12

โทษประหาร คำถามและคำตอบ

Embed Size (px)

DESCRIPTION

โทษประหาร คำถามและคำตอบ

Citation preview

1โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ

โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ2

เหตุใดแอมเนสต้ี อินเตอรเนช่ันแนลจึงตอตาน

โทษประหาร?

แอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนล ตอตานโทษ

ประหารในทุกกรณีโดยไมมีขอยกเวน ไมวาในแงของ

ประเภทของอาชญากรรม บุคลิกภาพของผูกระทํา

ผิด หรือวิธีการที่รัฐใชเพื่อประหารนักโทษ โทษ-

ประหารเปนการปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นสูงสุด

เปนการสังหารชีวิตมนุษยโดยเจตนาและอยาง

เลือดเย็นโดยรัฐท่ีอางความยุติธรรม เปนการละเมิด

สิทธิที่จะมีชีวิตตามที่ประกาศไวในปฏิญญาสากล

วาดวยสิทธิมนุษยชน และถือเปนการลงโทษที่

โหดราย ไรมนุษยธรรมและยํ่ายีศักดิ์ศรีขั้นสูงสุด

ไมมีความชอบธรรมใดๆ สําหรับการทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดราย เชนเดียวกับการทรมาน การประหารชีวิต

มีลักษณะที่มุงทํารายทั้งทางกายและใจอยางสาหัสตอบุคคล เราไมสามารถจําแนกปริมาณความเจ็บปวดทางรางกาย

ที่เกิดขึ้นจากการสังหารบุคคลได ยิ่งไมตองพูดถึงความทรมานทางใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากทราบลวงหนาวาจะตองถูกรัฐ

กระทําใหตาย

โทษประหารมีลักษณะเลือกปฏิบัติและมักถูกนํามาใชกับคนจน ชนกลุมนอยและผูที่มีเชื้อชาติ ชาติพันธุและ

ศาสนาบางกลุม โดยมีสัดสวนที่ไมเหมาะสม และมีการบังคับใชและปฏิบัติโดยพลการ

ความพยายามของรัฐที่จะเลือกอาชญากรรมและผูกระทําผิดที่ “เลวรายมากที่สุด” จากบรรดาการฆาตกรรม

ที่เกิดขึ้นหลายพันครั้งในแตละป ยอมนําไปสูความลักลั่นและความผิดพลาดได ความบกพรองตางๆ ยิ่งเลวรายลง

เนื่องจากการเลือกปฏิบัติ ความฉอฉลในการฟองรองดําเนินคดี และการไมมีตัวแทนดานกฎหมายอยางเพียงพอ

ตราบท่ีความยุติธรรมของมนุษยยังคงมีความบกพรองอยูบาง เราไมอาจกําจัดความเส่ียงท่ีจะตองประหารผูบริสุทธ์ิ

ไดเลย แอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนลจึงยังคงเรียกรองใหมีการยกเลิกโทษประหารทั่วโลกอยางไมมีเงื่อนไข

การยุติโทษประหารเปนการยอมรับวานโยบายสาธารณะใดที่ไมสอดคลองกับคุณคารวมกันของมนุษย เปนเรื่อง

ท่ีมุงทําลายลางและสรางความแบงแยก นโยบายเชนนั้นไมเพียงนําไปสูความผิดพลาดที่ไมอาจแกไข แตยังทําให

สิ้นเปลืองงบประมาณจํานวนมาก ทั้งยังสงผลกระทบดานสังคมและจิตใจอีกดวย ที่ผานมาไมมีตัวอยางใหเห็นวา

โทษประหารจะสงผลในการยับยั้งไมใหเกิดการกระทําความผิดอยางชัดเจน แตเปนการปฏิเสธโอกาสที่จะไดรับการ

ฟนฟูและความสมานฉันทมากกวา ทั้งยังสงเสริมการใชวิธีมักงายเพื่อแกปญหาของมนุษยที่ซับซอน แทนที่จะมุง

แสวงหาคําอธิบายปญหาที่นําไปสูยุทธศาสตรในเชิงบวก ทั้งยังสรางความทุกขระทมอยางตอเนื่องใหกับครอบครัวของ

เหยื่อจากการฆาตกรรม ทําใหเกิดความทุกขตอบุคคลอันเปนที่รักของนักโทษประหารดวย เปนการนําทรัพยากรและ

พลังงานไปใชในทางอื่น ทั้งๆ ที่ควรจะนํามาใชเพื่อปราบปรามความผิดทางอาญาที่รุนแรงและชวยเหลือผูที่ไดรับ

ผลกระทบ แสดงถึงอาการของวัฒนธรรมความรุนแรง ไมใชทางแกปญหาแตอยางใด เปนการละเมิดศักดิ์ศรีมนุษย

จึงควรมีการยกเลิกโทษประหาร

3โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ

การตอตานโทษประหารของแอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนล เปนการไมใหเกียรติตอเหยื่อของอาชญากรรม

ที่รุนแรงและครอบครัวของเขาจริงหรือไม?

การตอตานโทษประหารของแอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนล ไมไดมุงที่จะลดทอนหรือเพิกเฉยตอความผิดทาง

อาญาอันเปนเหตุนําไปสูโทษประหาร หากเปนเชนนั้นจริง ประเทศสวนใหญในโลกก็คงเปนพวกที่ยอมใหอาชญากรรม

รุนแรงเกิดขึ้นไดโดยไมทักทวง เปนขอกลาวหาที่ไมสมเหตุผลเอาเลย ในฐานะหนวยงานที่ทํางานเพื่อผูเสียหายจาก

การละเมิดสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนลยอมไมดูแคลนความทุกขทรมานของครอบครัวผูเสียหาย เรา

แสดงความเห็นใจอยางสุดซึ้งตอพวกเขา แตคุณลักษณะที่โหดรายและผลลัพธของโทษประหารเปนเหตุใหวิธีการนี้ไม

สอดคลองกับบรรทัดฐานในปจจุบันและพฤติกรรมของผูมีอารยะ ทั้งยังเปนการแกปญหาอาชญากรรมรุนแรงอยาง

ไมเหมาะสมและไมอาจยอมรับได

รัฐบาลใชโทษประหารเพื่อปราบปรามเสียงที่เห็นตางหรือเปลา?

ที่ผานมาโทษประหารไดถูกใชและจะยังคงถูกใชเปนเครื่องมือปราบปรามทางการเมือง ทําใหฝายตรงขามทาง

การเมืองเงียบเสียง หรือเพื่อกําจัดบุคคลที่เปน “ปญหา” ทางการเมือง ในกรณีสวนใหญ ผูเสียหายมักตองโทษประหาร

จากการไตสวนคดีอยางไมเปนธรรม

การที่โทษประหารเปนการกระทําที่ไมอาจแกไขกลับคืนได จึงมักถูกใชเปนเครื่องมือเพื่อปราบปราม

ประชาชนหลายพันคนถูกประหารภายใตการปกครองของรัฐบาลชุดหนึ่ง แตในเวลาตอมาเมื่อมีรัฐบาลใหม ก็พบวา

บุคคลเหลานี้เปนผูบริสุทธิ์ที่ตกเปนเหยื่อ ตราบที่ยังยอมรับโทษประหารเปนรูปแบบการลงโทษที่ชอบธรรม ความเสี่ยง

ที่จะถูกนําไปใชอยางมิชอบทางการเมืองก็จะดํารงอยูตอไป การยกเลิกโทษประหารเทานั้นจะเปนเครื่องรับประกันได

วาจะไมมีการนําโทษประหารไปใชเพื่อเปาประสงคอยางมิชอบทางการเมืองอีก

กฎหมายระหวางประเทศมีทาทีตอการใชโทษประหาร

อยางไร?

ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชนซ่ึงมีการรับรองในที่

ประชุมสมัชชาใหญ องคการสหประชาชาติ เม่ือเดือนธันวาคม 2491

ซึ่งเปนปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากความทารุณโหดรายของรัฐที่

เกิดข้ึนในระหวางสงครามโลกคร้ังท่ีสอง ในปฏิญญาฯ มีการรับรอง

สิทธิที่จะมีชีวิตของบุคคลแตละคน (ขอ 3) และระบุอยางชัดเจนวา

“บุคคลใดจะถูกกระทําการทรมานหรือการปฏิบัติหรือการลงโทษ

ที่โหดราย ไรมนุษยธรรมหรือยํ่ายีศักดิ์ศรีไมได” (ขอ 5) ตาม

ความเห็นของแอมเนสตี ้ อินเตอรเนชั ่นแนล โทษประหารเปน

การกระทําที่ละเมิดสิทธิเหลานี้

โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ4

นอกจากปฏิญญาฯ ยังมีการรับรองสนธิสัญญาระดับภูมิภาคและระหวางประเทศอื่นๆ อีกที่เปนการสนับสนุน

การยกเลิกโทษประหาร:

• พิธีสารเลือกรับฉบับที ่ 2 ของกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

(International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) มุงใหมีการยกเลิกโทษประหาร และ

มีการรับรองในที่ประชุมสมัชชาใหญ องคการสหประชาชาติเมื่อป 2512 โดยกําหนดใหมีการยกเลิกโทษประหาร

ทั้งหมด แตยังคงอนุญาตใหรัฐภาคีใชโทษประหารไดในภาวะสงคราม และหากมีการประกาศเปนขอสงวนในชวงเวลา

ที่ใหสัตยาบันหรือใหภาคยานุวัติ

• พิธีสารฉบับที่ 6 ของอนุสัญญาเพื่อคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานแหงยุโรป [“อนุสัญญา

สิทธิมนุษยชนแหงยุโรป European Convention on Human Rights”] ซึ่งเกี่ยวของกับการยกเลิกโทษประหาร

และมีการรับรองในที่ประชุมสภายุโรปเมื่อป 2525 โดยกําหนดใหยกเลิกโทษประหารในชวงเวลาที่สงบ โดยรัฐภาค ี

อาจกําหนดโทษประหารสําหรับความผิดอาญาได “ในชวงที่มีสงครามหรือใกลจะมีสงคราม” เทานั้น

• พิธีสารของอนุสัญญาวาดวยสิทธิมนุษยชนเพื่อยกเลิกโทษประหารแหงอเมริกา (Protocol to the American Convention on Human Rights to Death Penalty) ซึ่งมีการรับรองในที่ประชุมสมัชชาใหญองคกร

แหงรัฐอเมริกา (Organization of American States) เมื่อป 2533 กําหนดใหมีการยกเลิกโทษประหารโดยสิ้นเชิง

แตยังคงอนุญาตใหรัฐภาคีใชโทษประหารไดในภาวะสงคราม และหากมีการประกาศเปนขอสงวนในชวงเวลาที่ให

สัตยาบันหรือใหภาคยานุวัติตอพิธีสาร

• พิธีสารฉบับที่ 13 ของอนุสัญญาเพื่อคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานแหงยุโรป ซึ่งมีการ

รับรองในที่ประชุมสภายุโรปเมื่อป 2545 กําหนดใหมีการยกเลิกโทษประหารในทุกกรณี รวมทั้งในชวงสงครามหรือ

ใกลจะมีสงคราม รัฐภาคีใดๆ ที่เปนภาคีตออนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแหงยุโรปสามารถเขาเปนภาคีพิธีสารฉบับนี้ได

[รายชื่อของรัฐที่ใหสัตยาบันสนธิสัญญาเกี่ยวกับโทษประหารขางตน สามารถดูไดจากเว็บไซตในหนาการรณรงค

โทษประหารของแอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนล www.amnesty.org]

นอกจากนั ้น ตามธรรมนูญศาลอาญา

ระหวางประเทศ (Statute of the Inter- national Criminal Court) ซึ่งรับรองเมื่อ

ป 2541 ไดกําหนดไมใหศาลดังกลาวสามารถใช

โทษประหารเปนการลงโทษได แมวาศาลแหงนี้

จะมีเขตอํานาจเหนืออาชญากรรมรายแรง เชน

อาชญากรรมตอมนุษยชาติ ท้ังการสังหารลาง

เผาพันธุและการละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับการ

ขัดแยงกันดวยอาวุธ

ในทํานองเดียวกัน ในการสถาปนาศาลอาญา

ระหวางประเทศกรณีอดีตประเทศยูโกสลาเวีย

5โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ

(International Criminal Tribunal for the Former Yugoslavia) และศาลอาญาระหวางประเทศกรณีประเทศ

รวันดา (International Criminal Tribunal for Rwanda) ในป 2536 และ 2537 ทางคณะมนตรีความมั่นคง

สหประชาชาติก็หามไมใหศาลดังกลาวลงโทษดวยการประหารชีวิตเชนกัน นอกจากนี้ ยังมีการหามใชโทษประหาร

เปนการลงโทษในศาลอื่นๆ อยางเชน ศาลพิเศษกรณีประเทศเซียราลีโอน (Special Court of Sierra Leone)

ศาลพิเศษ (Special Panels) ที่กรุงดิลลี ติมอรตะวันออก และกฎหมายที่ใชเพื่อกอตั้งศาลพิเศษในกัมพูชา (Extra-

ordinary Chambers for Cambodia)

แตแนนอนวาในบางโอกาสรัฐอาจไมมีทางเลือกอื่นนอกจาก

ตองประหารชีวิตคนไมใชหรือ?

การปองกันตัวเองของเจาหนาท่ีในชวงที่ประกาศสงคราม

อาจถูกนํามาใชเพื่อสรางความชอบธรรมใหกับการประหารชีวิต

ได (ในกรณีสงครามระหวางประเทศหรือสงครามกลางเมือง) หรือ

กรณีที่เจาพนักงานผู บังคับใชกฎหมายตองปฏิบัติการทันทีเพื่อ

รักษาชีวิตตนเองหรือรักษาชีวิตผูอื่นไว แตแมในสถานการณเชนนั้น

ในระดับสากลก็มีมาตรการดานกฎหมายที่กํากับดูแลการใชวิธีการ

ที่รุนแรงถึงชีวิต เพื่อปองกันไมใหมีการใชอยางมิชอบ การใชกําลัง

จึงมีเปาหมายเพียงเพื่อตอบโตอันตรายที่เกิดขึ้นอยางฉับพลัน

เนื่องจากการใชกําลังของอีกฝายหนึ่ง

อยางไรก็ตาม โทษประหารไมใชวิธีการปองกันตัวเองจาก

ภัยอันตรายตอชีวิต หากเปนการสังหารชีวิตนักโทษโดยเจตนา

ทั้งๆ ที่มีวิธีอื่นที่แกปญหาไดโดยมีลักษณะที่รุนแรงนอยกวา

มีการอางวาโทษประหารเปนเครื่องมือสำาคัญของรัฐเพื่อ

ตอตานอาชญากรรม

รัฐบาลในหลายประเทศเชื่อวาจะแกปญหาสังคมหรือการเมืองที่เรงดวนได ดวยการประหารชีวิตนักโทษไมกี่คน

หรือไมกี่รอยคน สวนประชาชนจํานวนมากในหลายประเทศเองก็ไมตระหนักวา โทษประหารไมไดชวยสงเสริมการ

คุมครองตอสังคมเลย แตกลับสงเสริมการกระทําที่ทารุณโหดราย

งานศึกษาทางวิทยาศาสตรที่ผานมามักไมสามารถนําเสนอหลักฐานที่ชัดเจนวา โทษประหารมีผลยับยั้งการกอ

อาชญากรรมไดดีกวาการลงโทษรูปแบบอื่น จากการวิเคราะหขอคนพบในงานวิจัยเกี่ยวกับโทษประหารและอัตราการ

ฆาคนตาย ซึ่งเปนการสํารวจขององคการสหประชาชาติเมื่อป 2531 และมีการปรับปรุงขอมูลในป 2539 และ 2545

สรปุวา “...งานวจิยัทีม่อียูไมสามารถใหหลกัฐานอยางเปนวทิยาศาสตรทีแ่สดงใหเหน็วาการประหารชวีติมผีลยบัยัง้

การกออาชญากรรมมากกวาการจําคุกตลอดชีวิต และไมมีแนวโนมวาจะมีหลักฐานสนับสนุนไดในเวลาอันใกล

หลักฐานที่เราคนพบสวนใหญ ไมสนับสนุนสมมติฐานในเชิงปองกันอาชญากรรมเลย”

โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ6

ตัวเลขอาชญากรรมลาสุดในประเทศท่ียกเลิกโทษประหาร ก็ไมบงบอกวาการยกเลิกโทษประหารสงผลในทางลบ

แตอยางใด อยางเชนในแคนาดา อัตราการฆาตกรรมตอประชากร 100,000 คนลดจากตัวเลขสูงสุดที่ 3.09 ในป 2518

กอนที่จะมีการยกเลิกโทษประหาร ลงมาเหลือ 2.41 ในป 2523 และจากนั้นมาก็มีอัตราลดลงเรื่อยๆ และในป 2546

27 ปหลังจากยกเลิกโทษประหาร อัตราการฆาตกรรมอยูที่ 1.73 ตอประชากร 100,000 คน ตํ่ากวาป 2518

ถึง 44% และถือวาตํ่าสุดในรอบสามทศวรรษ แมวาตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเปน 2.0 ในป 2548 แตก็ยังถือวาเปนอัตรา

ที่ตํ่ากวาตัวเลขในชวงที่เริ่มมีการยกเลิกโทษประหารถึงหนึ่งในสาม

เปนการไมถูกตองที่จะเหมาเอาวาคนที่กออาชญากรรมรายแรง อยางเชนการฆาตกรรม จะมีการไตรตรอง

อยางเปนเหตุผลถึงผลลัพธที่จะเกิดขึ้น บอยครั้งที่การฆาคนตายมักเกิดขึ้นในชวงที่อารมณอยูเหนือเหตุผล หรือตกอยู

ใตอิทธิพลของยาเสพติดหรือสุรา บางคนท่ีกออาชญากรรมรุนแรงเปนเพราะเกิดจากสภาพความไมม่ันคงดานจิตใจหรือ

อารมณเปนอยางมาก แอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนลพบวาหนึ่งในสิบของนักโทษในแดนประหารของสหรัฐอเมริกา

ตั้งแตป 2520 เปนตนมา เกิดภาวะผิดปรกติดานจิตใจอยางรุนแรง เปนเหตุใหพวกเขาไมสามารถทําความเขาใจ

โทษประหารที่ไดรับอยางเปนเหตุเปนผลได ไมเขาใจถึงเหตุผลหรือผลลัพธที่จะเกิดขึ้น ในกรณีเหลานั้น จะเห็นไดวา

โทษประหารไมไดมีผลในลักษณะท่ีทําใหคนยับย้ังช่ังใจไดเลย นอกจากน้ัน ผูท่ีวางแผนลวงหนาท่ีจะกออาชญากรรม

รายแรง ก็ยังเลือกท่ีจะกระทําความผิดน้ันตอไปแมจะมีความเส่ียงจากโทษประหาร เพราะพวกเขาเช่ือวาจะสามารถ

หนีรอดจากการถูกจับกุมตัวได โทษประหารอาจมีผลในเชิงปองกันไดก็ในกรณีที่มีแนวโนมจะสามารถเพิ่มอัตราการ

คนหาผูกระทําผิด จับกุมและลงโทษได

การไมมีหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงใหเห็นวาโทษประหารมีผลในเชิงปองกันอาชญากรรม ชี้ใหเห็นถึงความ

ไรประโยชนและอันตรายจากการเชื่อในสมมติฐานเรื่องผลในเชิงปองกัน และนําขอมูลนั้นมากําหนดนโยบายใชโทษ

ประหารของรัฐ โทษประหารเปนการลงโทษที่รุนแรง แตไมมีผลรุนแรงพอตอการลดจํานวนของอาชญากรรม

ไมมีความจำาเปนที่จะตองประหารนักโทษบางคนเพื่อปองกันไมใหเขากระทำาความผิดซำ้าเลยหรือ?

การใชโทษประหารเพื่อปองกันการกระทําผิดซํ้าเปนการใชเครื่องมืออยางหยาบๆ เพราะในทางปฏิบัติแลว

เราใชโทษประหารกับนักโทษที่อยูระหวางการคุมขัง ซึ่งนักโทษเหลานั้นอยูในเรือนจําและถูกแยกตัวออกมาจากสังคม

อยูแลว ยากนักที่นักโทษคนดังกลาวจะกอความรุนแรงในสังคมไดอีก การใชโทษประหารเพื่อเปนมาตรการเชิงปองกัน

จึงไมใชสิ่งจําเปน

ตางจากการคุมขัง โทษประหารอาจนําไปสูความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมที่ไมอาจเยียวยาแกไข

ไดอีก มีความเสี่ยงเสมอที่ผูตองขังบางคนซึ่งเปนผูบริสุทธิ์อาจถูกประหาร และโทษประหารจะไมชวยปองกัน

พวกเขาจากการกระทําผิดซํ้าอีก ซึ่งจริงๆ เขาไมไดเปนผูกระทําผิดตั้งแตตนดวยซํ้า

เราไมสามารถประเมินไดวาผูที่ตองโทษประหารจะกระทําผิดซํ้าจริงๆ อีกหรือไม เพราะการประหารชีวิตเปน

การพรากชีวิตนักโทษ ซึ่งในทางทฤษฎียอมทําใหเขาไมมีโอกาสกระทําความผิดซํ้าอีกอยางแนนอน ทั้งยังเปน

การกระทําที่ขัดกับหลักการฟนฟูแกไขผูกระทําความผิด

7โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ

บางคนอาจแยงวา การคุมขังเพียงอยางเดียวไมสามารถปองกันบุคคลที่เคยถูกคุมขังมาแลวจากการกระทําผิด

ซํ้าอีก หากไดรับการปลอยตัว คําตอบคงอยูที่การทบทวนขั้นตอนปฏิบัติในการอภัยโทษ โดยพยายามปองกันไมใหเกิด

การกระทําผิดซํ้า แตแนนอนวาคําตอบไมไดอยูที่การเพิ่มจํานวนการประหารชีวิต

แตอันที่จริง คนที่กออาชญากรรมรายแรงหรือคนที่ฆาคนอื่นก็สมควรแลวที่ตองตายตกไปไมใชหรือ?

เราไมอาจใชการประหารชีวิตเพื่อลงโทษการฆาคนได พฤติการณของรัฐเชนนั้นเปนกระจกสะทอนถึงเจตจํานง

ของอาชญากรที่จะใชความรุนแรงทางกายตอผูเสียหายเชนกัน นอกจากนั้น ระบบยุติธรรมทางอาญาใดๆ ก็เสี่ยงที่จะ

เกิดการเลือกปฏิบัติและมีขอผิดพลาดไดทั้งนั้น

ไมมีระบบใดสามารถตัดสินหรือจะตัดสินวาใคร

จะอยู หรือใครจะตายอย างเป นธรรมอย าง

สมํ่าเสมอและไมมีขอบกพรองเลย การเรงรัดคด ี

การตัดสินใจโดยใชอัตวินิจฉัยและความเห็น

ของสาธารณะอาจมีอิทธิพลตอข้ันตอนปฏิบัติ

ตั้งแตการจับกุมในเบื้องตนไปจนถึงวินาทีสุดทาย

ของการขออภัยโทษ

โดยสาระแลว สิทธิมนุษยชนเปนสิทธิที ่

ไมอาจพรากไปได เปนสิทธิที่บุคคลทุกคนพึงม ี

อยางเทาเทียมกัน ไมวาจะมีสถานภาพ ชาติพันธุ

ศาสนา หรือชาติกําเนิดอยางใด เปนสิทธิที่ไมอาจ

พรากไปจากบุคคลใดไมวาบุคคลนั้นไดกออาชญากรรมอยางไรขึ้นมาก็ตาม ตั้งแตคนที่เลวสุดและคนที่ดีสุดลวนม ี

สิทธิมนุษยชนทั้งสิ้น โดยเปนสิทธิที่คุมครองเราทุกคน ชวยรักษาชีวิตของเราไว

นอกจากนั้น ประสบการณชี้ใหเห็นวาเมื่อมีการใชโทษประหาร จะตองมีบางคนที่ถูกสังหาร ในขณะที่บางคน

ที่กออาชญากรรมคลายคลึงกันหรือรายแรงกวากลับรอดตัวไป นักโทษที่ถูกประหารอาจไมใชผูกออาชญากรรมรายแรง

ในเบื้องตนก็ได แตอาจเปนผูที่ยากไรและไมสามารถวาจางทนายความฝมือดีๆ มาแกตางใหกับตนเอง หรืออาจเปน

เพราะตองเจอกับพนักงานอัยการหรือศาลที่ไมเปนธรรมก็ได

โทษประหารเปนมาตรการจำาเปนเพื่อหยุดยั้งการกอการรายและความรุนแรงทางการเมืองหรือไม?

เจาหนาที่ผูรับผิดชอบในการแกปญหาการกอการรายและความรุนแรงทางการเมืองไดชี้ใหเห็นครั้งแลวครั้งเลา

วา การประหารชีวิตอาจมีผลทั้งในเชิงเพิ่มหรือหยุดยั้งการกระทําเหลานั้นก็ได การประหารชีวิตอาจสงผลใหมีคน

พรอมจะเสียสละชีวิตตนเองเพื่อเปนแรงกระตุนใหกับสมาชิกคนอื่นๆ ในองคกร สําหรับชายและหญิงที่พรอมจะ

สละชีวิตตนเองเพื่อความเชื่อของตน อยางเชน ผูวางระเบิดพลีชีพ โอกาสที่การประหารชีวิตจะมีผลในเชิงยับยั้ง

การกระทํามีอยูนอย ในทางกลับกันอาจกลายเปนแรงกระตุนใหกระทําการดวยซํ้า

โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ8

การใชโทษประหารของรัฐไดถูกนํามาเปนขออางเพื่อสรางความชอบธรรมกับการตอบโตตอฝายตอตานรัฐบาลที่

ติดอาวุธดวย ซึ่งจะนําไปสูวงจรความรุนแรง

การคุมขังนักโทษเปนเวลานานหรือการคุมขังตลอดชีวิต อาจจะโหดรายกวาการสังหารเขาไปดวยซำ้า

จริงหรือไม?

ตราบใดที่นักโทษยังมีชีวิตอยู พวกเขายอมมีความหวังที่จะไดกลับตัวกลับใจหรือไดรับการลางมลทินในกรณ ี

ที่เปนนักโทษที่ภายหลังพบวาเปนผูบริสุทธิ์ แตการประหารชีวิตปดกั้นโอกาสที่จะไดรับการเยียวยาจากความผิดพลาด

ในกระบวนการยุติธรรม หรือโอกาสในการกลับตัวกลับใจ

โทษประหารเปนการลงโทษที่ตางจากการลงโทษรูปแบบอื่น ไมเหมือนกับการคุมขัง เพราะมีความโหดรายของ

การประหารชีวิตและความทารุณที่ถูกบังคับใหตองรอเวลาในแดนประหาร ซึ่งมักกินเวลาหลายป เฝารอวาเมื่อใดจะ

ถูกประหาร

เราจะอธิบายอยางไรที่ประเทศตางๆ อางวาเสียงเรียกรองใหมีการยุติการใชโทษประหารชั่วคราวในระดับ

โลก ที่จริงแลวเปนความพยายามของชาติตะวันตกที่จะ “บังคับใหเรารับเอาคุณคาทางวัฒนธรรมของพวก

เขามา”?

แอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนลยินดีรับฟงวาทกรรมที่หลากหลายดานสิทธิมนุษยชน ซึ่งอาจแตกตางไปตาม

วัฒนธรรมและศาสนา รวมทั ้งความเชื่อและความเขาใจที ่มีตอสิทธิมนุษยชน แตในเวลาเดียวกัน เราเชื่อวา

สิทธิมนุษยชนมีความเปนสากล แบงแยกไมได และเชื่อมโยงกัน แมจะเปนแนวคิดที่พัฒนาขึ้นมาในบริบทของ

โลกตะวันตก แตเนื้อหาไมไดเหมือนในตะวันตกทั้งหมด หากมีรากเหงาแฝงอยูในจารีตตางๆ และเปนที่ยอมรับใน

บรรดาภาคีสมาชิกองคการสหประชาชาติ โดยถือเปนบรรทัดฐานที่เห็นชอบวาตองปฏิบัติตาม

ควรสังเกตดวยวาประเทศตางๆ ที่ยกเลิกการใชโทษประหารมาจากหลายภูมิภาคและวัฒนธรรมดวยกัน จึง

ไมอาจอางไดวาการยกเลิกโทษประหารเปนกิจกรรมที่รณรงคกันเฉพาะบางพื้นที่ของโลก

ในการตอตานโทษประหาร แสดงวาแอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนลวิพากษวิจารณศาสนาหลักๆ ในโลก

ที่อนุญาตใหมีการประหารใชหรือไม?

ศาสนาหลักในโลกมีคําสอนที่เนนความเมตตา กรุณา และการใหอภัย แอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนลเรียกรอง

ใหยุติการประหารชีวิตซึ่งก็สอดคลองกับคําสอนเหลานี้

ในรัฐตางๆ ที่ยังคงใชโทษประหารในหลายภูมิภาคของโลกมีนิกายหลักๆ แตกตางกันไป ในทํานองเดียวกัน

รัฐที่ยกเลิกโทษประหารไปแลวทั้งในเชิงกฎหมายหรือในทางปฏิบัติก็มีอยูทั่วโลกเชนกัน และมีศาสนาแตกตางกันไป

โทษประหารไมใชสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในบางศาสนา จึงไมอาจตีความไดวาการรณรงคเพื่อยกเลิกโทษประหารของ

แอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนล เปนการโจมตีศาสนาใดศาสนาหนึ่งเปนการเฉพาะ แอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนลเปน

หนวยงานที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุและวัฒนธรรมและไมเกี่ยวของกับการเมือง โดยทํางานตามหลักสิทธ ิ

มนุษยชนสากล สมาชิกของเรามาจากหลายภาคสวนของโลก และมาจากศาสนาตางๆ มากมาย

9โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ

รัฐจะยกเลิกโทษประหารไดอยางไรในเมื่อคนสวนใหญยังมีความเห็นชอบกับโทษประหาร?

เหตุผลที่มีเสียงสนับสนุนโทษประหารมากมายจากสาธารณชน อาจมีความซับซอนและไมตรงกับขอเท็จจริง

กรณีที่มีการแจงใหสาธารณะทราบขอมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโทษประหารและวิธีการนํามาใช คนจํานวนมากยอมพรอม

ที่จะสนับสนุนการยกเลิกโทษประหาร

การสํารวจความเห็นที่มักแสดงถึงเสียงสนับสนุนจํานวนมากตอโทษประหาร มักกระทําโดยไมคํานึงถึงความ

ซับซอนของความเห็นของสาธารณะ และไมคํานึงถึงความเขาใจที่ถูกตองเกี่ยวกับสถานการณดานอาชญากรรมใน

ประเทศ รวมทั้งไมไดชวยใหเขาใจสาเหตุและวิธีการแกปญหาที่มีอยู

การที่คนจํานวนมากสนับสนุนโทษประหาร สวนใหญแลวเปนผลมาจากความเชื่ออยางผิดๆ วาเปนวิธีการ

ตอตานอาชญากรรมท่ีไดผล ความจริงสิ่งท่ีสาธารณะตองการอยางยิ่ง คือมาตรการที่ลดการกออาชญากรรมได

อยางแทจริง ถานักการเมืองสนับสนุนใหใชโทษประหารเพื่อเปนมาตรการตอบโตอาชญากรรม ประชาชนก็อาจ

เห็นชอบดวยเพราะเชื่อวาจะแกปญหาได รัฐบาลจึงมีหนาที่แกปญหาความผิดทางอาญาอยางมีประสิทธิภาพ โดย

ไมจําเปนตองใชวิธีละเมิดสิทธิมนุษยชนอยางเชนการใชโทษประหาร

การศึกษาและอิทธิพลของผูนําทางศีลธรรมทําใหเกิดความเห็นของสาธารณชน ดังนั้น รัฐบาลควรเปนผูนํา

ทางความคิดในกรณีที่เกี่ยวของกับสิทธิมนุษยชนและนโยบายดานอาชญากรรม การตัดสินใจที่จะยกเลิกโทษประหาร

ตองกระทําโดยรัฐบาลและสมาชิกรัฐสภา การตัดสินใจเชนนี้สามารถเดินหนาตอไปไดแมวาคนสวนใหญจะเห็นชอบกับ

โทษประหาร ซ่ึงท่ีผานมาในประวัติศาสตรก็มักเปนเชนน้ัน แตกรณีท่ีมีการยกเลิกโทษประหาร ก็ไมไดเกิดเสียงคัดคาน

อยางรุนแรง และเมื่อยกเลิกแลวก็มักไมนํากลับมาใชอีก

รัฐบาลไมมีความชอบธรรมที่จะทรมานนักโทษหรือฟองรองดําเนินคดีตอกลุมชาติพันธุที่เปนชนกลุมนอย เพียง

เพราะประชาชนสวนใหญเรียกรองตองการ ครั้งหนึ่งการเอาคนเปนทาสก็เปนวิธีการที่ถูกกฎหมาย และมีการยอมรับ

อยางกวางขวางเชนกัน แตตอมาก็ลมเลิกไปเพราะการตอตานของฝายที่ใชเหตุผลทางศีลธรรม

มีสัญญาณอะไรบางที่ชี้วาการตอสูเพื่อยกเลิกโทษประหารมีแนวโนมจะไดรับชัยชนะ?

ในชวงเปลี่ยนศตวรรษที่ผานมามีเพียง

สามประเทศที่ยกเลิกโทษประหารสําหรับ

อาชญากรรมใดๆ อยางถาวร แตปจจุบันนี้

ในชวงตนศตวรรษที่ 21 สองในสามของ

ประเทศตางๆ ในโลกไดยกเลิกโทษประหาร

ทั้งในทางปฏิบัติหรือในกฎหมายไปแลว

อันที่จริงในชวงกวาทศวรรษที่ผานมา ใน

แตละปเฉลี่ยแลวจะมีมากกวาสามประเทศ

ที่ยกเลิกโทษประหารในทางกฎหมาย หรือ

ยกเลิกนํามาใชกับอาชญากรรมทั่วไป และ

ตอมามีการยกเลิกการใชกับอาชญากรรม

โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ10

ทุกประเภท และหลังจากยกเลิกไปแลว ไมคอยมี

ประเทศไหนนําโทษประหารกลับมาใชอีก

[รายชื่อลาสุดของประเทศท่ียกเลิกและ

ประเทศที่ยังคงใชโทษประหาร ดูไดจากเว็บไซต

ของแอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนล

www.amnesty.org.]

สัญญาณอื่นๆ ไดแก:

ยุ โรปจะเป นภูมิภาคที่ปลอดการใช

โทษประหาร และการมีบทบาทมากขึ้นในการ

สงเสริมการยกเลิกโทษประหารทั่วโลก

ประเทศสวนใหญในแอฟริกาไมมีการประหารชีวิต กลาวคือจากขอมูลที่มีอยู มีเพียง 6 จาก 53 ประเทศที่มี

การประหารชีวิตในป 2549

สหรัฐฯ ก็มุงสูทิศทางยกเลิกโทษประหารอยางชาๆ ตั้งแตป 2549 เปนตนมา หลายรัฐไดชะลอการประหารชีวิต

เอาไว เพราะมีขอโตแยงและขอกังวลดานกฎหมายที่เกี่ยวของกับการฉีดยาเพื่อประหาร มีคนอเมริกันจํานวนมาก

ที่สนับสนุนขอเรียกรองใหยุติการประหารชีวิตชั่วคราวในรัฐนอรธแครโรไลนา กลาวคือมีหนวยงานของรัฐในพื้นที่กวา

40 แหงและประชาชนกวา 40,000 คนที่รวมกันลงนามในขอเสนอใหยุติการประหารชีวิตชั่วคราว ในนิวยอรก ศาล

สูงสุดของรัฐมีความเห็นเมื่อป 2547 วาโทษประหารตามกฎหมายของรัฐไมสอดคลองกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

แตจนถึงชวงตนป 2550 ยังคงไมมีการแกไขกฎหมายนี้ใหม ที่รัฐนิวเจอรซีในป 2549 สภาของรัฐกําหนดใหมีการยุติ

การประหารชีวิตชั่วคราว และจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแงมุมตางๆ ของโทษประหารในรัฐนั้น ในรายงานฉบับ

สมบูรณเมื่อเดือนมกราคม 2550 คณะกรรมการมีขอเสนอแนะใหยกเลิกโทษประหาร

มีการสื่อสารและรวมมือกันมากขึ้นในบรรดาหนวยงานที่สนับสนุนการยกเลิกโทษประหาร ดังจะเห็นไดจากการ

จัดประชุมในระดับโลกสามครั้งเพื่อตอตานโทษประหาร การจัดตั้งพันธมิตรระดับนานาชาติเพื่อตอตานโทษประหาร

และการจัดตั้งพันธมิตรระดับชาติในหลายประเทศ รวมทั้งเครือขายปฏิบัติการตอตานโทษประหารในเอเชีย (Anti-

Death Penalty Action Network - ADPAN)

มีการลงนามในกฎหมายระหวางประเทศ (รวมทั้งการรับรองสนธิสัญญายกเลิกโทษประหารที่มีผลบังคับใช

ตามกฎหมาย และการใหสัตยาบันรับรองในประเทศตางๆ เพิ่มมากขึ้น) มีการปฏิบัติของหนวยงานขององคการ

สหประชาชาติ และมีคําตัดสินและขอเสนอแนะของศาลระหวางประเทศและหนวยงานติดตามดูแลสนธิสัญญา

แนวโนมเหลานี้สะทอนถึงความตระหนักรูที่เพิ่มขึ้นวา นอกเหนือจากการประหารชีวิต ยังมีทางเลือกอื่น

ในการลงโทษที่มีประสิทธิภาพ เปนทางเลือกที่รัฐไมตองใชกระบวนการยุติธรรม (หรือขออางเรื่องความยุติธรรม)

สังหารบุคคลอยางเลือดเย็นโดยมีการไตรตรองไวกอน

11โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ

การฉีดยาเพื่อประหารเปนการสังหารบุคคลที่เจ็บปวดนอยที่สุดและมีมนุษยธรรมมากสุดไมใชหรือ?

การฉีดยาเพื่อประหารนําไปสูปญหาตางๆ เชนกัน ในการฉีดยาเพื่อประหารครั้งแรกที่ประเทศกัวเตมาลา

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ 2541 เจาหนาที่ซึ่งตองฉีดยาเพื่อประหารมานูเอล มารติเนซ โคโรนาโด (Manuel Martinez

Coronado) มีอาการตื่นตระหนกกังวลอยางเห็นไดชัด (มีรายงานขาววาเปนเพราะเสียงรํ่าไหของภรรยาและบุตรของ

นักโทษ) พวกเขาใชเวลานานมากกวาจะยึดโยงสายตางๆ สําหรับฉีดยาเขาสูรางกาย ตอมาไดเกิดไฟฟาขัดของ

เปนเหตุใหการฉีดยาชะงักไป และตองใชเวลาถึง 18 นาทีกวานักโทษจะเสียชีวิต มีการถายทอดการประหาร

ทุกขั้นตอนทางสถานีโทรทัศนของรัฐ ในสหรัฐอเมริกา การฉีดยาเพื่อประหารหลายครั้งตองสะดุดหยุดลง เพราะปญหา

สภาพเสนเลืิอดที่ไมคอยดีของนักโทษ เนื่องจากเคยฉีดยาเสพติดมากอน

แองเจล นีเวส ดิแอซ (Angel Nieves Diaz) จากเปอรโตริโก ซึ่งตองโทษประหารเนื่องจากการฆาตกรรมที่

เกิดขึ้นในป 2522 ใชเวลาถึง 34 นาทีกวาจะเสียชีวิตจากการฉีดยาเพื่อประหารในวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ตองมี

การฉีดยาซํ้าอีกหนึ่งโดส กอนที่แพทยซึ่งสวมถุงคลุมศีรษะเพื่อปกปดใบหนาตนเองจะเขามาดูอาการและสงสัญญาณวา

แองเจล ดิแอซเสียชีวิตแลว

การประหารชีวิตยังดําเนินตอไปแมในกรณีที่พยานสําคัญฝายโจทกกลับคําใหการในขอกลาวหาตอแองเจล

ดิแอซ ซ่ึงแมในวาระสุดทายก็ยังยืนยันวาเขาเปนผูบริสุทธ์ิ ประมาณหน่ึงช่ัวโมงหรือมากกวาน้ันกอนท่ีการประหารชีวิต

จะเกิดขึ้น ศาลฎีกาปฏิเสธคําอุทธรณของแองเจล ดิแอซที่ยกประเด็นนี้ขึ้นตอสู รวมทั้งขอตอสูที่วาการฉีดยาเพื่อ

ประหารของรัฐฟลอริดาขัดกับรัฐธรรมนูญ

ในวันที่ 15 ธันวาคม 2549 เจบ บุช (Jeb Bush) ผูวาการรัฐฟลอริดายุติการประหารชีวิตและแตงตั้งคณะ-

กรรมการเพื่อประเมินวาการฉีดยาเพื่อประหารขัดกับขอหามของรัฐฟลอริดาที่มีตอการลงโทษที่โหดรายและผิดปกติ

หรือไม โดยจะไมมีการลงนามในคําสั่งใหประหารชีวิตอีกจนกวาคณะกรรมการจะแถลงขอเท็จจริง จากการศึกษา

ในเดือนมีนาคม 2550 รัฐอื่นๆ ในสหรัฐฯ ก็มีการทบทวนขั้นตอนปฏิบัติของการฉีดยาเพื่อประหารเชนกัน ยิ่งเปน

การสนับสนุนขอถกเถียงที่วา การฉีดยาเพื่อประหารที่อางวา “มีมนุษยธรรม” นั้น อันที่จริงไมไดโหดรายหรือทรมาน

นอยไปกวาวิธีการอื่นเลย

สหรัฐอเมริกาเริ่มใชการประหารชีวิตดวยการฉีดยาเมื่อเกือบ 30 ปกอน โดยใชเปนครั้งแรกเมื่อป 2525 นับแต

น้ันมา มนีกัโทษทีถ่กูประหารดวยวธิกีารเชนนีใ้นสหรัฐฯ เกอืบ 900 คน เปนวธิทีีน่าํมาใชแทนวธิปีระหารแบบอืน่ทัง้การนัง่

เกาอี้ไฟฟา การแขวนคอ การรมกาซและการยิง เกือบ 20 ปหลังจากมีการนําวิธีการประหารชีวิตโดยการฉีดยามาใิช

เปนกฎหมายในสหรัฐอเมริกา ประเทศอื่นๆ เชน จีน กัวเตมาลา ฟลิปปนส ไตหวัน และไทยก็ไดนํากฎหมายนี้มาใชดวย

(ตอมาฟลิปปนสยกเลิกโทษประหารในเดือนมิถุนายน 2549)

การฉีดยาเพื่อประหารชวยหลีกเลี่ยงสภาพที่ไมพึงประสงคหลายอยางเมื่อเปรียบเทียบกับการประหารชีวิต

ในรูปแบบอ่ืน กลาวคือไมมีการสูญเสียอวัยวะและไมมีเลือดไหลนองเน่ืองจากการห่ัน ไมมีกล่ินของเน้ือยางเน่ืองจาก

การช็อตดวยไฟฟา ไมมีภาพและ/หรือเสียงที่นาบาดใจเนื่องจากการรมกาซและแขวนคอ ไมมีปญหาการกลั้นอุจจาระ

และปสสาวะไมอยู ดวยเหตุดังกลาว วิธีการนี้อาจเปนสิ่งที่พึงประสงคมากกวาสําหรับผูที่ตองทําหนาที่ประหารชีวิต

อยางไรก็ตาม การฉีดยาเพื่อประหารทําใหเกิดความเสี่ยงมากขึ้นวาบุคลากรทางการแพทยที่เกี่ยวของกับการประหาร

ชีวิตของรัฐ ไดละเมิดตอหลักจรรยาบรรณของแพทยที่ดํารงสืบมาเปนเวลานาน

โทษประหาร คำาถามและคำาตอบ12

แอมเนสตี้ อินเตอรเนชั่นแนล ประเทศไทย

90/24 ซอยลาดพราว 1 ถ.ลาดพราวจอมพล จตุจักร กรุงเทพฯ 10900โทรศัพท 0 2513 8745, 0 2513 8754โทรสาร 0 2939 2534อีเมล [email protected]เว็บไซต www.amnesty.or.th

การประหารชีวิตไมวาในรูปแบบใดเปนสิ่งที่ไรมนุษยธรรม การประหารชีวิตทุกรูปแบบนํามาซึ่งความเจ็บปวด

และผลลัพธที่ไมพึงประสงค นอกจากนั้นเราควรระลึกดวยวา โทษประหารไมไดมีผลเฉพาะชวงเวลาไมกี่นาทีที่มีการ

นําตัวนักโทษจากหองขังไปประหาร แตนักโทษในแดนประหารตองอยูกับความตายตลอดเวลา นับตั้งแตวันที่ถูกตัดสิน

ประหารชีวิต

เราจึงควรพิจารณาวาการคนหาวิธีสังหารมนุษยอยาง “มีมนุษยธรรม” มีอยูจริงหรือ หรือเปนเพียงการคนหา

เพื่อทําใหการประหารชีวิตดูนาอภิรมยมากขึ้นสําหรับผูที่เกี่ยวของกับการประหาร สําหรับรัฐบาลที่ตองการสรางภาพ

วามีมนุษยธรรม และสําหรับสาธารณชนที่ชื่อของพวกเขาจะถูกใชในการประหารชีวิต

ทานสามารถอานเอกสารเพิ่มเติมไดจากเว็บไซต www.amnesty.org