16
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-JOURNAL) ปีท่ ๑ ฉบับที่ ๒ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๐ วารสาร สปน.

วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-JOURNAL) ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๐

วารสาร สปน.

Page 2: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๒

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

วิสัยทัศน์ : เป็นองค์การผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพ่ือส่งเสริมการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ รวมท้ังเป็นศูนย์กลางและต้นแบบในการอำนวยการ ประสาน กำกับ เร่งรัด ติดตาม ตรวจสอบ การปฏิบัติงานตามนโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น เพื่อความเป็นเลิศในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งเน้นประโยชน์สุขของประชาชนพันธกิจ : ๑. พัฒนาระบบการประสานการบริหาร ราชการ การตรวจราชการ และการกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ให้เป็นต้นแบบและเป็นศูนย์กลางในการกำกับ เร่งรัด ติดตามผล การปฏิบัติราชการตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้สอดคล้องกับพลวัตรของการบริหารราชการแผ่นดิน ๒. เร่งพัฒนา ปรับปรุงระบบการบริหาร และการพัฒนาบุคลากร เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสนองตอบต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ๓. ส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการประชาสังคม โดยอำนวยการและประสานการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คุ้มครองสิทธิ และพัฒนาการให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า รวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ๔. ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของเอกลักษณ์ของชาติ โดยเน้นการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

บทบรรณาธิการ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของสปน.ฉบับนี้ เป็นฉบับที่๒แล้วที่ได้จัดทำขึ้น ซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่นำเสนอ ประกอบด้วยเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่ งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา๘๐พรรษา๕ธันวาคม๒๕๕๐และเรื่อง1111รหัสเดียวสี่ช่องทางสำหรับบทความอื่นๆเป็นเรื่องที่หน่วยงานในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันซึ่งจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานราชการ และผู้ที่สนใจทั่วไป โดยเฉพาะภาคประชาชน คณะผู้จัดทำวารสารอิเล็กทรอนิกส์ของ สปน. ต้องการทราบเสียงสะท้อนจากท่านผู้อ่านทุกท่านโดยเฉพาะเกี่ยวกับเนื้อหาสาระหรือต้องการให้เพิ่มบทความในส่วนใด ก็ขอได้แจ้งให้ทราบด้วย เพื่อจะได้ปรับปรุงและแก้ไขวารสารให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้อ่านต่อไป พบกันใหม่ฉบับหน้านะครับ....สวัสดีครับ

สารบัญ

งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล ........................................ ๓

เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

การปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ .................................. ๕

(ฉบับที่..) พ.ศ. ....

1111 รหัสเดียวสี่ช่องทาง ...................................................................... ๖

หนทางสู่ HPO (HIGH PERFORMANCE ORGANIZATION) ................. ๘

เครือข่ายเอกลักษณ์ของชาติ ................................................................. ๑๐

โครงการอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ ๒๕๕๐

CLINIC CENTER ................................................................................. ๑๒

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับการป้องกันและ ........................ ๑๔

ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ

รอบรั้ว สปน. ......................................................................................... ๑๕

คณะที่ปรึกษา : นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต (ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)

นายจาดุร อภิชาตบุตร (รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)

นายสุทธิศักดิ์ เอี่ยมประสิทธิ์ (รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)

นายธีรภัทร สันติเมทนีดล (หัวหน้าผู้ตรวจราชการ

สำนักนายกรัฐมนตรี)

บรรณาธิการ : นายจำรัส ศักดิ์จิรพาพงษ์ (ผู้อำนวยการกองกลาง)

กองบรรณาธิการ :นางสาวอรนุช ศรีนนท์ นายเมธี เผื่อนทอง

นางสมลักษณ์ จันโภคา นางสุนิสา ดารารัตน์

นางสุวรรณี ศิลาวิลาศภักด ี นายกฤช อินทรโกเศศ

นางสาวฆฤณี ศรีวรรณ นางวิไล พิสิฐบรรณกร

นายไพฑูรย์ บุญภักดิ์ นางสาวผลทิพณ์ สร้างสวน

นางสาวสุพพตา ประภาศิริ นางสาวสุกัญญา วงศ์รัตนชัย

นางดวงเด่น นุเรมรัมย์ เชิดชู

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ทำเนียบรัฐบาล ดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐

โทรศัพท์ ๐ ๒๒๘๒ ๑๐๐๗

โทรสาร ๐ ๒๒๘๒ ๕๑๓๑

http://www.opm.go.th

e-mail address: [email protected]

Page 3: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๓

เรื่อง: หนูหริ่ง

สำนักแผนงานและกิจการพิเศษ

วารสาร สปน. ๓

สำนักแผนงานและกิจการพิเศษขอรายงานความคืบหน้าการจัดงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา๘๐พรรษา๕ธันวาคม๒๕๕๐ให้ท่านผู้อ่านทราบกันค่ะ

ความเดิมตอนที่แล้ว รัฐบาลได้มอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการออกแบบตราสัญลั กษณ์ ง านเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา๕ธันวาคม๒๕๕๐ซึ่งได้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายและรอการมีพระบรมราชวินิจฉัยต่อไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา๕ธันวาคม๒๕๕๐แล้วโดยเลือกแบบตราสัญลักษณ์ที่นายสุเมธ พุฒพวงนักวิชาการช่างศิลป์ ๗ว ช่างสิบหมู่กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ

สำหรับหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปที่ประสงค์จะนำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการจัดทำสิ่งของใดๆ ก็ตาม จะต้องขออนุญาตจากสำนักราชเลขาธิการก่อน

สำหรับโครงการและกิจกรรมที่ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติฯแล้วสามารถนำตราสัญลักษณ์ ไปใช้ในโครงการและกิจกรรมได้เลย

งานเฉลิมพระเกียรติ

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา

๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

ความหมายตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา

๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ เป็นภาพพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุณาโลม รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือวงจักรเป็นพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันหมายถึง พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มีพระบรมเดชานุภาพเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ได้ประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ตามโบราณราชประเพณี และสมาชิกรัฐสภาได้ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปดเป็นครั้งแรกแทนราชบัณฑิต ส่วนพระแท่นลานั้นโรยด้วยดอกพิกุลเงินพิกุลทอง ๙ ดอก พระราชลัญจกรล้อมรอบด้วยเพชร ๘๐ เม็ด หมายถึงพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ด้านบนพระราชลัญจกรเป็นพระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ภายในพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นเลข ๙ หมายถึงรัชกาลที่ ๙ พระมหาพิชัยมงกุฎนั้นอยู่ด้านหน้าพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรซึ่งอยู่กึ่งกลาง และขนาบข้างด้วยพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น อันเป็นเครื่องแสดงพระราชอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ ด้านล่างพระราชลัญจกรเป็นเลข ๘๐ หมายถึงพระองค์มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ถัดจากเลขไทยลงมาเป็นแพรแถบบอกชื่องานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ แพรแถบนอกจากบอกชื่องานพระราชพิธีแล้ว ยังรองรับประคองพระเศวตฉัตรด้วย

Page 4: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๔

และการบริจาคในการบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุและปูชนียสถานต่างๆตามศรัทธา

การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และประกอบคุณงามความดีต่อส่วนรวม สนองพระมหากรุณาธิคุณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

การเข้าชมนิทรรศการและการแสดงมหรสพสมโภชและงานเฉลิมฉลองซึ่งจะจัดให้มีขึ้นทั่วราชอาณาจักร

การเข้าร่วมอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติฯ

การร่วมซื้อเข็มที่ระลึกของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเงินรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัยนอกจากนี้ยังมีเหรียญที่ระลึกธนบัตรที่ระลึกตราไปรษณียากรที่ระลึกและบัตรโทรศัพท์ที่ระลึก ซึ่งหน่วยงานเจ้าของเรื่องจะเปิดโอกาสจำหน่ายต่อไปT

โดยแจ้งให้สำนักราชเลขาธิการทราบเพื่อรวบรวมบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ยกเว้นโครงการและกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดรายได้จะต้องได้รับพิจารณาจากสำนักราชเลขาธิการก่อน

การประดับธงตราสัญลักษณ์นั้นให้ประดับธงผืนผ้าสีเหลืองที่มีตราสัญลักษณ์บนผืนผ้าคู่กับธงชาติไทยและประดับตราสัญลักษณ์ตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ โดยเมื่อหันหน้าเข้าหาธงตราสัญลักษณ์แล้วธงชาติไทยจะอยู่ทางด้านซ้าย และธงตราสัญลักษณ์อยู่ด้านขวามือโดยแผ่นป้ายตราสัญลักษณ์อยู่ตรงกลางระหว่างธงทั้งสอง โดยให้ประดับธงดังกล่าวตลอดช่วงเขตการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ (๑มกราคม๒๕๕๐ถึง๓๑ธันวาคม๒๕๕๐) โดยไม่ต้องขออนุญาตจากสำนักราชเลขาธิการ

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดพิธีมอบธงและแผ่นป้ายตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯแก่ผู้แทนส่วนราชการ และหน่วยงานอิสระต่างๆเพื่อนำไปประดับณอาคารของแต่ละหน่วยงานเมื่อวันที่๑๖มีนาคม ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุมอรรถไกวัลวทีอาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

นอกจากการประดับธงตราสัญลักษณ์แล้ว ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในงานมหามงคลนี้ โดยการแสดงออกในหลากหลายกิจกรรมค่ะเช่น

การร่วมเข้าเฝ้าทูลละอองธุลี-พระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคลในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ สถานที่ขณะนี้นั้นยังไม่ได้กำหนดแน่นอนอยู่ระหว่างรอพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย

การร่วมสวมเสื้อเหลืองโดยพร้อมเพรียงกัน ตลอดช่วงเขตการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งจะเป็นแบบใดก็ได้และไม่จำเป็นต้องมีตราสัญลักษณ์เพื่อเป็นการประหยัดค่ะ

การบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศลตามความเชื่อของแต่ละคน

Page 5: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๕

เรื่อง: นายเดินทาง สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

ความเป็นมา พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ

ราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นกฎหมายที่มีสาระ

สำคัญในการให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวาง

ในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนิน

การต่างๆ ของรัฐ เพื่อที่ประชาชนจะสามารถ

แสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้

โดยถูกต้องกับความเป็นจริงอันเป็นการส่งเสริม

ให้มีความเป็นรัฐบาลโดยประชาชนมากยิ่งขึ้น

นับแต่การปฏิรูประบบราชการเมื่อ

เดือนตุลาคม ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลง

ระบบบริหารราชการที่มุ่งเน้นให้ประชาชน

เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศ

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่๑๑เมษายน

๒๕๔๙ กำหนดให้การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูล

ข่าวสารฯเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการบริหาร

งานหน่วยงานของรัฐทุกแห่งในปี๒๕๕๐ทำให้

การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งจำเป็นและ

มีความสำคัญมากกว่าเดิม ประกอบกับการใช้

พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ที่ผ่านมา หน่วยงานของ

รัฐบางแห่งไม่ปฏิบัติตามหลักการของกฎหมาย

และประชาชนยังรู้สึกว่าไม่ได้รับการตอบสนอง

ในสิทธิ ได้ รู้ ต ามกฎหมายข้ อมู ลข่ า วสาร

ประกอบกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่

เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันพร้อมกับนโยบาย

ของรัฐบาลที่มุ่ ง เน้นการเสริมสร้างความ

โปร่งใสในระบบราชการ จึงเห็นควรให้มีการ

การปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

ปรับปรุงพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯขึ้นใหม่เพื่อให้

มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

สามารถครอบคลุมและบังคับใช้กับหน่วยงาน

ของรัฐทุกแห่ง และเพื่อให้การใช้กลไกตาม

กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ

มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาระบบ

บริหารราชการที่โปร่งใสตรวจสอบได้

การสัมมนาเพื่อพิจารณาปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ฯ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูล

ข่าวสารของราชการ ได้ขอความเห็นชอบจาก

คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.)

เพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากหลายฝ่าย โดยจัด

สัมมนาเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร

ของราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ขึ้น เมื่อวันที่

๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมรอยัลซิตี้

กรุงเทพมหานคร โดยมี รองศาสตราจารย์

ธีรภัทร์เสรีรังสรรค์รัฐมนตรีประจำสำนักนายก-

รัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ

ข้อมูลข่าวสารของราชการ

เป็นประธานเปิดการสัมมนา

มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน

๖๕คนอาทิกรรมการ

ข้อมูลข่าวสารของราชการ

กรรมการวินิจฉัยการ

เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่

ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน

นักวิชาการสื่อมวลชนและประชาชน

เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อให้การปรับปรุง

ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและ

ประชาชนมากที่สุด

ผลการสัมมนามีประเด็นที่สำคัญสรุปได้ดัังนี้

๑. เน้นให้สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจประเมินความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐโดยปรับปรุงบทบาท อำนาจหน้าที่และสถานะของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒. เน้นปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้แก่ การขยายการคุ้มครองสิทธิรับรู้ของประชาชนให้กว้างขวางขึ้นเช่นการกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาคำขอข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน

ของรัฐให้แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด หากพ้นกำหนดให้ถือว่า มีการปฏิเสธการเปิดเผยสามารถอุทธรณ์ได้ เป็นต้นการแก้ไขบทนิยามคำว่า “หน่วยงานของรัฐ”ให้ครอบคลุมและสามารถใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐทุกประเภทฯลฯ

ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ จะได้นำความคิดเห็นข้อเสนอแนะที่ได้จากการสัมมนาฯ พร้อมประเด็นปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานมาสรุปเพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไปT

พ.ร.บ.ข้ อ มู ล ข่ า วส ารของ

ราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นกฎหมายที่ มีสาระสำคัญในการให้ประชาชน

มี โอกาสกว้างขวางในการได้รับรู้ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้ โดยถูกต้อง กับความเป็นจริง อันเป็นการส่งเสริมให้มี

ความเป็นรัฐบาลโดยประชาชน มากยิ่งขึ้น

Page 6: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๖

เมื่อวันพุธที่ ๑๔ กุมภาพันธ์

๒๕๕๐ เวลา ๑๑.๑๑ น. ณ ตึกสันติไมตรี

ทำเนียบรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์จุลานนท์

นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในพิธี

เปิดงานประชาสัมพันธ์ช่องทางการ

รับเรื่องราวร้องทุกข์1111ทั้ง๔ช่องทาง

ได้แก่

๑. โทรศัพท์สายด่วนของรัฐบาล

เลขหมาย1111

๒. ตู้ ปณ. 1111ปณ.ทำเนียบ

รัฐบาล กรุงเทพฯ 10302 (ไม่ต้องติด

แสตมป์)

๓. จุดบริการประชาชน 1111

(CounterService)และ

๔.เว็บไซต์www.1111.go.th

เพื่อเป็นช่องทางให้ภาคประชาชนเข้า

มามีส่วนร่วม ในการเสนอเรื่องราว

ร้องทุกข์แจ้งเบาะแสเสนอข้อคิดเห็น

คำติชมต่อภาครัฐได้โดยสะดวกรวดเร็ว

และปลอดภัย

การพัฒนาระบบการดำเนิน

การเรื่องราวร้องทุกข์ โดยใช้วิธีการ

บริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้น

ก า ร ใ ช้ เท ค โน โ ลย ี ส า ร สน เทศ

เทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่าย

จะเป็นการบูรณาการฐานข้อมูล

เรื่องราวร้องทุกข์ของภาครัฐที่มีข้อมูล

กระจัดกระจายให้เป็นหนึ่งเดียว โดย

มีระบบเชื่อมโยงเครือข่ายการดำเนิน

การเรื่องราวร้องทุกข์ที่ทุกหน่วยงาน

สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ เป็น

ระบบกลาง สำหรับส่วนราชการและ

หน่วยงานของรัฐสามารถปฏิบัติงาน

ได้เป็นระบบเดียวกัน ซึ่งจะสามารถ

1111 รหัสเดียวสี่ช่องทาง

ลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการ

เรื่องราวร้องทุกข์ รวมทั้งลดขั้นตอน

และค่าใช้จ่ายของทางราชการ ทั้งนี้

เพื่อให้การดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์

สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและ

ตอบสนองความต้องการของประชาชน

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การดำเนินการเรื่องราวร้อง

ทุกข์ จะดำเนินการผ่านระบบกลาง

ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นระบบ

สำหรับปฏิบัติงานเรื่องราวร้องทุกข์

และมีการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ศูนย์

ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (PMOC) โดยที่

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ

การสื่อสารและกระทรวงวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีได้รับมอบหมายให้ร่วมกัน

ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการระบบ

ข้อมูลและการให้บริการ เพื่อประสาน

และเชื่อมโยงข้อมูลการดำเนินการ

เรื่องราวร้องทุกข์ของทุกส่วนราชการ

รวมทั้งพิจารณาออกแบบโครงสร้าง

และนำเทคโนโลยีท ี่ท ันสมัยมาใช้

สำหรับการเชื่อมโยงเครือข่ายผ่านระบบ

บริการของบริษัททีโอทีจำกัด(มหาชน)

และบริษัทกสทโทรคมนาคมจำกัด

(มหาชน) ในชื่อ GIN (Government

Information Network) โดยในปี

งบประมาณ๒๕๕๐จะเริ่มดำเนินการ

พัฒนาระบบการดำเนินการเรื่องราว

ร้องทุกข์และเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล

ระหว่างหน่วยงานที่เป็นหน่วยงาน

นำร่อง ผ่านระบบ GIN จำนวน ๖

เรื่อง:ศูนย์บริการประชาชน

Page 7: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๗

หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงาน

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้

บริโภค ศูนย์ดำรงธรรมของกระทรวง

มหาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพ

แห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม และกรมโรงงาน

อุตสาหกรรม และจะได้พัฒนาระบบ

การดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ให้

ครอบคลุมทุกหน่วยงาน ในปีงบประมาณ

๒๕๕๑ ต่อไป ซึ่งจะช่วยลดปัญหา

ความซ้ำซ้อนในการดำเนินการเรื่อง

ร้องทุกข์ของหน่วยงานราชการกรณี

ที่ผู้ร้องยื่นเรื่องร้องทุกข์ไปยังหลาย

หน่วยงาน

นับเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาล

ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนา

ระบบการดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์

และใส่ใจในทุกปัญหาความเดือดร้อน

ของประชาชน เพื่อประโยชน์สุขของ

ประชาชน จึงได้เปิดช่องทางการรับ

เว็บไซต์www.1111.go.th

เป็นช่องทางการรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่มีความรวดเร็ว สามารถ ให้ บ ริ ก า ร ไ ด้ตลอดเวลา ซึ่งประชาชนสามารถจะเข้าไปร้องเรียน-ร้องทุกข์ หรือเข้าดูข้อมูลเร ื่องท ี่ เป็นสาระน่าร ู้ ได้ภายในเว็บไซต์

เรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาทางช่องทางการให้บริการทั้ง ๔ ช่องทาง จะมีระบบป้องกันข้อมูลเพื่อความปลอดภัย และจะได้รับการพิจารณาจากหน่วยงานดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์T

โทรศัพท์สายด่วนของรัฐบาล

เลขหมาย1111

เป็นช่องทางการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน Government ContactCenterหรือGCCโดยมีศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นSubCallCenter

ตู้ ปณ. 1111 ปณ.ทำเนียบรัฐบาลกรุงเทพฯ10302

เป็นช่องทางการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ในกรณีที่ประชาชนส่งเรื่องร้องเรียนทางจดหมาย (ไม่ต้องติดแสตมป์)

จุดบริการประชาชน1111

(CounterService)

เป็นช่องทางการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ในกรณีที่ประชาชนเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเองหรือเดินทางมาในลักษณะของมวลชนหร ือกล ุ่มผู้ชุมนุมณทำเนียบรัฐบาล และกรณียื่นร้องเรียนต่อนายกร ัฐมนตร ีในคราวเดินทางไปราชการต่างจังหวัด

เรื่องราวร้องทุกข์1111ขึ้นทำให้วันนี้

เส ียงของประชาชนคนไทยทุกคน

สามารถส่งตรงถึงนายกรัฐมนตรี ผ่าน

1111รหัสเดียวทุกช่องทางซึ่งประชาชน

สามารถเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส

เสนอข้อคิดเห็นคำติชมได้โดยสะดวก

รวดเร็ว และปลอดภัย โดยผ่าน ๔

ช่องทางหลักดังนี้

สายด่วนของรัฐบาลโทร.1111

เว็บไซต์www.1111.go.th

จุดบริการประชาชน1111(CounterService)

ตู้ปณ.1111

Page 8: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๘

โลกในยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคของข้อมูลข่าวสาร

(Information Technology: IT) ทำให้โลกไร้พรมแดน เป็น

ผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งในทุก

ภาคส่วนของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่มุ่งให้บริการเพื่อ

ประโยชน์สุขของประชาชน หรือภาคเอกชน ซึ่งดำเนินธุรกิจ

เพื่อแสวงหาผลกำไรจำเป็นต้องใส่ ใจในเรื่องของการ

เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เพื่อทำให้องค์กรอยู่รอด ดังนั้น

ทุกภาคส่วนของสังคมไทยจึงจำเป็นต้องมีการบริหารการ

เปลี่ยนแปลง (Change Management)

ในส่วนของภาครัฐ หลังจากการปฏิรูประบบราชการ

ไทย ตั้งแต่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ จนถึงปัจจุบัน ได้มีการ

เปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการภาครัฐเป็นอย่างมาก

เกิดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการที่ใช้เป็นแนวทางการ

ดำเนินงานในภาครัฐ เพื่อฝ่ากระแสของการเปลี่ยนแปลงของโลก

รวมทั้งปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐโดยสิ้นเชิง ภาครัฐ

ได้นำแนวคิดการบริหารจัดการของภาคธุรกิจเอกชนมาปรับใช้

ในองค์กรของรัฐ ซึ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นการบริหาร

ภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) พร้อมทั้ง

มีดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในการวัดผล

การดำเนินงาน โดยมีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน

พร้อมทั้งมีการให้เงินรางวัลตอบแทน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการ

ช่วยผลักดันให้หน่วยงานภายในองค์กรของรัฐมีการ

พัฒนาการปฏิบัติราชการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กร

ของรัฐเดินทางไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง

(High Performance Organization : HPO)

การที่หน่วยงานของรัฐจะเดินทางไปสู่การพัฒนา

องค์กรเพื่อให้มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Organization:

HPO) จำเป็นที่หน่วยงานของรัฐจะต้องมีแนวทางในการพัฒนา

ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดยการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐจะต้องจัดทำแผนเพื่อใช้เป็น

แนวทางในการพัฒนา เพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง เรียกว่า

Blueprint for Change: BFC โดยในแผนดังกล่าวจะต้อง

ประกอบไปด้วยสองแนวทาง คือ

. แผนการพัฒนาระบบงาน เพื่อเป็นแนวทางในการ

ดำเนินงานให้บรรลุสู่เป้าหมายขององค์กรตามวิสัยทัศน์ที่วางไว ้

. แผนในการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้มีสมรรถนะ

ตรงกับงานที่ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเกิด

ประสิทธิผลและเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร เช่นกัน

แผนการพัฒนาระบบงานต้องมีการดำเนินการ ดังนี้

y วิเคราะห์กระบวนงานหลักและกระบวนงานรอง

ที่ผลักดันให้วิสัยทัศน์ขององค์กรประสบความสำเร็จ เพื่อทำการ

ปรับปรุงในกรณีกระบวนงานยังไม่เหมาะสม โดยใช้วิธีลดขั้นตอน

การทำงาน หรือนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์

เพื่อให้งานเกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เป็นต้น

y ในกรณีที่กระบวนงานดีอยู่แล้ว ก็วิเคราะห์เพื่อ

หาทางพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

แผนการพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากร (Competencies) y เมื่อวิเคราะห์กระบวนงานพร้อมทั้งปรับปรุง

กระบวนงานแล้ว ขั้นต่อไป คือ การพิจารณาว่ากระบวนงาน

ดังกล่าวต้องใช้บุคลากรที่มีขีดสมรรถนะเช่นไร จึงจะผลักดัน

การปฏิบัติงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร

y วิเคราะห์แล้ว หากบุคลากรในองค์กรมีขีดสมรรถนะ

ที่ยังไม่เพียงพอและเหมาะสมตามกระบวนงาน องค์กรจำเป็น

ต้องทำการพัฒนาบุคลากรโดยการฝึกอบรม (Training)

ปฐมนิเทศ (Orientation) หรือสอนงานไปในขณะปฏิบัติงาน

(On the job training) หรือวิธีการอื่นใดที่นอกเหนือจากนี้

เพื่อให้บุคลากรมีขีดสมรรถนะที่สามารถปฏิบัติงานใน

กระบวนงานต่างๆ ได้

เรื่อง: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

หนทางสู่ HPO (High Performance Organization)

Page 9: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๙

การที่จะสามารถทำ Blueprint for Change

ได้สำเร็จจะต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

. แผนการพัฒนาทั้งกระบวนงาน และพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรจะต้องชัดเจนเป็นที่เข้าใจง่ายในแต่ละ

ขั้นตอน

. แผนที่ดีต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ เมื่อปฏิบัติแล้ว

ผลที่ได้รับปรากฏอย่างชัดเจน ที่จะทำให้องค์กรสามารถพัฒนา

ได้จนบรรลุวิสัยทัศน์

. สิ่งสำคัญที่จะทำให้แผนบรรลุผลสำเร็จ คือ ผู้นำ

สูงสุด หรือ Big Boss ต้องให้ความสำคัญและร่วมรับรู้แผน

การปฏิบัติงาน รวมทั้งเป็นผู้นำในการผลักดันให้มีการปฏิบัติ

ตามแผน หรือผลักดันให้แผนนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รวมทั้ง แผนที่จัดทำขึ้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ในองค์กร (Participation) ร่วมกันคิด ร่วมกันพิจารณา ร่วมกัน

ปรับปรุงให้เหมาะสมสามารถปฏิบัติได้

อุปสรรคในการพัฒนาองค์กรให้ไปสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง มีดังนี้

. ผู้นำสูงสุดขององค์กรไม่เห็นความสำคัญในการบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงไม่คิดที่จะพัฒนาองค์กร

. บุคลากรในองค์กรไม่เข้าใจในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้ไม่สนใจในเรื่องการพัฒนา เนื่องจาก ขาดการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ที่ดีที่ทำให้เกิดความเข้าใจ

การจะนำพาองค์กรไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง (HPO) องค์กรจำเป็นต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอกองค์กร จึงจะสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) นั้นได้โดยมีการจัดทำแผนพัฒนาเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และสามารถนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติได้ พร้อมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติตามแผน หากปฏิบัติแล้วดี ให้พัฒนาต่อไป แต่เมื่อนำมาปฏิบัติแล้วมีปัญหาต้องแก้ไขปัญหาโดยการปรับแผน แล้วนำแผนนั้นไปปฏิบัติ คือ มีการวางแผนแล้วนำแผนไปปฏิบัติหลังจากนั้นประเมินผล ถ้าดีนำไปปฏิบัติต่อ และพัฒนาต่อไป หากมีปัญหาต้องทำการแก้ไขปรับปรุงแผน แล้วจึงนำไปปฏิบัติ (Plan Do Check Act)

นอกจากนี้แผนจะประสบความสำเร็จเพื่อนำองค์กรไปสู่ HPO ได้จะต้องขจัดปัญหาอุปสรรคดังกล่าวข้างต้น และการทำแผนจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการจัดทำ Blueprint for Change ได้ประสบผลสำเร็จด้วย คือ

“แผนชัดเจน เน้นทำได้ นายร่วมด้วย ช่วยกันทำ” T

เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๐ นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อพัฒนาระบบราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ณ ห้องประชุมอรรถไกวัลวที อาคาร สปน.

การสัมมนาครั้งนี้แบ่งเป็น ๒ หลักสูตร คือ หลักสูตรการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และการถ่ายทอดตัวชี้วัด และเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน และหัวหน้าหน่วยงานระดับสำนัก/กอง หรือเทียบเท่า เรียนรู้กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๐ เพื่อจะนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศต่อไปในภายหน้า โดยมีวิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) เป็นผู้บรรยายให้คำแนะนำ

Page 10: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๑๐

จากสภาพสังคมที่ เปลี่ ยนไป

เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทาง

เทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการ

สื่อสารแบบโลกไร้พรมแดนเป็นเหตุให้วิถี

การดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทย

แตกต่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เกิด

ความสับสนในการประพฤติปฏิบัติตนและ

การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องของคนไทย

ละเลยเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เพิกเฉย

ต่อการทุจริตคอรัปชั่น และไม่เข้าใจใน

หลักธรรมาภิบาลการปกครอง สภาวะ

ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการธำรงรักษา

สิ่งที่ดีงามอันเป็น “เอกลักษณ์ของชาติ”

ซึ่งประกอบด้วยสถาบันชาติสถาบันศาสนา

สถาบันพระมหากษัตริย์และการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุขซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ

ในการรักษาความเป็นไท และความเป็น

คนไทยไว้สืบไป

สำนักงานปลัดสำนักนายก-

รัฐมนตรีโดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์

ของชาติ จึงเห็นสมควรจัดโครงการอาสา

สมัครเอกลักษณ์ของชาติ เพื่อให้อาสา

สมัครฯได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของชาติ กระตุ้นให้มี

อุดมการณ์ มีคุณธรรม ตลอดจนมีความ

รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล

ในการปกครองตามนโยบายการปฏิรูป

การเมือง การปกครอง และการบริหาร

โดยเฉพาะประเด็นยุทธศาสตร์ของ

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในการ

ส่งเสริมธรรมาภิบาล สามารถพัฒนา

เรื่อง: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ

บทบาทให้มีความเข้มแข็ง ในการส่งเสริม

การขยายเครือข่ายอาสาสมัครเอกลักษณ์

ของชาติในส่วนภูมิภาค ให้ครอบคลุม

ทั่วทั้งประเทศ อันจะก่อประโยชน์ให้เกิด

ความรักสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนา

ประเทศชาติ ให้มีความมั่นคงและเจริญ

ก้าวหน้าในทุกๆด้าน

ในปีงบประมาณ๒๕๕๐สำนัก-

งานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ มีแนว

นโยบายส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเครือข่าย

เอกลักษณ์ของชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้

หน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมคิด

ร่วมจัดกิจกรรมการเสริมสร้างเอกลักษณ์

ของชาติ ในการนี้ได้พิจารณาคัดเลือก

เครือข่ายเป็นเจ้าภาพร่วมจัดอบรมอาสา

สมัครเอกลักษณ์ของชาติดังนี้

๑. ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนเขต.๒อำเภอ

แม่สะเรียงจัดอบรมอาสาสมัครเอกลักษณ์

ของชาติกลุ่มบุคคลทั่วไป(อสอ.)รุ่นที่๖

ระหว่างวันที่๑๖-๑๗กุมภาพันธ์๒๕๕๐

ณค่ายเทพสิงห์อำเภอแม่สะเรียงจังหวัด

แม่ฮ่องสอน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้แทน

ส่วนราชการ/ราชการส่วนท้องถิ่น ภาค

เอกชนผู้นำส่วนท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป

เครือข่ายเอกลักษณ์ของชาติ โครงการอบรมอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ ประจำปี ๒๕๕๐

จำนวนประมาณ ๒๕๐ คน จากอำเภอ

แม่สะเรียงอำเภอแม่ลาน้อยอำเภอสบเมย

และอำเภออื่นๆในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

๒.ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

จังหวัดเชียงราย จัดอบรมเยาวชนอาสา

สมัครเอกลักษณ์ของชาติ กลุ่มเยาวชน

(ย.อสอ.)รุ่นที่๖ประมาณเดือนพฤษภาคม

๒๕๕๐

ส่วนหลักสูตรการอบรมอาสา

สมัครเอกลักษณ์ของชาติจัดขึ้นโดยอาศัย

หลักสูตรการอบรมอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ จัดขึ้นโดยอาศัยหลักการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙ และแนวทางการดำเนินงาน การเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ภายใต้ปรัชญา ส่งเสริม สร้างสรรค์ และพัฒนา โดยจัดให้มีการบรรยายเชิงวิชาการ การฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ และกิจกรรมทดสอบกำลังใจ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

Page 11: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๑๑

หลักการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ

พ.ศ.๒๕๔๙และแนวทางการดำเนินงาน

การเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติภายใต้

ปรัชญาส่งเสริมสร้างสรรค์และพัฒนา

โดยจัดให้มีการบรรยายเชิงวิชาการ การ

ฝึกอบรมพัฒนาจิตใจและกิจกรรมทดสอบ

กำลังใจ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ให้เกิด

ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

เนื้อหาการอบรม

เรื่องที่ ๑ เอกลักษณ์ของชาติ

เรื่องที่ ๒ การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

เรื่องที่ ๓ การมีส่วนร่วมของประชาชนเรื่องธรรมาภิบาลและ

หลักธรรมาภิบาลในการปกครอง

เรื่องที่ ๔ บทบาทหน้าที่อาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ

เรื่องที่ ๕ เทคนิคการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและสังคม

เรื่องที่ ๖ การพัฒนาจิตใจคุณธรรมจริยธรรม

เรื่องที่ ๗ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์และการมอบภารกิจอาสาสมัคร

เอกลักษณ์ของชาติ

โดยผู้ ที่ เข้ าอบรมไม่ ต่ ำกว่ า

ร้อยละ๘๐ของหลักสูตรจะได้รับเกียรติบัตร

ประกาศเกียรติคุณแสดงว่าเป็นผู้ผ่านการ

อบรมอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติจาก

ประธานกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

ผลจากการอบรมดังกล่าวจะ

ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจจากภาครัฐ

ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการ

ส่งเสริมและธำรงรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่ดีงาม

อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และการสร้าง

ธรรมาภิบาลในสังคมไทยซึ่งจะนำไปสู่

สังคมที่สงบสุขตั้ งอยู่บนพื้นฐานของ

คุณธรรม จริยธรรม และหลักเศรษฐกิจ

พอเพียงตามแนวพระราชดำริโดยรูปแบบ

ของอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติที่มี

คุณภาพ ร่วมเป็นเครือข่ายครอบคลุม

ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อเป็นแนวร่วม

ผนึกกำลังกันเป็นพลังแผ่นดิน เพื่อพัฒนา

ชาติให้เจริญรุ่งเรืองสืบไปT

ท่านที่สนใจสามารถสอบถาม

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

กลุ่มงานพัฒนาและส่งเสริมองค์กร เครือข่ายเอกลักษณ์ของชาติภายในและต่างประเทศ

สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐

โทรศัพท์ ๐ ๒๖๒๙ ๙๔๗๑, ๐ ๒๖๒๙ ๙๔๗๒

โทรสาร ๐ ๒๒๘๒ ๕๓๒๒

Page 12: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๑๒

ความเป็นมา

คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.)ในคราวประชุม ครั้งที่ ๑๓/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม๒๕๔๗ ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)จำนวน ๓ ยุทธศาสตร์ ตามที่คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อติดตามการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของอปท.เสนอโดยยุทธศาสตร์ที่ ๓ แผนงานส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายของอปท.กำหนดให้มีการสนับสนุนส่งเสริมให้อปท.ร่วมกับประชาชนและหน่วยงาน/องค์กรต่างๆในท้องถิ่น จัดตั้งศูนย์เครือข่าย หรือClinicCenterให้ครอบคลุม๗๕จังหวัด ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอปท.เน้นการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างส่วนราชการสถาบันการศึกษาอปท.หน่วยงานเอกชนและประชาชนในพื้นที่ เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อเสนอแนะ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาอปท.ในลักษณะของการสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการและการปกครองท้องถิ่นโดยมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)รับผิดชอบในการบริหารจัดการภายในศูนย์เครือข่ายนำร่องฯ รวมทั้งให้การ

เรื่อง: สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Clinic Center

สนับสนุนงบประมาณบางส่วนนอกเหนือจากที่สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.)ให้การสนับสนุนการดำเนินการที่ผ่านมา

๑. ปงีบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘กกถ. ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๙เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๙พิจารณาเห็นว่าการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯจะเป็นศูนย์กลางในการประสานงานของ อปท.ในจังหวัดและอบจ.ซึ่งได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯ จะสามารถใช้ประโยชน์ในการประสานการจัดทำแผนพัฒนาอปท.ในจังหวัดได้ในขณะเดียวกัน รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะได้รับจะตกอยู่กับประชาชน จึงกำหนดให้การจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯเป็นกิจการที่กกถ.กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอบจ.ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่อปท.พ.ศ.๒๕๔๒มาตรา๑๗(๒๙) กรณีอบจ.ใดยังไม่มีความพร้อมที่จะจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯอาจมอบหมายให้ อปท. อื่นที่อยู่ภายในเขตจังหวัดที่มีความพร้อมมากกว่าและประสงค์จะรับเป็นหน่วยดำเนินการแทนก็ได้ โดยให้ทำความตกลงร่วมกัน และมอบหมายให้

กระทรวงมหาดไทยและคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อติดตามการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของอปท.รับไปดำเนินการออกหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติเกีย่วกับการใช้จ่ายงบประมาณของศูนย์เครือข่าย เพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น(ClinicCenter)ต่อไป----------------------------------------------

CLINIC CENTER เหมือน CLINIC ทั่วไป

ที่รักษาโรค แต่ CLINIC CENTER ของ

อปท. ตั้งขึ้นเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหา

โดยมีผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ อยู่ใน

CLINIC CENTER แทนแพทย ์

----------------------------------------------

๒. ในปี ๒๕๔๘ ได้มีการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นนำร่องใน๔จังหวัดได้แก่จังหวัดพิษณุโลกนครราชสีมา ภูเก็ต และจังหวัดชลบุรีและในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มีมติเห็นชอบให้ขยายศูนย์เครือข่ายฯเพิ่มเติมอีก๑๑จังหวัดได้แก่ จังหวัดเชียงราย แพร่ ลำปางนครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานีปราจีนบุรีจันทบุรีนครศรีธรรมราชสงขลา และพัทลุง โดยมอบให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมกรเฉพาะกิจฯดังกล่าว เป็นผู้ประสานการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯประกอบด้วยศาสตราจารย์ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ รองศาสตราจารย์วุฒิสารตันไชยรองศาสตราจารย์อุดมทุมโฆสิตรองศาสตราจารย์โกวิทย์ กระจ่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภฤกษ์แก้วกมลรัตน์และผู้ช่วยศาสตราจารย์ช่วงโชติพันธุเวช

Page 13: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๑๓

บทบาทและหน้าที่ของศูนย์เครือข่ายฯ

๑. ประสานงานระหว่างส่วนราชการและอปท.ในจังหวัดในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการประสานการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัด ๒. ประสานการปฏิบัติงานของอปท. ในจังหวัดในการร่วมกันแก้ไขปัญหาของประชาชนและการพัฒนาท้องถิ่น ๓. จัดกิจกรรมและเวทีสาธารณะ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นประจำ ๔. สร้างแหล่งเรียนรู้และเสริมสร้างความรู้แก่อปท.และประชาชนทุกภาคส่วน ๕. ดำเนินการอื่นใดที่เป็นประโยชน์และส่งเสริมในการเพิ่มประสิทธิภาพรวมทั้งส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่อปท.โครงสร้างของศูนย์เครือข่ายฯ

จัดตั้งทีมงานประกอบด้วย๔ส่วนแต่เน้นการทำงานเป็นทีมประกอบด้วย ๑. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอบจ.เทศบาลอบต.โดยจะเน้นในลักษณะความร่วมมือเป็นเครือข่าย

๒. ภาคมหาวิทยาลัย ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น ทำหน้าที่วิจัยประเมินผลการติดตาม เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมถึงการดูงานในท้องถิ่น ๓. ภาคราชการ ซึ่งจะเลือกเฉพาะส่วนราชการที่จำเป็นจริงๆ เพื่อให้ความร่วมมือในทางเทคนิคการช่วยเหลือสนับสนุนและให้คำปรึกษาต่างๆ ๔. ภาคเอกชนและประชาชนซึ่งจะมีแนวในการเสนอ Demand และช่วยเหลือด้านSupplyด้านงบประมาณ

คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(กกถ.) ในคราวประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๙เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ได้มีมติเห็นชอบ ๑. ให้ขยายศูนย์เครือข่ายฯ ในปงีบประมาณพ.ศ.๒๕๕๐ในส่วนที่เหลือ ๖๐จังหวัดและจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้ศูนย์เครือข่ายฯ ที่จัดตั้งใหม่และที่ได้ดำเนินการไปแล้ว๑๕ศูนย์รวม๗๕ศูนย์

ศูนย์ละ๒๐๐,๐๐๐บาท ๒. มอบหมายให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ เป็นผู้ประสานการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯและให้มีการติดตามผลการดำเนินการศูนย์เครือข่ายที่จัดตั้งไปแล้วด้วย ๓. ให้มีศูนย์เครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นหรือClinicCenterในส่วนกลางที่สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นศูนย์ประสานช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการของศูนย์เครือข่ายฯ ติดตามผลการดำเนินการ และประสานส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา รวมทั้งเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย๒๐แห่งที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์T

โครงสร้างการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการมีส่วนร่วม

ในการพัฒนาท้องถิ่น หรือ Clinic Center

วิจัย/ประเมินผล

ติดตามเป็นพี่เลี้ยง

ให้คำปรึกษา

Demand/Supply

TechnicalSupport

ให้คำปรึกษา

Database

เน้นความร่วมมือเป็นเครือข่าย

อปท. ภาควิชาการ

ราชการเท่าที่จำเป็น เอกชน/ประชาชน

Page 14: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๑๔

ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต้องเร่งสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐส่งเสริมเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต แก้ระเบียบที่เอื้อต่อการทุจริตใช้วิธีการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมอย่างเคร่งครัด สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานภาครัฐในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีตระหนักในความสำคัญของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการและมีนโยบายหลักที่จะเสริมสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วดังนี้

๑. จัดตั้งศูนย์ประสานราชการใสสะอาด สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้น เพื่อปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมจริยธรรมส่งเสริมปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในหน่วยงาน มีสำนักงานอยู่ที่กองการเจ้าหน้าที่ภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งคือปัจจุบันกำหนดให้มีระบบป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้น โดยนำหลักการให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม สอดส่องดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มิให้มีการทุจริตประพฤติมิชอบ หากมีการกระทำหรือมีพฤติกรรมดังกล่าวจะต้องได้รับการขจัดแก้ไข โดยนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการสอบสวนจนถึงขั้นตอนการพิจารณาลงโทษตามตัวบทกฎหมาย สำหรับการสอดส่อง ดูแลเฝ้าระวังจากภาคประชาชนกำหนดให้สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนมายังสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี๓ช่องทางดังนี้

ทางจดหมายร้องเรียน ถึง ผู้จัดการศูนย์ประสานราชการใสสะอาด

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทำเนียบรัฐบาลถ.พิษณุโลกเขตดุสิตกรุงเทพฯ๑๐๓๐๐โทร.๐๒๒๘๒๒๖๙๓ต่อ๓๔๗,๑๖๘โทรสาร๐๒๒๘๑๐๕๑๒

ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ http://www.opm.go.th โดยคลิกที่ banner ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด

ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่E-mailAddress:[email protected]

๒. เพื่อให้การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบมีการร่วมมือร่วมใจในภาครัฐขยายวงกว้างออกไป สำนักงานปลัดสำนักนายก-รัฐมนตรีได้ประสานความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายศูนย์ประสานราชการใสสะอาดภายนอกหน่วยงานโดยได้รับความร่วมมือจาก๙ส่วนราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมเป็นเครือข่าย ประกอบด้วย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะ

กรรมการกฤษฎีกา กรมประชาสัมพันธ์ สำนักเลขาธิการนายก-รัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณและสำนักงาน ก.พ. เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร ประสบการณ์ และแนวทางในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบและให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ซึ่งที่ผ่านมาปรากฏว่าสามารถประสานการรับเรื่องร้องเรียนของประชาชนที่แจ้งเข้ามายังสำนักงานปลัด-สำนักนายกรัฐมนตรีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงทราบ เพื่อตอบข้อร้องเรียนหรือนำไปสู่การพิจารณาสอบสวนต่อไป

๓. เพื่อการพัฒนาการดำเนินการด้านการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีความยั่งยืนและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำแผนพัฒนาการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นประกอบด้วยโครงการและกิจกรรมต่างๆเพื่อให้การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

๔. กำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ๓ ด้านประกอบด้วย ๑) มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ๒) มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเกี่ยวกับการสรรหาบรรจุและแต่งตั้ง ๓) มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี

๕. ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นเรื่องที่ได้รับการป้องกันการทุจริตเป็นพิเศษจึงได้กำหนดให้มีโครงการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่ในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้น โดยกำหนดให้มีการรับสมัครบุคคลเพื่อร่วมเป็นเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการประมูลงานแบบอิเล็กทรอนิกส์(e-Auction)ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยร่วมเป็นกรรมการการประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ.๒๕๔๙

การดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในส่วนราชการซึ่งยึดหลักในการปฏิบัติงาน๔ประการคือ“โปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด ประสิทธิภาพ” และเพื่อประโยชน์สูงสุดในการให้บริการแก่ประชาชนT

เรื่อง:กองการเจ้าหน้าที่

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ

ปราศจากคอร์รัปชันประเทศไทยใสสะอาด

Page 15: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

วารสาร สปน. ๑๕

เปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์

นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายการพัฒนา

ระบบการดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์

และเปิดงานประชาสัมพันธ์ช่องทางการ

ให้บริการรับเรื่องราวร้องทุกข์ 1111

ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

พร้อมเยี่ยมชมสถานที่ปฏิบัติงานศูนย์

รับเรื่องราวร้องทุกข์ ณ อาคาร สปน.

เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี

(นายธีรภัทร สันติเมทนีดล) เป็นประธาน

การประชุมหัวหน้าผู้ตรวจราชการ ครั้งที่

๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม

๒๕๕๐ ณ ห้องประชุมอรรถไกวัลวที

อาคาร สปน.

ประชุมหัวหน้าฝู้ตรวจราชการ

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิง

ทิพาวดี เมฆสวรรค์) เป็นประธานการประชุม

เชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วม

ของประชาชนตามระเบียบสำนักนายก

รัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็น

ของประชาชน ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที ่

๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ณ โรงแรมเซ็นจูรี่

พาร์ค กรุงเทพฯ

ประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน

รั ฐ ม น ต รี ป ร ะ จ ำ

สำนักนายกรัฐมนตรี

(รศ.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์)

เป็นประธานการประชุม

คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ

ราชการ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์

๒๕๕๐ ณ ห้องประชุมอรรถไกวัลวที

อาคาร สปน.

ประชุมคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร

งานวันเด็กแห่งชาติ ๒๕๕๐

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

เปิดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๐

ในส่วนของ สปน.

ณ บริเวณหน้าอาคาร

สปน. เมื่อวันที่ ๑๓

มกราคม ๒๕๕๐

นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการ

ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ

จัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ

๖๐ ปี และคณะกรรมการอำนวย

การจัดงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน

โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

๘๐ พรรษาฯ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์

๒๕๕๐ ณ ตึกสันติไมตรี

ประชุมงานเฉลิมพระเกียรติ

Page 16: วารสาร สปน. · 2012-02-27 · ราชการแผ่นดินของราชการส่วนกลาง ... ที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งเนื้อหาสาระของบทความที่

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยศิลปิน

ในสังกัด บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด

(มหาชน) ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

จัดทำเสื้อสีเหลืองและแจ็กเกตประดับ

ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส

มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา

๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๐

ณ ห้องประชุม ๑๐๑ อาคาร สปน.

แถลงข่าวเสื้อตราสัญลักษณ์

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และ

รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

(นายจาดุร อภิชาตบุตร) บันทึกเทป

รายการกรองสถานการณ์ “ปีมหามงคล

เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา”

เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๐

ณ สทท.๑๑ ถนนวิภาวดีรังสิต

บันทึกเทปกรองสถานการณ์

รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาดุร

อภิชาตบุตร) เป็นประธานเปิดการสัมมนา

“การพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ

ทำงาน” เมื่อ

วันที่ ๑๔ มีนาคม

๒๕๕๐ ณ ห้อง

ประชุม ๑๐๑

อาคาร สปน.

สร้างประสิทธิภาพการทำงาน

กองการเจ้าหน้าที่จัดประชุมเชิงปฏิบัติ

การเพื่อประเมินสถานภาพด้านการ

บริหารทรัพยากรบุคคลของ สปน.

เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ

ห้องประชุม

๑๐๑ อาคาร

สปน.

การบริหารทรัพยากรบุคคล

สายตรงทำเนียบฯ ตอน “1111”

รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

(นายจาดุร อภิชาตบุตร) ออกอากาศ

รายการสด สายตรงทำเนียบ “1111”

เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๐

ณ สทท.๑๑ ถนนวิภาวดีรังสิต

พิธีมอบธงตราสัญลักษณ์

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบธง

ตราสัญลักษณ์และตราสัญลักษณ์

งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส

มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐

พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ให้กับ

หน่วยงานต่างๆ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม

๒๕๕๐ ณ ห้องประชุมอรรถไกวัลวที

อาคาร สปน.