39
1 สสสสสสสสสสสสส UNITED MEXICAN STATES 1. สสสสสสสสสสสส 1.1 สสสสสสสส ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด “ดดดดดดดดดดด” ดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด 1,200 ดดดดดด ดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดด ดดดดดดด ดดดดดดดดดดดด ดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด 16 ดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด 3 ดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด 19 (ดด 2346) ดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด 2460 ดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด 1.2 สสสสสสสสสส

 · Web viewสหร ฐเม กซ โก UNITED MEXICAN STATES 1. ข อม ลท วไป 1.1 ภ ม หล ง ด นแดนของเม กซ โกเป นส

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

21

สหรัฐเม็กซิโก

UNITED MEXICAN STATES

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ภูมิหลัง

ดินแดนของเม็กซิโกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอารยธรรมโบราณบนภาคพื้นทวีปอเมริกาเหนือที่เรียกว่า “เมโสอเมริกา” ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มชนพื้นเมืองที่กระจายตัวอยู่ทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือตั้งแต่สมัย 1,200 ปีก่อนคริสตกาล เช่นชาวโอลเมก ชาวซาโปเทก ชาวมายา และชาวแอซเทก เป็นต้น ซึ่งชนพื้นเมืองเหล่านี้ต่างก็มีอารยธรรมเป็นของตนเอง และสลับกันขึ้นมาเรืองอำนาจ ก่อนที่สเปนจะเข้ามายึดอำนาจจากชาวแอซเทกในช่วงศตวรรษที่ 16 และปกครองดินแดนแถบนี้เป็นเวลายาวนานถึง 3 ศตวรรษ โดยสเปนได้ใช้เม็กซิโกเป็นแหล่งผลิตเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้น จนกระทั่งในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 (ปี 2346) เม็กซิโกจึงได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการ แต่การเมืองเม็กซิโกภายหลังได้รับเอกราชค่อนข้างไม่มั่นคง เนื่องจากถูกปกครองในแนวทางเผด็จการทำให้ประชาชนยากจนและขาดสวัสดิการ จนกระทั่งมีการปฏิวัติยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เมื่อปี 2460 ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาระบบการเมืองและสังคม อันเป็นผลต่อการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

1.2 ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง: เม็กซิโกตั้งอยู่บนทวีปอเมริกาเหนือ ทิศเหนือมีพรมแดนติดกับสหรัฐอเมริกา ทิศใต้จรดกัวเตมาลาและเบลีซ ทิศตะวันตกเป็นชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และทิศตะวันออกติดอ่าวเม็กซิโกและทะเลแคริบเบียน (รูปที่ 1)

ขนาดพื้นที่:1,964,375 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่าไทยประมาณ 3 เท่า) คิดเป็นพื้นดิน 1,943,945 ตารางกิโลเมตร และพื้นน้ำ 20,430 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของผืนทวีปอเมริกา และอันดับที่ 14 ของโลก

เมืองหลวง:กรุงเม็กซิโก (ภาษาอังกฤษ: Mexico City, ภาษาสเปน: Ciudad de México (CDMX))

สภาพภูมิอากาศ:เนื่องด้วยพื้นที่อันกว้างใหญ่ ทำให้สภาพภูมิอากาศแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ โดยมีตั้งแต่สภาพอากาศแบบเขตร้อนทางตอนใต้ของประเทศ และเขตอบอุ่นทางตอนกลางของประเทศขึ้นไป และมีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 19 องศาเซลเซียส

สภาพภูมิประเทศ: เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศ เม็กซิโกมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายตั้งแต่ชายฝั่งทะเล ที่ราบสูง กึ่งทะเลทราย และภูเขา โดยมีเทือกเขา Sierra Madre Occidental และ Sierra Madre Oriental เป็นเทือกเขาสำคัญขนาบอยู่ทั้งสองด้าน นอกจากนี้ ชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศ (ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก) ยังเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนไฟของโลก ทำให้มีภูเขาไฟมากมายทั้งที่ยังประทุอยู่ และที่ดับแล้ว

ทรัพยากรธรรมชาติ:ปิโตรเลียม เงิน ทองแดง ทองคำ ตะกั่ว สังกะสี ก๊าซธรรมชาติ และป่าไม้

ภัยธรรมชาติ:บริเวณชายฝั่งทั้งสองด้านของเม็กซิโกมักประสบภัยพายุทั้งเฮอร์ริเคน และทอร์นาโด ส่วนในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ที่ใกล้กับชายฝั่งแปซิฟิกมักประสบภัยแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด เนื่องด้วยเป็นเขตวงแหวนไฟ

รูปที่ 1: ที่ตั้งและอาณาเขตของเม็กซิโก

1.3 ประชากร

จำนวนประชากร:123,166,749 คน (กรกฎาคม 2559) มากเป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 3 ของทวีปอเมริกา

เชื้อชาติ:เมสติโซ (ผิวขาวผสมชนพื้นเมือง) 62% ชนพื้นเมือง 28% และอื่นๆ อีก 10% (ส่วนใหญ่เป็นคอเคเชียน)

สัญชาติ:เม็กซิกัน

ภาษา: ภาษาสเปน (ภาษาราชการ) และภาษาพื้นเมืองอีก 68 ภาษา แต่ประชากรส่วนใหญ่ (92.7%)

พูดภาษาสเปน

ศาสนา: คริสต์นิกายแคทอลิก 89.3% คริสต์นิกายโปแตสแตนท์ 8.0% และอื่นๆ 2.7%

โครงสร้างอายุ:0-14 ปี คิดเป็น 27.26% (ชาย 17,167,636 คน / หญิง 16,402,301 คน)

15-64 ปี คิดเป็น 65.82% (ชาย 39,412,362 คน / หญิง 41,654,554 คน)

65 ปีขึ้นไป คิดเป็น 6.93% (ชาย 3,827,870 คน / หญิง 4,702,026 คน)

อัตราการเติบโตของประชากร: 1.15%

การศึกษา: ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้คิดเป็น 95.1% ของประชากรทั้งหมด (ชาย 96.2% และ

หญิง 94.2%) โดยมีมหาวิทยาลัยของรัฐที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดคือ National Autonomous University

of Mexico (UNAM) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 2 ในลาตินอเมริกา[footnoteRef:1] ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ. 1551 [1: ข้อมูลเมื่อกรกฎาคม 2559 จากเว็บไซต์ www.webometrics.info]

อัตราการว่างงาน: 4.10% (ข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2559)

1.4 การปกครอง

ชื่อทางการ:สหรัฐเม็กซิโก (ภาษาอังกฤษ: United Mexican States, ภาษาสเปน: Estados Unidos Mexicanos)

ระบอบการปกครอง:ประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ (Federal Republic)

การแบ่งส่วนบริหาร:แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ รัฐบาลสหพันธ์ (Federal Union) รัฐบาลกลางของแต่ละรัฐ (State Government) และรัฐบาลท้องถิ่น (Municipal Government) โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 31 รัฐและ 1 เมืองหลวง (กรุงเม็กซิโก) [footnoteRef:2] (รูปที่ 2) โดยแต่ละรัฐมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองและประชาชนเป็นคนเลือกผู้ว่าการรัฐ (วาระ 6 ปี) [2: ดูรายชื่อรัฐและเมืองหลวงของแต่ละรัฐในภาคผนวก 1]

รูปที่ 2: เขตการปกครองของเม็กซิโก 31 รัฐ และ 1 เมืองหลวง

ระบบกฎหมาย:แบบผสมระหว่างหลักทฤษฎีตามรัฐธรรมนูญและระบบกฎหมายแพ่งของสหรัฐฯ

ฝ่ายบริหาร:ประมุขของรัฐ คือประธานาธิบดี (President) เป็นทั้งประมุขของประเทศและเป็นหัวหน้ารัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ อีกทั้งไม่มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเอ็นริเก้ เปนญ่า เนียโต (Enrique Peña Nieto) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2555 และจะสิ้นสุดวาระปี 2561

คณะรัฐมนตรี ต้องได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี โดยมีรัฐมนตรีสำคัญคือ

1. José Antonio Meade Kuribeña

รูปที่ 3 : นายเอ็นริเก้ เปนญ่า เนียโต (Enrique Peña Nieto) ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐเม็กซิโกคนปัจจุบัน (2555-2561) สังกัดพรรค PRI

(Finance and Public Credit)

2. Ildefonso Guajardo Villareal (Economy)

3. Claudia Ruiz Massieu Salinas (Foreign Affairs)

ฝ่ายนิติบัญญัติ:ประกอบด้วยระบบ 2 สภา (Congress of Union) คือ

วุฒิสภา (Senate) จำนวน 128 คน และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี โดยมาจากการเลือกตั้ง 2 คนต่อ 1 รัฐ (และ 1 เมืองหลวง) ทั้งหมด 64 คน รวมกับอีก 32 คนที่มาจากพรรคที่ได้รับคะแนนเลือกตั้งเป็นรองในแต่ละรัฐ และอีก 32 คน จากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Party List) การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 และครั้งต่อไปในปี 2561 (พร้อมกับการเลือกตั้งประธานาธิบดี)

สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputy) จำนวน 500 คน และอยู่ในวาระคราวละ 3 ปี โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรง 300 คน และอีก 200 คนจากการเลือกตั้งแบบแบ่งสัดส่วน การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2558 และครั้งต่อไปในปี 2561(พร้อมกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีและวุฒิสภา)

ฝ่ายตุลาการ:ศาลสูง (Supreme Court) ประกอบด้วยผู้พิพากษา 11 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน หนึ่งในนั้นจะได้รับเลือกให้เป็นประธานศาลสูงสุด ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดย นาย Luis María Aguilar Morales (2557-2561)

1.5 การเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศ[footnoteRef:3] [3: ดูรายชื่อองค์การระหว่างประเทศในภาคผนวก 2]

APEC, Australia Group, BCIE, BIS, CAN (observer), Caricom (observer), CD, CDB, CE (observer), CELAC, CSN (observer), EBRD, FAO, FATF, G-3, G-15, G-20, G-24, G-5, IADB, IAEA, IBRD, ICAO, ICC (national committees), ICCt, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, IHO, ILO, IMF, IMO, IMSO, Interpol, IOC, IOM, IPU, ISO, ITSO, ITU, ITUC (NGOs), LAES, LAIA, MIGA, NAFTA, NAM (observer), NEA, NSG, OAS, OECD, OPANAL, OPCW, Pacific Alliance, Paris Club (associate), PCA, SICA (observer), UN, UNASUR (observer), UNCTAD, UNESCO, UNHCR, UNIDO, Union Latina (observer), UNWTO, UPU, WCO, WFTU (NGOs), WHO, WIPO, WMO, WTO

1.6 ข้อมูลการเดินทางเข้าประเทศ และการท่องเที่ยว

การเดินทาง:ปัจจุบันยังไม่มีสายการบินให้บริการเส้นทางจากไทยมายังเม็กซิโกโดยตรง ผู้ที่จะเดินทางมาจากไทยสามารถต่อเครื่องได้ที่โตเกียว (Aeromexico และ ANA โดย ANA จะเริ่มให้บริการเส้นทางนี้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560) เซี่ยงไฮ้ (Aeromexico) โซล (Aeromexico จะเริ่มให้บริการเส้นทางนี้ในเดือนพฤษภาคม 2560) แฟรงค์เฟิร์ต (Lufthansa) อัมสเตอร์ดัม (KLM) หรือหลายเมืองในสหรัฐอเมริกา (เช่น Los Angeles, San Francisco, New York, Houston) โดยใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 20-30 ชั่วโมง

วีซ่า:คนไทยที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดา ซึ่งจะเดินทางเข้าเม็กซิโกต้องขอวีซ่าที่สถานเอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทย ยกเว้นผู้ที่มีวีซ่าหรือถิ่นพำนักในสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ เชงเก้น ญี่ปุ่น ชิลี เปรู และโคลัมเบีย หรือผู้ที่ถือบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจ APEC สามารถเดินทางเข้าเม็กซิโกได้เลยโดยไม่ต้องใช้วีซ่าเป็นระยะเวลา 180 วัน (ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางทูต ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา)

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ: โบราณสถาน Teotihuacán, Chichén Itzá, Tulum

เมือง Mexico City, Guadalajara, Guanajuato, Oaxaca, Puebla

ชายหาด Cancún, Puerto Vallarta, Los Cabos

2. ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

2.1 ภาพรวม

เม็กซิโกเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของลาตินอเมริกา รองจากบราซิล และมีมูลค่า GDP (PPP) สูงถึง 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเป็นอันดับที่ 11 ของโลก ตามการจัดอันดับของ International Monetary Fund (IMF)  โดยมีพื้นฐานอยู่บนระบบการค้าแบบเสรี มุ่งเน้นการส่งออกทั้งในสาขาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ซึ่งกว่า 90% ของการส่งออกนั้นอยู่ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่กับ 45 ประเทศ

เศรษฐกิจของเม็กซิโกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตรา 2.5% เกือบตลอดทั้งปี 2558 และในตอนต้นของปี 2559 แม้ว่าจะได้รับการคาดการณ์ว่าอัตราดังกล่าวจะลดลงเหลือ 2% ในปี 2559 อันเป็นผลมาจากการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี โดยการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันได้หันมาพึ่งพาการบริโภคของภาคเอกชนอย่างเต็มรูปแบบ อันเนื่องมาจากการลงทุนและการส่งออกที่อ่อนแอ

รัฐบาลชุดปัจจุบันของประธานาธิบดี Enrique Peña Nieto ดำเนินนโยบายมุ่งเน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงสองปีแรก โดยการผ่านร่างและบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปทั้งทางด้านการศึกษา พลังงาน การเงิน การคลัง และการสื่อสารโทรคมนาคม ด้วยเป้าหมายระยะยาวที่จะพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เม็กซิโกได้เริ่มการประมูลเพื่อให้สัมปทานในการสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติในปี 2558 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปด้านพลังงานที่อนุญาตให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าได้ ซึ่งเม็กซิโกได้แสดงศักยภาพในการปรับตัวและพัฒนาเพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาประมูลได้ท่ามกลางสภาวะถดถอยของราคาน้ำมันโลก

แม้ว่าเสถียรภาพทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคของประเทศจะช่วยลดเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด รวมทั้งยังช่วยเพิ่มรายได้ต่อหัวของประชากรในประเทศเม็กซิโกได้ แต่ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนยังมีอยู่สูง กำลังแรงงานของเม็กซิโกในปี 2558 มีจำนวนถึง 52.91 ล้านคน โดยทั้ง OECD และ WTO ต่างยกให้แรงงานเม็กซิกันเป็นผู้ที่ทำงานหนักมากที่สุดในโลกในด้านของชั่วโมงการทำงานตลอดทั้งปีแม้มีค่าแรงรายชั่วโมงอยู่ในระดับต่ำ โดยในปี 2559 ค่าแรงขั้นต่ำของเม็กซิโกอยู่ที่ 73.04 เปโซ หรือประมาณ 130 บาทต่อวัน

เศรษฐกิจของเม็กซิโกมีการพึ่งพาสหรัฐอเมริกาอยู่มาก โดยในปี 2558 การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามีสัดส่วน 81.1% ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งกลายเป็นอีกปัญหาหนึ่งของเม็กซิโก นอกจากนี้ ค่าเงินเปโซยังประสบภาวะอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปลายปี 2559 เงินเปโซได้อ่อนค่าลงไปต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่อัตรา 20 เปโซ ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ อีกทั้งแนวโน้มนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐอเมริกาที่กีดกันชาวต่างชาติ ทำให้เม็กซิโกต้องปรับตัวอีกมากในอนาคต เนื่องจากแต่ละปีชาวเม็กซิกันที่ทำงานในสหรัฐอเมริกาส่งรายได้กลับประเทศเป็นจำนวนมากมาย

2.2 ดัชนีทางเศรษฐกิจ[footnoteRef:4] (2558) [4: สถิติของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ (CIA Factbook)]

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP):

GDP - Official Exchange Rate: 1.144 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

GDP – Real Growth Rate: 2.5%

GDP – Per capita: 17,500 เหรียญสหรัฐฯ

GDP by Sector: เกษตรกรรม 36% อุตสาหกรรม 32.8% และบริการ 63.6%

ประชากรวัยทำงาน: 52.91 ล้านคน (อันดับที่ 13 ของโลก)

อัตราการว่างงาน: 4.4%

ประชากรที่จัดอยู่ในระดับยากจน: 52.3%

อัตราเงินเฟ้อ: 2.7%

เงินสำรองเงินตราต่างประเทศและทอง: 178,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (อันดับที่ 13 ของโลก)

หนี้ (ภายนอกประเทศ): 441,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (อันดับที่ 29 ของโลก)

สกุลเงิน (รหัสย่อ): เม็กซิกันเปโซ (MXN)

อัตราแลกเปลี่ยน: 20.5306 MXN / 1 USD (ธันวาคม 2559)

1.74 THB / 1 MXN (ธันวาคม 2559)

เมืองเศรษฐกิจสำคัญ: Mexico City, Guadalajara, Monterrey

เมืองอุตสาหกรรมสำคัญ: Mexico City และเขตปริมณฑล, Toluca, Queretaro, Aguascalientes, Tamaulipas

เมืองท่าสำคัญ: - ฝั่งแปซิฟิก: Manzanillo, Colima, Acapulco

- ฝั่งแอตแลนติก (อ่าวเม็กซิโก): Veracruz

2.3 การลงทุนจากต่างประเทศ

เม็กซิโกเป็นหนึ่งในประเทศที่เปิดรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากที่สุด โดย World Investment Report ของ UNCTAD ประจำปี 2558 ได้จัดอันดับให้เม็กซิโกเป็นประเทศที่รับการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก โดยมีมูลค่า 215,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการลงทุนของต่างชาติ โดยมีการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมการบินในรัฐ Queretaro เป็นหนึ่งปัจจัยหลัก

นักลงทุนจากต่างประเทศส่วนใหญ่มักมุ่งความสนใจไปยังเมืองต่างๆ ตามชายแดนระหว่างเม็กซิโกกับสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานมากมาย) รวมทั้งในเมืองหลวงของประเทศด้วย โดยสาขาที่ได้รับการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดคือ การเงิน อุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และพลังงาน นอกจากเมืองอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว ยังมีรัฐ Yucatan ที่มีการลงทุนจากต่างประเทศ (ส่วนใหญ่จากสหรัฐอเมริกา และสาขาธนาคารจากสเปน) เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง

ความสามารถในการแข่งขันของเม็กซิโกมักมีปัญหาอุปสรรคจากการเติบโตขององค์กรอาชญากรรม แม้ว่าการคอร์รัปชั่นและความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ก็ถูกจัดให้เป็นปัญหาหลักด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ รัฐบาลปัจจุบันของเม็กซิโกได้พยายามเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการออกนโยบายปฏิรูปทั้งทางด้านพลังงาน การคมนาคมสื่อสาร แรงงาน การเงิน และการศึกษา ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2557 และในปีเดียวกันนั้นเอง รัฐบาลก็ได้วางแผนที่จะพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างสนามบิน เพื่ออำนวยความสะดวกและกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ

จากข้อมูลของธนาคาร Santander[footnoteRef:5] ระบุว่าเม็กซิโกมีข้อได้เปรียบในด้านค่าแรงที่ต่ำเทียบเท่ากับเอเชีย และยังมีข้อตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมหลายประเทศ อีกทั้งยังมีที่ตั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์ระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและใต้ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าสู่ตลาดอเมริกา หรือขยายห่วงโซ่อุปทานของตนในทวีปดังกล่าว แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่มีอัตราดอกเบี้ยธนาคารสูงสำหรับธุรกิจ SMEs เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาสหรัฐอเมริกามากเกินไป องค์กรอาชญากรรมในเม็กซิโกที่มักสร้างปัญหาด้านความปลอดภัยบริเวณชายแดนติดกับสหรัฐอเมริกา และขนาดที่ใหญ่โตของประเทศอาจก่อให้เกิดความท้าทายเกี่ยวกับการขนส่ง [5: https://en.portal.santandertrade.com]

ส่วนสาขาที่มีศักยภาพสูงสำหรับการลงทุนในเม็กซิโก ได้แก่ บริการหลังการขายสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ (การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การขายอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่ง) เครื่องใช้ไฟฟ้า ห่วงโซ่ในการจัดจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาสูบ และบริการทางเทคนิค (เช่น การดูแลรักษาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) รวมทั้งสาขาธนาคารที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

ตารางที่ 1: ประเทศที่มีการลงทุนในเม็กซิโกเรียงลำดับจากมากไปน้อย ปี 2557

ตารางที่ 2 : สาขาที่มีการลงทุนจากต่างประเทศเรียงลำดับจากมากไปน้อย ปี 2557

3. การค้ากับต่างประเทศ

3.1 การจัดทำข้อตกลงทางการค้า

เม็กซิโกอยู่ในเครือข่ายข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งหมด 14 ฉบับ ครอบคลุม 45 ประเทศ (ตารางที่ 3) และมีการลงนามในข้อตกลงต่างตอบแทนเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน 32 ฉบับกับ 33 ประเทศ รวมทั้งยังมีอีก 9 Partial Scope and Economic Complementation Agreements ภายใต้กรอบของ Latin-America Integration Association (ALADI) ด้วย[footnoteRef:6] [6: www.promexico.gob.mx]

ข้อตกลงการค้าเสรี

ข้อตกลง

ประเทศที่ร่วมลงนามในข้อตกลง

วันที่เริ่มมีผลบังคับใช้

หมายเหตุ

NAFTA

เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา แคนาดา

1 มกราคม 2537

เป็น FTA ที่สำคัญที่สุด

G3 FTA

เม็กซิโก โคลัมเบีย เวเนซุเอลา

1 มกราคม 2538

เวเนซุเอลาขอลาออกในปีพ.ศ. 2549

Mexico-Costa Rica FTA

เม็กซิโก คอสตาริกา

1 มกราคม 2538

Mexico-Nicaragua FTA

เม็กซิโก นิการากัว

1 มิถุนายน 2541

Mexico-Chile FTA

เม็กซิโก ชิลี

1 สิงหาคม 2542

Mexico-EU FTA

เม็กซิโก ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

1 กรกฎาคม 2543

เป็น FTA แรกระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศในทวีปอเมริกา

Mexico-Israel FTA

เม็กซิโก อิสราเอล

1 กรกฎาคม 2543

Mexico- European Free Trade Association (EFTA)

เม็กซิโก ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ สวิสเซอร์แลนด์

1 ตุลาคม 2544

Mexico-Northern Triangle FTA

เม็กซิโก กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ ฮอนดูรัส

15 มีนาคม 2543 (เอลซัลวาดอร์และกัวเตมาลา)

1 มิถุนายน 2544

(ฮอนดูรัส)

Mexico-Japan Economic Partnership Agreement (EPA)

เม็กซิโก ญี่ปุ่น

1 เมษายน 2548

Unique FTA

เม็กซิโก คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว

ยังไม่เริ่มบังคับใช้

Mexico-Peru FTA

เม็กซิโก เปรู

1 กุมภาพันธ์ 2555

Mexico-Uruguay FTA

เม็กซิโก อุรุกวัย

15 กรกฎาคม 2547

Mexico-Panama FTA

เม็กซิโก ปานามา

1 กรกฎาคม 2558

ตารางที่ 3: ข้อตกลงการค้าเสรีที่เม็กซิโกร่วมลงนาม

3.2 การเป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจ

1. Latin-America Integration Association (ALADI) เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศในลาตินอเมริกาที่ให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี และความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันเอง ประกอบไปด้วยสมาชิก 13 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนติน่า โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย คิวบา เอกวาดอร์ เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย เปรู อุรุกวัย และเวเนซุเอลา ก่อตั้งเมื่อปี 2523

2. Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) เป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ตั้งขึ้นเพื่อติดตามแนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้วในเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตกและแปซิฟิก และประสามนนโยบายทั้งระดับภายในและต่างประเทศในการหารือต่างๆ มีสมาชิก 35 ประเทศ ก่อตั้งเมื่อปี 2505 ประเทศเม็กซิโกเป็นสมาชิกลำดับที่ 25 ในเดือนเมษายน 2537

3. Pacific Alliance ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ และร่วมมือกันตัดสินใจท่าทีเกี่ยวกับการค้ากับประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก ประกอบไปด้วย ชิลี โคลัมเบีย เม็กซิโก และเปรู

3.3 ข้อตกลงอื่นๆ ที่น่าสนใจ

1. Trans-Pacific Partnership Agreement (TPP) ลงนามแล้วเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดกำแพงทางการค้า สร้างกรอบความร่วมมือว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา สนับสนุนมาตรฐานด้านสิทธิแรงงานและกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกรอบมหาสมุทรแปซิฟิก สมาชิกปัจจุบันประกอบไปด้วย บรูไน ชิลี นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก เปรู และเวียดนาม

2. Mexico-Australia Investment Promotion and Protection Agreement มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544

3. Mexico-Sweden Investment Promotion and Protection Agreement มีผลบังคับใช้เดือนพฤษภาคม 2544

4. Mexico-China Investment Promotion and Protection Agreement ยังอยู่ในระหว่างหารือ โดยเม็กซิโกยกให้เป็นความสำคัญเร่งด่วน

3.4 การค้ากับต่างประเทศ

การส่งออก

เม็กซิโกมีมูลค่าการส่งออกสินค้า ในปี 2558 คิดเป็น 380,772 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญคือน้ำมันดิบ รถยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ และคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีสินค้าทางการเกษตรที่เม็กซิโกเป็นผู้ส่งออกระดับต้นๆ ของโลก ได้แก่ กาแฟ อะโวคาโด มะละกอ และมะนาว ประเทศคู่ค้าในการส่งออกที่สำคัญของเม็กซิโกคือสหรัฐอเมริกา (81.2%) แคนาดา จีน สเปน และบราซิล

การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าสินค้าของเม็กซิโก ในปี 2558 คิดเป็น 405,280 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการนำเข้าน้ำมันแปรรูป ชิ้นส่วนในการประกอบรถยนต์ แผงวงจรรวม คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ส่งสัญญาณ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา (47.4%) นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนี

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การค้ากับต่างประเทศ

2556

2557

2558

การนำเข้าสินค้า

390,965

411,581

405,280

การส่งออกสินค้า

380,015

397,129

380,772

การนำเข้าบริการ

28,364

30,341

29,495

การส่งออกบริการ

20,194

21,086

22,609

ดุลการค้า

-10,950

-14,452

-24,508

ดุลบริการ

-8,170

-9,255

-6,886

ตารางที่ 4: การส่งออก-นำเข้าสินค้าและบริการของเม็กซิโกระหว่างปี 2556 – 2558[footnoteRef:7] [7: ข้อมูลจากธนาคาร Santander]

อันดับ

การส่งออก

การนำเข้า

ตลาดส่งออก

สัดส่วน (%)

แหล่งนำเข้า

สัดส่วน (%)

1

สหรัฐอเมริกา

81.2

สหรัฐอเมริกา

47.4

2

แคนาดา

2.8

จีน

17.7

3

จีน

1.3

ญี่ปุ่น

4.4

4

บราซิล

1.0

เกาหลีใต้

3.7

5

โคลัมเบีย

1.0

เยอรมนี

3.5

6

สเปน

0.9

แคนาดา

2.5

7

เยอรมนี

0.9

มาเลเซีย

1.9

8

ญี่ปุ่น

0.8

อิตาลี

1.3

9

เกาหลีใต้

0.7

ไทย

1.3

10

ฝรั่งเศส

0.6

บราซิล

1.2

ตารางที่ 5: ประเทศคู่ค้าของเม็กซิโก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ปี 25587

4. นโยบายเศรษฐกิจ

4.1 นโยบายและมาตรการทางการค้า

จากรายงานการทบทวนนโยบายทางการค้า (Trade Policy Review) ฉบับปี 2556[footnoteRef:8] ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดของเม็กซิโกต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เม็กซิโกยังคงเดินหน้านโยบายตามวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มความร่วมมือของตนในองค์การการค้าผ่านทางระบบการค้าแบบพหุภาคี และการให้สิทธิพิเศษทางการค้าต่างๆ รวมไปถึงการให้หลักปฏิบัติอย่างชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) แก่ประเทศคู่ค้าของตนทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายทางการค้าที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2539 โดยมีเป้าหมายคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าให้แก่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบคือ Federal Regulatory Improvement Commission (COFEMER) [8: ดูบทสรุปรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://www.wto.org/english/tratop_e/tpr_e/s279_sum_e.pdf]

หน่วยงานที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายและมาตรการที่มีผลต่อการค้าระหว่างประเทศของเม็กซิโก ได้แก่

1) กระทรวงเศรษฐกิจ (Ministry of Economy) กำหนดทิศทางและประกาศใช้มาตรการต่างๆ ที่มีผลต่อการค้า

2) คณะกรรมาธิการการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Commission (COCEX)) ให้คำปรึกษาในการดำเนินมาตรการที่มีผลต่อการค้าต่างประเทศ ซึ่งความเห็นดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของกระทรวงเศรษฐกิจ แต่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย

3) คณะกรรมาธิการร่วมในการส่งเสริมการส่งออก (Joint Commission for Export Promotion) ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานส่งเสริมการส่งออก

4) ProMexico เป็นหน่วยงานของรัฐบาล สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจของเม็กซิโก ทำหน้าที่ส่งเสริมการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ อีกทั้งยังช่วยให้คำปรึกษานักธุรกิจเม็กซิกันที่ต้องการส่งออกสินค้าและบริการ เพื่อให้เม็กซิโกมีบทบาททางเศรษฐกิจบนเวทีโลกมากขึ้น ปัจจุบัน ProMexico มีสำนักงานอยู่ 48 แห่ง ใน 31 ประเทศ โดยสำนักงานที่ดูแลครอบคลุมประเทศไทยตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เม็กซิโกมีท่าทีในการสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้าในเวทีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมุ่งเน้นในการเปิดเสรีการค้าระดับทวิภาคีและภูมิภาค ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางนโยบายการค้าที่สำคัญของเม็กซิโก การจัดทำข้อตกลงทางการค้าประกอบกับการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ทำให้เม็กซิโกกลายเป็นประเทศที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในเวทีการค้าโลก

ที่ผ่านมา เม็กซิโกได้ดำเนินการหลากหลายมาตรการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการค้าให้กับนักธุรกิจ อีกทั้งยังปรับปรุงกระบวนการทางศุลกากรให้ง่ายขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้า โดยในปี 2551 เม็กซิโกได้ยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการนำเข้าบางข้อ และก่อตั้ง Single Window สำหรับการดำเนินการทางการค้าต่างประเทศ โดยมีมาตรการที่สำคัญทั้งด้านภาษีและที่มิใช่ภาษี ดังนี้

มาตรการด้านภาษี

การนำเข้าผลิตภัณฑ์มายังเม็กซิโกไม่ว่าจะโดยบุคคลทั่วไป หรือบริษัทจะต้องเสียภาษีนำเข้า โดยใช้ระบบการประเมินมูลค่าแบบ CIF (Cost, Insurance and Freight) ซึ่งหมายความว่าจะมีการคำนวณภาษีนำเข้าบนฐานของราคาที่รวมค่าขนส่งแล้ว โดยมีอัตราที่ต่างกันออกไปสำหรับแต่ละประเภทของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ 0% ถึง 140.4% โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 13.97% ผลิตภัณฑ์บางประเภท เช่น คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่มีภาษีนำเข้า นอกจากนี้ยังมีการเก็บภาษีธรรมเนียมศุลกากร (DTA) อีก 0.8% จากมูลค่าสินค้าแบบ CIF และภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าประเภทแอลกอฮอล์และยาสูบในอัตราระหว่าง 25.0% ถึง 160.0% ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มของเม็กซิโกอยู่ที่ 16.0%

มาตรการที่มิใช่ภาษี

เม็กซิโกมีการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีกับการนำเข้าสินค้ามายังประเทศของตน ด้วยเหตุผลหลายประการเช่น ดุลการชำระเงินต่างประเทศ ความมั่นคงของประเทศ การปกป้องสุขอนามัยของประชาชน และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยมีมาตรการที่สำคัญ เช่น

1) มาตรการด้านสุขอนามัย (Sanitary and Phytosanitary Standards) เป็นมาตรการที่นำมาใช้กับการนำเข้า

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและแมลงที่อาจติดปนมากับสินค้า โดยมีกระทรวงเกษตรเป็นผู้กำหนดระเบียบ ผู้ที่ต้องการนำเข้าสินค้าพืชผักสด ผลไม้สด ดอกไม้ สินค้าอาหาร ยารักษาโรค ปุ๋ย ฯลฯ ต้องแสดงเอกสารที่มีข้อมูลแสดงการผลิต วิธีการเพาะปลูก การควบคุมโรคและแมลงพืช อีกทั้งยังต้องผ่านการพิจารณาและวิเคราะห์ความเสี่ยง และได้รับอนุญาตก่อนนำเข้า

นอกจากนี้ ยังมีระเบียบเฉพาะสำหรับการควบคุมการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำที่มีเปลือกทุกรูปแบบ ตั้งแต่สัตว์น้ำสด สัตว์น้ำแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ประมง รวมไปถึงสินค้าแปรรูปต่างๆ โดยผู้นำเข้าจะต้องแสดงใบแหล่งรับรองแหล่งกำเนิดของสุขอนามัยสัตว์น้ำ (สด/แช่แข็ง) ใบรับรองกลุ่มพันธุ์สัตว์น้ำ (สด) และใบรับรองการปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ถูกต้อง (แช่แข็ง)

ในกรณีที่สินค้าถูกระบุว่าต้องมีใบอนุญาตนำเข้า สินค้าต้องผ่านการตรวจคุณภาพตามระเบียบของกระทรวงเกษตรเม็กซิโก ซึ่งจะมีการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบโดยห้องปฏิบัติการที่รับรองโดย National System of Testing Laboratories (SINALP) และใช้เวลาประมาณ 4-5 สัปดาห์ หากผ่านการตรวจสอบจะได้รับใบรับรอง พร้อมทั้งสติ๊กเกอร์สำหรับติดบนตัวสินค้า ในกรณีที่สินค้าไม่ได้ถูกระบุว่าต้องมีใบอนุญาตนำเข้า อาจนำเข้าได้โดยมีหนังสือรับรองด้านสุขอนามัยจากประเทศผู้ผลิต

ทั้งนี้ ผู้ส่งออกจากทั่วโลกสามารถตรวจสอบระเบียบและเอกสารที่ต้องใช้ในการนำเข้าได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงเกษตรเม็กซิโก (www.gob.mx/senasica) โดยกรอกข้อมูลชื่อวิทยาศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ ชื่อทั่วไปของสินค้า ประเภทผลิตภัณฑ์ ประเทศที่ผลิต และประเทศต้นทางลงไปในโปรแกรม

2) มาตรการการขออนุญาตนำเข้า (Import Licensing) หน่วยงานรัฐบาลเม็กซิโกหลายแห่งได้กำหนดประเภท

สินค้าที่ผู้นำเข้าต้องขอรับใบอนุญาตนำเข้า เช่น อาวุธยุทโธปกรณ์ สินค้าปิโตรเคมี ยานพาหนะ ยารักษาโรค ยางรถยนต์ใช้แล้ว เครื่องจักร เสื้อผ้า และสินค้าที่นำเข้ามาภายใต้เงื่อนไขพิเศษต่างๆ โดยผู้นำเข้าจะต้องยื่นใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกโดยกระทรวงเศรษฐกิจเมื่อผ่านพิธีการศุลกากรด้วย และจะอนุญาตให้นำสินค้าเข้าประเทศในปริมาณและมูลค่าที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตนำเข้าเท่านั้น

โดยปกติแล้ว การขออนุมัติใบอนุญาตนำเข้าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ยกเว้นในกรณีที่เป็นสินค้าอ่อนไหว เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า จะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1-2 เดือน ผู้นำเข้าจะต้องยื่นภาพถ่ายแสดงลักษณะสินค้า เอกสารระบุวิธีกรรมการผลิต และภาพถ่ายที่เกี่ยวกับเอกสารรายละเอียดทางเทคนิคที่แนบมากับผลิตภัณฑ์

3) มาตรการการจำกัดปริมาณนำเข้า (Quota) เม็กซิโกกำหนดสินค้าที่มีโควตาไว้จำนวน 11 หมวด ซึ่งครอบคลุมไป

ถึงพิกัดย่อย 70 พิกัด เช่น รองเท้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ข้าวสาลี ข้าว เนื้อไก่ กาแฟ ชา และมันฝรั่ง เป็นต้น โดยจัดสรรโควตาให้แก่ประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรีกับเม็กซิโก

4) มาตรการการห้ามนำเข้าสินค้า (Import Restriction) เม็กซิโกได้กำหนดบัญชีรายชื่อสินค้าที่ห้ามนำเข้าหลาย

รายการทั้งสินค้าเกษตร เคมีพันธุ์ พืช และสัตว์หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ เช่น ปลามีชีวิตที่กินเนื้อ ไข่เต่า หรือกระดองเต่า เมล็ดฝิ่น ดอกฝิ่น หรือสารสกัดจากฝิ่น กัญชาและสารสกัดจากกัญชา เฮโรอีน ยาฆ่าแมลงและสารเคมีต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ เนื่องด้วยเม็กซิโกเคยเป็นประเทศที่มีการระบาดของไข้หวัดหมูอย่างหนัก สินค้าอาหารที่มีหมูเป็นส่วนประกอบจึงถูกห้ามนำเข้าเช่นเดียวกัน

5) มาตรการการใช้ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าชนิดพิเศษ เป็นมาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันการแอบอ้างสิทธิ

ในเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า (C/O) โดยเฉพาะจากจีน โดยบังคับให้สินค้าบางประเภทจากบางประเทศ เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้า เป็นต้น ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเป็นหลักฐานประกอบการนำเข้า

6) มาตรการการปิดฉลากสินค้า สินค้านำเข้าทุกชนิดต้องมีการปิดฉลากที่มีข้อความเป็นภาษาสเปน

7) มาตรการการจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า โดยผู้ที่ต้องการจะนำเข้าสินค้าเข้ามายังเม็กซิโก จะต้องจด

ทะเบียนเป็นผู้นำเข้ากับทางกระทรวงการคลังของเม็กซิโกก่อน

4.2 นโยบายและมาตรการทางการลงทุน

การลงทุนจากต่างประเทศอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายการลงทุนของต่างประเทศ (Foreign Investment Law (LIE)) และมีหน่วยงานรับผิดชอบคือ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศแห่งชาติ (National Foreign Investments Commission (CNIE)) ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแนวทางและนโยบายที่เกี่ยวกับการลงทุนให้แก่รัฐ และให้คำปรึกษานักลงทุนต่างชาติในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน รัฐบาลเม็กซิโกเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการประกอบธุรกิจมากขึ้น และให้การสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ดำเนินนโยบายปฏิรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ เรื่อยมา

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการอื่นที่ทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนได้สะดวกสบายมากขึ้น ทั้งการลดขั้นตอนในการจัดตั้งบริษัท การร่นระยะเวลาอนุมัติการจัดตั้งบริษัทให้เร็วขึ้น รวมทั้งโครงการสนับสนุนการลงทุนต่างๆ ได้แก่

1. โครงการ Maquiladora เป็นโครงการที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อการส่งออก หากผู้ลงทุนผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกอย่างน้อยร้อยละ 10 ของผลผลิตทั้งหมด ก็สามารถเข้าร่วมโครงการนี้เพื่อรับผลประโยชน์ต่างๆ เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และเครื่องจักรในลักษณะ Bonded warehouse

2. โครงการ PROSEC เป็นการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรม 23 สาขา เพื่อส่งเสริมให้เม็กซิโกสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ ซึ่งโรงงานภายใต้โครงการนี้สามารถนำเข้าวัตถุดิบโดยจ่ายภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าปกติได้จำนวนกว่า 16,000 รายการ

3. โครงการ Special Economic Zone (SEZs) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2559 เพื่อดึงดูดการลงทุนในรัฐที่ยากจนทางตอนใต้ของประเทศ (Oaxaca, Guerrero, Chiapas และ Campeche) โดยบริษัทที่เข้ามาก่อตั้งในเขตเหล่านี้จะได้รับการส่งเสริมเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกด้านการค้า การยกเว้นภาษีศุลกากร สิทธิพิเศษในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจที่ง่ายขึ้น

แม้ว่าเม็กซิโกจะเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ก็มีบางกิจการที่สงวนไว้ให้ชาวเม็กซิกันเท่านั้น เช่น กิจการค้าปลีกน้ำมัน บริการขนส่งในภาคการท่องเที่ยว กิจการโทรทัศน์และวิทยุ และธนาคารเพื่อการพัฒนา อีกทั้งยังมีกิจการที่จำกัดสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติไว้ไม่ให้เกินร้อยละ 49 เช่น กิจการการบินภายในประเทศ บริษัทประกันภัย บริการโกดังเก็บสินค้า บริการสินเชื่อ การผลิตอาวุธปืน กิจการสิ่งพิมพ์ บริการขนส่งสินค้า และกิจการท่าเรือขนส่งสินค้า เป็นต้น อนึ่ง ในด้านการถือครองที่ดิน ชาวต่างชาติมีสิทธิในการถือครองที่ดินได้ ยกเว้นพื้นที่ในรัศมี 100 กม. จากพรมแดน และพื้นที่ในรัศมี 50 กม. จากพื้นที่ชายทะเล

5. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

5.1 ข้อมูลทั่วไป

เม็กซิโกและไทยเริ่มมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 16 โดยผ่านทางสเปนซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของทั้งเม็กซิโกและฟิลิปปินส์ในขณะนั้น โดยมีการพบเหรียญเงินที่ผลิตจากเหมืองแร่ในเม็กซิโกถูกนำมาใช้โดยทั่วไปในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) นอกจากนี้ ยังมีการนำพืชผักบางชนิดที่มีต้นกำเนิดในแถบเม็กซิโกเข้ามาปลูกในไทยอย่างแพร่หลายด้วย เช่น พริก มะละกอ มะเขือเทศ เป็นต้น

รัฐบาลไทยได้ตั้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโกขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2518 ส่วนเม็กซิโกได้ตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทยเมื่อปี 2526 ก่อนที่จะสถาปนาสถานเอกอัครราชทูตขึ้นตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา ปัจจุบัน ไทยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองกัวดาลาฮารา

5.2 ข้อตกลงและความร่วมมือระหว่างเม็กซิโกกับไทย

ข้อตกลงและความร่วมมือที่เม็กซิโกมีกับไทย มีดังต่อไปนี้

2533: ข้อตกลงร่วมมือสภาหอการค้าไทยกับสภานักธุรกิจเม็กซิโก

2542: ข้อตกลงยกเลิกการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ

2545: Agreed Minutes of Meeting between the Minister of Economy of Mexico and the Minister of

Commerce of Thailand เพื่อจัดตั้งคณะทำงานพันธมิตรทางยุทธศาสตร์

2546: - ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย Colima

- ข้อตกลงความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษา

- Agreement of Cooperation between the Mexican Business Council for Foreign Trade,

Investment and Technology (COMCE) and the Federation of Thai Industries (FTI) เพื่อจัดตั้ง

คณะกรรมการความร่วมมือทางธุรกิจ

2553: - ข้อตกลงความร่วมมือ CAINTRA – the Federation of Thai Industries (FTI)

- ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสภาธุรกิจไทย-ลาติน กับ COMCE

- ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าไทย กับสภาหอการค้าแห่งชาติแห่งกรุงเม็กซิโก

2557: ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัย Guadalajara

5.3 ความสัมพันธ์ทางการค้า

ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ เม็กซิโกเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 22 ของไทย ในปี 2559 โดยเลื่อนขึ้น 1 อันดับจากปี 2558 และ 2 อันดับจากปี 2556 โดยมีอัตราขยายตัว 19.7%ในปี 2558 เม็กซิโกนำเข้าสินค้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 9 ในอัตรา 1.3% จากสินค้านำเข้าทั้งหมด (ตารางที่ 5) โดยไทยเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากมาเลเซีย จากข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจของเม็กซิโก[footnoteRef:9] การค้าระหว่างไทยและเม็กซิโกประจำปี 2558 เพิ่มขึ้นมาจากปี 2557 มูลค่า 565 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังเม็กซิโกในปี 2558 อยู่ที่ 4,957 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกคิดเป็นมูลค่า 322 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับเม็กซิโกมูลค่า 4,635 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ตารางที่ 6) ที่ผ่านมาไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด [9: http://www.gob.mx/se]

สินค้าหลักที่เม็กซิโกนำเข้าจากไทย คือ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม (ตารางที่ 7) ซึ่งได้แก่ เครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องมือทั่วไป ยางพารา อุปกรณ์การแพทย์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์จากเหล็กและเหล็กกล้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ของเล่นและอุปกรณ์การกีฬา แก้ว รองเท้า และชิ้นส่วนรถยนต์

ส่วนสินค้าหลักที่เม็กซิโกส่งออกมาไทย ได้แก่ เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนรถยนต์ เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เคมี เครื่องจักรกลไฟฟ้า อลูมิเนียม ทองแดง กระดาษ ปลาและอาหารทะเล และยารักษาโรค

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

ปี

ส่งออก

นำเข้า

มูลค่าการค้า

ดุลการค้า

2556

424

4,321

4,745

-3,897

2557

361

4,353

4,714

-3,992

2558

322

4,957

5,279

-4,635

ตารางที่ 6: การค้าระหว่างเม็กซิโกกับไทย ระหว่างปี 2556-2558[footnoteRef:10] [10: ข้อมูลจากกระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโก]

ตารางที่ 7: การส่งออกของไทยไปยังเม็กซิโก แยกตามหมวดสินค้า ระหว่างปี 2556-2559(ม.ค.-ต.ค.)

5.4 การลงทุนขนาดใหญ่ของทั้งสองฝ่าย

การลงทุนของเม็กซิโกในไทย

· บริษัทปูนซีเมนต์ CEMEX ได้เข้าซื้อกิจการปูนซีเมนต์สระบุรี เมื่อปี 2544 โดยใช้ชื่อบริษัท CEMEX (Thailand) Co., Ltd

· บริษัท Metalsa ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์

· กลุ่มบริษัท Kidzania ซึ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ เปิดให้บริการสวนสนุกและการเรียนรู้สำหรับเด็ก ณ สยามพารากอน เมื่อปี 2556

· Costeña ผู้ผลิต Mexican Salsa หลากหลายประเภท ได้เริ่มเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปี 2558

การลงทุนของไทยในเม็กซิโก

· Indorama Ventures ได้เข้าซื้อกิจการการผลิต PET ของบริษัท Invista จำนวน 2 แห่ง ในปี 2553 โดยตั้งอยู่ที่เมือง Queretaro

5.5 ช่องทางการค้าการลงทุน

แม้ไทยและเม็กซิโกจะตั้งอยู่ห่างไกลกัน แต่ก็มีตัวเลขทางการค้าระหว่างกันที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เนื่องจากทั้งไทยและเม็กซิโกต่างก็เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก และอุตสาหกรรมรถยนต์ของเม็กซิโกก็มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เม็กซิโกจึงเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ของไทย โดยสินค้าที่เม็กซิโกยังขาดแคลนและจำเป็นต้องนำเข้า อาทิ ชุดเกียร์ เครื่องยนต์เชื้อเพลิง โครงรถยนต์ ระบบความปลอดภัย หัวฉีด เซนเซอร์ แผงควบคุม และลูกสูบ นอกจากนี้ เม็กซิโกยังต้องการการลงทุนในกระบวนการผลิต เช่น โรงงานประทับตรา (Stamping) โรงหล่อ โรงงานตีเหล็ก และโรงงานเครื่องจักรกล เป็นต้น

อุตสาหกรรมที่นักลงทุนชาวไทยน่าจะมีโอกาสทางการค้าการลงทุนที่ประเทศเม็กซิโก ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อาหารแปรรูป เคมีภัณฑ์ เวชกรรม โลจิสติกส์ ซอฟท์แวร์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และการท่องเที่ยวและบริการ

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจุบันอาหารไทย และการนวดไทยได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในหมู่ชาวเม็กซิกัน โดยในปัจจุบันมีร้านอาหารไทยที่ดำเนินการโดยคนไทยไม่ถึง 10 ร้านทั่วทั้งเม็กซิโก เช่นเดียวกับบริการนวดไทยหรือสปาไทยที่มีให้บริการเพียงไม่กี่แห่ง

5.6 ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าของไทย

นอกจากปัญหาทางด้านภาษา ระยะทาง และการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเม็กซิโกที่มักเป็นอุปสรรคของนักธุรกิจไทยที่สนใจจะทำการค้ากับเม็กซิโกแล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆ อีก เช่น

1) ไทยและเม็กซิโกยังไม่มีการทำข้อตกลงการค้าเสรี อีกทั้งไทยยังไม่ใช่ประเทศที่เม็กซิโกให้ความสำคัญเป็นอันดับ

ต้นๆ ทั้งในด้านการค้าและอื่นๆ

2) การปฏิบัติงานด้านศุลกากรของเม็กซิโกค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน กล่าวคือ บ่อยครั้งที่ศุลกากรเม็กซิโกทำการ

เปลี่ยนแปลงระเบียบปฏิบัติอย่างกะทันหันและไม่แจ้งผู้นำเข้าและส่งออกให้ทราบล่วงหน้า นอกจากนี้ กฎระเบียบที่ขาดความชัดเจนมีผลให้การตีความและการบังคับใช้กฎระเบียบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ด่านต่างๆ มีความแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความยุ่งยาก และล่าช้าในการดำเนินงานของผู้นำเข้าและส่งออกที่ด่านการประเมินราคาจากศุลกากร

3) เมื่อปี 2556 เม็กซิโกได้สั่งห้ามการนำเข้ากุ้งจากไทย เนื่องจากกรณีโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ต่อมาเจ้าหน้าที่

ของเม็กซิโกได้เดินทางมายังไทย เพื่อตรวจประเมินระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของกรมประมงเมื่อเดือนกรกฎาคม 2559 ซึ่งมีผลเป็นที่น่าพอใจ

4) สำนักงานแห่งชาติด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย และคุณภาพของการเกษตรและอาหารของเม็กซิโก

(SENASICA) ได้ออกข้อกำหนดที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2555 ให้ข้าวที่จะนำเข้าเม็กซิโกต้องปราศจากแมลงและโรค โดยจะต้องมีใบรับรอง Phytosanitary Certificate จากหน่วยงานรัฐของประเทศต้นทาง ที่ระบุว่ามีการรมควันข้าวก่อนบรรจุและปราศจากแมลงต่างๆ หากในใบรับรองไม่ได้ระบุข้อมูลดังกล่าว จะต้องมีการรมควันคอนเทนเนอร์เมื่อมาถึงเม็กซิโก ซึ่งอาจจะทำให้การนำข้าวออกจากท่าเรือล่าช้า

6. ข้อควรรู้ก่อนดำเนินธุรกิจในเม็กซิโก

1. ภาษา คนเม�