50
รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา The Development of Teaching and Learning Decimal fraction for Matayomsuksa 1 Students, Suan Sunandha Rajabhat University Demonstration School โดย น้าผึ้ง ชูเลิศ ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีงบประมาณ 2559

รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

  • Upload
    others

  • View
    14

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

35

รายงานการวิจัย เรื่อง

การพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

The Development of Teaching and Learning Decimal fraction for Matayomsuksa 1 Students, Suan Sunandha Rajabhat University Demonstration School

โดย

น้ าผ้ึง ชูเลิศ

ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีงบประมาณ 2559

Page 2: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

36

รายงานการวิจัย เรื่อง

การพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

The Development of Teaching and Learning Decimal fraction for Matayomsuksa 1 Students, Suan Sunandha Rajabhat University Demonstration School

โดย

น้ าผ้ึง ชูเลิศ

ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีงบประมาณ 2559

Page 3: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

37

บทคัดย่อ ชื่อรายงานการวิจัย : การพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา ชื่อผู้วิจัย : น้ าผึ้ง ชูเลิศ ปีที่ท าการวิจัย : 2559

.............................................................................................. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนใน

รูปทศนิยม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จ านวน 35 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ชนิด ประกอบไปด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ซึ ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบจ านวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.32 ถึง 0.78 และค่าอ านาจจ าแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.41 ถึง 0.87 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.732 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าประสิทธิภาพ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจ านวนจริง

เป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 โดยมีค่าประสิทธิภาพ 74.95/78.29 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน

(1)

Page 4: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

38

กิตติกรรมประกาศ

รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยมส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาส าเร็จได้เนื่องจากบุคคลหลายท่านได้กรุณาช่วยเหลือให้ข้อมูลข้อเสนอแนะ ค าปรึกษาแนะน า ความคิดเห็น และก าลังใจ

ขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์เกตุม สระบุรินทร์ อาจารย์ โสภาพรรณ เวชากุล และอาจารย์วิรัลณัฐ ภิญโญ ที่กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและแก้ไขเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ขอกราบขอบพระคุณ ผศ.ดร.สมเกียรติ กอบัวแก้ว ผู ้อ านวยการโรงเร ียนสาธ ิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเอ้ือเฟ้ือสถานที่และอ านวยความสะดวกในการทดลองใช้เครื่องมือและเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเป็นอย่างดี

ขอขอบใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ให้ความร่วมมือในการทดลองเครื่องมือและเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างดี

สุดท้ายขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา และสมาชิกทุกคนในครอบครัวที่เป็นก าลังใจและให้การสนับสนุนผู้วิจัยเสมอมา ส่งผลให้ผู้วิจัยประสบความส าเร็จดังตั้งใจ นางน้ าผึ้ง ชูเลิศ

สิงหาคม 2559

(2)

Page 5: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

39

สารบัญ

หน้า บทคัดย่อ (1) กิตติกรรมประกาศ (2) สารบัญ (3) สารบัญตาราง (5) บทที่ 1 บทน า 1 1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 1.3 สมมติฐานของการวิจัย 2 1.4 ขอบเขตของการวิจัย 2 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 2 1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 บทที่ 2 เอกสารและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 4 2.1 การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 4 2.2 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 7 2.3 การหาประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา 12 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 14 บทที่ 3 วิธีด าเนินงานวิจัย 16 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 16 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 16 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล 20 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล 21 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24 4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24 4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24 บทที่ 5 สรุปการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 26 5.1 สรุปผลการวิจัย 26 5.2 อภิปรายผล 26 5.3 ข้อเสนอแนะ 27 บรรณานุกรม 28 ภาคผนวก 31 ภาคผนวก ก 32 หน้า

(3)

Page 6: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

40 ภาคผนวก ข 36 ภาคผนวก ค 39 ภาคผนวก ง 42 ประวัติย่อผู้วิจัย 44

(4)

Page 7: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

41

สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า

3.1 ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วน ในรูปทศนิยมจากการทดลองกับนักเรียนรายบุคคล............................................................. 18 3.2 ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วน ในรูปทศนิยมจากการทดลองกับนักเรียนกลุ่มเล็ก ............................................................... 19 4.1 ผลวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วน ในรูปทศนิยม ...................................................................................................................... 24

(5)

Page 8: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

1

บทท่ี 1

บทน า

1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับความคิด กระบวนการ และเหตุผล คณิตศาสตร์ฝึกให้คิดเป็นระบบ ระเบียบ และเป็นรากฐานของความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ล้วนแต่อาศัยหลักการของคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น และมึความสัมพันธ์กับชีวิตประจ าวันของมนุษย์อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (ยุพิน พิพิธกุล , 2545, 1) หลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานพุทธศักราช 2544 ต้องการให้เยาวชนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์เพียงพอ สามารถน าความรู้และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จ าเป็น ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถน าไปเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สื่งต่างๆ น าไปสู่การเรียนรู้สาระอ่ืนๆ และการเรียนในระดับสูง คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ช่วยพัฒนาคนให้คิดอย่างมีเหตุผล มีระเบียบ มีขั้นตอนในการคิด และยังช่วยเสริมคุณลักษณะที่จ าเป็นต่อการด ารงชีวิตอ่ืนๆ การสอนคณิตศาสตร์นั้นจะสอนให้นักเรียนสนุกสนานหรือจะท าให้นักเรียนมีความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเรียนคณิตศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับวิธีการสอนของครูและตัวครูผู้สอนนั่นเอง วิธีการสอนนั้นมีหลายรูปแบบ นอกจากวิธีสอนแล้วครูผู้สอนยังสามารถน าสื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์หรือเครื่องมือมาช่วยได้อย่างมากมาย เพื่อท าให้ผู้สอนประสบผลส าเร็จในการสอน และนักเรียนประสบผลส าเร็จในการเรียน ซึ่งข้ึนอยู่กับการเลือกวิธีสอนได้เหมาะสมกับเนื้อหา ซึ่งในปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลสูงในการช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนกลายเป็นผู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นในการคัดเลือกสื่อการเรียนรู้มาใช้ประกอบการเรียน การสอนควรมีความหลากหลายทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีและสื่ออ่ืนๆ เนื่องจากช่วยให้การเรียนการสอนมีคุณค่า น่าสนใจ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้อย่างแจ่มแจ้ง บรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียน ประหยัดเวลาในการสอน ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนจากง่ายไปยาก ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดประสบการณ์หลากหลาย อีกท้ังยังเป็นการสร้างเจตคติท่ีดีให้กับนักเรียน

จากความส าคัญของการเรียนคณิตศาสตร์และปัญหาที่พบท าให้ผู้วิจัยสนใจ พัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพ่ือใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส าหรับครูผู้สอน

Page 9: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

2 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้

สร้างกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์

1.3 สมมติฐานของการวจัิย

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ก าหนดสมมติฐานของการวิจัยไว้ดังนี้ กิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม มีประสิทธิภาพตาม

เกณฑ์ 70/70 1.4 ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จ านวน 5 ห้องเรียน รวมนักเรียน 145 คน

2. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยคือ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ตามหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

3. ระยะเวลาที่ใช้ในการสอน ท าการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ใช้เวลาในการสอน 8 คาบ คาบละ 50 นาที

4. ตัวแปรที่ศึกษา 4.1 ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม 4.2 ตัวแปรตาม คือ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วน ในรูปทศนิยม

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับครูและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครู 1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ

ประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม หมายถึง คุณภาพของผู้เรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม

Page 10: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

3 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 70/70 โดย 70 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มของการท าแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบย่อยระหว่างเรียนของผู้เรียน 70 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเมื่อเทียบกับคะแนนรวมของแบบทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนทั้งหมด

Page 11: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

4

บทท่ี 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัย เรื่อง พัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้ 2.1 การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 2.2 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

2.3 การหาประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

2.1.1 ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540 , 2) ให้ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนหมายถึง การปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนเพ่ือให้การสอนด าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการเรียนรู้ของผู้เรียนบรรลุสู่จุดประสงค์ท่ีก าหนดไว้

อรรถพล บุญกลิ่น (2551, 7) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หมายถึง การปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยครูและนักเรียนร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมเพ่ือให้การสอนบรรลุเป้าหมายมีประสิทธิภาพท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านเนื้อหาและทักษะกระบวนการตลอดจนการน าไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวัน

จากที่ กล่ า วมานั้น สามารถสรุป ได้ว่ าการจัดกิจ กรรมการ เ รียนการสอน หมายถึง การปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยครูและนักเรียนร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพ่ือให้การสอนบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และมีประสิทธิภาพทั้งในด้านเนื้อหาและทักษะกระบวนการตลอดจนสามารถน าไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันได้

2.1.2 หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540) ได้กล่าวถึง หลักการจัดกิจกรรมควรจัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้กระท ากิจกรรมจัดกิจกรรมโดยใช้วิธีการที่ท้าทายความคิดความสามารถของผู้เรียนใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย ให้มีบรรยากาศที่รื่นรมย์ สนุกสนานและเป็นกันเอง ต้องมีการวัดผลการใช้กิจกรรมนั้นทุกครั้งซึ่งการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งต้องค านึงถึงตัวผู้เรียนเป็นส าคัญ ยุพิน พิพิธกุล (2545, 1) ได้กล่าวถึงหลักการจัดกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนจะต้องรู้จักกระบวนการกลุ่ม กระบวนการท างาน และกระบวนทางวิทยาศาสตร์ รู้จักน าคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้โดยสัมพันธ์กับศาสตร์อ่ืน ๆ และสามารถใช้ในชีวิตจริง รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

Page 12: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

5 อรรถพล บุญกลิ่น (2551, 8) ได้กล่าวถึงหลักการจัดกิจกรรมการเรียนสอน คือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร จุดประสงค์การสอน ค านึงถึงผู้เรียนโดยจัดให้เหมาะสมกับวัย ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล จิตวิทยาการศึกษาและธรรมชาติของวิชาโดยเริ่มจากง่ายไปหายาก จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม มีการเสริมแรงจูงใจ จัดบรรยากาศในการเรียนการสอนให้เอ้ือต่อการเรียนเรียนรู้ของผู้ เรียน สามารถน าไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจ าวัน

จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าหลักการจัดกิจกรรมการเรียนสอน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร จุดประสงค์ของการสอน และค านึงถึงผู้เรียนโดยจัดให้เหมาะสมกับวัย ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเริ่มจากง่ายไปหายาก จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม มีการเสริมแรงจูงใจ จัดบรรยากาศในการเรียนการสอนให้เอ้ือต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถน าไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจ าวันได้

2.1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิช า คณิตศาสตร์ เ ป็น ว ิช าที ่ เ กี ่ย ว ข้อ งกับ คว ามคิดทักษะกร ะบวนกา ร

ทางการแก้ปัญหาความเป็นเหตุเป็นผล และในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่พบมาเป็นการจัด การเรียนการสอนโดยยึดเนื้อหาเป็นหลักท าให้ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมจึงท าให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียนเป็นเหตุท าให้คุณภาพการเรียนคณิตศาสตร์ต่ าลงดังนั้นจึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องปรับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนและให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดเวลา (ยุพิน พิพิธกุล, 2545, 1) ได้กล่าวถึง การจัดกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย ์กลางนัก เร ียนจะต้องรู ้จ ักกระบวนการกลุ ่มกระบวนการท างานและ กระบวนทางวิทยาศาสตร์รู้จักน าคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้โดยสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ และสามารถใช้ในชีวิตจริงรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

2.1.4 ขั้นตอนการด าเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, 76-79) ได้อธิบายถึงขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการ

สอนการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไปมีหลักการจัด 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นน าเข้าสู่บทเรียน เป็นการขั้นเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนที่จะมี

การเรียนการสอน อาจจะเป็นการน าโดยเพลง การบรรยาย การสาธิตเหตุการณ์ที่สอดคล้องหรือมีเนื้อหาเก่ียวกับเนื้อหาที่จะสอน

2. ขั้นปฏิบัติกิจกรรม (ขั้นสอน) เป็นขั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ

3. ขั้นสรุปและประเมินผล เป็นขั้นแห่งการสรุปเนื้อทั้งหมดในการจัดกิจกรรมการเรียนทั้งในด้านความรู้ ความคิด เจตคต ิและทักษะที่ผู้เรียนได้รับ

หน่วยศึกษานิเทศก์ส านักงานการประถมศึกษาจังหวังเชียงใหม่ (2543, 1-3) ได้เสนอขั้นตอนการด าเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้ คือ

1. ขั้นทบทวนความรู้พ้ืนฐานเป็นขั้นตอนที่ครูผู้สอนจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ให้นักเรียนได้ตรวจสอบความรู้พ้ืนฐาน ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนมาเพ่ือเตรียมความ

Page 13: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

6 พร้อมของนักเรียนที่จะเรียนรู้เนื้อหาใหม่ หรือเพื่อเชื่อมโยงเนื้อหา/ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่เคยเรียนมาก่อนกับเนื้อหา/ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์แบบใหม่

2. ขั้นฝึกกระบวนการคิดเป็นขั้นตอนที่เสริมสร้างการเรียนรู้ในเนื้อหา ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ใหม่ให้อยู่ในรูปแบบที่พัฒนามี 3 กระบวนการ คือ

2.1 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ลักษณะกิจกรรมประกอบด้วยการสังเกต การจ าแนก การจ าแนกความแตกต่าง การหาลักษณะร่วม

2.2 กระบวนการทักษะการค านวณ เป็นกระบวนการที่ต่อจากความคิดรวบยอดเป็นกระบวนการฝึกคิดค านวณทางคณิตศาสตร์

2.3 ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเป็นกระบวนการที่ต่อจากความคิดรวบยอดหรือการค านวณทางคณิตศาสตร์

3. ขั้นสรุปและการน าไปใช้เป็นขั้นที่ครูได้ฝึกนักเรียนได้สรุปองค์ความรู้ในเนื้อหาที่ได้เรียนรู้และน าความรู้ที่ได้ไปคิดสร้างสรรค์งานขึ้นเอง

2.1.5 หลักการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ หลักการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้สมบูรณ์และจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตามความเหมาะสมกับผู้เรียนนั้น ยุพิน พิพิธกุล (2545) กล่าวว่า ครูคณิตศาสตร์ควรจะค านึงถึงจิตวิทยาการเรียนการสอน ดังนี้ 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคลนักเรียนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งในด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจและลักษณะนิสัย ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน ครูต้องค านึงถึงเรื่องนี้และวางแผนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของนักเรียนความแตกต่างระหว่างกลุ่มนักเรียนเพ่ือวางแผนในการจัดการเรียนการสอน ถ้านักเรียนเก่งก็ส่งเสริมให้ก้าวหน้าและ ถ้านักเรียนอ่อนก็หาทางช่วยเหลือโดยการสอนซ่อมเสริม 2. จิตวิทยาในการเรียนรู้แยกเป็นเรื่องดังนี้ 2.1 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อนักเรียนได้รับประสบการณ์ใดประสบการณ์หนึ่งไปแล้วเมื่อได้รับซ้ าอีกครั้งหนึ่งเขาสามารถตอบและสรุปความรู้ได้แสดงว่าเขาเกิดการรับรู้และเกิดการเรียนรู้ 2.2 การถ่ายทอดความรู้นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ก็ต่อเมื่อเห็นสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันหลายๆ โดยครูควรจะฝึกให้ผู้ เรียนรู้จักสังเกตแบบรูปของสิ่งที่คล้ายคลึงกันแล้วน ามาสรุปเพ่ือให้เขาเกิดการเรียนรู้ด้วยการสังเกตฝึกให้นักเรียนรู้จักนิยาม หลักการ กฎ สูตร สัจพจน์ ทฤษฎี จากเรื่องที่เรียนไปแล้วในสถานการณ์ที่มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกันแต่ซับซ้อนยิ่งขึ้น 2.3 ธรรมชาติการเรียนรู้นักเรียนจะเรียนรู้ได้เมื่อนักเรียนต้องรู้จุดประสงค์ในการเรียนสามารถปฏิบัติหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไรรู้จักวิเคราะห์ข้อความรู้จักสัมพันธ์ความคิดเรียนรู้วิธีการว่าจะเรียนอย่างไรเรียนด้วยความเข้าใจและสามารถน าไปใช้ได้นอกจากนี้ครูจะต้องเป็นผู้มีปฏิภาณรู้จักวิธีการที่จะน านักเรียนไปสู่ข้อสรุปในการสอนแต่ละเรื่องมีการเสริมก าลังใจให้แก่ผู้เรียน

Page 14: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

7 3. จิตวิทยาในการฝึกการฝึกนั้นเป็นสิ่งส าคัญส าหรับนักเรียนดังนั้นการฝึกควรจะค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลควรฝึกไปทีละเรื่อง และควรเลือกแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับบทเรียนจ านวนพอเหมาะและหาวิธีการที่จะท าให้แบบฝึกหัด 4. การเรียนโดยการกระท าครูต้องให้นักเรียนได้ลงมือกระท าหรือปฏิบัติจริงแล้วจึงสรุปเป็นมโนมติครูไม่ควรเป็นผู้บอกแต่บางเนื้อหาที่ไม่มีสื่อการ สอนเป็นรูปธรรมก็ควรฝึกการท าโจทย์ปัญหาด้วยตนเอง 5. การเรียนเพ่ือรู้นั้นเป็นการเรียนแบบรู้จริงซึ่งนักเรียนบางคนสามารถบรรลุตามจุดประสงค์ที่ก าหนดให้แต่นักเรียนบางคนไม่สามารถท าได้ซึ่งต้องได้รับการซ่อมเสริมให้เขา เกิดการเรียนรู้เหมือนกัน 6. ความพร้อมครูต้องส ารวจความพร้อมของนักเรียนอยู่เสมอโดยต้องดูความรู้พ้ืนฐานของนักเรียนว่าพร้อมที่จะเรียนเรื่องต่อไปหรือไม่ถ้าไม่พร้อมครูต้องทบทวนเสียก่อน เพ่ือใช้ความรู้พ้ืนฐานนั้นไปอ้างอิงต่อไป 7. แรงจูงใจการท าให้นักเรียนท างานครูควรค่อยๆ ให้นักเรียนเกิดความส าเร็จเพ่ิมข้ึนเรื่อยๆ จะท าให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจดังนั้นครูควรให้ท าโจทย์ง่ายๆ ก่อนให้ท าถูกทีละตอนแล้วก็เพ่ิมข้ึนเรื่อยๆ นั่นคือการค านึงความแตกต่างระหว่างบุคคลนั่นเอง 8. การเสริมก าลังใจซึ่งการแสดงพฤติกรรมออกมาแล้วเป็นที่ยอมรับท าให้เกิดก าลังใจครูควรชมนักเรียนในโอกาสที่เหมาะสมไม่ควรเสริมก าลังใจทางลบเพราะธรรมชาติของนักเรียนต้องการยกย่องอยู่แล้ว

อรรถพล บุญกลิ่น (2551, 8) ได้กล่าวถึงหลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ว่าควรค านึงถึงจิตวิทยาการเรียนการสอนความแตกต่างระหว่างบุคคลธรรมชาติใน การเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวัยความสามารถความสนใจและความถนัดจัดกิจกรรมโดยเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงส่งเสริมกระบวนการท างานกลุ่มสร้างบรรยากาศในการแข่งขันและเสริมก าลังใจให้แก่ผู้เรียน

จากที่กล่าวมาหลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ควรค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลธรรมชาติในการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวัยความสามารถความสนใจและความถนัดจัดกิจกรรมโดยเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงส่งเสริมกระบวนการท างานกลุ่มสร้างบรรยากาศในการแข่งขันและเสริมก าลังใจให้แก่ผู้เรียน

2.2 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2.1. ความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วุฒิชัย ประสารสอย (2543 , 10) ให้ความหมายของ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ว่า เป็นการจัดโปรแกรมเพ่ือการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อช่วยถ่ายโยงเนื้อหาความรู้ไปสู่ผู้เรียน

สุรางค์ โค้วตระกูล (2537, 237) อธิบายว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล โดยใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้

Page 15: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

8

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2541 , 7) อธิบายความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่า หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ ในการน าเสนอสื่อประสม อันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียงเพ่ือถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือ องค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด โดยที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยน าเสนอเนื้อหาทีละหน้าจอภาพโดยเนื้ อหาความรู้ในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะได้รับการถ่ายทอดในลักษณะที่แตกต่างออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและโครงสร้างของเนื้อหา โดยมีเป้าหมายส าคัญ คือ การได้มาซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้

2.2. คุณลักษณะส าคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบส าคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่ 1. สารสนเทศ (Information) สารสนเทศในที่นี้หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบ

เรียงแล้วเป็นอย่างดี ซึ่งท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือได้รับทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้สร้างได้ก าหนดวัตถุประสงค์ไว้ โดยการน าเสนอเนื้อหานี้อาจจะเป็นการน าเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นในลักษณะทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้

2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ ลักษณะส าคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ช่วยให้บุคคลที่มีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ อันเกิดจากบุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ หรือพ้ืนฐานความรู้ที่แตกต่างกันออกไป สามารถที่จะมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนเอง รวมทั้งการเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนได ้

3. การโต้ตอบ (Interaction) การโต้ตอบในที่นี้คือ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือ การเรียนการสอนในลักษณะที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากท่ีสุด

4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback)การให้ผลป้อนกลับเป็นลักษณะที่ขาดไม่ได้ เพราะ การให้ผลป้อนกลับโดยทันที ถือว่าเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหา หรือ ทักษะต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้ด้วย ความสามารถในการให้ผลป้อนกลับในทันทีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ถือว่าเป็นจุดเด่น หรือ ข้อได้เปรียบประการส าคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับสื่อประเภทอ่ืนๆ นั้นไม่สามารถจะประเมินผลการเรียนของผู้เรียนพร้อมกับการให้ผลป้อนกลับโดยฉับพลันเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

2.3. คุณค่าทางการศึกษาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี ได้แก่ 1. ปัญหาการสอนแบบตัวต่อตัวเนื่องจากอัตราส่วนของครูต่อนักเรียนสูงมาก การสอน

แบบตัวต่อตัวในชั้นเรียนจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเปรียบเสมือนทางเลือกใหม่ที่จะช่วยทดแทนการสอนในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งนับว่าเป็นรูปแบบการสอนที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็น

Page 16: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

9 รูปแบบการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้มีปฏิสัมพันธ์หรือมีการโต้ตอบกับผู้สอนได้มากและผู้สอนก็สามารถตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียนได้ทันที

2. ปัญหาเรื่องภูมิหลังที่แตกต่างกันของผู้เรียนผู้เรียนแต่ละคนย่อมที่จะมีพ้ืนฐานความรู้ซึ่งแตกต่างกันออกไป คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาตามความรู้ความสามารถของตน โดยการเลือกลักษณะและรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนได้ เช่น ความช้า – เร็วของการเรียน เนื้อหาและล าดับของการเรียน

3. ปัญหาการขาดแคลนเวลาผู้สอนมักประสบปัญหาการมีเวลาไม่เพียงพอ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะ การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนช่วยนั้น จะท าให้ใช้เวลาในการเรียนลดลงจากปกติ โดยจะใช้เวลาเรียนเพียง 2 ใน 3 เท่า จากการสอนด้วยวิธีปกต ิ

4. ปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญหากสถานศึกษาอยู่ห่างไกลชุมชน ก็มันประสบปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นทางออกให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นรูปแบบการสอนที่พร้อมจะท างานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และ ทุกสถานที ่

2.4 ขั้นตอนการออกแบบ การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขั้นตอนการออกแบบการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของ Alessi and Trollip

( ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 19 ) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการออกแบบ 7 ขั้น ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 : ขั้นตอนการเตรียม (Preparation)เป็นขั้นตอนในการเตรียมพร้อม

ก่อนที่จะท าการออกแบบบทเรียน ผู้ออกแบบต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของความชัดเจนในการก าหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ จากนั้นควรที่จะเตรียมการในการรวบรวมข้อมูลและท าการเรียนรู้เนื้อหา เพ่ือให้เกิดการสร้างหรือระดมความคิดในที่สุด ขั้นตอนการเตรียมนับว่าเป็นขั้นตอนที่ส าคัญมากตอนหนึ่งที่ผู้ออกแบบต้องใช้เวลาให้มาก เพราะการเตรียมพร้อมนี้จะท าให้การออกแบบเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

ก าหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ( Determine Goals and Objectives ) คือ การวางเป้าหมายว่าผู้เรียนจะสามารถใช้บทเรียนนี้เพ่ือศึกษาในเรื่องใดและในลักษณะใด รวมทั้งก าหนดวัตถุประสงค์ในการเรียน คือ เมื่อผู้เรียนเรียนจบแล้วจะสามารถท าอะไรได้บ้าง ผู้ออกแบบควรที่จะทราบพ้ืนฐานของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน เนื่องจากความรู้พ้ืนฐานของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบทเรียน ดังนั้นเพ่ือให้บทเรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรให้เวลากับส่วนของการก าหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์นี้ และ พิจารณาครอบคลุมถึงวิธีการประเมินผลควบคู่กันไป เนื่องจากการประเมินผลถือว่าเป็นวิธีการที่จะตรวจสอบได้ว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามท่ีผู้สร้างก าหนดไว้หรือไม่

รวบรวมข้อมูล ( Collect Resources ) คือ การเตรียมพร้อมทางด้านของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดท่ีเกี่ยวข้อง ทั้งด้านเนื้อหา การพัฒนาและออกแบบบทเรียน และสื่อในการน าเสนอบทเรียนในที่นี้คือคอมพิวเตอร์นั่นเอง ทรัพยากรด้านเนื้อหา ได้แก่ ต ารา หนังสือ วารสารทางวิชาการ หนังสืออ้างอิง สไลด์ ภาพต่างๆ และที่ส าคัญคือผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ทรัพยากรส่วนของการ

Page 17: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

10 ออกแบบ ได้แก่ หนังสือการออกแบบบทเรียน กระดาษส าหรับวาด สตอรี่บอร์ด สื่อส าหรับการท ากราฟิกโปรแกรมประมวลผลค า และท่ีส าคัญคือผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบบทเรียน ส่วนทรัพยากร ด้านสื่อในการน าเสนอ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ คู่มือต่างๆ ทั้งของคอมพิวเตอร์และโปรแกรมช่วยสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ต้องการใช้ และ สอบถามผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เรียนรู้เนื้อหา ( Learn Content ) ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาก็จะต้องหาความรู้ด้านการออกแบบบทเรียน หรือหากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน การออกแบบบทเรียนก็จะต้องหาความรู้ด้านเนื้อหาควบคู่กันไป แม้ในกรณีการท างานเป็นทีมผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็ยังคงมีความจ าเป็นที่จะต้องเรียนรู้เนื้อหาด้วย การเรียนรู้เนื้อหาเป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่งส าหรับผู้ออกแบบ เนื่องจาก ความไม่รู้เนื้อหานี้ จะท าให้เกิดข้อจ ากัดในการออกแบบบทเรียน คือไม่สามารถออกแบบบทเรียนที่มีประสิทธิภาพและท้าทายการเรียนรู้ของผู้เรียนในทางสร้างสรรค์ได้

สร้างความคิด ( Generate Ideas ) คือ การระดมสมอง กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพ่ือให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นจ านวนมากและหลากหลาย ซึ่งในขั้นนี้จะยึดปริมาณมากกว่าความถูกต้องเหมาะสม โดยมีกติกาอยู่ด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ การห้ามวิจารณ์ การคิดโดยอิสระ การเน้นปริมาณ และการกระตุ้นความคิดอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าการสร้างความคิดโดยการระดมสมองนี้มีความส าคัญมากเพราะจะท าให้เกิดข้อคิดเห็นต่างๆ อันจะน ามาซึ่งความคิดเห็นที่ดีและน่าสนใจที่สุดนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 2 : ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction)เป็นขั้นตอนที่ครอบคลุมถงึการทอนความคิด การวิเคราะห์งานและแนวคิดการออกแบบบทเรียนในขั้นแรกและการประเมิน แก้ไขการออกแบบ ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนนี้เป็นขั้นตอนที่ส าคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่งในการก าหนดว่าบทเรียนจะออกมามีลักษณะอย่างไร โดยในขั้นตอนดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้

ทอนความคิด ( Elimination of Ideas ) ภายหลังจากผ่านการระดมสมองแล้ว นักออกแบบจะน าความคิดทั้งหมดมาประเมินดูว่า ข้อใดที่น่าสนใจ การทอนความคิดเริ่มจากการคัดเอาข้อที่ไม่อาจปฏิบัติได้หรือข้อคิดที่ซ้ าซ้อนกันออกไป และรวบรวมความคิดที่น่าสนใจที่เหลืออยู่นั้นมาพิจารณาอีกครั้ง อาจรวมถึงการซักถาม อภิปรายและขัดเกลาความคิดต่างๆ อีกด้วย

วิเคราะห์งานและแนวคิด (Task and Concept Analysis ) การวิเคราะห์งาน ( Task Analysis ) เป็นความพยายามในการวิเคราะห์ขั้นตอนเนื้อหา ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาจนท าให้เกิดการเรียนรู้ที่ต้องการ เช่น การวิเคราะห์งาน เป็นขั้นตอนเนื้อหาการสอนที่เหมาะสมและการสอนทักษะที่ต้องใช้พ้ืนฐานต่างๆ ที่ได้สอนไปแล้วผนวกเข้าด้วยกัน จนในที่สุดผู้เรียนก็จะสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวิเคราะห์แนวคิด ( Concept Analysis ) คือ ขั้นการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผู้เรียนจะต้องศึกษาอย่างพินิจพิจารณา เพ่ือให้ได้มาซึ่งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียน และเนื้อหาที่มีความชัดเจนเท่านั้นดังนั้น การวิเคราะห์งานและการวิเคราะห์แนวคิด ถือเป็นการคิดวิเคราะห์ที่มีความส าคัญมากทั้งนี้เพ่ือหลักการ การเรียนรู้ ที่เหมาะสมของเนื้อหานั้นๆ และเพ่ือให้ได้มาซึ่งแผนงานส าหรับการออกแบบบทเรียนที่มีประสิทธิภาพ

Page 18: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

11

ออกแบบบทเรียนขั้นแรก ( Preliminary Lesson Description ) หลังจากที่มีการวิเคราะห์งานและแนวคิดแล้วผู้ออกแบบต้องน างานและแนวคิดทั้งหลายที่ได้มาผสมผสานให้กลมกลืน และออกแบบให้เป็นบทเรียนที่มีประสิทธิภาพ โดยก าหนดขั้นตอนและทักษะที่จ าเป็น ก าหนดปัจจัยหลักที่ต้องค านึงในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และสุดท้ายคือ การจัดระบบความคิดเพ่ือให้ได้มาซึ่งการออกแบบล าดับ (sequence) ของบทเรียนที่ดีที่สุด การวิเคราะห์การเรียนการสอนนี้นับว่ามีความส าคัญมากที่สุดส าหรับการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็ว่าได้ เนื่องจากบทเรียนจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร หรือ จะเป็นงานที่ได้รับความส าเร็จหรือล้มเหลว ส าหรับผู้เรียนก็ขึ้นกับผลของการวิเคราะห์ในขั้นนี้ ผู้ออกแบบควรใช้เวลาในส่วนนี้ให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างสรรค์งานหรือกิจกรรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้เรียนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ด้วย และสามารถท าให้ผู้เรียนมีความสนใจต่อการเรียนได้อย่างสม่ าเสมอและต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาการออกแบบล าดับของการน าเสนอบทเรียนเพ่ือให้ได้มาซึ่งโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้จริง

การประเมินและแก้ไขการออกแบบ ( Evaluation and revision of the design ) เป็นขั้นที่มีความส าคัญในการออกแบบบทเรียนอย่างมีระบบ การประเมินนั้นจ าเป็นต้องท าอยู่เรื่อยเป็นระยะๆ ระหว่างการออกแบบ หลังจากการออกแบบ ควรมีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบ และ โดยผู้เรียน เพ่ือเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถบรรลุเป้าหมายหรือไม่จนกระทั่งได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีคุณภาพเป็นที่พอใจก่อนที่จะด าเนินการออกแบบในขั้นตอนที่ 3 ต่อไป

ขั้นตอนที่ 3 : ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson ) ผังงาน คือ ชุดของสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอธิบายขั้นตอนการท างานของโปรแกรม การเขียนผังงานเป็นสิ่งส าคัญ ทั้งนี้เพราะ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีจะต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ าเสมอและปฏิสัมพันธ์นั้นจะสามารถถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจนที่สุดในรูปของสัญลักษณ์ซึ่งแสดงกรอบการตัดสินใจและกรอบเหตุการณ์ การเขียนผังงานจะไม่น าเสนอรายละเอียดหน้าจอเหมือนการสร้างสตอรี่บอร์ด แต่จะเป็นการน าเสนอล าดับขั้นตอน โครงสร้างของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อาทิเช่น อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบค าถามผิด หรือ เมื่อไหร่จะมีการจบบทเรียน เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 4 : ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard) การสร้างสตอรี่บอร์ด เป็นขั้นตอนของการเตรียมการน าเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้ง สื่อในรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษ เพ่ือให้การน าเสนอข้อความและสื่อในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ สตอรี่บอร์ดจะเป็นขั้นของการน าเสนอเนื้อหาและลักษณะของการน าเสนอ รวมไปถึงการเขียนสคริปต์ ( สคริปต์ ในที่นี้ หมายถึง เนื้อหาข้อความในบทเรียน ) ที่ผู้เรียนจะได้เห็นบนหน้าจอ ได้แก่ เนื้อหา ข้อมูล ค าถาม ผลป้อนกลับ ค าแนะน า ค าชี้แจงภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ ขั้นนี้ควรที่จะมีการประเมินและทบทวนแก้ไขบทเรียนจากสตอรี่บอร์ดนี้จนกระทั่งพอใจกับคุณภาพของบทเรียนเสียก่อน นอกจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และการออกแบบแล้วผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายควรที่จะมีส่วนร่วมในการประเมินด้วย ทั้งนี้เพ่ือช่วยในการตรวจสอบเนื้อหาที่อาจจะสับสน ไม่ชัดเจน ตกหล่น และเนื้อหาที่อาจจะยากหรือง่ายจนเกินไป

Page 19: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

12

ขั้นตอนที่ 5 : ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรม (Program Lesson) การสร้าง / เขียนโปแกรม เป็นกระบวนการเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ แต่ในปัจจุบันการเขียนโปรแกรมนั้นอาจจะใช้โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการสร้างบทเรียน เช่น Multimedia Toolbook , Macromedia Flash , Macromedia Authoware เป็นต้น ซึ่งผู้ออกแบบจะต้องรู้จักเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมอันจะได้มาซึ่งงานที่ตรงกับความต้องการและลดเวลาในการสร้างได้ส่วนหนึ่ง

ขั้นตอนที่ 6 : ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบบทเรียน (Produce Supporting Materials)เอกสารประกอบบทเรียนเป็นสิ่งจ าเป็นยิ่ง อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียนคู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือส าหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และ เอกสารประกอบเพ่ิมเติมทั่วๆ ไป ( ใบงาน ) ผู้เรียนและผู้สอนย่อมต้องมีความต้องการแตกต่างกันไป ดังนั้นคู่มือจึงไม่เหมือนกัน ผู้สอนอาจต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรม การเข้าไปดูข้อมูลผู้เรียน และการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ในหลักสูตร นอกจากนี้อาจต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจว่า จะใช้โปรแกรมนั้นหรือไม่ อย่างไรคู่มือปัญหาเทคนิคก็มีความจ าเป็นหากการติดตั้งบทเรียนมีความสลับซับซ้อน หรือต้องการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ อ่ืนๆ เช่น การติดตั้งแลน เป็นต้น เอกสารเพ่ิมเติมประกอบก็อาจได้แก ่แผนภาพ ข้อสอบภาพประกอบ หรือเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียน เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 7 : ขั้นตอนการประเมินและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise)ในขั้นนี้บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมด ควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินในส่วนของการน าเสนอและการท างานของบทเรียน จากผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อน การประเมินการท างานของบทเรียนนั้น ผู้ออกแบบควรที่จะท าการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในขณะที่ใช้บทเรียนหรือ มีการสัมภาษณ์ผู้เรียนหลังการใช้บทเรียน นอกจากนี้ยังอาจทดสอบความรู้ผู้เรียนหลังจากที่ได้ท าการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้วโดยผู้เรียนต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมายขั้นตอนการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้ง 7 ขั้นนี้ เป็นหลักเกณฑ์ซึ่งมีความยืดหยุ่นได้ถึงแม้ว่าการออกแบบบทเรียนตามล าดับขั้นตอนเป็นสิ่งส าคัญ แต่ในบางโอกาสแล้ว การดัดแปลงขั้นตอนการออกแบบนี้เป็นสิ่งจ าเป็น เช่น ในบางครั้งผู้ออกแบบอาจท าการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาเอกสารความรู้ต่างๆ ก่อนที่จะสามารถตั้งเป้าหมายได้ เป็นต้น อีกทั้งขั้นตอนการออกแบบตามโมเดลนี้ไม่ได้เป็นในลักษณะเชิงเส้นตรง กล่าวคือ ผู้ประเมินสามารถสลับขั้นตอนได้ และหลังจากประเมินในแต่ละช่วงแล้วผู้ออกแบบสามารถย้อนกลับไปแก้ไขในส่วนต่างๆ ได้ตามความจ าเป็น 2.3 การหาประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา

หลังจากที่น านวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วผู้สร้างนวัตกรรมควรท าการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม โดยการน านวัตกรรมไปทดลอง ใช้ (tryout)ตามขั้นตอนที่ก าหนดเพื่อน าข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขแล้วจึงน าไปสอนจริง (trial run)

ร าพึง ร่วมทอง (2550) กล่าวว่า การน านวัตกรรมไปทดลองใช้กับนักเรียนในระดับชั้นที่ต้องการแก้ปัญหาจ านวน 3 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ทดสอบหาประสิทธิภาพรายบุคคล

Page 20: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

13

น านวัตกรรมที่สร้างขึ้นครั้งแรกไปทดลองใช้กับเด็ก1-3 คน พร้อมกับถามความคิดเห็น ปัญหาในการใช้นวัตกรรม ภาษา และความต้องการเพ่ิมเติม แล้วน าผลไปปรับปรุงนวัตกรรม เช่น ปรับปรุงแผนภูมิ ภาพประกอบ ภาษา ให้ชัดเจนเหมาะสมถ้าเป็นสื่ออิเล็กทรอนิคส์ ควรปรับปรุงการเข้าออกโปรแกรมได้ทุกจุดตามที่ต้องการเทคนิคต่าง ๆ ความชัดเจนของภาพ แสง สี เสียง ขนาดและสีของตัวอักษร เป็นต้น

ครั้งที่ 2 ทดสอบหาประสิทธิภาพกับกลุ่มเล็ก น านวัตกรรมที่ผ่านการปรับปรุงแล้วไปทดสอบกับกลุ่มนักเรียนกลุ่มเล็กจ านวน 5 -7 คนแล้ว

สอบถามความคิดเห็น ปัญหาและความต้องการ น าผลการทดสอบมาวิเคราะห์ แก้ไขปรับปรุงในด้านกราฟฟิคเทคนิคต่าง ๆ ส าหรับนวัตกรรมประเภทเทคนิค วิธีการ หรือวิธีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ควรทดลองให้นักเรียนท าตามข้ันตอนจนจบ ตามค าชี้แจงในใบกิจกรรมหรือใบงาน ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีนวัตกรรมนี้อยู่ (หมายถึง ครูต้องมีแผนการสอนที่มีการใช้สื่อหรือนวัตกรรมชิ้นที่ผลิต) เพ่ือตรวจสอบดูว่านักเรียนเข้าใจภาษาที่เขียนอธิบายหรือไม่ นักเรียนเข้าใจค าชี้แจงในใบงานหรือไม่ เวลาที่ใช้ในการท ากิจกรรมต่าง ๆ เหมาะสมหรือไม่ เป็นต้น เพื่อน ามาปรับปรุงทุก ๆ อย่างที่นักเรียนเสนอให้แก้ไข เพ่ือให้นักเรียนเข้าใจและประสบผลส าเร็จตามที่ผู้สอนต้องการ

ครั้งที่ 3 ทดสอบหาประสิทธิภาพกับกลุ่มขนาดใหญ่ ทดลองน านวัตกรรมที่ผ่านการปรับปรุงแล้วไปทดสอบหาประสิทธิภาพกับกลุ่มนักเรียนขนาด

ใหญ่ที่ยังไม่เคยเรียนเนื้อหาที่ได้สร้างสื่อหรือนวัตกรรมดังกล่าวจ านวน 30 คน โดยให้ ผู้เรียนท ากิจกรรมทุกขั้นตอน ตามที่ก าหนดวิธีการใช้สื่อ/นวัตกรรมที่สร้างขึ้น ถ้ามีแบบฝึกหัดก็ท าให้ครบ แล้วท าแบบทดสอบหลังเรียน บันทึกคะแนนในทุกหัวข้อ แล้วน าผลมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสื่อหรือนวัตกรรม

การค านวณหาประสิทธิภาพบทเรียนตามเกณฑ์ค านวณได้จากสูตรดังนี้ (วิชัย วงษ์ใหญ่, 2537, 147)

สูตรการหาประสิทธิภาพของกระบวนการ ( 1E )

1

XNE = ×100A

เมื่อ 1E แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ X แทน คะแนนรวมของแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบย่อยของผู้เรียน N แทน จ านวนผู้เรียนทั้งหมด

A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดทุกชุดหรือแบบทดสอบรวมกัน สูตรการหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( 2E )

×

2

XNE = 100B

เมื่อ 2E แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ X แทน คะแนนรวมของแบบทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนทั้งหมด

Page 21: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

14

N แทน จ านวนผู้เรียนทั้งหมด B แทน คะแนนเต็มของการทดสอบหลังเรียน

เกณฑ์ที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมนิยมใช้เกณฑ์ดังนี้ รายวิชาที่เป็นที่มีเนื้อหาเป็นความรู้ความจ า มักตั้งเกณฑ์ประสิทธิภาพของกระบวนการ 1E /

ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ 2E ไว้ที่ 80/80, 85/85 หรือ 90/90 ส่วนเนื้อหาที่เป็นทักษะหรือเจตคติอาจตั้งไว้ต่ ากว่านี้ เช่น 75/75 เป็นต้น

ประสิทธิภาพของนวัตกรรมไม่ควรต่างไปจากเกณฑ์ที่ก าหนดไว้มากกว่าหรือน้อยกว่า 5 เช่น ถ้าตั้งเกณฑ์ไว้ว่าประสิทธิภาพของกระบวนการ 1E /ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ 2E = 80/80เมื่อน าไปใช้หาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ 1E /ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ 2E =78.3/80.5 ถือว่ายอมรับได ้

จากการศึกษาเกี่ยวกับการหาประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษาผู้วิจัยจึงเลือกใช้เกณฑ์การหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนที่ 70/70 เนื่องจากเป็นการวิจัยในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นทักษะ

2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการท าวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง พัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา ดังนี้

กรรณิกา ไวโสภา (2542) ท าการศึกษาเรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีการสุ่มนักเรียนจ านวน 46 คน ได้ท าแบบทดสอบก่อนเรียน หลังจากนั้นก็เรียนกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนแล้ว ให้นักเรียนท าแบบทดสอบหลังเรียนทันที จากนั้นน าแบบทดสอบมาวิเคราะห์โดยวิธี Item – by – objective analysis ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์รอบรู้ตามวัตถุประสงค์คิดเป็นร้อยละ 94.5 ผู้เรียนมีความคิดเห็นว่าพอใจและชอบบทเรียนคอมพิวเตอร์ชุดนี้

สมนึก การเกษ (2543) ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา คณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยท าการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แล้วน าไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน รวมทั้งน าไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างพบว่า 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.5% หรือมีประสิทธิภาพในระดับพอใช้ 2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น มีคะแนนเพ่ิมขึ้นร้อยละ 67

สงบ ขิงหอม (2551, ก) ได้ท าการวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรม สาระคณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหาดทรายขาว อ าเภอน้ าปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง จ านวน 18 คน ผลการวิจัยพบว่า 1)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้

Page 22: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

15 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีทั้งหมด 6 หน่วย 2) ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการหารทศนิยมทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีประสิทธิภาพ 86.67/84.26 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ก าหนดคือ 80/80 3) ความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการหารทศนิยมทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.34 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้คือนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมาก

ณัฐธิดา สุริยะศรี (2555) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพ่ือ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส าหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนค าเขื่อนแก้ววิทยาคม อ าเภอชานุมาน จังหวัดอ านาจเจริญ จ านวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทฤษฎีบท พีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จ านวน 40 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.39/76.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .01 3. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ .6545 แสดงว่าการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ท าให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนในระดับดี คิดเป็น ร้อยละ 65.45

Page 23: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

16

บทท่ี 3

วิธีด าเนินการวิจัย

การพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ดังนั้นเพ่ือให้การวิจัยนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยจึงได้ก าหนดวิธีด าเนินการวิจัยดังรายละเอียดที่จะน าเสนอตามล าดับดังต่อไปนี้

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 ประชากรและกลุ่มตวัอย่าง

3.1.1 ประชากร ประชากรที่ ใช้ ในการวิจัยครั้ งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2558 จ านวน 5 ห้องเรียนทั้งหมด 145 คน โดยแต่ละห้องเรียนมีผลการเรียนอยู่ในระดับเก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกัน

3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2558 ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster sampling) 1 ห้องเรียน จ านวน 35 คน 3.2 เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 2 ชนิดประกอบด้วย 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 3.2.1 ขั้นตอนการสร้างและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม

Page 24: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

17 1.1 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาพุทธศักราช 2554 (ปรับปรุง 2557) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คู่มือการสอนคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับเนื้อหา และตัวชี้วัด เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม 1.2 ศึกษาต าราเกี่ยวกับหลักการสอน วิธีการสอน ทักษะการสอนสื่อการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ หนังสือแบบเรียนและอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง

1.3 วิเคราะห์หลักสูตรจัดท าแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาว 1.4 จัดท าบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ที่จ านวน 6 แผน จ านวน 7 คาบ ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด 1.5 น าบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านเพ่ือประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองตามหัวข้อต่อไปนี้ 1.5.1 ด้านภาพ 1.5.2 ด้านเสียง 1.5.3 ด้านการออกแบบละการน าเสนอ 1.5.4 ด้านการใช้ภาษา 1.5.5 ด้านเนื้อหา จากการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ของผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 โดยมี เกณฑ์การแปลความหมายความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้(บุญชม ศรีสะอาด, 2535: 100) ดังนี้

ค่าเฉลี่ย 4.51 - 5.00หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51 - 4.50 หมายถึง เหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 - 3.50 หมายถึง เหมาะสมปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51 - 2.50 หมายถึง เหมาะสมน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด

1.6 น าบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแล้วไปทดลองใช้ (try out) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับเก่งปานกลาง อ่อนเพ่ือหาข้อบกพร่องของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และตรวจสอบหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 จ านวน 2 รอบคือรายบุคคลจ านวน 3 คนและกลุ่มย่อย จ านวน 9 คนซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.6.1 ทดลองกับนักเรียนรายบุคคล ผู้วิจัยน าบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ไปทดลอง

ใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจ านวน 3 คน ที่มีความสามารถเก่ง ปานกลาง อ่อน ระดับละ1 คน เพ่ือหาประสิทธิภาพรายบุคคลและข้อบกพร่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยพิจารณาความถูกต้อง

Page 25: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

18 และความต่อเนื่องของเนื้อหา ความเหมาะสมของกิจกรรมความถูกต้องความชัดเจนของภาษาเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จากนั้นน ามาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งผลการทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม กับนักเรียนรายบุคคลได้ประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลดังตารางที่ 3.1 ตารางที่ 3.1 ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วน ในรูปทศนิยมจากการทดลองกับนักเรียนรายบุคคล

N คะแนนระหว่างเรียน คะแนนหลังเรียน คะแนนเต็ม X 1E คะแนนเต็ม X 2E

3 30 21.67 72.23 20 15.33 76.65 จากตารางที่ 3.1 ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม จากการทดลองกับนักเรียนรายบุคคล มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 72.23/76.65 ซึ่งเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้เท่ากับ 70/70 แล้วพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยมผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดไว้แต่ผู้วิจัยพบว่ายังมีข้อที่ต้องแก้ไขปรับปรุงในบางประเด็นและมีแนวทางในการปรับปรุงดังต่อไปนี้

ในใบกิจกรรมยังอธิบายขั้นตอนการท ากิจกรรมไม่ละเอียดรวมถึงภาษาที่ใช้ในการตั้งค าถามหรืออธิบายยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร จึงท าให้นักเรียนมีข้อสงสัยในการท ากิจกรรมมากท าให้ต้องมีการอธิบายขั้นตอนในการท าโดยละเอียดผู้วิจัยจึงได้มีการน าใบกิจกรรมมาปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนการสร้างและภาษาให้ชัดเจนขึ้น

2. ในใบงานข้อค าถามบางข้อและรูปที่ใช้ประกอบการตอบค าถามยังดูไม่ชัดเจนฉะนั้นผู้วิจัยต้องท าการปรับปรุงแก้ไขค าถามและสร้างรูปให้ตรงกับความเป็นจริง

1.6.2 ทดลองกับนักเรียนกลุ่มเล็ก หลังจากน าบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื ่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ไปปรับปรุงแก้ไขแล้ว จึงน าเครื่องมือไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจ านวน 9 คน ที่มีความสามารถเก่ง ปานกลาง อ่อน ระดับละ 3 คน เพื่อหาประสิทธิภาพและข้อบกพร่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยพิจารณาความถูกต้องและความต่อเนื่องของเนื้อหาความเหมาะสมของกิจกรรมความถูกต้องของภาษาเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากนั้นน ามาปรับปรุงแก้ไขซึ่งผลการทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม กับนักเรียนกลุ่มเล็กได้ประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลดังตารางที่ 3.2 ตารางท่ี 3.2 ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วน

ในรูปทศนิยมจากการทดลองกับนักเรียนกลุ่มเล็ก

Page 26: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

19

N คะแนนระหว่างเรียน คะแนนหลังเรียน คะแนนเต็ม X 1E คะแนนเต็ม X 2E

9 30 21.33 71.10 20 14.33 71.65 จากตารางที่ 3.2 ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม จากการทดลองกับนักเรียนกลุ ่มเล็กมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 71.10/71.65 ซึ่งเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้เท่ากับ 70/70 แล้วพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดไว้แต่ผู้วิจัยพบว่ายังมีข้อที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอีกคือภาษาที่ใช้ในการอธิบายประกอบกับยังมีนักเรียนประมาณ 5–6 คนไม่เข้าใจภาษาที่ใช้จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขภาษาให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย 1.7 น าบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ทดลองใช้กับกลุ่มเล็กมาปรับปรุงแก้ไขจากนั้นน าไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ที่เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

2.1 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2554 (ปรับปรุง 2557) โรงเรียนสาธิตมหาว ิทยาลัยราชภัฏสวนสุน ันทา คู ่ม ือการสอนคณิตศาสตร์และแบบเรียนคณิตศาสตร์ 2.2 ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบวิชาคณิตศาสตร์และเทคนิคการวัดผลทางการศึกษา 2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ที่เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน 40 ข้อ โดยสร้างให้ครอบคลุมเนื้อหาและตรงตามตัวชี้วัด 2.4 น าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ที่สร้างเสร็จแล้วเสนอผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้โดยใช้หลักเกณฑ์ในการก าหนดคะแนนตามเกณฑ์ดังนี้ +1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อค าถามสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัด 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อค าถามสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด -1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อค าถามไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด 2.5 บันทึกผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนและประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตามเกณฑ์ที่ก าหนดคือถ้าต่ ากว่า 0.5 ข้อค าถามนั้นไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือตัดท้ิง ซึ่งจากการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้พบว่าข้อสอบทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์

Page 27: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

20 โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC)ตั้งแต่ 0.67–1.00 ซึ่งผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญและจัดพิมพ์เพ่ือน าไปทดสอบต่อไป 2.6 น าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จ านวน 35 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ 2.7 น าผลการทดสอบจากข้อ 2.6 มาตรวจให้คะแนนโดยตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบหรือตอบมากกว่า 1 ตัวเลือกให้ 0 คะแนน แล้วน ามาวิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อหาค่าความยากง่าย (p) และค่าอ านาจจ าแนก (r)ของข้อสอบแต่ละข้อ 2.8 คัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 และมีค่าอ านาจจ าแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 1.00 (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2539 : 184) ได้ข้อสอบที่มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต ่0.32 ถึง 0.78 และค่าอ านาจจ าแนก (r) ตั้งแต ่0.41 ถึง0.87 จ านวน 20 ข้อและครอบคลุมตัวชี้วัดตามต้องการ 2.9 ค านวณค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) ได้ความเชื่อม่ันเท่ากับ 0.732 2.10 น าแบบทดสอบที่ผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญและผ่านการคัดเลือกในข้อ 2.8 จ านวน 20 ข้อ ไปทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างครั้งนี้

3.3 การเก็บรวบรวมข้อมลู ในการวิจัย เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้วิจัยได้ด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยปฏิบัติดังนี้

1. ด าเนินการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง รวมระยะเวลา 6 คาบ คาบละ 50 นาที ระหว่างด าเนินการสอนจะมีการเก็บคะแนนจากการท าใบงาน

2. เมื่อสิ้นสุดการสอนแล้วท าการทดสอบหลังเรียน (post-test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม

3. ตรวจให้คะแนนแบบทดสอบแล้วบันทึกไว้โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบหรือตอบมากกว่า 1 ตัวเลือกให้ 0 คะแนน

4. เปรียบเทียบคะแนนที่ได้แล้วน ามาวิเคราะห์เพ่ือทดสอบสมมติฐาน

3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ท าการวิเคราะห์ข้อมูลตามล าดับดังนี้

Page 28: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

21 1. การหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มของการท าแบบฝึกหัดระหว่างเรียนกับร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเมื่อเทียบกับคะแนนรวมของแบบทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนทั้งหมด น าผลที่ได้มาเทียบร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการท าแบบฝึกหัดระหว่างเรียนกับร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการท าแบบทดสอบหลังเรียน

3.5 สถติิที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

3.5.1 สถิติพรรณนา 1. ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (mean) โดยใช้สูตร

xX =

N

เมื่อ X แทน คะแนนเฉลี่ย

x แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จ านวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง

2. ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)

2 2N x -( x)

S.D =N(N-1)

เมื่อ S .D แทนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน

2X แทนผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกก าลังสอง

2X แทนผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกก าลังสอง

N แทนจ านวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง

3.5.2สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

1. การหาความเที่ยงตรงของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (ล้วนสายยศและอังคณาสายย, 2539:249)

RIOC=

N

เมื่อ IOC แทนดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อค าถามกับจุดประสงค์ R แทนผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

N แทนจ านวนผู้เชี่ยวชาญ

Page 29: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

22 2. การหาค่าความยากง่าย (difficulty) ของแบบทดสอบแบบเลือกตอบโดยใช้สูตร (ล้วนสายยศและอังคณาสายยศ, 2539:183)

Rp =

N

เมื่อ p แทน ความยากของข้อสอบแต่ละข้อ R แทน จ านวนผู้ตอบถูกในแต่ละข้อ

N แทนจ านวนผู้เข้าสอบทั้งหมด 3. หาค่าอ านาจจ าแนกของแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ (discrimination)

(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2539: 186) โดยใช้สูตรดังนี้ Ru-Rl

r=f

เมื่อ r แทน ค่าอ านาจจ าแนก f แทน จ านวนนักเรียนในกลุ่มสูงหรือกลุ่มต่ าซึ่งเท่ากัน Ruแทนจ านวนนักเรียนกลุ่มสูงที่ตอบถูก Rl แทน จ านวนนักเรียนกลุ่มต่ าที่ตอบถูก

4. การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์- ริชาร์สัน (Kuder-Richardson) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540: 123)โดยใช้สูตรดังนี้

tt 2

t

pqnr = 1-

n-1 s

เมื่อ ttr แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ n แทน จ านวนข้อของแบบทดสอบ p แทน สัดส่วนของผู้ที่ท าได้ในข้อ ๆ หนึ่ง เท่ากับ จ านวนคนที่ท าถูกหารด้วยจ านวนคนทั้งหมด Q แทน สัดส่วนของผู้ที่ตอบผิดในข้อ ๆ หนึ่งเท่ากับ1-p 2

ts แทน ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ 5. การหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพ่ือเป็นหลักประกันได้ว่าการ

จัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้คือ70/70 (วิชัยวงษ์ใหญ่, 2537: 147) โดยค านวณได้จากสูตรดังนี้

1

XNE = ×100 A

เมื่อ 1E แทน ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็น

ร้อยละจากการท าแบบฝึกหัดและการทดสอบย่อย

Page 30: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

23

X แทน คะแนนรวมของผู้เรียนจากการท าแบบฝึกหัดและ การทดสอบย่อย A แทน คะแนนเต็มของการท าแบบฝึกหัด

N แทน จ านวนผู้เรียน

2

FNE = ×100 B

เมื่อ 2E แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละจากการท าแบบทดสอบหลังเรียน

Fแทน คะแนนรวมของผู้เรียนจากการท าแบบทดสอบหลังเรียน B แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน N แทน จ านวนผู้เรียน

Page 31: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

24

บทท่ี 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ด า เนินการน าเสนอผลการวิ เคราะห์ข้อมูลตามล าดับดังนี้

4.1 สัญลักษณ์ท่ีใช้ในการน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

X แทน คะแนนเฉลี่ย

S .D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน N แทน จ านวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง

1E แทน ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละจากการท าแบบฝึกหัด 2E แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละจากการท า

แบบทดสอบหลังเรียน 4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ดังตารางที่ 4.1

ตารางท่ี 4.1 ผลวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียน

เศษส่วนในรูปทศนิยม

N

คะแนนระหว่างเรียน คะแนนหลังเรียน คะแนนเต็ม X 1E คะแนนเต็ม X 2E

35 30 22.49 74.95 20 15.66 78.29 จากตารางที่ 4.1 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียน 22.49 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.95 และนักเรียนมีคะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ย 15.66 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 78.29 นั่นคือผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียน

Page 32: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

25 เศษส่วนในรูปทศนิยม มีประสิทธิภาพ 1 2E /E เท่ากับ 74.95/78.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 ที่ก าหนดไว้

Page 33: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

26

บทท่ี 5

สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

การพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีสมมติฐานการวิจัยดังนี้ กิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 5.1 สรุปผลการวิจัย

ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม มีประสิทธิภาพ 74.95/78.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 70/70

5.2 อภิปรายผล

ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม มี

ประสิทธิภาพ 74.95/78.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 70/70 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการที่ผู้วิจัยได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม เป็นสื่อในการเรียนการสอน ท าให้นักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองมีเวลาทบทวนบทเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งสอดคล้องกับกรรณิกา ไวโสภา (2542) ท าการศึกษาเรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีการสุ่มนักเรียนจ านวน 46 คน ได้ท าแบบทดสอบก่อนเรียน หลังจากนั้นก็เรียนกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนแล้ว ให้นักเรียนท าแบบทดสอบหลังเรียนทันที จากนั้นน าแบบทดสอบมาวิเคราะห์โดยวิธี Item – by – objective analysis ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์รอบรู้ตามวัตถุประสงค์คิดเป็นร้อยละ 94.5 ผู้เรียนมีความคิดเห็นว่าพอใจและชอบบทเรียนคอมพิวเตอร์ชุดนี้ซึ่งสอดคล้องกับ สมนึก การเกษ (2543) ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา คณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยท าการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แล้วน าไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน รวมทัง้น าไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างพบว่า 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.5% หรือมีประสิทธิภาพในระดับพอใช้ 2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น มีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67

Page 34: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

27 5.3 ข้อเสนอแนะ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นสื่อ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาและสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ในเนื้อหาอ่ืน ๆ และรายวิชาอ่ืน ๆ

Page 35: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

28

บรรณานุกรม

Page 36: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

บรรณานุกรม กรรณิกา ไวโสภา.(2542). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง

การบวกเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต , บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐธิดา สุริยะศรี. 2555. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่ม สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชา โสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 7).

กรุงเทพฯ: ส านักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ยุพิน พิพิธกุล. 2545. การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ร าพึง ร่วมทอง. 2550. การหาประสิทธิภาพของสื่อและนวัฒกรรมทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2558, จาก http://learners.in.th/blog/eti5301/110155.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2539. เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น. วิชัย วงษ์ใหญ่. 2537. ชุดการเรียนด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. วุฒิชัย ประสารสอย. (2543). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน : นวัตกรรมเพื่อการศึกษา.

กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจ ากัด วี.เจ พริ้นติ้ง สุรางค์ โค้วตระกูล. (2537). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร :

ส านักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมนึก การเกษ. (2543). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง

เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต , บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุปราณี พูนประสิทธิ์. 2546. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความรับผิดชอบ ในการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 จากการสอนด้วยชุดการเรียนการสอน 3 แบบ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

หน่วยศึกษานิเทศก์ ส านักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. (2543). การจัดการเรียน การสอนแบบโครงงานคณิตศาสตร์. เอกสาร ศน ที ่2/2543.(อัดส าเนา).

Page 37: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

30

อรรถพล บุญกลิ่น. 2551. การใช้กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ใช้รูปแบบ กลุ่มช่วยเรียนรายบุคคล ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียนบ้านทุ่งหลุก จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2540. หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

Page 38: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

ภาคผนวก

Page 39: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

ภาคผนวก ก ผลการวิเคราะห์ค่า IOC ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ของผู้เชี่ยวชาญ

Page 40: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

34

ตารางท่ี 1 ผลการวิเคราะห์ค่า IOC ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ของผู้เชี่ยวชาญ

ข้อที่ ผู้เชี่ยวชาญคนที่

รวม ค่า IOC ความหมาย 1 2 3

1 1 1 0 2 0.67 สอดคล้อง 2 1 1 0 2 0.67 สอดคล้อง 3 1 0 1 2 0.67 สอดคล้อง 4 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 5 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 6 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 7 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 8 0 1 1 2 0.67 สอดคล้อง 9 1 1 0 2 0.67 สอดคล้อง 10 1 0 1 2 0.67 สอดคล้อง 11 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 12 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 13 1 0 1 2 0.67 สอดคล้อง 14 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 15 0 1 1 2 0.67 สอดคล้อง 16 0 1 1 2 0.67 สอดคล้อง 17 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 18 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 19 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 20 1 0 1 2 0.67 สอดคล้อง 21 1 0 1 2 0.67 สอดคล้อง 22 1 0 1 2 0.67 สอดคล้อง 23 1 1 0 2 0.67 สอดคล้อง 24 0 1 1 2 0.67 สอดคล้อง 25 1 1 0 2 0.67 สอดคล้อง 26 0 1 1 2 0.67 สอดคล้อง

Page 41: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

35

ตารางท่ี 1 (ต่อ)

ข้อที่ ผู้เชี่ยวชาญคนที่

รวม ค่า IOC ความหมาย 1 2 3

27 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 28 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 29 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 30 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 31 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 32 0 1 1 2 0.67 สอดคล้อง 33 1 1 0 2 0.67 สอดคล้อง 34 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง 35 1 1 1 3 1.00 สอดคล้อง

Page 42: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

ภาคผนวก ข ผลการวิเคราะห์ ค่าความยากง่าย (P) ค่าอ านาจจ าแนก (r) และค่าความเชื่อม่ันของ

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม

Page 43: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

37

ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ ค่าความยากง่าย (P) ค่าอ านาจจ าแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม

ข้อที่ ระดับความยากง่าย (P) อ านาจจ าแนก (r) หมายเหตุ

1 0.64 0.58 *

2 0.67 0.41 *

3 0.60 0.58 *

4 0.84 0.50

5 0.78 0.58

6 0.33 0.67

7 0.25 0.42

8 0.49 0.67 *

9 0.79 0.33

10 0.53 0.58 *

11 0.74 0.67

12 0.60 0.75 *

13 0.32 0.58 *

14 0.78 0.50

15 0.84 0.42

16 0.84 0.33

17 0.53 0.67 *

18 0.49 0.75 *

19 0.56 0.87 *

20 0.33 0.50

21 0.69 0.67 *

22 0.84 0.42

23 0.67 0.67 *

Page 44: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

38

ตารางท่ี 2 (ต่อ)

ข้อที่ ระดับความยากง่าย (P) อ านาจจ าแนก (r) หมายเหตุ

24 0.84 0.50 25 0.71 0.58 *

26 0.47 0.75 *

27 0.80 0.67

28 0.72 0.25

29 0.93 0.25

30 0.64 0.67 *

31 0.51 0.58 *

32 0.73 0.50

33 0.71 0.58

34 0.76 0.67

35 0.60 0.67 *

36 0.36 0.50

37 0.51 0.83 *

38 0.31 0.33

39 0.78 0.67 *

40 0.71 0.58 * * ข้อที่เลือก

Page 45: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

ภาคผนวก ค ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม

Page 46: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

40

ตารางท่ี 3 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูป

ทศนิยม

คนที่ คะแนน

ใบงาน 1 ใบงาน 2 ใบงาน 3 รวม หลังเรียน 10 10 10 40 20

1 8 6 6 20 14 2 7 7 7 21 16 3 9 8 7 24 16 4 6 6 8 20 17 5 7 5 8 20 15 6 5 7 7 19 18 7 4 8 8 20 14 8 5 9 8 22 15 9 10 10 9 29 16 10 5 7 8 20 14 11 6 8 7 21 16 12 7 8 7 22 17 13 6 8 7 21 18 14 5 8 6 19 15 15 7 7 6 20 13 16 7 7 6 20 14 17 8 7 6 21 13 18 9 7 8 24 19 19 8 9 8 25 19 20 7 7 8 22 17 21 10 10 7 27 14 22 10 10 7 27 14 23 6 9 10 25 15 24 7 8 5 20 17 25 7 9 8 24 16 26 7 8 6 21 15 27 8 7 8 23 13 28 9 8 6 23 16

Page 47: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

41

ตารางท่ี 3 (ต่อ)

คนที่ คะแนน

ใบงาน 1 ใบงาน 2 ใบงาน 3 รวม หลงัเรียน 10 10 10 40 20

29 9 8 7 24 14 30 6 8 9 23 16 31 9 7 7 23 15 32 8 7 6 21 15 33 9 8 9 26 16 34 8 7 7 22 18 35 10 8 10 28 18 รวม 259 271 257 787 548 X 7.40 7.74 7.34 22.49 15.66

S .D 1.63 1.12 1.19 2.64 1.68 % 74.00 77.43 73.43 74.95 78.29

Page 48: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

ภาคผนวก ง รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ

Page 49: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

43

รายช่ือผู้เชี่ยวชาญ

1. อาจารย์เกตุม สระบุรินทร์ อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2. อาจารย์โสภาพรรณ เวชากุล อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3. อาจารย์วิรัลณัฐ ภิญโญ อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

Page 50: รายงานการวิจัย เรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม ส าหรับ ...elsd.ssru.ac.th/nampung_ch/pluginfile.php/152/course/summary/งานวิจัย... ·

44

ประวัติย่อของผู้วิจัย

ชื่อ – สกุล นางน้ าผึ้ง ชูเลิศ วัน เดือน ปีเกิด วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2524 สถานที่เกิด โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร การศึกษา พ.ศ. 2545 ครุศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา พ.ศ. 2553 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษาสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ต าแหน่งงาน อาจารย์ สถานที่ท างาน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา