31
15-1 หน่วยที15 นิติวิธีของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ รองศาสตราจารย์วิมาน กฤตพลวิมาน

หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

  • Upload
    others

  • View
    10

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-1

หน่วยที่15นิติวิธีของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

รองศาสตราจารย์วิมานกฤตพลวิมาน

Page 2: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-2

แผนผังแนวคิดหน่วยที่15

นิติวิธีของ

ระบบซีวิลลอว์และ

ระบบคอมมอนลอว์

15.1ลักษณะทั่วไป

ของนิติวิธี

15.1.1ความสำคัญของนิติวิธี

15.1.2ความหมายของนิติวิธี

15.2ความเป็นมา

หลักการใช้และ

การตีความ

กฎหมายใน

ระบบซีวิลลอว์

15.2.1ความเป็นมาของนิติวิธีในระบบ

ซีวิลลอว์

15.2.2หลักการใช้และการตีความกฎหมายใน

ระบบซีวิลลอว์

15.3ความเป็นมา

หลักการใช้และ

การตีความ

กฎหมายในระบบ

คอมมอนลอว์

15.3.1ความเป็นมาของนิติวิธีในระบบ

คอมมอนลอว์

15.3.2หลักการใช้และการตีความกฎหมายใน

ระบบคอมมอนลอว์

15.4.1ความแตกต่างในการพิพากษาคดีของ

ระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

15.4.2แนวโน้มการบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์

และระบบคอมมอนลอว์

15.4การบรรจบกันของ

ระบบซีวิลลอว์และ

ระบบคอมมอนลอว์

Page 3: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-3

หน่วยที่15

นิติวิธีของระบบซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์

เค้าโครงเนื้อหาตอนที่15.1ลักษณะทั่วไปของนิติวิธี

15.1.1ความสำคัญของนิติวิธี

15.1.2ความหมายของนิติวิธี

ตอนที่15.2ความเป็นมาหลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบซีวิลลอว์

15.2.1ความเป็นมาของนิติวิธีในระบบซีวิลลอว์

15.2.2หลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบซีวิลลอว์

ตอนที่15.3ความเป็นมาหลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์

15.3.1ความเป็นมาของนิติวิธีในระบบคอมมอนลอว์

15.3.2หลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์

ตอนที่15.4การบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

15.4.1ความแตกต่างในการพิพากษาคดีของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

15.4.2แนวโน้มการบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

แนวคิด1.ไม่ว่าระบบซีวิลลอว์หรือระบบคอมมอนลอว์ นิติวิธีมีความสำคัญยิ่งเนื่องจากเป็นสิ่งที่

ประกอบไปกับกฎหมาย และเป็นสิ่งที่แทรกซึมไปกับตัวบทกฎหมาย โดยนิติวิธีมี

ความหมายที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่นักกฎหมายคิดและมีมุมมองในด้านต่างๆ ต่อระบบ

กฎหมายของตน

2.ระบบซีวิลลอว์มีรากฐานมาจากกฎหมายโรมันและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลาย

เป็นระบบประมวลกฎหมายในปัจจุบันตัวบทกฎหมายเป็นบ่อเกิดของกฎหมายลำดับแรก

ในระบบซีวิลลอว์ จารีตประเพณีเป็นบ่อเกิดของกฎหมายลำดับรอง การใช้กฎหมายใน

ระบบซีวิลลอว์ต้องตีความถ้อยคำในบทบัญญัติควบคู่ไปกับความมุ่งหมายของกฎหมาย

ที่แฝงอยู่ในบทบัญญัตินั้นด้วย

3.ระบบคอมมอนลอว์พัฒนามาจากระบบศาลของพวกนอร์มันที่บุกเข้ามาในอังกฤษ

คำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมายลำดับแรกที่ศาลในคดีหลังต้องถือตาม โดย

อยู่บนหลักการที่ว่าข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน กฎหมาย

Page 4: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-4

ลายลักษณ์อักษรเป็นบ่อเกิดของกฎหมายลำดับรองโดยศาลคอมมอนลอว์จะใช้กฎหมาย

ลายลกัษณ์อกัษรเพือ่อดุชอ่งโหว่ของหลกัคอมมอนลอว์ศาลจงึตคีวามตวับทกฎหมายอยา่ง

เคร่งครัดตามถ้อยคำในบทบัญญัตินั้นเป็นหลัก ปัจจุบันเนื่องจากข้อจำกัดของหลัก

คอมมอนลอว์ทำให้ศาลเริ่มจะใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรในฐานะที่เทียบเท่ากับหลัก

คอมมอนลอว์มากขึ้น

4. ในความแตกต่างของการพิพากษาคดีโดยศาลในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

นั้นแสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละระบบกฎหมาย แต่ในปัจจุบันการ

รวมกลุ่มกันของประเทศต่างๆ ที่มีตัวแทนมาจากทั้งประเทศที่ใช้ระบบซีวิลลอว์และ

ระบบคอมมอนลอว์ในลักษณะประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและ

กันทำให้มีแนวโน้มที่ระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์อาจมาบรรจบรวมกันได้

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่15จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายและวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของนิติวิธีได้

2.อธิบายและวิเคราะห์ความเป็นมา หลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบซีวิลลอว์

ได้

3.อธิบายและวิเคราะห์ความเป็นมาหลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์

ได้

4.อธิบายและวิเคราะห์การบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ได้

กิจกรรม1.กิจกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่15

2)อ่านแผนการสอนประจำหน่วยที่15

3)ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่15

4)ศึกษาเนื้อหาสาระ

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

Page 5: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-5

6)ตรวจสอบกิจกรรมจากแนวตอบ

7)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่15

2. งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

แหล่งวิทยาการ1.สื่อการศึกษา

1)แนวการศึกษาหน่วยที่15

2)หนังสือประกอบการสอน

-กิตติศักดิ์ ปรกติ (2551)ความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์และ

คอมมอนลอว์พิมพ์ครั้งที่3กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์วิญญูชน

2.บทความ

- วทิติมนัตาภรณ์(2522)”วเิคราะห์วธิีเขา้สู่ปญัหาในการพพิากษาในกฎหมายฝรัง่เศส

และอังกฤษ” วารสารกฎหมายจุฬาลงกรณ์ ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ รวมบทความทาง

วิชาการเป็นอนุสรณ์แก่ศาสตราจารย์หยุดแสงอุทัยคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย

3.หนังสือตามที่อ้างไว้ในบรรณานุกรม

Page 6: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-6

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้เดิมในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “นิติวิธีของระบบซีวิลลอว์

และระบบคอมมอนลอว์”

คำแนะนำ จงอ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินชุดนี้30นาที

1.จงอธิบายความสำคัญของนิติวิธี

2.จงอธิบายความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์

3.จงอธิบายความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบคอมมอนลอว์

4.จงอธิบายเกี่ยวกับการพิพากษาคดีของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

Page 7: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-7

ตอนที่15.1

ลักษณะทั่วไปของนิติวิธี

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่15.1.1ความสำคัญของนิติวิธี

เรื่องที่15.1.2ความหมายของนิติวิธี

แนวคิด1.ในการศึกษากฎหมายหรือการใช้กฎหมายนอกเหนือจากการพิจารณาเนื้อหาของกฎหมาย

แล้ว จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงนิติวิธีในแต่ละระบบกฎหมายด้วย ซึ่งนิติวิธีมีความ

สำคัญที่ใช้ประกอบไปกับกฎหมาย และถือได้ว่าเป็นสิ่งแทรกซึมไปกับตัวบทกฎหมาย

2. นิติวิธีมีความหมายที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่นักกฎหมายคิด และมุมมองทางด้านต่างๆต่อ

ระบบกฎหมายของตน

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่15.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายและวิเคราะห์ความสำคัญของนิติวิธีได้

2.อธิบายและวิเคราะห์ความหมายของนิติวิธีได้

Page 8: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-8

เรื่องที่15.1.1ความสำคัญของนิติวิธี

สาระสังเขปประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้สกุลกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือซีวิลลอว์ หรืออาจเรียกได้ว่า

ประเทศไทยใช้ระบบ “ประมวลกฎหมาย” ซึ่งกฎหมายที่มีผลบังคับใช้จะมีลักษณะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ในแต่ละหมวดหมู่ ทำให้ผู้ศึกษากฎหมายหรือผู้ใช้กฎหมายนอกจากจะพิจารณาจากเนื้อหาของกฎหมาย

(LegalContent)แล้วยังจะต้องศึกษาเกี่ยวกับนิติวิธี(JuristicMethod)ประกอบด้วยเนื่องจากกฎหมาย

ในแต่ละฉบับมีเหตุผลและที่มาแตกต่างกันมีการบัญญัติเพิ่มเติมแก้ไขเพื่อรองรับปัญหาและเพื่อสร้างความ

เป็นธรรมให้แก่สังคม โดยที่การบัญญัติกฎหมายในบางครั้งอาจไม่สามารถบัญญัติให้ครอบคลุมไปถึงการ

แก้ไขปัญหาหรือความต้องการอันแท้จริงของสังคมได้ จึงจำเป็นต้องใช้นิติวิธีซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญประกอบ

ไปกับกฎหมายนิติวิธีจึงเป็นสิ่งที่แทรกซึมไปกับตัวบทกฎหมายทำให้นักกฎหมายที่มีความรู้ ความเข้าใจ

ในนิติวิธีของกฎหมายสามารถใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงและสภาพการณ์ต่างๆ ของสังคมได้ไม่ว่าจะมีการ

ตรากฎหมายขึ้นมาใหม่หรือแม้แต่การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายก็ตาม

นอกจากนี้ในการศึกษาถึงระบบกฎหมายทั้งระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ซึ่งต่างก็มีนิติวิธี

ของตนไม่ว่าทางด้านทัศนคติที่มีต่อกฎหมายการใช้และการตีความกฎหมายฯลฯนิติวิธีก็จะมีความสำคัญ

ยิ่งต่อการศึกษาถึงความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีทั้งในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งต่อการศึกษาถึงการบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์

และคอมมอนลอว์บทที่1โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.กิตติศักดิ์ปรกติ)

กิจกรรม15.1.1

ท่านเข้าใจความสำคัญของนิติวิธีอย่างไรโปรดอธิบาย

Page 9: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-9

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.1.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.1กิจกรรม15.1.1)

Page 10: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-10

เรื่องที่15.1.2ความหมายของนิติวิธี

สาระสังเขปนิติวิธี (JuristicMethod) หรือวิธีทางกฎหมายมีความหมายถึง ความคิดและทัศนคติของ

นักกฎหมายที่มีต่อระบบกฎหมายของตนกล่าวคือทัศนคติที่มีต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษรจารีตประเพณี

คำพิพากษาหลักกฎหมายทั่วไปรวมตลอดจนวิธีคิดวิธีใช้วิธีตีความวิธีบัญญัติกฎหมายแม้จนกระทั่งวิธี

สอนวิธีศึกษาและวิธีทำกฎหมายให้งอกงามหรือเปลี่ยนไปตามกาลเวลาโดยที่นิติวิธีเหล่านี้แทรกซึมคู่เคียง

อยู่กับตัวกฎหมายโดยไม่จำต้องบัญญัติ แม้จะได้บัญญัติถึงนิติวิธีไว้ แต่มิได้บัญญัติหลักนิติวิธีไว้ทั้งหมด

ถ้าเราจะเทียบตัวบทกฎหมายเป็นคนตัวบทคือร่างกายนิติวิธีก็คือวิญญาณ1

แม้ว่าในระบบซีวิลลอว์หรือระบบคอมมอนลอว์อาจมีกรณีที่เนื้อหาของกฎหมาย(LegalContent)

มีลักษณะคล้ายกันบ้างแต่อย่างไรก็ตามด้วยประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของแต่ละระบบกฎหมาย

ที่มีความแตกต่างกัน กฎหมายในแต่ละระบบจึงมีความแตกต่างกันในนิติวิธี และสำหรับระบบประมวล

กฎหมายนั้นนิติวิธีนับเป็นสิ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในตัวเนื้อหาของกฎหมายด้วยเสมอซึ่งอาจเรียกได้

ว่าระบบประมวลกฎหมายจะสมบูรณ์ทุกประการก็ต่อเมื่อใช้นิติวิธีที่ถูกต้องด้วย

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์

และคอมมอนลอว์บทที่1โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.กิตติศักดิ์ปรกติ)

กิจกรรม15.1.2

ท่านเข้าใจความหมายของนิติวิธีอย่างไรโปรดอธิบาย

1ดร.ปรีดีเกษมทรัพย์กฎหมายแพ่ง:หลักทั่วไปจัดพิมพ์โดยคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กรุงเทพมหานคร

2525หน้า119

Page 11: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-11

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.1.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.1กิจกรรม15.1.2)

Page 12: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-12

ตอนที่15.2

ความเป็นมาหลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบซีวิลลอว์

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่15.2.1ความเป็นมาของนิติวิธีในระบบซีวิลลอว์

เรื่องที่15.2.2หลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบซีวิลลอว์

แนวคิด1.ระบบซีวิลลอว์มีรากฐานมาจากกฎหมายโรมัน และมีการพัฒนาเรื่อยมาในยุคกลางและ

ยุคสมัยใหม่จนกลายเป็นประมวลกฎหมายในปัจจุบัน

2.บ่อเกิดของกฎหมายลำดับแรกในระบบซีวิลลอว์ คือตัวบทกฎหมายจารีตประเพณีเป็น

บ่อเกิดของกฎหมายลำดับรองส่วนคำพิพากษาของศาลไม่ใช่บ่อเกิดของกฎหมายในระบบ

ซีวิลลอว์

3.การใช้กฎหมายในระบบซีวิลลอว์เป็นการปรับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เข้ากับ

ข้อเท็จจริงซึ่งต้องอาศัยการตีความกฎหมาย

4.วิธีการตีความกฎหมายในระบบซีวิลลอว์ถือความสำคัญของถ้อยคำตามตัวอักษรควบคู่

ไปกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แฝงอยู่ในบทบัญญัตินั้น

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่15.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายความเป็นมาของนิติวิธีในระบบซีวิลลอว์ได้

2.อธิบายหลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบซีวิลลอว์ได้

Page 13: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-13

เรื่องที่15.2.1ความเป็นมาของนิติวิธีในระบบซีวิลลอว์

สาระสังเขประบบซีวิลลอว์พัฒนามาจากกฎหมายโรมันมีจุดกำเนิดจากกฎหมายจารีตประเพณีของชาวโรมัน

ซึ่งในระยะแรกไม่ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาจักรพรรดิจัสติเนียนได้รวบรวมกฎหมายและ

เหตุผลของนักนิติศาสตร์โรมันไว้ด้วยกันแล้วจัดระบบให้เป็นหมวดหมู่ ในยุคกลางของยุโรปกฎหมายของ

จักรพรรดิจัสติเนียนได้รับการพัฒนาจนถึงขีดสุดนักกฎหมายในยุคนั้นเชื่อว่ากฎหมายโรมันเป็นกฎหมายที่

ถูกต้องและตั้งอยู่บนเหตุผลยุคกลางในยุโรปเป็นยุคที่คริสตจักรมีอำนาจแข็งแกร่งกฎหมายโรมันจึงได้รับ

อิทธิพลอย่างสูงจากแนวคิดของศาสนาคริสต์ ในยุคนี้มีการศึกษากฎหมายอย่างกว้างขวางในมหาวิทยาลัย

แนวทางการศึกษาเป็นการเน้นการศึกษาในแง่อุดมคติของกฎหมายมากกว่าการนำกฎหมายไปปฏิบัติต่อมา

ในยุคสมัยใหม่ซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟูทางปัญญา อำนาจของศาสนจักรเริ่มเสื่อมถอยลง ในขณะที่มีแนวคิด

ด้านอธิปไตยเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในหลายประเทศในยุโรปประกอบกับอิทธิพลของกระแสความคิดชาตินิยม

และเสรีนิยมทำให้มีการอ้างเหตุผลทางธรรมชาติมาอธิบายและศึกษากฎหมายมากกว่าที่จะเชื่อว่ากฎหมาย

เป็นบทบัญญัติของพระเจ้าในยุคนี้ถือว่าตัวบทกฎหมายเป็นบ่อเกิดที่สำคัญสูงสุดของกฎหมายและเชื่อว่า

กฎหมายเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมสมัยใหม่ ความเชื่อนี้นำไปสู่การบัญญัติประมวลกฎหมายขึ้นเป็น

ครั้งแรกประมวลกฎหมายฉบับแรกในยุคนี้คือประมวลกฎหมายฝรั่งเศส(ค.ศ.1804)ประมวลกฎหมาย

แพ่งแห่งเยอรมนี(ค.ศ.1900)และประมวลกฎหมายแพ่งแห่งสวิตเซอร์แลนด์(ค.ศ.1907)

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์

และคอมมอนลอว์บทที่2โดยผู้ช่วยศาสตราจาย์ดร.กิตติศักดิ์ปรกติ)

กิจกรรม15.2.1

ท่านเข้าใจความเป็นมาของนิติวิธีในระบบซีวิลลอว์อย่างไรโปรดอธิบาย

Page 14: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-14

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.2.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.2กิจกรรม15.2.1)

Page 15: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-15

เรื่องที่15.2.2หลักการใช้และการตีความกฎหมายใน

ระบบซีวิลลอว์

สาระสังเขปในระบบซีวิลลอว์บ่อเกิดของกฎหมายลำดับแรก คือ ตัวบทกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์

อักษร เพราะเชื่อว่าตัวบทกฎหมายมีความเป็นธรรมและมีเหตุผลในตัวของมันเองกฎหมายเป็นหลักทั่วไป

เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น นักกฎหมายจะนำบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงใน

ประเด็นข้อพิพาทนั้น ซึ่งเรียกว่าการตีความกฎหมายส่วนจารีตประเพณีเป็นกฎหมายลำดับรองซึ่งอาจใช้

คู่เคียง เสริม หรือตัดทอนตัวบทกฎหมายก็ได้ ในบางครั้งจารีตประเพณีถูกนำมาใช้เพื่อทำให้กฎหมายมี

ความยืดหยุ่นมากขึ้น ในระบบซีวิลลอว์นั้นคำพิพากษาของศาลไม่ใช่บ่อเกิดของกฎหมายแต่เป็นตัวอย่าง

การปรับใช้กฎหมายที่เป็นรูปธรรม ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่จะใช้กับข้อพิพาทโดยตรง

นักกฎหมายมีหน้าที่อุดช่องว่างนั้นด้วยการค้นหาหลักความเป็นธรรมซึ่งแฝงอยู่ในหลักกฎหมายนั้น

นอกจากนี้ความเห็นของนักกฎหมายต่อคำพิพากษาที่อยู่ในรูปของหมายเหตุท้ายคำพิพากษาก็มีความสำคัญ

ที่แสดงให้เห็นถึงทัศนะหรือมุมมองของตนที่มีต่อคำพิพากษานั้นๆด้วยกฎหมายจึงไม่ใช่ตัวบทบัญญัติแต่

คือหลักการแห่งเหตุผลที่ดำรงอยู่ในตัวบทกฎหมายนั้นเองการตีความกฎหมายจึงต้องตีความตามตัวอักษร

โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แฝงอยู่ในบทบัญญัตินั้นพร้อมกันไปด้วย

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์

และคอมมอนลอว์บทที่2โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.กิตติศักดิ์ปรกติ)

กิจกรรม15.2.2

ท่านเข้าใจหลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบซีวิลลอว์อย่างไรโปรดอธิบาย

Page 16: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-16

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.2.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.2กิจกรรม15.2.2)

Page 17: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-17

ตอนที่15.3

ความเป็นมาหลักการใช้และการตีความกฎหมาย

ในระบบคอมมอนลอว์

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.3แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่15.3.1ความเป็นมาของนิติวิธีในระบบคอมมอนลอว์

เรื่องที่15.3.2หลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์

แนวคิด1.ระบบคอมมอนลอว์มีตน้กำเนดิมาจากวธิีพจิารณาพพิากษาคดีของ“ศาลหลวง”ในองักฤษ

ในช่วงยุคกลางของยุโรปโดยถือเอาคำวินิจฉัยของศาลในคดีก่อนเป็นบรรทัดฐาน

2.บ่อเกิดของกฎหมายที่สำคัญที่สุดในระบบคอมมอนลอว์คือหลักกฎหมายในคำพิพากษา

ของศาลส่วนกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นบ่อเกิดของกฎหมายลำดับรองที่ศาลใช้เพื่อ

อุดช่องว่างของหลักคอมมอนลอว์

3. หลักคอมมอนลอว์อยู่บนหลักการที่ว่าข้อเท็จจริงเดียวกันย่อมได้รับการปฏิบัติอย่าง

เดียวกัน จึงไม่นำหลักกฎหมายในแนวคำพิพากษาบรรทัดฐานมาใช้ หากข้อเท็จจริงใน

คดีแตกต่างกัน

4. โดยหลักแล้ว ศาลตีความบทบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษรตามถ้อยคำที่บัญญัติไว้

ยกเว้นการตีความเช่นนั้นจะก่อให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรงหรือบทบัญญัติของกฎหมาย

ลายลักษณ์อักษรนั้นได้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของหลักคอมมอนลอว์

โดยตรง

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่15.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายความเป็นมาของนิติวิธีในระบบคอมมอนลอว์ได้

2.อธิบายหลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ได้

Page 18: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-18

เรื่องที่15.3.1ความเป็นมาของนิติวิธีในระบบคอมมอนลอว์

ระบบคอมมอนลอว์มีต้นกำเนดิบนเกาะอังกฤษในชว่งยคุกลางของยโุรปกษตัริย์ของพวกนอรม์ันซึ่ง

เป็นชนเผ่าที่ได้เข้ายึดเกาะอังกฤษในเวลานั้นได้ตั้งศาลของตนเองขึ้นเรียกว่า“ศาลหลวง”เพื่อขยายอำนาจ

เหนือศาลของขุนนางท้องถิ่นและศาลของศาสนจักร ศาลหลวงมีวิธีพิจารณาวินิจฉัยคดี โดยการใช้เหตุผล

วิเคราะห์ข้อเท็จจริงของข้อพิพาทแล้วจึงสร้างหลักเกณฑ์ในการตัดสินข้อพิพาทจากเหตุผลที่พิจารณาได้จาก

ข้อเท็จจริงนั้น หลักเกณฑ์ที่สร้างขึ้นในคำพิพากษาในคดีก่อนถูกนำมาใช้ในการตัดสินข้อพิพาทในภายหลัง

ที่มีข้อเท็จจริงแบบเดียวกัน ซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนกลายเป็นทฤษฎีการตัดสินคดีโดยยึดหลักกฎหมายตาม

คำพิพากษาในคดีก่อนหรือเรียกว่าระบบคอมมอนลอว์โดยมีหลักว่าข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันต้องได้รับการ

ปฏิบัติที่เหมือนกันในตอนปลายยุคกลางสภาพการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของอังกฤษได้พัฒนาไปมาก

คำพิพากษาในคดีก่อนซึ่งเป็นคำพิพากษาบรรทัดฐานไม่อาจปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้

ระบบคอมมอนลอว์ขาดความยืดหยุ่นและไม่อาจอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเพียงพอจึงได้มี

การตั้งศาลเอ็คควิตี้(Equity)ขึ้นศาลนี้ยึดประโยชน์สุขของประชาชนและความยุติธรรมเป็นหลักโดยมิได้

ยึดถือคำพิพากษาบรรทัดฐานแบบศาลคอมมอนลอว์ต่อมาในตอนต้นของยุคฟื่องฟูวิทยาการระบบทุนนิยม

ขยายตัวอย่างกว้างขวาง รัฐสภาอังกฤษซึ่งถูกกดดันจากชนชั้นกลางได้ออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้น

เนื่องจากพัฒนาการของคอมมอนลอว์ไม่สอดคล้องกับการขยายตัวของทุนนิยม ในปัจจุบันศาลอังกฤษได้

ยอมรับกฎหมายลายลักษณ์อักษรในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใช้อุดช่องว่างของหลักคอมมอนลอว์

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์

และคอมมอนลอว์บทที่3โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.กิตติศักดิ์ปรกติ)

กิจกรรม15.3.1

ท่านเข้าใจความเป็นมาของนิติวิธีในระบบคอมมอนลอว์อย่างไรโปรดอธิบาย

Page 19: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-19

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.3.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.3กิจกรรม15.3.1)

Page 20: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-20

เรื่องที่15.3.2หลักการใช้และการตีความกฎหมาย

ในระบบคอมมอนลอว์

บ่อเกิดของกฎหมายที่สำคัญที่สุดในระบบคอมมอนลอว์คือหลักกฎหมายในคำพิพากษาของศาล

ในคดีก่อน โดยอยู่บนหลักการที่ว่าข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันย่อมต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน ศาล

ในระบบคอมมอนลอว์วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงในข้อพิพาทแล้วหาเหตุผลจากข้อเท็จจริงใน

ข้อพิพาทแต่ละเรื่องและนำมาสร้างเป็นหลักกฎหมายหลักกฎหมายที่ศาลในคดีก่อนสร้างขึ้นผูกพันให้ศาล

ในคดีหลังต้องถือตาม (stare decisis) การสร้างหลักกฎหมายจากข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องทำให้

คอมมอนลอว์มีลักษณะที่เป็นหลักเกณฑ์เฉพาะซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก จึงมีความเป็นไปได้ว่า

คำพิพากษาบรรทัดฐานไม่อาจปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงในคดีอื่นจึงได้มีข้อยกเว้นที่ว่าถ้าข้อเท็จจริงในคดีต่างกัน

ก็ไม่ต้องถือตามคำพิพากษาในคดีก่อน จะถือตามคำพิพากษาในคดีก่อนก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงเหมือนกันทุก

ประการเท่านั้น สำหรับกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นบ่อเกิดของกฎหมายลำดับรองในระบบคอมมอนลอว์

โดยทั่วไปศาลคอมมอนลอว์จะตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษรไม่ได้ตีความ

ตามความมุ่งหมายของผู้บัญญัติกฎหมาย เว้นไว้แต่จะเข้ากรณีที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วไม่เป็นผล

หรือจะเกิดผลร้ายอย่างรุนแรง ศาลจะตีความโดยการขยายความหรือตีความตามความหมายของผู้บัญญัติ

กฎหมาย หรือเป็นกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นบัญญัติขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง

ของหลักคอมมอนลอว์โดยตรงปัจจุบันศาลอังกฤษมีแนวโน้มจะตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายมากขึ้น

และเริ่มมีการยอมรับว่าบทบัญญัติของกฎหมายมีฐานะเท่าเทียมกับคำพิพากษาบรรทัดฐานมากขึ้นเรื่อยๆ

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์

และคอมมอนลอว์บทที่3โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.กิตติศักดิ์ปรกติ)

กิจกรรม15.3.2

ท่านเข้าใจหลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์อย่างไรโปรดอธิบาย

Page 21: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-21

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.3.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.3กิจกรรม15.3.2)

Page 22: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-22

ตอนที่15.4

การบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.4แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่15.4.1 ความแตกต่างในการพิพากษาคดีของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

เรื่องที่15.4.2 แนวโน้มการบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

แนวคิด1 ระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ ต่างก็มีความเหมือนและความแตกต่างใน

ลักษณะที่สำคัญ คือ ในความแตกต่างของการพิพากษาคดีของศาลในระบบกฎหมาย

ทั้งสองนี้ ต่างก็แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละระบบกฎหมาย ซึ่งไม่

สามารถสรุปได้ว่าระบบกฎหมายใดดีไปกว่ากัน

2. เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคโลกไร้พรมแดน ระบบกฎหมายสำคัญๆ ของโลก เช่น ระบบซีวิลลอว์

และระบบคอมมอนลอว์มีแนวโน้มที่จะมาบรรจบกันได้มากขึ้น

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่15.4จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายและวิเคราะห์ความแตกต่างในการพิพากษาคดีของระบบซีวิลลอว์และระบบ

คอมมอนลอว์ได้

2.อธิบายและวิเคราะห์แนวโน้มการบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

ได้

Page 23: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-23

เรื่องที่15.4.1ความแตกต่างในการพิพากษาคดีของระบบซีวิลลอว์

และระบบคอมมอนลอว์

สาระสังเขปการพิพากษาของศาลถือเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวิธีคิดและทัศนคติของผู้พิพากษา ซึ่งเป็นนิติวิธีที่

สำคัญในการใช้และการตีความกฎหมายทั้งนี้ การตัดสินคดีของผู้พิพากษาในกฎหมายฝรั่งเศสซึ่งถือเป็น

ตัวแทนของระบบซีวิลลอว์และการตัดสินคดีของผู้พิพากษาในกฎหมายอังกฤษซึ่งถือเป็นตัวแทนของระบบ

คอมมอนลอว์นั้น แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างอันเป็นรูปธรรมของสองระบบกฎหมายทั้งที่มีความคล้ายคลึงกัน

และแตกต่างกันมิใช่ว่าระบบกฎหมายใดจะดีกว่าอีกระบบกฎหมายหนึ่งเพราะในแต่ละระบบกฎหมายต่าง

ก็มีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกันไป

ในส่วนของระบบคอมมอนลอว์ ผู้พิพากษาอังกฤษสามารถใช้และตีความกฎหมายได้อย่างเต็มที่

และที่สำคญัผู้พพิากษาองักฤษสามารถที่จะสรา้งกฎหมายขึน้มาปรบัวนิจิฉยักบัคดีเพือ่สรา้งความเปน็ธรรมให้

กับสังคมได้อันเนื่องมาจากประเทศอังกฤษไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นประมวลกฎหมายในขณะที่

ระบบซีวิลลอว์การพิพากษาตัดสินคดีของศาลผู้พิพากษาฝรั่งเศสจะถูกผูกติดกับตัวประมวลกฎหมายที่เป็น

ลายลักษณ์อักษรแต่อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาในระบบซีวิลลอว์จะมีเสรีภาพในการพิพากษาคดีโดยไม่จำเป็น

ต้องผูกมัดกับบรรทัดฐานของคดีที่เกิดขึ้นก่อน (precedent) หากเทียบกับผู้พิพากษาอังกฤษที่ยึดถือตาม

ลัทธิคดีบรรทัดฐานในลักษณะที่เกือบจะเป็นผลผูกมัด(quasi-binding)

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบ

ซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์บทที่1โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.กิตติศักดิ์ปรกติและโปรดอ่านเพิ่มเติมใน

บทความเรื่อง“วิเคราะห์วิธีเข้าสู่ปัญหาในการพิพากษาในกฎหมายฝรั่งเศสและอังกฤษ”วารสารกฎหมาย

จุฬาลงกรณ์ปีที่5(2522)ฉบับพิเศษรวมบทความทางวิชาการเป็นอนุสรณ์แก่ศาสตราจารย์หยุดแสงอุทัย

โดยศาสตราจารย์วิทิตมันตาภรณ์)

กิจกรรม15.4.1

ทา่นเขา้ใจความแตกตา่งในการพพิากษาคดีของระบบซีวลิลอว์และระบบคอมมอนลอว์อยา่งไร

โปรดอธิบาย

Page 24: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-24

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.4.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.4เรื่องที่15.4.1)

Page 25: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-25

เรื่องที่15.4.2แนวโน้มการบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์

และระบบคอมมอนลอว์

สาระสังเขปปัจจุบันระบบกฎหมายหลักมีแนวโน้มที่จะมาบรรจบกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการศึกษากฎหมายที่

มีหลักสูตรหรือการบังคับให้นักศึกษากฎหมายเรียนรู้กฎหมายข้ามระบบหรือแม้แต่ประเทศอังกฤษซึ่งเป็น

ประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ แต่ในปัจจุบันประเทศอังกฤษก็มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรเพิ่มมากขึ้น

เนื่องด้วยอุปสรรคบางประการของการไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และเมื่อก้าวเข้าสู่ยุคโลกไร้พรมแดน

นักกฎหมายจากระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ได้มีโอกาสมาพบปะประชุมและแลกเปลี่ยน

ความคิดเห็นกันมากขึ้น แนวโน้มการบรรจบกันของระบบกฎหมายทั้งสองจึงมีลักษณะเป็นรูปธรรมขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อตั้งขึ้นของประชาคมยุโรป (EuropeanCommunity) และต่อมาพัฒนาเป็น

สหภาพยุโรป(EuropeanUnion)ที่ก่อตั้งโดยประกอบด้วยทั้งประเทศที่ใช้ระบบซีวิลลอว์และประเทศที่ใช้

ระบบคอมมอนลอว์ซึ่งมีผลผูกพันทั้งประเทศสมาชิกและคนชาติของประเทศสมาชิกด้วย

การก่อตั้งขึ้นของประชาคมยุโรปนี้ นอกเหนือจากการที่จะต้องมีกฎหมายที่ใช้กับประชาคมอย่าง

เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ประชาคมยุโรปยังมีองค์กรศาลยุติธรรมซึ่งมีผู้พิพากษาที่มาจากประเทศที่ใช้

ระบบกฎหมายทั้งสองระบบ ซึ่งโดยหลักการแล้วผู้พิพากษาจะต้องมีอิสระไม่ขึ้นอยู่กับประเทศของตน ใน

กรณีนี้การพิพากษาคดีของศาลแห่งประชาคมยุโรปแม้ว่าจะมีลักษณะที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบซีวิลลอว์

ในแง่ที่คำพิพากษาของศาลมิได้ถือตามบรรทัดฐานก็ตามแต่ก็มีความพยายามที่จะประนีประนอมเข้าสู่ระบบ

คอมมอนลอว์ด้วย เช่น มีการเขียนคำพิพากษาที่ยาวมากไม่เหมือนกับระบบซีวิลลอว์ที่ศาลจะเขียน

คำพิพากษาที่สั้น เป็นต้น และที่สำคัญคำพิพากษาของศาลแห่งประชาคมยุโรปนี้เป็นการตัดสินคดีที่อยู่

บนรากฐานแห่งความจริง นโยบายของประชาคมและเพื่อประโยชน์ของประชาคมอย่างแท้จริง อีกทั้งเป็น

คำพิพากษาที่อยู่เหนือกฎหมายของประเทศสมาชิก โดยผู้พิพากษาจะต้องไม่ยึดติดอยู่กับระบบกฎหมาย

ของประเทศตนแต่อย่างไรก็ตาม วิธีการใช้กฎหมายนั้นก็มีลักษณะที่ประนีประนอมและพยายามหาโอกาส

ที่จะทำให้วิธีเข้าสู่ปัญหามาบรรจบกันเพื่อให้กฎหมายทั้งสองระบบนี้บรรจบกันได้

(โปรดอ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง“วิเคราะห์วิธีเข้าสู่ปัญหาในการพิพากษาในกฎหมายฝรั่งเศส

และอังกฤษ”วารสารกฎหมายจุฬาลงกรณ์ปีที่5(2522)ฉบับพิเศษรวมบทความทางวิชาการเป็นอนุสรณ์

แก่ศาสตราจารย์หยุดแสงอุทัยโดยศาสตราจารย์วิทิตมันตาภรณ์)

Page 26: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-26

กิจกรรม15.4.2

ท่านเข้าใจแนวโน้มการบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์อย่างไร โปรด

อธิบาย

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.4.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.4เรื่องที่15.4.2)

Page 27: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-27

แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่15

นิติวิธีของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

ตอนที่15.1ลักษณะทั่วไปของนิติวิธี

แนวตอบกิจกรรม15.1.1

นิติวิธีมีความสำคัญต่อทั้งระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบซีวิลลอว์

ซึ่งเป็นระบบประมวลกฎหมายนิติวิธีจะเป็นสิ่งที่ประกอบไปกับกฎหมาย และถือเป็นสิ่งที่แทรกซึมไปกับ

ตัวบทกฎหมาย ทำให้นักกฎหมายสามารถใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงและสถานการณ์ต่างๆ ของสังคมได้

ไม่ว่าจะมีการตรากฎหมายขึ้นมาใหม่หรือแม้แต่การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายก็ตาม

แนวตอบกิจกรรม15.1.2

นิติวิธีมีความหมายที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่นักกฎหมายคิดและการมีมุมมองทางด้านต่างๆต่อระบบ

กฎหมายของตนรวมตลอดถึงวิธีใช้วิธีตีความกฎหมายฯลฯ

ตอนที่15.2ความเป็นมาหลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบซีวิลลอว์

แนวตอบกิจกรรม15.2.1

ระบบซีวิลลอว์พัฒนามาจากกฎหมายของจักรพรรดิจัสติเนียนของโรมัน และได้รับการพัฒนามา

โดยตลอดในยุคกลางจนในยุคสมัยใหม่ความคิดเรื่องอธิปไตยและชาตินิยมซึ่งแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ

ในยุโรปในยุคนั้นนำไปสู่การร่างประมวลกฎหมายขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่จะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการ

สร้างสังคมสมัยใหม่และแสดงอธิปไตยของชาติ

แนวตอบกิจกรรม15.2.2

การใช้กฎหมายในระบบซีวิลลอว์เป็นการปรับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้ากับข้อเท็จจริง

เรียกว่าการตีความกฎหมาย การตีความกฎหมายต้องตีความตามตัวอักษรควบคู่ไปกับเจตนารมณ์ของ

กฎหมายที่แฝงอยู่ในบทบัญญัตินั้น

Page 28: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-28

ตอนที่15.3ความเป็นมาหลักการใช้และการตีความกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์

แนวตอบกิจกรรม15.3.1

นิติวิธีในระบบคอมมอนลอว์พัฒนามาจากการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลหลวงในอังกฤษ โดย

ถือคำพิพากษาในคดีก่อนเป็นบรรทัดฐานที่ศาลในคดีหลังต้องถือตาม

แนวตอบกิจกรรม15.3.2

ระบบคอมมอนลอว์ถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมายลำดับแรกศาลในคดีหลัง

ต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลในคดีก่อนที่มีข้อเท็จจริงเหมือนกันส่วนกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็น

บ่อเกิดของกฎหมายลำดับรอง และศาลมักจะตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัดตามถ้อยคำ

ในบทบัญญัตินั้นมากกว่าที่จะคำนึงถึงเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติกฎหมาย

ตอนที่15.4การบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

แนวตอบกิจกรรม15.4.1

ระบบซีวลิลอว์และระบบคอมมอนลอว์มีความคลา้ยและแตกตา่งกนัในการพพิากษาคดีของศาลตา่ง

ก็มีจุดอ่อนและจุดแข็งในแต่ละระบบกฎหมายเช่นกันโดยผู้พิพากษาอังกฤษในระบบคอมมอนลอว์สามารถ

ใช้และตีความกฎหมายได้ดีกว่าผู้พิพากษาฝรั่งเศสในระบบซีวิลลอว์ ในระบบคอมมอนลอว์ของประเทศ

อังกฤษนี้ ผู้พิพากษาสามารถที่จะสร้างกฎหมายอื่นมาปรับวินิจฉัยกับคดีได้ เพราะไม่มีประมวลกฎหมาย

เป็นลายลักษณ์อักษรในขณะที่ผู้พิพากษาฝรั่งเศสในระบบซีวิลลอว์จะถูกผูกติดกับประมวลกฎหมายที่เป็น

ลายลักษณ์อักษรแต่ก็มีเสรีภาพในการพิพากษาคดีโดยไม่จำต้องถูกผูกมัดกับบรรทัดฐานของคดีที่เกิดขึ้น

ก่อนดังเช่นระบบคอมมอนลอว์ของประเทศอังกฤษ

แนวตอบกิจกรรม15.4.2

ในโลกยุคไร้พรมแดนที่นักกฎหมายจากสกุลกฎหมายต่างๆ ทั่วโลกมีโอกาสพบปะ ประชุม

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รวมทั้งการรวมกลุ่มของประเทศต่างๆ ทำให้นักกฎหมายจากระบบซีวิลลอว์

และระบบคอมมอนลอว์มีโอกาสทำงานร่วมกัน ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่ระบบกฎหมายหลักทั้งสองระบบนี้จะ

มาบรรจบกันได้

Page 29: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-29

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน

วัตถุประสงค์ เพือ่ประเมนิความกา้วหนา้ในการเรยีนรู้ของนกัศกึษาเกีย่วกบัเรือ่ง“นติิวธิีของระบบซีวลิลอว์

และระบบคอมมอนลอว์”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินชุดนี้30นาที

1.จงอธิบายความหมายของนิติวิธี

2.จงอธิบายการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในระบบซีวิลลอว์

3.จงอธิบายบ่อเกิดของกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์

4.จงอธิบายการบรรจบกันของระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

Page 30: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-30

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่15

ก่อนเรียน1.นิติวิธีมีความสำคัญยิ่งต่อระบบกฎหมายหลักไม่ว่าจะเป็นระบบซีวิลลอว์หรือระบบคอมมอนลอว์

เพราะเป็นสิ่งที่ประกอบไปกับกฎหมายอีกทั้งแทรกซึมไปกับตัวบทกฎหมายด้วย

2. ระบบซีวิลลอว์มีจุดกำเนิดจากกฎหมายจารีตประเพณีของชาวโรมัน และได้รับการพัฒนาเรื่อย

มาจนกระทั่งในยุคสมัยใหม่จึงได้มีการบัญญัติประมวลกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก ระบบซีวิลลอว์ถือว่าบ่อ

เกิดของกฎหมายลำดับแรกคือตัวบทกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรส่วนจารีตประเพณีนั้นเป็น

บอ่เกดิของกฎหมายลำดบัรองสว่นการตคีวามกฎหมายนัน้ตอ้งตคีวามตามตวัอกัษรควบคู่ไปกบัเจตนารมณ์

ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น

3. ระบบคอมมอนลอว์พัฒนามาจากการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลหลวงในอังกฤษในช่วงยุค

กลางของยุโรป โดยถือเอาคำพิพากษาในคดีก่อนเป็นบรรทัดฐานที่ศาลในคดีหลังต้องถือตาม บ่อเกิดของ

กฎหมายที่สำคัญที่สุดในระบบคอมมอนลอว์ คือ หลักกฎหมายในคำพิพากษาของศาลในคดีก่อน ส่วน

กฎหมายลายลักษณ์อักษรถือเป็นบ่อเกิดของกฎหมายลำดับรองในระบบคอมมอนลอว์ ซึ่งศาลจะตีความ

กฎหมายลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัด

4. ในการพิพากษาคดีของศาลในระบบซีวิลลอว์ผู้พิพากษาจะถูกผูกติดกับตัวประมวลกฎหมายที่

เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ก็ยังมีเสรีภาพในการพิพากษาคดีโดยไม่จำเป็นต้องผูกมัดกับบรรทัดฐานของคดีที่

เกิดขึ้นก่อน ในขณะที่ผู้พิพากษาของระบบคอมมอนลอว์ยึดถือตามลัทธิคดีบรรทัดฐานในลักษณะที่เกือบ

จะเป็นการผูกมัด นอกจากนี้ ผู้พิพากษาของระบบคอมมอนลอว์ยังสามารถที่จะสร้างกฎหมายขึ้นมาปรับ

วินิจฉัยกับคดีได้ด้วย

หลังเรียน1.นิติวิธีมีความหมายที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่นักกฎหมายคิดและมีมุมมองทางด้านต่างๆต่อระบบ

กฎหมายของตน

2.กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นบ่อเกิดของกฎหมายลำดับแรกในระบบซีวิลลอว์แต่ตัวบทบัญญัติ

เองหาใช่กฎหมายไม่หลกัการแหง่เหตผุลที่ดำรงอยู่ในบทบญัญตัินัน้ตา่งหากคอืกฎหมายนกักฎหมายมหีนา้ที่

ค้นหาหลักความเป็นธรรมในหลักกฎหมายนั้นดังนั้น ในการตีความกฎหมายจึงต้องตีความตามถ้อยคำใน

ตัวบทกฎหมายโดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แฝงอยู่ในบทบัญญัตินั้นพร้อมกันไปด้วย

3. บ่อเกิดของกฎหมายที่สำคัญที่สุดในระบบคอมมอนลอว์ คือ คำพิพากษาของศาลในคดี

ก่อนที่วางหลักกฎหมายซึ่งศาลในคดีหลังต้องถือตามหากว่ามีข้อเท็จจริงในคดีเหมือนกันส่วนกฎหมาย

Page 31: หน่วย ที่ นิติ วิธี ของ ระบบ ซี วิลลอว์ และระ บบ คอม มอน ลอว์ 40701-15.pdf · 15-6

15-31

ลายลักษณ์อักษรนั้น ศาลคอมมอนลอว์ถือว่าเป็นบ่อเกิดของกฎหมายลำดับรอง โดยทั่วไปจะใช้เพื่ออุด

ช่องว่างของหลักคอมมอนลอว์

4.การบรรจบกันของทั้งระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ในยุคโลกไร้พรมแดนนี้เกิดจากการ

ศึกษาเรียนรู้ระบบกฎหมายซึ่งกันและกันตลอดจนการก่อตั้งประชาคมยุโรปที่พัฒนาเป็นสหภาพยุโรปซึ่งก่อ

ตัง้ขึน้โดยทัง้ประเทศที่ใช้ระบบซีวลิลอว์และประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์และการที่ประเทศสมาชกิจะตอ้ง

มีการใช้กฎหมายร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิพากษาคดีของศาลแห่งประชาคมยุโรปเป็นต้น