13
เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ

เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ

Page 2: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

สารบัญ

เรื่อง หน้า

ค าน า ก

สารบัญ ข

ระบบประสาทอัตโนมัติ 1

-ระบบประสาทซิมพาเทติก 2

-ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก 3

การท างานของระบบประสาทซิมพาเทติกกับระบบประสาทพาราซิมพาเทติก 4-10

แหล่งอ้างอิง ค

Page 3: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

ระบบประสาทอัตโนมัติ

(Autonomic Nervous System)

ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System หรือ ANS) คือ ระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทจ านวนมาก แต่เซลล์ประสาทเหล่านี้จะท างานเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อ านาจจิตใจ (involuntary) หรือการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นการท างานของเซลล์ประสาทอัตโนมัติจึงท างานได้โดยไม่ต้องอาศัยค าสั่งจากสมอง เส้นประสาทจากระบบประสาทอัตโนมัติจะกระจายอยู่ตามบริเวณกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายในทุกชนิด กล้ามเนื้อหัวใจ รวมทั้งต่อมต่าง ๆ ทั้งหลายในร่างกายอีกด้วย

การท างานของระบบประสาทอัตโนมัติประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึก ซึ่งอาจจะอยู่ที่อวัยวะภายในหรือผิวหนังก็ได้ เซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะรับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทไขสันหลัง จากไขสันหลังจะมีเซลล์ประสาทสั่งการที่น ากระแสประสาทออกจากไขสันหลังไปสู่ปมประสาทของ ระบบซิมพาเทติกหรือพาราซิมพาเทติก จากนั้นจะมีเซลล์ประสาทสั่งงานอีกเซลล์หนึ่งน ากระแสประสาทไปสั่งงานยังอวัยวะภายในหรือกล้ามเนื้อเรียบ

การท างานของระบบประสาทอัตโนมัติ จัดเป็นรีแฟลกซ์แอกชันที่มีหน่วยปฏิบัติงานเป็นกล้ามเนื้อเรียบหรือต่อมต่างๆ เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อที่ผนังกระเพาะอาหาร หรือการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร การหลั่งน้ านมขณะเด็กดูดนมแม่

ปฏิกิริยารีแฟลกซ์แอกชัน (reflex action) หมายถึง กิริยาของหน่วยปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยมิได้มีการเตรียมหรือคิดล่วงหน้า เป็นการสั่งงานของไขสันหลังไม่ต้องอาศัยค าสั่งจากสมองส่วนเซรีบรัม

Page 4: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

การท างานของระบบประสาทอัตโนมัติประกอบด้วยระบบย่อย 2 ระบบด้วยกันคือ....

1) ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous System) ศูนย์กลางอยู่บริเวณไขสันหลัง (Spinal cord) ประกอบด้วยเส้นประสาทที่ออกจากบริเวณไขสันหลังตั้งแต่อกจนถึงเอว ระบบนี้จะท างานในกรณีท่ีบุคคลตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตื่นตัวเพ่ือเตรียมพร้อมที่จะสู้หรือหนีจากสถานการณ์เหล่านั้น ปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อระบบประสาทซิมพาเทติกท างาน ได้แก่ ขนลุกตั้งชัน ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นเร็วและรัว ต่อมอะดรีนัล (adrenal gland) หรือต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (adrenalin) เพ่ือเพ่ิมพลังงานพิเศษให้กับร่างกาย เป็นต้น

ตัวอย่าง ระบบซิมพาเทติก

ม่านตาขยาย ต่อมน้ าตาท างาน น้ าลายและเหงื่อถูกผลิตออกมามาก หัวใจเต้นเร็ว ปอดหด / ขยายเพ่ิมข้ึน ตับและกระเพาะท างานน้อยลง ล าไส้ท างานน้อยลง กระเพาะปัสสาวะขยายตัว ฮอร์โมนอะดรีนาลีนถูกหลั่งออกมา ถุงอัณฑะขยายตัวทันที

Page 5: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system) มีศูนย์กลางอยู่ที่ก้านสมอง (medulla) และไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยระบบนี้จะท างานควบคู่กับระบบซิมพาเทติก กล่าวคือ เมื่อระบบซิมพาเทติกท างานสิ้นสุดลง ร่างกายพ้นจากสภาวะฉุกเฉินไปแล้ว ระบบพาราซิมพาเทติกจะช่วยท าให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาวะปกติ เช่น เส้นขนจะราบลง ชีพจรหัวใจและความดันโลหิตจะกลับคืนสภาพเดิม เป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ต่อมอะดรีนัลหลั่งฮอร์โมนนอร์อะดีนาลีน (noradrenalin) เพ่ือช่วยให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง

ตัวอย่าง ระบบพาราซิมพาเทติก

ม่านตาหรี่ลง ต่อมน้ าตาหยุดการท างาน น้ าลายไหลปกติ หัวใจเต้นปกติ ปอดหด / ขยายปกติ ตับกระเพาะอาหารท างานมากข้ึน

ล าไส้ท างานมากข้ึน กระเพาะปัสสาวะหดตัว อวัยวะเพศแข็งตัว

การท างานของระบบประสาทซมิพาเทติกและพาราซิมพาเทติก

Page 6: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

การท างานของระบบประสาทซิมพาเทติกกับระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

การท างานของระบบประสาทซิมพาเทติกกับระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะควบคุมการท างานของอวัยวะภายในให้ท างานตรงกันข้าม เช่น การท างานของกระเพาะปัสสาวะจะคลายตัว ถ้าระบบประสาทซิมพาเทติกไป กระตุ้น แต่กระเพาะปัสสาวะจะบีบตัว และขับปัสสาวะ หากระบบประสาทพาราซิมพาเทติกไปกระตุ้น หรือหัวใจจะเต้นแรงและเร็วขึ้น ถ้าเป็นการกระตุ้นของระบบประสาทซิมพาเทติก แต่หัวใจจะเต้นช้า และเบาลงถ้าถูกกระตุ้นทางระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

โดยทั่วไประบบประสาทพาราซิมพาเทติก จะช่วยเพิ่มการท างานของอวัยวะ เพ่ือให้ได้พลังงานและเก็บรักษาพลังงานไว้ เช่น กระตุ้นการย่อยอาหาร และลดการท างานของหัวใจ แต่ระบบประสาทซิมพาเทติกจะเพ่ิมการใช้พลังงานและเพ่ือท าให้ร่างกายตื่นตัว โดยเร่งการท างานของหัวใจ เพ่ิมอัตราเมแทบอลิซึมและการท างานของอวัยวะต่าง ๆ

การท างานของระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติกนี้ นอกจากจะอยู่นอกอ านาจจิตแล้ว ยังบังคับอวัยวะต่าง ๆ ให้ท างานเป็นปกติ และต่อเนื่องตลอดเวลา จนอาจเรียกได้ว่า เป็นระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic nervous system)

ทั้งระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบประสาทโซมาติกมีความสัมพันธ์กันในการท างาน เช่น การตอบสนองต่ออุณหภูมิของร่างกายที่ลดลง โดยไฮโพทาลามัสจะส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทอัตโนมัติ เพ่ือไปท าให้หลอดเลือดที่ผิวหนังหดตัว ป้องกันการสูญเสียความร้อน ขณะเดียวกันจะส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทโซมาติกเพ่ือท าให้กล้ามเนื้อสั่น

อวัยวะบางอย่างจะถูกควบคุมการท างาน โดยระบบประสาทซิมพาเทติกเพียงอย่างเดียว ได้แก่ ตับและต่อมหมวกไต ส าหรับอวัยวะบางอย่างถูกควบคุมด้วยระบบประสาทพาราซิมพาเทติกเพียงอย่างเดียว ได้แก่ถุงน้ าดี

Page 7: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

รูปเปรยีบเทียบระบบประสาทโซมาติกและระบบประสาทอัตโนมัติ

ตารางเปรียบเทียบการท างานของระบบประสาทซิมพาเทติกกับระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

Page 8: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

ระบบประสาทซิมพาเทติก เมื่อออกจากไขสันแล้วรวมอยู่กับรากล่างของประสาทไขสันหลัง แล้วจึงแยกออกมาเป็นปมประสาท และเส้นประสาทต่างหาก เซลล์ประสาทในปมส่วนใหญ่จะส่งใยประสาทตรงไปยังอวัยวะภายในต่าง ๆ

รูประบบประสาทซิมพาเทติก (thoracolumbar) ใยประสาทจะออกจากไขสันหลัง ทั้งสองด้าน ภาพซ้ายมือ

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก มีศูนย์ควบคุมอยู่ในสมองส่วนกลางและเมดัลลาออบลองกาตา เส้นประสาทก่อนไซแนปส์จะออกไปกับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3, 7, 9 และ 10 กับส่วนไขสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บ ข้อที่ 2, 3, 4 ก็มีเส้นประสาทก่อนไซแนปส์ออกไปด้วย

รูประบบประสาทพาราซมิพาเทตกิ

Page 9: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

รูปแผนภาพแสดงต าแหน่งของระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

Page 10: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

ส าหรับด้านซ้ายมือ คือ ด้านระบบประสาทซิมพาเทติกนั้นปมที่อยู่ติดกับไขสันหลัง คือ ปมประสาทอัตโนมัติ หรือปมประสาทซิมพาเทติกส่วนปมใหญ่ถัดเข้าไปข้างในอีก 3 ปมนั้น เป็นปมในช่องท้อง (collateral ganglion) เส้นประสาทก่อนไซแนปส์ของระบบประสาทซิมพาเทติก อาจมีการไซแนปส์กับเส้นประสาทหลังไซแนปส์ที่ปมประสาทอัตโนมัติ หรือปมในช่องท้อง เส้นประสาทซิมพาเทติกออกมาจากสมองส่วนกลาง และเมดัลลาออบลอง กาตา และส่วนของไขสันหลัง ช่วงกระเบนเหน็บ

การท างานของระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นการท างานแบบแอนตาโกนีซึม คือ ระบบประสาทซิมพาเทติก เป็นระบบที่กระตุ้นการท างาน ส่วนระบบประสาทพาราซิมพาเทติก เป็นระบบยับยั้งการท างาน ยกเว้นบางอวัยวะ เช่นกระเพาะและล าไส้ ในระบบประสาทซิมพาเทติกเป็นการยับยั้ง ส่วนระบบประสาทพาราซิมพาเทติกควบคุม ได้แก่ ต่อมเหงื่อและอะดรีนัลเมดัลลา

ตารางเปรียบเทียบระบบประสาทซิมพาเทติกกับระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

Page 11: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

รูปแสดงทางเดินของระบบประสาทซิมพาเทติก และพาราซิมพาเทติกที่ออกจากไขสันหลัง ต่างระดับกัน สังเกตว่าไซแนปส์ของระบบพาราซิมพาเทติกอยู่ใกล้หน่วยปฏิบัติงาน และ ปล่อยสารสื่อประสาทคือแอซิติลโคลีน ในขณะที่ซิมพาเทติกปล่อยนอร์เอพิเนฟริน

อวัยวะภายในชนิดต่าง ๆ หรือผิวหนังล้วนเป็นหน่วยรับความรู้สึกของระบบประสาท อัตโนมัติ เมื่อเซลล์ประสาทรับความรู้สึกรับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกแล้วจะส่งกระแสประสาทผ่านรากบนของเส้นประสาทไขสันหลังเข้าสู่ไขสันหลัง จากไขสันหลังมีเซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์น ากระแสประสาทออกจากไขสันหลังไปยังปมประสาทซิมพาเทติก หรือพาราซิมพาเทติก ต่อจากนั้นมีเซลล์ประสาทน าค าสั่งอีกเซลล์ คือ เซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ส่งกระแสประสาทไปยังอวัยวะภายใน (ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อเรียบ) หรือกล้ามเนื้อเรียบที่ผิวหนังจึงเห็นได้ว่า วงจรประสาทของระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบด้วย 5 หน่วย เหมือนกับระบบประสาทโซมาติก เพียงแต่ระบบประสาทอัตโนมัติมีเซลล์ประสาทน าค าสั่ง 2 เซลล์ แต่ไม่มีเซลล์ประสาทประสานงาน

วงจรการท างานของระบบประสาทอัตโนมัติต่างกันกับการท างานของระบบโซมาติกที่ระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบด้วย หน่วยรับความรู้สึก เซลล์ประสาทรับความรู้สึก เซลล์ประสาทสั่งการหรือน าค าสั่ง และหน่วยปฏิบัติงานการน ากระแสประสาทเป็นวงจรรีเฟล็กซ์แอกชันเช่นเดียวกับระบบประสาทโซมาติก แตกต่างกันที่ระบบประสาทอัตโนมัติมีเซลล์ประสาทสั่งการ 2 เซลล์เสมอ คือ

Page 12: เรื่อง ระบบประสาทอัตโนมัติ · 2) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous

ตารางเปรียบเทียบการท างานของระบบประสาทโซมาติก (SNS) กับระบบประสาทอัตโนมตัิ (ANS)

จากที่ได้กล่าวถงึรายละเอียดการท างานของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบประสาทแล้วนั้น จะเห็นว่าการท างานของทั้งสามระบบมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์โดยตรง อย่างไรก็ตามระบบทั้งสามนั้นจะต้องมีการท างานที่สัมพันธ์กัน กล่าวคือการที่ร่างกายจะแสดงพฤติกรรมใดๆ ได้นั้นจะต้องอาศัยระบบกล้ามเนื้อซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว แต่การที่ร่างกายจะรับรู้ถึงสิ่งเร้าต่างๆ ที่มากระตุ้นแล้วเกิดการสั่งการให้กล้ามเนื้อหดและคลายตัวเพ่ือแสดง ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้นั้นจ าเป็นต้องอาศัยระบบประสาทเป็นตัวสั่งการ นอกจากนี้ฮอร์โมนที่ถูกผลิตจากต่อมไร้ท่อทั้งหลายจะช่วยให้การท างานของร่างกายเป็นไปตามปกติอีกด้วย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งหลายจะเป็นเช่นไร ส่วนหนึ่งจึงมาจากความสมบูรณ์หรือความบกพร่องในการท างานของระบบทั้งหลาย เพราะฉะนั้นการศึกษาเรื่องของระบบต่างๆ ภายในร่างกายโดยเฉพาะการท างานของระบบต่อมไร้ท่อ รวมทั้งระบบประสาทดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะช่วยให้ผู้ศึกษาทางจิตวิทยาเข้าใจพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของมนุษย์ได้ดีขึ้น