Transcript
  • 9.1 สาเหตุของการเกิดฟอลต 9.2 การปองกันฟอลต 9.3 ชนิดของฟอลต 9.4 คุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    ความผิดปกติที่เกิดข้ึนกับระบบสายสงไฟฟาหรือที่เรียกวาฟอลต (Fault) เปนสาเหตุที่ทําใหไฟฟาดับ

    โดยไมไดอยูในแผนการดับไฟของการไฟฟา ซึ่งเงื่อนไขตางๆ เหลาน้ีเปนสาเหตุทําใหเกิดความผิดปกติในระบบ เชน การสูญเสียความเปนฉนวนของอุปกรณ หรือการเกิดการวาบไฟตามผิว (Flashover) ของสายสงโดยเกิดจากฟาผาหรือเกิดจากความผิดปกติในการทํางานของระบบ ซึ่งการเกิดฟอลตนอกจากจะทําใหเกดิผลเสียหายตอระบบสงจายกําลังไฟฟาแลวยังเกิดความสูญเสียทั้งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเปนอยางมาก ดังน้ันเพื่อใหระบบไฟฟากําลังสามารถทํางานอยางมีประสิทธิภาพ และลดความเสียหายที่คาดวาจะเกิดข้ึนกบัอุปกรณไฟฟา จึงจําเปนตองมีระบบปองกันที่สามารถทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพและเช่ือถือได

    จุดประสงคท่ัวไป มีความรู ความเขาใจเกี่ยวกับสภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    จุดประสงคเชิงพฤติกรรม 1) บอกสาเหตุของสภาวะผิดปกติของสายสงได 2) บอกวิธีการปองกันฟอลตได 3) จําแนกประเภทของสภาวะผิดปกติของสายสงได 4) จําแนกลักษณะของปญหาคุณภาพกําลงัไฟฟาได

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    230 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    จงเลือกขอที่ถูกตองที่สุดเพียงขอเดียว 1. ขอใดกลาวถึงประโยชนของการศึกษาเรื่องฟอลตหรือการลดัวงจรของสายสงไดถูกตองที่สุด

    ก. ใชในการหาประสทิธิภาพของสายสง ข. ใชในการหาคาความสูญเสียในสายสง ค. ทําใหทราบถึงความตองการใชไฟฟาที่แทจรงิ ง. ใชในการควบคุมและวางแผนระบบในอนาคต จ. ใชหาขนาดของอุปกรณปองกัน และรูปแบบของการปองกัน

    2. ขอใดเปนสาเหตุที่ทําใหเกิดฟอลตในระบบมากทีสุ่ด ก. ปญหาไฟฟาดับทีเ่กิดจากการกระทําของคน ข. กําลังการผลิตไฟฟาไมเพียงพอ ค. สภาพอากาศและสิ่งแวดลอม ง. เหตุขัดของทางดานเทคนิค จ. เกิดจากสัตวตางๆ

    3. การเกิดฟอลตในขอใดเมื่อเกิดข้ึนแลวจะเปนฟอลตที่มีความรุนแรงมากทีสุ่ด ก. Line to line fault ข. Three phase fault ค. Single phase fault ง. Single line to ground fault จ. Double line to ground fault

    4. การเกิดฟอลตในระบบไฟฟาในขอใดเกิดข้ึนบอยครัง้ทีสุ่ด ก. Three phase fault ข. Line to line fault ค. Single line to ground fault ง. Double line to line fault จ. Double line to ground fault

    5. ขอใด ไมใช วิธีปองกันการเกิดฟอลตในระบบไฟฟา ก. เพิ่มคาความเปนฉนวนของระบบใหสงูข้ึน ข. การติดต้ังอปุกรณปองกันเพิม่ข้ึนในระบบ ค. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบสายสง ง. เพิ่มขนาดกระแสของอุปกรณปองกันใหสงูข้ึน จ. เพิ่มการตรวจเช็คสภาพของฉนวนในระบบ

    แบบทดสอบกอนเรียน หนวยท่ี 9 เรื่อง สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    231 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    6. Voltage sag มีความหมายตรงกับขอใด ก. ปญหาจากแรงดันไฟดับช่ัวระยะสั้น ข. ปญหาจากแรงดันตกช่ัวระยะสั้น ค. ปญหาจากแรงดันเกินช่ัวระยะสั้น ง. การเปลี่ยนแปลงแรงดันชวงระยะสั้น จ. ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาสงู เกิดข้ึนในทันททีันใด

    7. ขอใดคือ ไฟดับชวงสั้น ก. Voltage Interruption ข. Voltage swell ค. Voltage sag ง. Voltage dip จ. Under voltage

    8. ขอใดกลาวถึง การเกิดออสซิเลตช่ัวครู (Oscillatory transient) ไดถูกตองที่สุด ก. ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาสงู เกิดข้ึนในทันททีันใด มีความถ่ีเปลี่ยนแปลง ข. ขนาดกระแสและแรงดันที่มีคาความชันสูงมาก เกิดข้ึนทันททีันใด ไมมีความถ่ีเปลี่ยนแปลง ค. ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาตํ่า เกิดข้ึนในทันททีันใด มีความถ่ีเปลี่ยนแปลง ง. ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาตํ่า เกิดข้ึนในทันททีันใด ไมมีความถ่ีเปลี่ยนแปลง จ. ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาสงู เกิดข้ึนในทันททีันใด ไมมีความถ่ีเปลี่ยนแปลง

    9. ขอใดเปนสาเหตุทําใหแรงดันไฟฟาตก ก. เกิดจากความไมสมดุลขนาดของโหลดแตละเฟส ข. ผลจากการเกิดฮารมอนิกข้ึนในระบบ ค. ความถ่ีของระบบไฟฟามีคาลดลง ง. การสวิตช่ิงโหลดขนาดใหญเขาระบบ จ. การปลดโหลดขนาดใหญทันททีันใด

    10. ขอใดกลาวถึง ฮารมอนิก (Harmonic) ไดถูกตองที่สุด ก. เกิดจากโหลดประเภทมอเตอรอินดักช่ัน ข. แรงดันของระบบ 3 เฟสมีขนาดแตกตางกัน ค. เกิดจากอุปกรณปองกันมกีารตัดวงจรบอยครัง้ ง. เกิดจากผลของการใชงานอุปกรณประเภทอิเล็กทรอนิกสกําลัง จ. สาเหตุเกิดจากการสวิตช่ิงของอุปกรณในระบบ ผลทําใหอุปกรณไฟฟาไดรับความเสียหาย

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    232 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    ความผิดปกติที่เกิดข้ึนกับระบบสายสงไฟฟาหรือที่เรียกวาฟอลต (Fault) เปนสาเหตุที่ไมพึงประสงคและไมอาจหลีกเลี่ยงได เน่ืองจากสายสงไฟฟาถูกติดต้ังไวบนอากาศ จึงมีโอกาสเกิดสภาวะผิดปกติ (Abnormal condition) ไดตลอดเวลา เมื่อเกิดการลัดวงจรหรือมีฟอลตเกิดข้ึน สงผลใหอุปกรณที่เปนองคประกอบของระบบไฟฟาไดรับความเสียหาย ที่สําคัญคืออาจจะทําใหไฟฟาดับเปนบริเวณกวางอีกดวย ดังน้ันการศึกษาเรื่องฟอลตหรือการลัดวงจรของสายสงจึงใหประโยชนดังน้ี

    1) ทําใหทราบระดับกระแสและแรงดันขณะที่เกิดฟอลต 2) สามารถนําคากระแสลัดวงจรไปกําหนดขนาดของอุปกรณปองกัน และรูปแบบของการปองกัน

    ระบบไฟฟาของการไฟฟาฝายผลิต (กฟผ.) เปนระบบขนาดใหญมีการเช่ือมโยงสายสงไฟฟาไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ ผานภูมิประเทศและผานพื้นที่ราษฎรที่มีอาชีพแตกตางกันออกไป นอกจากการไฟฟาฝายผลิตมีระบบสายสงไฟฟาแลว การไฟฟาสวนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟานครหลวง (กฟน.) ก็จําเปนตองมีระบบสายสงไฟฟาเชนกัน ซึ่งการไฟฟาทั้งสองแหงน้ีจะรับพลังไฟฟาจากการไฟฟาฝายผลิต และลดแรงดันไฟฟาใหตํ่าลงแลวสงผานสายสงไฟฟาซึ่งโดยทั่วไปเสาสงไฟฟาจะต้ังอยูริมถนนและในตัวเมืองทั่วประเทศ หลังจากน้ันจะลดแรงดันไฟฟาลงอีกครั้งเพื่อสงไฟฟาจําหนายแกประชาชนโดยตรง

    การไฟฟาทั้งสามแหงไดพยายามอยางดีที่สุดในการดูแลและรักษาอุปกรณไฟฟาในระบบสงและจายกระแสไฟฟาใหสามารถจายไฟฟาไดอยางตอเน่ือง ลดปญหากระแสไฟฟาดับ เพราะปญหาไฟฟาดับเปนปญหาสําคัญอยางมากที่มีผลกระทบตอระบบเศรษฐกิจรวมของประเทศ แมวาจะมีมาตรการในการปองกันไมใหเกิดไฟฟาดับแลวก็ตาม แตหลายปที่ผานมายังมีการเกิดไฟฟาดับอยูบอยครั้ง โดยมีสาเหตุจากภายนอกที่การไฟฟาไมสามารถควบคุมเองได ดังน้ันเพื่อปองกันความเสียหายอันเกิดจากไฟฟาดับ ประชาชนผูใชไฟฟาสามารถชวยปองกันไดโดยละเวนการกระทําบางอยางที่เปนตนเหตุของไฟฟาดับและชวยกระทําในบางอยางที่สามารถปองกันไฟฟาดับ สาเหตุที่ทําใหไฟฟาดับโดยไมไดอยูในแผนการดับไฟของการไฟฟาเพื่อซอมบํารุงรักษาหรือติดต้ังอุปกรณไฟฟาเพิ่มเติม พอสรุปเปนสาเหตุใหญๆ ที่เปนปจจัยของการเกิดไฟฟาดับไดดังน้ี

    1) สภาพอากาศและสิ่งแวดลอม : อาจเกิดจากฝนตก พายุคะนอง ฟาผาลงสายสงหรืออุปกรณไฟฟา ตนไมลมทับสายสงไฟฟา เสาไฟฟาลมหรือสายไฟขาด หรือไฟปา เหลาน้ีเปนตน

    2) เหตุขัดของทางดานเทคนิค : มีสาเหตุดวยกันหลายอยาง อาทิ ขัดของในสวนระบบผลิตไฟฟา ขัดของจากอุปกรณไฟฟาผิดปกติในระบบสง การลัดวงจรของระบบสวนไฟฟา เปนตน

    3) เกิดจากสัตวตางๆ : มีสัตวอยูหลายชนิดที่เปนสาเหตุใหเกิดไฟฟาในสถานีไฟฟาแรงสูง นกตางๆ บินเกาะอุปกรณไฟฟา แมวหรือตุกแกปนข้ึนสูอุปกรณไฟฟาตางๆ เปนตน

    9.1 สาเหตุของการเกิดฟอลต

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    233 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    Lighting

    เสาโครงเหลก็ พนืดนิ

    Fault occurs

    Aerial ground line

    (Lighting arrestor)

    รูปที่ 9.1 ตัวอยางสาเหตุของการเกิดฟอลตเน่ืองจากฟาผาลงสายสง

    ทั้งสามสาเหตุที่กลาวมาแลวน้ีทําใหไมสามารถจายกระแสไฟฟาไดอยางปกติ ดังน้ัน กฟผ. กฟภ. และ กฟน. ไดพยายามแกไขและหามาตรการปองกันขอบกพรองเพื่อลดการสูญเสียของระบบไฟฟาใหนอยลงและพยายามอยางดีที่สุดที่จะนําระบบกลับเขาสูภาวะปกติใหเร็วที่สุด เพื่อจะไดมีไฟฟาใชอยางตอเน่ืองและเพียงพอ

    4) ปญหาไฟฟาดับท่ีเกิดจากการกระทําของคน : ปญหาไฟฟาดับที่เกิดจากการกระทําของคนสวนมากเกิดข้ึนเพราะความประมาท หรือความไมรู ไมเขาใจในความสําคัญของไฟฟา เชน การขับรถโดยประมาทจนเปนสาเหตุใหเสาไฟฟาลม การใชเครื่องจักรกลใกลสายสงไฟฟาอยางขาดความระมัดระวัง การตัดตนไมใกลแนวสายไฟฟา การเผาไรใตสายสงไฟฟา เปนตน สาเหตุที่เกิดจากความไมรูความไมเขาใจของประชาชนเปนสิ่งที่สําคัญที่ตองสรางความเขาใจ เพื่อใหเกิดความรวมมือ รวมใจจากประชาชนผูใชไฟฟาในการรวมกันปองกันปญหาที่จะเกิดข้ึน ซึ่งจะชวยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ อันเน่ืองจากไฟฟาดับไดอีกทางหน่ึงดวย

    รูปที่ 9.2 ตัวอยางสาเหตุของการเกิดฟอลตเน่ืองจากการกระทําของคน

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    234 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    ในการปองกันฟอลตหรือการลัดวงจรของสายสงตองอาศัยความรวมมือทั้งภาครัฐและประชาชนเพื่อใหระบบสงกําลังไฟฟามีความมั่นคงและปลอดภัย ดังน้ันจึงมีแนวทางในการปองกันดังน้ี

    9.2.1 แนวทางการปองกันฟอลตในสวนของผูดูแลระบบ (การไฟฟา) การปองกันไมใหเกิดฟอลตข้ึนในระบบถือเปนการแกปญหาแรงดันตกช่ัวขณะที่ดีที่สุด แตอยางไรก็

    ตามในความเปนจริงไมสามารถหลีกเลี่ยงปญหาดังกลาวได เน่ืองจากระบบจําหนายและสายสงที่ใชงานอยูในปจจุบันมีโอกาสเกิดฟอลตได อยางไรก็ตามการลดจํานวนครั้งของการเกิดฟอลตในระบบอาจดําเนินการไดดังน้ี

    1) การนําระบบ Underground Cables มาใชงานแทนระบบ Overhead Lines เพื่อผลในการลดจํานวนครั้งของการเกิดฟอลต แตระบบ Underground Cables ก็มีขอเสียที่ตองพิจารณาคือ เมื่อเกิดความเสียหายตองใชเวลาซอมเปนเวลานานทําใหระยะเวลาไฟดับเกิดข้ึนนานเมื่อเปรียบเทียบกับระบบ Overhead Lines

    2) การนําสายหุมฉนวน เชน Aerial Cable หรือ Partially Insulated Cable (PIC) มาใชงานแทนสายเปลือยในระบบ Overhead Lines

    3) การปองกันมิใหตนไมหรือสิ่งกอสรางตางๆ ที่อยูใกลแนวระบบจําหนายหรือสายสง ตองอยูในระยะปลอดภัย หรือครอบฉนวนไฟฟาเพื่อปองกันการเกิดฟอลต

    4) การเพิ่มคาความเปนฉนวนของระบบใหสูงข้ึน เพื่อไมใหเกิดการเบรกดาวนของฉนวนจนนําไปสูการ Flashover น้ันก็เปนอีกวิธีหน่ึงในการลดจํานวนการเกิดฟอลต โดยที่ระดับความเปนฉนวนที่เพิ่มข้ึนจะมากหรือ นอย น้ัน ข้ึนอยูกับสภาวะแวดลอมของพื้นที่ดวย อยางไรก็ตามการทํานายระดับความรุนแรงของแรงดันฟาผาน้ันกระทําไดยาก ด้ังน้ันการเกิดฟอลตก็ยังมีโอกาสเกิดข้ึนได

    5) จัดทําแผนงานการบํารุงรักษาระบบไฟฟาทั้งในสวนของผูใชและการไฟฟา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฟอลต

    9.2.2 แนวทางการปองกันฟอลตในสวนของผูใชงานระบบ (ประชาชนท่ัวไป) การสรางความมั่นคงใหกับระบบไฟฟาหรือกลาวอีกนัยหน่ึงคือการปองกันไฟฟาดับ นอกจากการ

    ไฟฟาทั้งสามแหงที่รับผิดชอบจะดูแลบํารุงรักษาระบบไฟฟาอยูแลวก็ตาม ประชาชนผูใชไฟฟาสามารถชวยปองกันไฟฟาดับไดโดยการใหความรวมมือในการระมัดระวังสาเหตุที่ทําใหเกิดปญหาไฟฟาดับจากการกระทําของคน ซึ่งขอควรระวังในการปองกันปญหาไฟฟาดับมีดังน้ี

    1) คนขับรถยนตทุกประเภทตองไมเสพของมึนเมาในขณะขับรถ การขับรถในขณะเมาสุราหรือประมาท นอกจากจะเสี่ยงตอชีวิตแลว ยังทําใหทรัพยสินอื่นๆ เกิดความเสียหายอีกดวย จากสถิติที่ผานมามีอัตราการขับรถชนเสาไฟฟาคอนขางสูง นอกจากตัวผูขับจะไดรับบาดเจ็บหรือตายแลว ยังทําใหระบบไฟฟาขัดของ ไฟดับเปนบริเวณกวาง ประชาชนไดรับความเดือดรอนธุรกิจและอุตสาหกรรมตองหยุดชะงัก ทําใหเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศอยางกวางขวางอีกดวย

    2) เจาหนาที่ผูควบคุมรถเครน ตองระมัดระวังสายสงไฟฟาแรงสูง การทํางานของรถยกทุกประเภทใกลสายไฟฟา อาทิ รถเครน หรือรถบรรทุกของสูงๆ รวมทั้งปนจั่นตอกเสาเข็ม เมื่อเขาใกลหรือผานแนวสายไฟฟาหากสวนใดของรถที่มีความสูงแตะกับสายไฟฟาจะเกิดลัดวงจรอยางรุนแรง และถาเปนสาย

    9.2 การปองกันฟอลต

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    235 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    ไฟฟาแรงสูงของ กฟผ. เพียงแคเขาไปใกลในระยะรัศมีที่ไมมีความปลอดภัยก็จะถูกแรงเคลื่อนไฟฟาและกระแสเหน่ียวนําจํานวนมหาศาลไหลผานสวนที่เปนโลหะ (ตัวนําไฟฟา) ของรถลงสูพื้นดินเปนอันตรายตอชีวิตของผูยกของหรือคนขับได ผลที่ตามมาจะทําใหเกิดไฟฟาดับ หากมีความจําเปนที่จะตองทํางานใกลบริเวณสายสงไฟฟาแรงสูงควรใชความระมัดระวังอยางเต็มที่ และเพื่อความไมประมาท ควรประสานงานกับหนวยงานของการไฟฟากอนเขาทําการ

    3) พนักงานขับรถเครื่องจักรกลตองเอาใจใสเปนพิเศษ เมื่อตองทํางานใกลสายสงไฟฟา การทํางานของรถขุด รถดัก รถแทรกเตอร และรถดัมพใกลสายสงไฟฟา หากพนักงานควบคุมรถขาดความระมัดระวัง อาจทําใหเกิดอุบัติเหตุชนเสาไฟฟาลม หรือการขุดดินใกลเสาไฟฟา ก็อาจทําใหเสาไฟฟาทรุดและลมได หรือรถดัมพยกกระบะบรรทุกเกี่ยวสายโทรศัพทดึงใหเสาไฟลม จึงควรระมัดระวังในขณะทํางาน การที่เสาไฟฟาตนใดตนหน่ึงลม จะเปนผลใหเสาไฟขางเคียงลมตามกันไปหลายตน จึงตองใชเวลาในการต้ังเสาและพาดสายไฟใหม เพื่อนําระบบไฟฟากลับคืนสูสภาวะปกติ ซึ่งนอกจากจะตองเสียเงินของรัฐแลวยังทําความเสียหายใหแกประชาชนผูใชไฟอีกดวย

    4) ตัดตนไมใหญใกลสายสงตองระวัง การตัดตนไมใกลสายสงไฟฟาก็เปนอีกสาเหตุหน่ึงที่ทําใหเกิดไฟฟาดับ เน่ืองจากขาดความระมัดระวังทําใหตนไมโคนทับสายไฟฟา นอกจากน้ีตนไมที่อยูใกลสายสงอาจมีกิ่งกานพาดสายทําใหเกิดไฟฟารั่วลงดิน ดังน้ันจึงควรแจงใหหนวยงานของการไฟฟาชวยตัดแตงกิ่งไมใหจะปลอดภัยกวา

    5) หยุดการเผาไรหรือกอกองไฟใตแนวสายสง เชน การเผาไรออยใตสายสงไฟฟาในแตละครั้งจะมีความช้ืนอันเกิดจากการระเหยของนํ้าในออยลอยตัวข้ึนไปในบริเวณสายไฟฟาแรงสูง และทําใหคุณสมบัติการเปนฉนวนไฟฟาของอากาศลดลง กระแสไฟฟาจะไหลลงสูพื้นดินทันที ทําใหเกิดขัดของในระบบไฟฟา

    6) งดการขวางปาวัตถุตางๆ พาดสายสงไฟฟา การนําวัตถุใดๆ เชน ลําไมไผ กิ่งไม เชือกและอื่นๆ ขวางปาหรือพาดสายไฟฟา หรือการจุดบั้งไฟใกลสายสงไฟฟา จนตกลงมาพาดสายไฟฟาจะทําใหเกิดการลัดวงจรอยางรุนแรงจนถึงข้ันสายไฟขาดทําใหเกิดอันตรายตอชีวิตและทรัพยสิน และนอกจากน้ันยังเปนเหตุใหเกิดไฟฟาดับ

    7) อยายิงนกที่เกาะบนสายสงไฟฟา การยิงนกที่เกาะบนสายไฟฟาอาจยิงถูกสายไฟเสนใดเสนหน่ึงขาดจะเปนผลใหเสาไฟฟาขาดความสมดุล เกิดการบิดตัวและฉุดกันลมเปนระยะทางยาว ทําใหระบบไฟฟาขัดของเปนเวลานานหรืออาจพลาดไปถูกลูกถวยรองรับสายไฟฟาแตก ก็จะเปนผลใหเกิดไฟฟารั่ว

    8) ไมควรลุกล้ําแนวเขตสายสงไฟฟา แนวเขตสายสงไฟฟากําหนดข้ึนเพื่อปองกันการเกิดอุบัติเหตุ ซึง่จะเปนผลใหเกิดการสูญเสียตอชีวิตและทรัพยสิน เน่ืองจากการรุกล้ําแนวเขตสายสงไฟฟาโดยการกอสรางอาคาร การติดต้ังเสาอากาศโทรทัศน การปลูกตนไมใหญ จะเปนผลใหระยะความปลอดภัยระหวางสายไฟฟากับวัสดุรุกล้ําลดลง เปนผลใหไฟฟาแรงสูงสามารถเหน่ียวนําเขาหาวัสดุดังกลาวได ผลที่ตามมาทําใหเกิดการสูญเสียตอชีวิตและทรัพยสิน รวมทั้งเกิดปญหาไฟฟาดับบริเวณกวางอีกดวย

    9) ตองระมัดระวังในการติดปายโฆษณาใกลสายสงไฟฟา ปายโฆษณาตางๆ ที่พบเห็นตามทองถนนสวนมากจะเปนปายที่ทําดวยแผนโลหะและอยูสูง หากการติดต้ังไมแข็งแรงมั่นคงเพียงพอ หรือขาดการดูแลความปลอดภัย เมื่อใชงานไปนานๆ เผชิญกับความรอนของแสงแดด หรือความช้ืนจากฝนอาจทําใหสวนยึดโครงสรางปายโฆษณาเกิดการผุกรอน เมื่อถูกลมแรงพัดอาจทําใหปายน้ันหลุดปลิวไปพาดสายไฟเปนเหตุใหเกิดไฟฟาลัดวงจร จนทําใหเกิดไฟฟาดับทันที การติดต้ังปายโฆษณาจึงตองระมัดระวังไมควรใกลสายสงไฟฟาและควรหมั่นตรวจสอบสม่ําเสมอ

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    236 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    10) ประชาชนทุกคนสามารถมีสวนรวมชวยกันปองกันไฟฟาดับโดยการชวยดูแลระบบสงไฟฟา เชนการชวยปองกันการขโมยถอดเสาโครงเหล็กและตัดสายสงไฟฟา การอํานวยความสะดวกในการที่เจาหนาที่ไฟฟาปฏิบัติการตัดแตงกิ่งไมใกลสายสง การแจงขาวสารเกี่ยวกับปญหาที่จะทําใหเกิดไฟฟาดับ และการปฏิบัติตามขอบัญญัติที่กลาวมาแลวน้ัน ซึ่งสิ่งตางๆ เหลาน้ีลวนเกิดประโยชนตอประเทศชาติโดยรวมทั้งสิ้น

    ในระบบกําลังไฟฟาสวนใหญจะเปนฟอลตแบบลัดลงจร (Short circuit fault) คือ การลัดวงจรของสายสง หมอแปลงไฟฟา เครื่องกําเนิดไฟฟาหรืออุปกรณอื่นๆ ทั้งที่เกิดจากการสัมผัสกันระหวางคูเฟส หรือระหวางเฟสใดเฟสหน่ึงลงกราวนด ในระบบการสงจายไฟฟาจะแบงฟอลตออกเปน 2 ประเภทดวยกัน คือ

    9.3.1 ฟอลตแบบสมมาตร (Symmetrical fault) ไดแกฟอลตแบบ 3 เฟส หมายถึง ฟอลตที่เกิดข้ึนพรอมกันทั้ง 3 เฟส ดังน้ันจึงเรียกวา Three phase fault ซึ่งมีโอกาสเกิดข้ึนนอยที่สุด แตเมื่อเกิดข้ึนแลวจะเปนฟอลตที่มีความรุนแรงมากที่สุด

    a

    b

    c

    Iaf Ibf Icf

    Ground

    รูปที่ 9.3 ฟอลตแบบสมมาตร (Symmetrical fault)

    9.3.2 ฟอลตแบบไมสมมาตร (Unsymmetrical fault) หมายถึง ฟอลตที่เกิดข้ึนกับเฟสใดๆ นอกเหนือจากฟอลตแบบสมมาตรจะทําใหเกิดกระแสไหลในระบบไมสมดุลกัน (Unbalance) ซึ่งประกอบดวย

    1) Single line to ground fault หมายถึง ฟอลตระหวางสายไลนกับดิน a

    b

    c

    Icf

    Ground

    รูปที่ 9.4 Single line to ground fault

    9.3 ชนิดของฟอลต

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    237 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    2) Line to line fault หมายถึง ฟอลตระหวางสายไลน

    รูปที่ 9.5 Line to line fault

    3) Double line to ground fault หมายถึง ฟอลตระหวางสายไลนสองเสนกับดิน a

    b

    c

    Iaf Ibf

    Ground

    รูปที่ 9.6 Double line to ground fault

    ประโยชนของการศึกษาฟอลตในระบบไฟฟาเพื่อเปนขอมูลประกอบในการพิจารณาเลือกอุปกรณปองกันในระบบไฟฟา เชน เซอรกิตเบรกเกอร รีเลย ฟวส และยังใชเปนขอมูลประกอบในการพิจารณาติดต้ังตําแหนงอุปกรณปองกันในระบบไฟฟา (Co – Ordination)

    คุณภาพของระบบกําลังไฟฟา (Quality of Power system) เปนคําที่พูดถึงบอยในเรื่องของความ

    มั่นคงของการจายไฟฟา (Stability) และกรณีเมื่อเกิดปญหาอุปกรณไฟฟามีการทํางานผิดพลาด หรือหยุดการทํางานจากผูใชไฟฟาซึ่งเห็นไดวาคํานิยามของคําวาคุณภาพกําลังไฟฟาระหวางการไฟฟาและผูใชไฟฟาจะพูดถึงในกรณีที่แตกตางกันไป แตในความเปนจริงแลวมีความหมายเดียวกันซึ่งนิยามของคุณภาพกําลังไฟฟา ตามมาตรฐานสากล IEC และ IEEE ใหความหมายของคุณภาพกําลังไฟฟา คือ คุณลักษณะกระแส แรงดัน และความถ่ีของแหลงจายไฟฟาในสภาวะไมปกติทําใหอุปกรณไฟฟามีการทํางานผิดพลาดหรือเกิดความเสียหาย เหตุผลหลักที่ทําใหมีการพิจารณาถึงคุณภาพกําลังไฟฟา

    9.4 คุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    238 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    1) เน่ืองจากปจจุบันในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมมีการใชอุปกรณไฟฟามีเทคโนโลยีสูงข้ึนซึ่งจะมีความไวในการตอบสนองตอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของกําลังไฟฟามากกวาในอดีต โดยเฉพาะอุปกรณประเภทอิเล็กทรอนิกสกําลัง เชน อุปกรณที่ถูกควบคุมดวยไมโครคอนโทรลเลอร, Programmable Logic Controller ( PLC), Adjustable Speed Drive (ASD) และรีเลยบางชนิด

    2) การเพิ่มข้ึนของการใชอุปกรณไฟฟาที่มีเทคโนโลยีสูงข้ึน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไฟฟา ดังเชน ตัวอยางของกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมหน่ึงมีการใชอุปกรณ ASD เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตซึ่ง ASD เปนแหลงจายฮารมอนิกก็จะทําใหเกิดปญหาฮารมอนิกสงผลกระทบตอระบบไฟฟาน้ันได และถามกีารปรับปรุงตัวประกอบกําลังโดยใชตัวคาปาซิเตอรติดต้ังอยูก็ย่ิงทําใหเกิดปญหาฮารมอนิกรุนแรงมากย่ิงข้ึน

    3) ผูใชไฟทราบถึงปญหาคุณภาพไฟฟามากข้ึนซึ่งมีผลกระทบตอ กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมของตัวเองมากข้ึน เชน ปญหาจากแรงดันตกช่ัวระยะสั้น (Voltage sag) ทําใหการไฟฟาหาแนวทางและวิธีการเพื่อปรับปรุงคุณภาพไฟฟาใหดีข้ึน

    4) ระบบไฟฟาที่มีการเช่ือมตอถึงกัน ถาสวนใดของระบบเกิดปญหาคุณภาพไฟฟาก็จะทําสวนอื่นๆ ของระบบไดรับผลกระทบจากปญหาคุณภาพกําลังไฟฟาตามไปดวย เชน โรงงานอุตสาหกรรมหน่ึงมีการใชโหลดที่เปนแหลงจายฮารมอนิก และฮารมอนิกน้ันอาจไหลเขา สูระบบไฟฟา อาจทําใหโรงงานบริเวณขางเคียงไดรับผลกระทบจากปญหาฮารมอนิกดวยเชนกัน

    ลักษณะของปญหาคุณภาพกําลังไฟฟาสามารถจําแนกออกเปนกรณีตางๆ ดังน้ี 9.4.1 ภาวะชั่วครู (Transient)

    ภาวะช่ัวครู (Transient) คือ ปรากฏการณการเปลี่ยนแปลงของสภาพไฟฟา (แรงดันและกระแส) ในเวลาทันททีันใดจากสภาพปกติ แบงออกเปน 2 ประเภท คือ

    1) อิมพัลสช่ัวครู (Impulsive transients) คือ ขนาดกระแสและแรงดันที่มีคาความชันสูงมาก เกิดข้ึนในทันทีทันใดไมมีความถ่ีเปลี่ยนแปลง กําหนดใหมีข้ัวทิศทางเดียวหรือเรียกวาเสิรจ (Surge) อาจมีสาเหตุเกิดจากฟาผา ซึ่งอาจเกิดไดโดยตรงหรือในบริเวณใกลเคียง ผลทําใหอุปกรณในระบบไดรับความเสียหายจากแรงดันไฟฟาเกิน มาตรฐาน IEEE std 1159 - 1995 มีการกําหนดคาอิมพัลสตามชวงระยะเวลาที่เกิดกับคาระยะเวลาที่แรงดันเริ่มสูงข้ึน (rise time) ดังตารางที่ 9.1

    ตารางที่ 9.1 แสดงคาระยะเวลาที่แรงดันเริ่มสงูข้ึนกับชวงระยะเวลาการเกิดของอิมพลัส

    อิมพัลสภาวะชั่วครู ระยะเวลาท่ีแรงดันเริ่มสูงขึ้น

    ( rise time) ชวงระยะเวลาการเกิด

    (Duration) Nanosecond 5 ns < 50 ns Microsecond 1 s 50 ns - 1 ms Millisecond 0.1 ms > 1 ms

    2) ออสซิเลตช่ัวครู (Oscillatory transient) คือ ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาสูง เกิดข้ึนในทันทีทันใด ไมมีความถ่ีเปลี่ยนแปลง มีการเปลี่ยนแปลงข้ัว (บวก ลบ) ของรูปคลื่นอยางรวดเร็ว มีสาเหตุเกิดจากการสวิตช่ิงของอุปกรณในระบบ ผลทําใหอุปกรณไฟฟาไดรับความเสียหาย และฉนวนของอุปกรณมีการเสื่อมสภาพหรือมีการสูญเสียความเปนฉนวนเร็วข้ึน มาตรฐาน IEEE std 1159 - 1995 มีการแบงการเกิดออสซิเลตในภาวะช่ัวครูตามขนาดแรงดันและชวงระยะเวลาการเกิดตามความถ่ี ดังตารางที่ 9.2

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    239 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    ตารางที่ 9.2 แสดงขนาดแรงดันและชวงเวลาตามความถ่ีออสซิเลทช่ัวครู ออสซเิลตในภาวะช่ัวครู ความถ่ี ชวงระยะเวลาการเกิด ขนาดแรงดัน Lower Frequency < 5 kHz 0.3-50 ms 0.4 pu

    Medium Frequency 5-500 kHz 5-20 ms 0-8 pu High Frequency 0.5-5 MHz 0-5 ms 0.4 pu

    9.4.2 การเปลี่ยนแปลงแรงดันชวงระยะสั้น (Short duration voltage variation)

    การเปลี่ยนแปลงแรงดันชวงระยะสั้น (Short duration voltage variation) คือ การเปลี่ยนแปลง

    คาแรงดันใชงาน (Vrms) ที่มีระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงคาไมเกิน 1 นาที มีสาเหตุสวนใหญเกิดจากสภาวะ

    ความผิดพรอง (fault) ทางไฟฟา ทําใหเกิดเหตุการณแรงดันตก (Voltage sag หรือ Voltage dip) แรงดันเกิน (Voltage swell) และไฟดับ (Interruptions) มาตรฐาน IEEE Std 1159-1995 มีการเรียกช่ือแรงดันดังกลาวตามระยะเวลาที่เกิดคือเวลาทันทีทันใด (Instantaneous) ช่ัวขณะ (Momentary) และช่ัวครู (Temporary) ดังตารางที่ 9.3

    ตารางที่ 9.3 แสดงระยะเวลาการเกิดแรงดันตก แรงดันเกิน และไฟดับของการเปลี่ยนแปลงแรงดันชวงเวลาสั้นๆ

    Voltage Sag & swell Instantaneous Instantaneous Instantaneous 10 ms - 1 sec 10 ms - 1 sec 10 ms - 1 sec

    Interruption Momentary Momentary

    10 ms - 3 sec 10 ms - 3 sec

    1) แรงดันตกชวงสั้น (Voltage sag ) คือ คาแรงดันใชงาน (Vrms) มีขนาดลดลงระหวาง 0.1-0.9 pu ในชวงเวลาระหวาง 10 ms – 1 min มีสาเหตุสวนใหญ เกิดข้ึนกับเฟสที่เกิดความผิดพรองทางไฟฟา ทําใหแรงดันมีคาลดลงเหลือ 0.2 pu ของแรงดันปกติ (80% sag) ซึ่งจะเกิดกับโหลดประเภทมอเตอรอินดักช่ันขณะสตารตจะมีกระแสสูงถึง 6-10 เทาของกระแสโหลดปกติ ผลทําใหอุปกรณที่ไวตอการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของแหลงจายไฟ มีการทํางานผิดพลาดหรือหยุดการทํางาน

    2) แรงดันเกินชวงสั้น (Voltage swell) คือ คาแรงดันใชงาน (Vrms) มีขนาดเพิ่มข้ึนระหวาง 1.1-1.8 pu ในชวงเวลาระหวาง 10 ms – 1 min มีสาเหตุสวนใหญจะเกิดข้ึนกับเฟสที่ไมไดเกิดความผิดพรองทางไฟฟาโดยตรง หรืออาจเกิดจากการปลดโหลดขนาดใหญออกจากระบบ หรือมีการตอคาปาซิเตอรขนาดใหญเขาระบบ ผลทําใหอุปกรณไดรับความเสียหาย หรือทําใหอุปกรณ ที่ไวตอการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของแหลงจายไฟมีการทํางานผิดพลาดหรือหยุดการทํางาน

    3) ไฟดับชวงสั้น (Voltage Interruption) คือ คาแรงดันใชงาน (Vrms) มีคาลดลงตํ่ากวา 0.1 pu ในชวงระหวาง 10 ms – 1 min มีสาเหตุเกิดจากสภาวะความผิดพรองทางไฟฟาในระบบ ทําใหอุปกรณปองกันมีการตัดวงจรแหลงจายไฟออก

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    240 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    9.4.3 การเปลี่ยนแปลงแรงดันชวงระยะยาว (Long duration voltage variation) การเปลี่ยนแปลงแรงดันชวงระยะยาว (Long duration voltage variation) คือ การเปลี่ยนแปลง

    คาแรงดันใชงาน (Vrms) ที่มีระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงคาเกนิ 1 นาที มีสาเหตุสวนใหญเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการทํางานโหลดขนาดใหญ ทําใหเกิดเหตุการณแรงดันตก (Under voltage) แรงดันเกิน (Over voltage) และไฟดับ (Sustained interruptions)

    1) แรงดันตก (Under voltage) คือ คาแรงดันใชงาน (Vrms) มีขนาดลดลงระหวาง 0.8-0.9 pu ในชวงเวลานานกวา 1 min มีสาเหตุเกิดข้ึนจากผลของการสวิตช่ิงโหลดขนาดใหญเขาระบบ หรือมีการปลดคาปาซิเตอรออกจากระบบ ผลทําใหอุปกรณไดรับความเสียหาย เน่ืองจากเกิดการรับภาระเกิน (Overload)

    2) แรงดันเกิน (Over voltage) คือ คาแรงดันใชงาน (Vrms) มีขนาดเพิ่มข้ึนระหวาง 1.1-1.2 pu ในชวงเวลานานกวา 1 min มีสาเหตุเกิดข้ึนจากผลของการปลดโหลดขนาดใหญออกจากระบบ หรือมีการสวิตช่ิงคาปาซิเตอรเขาระบบ หรือการปรับแทป็หมอแปลงไมเหมาะสมกบัระบบ ผลทําใหอุปกรณไดรบัความเสียหายเน่ืองจากแรงดันเกิน

    3) ไฟดับ (Voltage interruption) คือ คาแรงดันใชงาน (Vrms) มีคาลดลง 0.0 pu ในชวงเวลาเกินกวา 1 min มีสาเหตุเกิดจากสภาวะความผิดพรองทางไฟฟาในระบบทําใหอปุกรณปองกันมีการตัดวงจรแหลงจายไฟออกถาวร

    9.4.4 แรงดันไมสมดุล (Voltage unbalance)

    แรงดันไมสมดุล (Voltage unbalance) คือ แรงดันของระบบ 3 เฟสมีขนาดแตกตางกัน (0.5-2%) หรือมีมุมเปลี่ยนไปจาก 120 องศา เกิดจากความไมสมดุลขนาดของโหลดแตละเฟส ผลทําใหอปุกรณ เชน มอเตอร หมอแปลงไฟฟา มีอายุการใชงานนอยลงเน่ืองจากผลความรอนทีเ่กิดข้ึน

    9.4.5 ความผิดเพ้ียนรูปคลื่น (Waveform distortion)

    ความผิดเพี้ยนรปูคลื่น (Waveform distortion) คือ การเบี่ยงเบนในสภาวะคงตัวของรูปคลื่นไซนที่มีความถ่ีทางกําลังไฟฟา และสามารถอธิบายคุณลกัษณะไดโดยแยกองคประกอบทางความถ่ีออกมา การผิดเพี้ยนของรปูคลื่นแบงออกได 5 ชนิด ดังน้ี 1) องคประกอบไฟตรง (DC offset) คือ การที่มีกระแสหรือแรงดันไฟตรงปะปนอยูในระบบไฟฟากระแสสลับเปนผลมาจากการใชอุปกรณเรียงกระแสแบบครึ่งคลื่น (Half-wave Rectifier) เปนผลทําให เกิดความรอนและคากําลังสูญเสียของหมอแปลง และอาจจะทําใหเกิดการผุกรอนของแทงกราวนดได

    2) ฮารมอนิก (Harmonic) คือ สวนประกอบในรูปสัญญาณคลื่นไซน (Sine wave) ของสัญญาณหรือปริมาณเปนคาบใดๆ ซึ่งมีความถ่ีเปนจํานวนเต็มเทาของความถ่ีหลักมูล (Fundamental Frequency) ซึ่งระบบไฟฟาในประเทศไทยมีคา 50 Hz เชน ฮารมอนิกลําดับที่ 3 มีคาความถ่ีเปน 150 Hz ฮารมอนิกลําดับที่ 5 มีคาความถ่ีเปน 250 Hz ผลของฮารมอนิกเมื่อรวมกันกับสัญญาณความถ่ีหลักมูลดวยทางขนาด (Amplitude) และมุมเฟส (Phase Angle) ทําใหสัญญาณที่เกิดข้ึนมีขนาดเปลี่ยนไปและมีรูปสัญญาณเพี้ยน (Distortion) ไปจากสัญญาณคลื่นไซน เปนผลเกิดจากการใชอุปกรณประเภทที่ไมเปนเชิงเสน ทําใหอุปกรณในระบบไฟฟามีการทํางาน ผิดพลาด และถามีการขยายของฮารมอนิกที่มีขนาดมากพออาจจะทําใหอุปกรณไฟฟาเกิดการชํารุดข้ึนได

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    241 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    3) อินเตอรฮารมอนิก (Interharmonic) คือ สวนประกอบในรูปสัญญาณคลื่นไซน (Sine wave) ของสัญญาณหรือปริมาณเปนคาบใดๆ ซึ่งมีความถ่ีไมเปนจํานวนเต็มเทาของความถ่ีหลักมูล (Fundamental Frequency) เชน มีความถ่ีที่ 104 Hz, 117 Hz, 134 Hz, 147 Hz ลักษณะการเกิดและผลกระทบจะมีลักษณะเชนเดียวกับฮารมอนิก

    4) คลื่นรอยบาก (Notching) คือ สิ่งรบกวนทางแรงดันไฟฟาลักษณะคลายกับฮารมอนิกและทรานเชียนตที่มีลักษณะตอเน่ือง เปนผลเกิดจากการใชอุปกรณอิเล็กทรอนิกสกําลัง เมื่อกระแสถูกเปลี่ยนจากเฟสหน่ึงไปยังอีกเฟสหน่ึง ผลทําใหอุปกรณประเภทอิเล็กทรอนิกสมีการทํางานผิดพลาด

    5) สัญญาณรบกวน (Noise) คือ สัญญาณทางไฟฟาที่ไมตองการ จะมีความถ่ีตํ่ากวา 200 kHz ปะปนบนสัญญาณแรงดัน หรือกระแสในสายเฟส เปนผลเกิดจากการตอลงดินของระบบไฟฟาที่ไมถูกตอง ถาในระบบที่มีการใชงานอุปกรณประเภทอิเล็กทรอนิกสหรืออุปกรณควบคุม อาจจะสงผลทําใหอุปกรณดังกลาวมีการทํางานผิดพลาดหรือไมสามารถทํางานได

    9.4.6 แรงดันกระเพ่ือม (Voltage fluctuation)

    แรงดันกระเพื่อม (Voltage fluctuation) คือ การเปลี่ยนแปลงอยางตอเน่ืองของคาแรงดันใชงาน

    (Vrms) มีขนาดไมเกินชวงแรงดัน 0.95-1.05 pu เปนผลเกิดจากการใชอุปกรณประเภทเตาหลอมแบบอารก ทําใหเกิดไฟกะพริบ (Flicker) ที่หลอดไฟ และอาจสงผลกระทบตออุปกรณในระบบถามีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันมาก

    9.4.7 การแปรเปลี่ยนความถ่ีกําลังไฟฟา (Power frequency variation) การแปรเปลี่ยนความถ่ีกําลังไฟฟา (Power frequency variation) คือ ปรากฏการณที่ความถ่ีของระบบไฟฟามีคาเปลี่ยนไปจากคาความถ่ีปกติ 50 Hz เปนผลเกิดจากการทํางานผิดพลาดของเครื่องกําเนิดไฟฟาขนาดใหญหรือมีการหลุดออกจากระบบ ทําใหกระทบตอการทํางานของอุปกรณไฟฟาที่มีการทํางานสัมพันธ กับความถ่ีระบบไฟฟา เชน โหลดประเภทมอเตอร แนวทางการแกไขปญหาคุณภาพกําลังไฟฟาที่ถูกตองน้ัน จําเปนตองไดรับความรวมมือกันระหวางการไฟฟา และผูใชไฟฟา เชน ในสวนของการไฟฟาจะตองมีการปรับปรุงแกไขคุณภาพกําลังไฟฟาของแหลงจายไฟหรือระบบสายสงและในระบบจําหนายไฟฟา และสวนของผูใชไฟตองมีการควบคุมปญหาคุณภาพกําลังไฟฟาที่เกิดข้ึนจากการใชอุปกรณไฟฟาจากผูใชไฟเอง และอาจตองนําขอมูลทางไฟฟาและปญหาตางๆ มารวมปรึกษากันและมีการรวมกับบริษัทผู ผลิตอุปกรณไฟฟาเพื่อพิจารณาระดับการทํางานที่สัมพันธกันของอุปกรณกับแหลงจายไฟฟา ซึ่งจะชวยลดปญหาคุณภาพไฟฟาในระดับหน่ึง

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    242 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    ความผิดปกติที่เกิดข้ึนกับระบบสายสงไฟฟาหรือที่เรียกวาฟอลต (Fault) เกิดข้ึนจาก สภาพอากาศและสิ่งแวดลอม เหตุขัดของทางดานเทคนิค เกิดจากสัตวตางๆ ปญหาไฟฟาดับที่เกิดจากการกระทําของคน การแยกประเภทของฟอลตเพื่อการวิเคราะหน้ัน สามารถแบงออกเปน 2 ประเภทดวยกันคือ ฟอลตแบบสมมาตร (Symmetrical fault) เปนฟอลตที่รุนแรงที่สุดแตมีโอกาสเกิดข้ึนไดนอยสุด และฟอลตแบบไมสมมาตร (Unsymmetrical fault) เปนฟอลตที่เกิดข้ึนกับระบบไฟฟากําลังบอยครั้งที่สุด สามารถจําแนกไดคือ ฟอลตระหวางสายไลนกับดิน (Single line to ground fault) ฟอลตระหวางสายไลน (Line to line fault) และฟอลตระหวางสายไลนสองเสนกับดิน (Double line to ground fault) ซึ่งฟอลตก็เปนสาเหตุหน่ึงที่มีผลตอคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา (Quality of Power system) มีผลกระทบตอความมั่นคงของการจายไฟฟา (Stability) และสงผลใหเกิดปญหาอุปกรณไฟฟามีการทํางานผิดพลาดหรือไดรับความเสียหาย

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    243 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    จงตอบคําถามตอไปน้ี

    1. จงบอกสาเหตุของสภาวะผิดปกติของสายสง (2 คะแนน) 2. จงบอกแนวทางการปองกันฟอลตในสวนของผูใชงานระบบ อยางนอย 5 ขอ (2 คะแนน) 3. จงเขียนวงจรการเกิดฟอลตแบบสมมาตร (Symmetrical fault) (2 คะแนน) 4. จงเลือกการเกิดฟอลตระบบสงจายกําลังไฟฟามา 1 ขอ แลววิเคราะหสาเหตุของปญหา พรอมกับ

    บอกวิธีการแกไขปญหา (2 คะแนน) 5. จงบอกลกัษณะของปญหาคุณภาพกําลังไฟฟา อยางนอย 5 ขอ (2 คะแนน) 6. จงเลือกลักษณะของปญหาคุณภาพกําลงัไฟฟามา 1 ขอ แลววิเคราะหสาเหตุของปญหา พรอมกบั

    บอกวิธีการแกไขปญหา (2 คะแนน)

    แบบฝกหัดหนวยท่ี 9 เรื่อง สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    244 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    จงเลือกขอที่ถูกตองที่สุดเพียงขอเดียว

    1. ขอใดกลาวถึงประโยชนของการศึกษาเรื่องฟอลตหรือการลดัวงจรของสายสงไดถูกตองที่สุด ก. ใชหาขนาดของอุปกรณปองกัน และรูปแบบของการปองกัน ข. ใชในการควบคุมและวางแผนระบบในอนาคต ค. ทําใหทราบถึงความตองการใชไฟฟาที่แทจรงิ ง. ใชในการหาคาความสูญเสียในสายสง จ. ใชในการหาประสทิธิภาพของสายสง

    2. ขอใดเปนสาเหตุที่ทําใหเกิดฟอลตในระบบมากทีสุ่ด ก. เกิดจากสัตวตางๆ ข. เหตุขัดของทางดานเทคนิค ค. สภาพอากาศและสิ่งแวดลอม ง. กําลังการผลิตไฟฟาไมเพียงพอ จ. ปญหาไฟฟาดับทีเ่กิดจากการกระทําของคน

    3. การเกิดฟอลตในขอใดเมื่อเกิดข้ึนแลวจะเปนฟอลตที่มีความรุนแรงมากทีสุ่ด ก. Line to line fault ข. Single phase fault ค. Three phase fault ง. Single line to ground fault จ. Double line to ground fault

    4. การเกิดฟอลตในระบบไฟฟาในขอใดเกิดข้ึนบอยครัง้ทีสุ่ด ก. Three phase fault ข. Line to line fault ค. Double line to line fault ง. Single line to ground fault จ. Double line to ground fault

    5. ขอใด ไมใช วิธีปองกันการเกิดฟอลตในระบบไฟฟา ก. เพิ่มคาความเปนฉนวนของระบบใหสงูข้ึน ข. เพิ่มขนาดกระแสของอุปกรณปองกันใหสงูข้ึน ค. การติดต้ังอปุกรณปองกันเพิม่ข้ึนในระบบ ง. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบสายสง จ. เพิ่มการตรวจเช็คสภาพของฉนวนในระบบ

    แบบทดสอบหลังเรียน หนวยท่ี 9 เรื่อง สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

  • เอกสารประกอบการสอน วิชาการสงและจายไฟฟา เรียบเรียงโดย นายทักษิณ โสภาปยะ

    245 หนวยที่ 9 สภาวะผิดปกติและคุณภาพของระบบกําลังไฟฟา

    6. Voltage sag มีความหมายตรงกับขอใด ก. ปญหาจากแรงดันตกช่ัวระยะสั้น ข. ปญหาจากแรงดันไฟดับช่ัวระยะสั้น ค. ปญหาจากแรงดันเกินช่ัวระยะสั้น ง. การเปลี่ยนแปลงแรงดันชวงระยะสั้น จ. ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาสงู เกิดข้ึนในทันททีันใด

    7. ขอใดคือ ไฟดับชวงสั้น ก. Under voltage ข. Voltage Interruption ค. Voltage swell ง. Voltage sag จ. Voltage dip

    8. ขอใดกลาวถึง การเกิดออสซิเลตช่ัวครู (Oscillatory transient) ไดถูกตองที่สุด ก. ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาสงู เกิดข้ึนในทันททีันใด มีความถ่ีเปลี่ยนแปลง ข. ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาตํ่า เกิดข้ึนในทันททีันใด มีความถ่ีเปลี่ยนแปลง ค. ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาตํ่า เกิดข้ึนในทันททีันใด ไมมีความถ่ีเปลี่ยนแปลง ง. ลักษณะของแรงดันหรือกระแสมีคาสงู เกิดข้ึนในทันททีันใด ไมมีความถ่ีเปลี่ยนแปลง จ. ขนาดกระแสและแรงดันที่มีคาความชันสูงมาก เกิดข้ึนทันททีันใด ไมมีความถ่ีเปลี่ยนแปลง

    9. ขอใดเปนสาเหตุทําใหแรงดันไฟฟาตก ก. เกิดจากความไมสมดุลขนาดของโหลดแตละเฟส ข. ผลจากการเกิดฮารมอนิกข้ึนในระบบ ค. การสวิตช่ิงโหลดขนาดใหญเขาระบบ ง. ความถ่ีของระบบไฟฟามีคาลดลง จ. การปลดโหลดขนาดใหญทันททีันใด

    10. ขอใดกลาวถึง ฮารมอนิก (Harmonic) ไดถูกตองที่สุด ก. เกิดจากโหลดประเภทมอเตอรอินดักช่ัน ข. เกิดจากผลของการใชงานอุปกรณประเภทอิเล็กทรอนิกสกําลัง ค. สาเหตุเกิดจากการสวิตช่ิงของอุปกรณในระบบ ผลทําใหอุปกรณไฟฟาไดรับความเสียหาย ง. เกิดจากอุปกรณปองกันมกีารตัดวงจรบอยครัง้ จ. แรงดันของระบบ 3 เฟสมีขนาดแตกตางกัน


Recommended