ควรมีราคาแพง เพื่อให้ลูกค้าซื้อกินได้ง่ายไม่เป็นภาระ

มากนัก มากี้ลงทุนครั้งแรกไปประมาณ 2 ล้านกว่าบาท

เป็นเงินที่เธอกับสามีร่วมกันเก็บมาตลอดชีวิตกับญาติพี่

น้องที่มาช่วยกันลงทุน เธอคิดว่า ถุงใส่ขนมคบเคี้ยวควร

จะดูน่ากิน เธอจึงจ้างกราฟิกดีไซเนอร์ให้ออกแบบ เธอ

จ้างโรงงานผลิตกล่องและของขบเคี้ยวและส่งไปจำหน่าย

ตามร้านด้วย เธอคิดว่า ถ้าขายดีเมื่อไร ก็ตั้งโรงงานเองได้ไม่ยาก ซึ่งความฝัน

ของเธอก็ไม่นานเกินรอ จนเธอมีทุกอย่างของเธอเองตั้งแต่การผลิตจนถึง

การส่งให้ผู้ค้าตามที่ต่างๆ เป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของผู้หญิงคน

หนึ่งที่เริ่มธุรกิจเมื่ออายุ 33 ปี และประสบความสำเร็จตามที่หวัง

Lady Barber เจ้าของ Katherleen M.Glordano หากพูดถึงร้านทำผม หลายคนจะบอกว่าทำแล้วจะรุ่งได้อย่างไร

อาชีพทำผมไม่ได้ทำเงินมากมาย ไม่พอ ยังมีคู่แข่งไม่น้อย นี้เป็นเรื่องจริง

แถวคอนโดที่ผู้เขียนอยู่ปรากฏว่า ตอนแรกมีร้านทำผมไม่กี่ร้าน ตอนหลัง

เปิดร้านใหม่เพิ่มถึง 3 เท่าตัว เรียกว่า ใครดีใครอยู่ ปรากฏว่าตายพร้อม

กันไปหลายร้าน นี่คือคนไทย เขาทำได้ดี เราอยากได้ดีเหมือนเขา เลย

ลืมดูไปว่าเรามีดีพอไหม แต่สำหรับแคทเธอลีน รักอาชีพของเธอและไม่เคย

รู้สึกอะไร ถ้าใครมาเรียกว่า ช่างทำผม (barber) เธอยินดีรับสมญานามนี้

และไม่เคยคิดจะเปลี่ยนไปเรียกอย่างอื่น

แคทเธอลีนเป็นนางแบบที่ประสบความสำเร็จ แต่ในใจเธอชอบ

ทำผม เพราะพ่อของเธอมีร้านทำผมในมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย พ่อ

เป็นช่างทำผมถึง 40 ปี เธอจึงเจริญเติบโตในร้านที่เห็นพ่อตัดผม ทำผม

ตลอดเวลา ซึ่งเธอชอบ และชอบดูพ่อทำผมให้ลูกค้าด้วยความสนใจ

พอแคทเธอลีนต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ เธออยากเป็นช่างทำผม

เหมือนพ่อ จึงไปสอบเป็นช่างทำผม จนได้ New York State Master

Barber เรียกว่าเป็นช่างทำผมเต็มตัว และได้ทำงานในร้านทำผมที่

นิวยอร์ก บนถนนวอลล์สตรีทอันลือชื่อเรื่องหุ้น ขณะเดียวกัน เธอต้องทำ

อาชีพเสริมด้วยการเป็นนางแบบ อย่างไรก็ตามปัญหาที่ปรากฏ คือ ลูกค้า

นัดมาทำผม แต่พอถึงเวลานัด ก็ยกเลิก ทำให้เธอเสียเวลาเสียเงิน และ

เสียโอกาสที่จะนัดคนอื่น แถมเวลาบอกเลิกนัด ไม่ยอมบอกล่วงหน้า

ชอบบอกวินาทีสุดท้ายของเวลานัด แล้วเธอจะไปนัดใครได้อีก

เธอเริ่มธุรกิจอายุ 38 ปี เพราะคิดว่าอาชีพนางแบบคงทำต่อไปได้

ยาก เมื่ออายุมากขึ้นแคทเธอลีนคิดไม่ตกว่าจะทำธุรกิจให้รอดปลอดภัย

ได้อย่างไร เธอจึงไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้ข้อคิดดีพอควร แต่เธอมา

สะดุดใจกับข้อเสนอแนะของลูกค้าบางคนที่บอกว่า พวกเขางานยุ่งไม่มี

เวลามาทำผม ทำไมเธอไม่ไปหาลูกค้าเอง แคทเธอลีนจึงน้อมรับคำขอร้อง

ของลูกค้า เธอคิดว่าไปหาลูกค้าถึงที่มีแต่ทำให้เธอได้ประโยชน์ โดยเธอ

จะนัดลูกค้าเส้นทางเดียวกันหลายๆ คน เพื่อยิงทีเดียวได้นกหลายตัว

ช่วงนี้เธอจึงหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ และสร้างสายใย

ของการบริการด้วยการผูกมิตรกับคนหลากหลายอาชีพ เพื่อสร้างฐาน

Quality Management

For Quality November 2007 045

Page 3: วิธีทำธุรกิจที่ถนัด - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.121 ลูกค้าให้กว้างขวางขึ้นประมาณหนึ่งปี

046 For Quality Vol.14 No.121

ลูกค้าให้กว้างขวางขึ้นประมาณหนึ่งปี และทำ Lady Barber บริการ

ทำผมลูกค้าถึงที่อยู่ แคทเธอลีนนำอุปกรณ์ทำผมไม่ว่าจะเป็นที่เป่าผม

กรรไกร มีดโกนไฟฟ้า แปรง หวี โรล เจล น้ำมัน สเปรย์ ผ้าคลุม

ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น ใส่กระเป๋าหนังเพื่อให้ดูดีมีสไตล์ เธอไปทำผมแต่ละครั้ง

จะใส่สูทแบบนักธุรกิจ เพื่อจะให้ดูมีระดับ เธอบอกว่า ลูกค้าจะให้เกียรติ

เธอเสมอ แล้วยังจ่ายค่าทำผมกว่าปกติถึง 2 เท่า แถมต้องมีการจอง

ทำผมล่วงหน้าไม่ต่ำกว่าหนึ่งเดือน Lady Barber เจริญรุ่งเรืองจนเธอทำ

เป็นแฟรนไชส์ได้เงินมาไม่น้อย

T Peck Co., Ltd., an Encino เจ้าของ Toni Peck โทนี ไม่เคยคิดว่า เธอจะเป็นเจ้าของบริษัทตกแต่งภายในที่

ประสบความสำเร็จ ทั้งๆ ที่เธอหวังมุ่งเป็นช่างภาพมีชื่อในตอนแรก เธอ

เริ่มเป็นช่างภาพอาชีพตอนเพลย์บอยติดต่อให้ไปถ่ายภาพ เดือน

กุมภาพันธ์ พ.ศ.2506 ตอนนั้นเธอลังเล เพราะกำลังเรียนในมหาวิทยาลัย

แต่เธออยากได้เงินมาเรียนหนังสือ และค่าถ่ายรูปประมาณแสนกว่าบาท

ทำให้เธอรับงานนี้ เพราะจะช่วยค่าเล่าเรียนได้ดี

จากการได้ถ่ายภาพให้เพลย์บอยครั้งนั้นทำให้เธอคิดอยากรับจ้าง

ตกแต่งภายใน แต่เพราะแต่งงาน เธอหันมาสนใจชีวิตครอบครัว แต่ก็

ล้มเหลว แต่ชีวิตคงต้องดำรงต่อไป โทนีจึงหันมายึดอาชีพตกแต่งภายใน

อีกครั้งใน เซนส์ หลุยส์ มิซซูรี เป็นบริษัทเล็กๆ ที่คิดราคาย่อมเยาเพื่อให้

พออยู่รอด ลูกค้าของเธอมีหลากหลาย ตั้งแต่ธนาคาร บริษัทขนาดเล็ก

และอัยการ โทนีรับตกแต่งภายในไปเรื่อยจนกระทั่ง Holiday Inn ใน

อิลลินอยส์ จ้างเธอไปตกแต่งภายใน เธอถึงได้รู้ว่า เธอชำนาญการตกแต่ง

โรงแรม และอุตสาหกรรมด้านบริการ

พ.ศ.2527 เธอเลิกกับสามีคนที่สองและย้ายกลับไปลอสแองเจสีส

และตั้งบริษัทตกแต่ง

โทนีทำโรงแรมและกิจการบริการอย่างเต็มตัวตอนเธอแต่งงาน

ครั้งที่สามและมีความสุขกับชีวิตคู่ หลังจากที่ต้องเสียใจกับความล้มเหลว

ที่ผ่านมา 2 ครั้ง

อย่างน้อยครั้งนี้เป็นรางวัลชีวิตที่เธอรอมานาน เมื่อครอบครัว

ปกติสุข การงานจึงรุ่งเรืองไปด้วย

John Fitts (สามี) เป็นเจ้าของบริษัทบริหารโรงแรม ไม่ว่าจะเป็น

Plaza Inn ใน Albuguerque นิวเม็กซิโก และโรงแรมหลายแห่งใน

ลอสแองเจลีส บริษัทของโทนีมีรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี โทนีให้

ข้อคิดการทำธุรกิจว่า

หากเราทำในสิ่งที่รักและถนัด ความสำเร็จก็ไม่

ยากอย่างที่คิด

ผู้บริหารทั้ง 3 คนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการมี

ธุรกิจของตนที่ฝ่าฟันอุปสรรคอย่างไม่ย่อท้อ และไม่ว่าจะ

มีความผิดหวัง ก็จะมีกำลังใจสู้ขึ้นมาใหม่ เพราะยึดหลัก

1. ทำงานที่ตนรักหรือถนัด

2. มีวิสัยทัศน์

3. เน้นความต้องการลูกค้าเป็นหลัก

4. นำสิ่งผิดเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้ผิดซ้ำสอง

5. ปรับปรุงตนเองเสมอ

6. ระดมสมองจากบุคคลภายในองค์การและ

นอกองค์การ

7. ไม่เอาเปรียบลูกค้า

8. ยึดคุณภาพเป็นหลัก

9. มีทีมงานที่ดี

10. ลูกค้าเป็นใหญ่เสมอ

11. ใฝ่รู้อยู่เสมอ

ถ้าทำได้ทั้ง 11 ข้อ ช่วยให้ธุรกิจประสบความ

สำเร็จได ้

Quality Management