32
AMERA C 7 เทคนิคการถ่ายภาพ สำาหรับมือใหม่กล้อง DSLR ประวัติความเป็นมาของกล้องดิจิตอล DSLR กล้อง FullFrame กับ Crop Sensor Portrait Photography Landscape Photography Zoom Burst Macro Photography Architect Photography Waterfall Photography Sport Photography

Book Camera DSLR

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Book Camera DSLR

Citation preview

Page 1: Book Camera DSLR

DSLR a m e r a C

7 เทคนิคการถ่ายภาพ สำาหรับมือใหม่กล้อง DSLR

ประวัติความเป็นมาของกล้องดิจิตอล DSLR

กล้อง FullFrame กับ Crop Sensor

Portrait Photography

Landscape Photography

Zoom Burst

Macro Photography Architect Photography

Waterfall Photography

Sport Photography

Page 2: Book Camera DSLR
Page 3: Book Camera DSLR

ประวัติความเป็นมาของกล้องดิจิตอล DSLR

กล้อง FullFrame กับ Crop Sensor

7 เทคนิคการถ่ายภาพ สำาหรับมือใหม่กล้อง DSLR

Portrait Photography

Landscape Photography

Macro Photography

Waterfall Photography

Sport Photography

Architect Photography

Zoom Burst

5

8

9

10

13

16

19

21

23

25

Page 4: Book Camera DSLR

ประวัติความเป็นมาของกล้องดิจิตอล DSLR ในการถ่ายภาพจากอดีต

ถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาต่อเนื่องมาโดยลำาดับ การถ่ายภาพเป็นการบันทึกความทรงจำาและการสื่อความหมายในสมัยโบราณ เสมือนแสดงวิธีการวาดภาพโดยดินสอหรือสีเพื่อบันทึกความทรงจำาและสื่อความหมาย ต่อมามนุษย์ได้มีการคิดค้นวิธีการสร้างภาพให้เหมือนจริงโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยคิดค้นกระบวนการสร้างภาพในเรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช อริสโตเติล (Ar-istotle) นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกได้บันทึกหลักการของแสงไว้ว่า ถ้าเราปล่อยให้ลำาแสงผ่านเข้าไปทางช่องเล็กๆในห้องมืด โดยมีกระดาษขาวอยู่ด้านหลัง ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15 เซนติเมตร จะปรากฏภาพบนกระดาษมีลักษณะเป็นภาพหัวกลับช จากหลักการนี้เองได้มีการพัฒนา ประดิษฐ์คิดค้นจนเกิดกล้องรูเข็มขึ้น มีลักษณะเป็นกล่องเหมือนห้องมืด มีรูเล็กๆอยู่ที่ฝาข้างหนึ่ง และเมื่อแสงผ่านรูปจะทำาให้ปรากฏภาพจริงหัวกลับบนแผ่นรองรับด้านตรงข้ามได้ เรียกว่า กล้องออบสคิวรา (Obscura Camera) จิตรกรสมัยนั้นได้มีการใช้ประโยชน์จากกล้องลักษณะนี้เพื่อช่วยในการลอกแบบวาดภาพ รูปแบบของกล้องในระยะต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบและคุณภาพเพื่อให้สะดวกในการ ใช้งาน เช่น การนำาเลนส์มาเป็นส่วนประกอบ ทำาให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน ตัวกล้องมีขนาดเล็กลง สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ค.ศ.1676 โยฮัน สเตอร์ม (Johann Sturm) ได้ประดิษฐ์กล้องโดยใช้ชื่อว่า กล้องรีเฟลกซ์ (Reflex Camera) เป็นกล้องแรกของโลก โดยใช้กระจกเงาวางตั้งเป็นมุม 45 องศา ภายในกล้อง เพื่อรับแสงสะท้อนจากวัตถุที่ต้องการถ่ายไปยังฉากรับภาพ ซึ่งจะได้ภาพจริงหัวตั้งเป็นภาพเสมือนจริง การถ่ายภาพได้มีวิวัฒนาการโดยนักวิทยาศาสตร์ได้มีการพัฒนาคิดค้นรูปแบบ ของกล้องเรื่อยมา จนกระทั่งศตวรรษที่ 17 ได้มีการคิดค้นเกี่ยวกับความรู้ที่ว่าทำาอย่างไรจึงจะบันทึกภาพให้ปรากฏไว้ ได้คงทนถาวร ค.ศ.1727 โยฮัน เฮนริช ชุลตซ์ (Johann Hein-rich Schulze) นักฟิสิกส์ชเยอรมัน พบว่าเกลือเงิน ไนเตรต เมื่อถูกแสงแดดจะดำา จึงได้นำาเกลือไนเตรตผสมกับชอล์ค และติดตัวหนังสือไว้ เมื่อถูกแสงแดดส่วนที่ปิดบังไว้ด้วยตัวหนังสือจะมีสีขาว ส่วนที่ถูกแสงแดดจะเป็นสีดำา ค.ศ.1777 คาร์ล วิลเลี่ยม ชีล (Carl Wil-liam Scheele) นักเคมีชาวสวีเดนได้ค้นพบว่า แสงสีน้ำาเงินและแสงสีม่วงทำาให้เกลือเงินไนเตรตและเกลือเงินคลอไรด์เปลี่ยน เป็นสีดำาได้ดีกว่าสีแดง ทำาให้รู้ว่าแสงที่จะทำาให้เกิดภาพบนฟิล์มหรือกระดาษนั้นต้องเป็นแสงสีน้ำาเงิน หรือสีม่วงจากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ในขั้นนี้ ทำาให้ได้หลักการถ่ายภาพ 2 หลักการ คือ การรับภาพโดยใช้กล้องออบสคิวรา และมีการบันทึกภาพลงบนกระดาษที่ฉาบด้วยเกลือเงินไนเตรต ต่อมาได้มีวิวัฒนาการการค้นคว้าและนำาเอาวิธีการต่าง ๆ รวมเข้าด้วยกัน โดยนักวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศสในระยะต่อ ๆ มา

Camera DSLr 4

Page 5: Book Camera DSLR

ค.ศ.1826 โจเซฟ เนียพฟอร์ เนียพซ์ (Joseph Niciphore Niepce) ได้ประสบความสำาเร็จในการพยายามทำาภาพโพสิตีฟ (posi-tive) ที่ถาวรภาพแรกของโลก โดยใช้แผ่นดีบุกผสมตะกั่วที่ฉาบด้วยสารไวแสงบีทูเมน ซึ่งมีสีขาว White BitumenและAsphalt ใส่เข้าไปในกล้องออบสคิรา ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ โดยใช้เวลานานถึง 8 ชั่วโมง เมื่อนำาแผ่นดีบุกผสมบีทูเมนไปล้างด้วยส่วนผสมของน้ำามันจากต้นลาเวนเดอร์ (Lavender) กับ White Petroleum ทำาให้ส่วนบริเวณที่ถูกแสงเป็นpositive ส่วนสารบีทูเมนที่ไม่ถูกแสงจะถูกล้างละลายออกไป เหลือแต่ส่วนผิวของสารดีบุกผสมตะกั่วซึ่งจะมีสีดำา กระบวนการดังกล่าวเนียพซ์ตั้งชื่อภาพถ่ายนี้ว่า เฮลิโอกราฟ (Heliograph) “ภาพที่วาดโดยดวงอาทิตย์” ค.ศ.1837 หลุยส์ จาคเคอร์ แมนเด ดาแกร์ (Louis Jacque Mande Daguerre) จิตรกรชาวฝรั่งเศส ติดต่อร่วมสัญญาค้นคว้ากับเนียพซ์ เมื่อหลังจากเนียพซ์ถึงแก่กรรมเขาได้ประสบความสำาเร็จในการค้นพบกระบวนการสร้างภาพ และตั้งชื่อกระบวนการใหม่ว่า ดาแกร์โอไทป์ (Daguerreotype) เป็นการทำาให้เกิดภาพในด้วยกล้องปฏิกิริยาของแสง โดยใช้สารที่มีความไวแสงในการบันทึกภาพ ผลงานของดาแกร์ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก จนกระทั่งมีกระบวนการกระดาษเกิดขึ้น จึงหันไปนิยมใช้กระดาษเพื่อบันทึกภาพแทน ค.ศ.1840 วิลเลี่ยม เฮนรี่ ฟอกซ์ ทัลบอท (William Henry Fox Talbot) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นการใช้กระดาษไวแสงถ่ายภาพได้สำาเร็จ ทัลบอทถ่ายทำาภาพเนกาตีฟบนกระดาษอาบเงิน “ไอโอไดด์” กระดาษนี้ก่อนจะนำาไปถ่ายต้องอาบด้วยสารละลายเกลือไนเตรตและกรดแกลลิก เมื่อสร้างภาพแล้วจะทำาให้ภาพอยู่ตัวโดยใช้โปตัสเซียมโบรไมด์และไฮโป เมื่อได้เนกาตีฟแล้ว จากนั้นทำาให้เป็นโพสิตีฟ ด้วยการอัดลงบนกระดาษที่อาบด้วยเกลือเงินคลอไรด์ จะได้ภาพเนกาตีฟที่สมบูรณ์ กระบวนการนี้มัลบอท เรียกว่า “แคโลไทป์” (Calotype) ซึ่งหมายความว่า “ความประทับใจในภาพที่สวยงาม” ภายหลังได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ทัลโบไทป์” (Tallbotype) ทัลบอทยังได้เป็นผู้คิดค้นวิธีการโฟโต้แกรม (Photo-gram) โดยการนำาเอาวัตถุทึบแสงวางทับบนแผ่นกระดาษไวแสง และนำาไปทำาปฏิกิริยากับแสง และผ่านกระบวนการสร้างภาพและคงสภาพจนได้ภาพขาว-ดำาของวัตถุนั้น ต่อมาเซอร์ จอห์น เฮอร์เซล (Sir John Herschel) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบว่า ไฮโปสามารถละลายเกลือเงินเฮไลได้ จึงได้แนะนำาให้ทัลบอทใช้ไฮโปเพื่อให้ภาพอยู่ตัวและให้คำาแนะนำาแก่ทัลบอทเกี่ยวกับคำาที่ใช้ถ่ายภาพคือคำาว่า “Photogenic” ควรใช้คำาว่า “Photograph” แปลว่า ซึ่งเกี่ยวกับการถ่ายภาพ และเขาได้สร้างคำาว่า “Photography” มาจากคำาศัพท์ในภาษากรีกโดย “Phos = แสงสว่าง” และ “Graphein = เขียน” เมื่อนำามารวมกันจึงหมายถึง “เขียนด้วยแสงสว่าง ในปัจจุบันนี้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการทำาให้ภาพเกิด ขึ้นโดยใช้แสงสว่างมากระทบกับวัสดุไวแสง และ ครอบคลุมไปถึงการถ่ายรูป การล้างฟิล์ม การอัดขยายภาพ และกระบวนการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน กล่าวโดยสรุป วิชาการถ่ายรูปก็คือ “ความรู้ที่ว่าด้วยกระบวนแห่งการสร้างรูปโดยอาศัยแสงสว่างเข้าช่วย” สำาหรับการถ่ายภาพในประเทศไทยนั้น ได้มีช่างถ่ายภาพคนแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศส นามปาเลอปัว ส่วนช่างถ่ายภาพชาวไทยคนแรก คือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือ นายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล ซ่ึงมีชื่อเสียงในการถ่ายภาพเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และช่างถ่ายภาพที่มีผลงานเก็บรักษาในหอสมุดแห่งชาติจำานวนมากจนถึงปัจจุบัน นี้ คือ หลวงอัคนีนฤมิตร หรือนายจิตร เป็นช่างหลวงในสมัยรัชการที่ 4 และ 5ซึ่งมีผลงานภาพถ่ายบุคคลทุกชนชั้น และยังมีภาพถ่ายสถานที่ ตลอดจนภาพเหตุการณ์ต่างๆ อีกด้วย วิวัฒนาการของการถ่ายภาพได้มีพัฒนาเรื่อยมาตามลำาดับ จนในปี ค.ศ.1871 ดร.ริ ชาร์ด ลีช แมดดอกซ์(Dr.Richard Leach Maddox) นายแพทย์ชาวอังอังกฤษ ได้คิดค้นการทำาเพลทโดยใช้สารเจลาติน (Genlatin) ฉาบบนแผ่นกระจก เป็นกระบวนการที่เรียกว่า “เพลทแห้ง” (Dry Plate) ซึ่งได้ผลดี จึงมีผู้คิดใช้สารไวแสงฉาบลงบนกระดาษเป็นม้วนๆ เพื่อให้ถ่ายภาพได้ครั้งละหลายภาพ ค.ศ.1888 ยอร์จ อีสต์แมน (George Eastman) ชาวอเมริกันช่างภาพสมัครเล่นได้ผลิตเพลทแห้งและกล้องถ่ายภาพออกจำาหน่าย ผลิตกล้องมือถือรุ่นแรกมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า กล้องบ๊อกซ์โกดัก (Kodak Box Camera) เริ่มผลิตฟิล์มม้วนที่มีเยื่อไวแสง ประกอบด้วย Silver Halide และ Delatin ต่อมาได้พัฒนาฟิล์มเป็นวัสดุโปร่งแสง คือ เซลลูลอยด์ (Celluloid) แทนกระดาษ นับเป็นก้าวสำาคัญในการผลิตฟิล์ม ต่อมาได้ตั้งบริษัทEastman Kodak Company ขึ้นผลิตฟิล์มถ่ายรูปและผลิตกล้องถ่ายภาพ Kodak ด้วย แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นั้น มนุษย์ได้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพขึ้นจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2 สาขา คือ 1.) ฟิสิกส์ ได้แก่ เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ 2.) เคมี ได้แก่ เรื่องเกี่ยวกับสารไวแสงและน้ำายาสร้างภาพ ในปี 1974 ก็มีการใช้เทคโนโลยี CCD ร่วมกับกล้องเทเลสโคบขนาด 8 นิ้ว บันทึกภาพดวงจันทร์ด้วยระบบดิจิตอลเป็นภาพแรกที่ความละเอียด 100 x 100 พิกเซล ปี 1976 Canon ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพ 35 มม. SLR ตัวแรกของโลกที่มีไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น AE-1 สำาหรับการประมวลผลและควบคุมการทำางาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกล้องระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบในวันนี้ อีกห้าปีต่อมา Pentax ก็ผลิตกล้องรุ่น ME-F ที่ใช้เลนส์ออโต้โฟกัสในกล้อง SLR เป็นตัวแรกของโลก ปี 1981 Sony เปิดตัวกล้องถ่ายภาพที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ถ่ายภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องใช้ฟิล์ม แต่ยังไม่ใช่กล้องดิจิตอล เป็นเพียงกล้องโทรทัศน์หรือกล้องภาพนิ่งวิดีโอ จัดเก็บภาพด้วยแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 2 นิ้ว ใช้ชื่อว่าSony Mavica (Megnetic Video Cam-

Page 6: Book Camera DSLR

era) บันทึกด้วย CCD ให้ภาพที่มีความละเอียด 570 x 490 พิกเซล (ขนาดของชิพคือ 10 x 12 มม.) ความไวแสงเทียบเท่า ISO 200 ปี 1986 หรืออีกสองปีต่อมา Canon ก็ผลิตกล้องภาพนิ่งวิดีโอออกจำาหน่ายให้กับนักถ่ายภาพมืออาชีพเป็นครั้งแรก ในรุ่น RC-701 โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ช่างภาพข่าวเป็นหลัก ช่วยให้การทำางานรวดเร็วขึ้น โดยชื่อรุ่น RC มาจากคำาว่าRealtime Camera หรือกล้องที่ได้ภาพทันทีนั่นเอง มีเลนส์ซูมขนาด 11-66 มม. f/1.2 ราคา 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ถ้ารวมอุปกรณ์รับส่งภาพทางสายโทรศัพท์ครบชุดจะมีราคา 27,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ขนาดของ CCD คือ 6.6 x 8.8 มม. ความละเอียด 187,200 พิกเซล ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 1-10 เฟรม/วินาที ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และกล้องรุ่นนี้ได้ถูกช่างภาพข่าวTom Dillon ของหนังสือพิมพ์ USA Today ถ่ายภาพและตีพิมพ์เป็นภาพข่าวสีภาพแรกที่บันทึกด้วยกล้องภาพนิ่งวิดีโอ โดยบรรณาธิการภาพข่าวได้เห็นภาพดังกล่าวหลังจากที่ช่างภาพบันทึกไปแล้วในเวลาเพียง 12 นาทีเท่านั้น ทางสมาคมนักข่าวของอเมริกาเล็งเห็นประโยชน์ของภาพดิจิตอลกับงานข่าว จึงวางแผนที่จะเปลี่ยนการส่งภาพข่าวจากระบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอลเพราะช่วยประหยัดเวลาในการส่งภาพได้ถึง 90% ทีเดียว ปี 1997 เป็นปีที่มีกล้องดิจิตอลจากผู้ผลิตนับสิบยี่ห้อ ทั้งจาก Nikon, Canon, Minolta, Olympus, Kodak, Fujifilm, Casio, Epson, Konica, Kyocera, Panasonic, Ricoh, Samsung, Sanyo, Sony, Sharp, Toshiba, Vivitar และอื่นๆอีกมากมาย กล้องส่วนใหญ่ให้ขนาดภาพ 640 x 480 พิก-เซล มีเพียงบางรุ่นที่เกิน 1 ล้านพิกเซล เช่น Olympus Camedia C-1400L ความละเอียด 1.4 ล้านพิกเซล ออกแบบรูปทรงเป็นตัวแอล (L) คล้ายกับกล้อง SLR Kodak DC210 ความละเอียด1ล้านพิกเซล จัดเก็บภาพด้วยการ์ด Fuji DS-300 ความละเอียด1.2 ล้านพิกเซล ปี 1998 ในปีนี้กล้องดิจิตอลถูกผลิตขึ้นมากอีกกว่าหนึ่งเท่าตัว ส่วนใหญ่มีความละเอียด 1.2-1.5 ล้านพิกเซล โดยมีกล้องที่โดดเด่นคือดิจิตอล SLR ของโกดักรุ่น DCS 520 ใช้บอดี้ Canon ES1N ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล จัดเก็บภาพด้วยฮาร์ดดิสก์ PCMCIA Type III 340 MB ปี 1999 ตลาดกล้องดิจิตอลเติบโตขึ้นมาก ในแต่ละเดือนมีกล้องรุ่นใหม่ๆ หลายสิบรุ่นส่วนใหญ่มีความละเอียดที่2 ล้านพิกเซล เพียงพอกับการนำาไปอัดขยายภาพขนาด 4 x 6 นิ้ว ให้คุณภาพดีพอสมควร แม้ว่าจะยังห่างไกลกับการใช้ฟิล์ม แต่ก็พอยอมรับได้ และ Olympus ก็เปิดตัวกล้องตระกูล C เป็นครั้งแรกในรุ่น C-2020 ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน กล้องดิจิตอลมีการพัฒนาอย่างมาก ในแต่ละปีมีกล้องรุ่นใหม่ๆ จากหลายสิบยี่ห้อนับร้อยรุ่น กล้องรุ่นใหญ่สำาหรับมืออาชีพ ความละเอียดเพิ่มมากขึ้นจาก 2, 3, 4 เป็น 5 ล้านพิกเซล วิวัฒนาการของวัสดุไวแสงและกล้องถ่ายภาพได้พัฒนาควบคู่กันมา อุปกรณ์กลไกการใช้งานของกล้องถ่ายภาพมีการพัฒนาให้สวยงามและสะดวกในการใช้งาน ระบบการ

ควบคุมปริมาณแสง สามารถทำางานได้ถูกต้องแม่นยำา มีขนาดเล็กลง และมีความไวแสงสูงขึ้น ผลจากการคิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ทำาให้เทคโนโลยีถ่ายภาพได้พัฒนาอย่างรวด เร็ว ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพมีประสิทธิภาพ กล้องถ่ายภาพมีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นใช้ระบบไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำางานอัตโนมัติ มีการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล (Digital Camera) ใช้งานโดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแก้ไขตกแต่งภาพได้ตามต้องการ ในวงการถ่ายภาพมีการใช้กล้องระบบดิจิตอลมากขึ้น เนื่องจากเอื้อประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพเพื่อบันทึกเหตุการณ์ ความทรงจำา ความบันเทิง ตลอดจนถึงในวงการธุรกิจ

Page 7: Book Camera DSLR

กล้อง DSLR แบบตัวคูณ หรือ Crop Sensorกล้อง DSLR แบบตัวคูณเป็นกล้องที่มีเซ็นเซอร์ขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35mm ซึ่งมีผลทำาให้

ภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพที่ปรากฏบนกล้องฟิล์ม 35mm? เป็นหลักการที่บอกว่า ภาพที่ได้จะถูกซูมให้ใกล้ขึ้นนั่นเอง ความหมายเพิ่มเติมคือที่เรียกว่ากล้องแบบตัวคูณ คือ เป็นการเอาค่าความยาวโฟกัสของเลนส์ คูณ ด้วยค่าตัว

คูณ (Focus Length Multiplier) จึงจะได้ ค่าความยาวโฟกัส ผลที่ขนาดของเซ็นเซอร์เล็ก ทำาให้กล้องตัวคูณมีราคาไม่แพงมากนัก และทำาให้พื้นที่ความชัดจะมองได้ยากขึ้น แต่มีจุดเด่นคือเพิ่มระยะซูมได้มากขึ้นถ่ายภาพ Macro จะได้ภาพที่คมชัดได้ง่าย

ยี่ห้อและรุ่นของกล้องตัวคูณCanon 350D, Canon 400D, Canon 500D, Nikon D60, Nikon D80, Nikon D90, Olympus E-520,

Olympus E-30 เป็นต้น

กล้อง DSLRแบบตัวฟูลเฟรม กล้อง DSLR แบบฟูลเฟรม (Full Frame) เป็นกล้องที่เรียกได้ว่า เป็นกล้อง

สำาหรับมืออาชีพโดยเฉพาะ มีขนาดของ CCD เท่ากันฟิล์ม ซึ่งทำาให้สามารถใช้เลนส์แบบเก่าที่เคยใช้กับกล้องแบบฟิล์มได้ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะใช้เลนส์แบบไหน ก็ไม่จำาเป็นต้องมีตัวคูณให้ยุ่งยาก

ยี่ห้อและรุ่นของกล้อง Full Frame Canon 5D Mark II, Canon 5D Mark III, Canon 1Dx, Nikon D700, Nikon D800, Nikon D4 เป็นต้น

เพิ่มเติม เลนส์ที่ใช้กับกล้อง DSLR แบบตัวคูณ ไม่สามารถใช้งานร่วมกับกล้องแบบฟูลเฟรม (Full Frame) ได้ครับ เพราะ

ภาพที่ได้จะไม่เต็มเซ็นเซอร์นั่นเอง ดังนั้นการเลือกซื้อเลนส์ ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่า กล้อง DSLR ของเราเป็นแบบไหน

กล้อง FullFrame กับ Crop Sensor

Camera DSLr 7

Page 8: Book Camera DSLR
Page 9: Book Camera DSLR

การถ่ายภาพบุคคลเป็นงานที่นักถ่ายภาพมักจะต้องถ่ายภาพอยู่เสมอๆ ในขณะที่ไปท่องเที่ยว หรือในงานกิจกรรมของครอบครัวและกลุ่มเพื่อน เพื่อเป็นที่ระลึก นักถ่ายภาพส่วนใหญ่มักจะถ่ายภาพบุคคลด้วยแสงธรรมชาติ ในสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สวยงาม

อุปกรณ์ถ่ายภาพองค์ประกอบภาพของภาพบุคคลที่นิยม หรือชื่นชอบมากที่สุดก็คือภาพคนที่เด่นอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศ เน้นความคมชัดของตัวแบบกับฉากหลังที่มีสีสันและนุ่มหรือเบลอ ซึ่งการเลือกใช้เลนส์เทเล หรือเลนส์ซูมที่มีช่วงเทเล ตั้งแต่ 135mm ไปจนถึง 200mm จะให้ความนุ่มนวลและความเบลอของฉากหลังได้มากที่สุด ซึ่งนักถ่ายภาพมืออาชีพมักจะเลือกใช้เลนส์เทเลซูม 70-200mm ที่มีช่องรับแสงกว้าง เช่น เลนส์ EF70-200mm F/2.8L IS USM เพื่อให้จัดองค์ประกอบภาพได้อย่างสะดวก มีช่องรับแสงกว้าง ซึ่งสามารถปรับให้ฉากหลังนุ่มนวลได้ง่าย และมีระบบ IS เพื่อช่วยป้องกันภาพสั่นจากความสั่นของกล้องด้วย และในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพบุคคลร่วมกับสถานที่ที่มีความสวยงาม จะใช้เลนส์ซูมมุมกว้างหรือเลนส์ซูมมาตรฐาน เพื่อให้มุมรับภาพครอบคลุมทั้งตัวแบบและสถานที่

การถ่ายภาพบุคคล (Portrait Photography)

ภาพบุคคลถ่ายด้วยเลนส์เทเลซูมไวแสง EF70-200mm F/2.8L USM ใช้ระบบบันทึกภาพ Av เปิดช่องรับแสง F/4 เพื่อให้ฉากหลังเบลอ ภาพนี้วัดแสงด้วยระบบเฉพาะจุด (Spot) ที่ใบหน้าของตัวแบบ และใช้ Picture Style แบบ Portrait เพื่อให้โทนของสีผิวแลดูเนียนขึ้น

ภาพนี้ต้องการสื่อความน่ารักสดใสของตัวแบบ จึงจัดองค์ประกอบภาพให้เต็มเฟรมเป็นภาพแนวตั้งเพื่อให้ตัวแบบมีขนาดใหญ่ชัดเจน เลือกฉากหลังให้มีสีสวยงาม การจัดแสงของภาพนี้ ตัวแบบยืนอยู่ในร่มแล้วใช้แผ่นสะท้อนแสงช่วยสร้างประกายตา และทำาให้สีผิวสดใสขึ้นด่้วย

Camera DSLr 9

Page 10: Book Camera DSLR

ในอดีต นักถ่ายภาพบุคคลยังนิยมใช้ฟิลเตอร์ซอฟท์ เพื่อปรับภาพให้นุ่ม โดยเฉพาะภาพถ่ายผู้หญิง แต่ในยุคดิจิตอล นักถ่ายภาพที่ฝึกปรับภาพด้วย Picture Style แบบ Portrait ที่มีอยู่ในตัวกล้องและซอฟท์แวร์ตกแต่งภาพมักจะนำาภาพมาปรับให้นุ่มนวลได้มากกว่า เพราะสามารถปรับได้อย่างละเอียดมาก และไม่มีผลเสียต่อภาพต้นฉบับ (ซึ่งถ่ายมาอย่างคมชัด)

PictureStyle Standard PictureStyle Portrait

เปรียบเทียบระหว่างการปรับแต่งภาพ ด้วย PictureStyle แบบ Standard และ Portrait เมื่อใช้กับภาพถ่ายบุคคลPictureStyle Standard:ภาพจะมีสีสด มีความคมชัดและความเปรียบต่างสูงพอประมาณ มีรายละเอียดสูงPictureStyle Portrait:โทนสีผิวจะเรียบเนียนกว่า และอมสีชมพูเรื่อๆ สีของเสื้อผ้าจะสดใสมีความคมชัดและความเปรียบต่างลดลง ช่วยให้ภาพดูนุ่มนวล

การจัดแสงการจัดแสงหมายถึงการเลือกทิศทางของแสงและคุณภาพของแสงที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำาคัญต่อความสวยงามและอารมณ์ของภาพเป็นอย่างมาก

แสงที่ถ่ายภาพบุคคลได้สวยและถ่ายทอดอารมณ์ที่อบอุ่นของภาพได้ดีก็คือ แสงในยามเช้าและเย็น ซึ่งดวงอาทิตย์ทำามุมต่ำาและเฉียง และการจัดให้ตัวแบบหันหลังให้กับแหล่งกำาเนิดแสงจะช่วยสร้างประกายแสงที่ผม และไหล่ ทำาให้ภาพงดงามและมีมิติ แสงในช่วงนี้ยังให้ความรู้สึกที่อบอุ่นด้วย เรียกว่าการจัดแสงแบบแสงเฉียงหลัง

เมื่อจัดแสงแบบแสงเฉียงหลัง สิ่งที่ควรระวังก็คือในหน้าของแบบอาจจะไม่สดใสเท่าที่ควร ซึ่งแก้ปัญหาได้โดยการชดเชยแสงให้สว่างขึ้น หรือใช้แผ่นสะท้อนแสง หรือใช้แฟลชช่วยเปิดเงา

Camera DSLr 10

Page 11: Book Camera DSLR

เมื่อจัดแสงแบบเฉียงหลัง ควรใช้ระบบวัดแสงที่มีความละเอียด เช่น ระบบวัดแสงเฉพาะจุดหรือเฉพาะส่วน วัดแสงที่หน้าของตัวแบบ และอาจชดเชยแสงให้โอเวอร์ (+) ประมาณ 2/3-1 สต๊อป เพื่อให้ผิวดูสว่าง

ภาพตัวอย่างนี้ถ่ายด้วย เลนส์ EF70-200mm F/2.8L USM ด้วยระบบ Av F/5.6 วัดแสงเฉพาะจุดที่หน้าของตัวแบบ

ยิ่งใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสูง และยิ่งเปิดช่องรับแสงกว้าง (F2.8) ฉากหลังก็จะยิ่งเบลอเลือกฉากหลังที่มีสีสันสดสวยเป็นพื้นหลังของภาพภาพบุคคลจะสวยงามด้วยแสงเงา ลองถ่ายภาพในลักษณะกึ่งย้อนแสง (แสงเฉียงหลัง) และใช้แฟลชในตัวกล้องช่วยเปิดเงาที่หน้าของตัวแบบถ้าพบว่าตัวแบบดูคล้ำาเกินไปสำาหรับนักถ่ายภาพที่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้กล้องมาก่อน แนะนำาให้ใช้โปรแกรม Portrait

เคล็ดลับการถ่ายภาพ

Camera DSLr 11

Page 12: Book Camera DSLR

การถ่ายภาพทิวทัศน์ (Landscape Photography)

ภาพถ่ายทิวทัศน์ที่สวยงาม มักจะพบในแหล่งท่องเที่ยวตามธรรรมชาติและป่าเขา นอกจากความงามของสถานที่ ช่วงเวลาที่ไปถ่ายภาพก็เป็นปัจจัยสำาคัญในการเพิ่มความงดงามให้กับภาพทิวทัศน์ด้วย ตามปกติ มักจะถ่ายภาพกันตั้งแต่เช้าตรู่ จนถึงเวลาพลบค่ำา ซึ่งแสงสีของท้องฟ้าที่กำาลังเปลี่ยนแปลง ดวงอาทิตย์กลมโตทอแสงอ่อนๆ เป็นภาพประทับใจ ที่อยู่ในความทรงจำาเสมอ

ทิวทัศน์บนดอยแม่อูคอ ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง EF24mm ใช้ระบบบันทืกภาพ Av เปิดช่องรับแสงแคบปานกลาง F/8 เพื่อผลของช่วงความชัดที่ครอบคลุมได้จากฉากหน้าถึงระยะอนันต์ และใช้ฟิลเตอร์โพราไรซ์ตัดหมอกบนท้องฟ้าเพื่อให้ท้องฟ้าเป็นสีเข้มสด

ใช้ Picture Style แบบ Landscape เพื่อให้ภาพคมชัดสูง และได้สีสันของท้องฟ้าที่อิ่มตัว

อุปกรณ์ถ่ายภาพแม้เลนส์มุมกว้างจะถูกใช้มากกว่าเลนส์ช่วงอื่นๆ ในการเก็บภาพบรรยากาศที่สวยงาม กว้างตระการตา แต่เลนส์ช่วงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ช่วงมาตรฐานไปจนถึงเทเล และซูเปอร์เทเล ต่างก็ถ่ายทอดภาพอันสวยงามได้อย่างน่าประทับใจในสไตล์ที่แตกต่างกัน

เรามักจะใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายภาพทิวทัศน์ที่สวยงามและกว้างสุดสายตา หรือถ่ายภาพที่มีฉากหน้าประกอบอยู่ใกล้กับกล้องที่ต้องการเน้นให้มองเห็นเด่นชัด และหรี่ช่องรับแสงให้แคบพอประมาณ เพื่อให้ช่วงความชัดครอบคลุมสิ่งต่างๆ ในภาพได้ทุกระยะ

Camera DSLr 12

Page 13: Book Camera DSLR

ทิวทัศน์ริมชายทะเลถ่าย ด้วยเลนส์ EF-S 10-22mm F/3.5-4.5 ซึ่งเป็นเลนส์ซูมมุมกว้างพิเศษ ที่ช่วง 10mm จะเห็นต้นไม้ที่อยู่ใกล้กับกล้องซึ่งมีระยะห่างจากกล้องเพียง 50 ซม. ทำาให้ดูใกล้ชิดมาก และความใกล้ก็ทำาให้ต้นไม้ดูเด่นชัด ในขณะเดียวกับที่ได้ความกว้างของบรรยากาศจากมุมรับภาพที่กว้างของเลนส์ด้วย

ให้สังเกตความชัดของภาพ ที่ชัดตั้งแต่ต้นไม้และก้อนหินที่อยู่ด้านล่างของเฟรมไปจนถึงไกลสุดที่เมฆบนท้องฟ้า เป็นคุณสมบัติของเลนส์มุมกว้างที่ให้ความชัดลึกที่สูงมากกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ

Canon EF-S 10-22mm F/3.5-4.5

นอกจากเลนส์มุมกว้างแล้ว เลนส์ช่วงอื่นๆ เช่น เลนส์มาตรฐาน หรือเลนส์เทเลก็มักจะถูกหยิบมาใช้ เมื่อต้องการเน้นวัตถุที่อยู่ห่างออกไปให้มีขนาดเด่นชัดในเฟรม หรือต้องการเน้นเฉพาะพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งให้เด่นชัด เช่น ต้องการถ่ายภาพทิวเขาที่สลับซับซ้อนที่ไกลออกไป หรือถ่ายภาพดวงอาทิตย์

อุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ที่ควรจะเตรียมไว้ก็คือ ฟิลเตอร์โพราไรซ์ ใช้สำาหรับตัดแสงสะท้อน ฟิลเตอร์ชนิดนี้จะทำาให้ภาพมีสีสันสดขึ้น และทำาให้ภาพมีรายละเอียดมากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ซอฟท์แวร์ตกแต่งภาพไม่สามารถปรับแต่งได้

การวัดแสงสำาหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์โดยทั่วไป ระบบวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ เป็นระบบที่มีโอกาสเกิดความผิดพลาดต่ำากว่าแบบอื่น และใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว แต่ในบางกรณีที่มักจะถ่ายภาพบ่อยๆ เช่น เมื่อถ่ายภาพในช่วงโพล้เพล้ หรือต้องการถ่ายภาพวัตถุที่มีรูปทรงให้เป็นเงามืด ควรจะเลือกใช้ระบบวัดแสงที่ละเอียดสำาหรับเจาะจงวัดแสงในพื้นที่ที่ต้องการ ก็จะได้ภาพเงามืดที่สวยงาม

หรือเมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีดวงอาทิตย์ประกอบอยู่ในภาพ ก็ควรวัดแสงในพื้นที่ซึ่งมีแสงอ่อนลง หรือวัดแสงโดยไม่รวมดวงอาทิตย์อยู่ในพื้นที่วัดแสงด้วย เพราะค่าแสงที่วัดได้อาจจะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย

เมื่อถ่ายภาพย้อนแสง หรือมีดวงอาทิตย์รวมอยู่ในเฟรม การวัดแสงด้วยระบบเฉลี่ยทั้งภาพอาจเกิดความผิดพลาดได้ ควรใช้ระบบที่ละเอียดขึ้น เช่น วัดเฉพาะส่วนหรือเฉพาะจุด วัดแสงในพื้นที่ซึ่งมีความสว่างพอประมาณ

Camera DSLr 13

Page 14: Book Camera DSLR

เมื่อวัดแสงในพื้นที่ซึ่งมีความสว่างพอประมาณ ภาพออกมาเหมือนจริง

เมื่อวัดแสงบริเวณที่มืด ภาพจะแลดูสว่างเกินไป เมื่อวัดแสงบริเวณสว่าง ภาพจะแลดูมืดเกินไป

เคล็ดลับการถ่ายภาพ

ใช้ระบบแสดงเส้นกริด (Grid Display) ในขณะใช้ระบบ Live View เพื่อตรวจสอบความเอียงของเส้นขอบฟ้าเลือก Picture Style เป็น Landscape เพื่อให้ท้องฟ้ามีสีสดเข้มและภาพที่คมชัดก่อนถ่ายภาพ ตรวจสอบช่วงความชัดด้วยปุ่มตรวจสอบเสมอ (ดูผลได้ที่ช่องเล็งภาพปกติหรือจอ LCD เมื่อใช้ Live View)

Camera DSLr 14

Page 15: Book Camera DSLR

การถ่ายภาพมาโคร (Macro Photography)

มาโคร เป็นงานถ่ายภาพที่แตกต่างจากการถ่ายภาพแบบอื่นๆ เพราะเป็นการถ่ายภาพสิ่งเล็กๆ ที่มองเห็นได้ไม่ชัดเจนด้วยตาเปล่า การถ่ายภาพมาโครจึงเป็นการเปิดโลกใบเล็กๆ ที่งดงาม ที่มีสีสัน รูปทรง และความแปลกตา ภาพถ่ายมาโครจึงเป็นภาพที่น่าอัศจรรย์

ผีเสื้อขนาดเล็กจิ๋ว ประมาณ 1 นิ้ว กำาลังดูดกินน้ำาหวานจากดอกไม้ กำาลังขยายของเลนส์มาโครช่วยให้เรามองเห็นรายละเอียดบนลวดลายของปีก ขนปีก และรายละเอียดของเกสรดอกไม้

เราสามารถใช้อุปกรณ์เสริมพิเศษหลายๆ แบบที่จะทำาให้เลนส์ถ่ายภาพตัวเดิมที่มีอยู่ สามารถถ่ายภาพได้ใกล้มากขึ้น และมีกำาลังขยายสูงเช่นเดียวกับเลนส์มาโครได้ แต่หากต้องการภาพที่มีคุณภาพสูง เลนส์มาโครก็ยังคงเป็นทางเลือกที่ให้คุณภาพดีที่สุด และสะดวกในการใช้งานมากที่สุด

ภาพนี้ถ่ายด้วยเลนส์ EF100mm F/2.8 Macro USM ที่อัตราส่วนของภาพ 1:1 (เท่าขนาดจริง) ใช้ระบบ Av ช่อง รับแสง F/16

Canon EF100mm F/2.8L Macro IS USM

Camera DSLr 15

Page 16: Book Camera DSLR

การถ่ายภาพมาโครการถ่ายภาพมาโครหมายถึงการถ่ายภาพในอัตราส่วนเท่าขนาดจริง หรือ 1:1 แต่อนุโลมให้การถ่ายภาพขนาดครึ่งหนึ่งของขนาดจริง (1 : 2) เป็นการถ่ายภาพมาโครด้วยเช่นกัน แต่การถ่ายภาพที่มีอัตราส่วนต่ำากว่านี้ จะเรียกว่าการถ่ายภาพโคลสอัพ เช่น การถ่ายภาพดอกไม้หรือสิ่งของที่มีขนาดใหญ่พอควร

การถ่ายภาพมาโครเป็นที่นิยมของนักถ่ายภาพธรรมชาติ เช่น ถ่ายภาพดอกไม้เล็กๆ แมลง ส่วนในเชิงพาณิชย์ก็จะเป็นเครื่องประดับ อัญมณี ที่ใช้ในงานโฆษณา

เคล็ดลับการถ่ายภาพ

การถ่ายภาพสิ่งเล็กๆ ด้วยอัตราขยายสูง อาจจะเกิดภาพสั่นหรือเบลอได้ง่ายกว่าปกติ ความสั่นนั้น อาจเกิดจากวัตถุเองร่วมกับความสั่นของกล้อง ดังนั้นควรรอให้วัตถุอยู่นิ่งที่สุด และตั้ง Custom Function [ C.Fn-8: Mirror lockup] ตั้งเป็น [1:Enable] ให้กล้องล็อคกระจกสะท้อนภาพ ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง และลั่นชัตเตอร์ด้วยรีโมทหรือใช้สายลั่นชัตเตอร์ หรือใช้ระบบหน่วงเวลาถ่าย ภาพ 2 วินาที เพื่อให้ตัวกล้องมีความสั่นเกิดขึ้นน้อยที่สุด

เทคนิคการโฟกัสเมื่อค้นพบสิ่งเล็กๆ ที่ต้องการถ่ายภาพแล้ว ลองเคลื่อนกล้องเข้าใกล้ให้มากที่สุด และทดลองจัดภาพจนได้ขนาดวัตถุตามที่ต้องการ จะสังเกตว่า เมื่อโฟกัสไปที่ตำาแหน่งใดๆ ในเฟรม จุดที่อยู่ห่างออกไปแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็จะเริ่มพ้นไปจากความชัดอย่างรวดเร็ว

แมลงเต่าทองขนาดเล็กจิ๋วที่เกาะอยู่กับกุหลาบหิน เน้นการโฟกัสที่ดวงตาและส่วนหัวซึ่งเป็นจุดสำาคัญของภาพถ่ายแมลง ที่อัตราส่วนของภาพ 1:1 (เท่าขนาดจริง) ช่วงความชัดจะตื้นมากๆ เมื่อถ่ายภาพที่อัตราขยายสูงสุด ต้องหรี่ช่องรับแสงให้แคบมากๆ ที่ระดับ F/22 เพื่อเพิ่มช่วงความชัดให้มีมากขึ้นดังที่ปรากฏในภาพ

สำาหรับการถ่ายภาพมาโคร ระบบออโต้โฟกัสอาจจะโฟกัสผิดจากตำาแหน่งที่ต้องการ หรือไม่อาจโฟกัสให้ตรงกับตำาแหน่งที่ต้องการได้เนื่องจากจุดนั้นมีขนาดเล็กหรือมีความเปรียบต่างต่ำา กรณีนี้ควรจะเปลี่ยนมาใช้ระบบโฟกัสแบบแมนนวล (MF) เพื่อปรับภาพในตำาแหน่งท่ีต้องการด้วยการหมุนปรับด้วยตนเอง และหลังจากเลือกจุดที่จะโฟกัสได้แล้ว ปรับช่องรับแสงให้แคบลง เช่น F/11 หรือ F/16 หรือแคบกว่านั้น แล้วลองกดปุ่มตรวจสอบช่วงความชัดเพื่อตรวจดูว่าความชัดนั้นครอบคลุมพื้นที่ และระยะที่ต้องการแล้วหรือไม่

Camera DSLr 16

Page 17: Book Camera DSLR

เคล็ดลับการถ่ายภาพมาโครความยากของการถ่ายภาพมาโครมักจะเกิดขึ้นจากความสั่น ทั้งที่เกิดจากความสั่นของวัตถุเอง (ซึ่งมักจะเกิดจากแรงลม) และความสั่นของกล้อง (การใช้มือถือ, การเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนในตัวกล้อง, การใช้นิ้วกดชัตเตอร์โดยตรง ฯลฯ)

เมื่อหรี่ช่องรับแสงให้แคบ ความไวชัตเตอร์จะลดต่ำาลงมาก ผลของความสั่นต่างๆ ก็จะปรากฏให้เห็นชัดขึ้นด้วย

มุมมองของภาพมาโครและการจัดองค์ประกอบภาพก็มีส่วนสำาคัญที่ทำาให้ภาพของดอกลีลาวดีที่แลดูธรรมดาๆ กลายเป็นภาพที่ดูแปลกตาและสวยงาม

โดยภาพนี้มองจากด้านล่างของดอกไม้และย้อนแสง ซึ่งเน้นการไล่สีและรูปทรงของกลีบดอกให้ดูราวกับเป็นภาพวาด

ภาพนี้ถ่ายที่อัตราส่วนของภาพราว 1:3 (ประมาณ 30% ของขนาดจริง) โดยใช้เลนส์ EF100mm F/2.8 Macro USM

เมื่อต้องการภาพที่มีคุณภาพสูงคมชัดและไม่ปรากฏความสั่น ควรใช้ขาตั้งกล้องที่แข็งแรง ตั้งกล้องบนพื้นที่มั่นคง ใช้ระบบล็อคกระจกสะท้อนภาพก่อนถ่ายภาพ ลั่นชัตเตอร์ด้วยสายลั่นหรือรีโมท หรือใช้ระบบหน่วงเวลาถ่ายภาพ 2 วินาที เพื่อลดความสั่นจากการใช้นิ้วกดชัตเตอร์โดยตรงและรอจังหวะที่วัตถุอยู่นิ่งสนิท ภาพก็จะคมชัดที่สุด

Canon เมื่อไม่มีขาตั้งกล้องหากไม่ได้นำาขาตั้งกล้องติดตัวไปด้วย และต้องการถ่ายภาพมาโครให้มีคุณภาพสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ปรับความไวแสงให้สูงขึ้น เพื่อให้ความไวชัตเตอร์สูงขึ้นใช้เลนส์ที่มีระบบ IS หรือ Hybrid IS* เพื่อช่วยลดความสั่นจากการสั่นของมือ* ระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบไฮบริด (Hybrid IS: Hybrid Image Stabilizer) เป็นระบบที่แคนนอนออกแบบเป็นรายแรกของโลก ซึ่งระบบนี้จะช่วยลดการสั่นไหวของกล้องได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ทั้งการสั่นไหวของกล้องแบบขึ้น-ลง (Shift camera shake) และแบบมุมก้มเงย (Tilt camera shake) ทำาให้ภาพถ่ายคมชัดทุกองศาการเคลื่อนไหว

Camera DSLr 17

Page 18: Book Camera DSLR

การถ่ายภาพน้ำาตก (Waterfall Photography)

สายน้ำาตก เป็นความสวยงามและน่าประทับใจ เมื่อถ่ายเป็นภาพของสายน้ำาสีขาวที่นุ่มนวลและกำาลังไหลผ่านโตรกหิน ลดเลี้ยวไปตามลำาธารและแวดล้อมด้วยป่าที่เขียวชะอุ่ม

สายน้ำาเป็นส่วนประกอบในภูมิทัศน์ที่สวยงามของทีลอซู ในบรรยากาศอันยิ่งใหญ่ มองเห็นแอ่งน้ำาในฉากหน้า กับสายน้ำาตกหลายๆ สายในฉากหลัง ด้วยการควบคุมความชัดลึกจากเลนส์มุมกว้าง

ในป่าอันรกทึบ จะมีมุมหรือมีจุดตั้งกล้องที่เห็นภูมิทัศน์กว้างขวางเช่นนี้เพียงไม่กี่แห่ง เราอาจเลือกมุมถ่ายภาพที่เป็นมุมกว้าง หรือตัดส่วนของภาพให้แน่นด้วยเลนส์เทเล

ภาพนี้ถ่ายด้วยเลนส์ EF 16-35mmF/2.8L II USM ซูมที่ช่วง 24mm ระบบ Av F/16 ใช้ Picture Style แบบ Landscape

มุมมอง-น้ำาตกสำาหรับภาพน้ำาตก จุดเด่นมักจะเป็นสายน้ำาตก เสริมด้วยความสวยงามอื่นๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติมารวมเป็นองค์ประกอบภาพ เช่น แอ่งน้ำา ดอกไม้ป่า โขดหินขนาดใหญ่ สภาพป่า ฯลฯ

มักจะนิยมถ่ายภาพน้ำาตกในมุมกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้ สายน้ำาตกก็ไม่ควรจะมีขนาดเล็กจนเกินไป การเลือกเลนส์ที่จะนำามาใช้ จึงขึ้นอยู่กับขนาดน้ำาตก และ ระยะที่ตั้งกล้อง รวมทั้งสิ่งน่าสนใจอื่นๆ ที่จะนำามารวมอยู่ในองค์ประกอบภาพ

Camera DSLr 18

Page 19: Book Camera DSLR

สายน้ำาที่นุ่มนวลภาพน้ำาตกที่สวยงาม มักจะเป็นภาพที่แสดงความนุ่มนวลของสายน้ำา เลือกใช้ระบบบันทึกภาพที่ควบคุมความไวชัตเตอร์ให้ต่ำาได้ เช่น ใช้ Av แล้วปรับช่องรับแสงให้แคบ (f/11 หรือ f/16) หรือใช้ Tv กำาหนดความไวชัตเตอร์ให้ต่ำา (1/30 วินาทีหรือต่ำากว่า)

เมื่อค่าแสงมีความแตกต่างกันมากในเฟรม เช่น สายน้ำาสีขาวสว่าง ตัดกันกับโขดหินสีดำาเข้ม ควรใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุด หรือเฉพาะส่วน วัดแสงที่สายน้ำา โดยอาจจะชดเชยให้กับความสว่างประมาณ 1 stop ก็จะได้ภาพที่มีสายน้ำาสีขาว และโขดหินที่เป็นสีเข้มสมจริงทั้งสองภาพนี้ถ่ายด้วยความไว ชัตเตอร์ต่ำาประมาณ 2 วินาที จึงเห็นความเคลื่อนไหวของสายน้ำาตกที่นุ่มนวล

ในสภาพแสงจ้า นักถ่ายภาพอาจจะต้องใช้ฟิลเตอร์โพราไรซ์ เพื่อลดแสงให้ได้ความไวชัตเตอร์ต่ำาตามที่ต้องการ

เคล็ดลับการถ่ายภาพ

เมื่อใช้ระบบวัดแสงที่ละเอียด เช่น เฉพาะส่วนหรือเฉพาะจุด ควรวัดแสงที่บริเวณส่วนสว่างในภาพ และชดเชยค่าการเปิดรับแสงตามที่จำาเป็น (มักจะชดเชยให้โอเวอร์ +)ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความเข้มสว่างของภาพก่อนถ่ายภาพ โดยดูผลการปรับตั้งด้วยระบบ Live Viewดูภาพที่ถ่ายแล้วทันที หากไม่ได้ผลที่พอใจให้ปรับแก้ระดับการชดเชยแสงแล้วจึงถ่ายภาพใหม่

Camera DSLr 19

Page 20: Book Camera DSLR

การถ่ายภาพกีฬา (Sport Photography)

หยุดภาพอิริยาบถที่สนุกสนาน หรือสร้างสรรค์ภาพให้แสดงความเคลื่อนไหว โดยเทคนิคง่ายๆ ในการควบคุมความไวชัตเตอร์ ซึ่งเทคนิคนี้ใช้ได้กับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบอื่นๆ เช่น การเล่นของเด็กๆ

ชัตเตอร์สูงๆ ช่วยหยุดหยดน้ำาที่กำาลังกระเซ็นในจังหวะที่นักกีฬาโผตัวขึ้น กีฬาแต่ละชนิดมีแอ็คชั่นที่แตกต่างกัน นักถ่ายภาพต้องสังเกตและค้นหาอิริยาบถที่น่าตื่นตาที่สุด ช่างภาพกีฬามักจะเปิดช่องรับแสงให้กว้างหรือร่วมกับการใช้ความไวแสงสูง เพื่อความไวชัตเตอร์ที่สูงเท่าที่จะเป็นไปได้

ภาพนี้ใช้เลนส์ EF300mm F/4L IS USM ช่องรับแสง F/4 1/2000 วินาที

Camera DSLr 20

Page 21: Book Camera DSLR

ไอเดียดีๆ ในการสร้างสรรค์ภาพให้มีการเคลื่อนไหวด้วยการใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำาๆ เช่นในภาพนี้ ใช้ระบบ Tv ตั้งชัตเตอร์ 1/4 วินาที ถ่ายภาพในขณะที่รถแข่งกำาลังพุ่งขึ้นจากหลุมโคลน

เคล็ดลับการถ่ายภาพ

ความสวยงามของภาพกีฬานั้นขึ้นอยู่กับจังหวะ นักถ่ายภาพต้องสังเกตลักษณะของกีฬาแต่ละชนิด เพื่อถ่ายภาพในจังหวะที่เป็นจุดเด่นของกีฬาชนิดนั้นๆไม่จำาเป็นเสมอไปที่ภาพกีฬาจะต้องถ่ายให้คมชัดด้วยความไวชัตเตอร์สูงๆ เท่านั้นสามารถใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำาๆ เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวให้เกิดขึ้นในภาพ ก็จะได้ภาพที่สวยงามจากผลของการเคลื่อนไหว

หยุดแอ็คชั่นประทับใจเลนส์ที่มักจะใช้ถ่ายภาพกีฬาส่วนใหญ่ จะเป็นเลนส์เทเล เพราะต้องถ่ายภาพจากระยะห่างพอสมควร ขึ้นอยู่กับชนิดกีฬาแต่ละชนิด

นักถ่ายภาพกีฬามักจะใช้ระบบบันทึกภาพ Av และเปิดช่องรับแสงกว้างสุด เพื่อให้ได้ความไวชัตเตอร์ที่สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และแพนกล้องติดตามการเคลื่อนที่ของการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา เพื่อรอจังหวะลั่นชัตเตอร์ในวินาทีสำาคัญ โดยระบบโฟกัสที่สะดวกสบายและติดตามโฟกัสได้ตลอดเวลาก็คือ AI SERVO และเมื่อใช้ร่วมกับระบบบันทึกภาพต่อเนื่อง ก็สามารถคัดเลือกภาพที่สวยงามที่สุดจากภาพทั้งชุดที่ถ่ายเอาไว้

Camera DSLr 21

Page 22: Book Camera DSLR

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม (Architect Photography)

เมื่อท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ภาพที่เรามักจะได้ถ่ายเก็บไว้เป็นที่ระลึกก็คือ ภาพอาคาร โบราณสถาน และสิ่งก่อสร้างในสถานที่นั้นๆ มีเทคนิคง่ายๆ ที่ไม่ยากต่อการจดจำา ซึ่งจะช่วยให้ถ่ายภาพสถาปัตยกรรมสวยๆ ได้อย่างน่าประทับใจ

ภาพพระราชวังที่หลวงพระบาง ถ่ายภาพใกล้ด้วย เลนส์มุมกว้างพิเศษ EF16-35mm F/2.8L II USM ที่ช่วงซูม 16mm เลือกเอาธงทิวสีแดงและเสาธงเป็นส่วนประกอบในฉากหน้า และจัดให้อาคารอยู่ภายในช่องของเส้นสามเหลี่ยม ทำาให้ภาพดูมีระยะตื้น-ลึก และมีสีสันมากขึ้น

สำาหรับภาพนี้ปรับสีของท้องฟ้าให้เป็นสีฟ้าเข้มโดยใช้ฟิลเตอร์โพราไรซ์ และใช้ Picture Style แบบ Landscape

เทคนิคการถ่ายภาพลองใช้เลนส์ที่มีมุมกว้างที่สุดเท่าที่มี และทดลองหามุมกล้องที่ทำาให้คุณเข้าใกล้สิ่งก่อสร้างนั้น โดยที่ยังเก็บส่วนต่างๆ ได้ครบถ้วน ตั้งแต่ฐานจนถึงยอด อาจจะต้องเงยกล้องขึ้นเล็กน้อยเพื่อเก็บภาพส่วนยอดที่แหลม

ลองค้นหามุมกล้องที่บรรจุเอาสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ โดยเฉพาะสิ่งที่มีสีสันเข้าเป็นฉากหน้าใกล้ๆ กับกล้องด้วยจะทำาให้ภาพมีมิติและมีสีสันที่น่าสนใจมากขึ้น

คุณสมบัติข้อหนึ่งของเลนส์มุมกว้างก็คือ มักจะสร้างความบิดโค้งให้วัตถุที่อยู่ในบริเวณขอบภาพ ดังนั้น ควรจะจัดให้ตัวอาคารอยู่กึ่งกลางของเฟรมโดยเฉพาะเมื่อเงยกล้องขึ้น จะทำาให้ภาพดูไม่ผิดธรรมชาติมากจนเกินไป

Camera DSLr 22

Page 23: Book Camera DSLR

มื่อใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายภาพสิ่งที่มีความสูง การตั้งกล้องให้ตรงจะมีความสำาคัญมาก เพราะหากบิดเบนไปทางซ้ายหรือขวาเพียงเล็กน้อย ความโค้งงอของอาคารก็จะปรากฏขึ้นทันที ควรจะใช้การแสดงเส้นตาราง (Grid Display) ของระบบ Live View ช่วยในการจัดภาพ และควรใช้ขาตั้งกล้อง จะทำาให้การจัดภาพสะดวกขึ้น

ภาพถ่ายด้วยเลนส์ EF24-70mm F/2.8L ที่ช่วง 24mm ระบบ Av F/8

หากจัดภาพผิดพลาด ความโค้งเอียงของอาคารจะทำาให้องค์ประกอบภาพเสียไป ภาพจะดูไม่มั่นคง และทำาให้รู้สึกถึงความผิดปกติมากขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองและความตั้งใจของนักถ่ายภาพแต่ละคนที่อาจต้องการสร้างภาพถ่ายในมุมมองที่แปลกตา

เคล็ดลับการถ่ายภาพ

การนำาเอาสิ่งที่มีอยู่ในบริเวณมารวมอยู่ภายในองค์ประกอบภาพ เช่น การนำาเอาซุ้มทางเดินมาอยู่ในภาพ ช่วยทำาให้เกิดมิติความลึกมากขึ้น และยังเพิ่มกรอบบังคับสายตาไปยังจุดเด่น

ทั้งภายนอกและภายในอาคาร มักจะประกอบไปด้วยรูปทรงเรขาคณิต ที่ทำาให้ภาพดูสวยงามและแปลกตาเช่น รูปก้นหอยของอาคารสมัยเก่า หรือทางเดินที่เป็นเส้นตรง หรือเส้นโค้งหรือรูปทรงเรขาคณิตของตัวอาคารเอง

Camera DSLr 23

Page 24: Book Camera DSLR

การถ่ายภาพกลางคืน (Zoom Burst)

ภาพถ่ายกลางคืนนั้นมีความสวยงามจากแสงสีของไฟประดับ และแสงไฟที่เกิดจากกิจกรรมในเวลากลางคืน ใช้เลนส์ที่เก็บแสงสีได้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเฟรม เพื่อไม่ให้ภาพโล่งเกินไป เทคนิคของเลนส์ก็ช่วยสร้างสรรค์ภาพให้แปลกตา จากความไวชัตเตอร์ต่ำาๆ

กิจกรรมในเวลาค่ำาคืนมักปรากฏเป็นภาพของแสงสีที่สวยงามและน่าประทับใจ ให้สังเกตว่าภายในภาพมีส่วนที่เข้มมืดอยู่มาก ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพจะทำาให้การวัดแสงผิดพลาดได้ง่าย

ในภาพนี้ใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุด วัดตรงส่วนที่เป็นสีส้มซึ่งไม่ตรงกับหลอดไฟ ใช้เลนส์ EF24-70mm F/2.8L USM

การเปิดรับแสงสำาหรับการเก็บภาพความงดงามของแสงสีกลางคืน ความผิดพลาดมักจะเกิดจากการวัดแสงที่ผิดพลาดมากกว่าอย่างอื่น ส่วนใหญ่ภาพมักจะสว่างกว่าจริง สีสันไม่เข้มสดเหมือนที่ตาเห็น

หากพิจารณาองค์ประกอบภาพของภาพกลางคืนทุกๆ ภาพ จะพบว่ามีส่วนประกอบของพื้นที่สีดำาเข้ม มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งพื้นที่สีเข้มนี้จะทำาให้การวัดแสงผิดพลาดได้ง่าย

หลักการวัดแสงก็คือ ควรวัดแสงในบริเวณส่วนของแสงไฟหรือพื้นที่สว่าง ด้วยระบบวัดแสงเฉพาะจุด หรือเฉพาะส่วน แล้วชดเชยแสงให้อันเดอร์ประมาณ 1 stop เพื่อให้สีเข้มขึ้น

ในกรณีของการถ่ายภาพแสงไฟกลางคืน ช่องรับแสงจะมีผลต่อขนาดของเส้นแสงด้วย ถ้าเปิดช่องรับแสงกว้างเส้นแสงจะใหญ่ ถ้าเปิดช่องรับแสงแคบพอประมาณ เส้นแสงจะเล็กและคมชัด

Camera DSLr 24

Page 25: Book Camera DSLR

ภาพแสงสีในสวนสนุกที่มีการเคลื่อนไหว ถ่ายด้วยการเปิดรับแสงนาน 4 วินาที โดยตั้งกล้องไว้บนขาตั้งกล้อง ปล่อยให้แสงไฟลากเป็นลวดลายขึ้น

ในภาพ ถ่ายด้วย เลนส์ EF70-200mm F/2.8L USM

เคล็ดลับการถ่ายภาพ

การถ่ายภาพกลางคืนมีข้อได้เปรียบก็คือ มักจะวัดแสงได้ความไวชัตเตอร์ต่ำามาก เปิดโอกาสให้สามารถสร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหวจากแสงสีได้ ทั้งจากการเคลื่อนไหวของแสงไฟที่เคลื่อนที่ หรือจากการเคลื่อนกล้อง หรือจากการใช้เทคนิคระเบิดซูม

ภาพระเบิดซูม เป็นเทคนิคที่เกิดจากการหมุนซูมเลนส์ในระหว่างการเปิดรับแสง การซูมเลนส์จะทำาให้จุดแสงเกิดการเคลื่อนที่และปรากฏเป็นเส้น บางครั้งเส้นก็อาจมีความคดเคี้ยวตามความสั่นของมือ

Camera DSLr 25

Page 26: Book Camera DSLR
Page 27: Book Camera DSLR
Page 28: Book Camera DSLR
Page 29: Book Camera DSLR
Page 30: Book Camera DSLR
Page 31: Book Camera DSLR
Page 32: Book Camera DSLR