7
Rs: Reduce Repair Reuse Recycle วิธีการลด ขยะด้วย หลักการ

Reuse Reduce Repair Recycle

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Just Like the Title ^ [ ] ^//

Citation preview

Page 1: Reuse Reduce Repair Recycle

Rs: Reduce Repair Reuse Recycle

วิธีการลด

ขยะด้วย

หลักการ

Page 2: Reuse Reduce Repair Recycle

การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ หรือกระบวนการที่เรียกว่า “รีไซเคิล” คือ การนำาเอาของเสียที่ผ่านการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ที่อาจเหมือนเดิม หรือไม่เหมือนเดิมก็ได้ “การรีไซเคิล” เป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะ ลดมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกไม่ให้ถูกนำามาใช้สิ้นเปลืองมากเกินไป การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มีกระบวนการอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การเก็บรวบรวม 2. การแยกประเภทวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน 3. การผลิตหรือปรับปรุง 4. การนำามาใช้ประโยชน์ในขั้นตอนการผลิตหรือปรับปรุงนั้น วัสดุที่แตกต่างชนิดกัน จะมีกรรมวิธีในการผลิต แตกต่างกัน เช่น ขวดแก้วที่ต่างสี หรือกระดาษที่เนื้อกระดาษ และสีที่แตกต่างกัน ต้องแยกประเภทออกจากกัน เมื่อผ่านขั้นตอนการผลิตแล้วของเสียที่ใช้แล้วเหล่านี้จะกลายมาอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ใหม่จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนในการนำามาใช้ประโยชน์ ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจึงสามารถสังเกตได้จากเครื่องหมายทีประทับไว้ บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทุกครั้ง การรีไซเคิล ทำาให้โลกมีจำานวนขยะลดน้อยลง และช่วยลดปริมาณการนำาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมให้น้อยลง ลดการถลุงแร่บริสุทธิ์ และลดปริมาณการโค่นทำาลายป่าไม้ลงด้วย การหมุนเวียนนำามาผลิตใหม่ยังเป็นการลดการใช้พลังงานจากใต้ภิภพ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศและลดภาวะการเกิดฝนกรด สำาหรับประเทศไทยนั้น จากการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พบว่า ศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำากลับมาใช้ประโยชน์ได้จากมูลฝอยที่เก็บขนได้ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศมีประมาณร้อยละ 16-34 ของปริมาณมูลฝอยที่เก็บได้ แต่มีเพียงร้อยละ 7 หรือประมาณ 2,360 ตันต่อวันเท่านั้น ที่มีการนำากลับมาใช้ประโยชน์ การนำากลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับชีวิตเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งแวดล้อมและช่วยถนอมรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลกไว้ได้ดีที่สุด ในหนทางหนึ่ง

แล้ววันนี้ ท่านได้นำาของ

เสียกลับมาใช้ประโยชน์

ใหม่กับเขาหรือยัง??

Page 3: Reuse Reduce Repair Recycle

ผลกระทบจากขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม

ขยะ เศษวัสดุ ของเสีย มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากการขยายตัวของ

เมืองการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำานวยความสะดวกสบาย การอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น

หากใช้วิธีกำาจัดที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา

น้ำาเสียจากกองขยะ ( Leachate ) มีความสกปรกสูง มีสภาพเป็นกรด มีเชื้อโรค หาก

น้ำาจากขยะรั่ว ไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เป็นผลให้เกิดอันตรายและเกิดมลพิษในบริเวณที่

ปนเปื้อน ดังในแหล่งทิ้งขยะของเทศบาลต่าง ๆ ที่เอาขยะไปเทกองไว้เป็นภูเขาขยะ น้ำาจาก

ขยะจะไหลซึมออกทางบริเวณข้างกอง ส่วนหนึ่งก็ซึมลงสู่ใต้ดิน ในที่สุดก็ไปปนเปื้อนกับน้ำา

ใต้ดินเกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้านที่บริโภคน้ำา ถ้าน้ำาจากกองขยะไหลซึมลงสู่

แหล่งน้ำาในบริเวณใกล้เคียง ก็จะทำาให้น้ำาในแหล่งน้ำานั้นเน่าเสีย ถ้าปนเปื้อนมากถึงขนาดก็

จะทำาให้สัตว์น้ำาต่าง ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด พืชน้ำา ตายได้ เพราะขาดออกซิเจน

และขาดแสงแดดที่จะส่งผ่านน้ำา เนื่องจากน้ำามีสีดำา หากน้ำาขยะมีการปนเปื้อนลงในแหล่ง

น้ำาที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคของ ชุมชน ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำา

มากขึ้น

ขยะมูลฝอยที่ทำาให้เกิดมลพิษในอากาศ กองขยะมูลฝอยขนาดมหึมาของเทศบาล จะ

เกิดการหมัก โดยจุลินทรีย์ในกองขยะจะเกิดก๊าซต่าง ๆ เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หาก

ไม่มีการกำาจัดก๊าซเหล่านี้อย่างเหมาะสม ก๊าซที่เกิดขึ้นได้แก่ มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า ) เป็นต้น และยังมีฝุ่นละอองจากกองขยะ ก่อให้เกิดปัญหากับ

ระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง แก่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณ ใกล้เคียง

Page 4: Reuse Reduce Repair Recycle

ปัญหาจากสภาพสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอย

ขยะมูลฝอย เป็นตัวการสำาคัญประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม

เมื่อมีขยะมูลฝอยจำานวนมาก แต่ชุมชนไม่สามารถเก็บขนและกำาจัดขยะมูลฝอยได้

อย่างหมดจดหรือจัดการขยะมูลฝอยอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นขยะมูลฝอยจึง

เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนี้ คือ

1. อากาศเสีย

เกิดจากการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้ง ก่อให้เกิดควันและสารพิษทางอากาศทำาให้

คุณภาพอากาศเสื่อมโทรม

2. น้ำาเสีย

เกิดจากกองขยะมูลฝอยบนพื้น เมื่อฝนตกลงมาบนกองขยะมูลฝอยจะเกิดน้ำาเสีย

มีความสกปรกมาก ซึ่งจะไหลลงสู่แหล่งน้ำา ทำาให้เกิดภาวะมลพิษของแหล่งน้ำา

3. แหล่งพาหะนำาโรค

เกิดจากการกองขยะมูลฝอยบนพื้นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน เป็นต้น ซึ่งเป็น

พาหะนำาโรคติดต่อทำาให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

4. เหตุรำาคาญและความไม่น่าดู

เกิดจากการเก็บขนขยะมูลฝอยไม่หมด รวมทั้งการกองขยะมูลฝอยบนพื้น ซึ่งจะส่งกลิ่น

เหม็นรบกวนประชาชนและเกิดภาพไม่สวยงาม ไม่เป็นสุนทรียภาพ

Page 5: Reuse Reduce Repair Recycle

วิธีการกำาจัดขยะมูลฝอย ( Method of Refuse Disposal ) มีหลายวิธีด้วยกัน เป็นวิธีที่ดี

ถูกสุขลักษณะบ้างไม่ถูกสุขลักษณะบ้าง เช่น นำาไปกองไว้บนพื้นดิน, นำาไปทิ้งทะเล, นำาไปฝัง

กลบ, ใช้ปรับปรุงพื้นที่, เผา, หมักทำาปุ๋ย, ใช้เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ การจัดการและการกำาจัดขยะ

แต่ละวิธีต่างมีข้อดีข้อเสียต่างกัน การพิจารณาว่าจะเลือกใช้วิธีใดต้องอาศัยองค์ประกอบ

ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่สำาคัญ คือ ปริมาณของขยะที่เกิดขึ้น รูปแบบการบริหารของท้องถิ่น,

งบประมาณ, ชนิด – ลักษณะสมบัติของขยะมูลฝอย, ขนาด สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ที่

จะใช้กำาจัดขยะมูลฝอย, เครื่องมือเครื่องใช้, อาคารสถานที่, ความร่วมมือของประชาชน,

ประโยชน์ที่ควรจะได้รับ, คุณสมบัติของขยะ เช่น ปริมาณของอินทรีย์ อนินทรีย์สาร การ

ปนเปื้อนของสารเคมีที่มีพิษและเชื้อโรค ปริมาณของของแข็งชนิดต่าง ๆ ความหนาแน่น

ขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนเมืองมีแหล่งที่มาจาก อาคาร บ้านเรือน บริษัท ห้างร้าน

โรงงาน อุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาด และสถานที่ราชการ ขยะที่ทิ้งในแต่ละวันจะ

ประกอบด้วยเศษอาหาร กระดาษ เศษแก้ว เศษไม้ พลาสติก เศษดิน เศษหิน ขี้เถ้า เศษผ้า

และใบไม้ กิ่งไม้ โดยมีปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน

Page 6: Reuse Reduce Repair Recycle

การกำาจัดขยะมูลฝอยในแต่ละวิธีต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ฉะนั้นควรเลือกวิธี

ที่เหมาะสม ของแต่ละพื้นที่ โดยกระทำาควบคู่กันไปทั้งการลดปริมาณขยะมูลฝอย การนำา

กลับไปใช้ใหม่ และการกำาจัดขยะมูลฝอย สิ่งสำาคัญที่ควรได้รับการส่งเสริมให้มากกว่าที่

เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ การลดปริมาณขยะ ซึ่งมีแผนหรือแนวคิด 4 R.

R. 1 ( Reduce ) เป็นการลดปริมาณมูลฝอยที่อาจเกิดขึ้น เช่น ใช้ตะกร้าใส่ของแทนถุง

พลาสติก การลดปริมาณวัสดุ ( Reduce material volume ) เป็นการพยายามเลือกใช้สินค้า

ที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่แทนบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อลดปริมาณของบรรจุ

ภัณฑ์ที่จะกลายเป็นขยะมูลฝอย การลดความเป็นพิษ ( Reduced toxicit ) เป็นการเลือกใช้

R. 2 ( Repair ) การนำามาแก้ไข นำาวัสดุอุปกรณ์ที่ชำารุดเสียหาย ซึ่งจะทิ้งเป็นมูลฝอย

มาซ่อมแซมใช้ใหม่ เช่น เก้าอี้ที่เก่าแล้วก็ซ่อมแซม แล้วนำากลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

Page 7: Reuse Reduce Repair Recycle

R. 3 ( Reuse ) นำาขยะมูลฝอยเศษวัสดุมาใช้ใหม่อีกหรือเป็นการใช้ซ้ำา ใช้แล้วใช้อีก

ๆ เช่น ขวดน้ำาหวาน นำามาบรรจุน้ำาดื่ม ขวดกาแฟที่หมดแล้ว นำามาใส่น้ำาตาล การนำา

ผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ ( Product reuse ) เป็นการพยายามใช้สิ่งของต่าง ๆ หลาย ๆ ครั้ง

ก่อนที่จะทิ้งหรือเลือกใช้ของใหม่

R. 4 ( Recycle ) การหมุนเวียนกลับมาใช้ นำาขยะมาแปรรูป ตามกระบวนการของ

แต่ละประเภท เพื่อนำากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสภาพจากเดิมแล้วนำามา

ใช้ใหม่ เช่น พลาสติก กระดาษ ขวด โลหะต่าง ๆ ฯลฯ นำามาหลอมใหม่ นำายางรถยนต์ที่

ใช้ไม่ได้แล้วมาทำารองเท้า นำาแก้วแตกมาหลอมผลิตเป็นแก้วหรือกระจกใหม่ การนำาวัสดุ

กลับมาใช้ใหม่ ( Material recycling ) เป็นการนำาวัสดุมาผ่านกระบวนการเพื่อผลิตเป็น

สินค้าใหม่