12

ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว
Page 2: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

2ศูน

ย์พัฒนาอน

ามัยพ

ื้นที่สูง

2โดย...นิกร กิ่งกันคำ

เมื่อวันที่26ตุลาคม2556ดร.นพ.พรเทพศิริวนารังสรรค์อธิบดีกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยนางนิตยาแสงเล็ก ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง และคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมอนามัย ร่วมทอดกฐินสามัคคีกรมอนามัยประจำปี2556ณวัดสันหมื่นแก้วต.แม่ปืมอ.เมืองจ.พะเยา

เมื่อวันที่5-7พฤศจิกายน2556ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูงร่วมกับชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านห้วยหมาก-ลางอ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน จัดประชุมวางแผนปฏิบัติการพัฒนาน้ำประปาภูเขาในชุมชน โดยการทำความสะอาดแหล่งต้นน้ำและล้างถังพักน้ำในชุมชนเพื่อลดการปนเปื้อนจากเชื้อโรคสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นต้นแบบสามารถขยายผลต่อไปยังชุมชนอื่นๆ

‘ล้างถังพักน้ำชุมชนห้วยหมาก-ลาง’ พัฒนาคุณภาพน้ำประปาภูเขาอย่างมีส่วนร่วม

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2556 นางนิตยา แสงเล็ก ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง นำบุคลากรภายในของศูนย์ฯกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ประพฤติตนเป็นข้าราชการที่ดีมีความซื่อสัตย์สุจริตเจริญตามรอยเบื้องพระยุคลบาทมุ่งมั่นแน่วแน่แก้ ไขปัญหาของชาติและประชาชนดำเนินชีวิตโดยยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนแห่งศาสนาและตามแนวทางในพระบรมราโชวาทตลอดไป

เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง น้อมใจถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดี

เมื่อวันที่4ธันวาคม2556ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูงร่วมรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมไทยโดยการจัดกิจกรรม‘ขยะ’แลกกล้วยเพื่อนำรายได้สมทบทุนโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเพื่อปรับปรุงและสร้างห้องสุขาให้กับโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร

‘ขยะ’ แลกกล้วย ร่วมด้วยช่วยกันในวันสิ่งแวดล้อมไทย

ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง ร่วมบุญกฐินสามัคคีกรมอนามัยประจำปี 2556

Page 3: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

ฉบับนี ้มีอะไร ...

วัตถุประสงค์ข อ ง ก า ร จ ั ด ท ำ ว า ร ส า ร

...บรรณาธิการ

ในฤดูหนาวที่เป็นช่วง High season ของภาคเหนือความงามของภูเขาและดอกไม้เมืองหนาวเบ่งบานต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง กรมอนามัยมีพื้นที่ดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมชาวไทยภูเขาบนพื้นที่สูง จำนวน 20 จังหวัดของประเทศไทยที่มีชุมชนชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ ในเขตภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่านและตาก จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเยี่ยมเยือน ดังนั้นภารกิจในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมจึงไม่ ได้เอื ้อประโยชน์แค่พี ่น้องชาวไทยภูเขาแต่ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยอีกด้วย การเดินทางท่องเที่ยวในภาคเหนืออาจดูไกลหลายพันโค้งกว่าจะเดินทางมาถึง แต่ประสบการณ์ ใหม่ๆ ที่มอบให้นักเดินทางที่มาเยือนทุกคน รับรองได้ว่าคุ้มค่าคุ้มเวลา เหมือนการเดินทางปฏิบัติภารกิจของศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง ที่เราเดินทางมาอย่างยาวนาน ทำให้เราได้เรียนรู้ และเติบโตอย่างมีคุณค่า ถ้าเปรียบกรมอนามัยเป็นบ้านหลังหนึ่ง ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูงก็เป็นอีกห้องที่ชวนให้ค้นหา วารสารศูนย์ฯเล่มนี้จึงถ่ายทอดเรื่องราวของศูนย์ฯ ผ่านตัวอักษรและภาพงดงามมากมาย การวางกระเป๋าเดินทางแล้วนั่งชิลล์อยู่ในบ้านเพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่พลาดโอกาสได้รับประสบการณ์ดีๆ จากการท่องเที่ยว เพราะ “จุดหมาย” การเดินทาง ไม่สวยงามเท่ากับ ประสบการณ์สองข้างทาง และขอให้ทุกท่านเดินทางโดย สวัสดิภาพเจ้า….

บอกกล่าว...เล่าด้วยภาพ 2

บรรณาธิการชวนคุย 3

นานาสาระคนทำงานบนพื้นที่สูง: 4

มุมวิจัย&มุมวิชาการ 5-9

เคล็ดไม่ลับ....ฉบับสุขภาพดี: 10

สิ่งแวดล้อมดี...ชีวีมีสุข: 10

สมุนไพร&ภูมิปัญญาบนพื้นที่สูง 11

คุยเฟื่องเรื่องIT: 11

คำละมุนภาพละไม: 12

เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและกิจกรรมเกี่ยวกับงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมชาวไทยภูเขา เพื่อเผยแพร่ความรู้ บทความวิชาการ และผลงานความก้าวหน้าทางวิชาการงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมชาวไทยภูเขา เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานในพื้นที่ชาวไทยภูเขาระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ปรึกษา : อธิบดีกรมอนามัยบรรณาธิการ : นิตยา แสงเล็กผู้ช่วยบรรณาธิการ : อังสินีย์ สุพรมกองบรรณาธิการ : รุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ์, ศรีวรรณ ทาวงศ์มา, สมควร ใจกระจ่าง, น้ำเพชร ศิริมังฆศรี, อโณทัย พรมชัย, พัฒนา สมาธิ, วรรณจักร ใจแก้วแดง, ชัยวัฒน์ สุวรรณวิภาต, วิเชียร พรหมไชย, สิริพร ณรัฐกิจ, นิกร ก่ิงกันคำ, อนุชา รักสนิท, สิริภา ภาคนะภา, กรวิภา วุฒิจูรีพันธ์, สิเรียม เลิกสายเพ็งจำนวนพิมพ ์ : 1,500 เล่มเจ้าของ : ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง 122 ม.8 ต.ห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง โทร 0 5426 9277, 0 5433 9041ศิลปกรรม : ศิลปการพิมพ์ www.pim-dee.net

2ศูนย์พัฒ

นาอนามัยพื้นที่สูง

3

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง

ชวนคุย

โดย.... นิตยา แสงเล็ก

Page 4: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

การศ ึกษาเพื่อพัฒนาแผนที่ย ุทธศาสตร์งานอนามัยการเจริญพันธุ์ ม ีว ัตถ ุประสงค์เพ ื ่อสังเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินงานอนามัยการเจริญพันธุ์

2ศูน

ย์พัฒนาอน

ามัยพ

ื้นที่สูง

4

โดย...สมสุขโสภาวนิตย์นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์กรมอนามัย

บุคลากรบางส่วนขาดความเข้าใจในบทบาทของตนเอง และการประสานงานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานโดยเห็นควรกำหนดจุดหมายปลายทางสุดท้ายของงานอนามัยการเจริญพันธุ์ คือ “วัยรุ่นและเยาวชนมีความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ ไม่พึงประสงค์” (อัตราการคลอดลดลง) ศึกษาสังเคราะห์ประเด็นวัตถุประสงค์ ของยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ตามมิติทั้ง ๔ มุมมอง ของ Balance Scorecard ได้ดังนี้ คือ มุมมองระดับประชาชน มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) วัยรุ่นมีความรู้ เข้าใจพฤติกรรมอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ปลอดภัย ๒) ครอบครัวที่มีความเข้าใจอนามัยการเจริญพันธุ์ ในวัยรุ่น ๓) ชุมชนเข้มแข็งและมีส ่วนร ่วมในการพัฒนางานอนามัยการเจร ิญพันธ ุ ์มุมมองระดับภาคี มีวัตถุประสงค์คือ ๑) สถานศึกษาพัฒนาศักยภาพ ๒) สาธารณสุขสนับสนุนวิชาการ และบริการสุขภาพ ๓) อปท./แกนนำเครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วมและสนับสนุน ๔) พม./ หน่วยงานรัฐ/เอกชน/เครือข่ายท้องถิ่นบูรณาการ และ ๕) เครือข่ายวัยรุ่นมีส่วนร่วมและเป็นผู้ขับเคลื่อนงาน มุมมองระดับกระบวนการ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) มีระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ๒) มีระบบติดตามและประเมินผล ๓) มีนวัตกรรมองค์ความรู้ ๔) มีระบบบริหารภาคีเครือข่าย และ๕) มีระบบพัฒนากฎหมาย กฎ และระเบียบ มุมมองระดับพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์คือ ๑) มีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศครบถ้วนทันสมัย ๒) บุคลากรมีทักษะและสมรรถนะที ่เหมาะสม และ ๓) มีวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งในการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์อาจต้องมีการปรับเปลี่ยน และเลือกใช้ประเด็นวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที ่เหมาะสมในแต่ละมิติ กับสถานการณ์เป็นระยะ เพื่อผลักดันให้บรรลุวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ ตามวิสัยทัศน์ของกรมอนามัย

จุดหมายปลายทางสุดท้ายของงานอนามัยการเจริญพันธุ์ คือ “วัยรุ่น & เยาวชนมีความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์”

ตลอดจนจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ดำเนินงานอนามัยการเจริญพันธุ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Study) โดยการทบทวนวรรณกรรมจากตำราคู่มือ การดำเนินงานอนามัยการเจริญพันธุ์ นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๗) เอกสารการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ๔ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๘) ของกรมอนามัย ตลอดจนผลงานที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำเสนอผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจัดทำเป็นข้อเสนอต่อกรมอนามัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพงานอนามัยการเจริญพันธุ ์ ผลการสังเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินงานอนามัยการเจริญพันธุ์ พบว่าปัจจัยภายนอก ที่เป็นโอกาส พบว่ามีกระแสตื่นตัวด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ในระดับนโยบายการปฏิรูประบบราชการในปัจจุบัน มีผลทำให้สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ มีบทบาทที่ชัดเจน อุปสรรคหรือภัยคุกคาม พบว่า ประชาชนและเครือข่ายขาดความรู ้และเข้าใจงานอนามัยการเจริญพันธุ์ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภายในองค์กรจุดแข็ง พบว่าบุคลากรมีความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และเป็นองค์กรหลักในการดำเนินงานอนามัยการเจริญพันธุ์ ส่วนจุดอ่อน พบว่า

Page 5: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

ปัจจัยพื้นฐานของพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง

5

โดย...น้ำเพชรศิริมังฆศรีนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

องค์การยูนิเซฟได้กล่าวถึงเด็กปฐมวัยว่า ห้าปีแรกของชีวิตนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาชีวิตของเด็กสมองของเด็กพัฒนาอย่างรวดเร็วและเป็นช่วงเวลาที่เด็กมีการพัฒนาทางการรับรู้ภาษาสังคมอารมณ์และกล้ามเนื้อเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด จะมีโอกาสที่จะพัฒนาทักษะด้านต่างๆอย่างเต็มที่ และมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์แข็งแรงมากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่การพัฒนาในแต่ละด้านนี้ล้วนแต่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นผู้ใหญ่ ปัจจัยพื้นฐานของพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบ่งออกเป็น2ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านพันธุกรรมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางพันธุกรรมพันธุกรรม(Heredity)คือปัจจัยภายในที่กำหนดขอบเขตลักษณะและขีดความสามารถของบุคคล ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้บุคคลในครอบครัวเดียวกันมีลักษณะบางประการที่คล้ายคลึงกัน และมีลักษณะบางประการที่แตกต่างกัน

อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีผลต่อพัฒนาการดังนี้ 1.ลักษณะทางกายภาพ(PhysicalAppearance) เด็กจะได้รับการถ่ายทอดโครงร่างและลักษณะทางกายภาพต่างๆจากพ่อและแม่ได้แก่รูปร่างขนาดความสูงน้ำหนักสัดส่วนของร่างกาย 2.ระดับวุฒิภาวะ(Maturity)พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดสภาวะและอัตราการเจริญเติบโตเด็กแต่ละคนจะมีขีดความสามารถในการแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาได้เอง 3.ความสามารถทางสมอง(IntellectualAbility)ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดาในระยะ2ขวบปีแรกสมองมีการเปลี่ยนแปลงขนาดและโครงสร้างภายในอย่างรวดเร็ว 4.ลักษณะความผิดปกติ(Abnormality)โรคภัยไข้เจ็บหลายชนิดและลักษณะที่เป็นปัญหาเช่นโรคปัญญาอ่อน(Down’s Syndrome) สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม และมีผลทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญาและพัฒนาการในการเรียนรู้ด้านต่างๆช้ากว่าปกติ 5.พื้นฐานทางอารมณ์(Temperament)การแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดและส่งผลให้การปรับตัวหรือการตอบสนองสิ่งต่างๆของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน 6.ชนิดของกลุ่มเลือด(Bloodtype)เด็กจะได้รับชนิดของกลุ่มเลือดจากพ่อและแม่ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น4กลุ่มคือA,B,ABและO

7.เพศ(Sex)เมื่อเกิดการปฏิสนธิเด็กจะได้รับโครโมโซมจากฝ่ายพ่อและแม่ฝ่ายละ1ตัวเด็กที่ได้รับโครโมโซมXYก็จะเป็นเพศชายส่วนเด็กที่ได้รับโครโมโซมXXก็จะเป็นเพศหญิง ส่วนปัจจัยทางสภาพแวดล้อม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือสภาพแวดล้อมทางกายภาพ(PhysicalEnvironment)ได้แก่บ้านโรงเรียนของเล่นอาหารบรรยากาศเป็นต้นและสภาพแวดล้อมทางสังคม(Social Environment) ได้แก่ ครอบครัว ญาติ พี่น้อง ครู วัฒนธรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นต้น

แหล่งที่มา:นางสาวอารียารักดี:ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยhttp://www.l3nr.org/posts/120807สืบค้นวันที่18ธันวาคม2556

Page 6: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

2ศูน

ย์พัฒนาอน

ามัยพ

ื้นที่สูง

6

โดย…ศรีวรรณทาวงศ์มานักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

แกะรอย... การจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมขององค์กรและชุมชนในการพัฒนาคุณภาพน้ำประปาภูเขาบ้านห้วยหมากลาง

เดือนพฤศจิกายนท่ีผ่านมาศูนย์พัฒนาอนามัยพ้ืนท่ีสูงได้จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรและชุมชนในการพัฒนาคุณภาพน้ำประปาภูเขาบ้านห้วยหมาก-ลางอ.เมืองจ.แม่ฮ่องสอนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนทบทวนผลการดำเนินงานและแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ2556และอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดทำแผนชุมชนและการเขียนโครงการ ท้ายที่สุดชุมชนสามารถจัดทำโครงการพึ่งพาตนเอง จำนวน 2 โครงการคือ โครงการน้ำใสสะอาดและโครงการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพประปาภูเขา โดยแกนนำที่เข้มแข็ง อาทิ ผู้ ใหญ่บ้าน, ผู้ช่วยผู้ ใหญ่บ้าน ส.อบต.,อสม.และเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านห้วยหมาก-ลางร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน สถานการณ์ของการดำเนินงานโครงการวิจัยในบ้านห้วยหมาก-ลาง ก่อนหน้าที่จะมีโครงการวิจัยเข้ามา หมู่บ้าน/ชุมชนไม่มีความรู้เรื่องน้ำขุ่น และน้ำดื่มไม่สะอาด ไม่มีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ หลังเข้าร่วมโครงการ มีการนำทุนทางสังคมสินทรัพย์ชุมชน ที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่ นำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนและใช้ ในการดำเนินโครงการในชุมชน เช่นชุมชนมีความร่วมมือร่วมใจกันมีความเคารพซึ่งกันและกันเชื่อใจกันและปรึกษาหารือกัน จนมีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งรูปธรรมและนามธรรมเช่นมีการล้างถังพักน้ำของชุมชนทำให้น้ำสะอาดมากขึ้นช่วยกันสร้างฝายชะลอน้ำและทำความสะอาดฝายอย่างต่อเนื่อง ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงมีความสามัคคี รักกันมากขึ้น มีความเอื้ออาทร

ซึ่งกันและกันสุขภาพคนในชุมชนแข็งแรงสมบูรณ์ส่วนจุดแข็ง(ข้อดี)ของโครงการคือชุมชนเข้มแข็ง มีการช่วยกันมากขึ้นทุกคนกล้าแสดงออกเมื่อก่อนไม่เคยปรึกษามีความสามัคคีกัน ทำให้ โครงการดีขึ้นและจุดอ่อน (ข้อด้อย) คือขาดความรู้ความเข้าใจและชาวบ้านส่วนใหญ่อ่านหนังสือไม่ออกชุมชนสะท้อนสิ่งที่ ได้เรียนรู้จากการทำโครงการทั ้งเรื ่องทำฝายการพัฒนาระบบน้ำประปาภูเขา ทุกคนภูมิใจที่ ได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการทำโครงการ เห็นความสำคัญของแหล่งต้นน้ำและช่วยกันดูแลระบบประปาเสียงสะท้อนต่างๆส่งผลถึงความภาคภูมิใจของทุกภาคส่วนที ่พร้อมจะสนับสนุนโครงการน้ำใสสะอาดและโครงการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพประปาภูเขาเพื่อให้ชุมชนบ้านห้วยหมากลางมีน้ำดื่มและน้ำใช้ที่สะอาด เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Page 7: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

โดย…อังสินีย์ สุพรมนักวิชาการเผยแพร่

2ศูนย์พัฒ

นาอนามัยพื้นที่สูง

7

จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิดของประชาชน จนเกิดเป็นวิกฤติ

ทางการเมือง มีการชุมนุมเกิดขึ้นในหลายฝ่าย และนับวันทวีความรุนแรงมากขึ้น

ผู้ที่ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาอยู่ภายใต้สภาวะกดดัน

ย่อมเกิดความเครียดโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาะบุคคลที่ไม่สามารถจัดการกับ

ความเครียดให้หายไปได้ แต่กลับยังคงความไม่สบายใจ จนอาจพัฒนาสู่กลุ่มอาการ

เครียดซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว

     อาการเครียดจากการเมืองโดยเฉพาะคนที่คลั่งไคล้การเมืองเกาะติดการชุมนุม

อย่างใกล้ชิดตั้งแต่หลังตื่นนอนทำกิจวัตรประจำวันหรือแม้ขณะหลับก็ยังเปิดอุปกรณ์

สื่อสารทิ้งไว้ การเสพข้อมูลอย่างหนักจะทำให้สมองทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้

เกิดความเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจตามมาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียดและเกิด

การลัดวงจรของระบบประสาทในที่สุดจะเสียสมดุลในการจัดการข้อมูล

  ผู้ที่ต้องระมัดระวังคือผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่โรคหัวใจความดันโลหิตสูงจะทำให้

เกิดภาวะหัวใจทำงานหนัก เสี่ยงหัวใจวาย ความดันโลหิตสูงขึ้น เสี่ยงเส้นเลือดแตก

กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากขึ้น เสี่ยงเกิดโรคกระเพาะอาหาร และผู้ที่เป็น

โรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด อาจทำให้เกิดการเกร็งของทางเดินหายใจ หายใจไม่ออก

จึงต้องระมัดระวัง ที่น่าห่วงที่สุดคือการรับข้อมูลที่ขาดการกลั่นกรอง อาจจะเป็น

การซ้ำเติมให้เกิดความเครียดลงไปอีกหากเสพข่าวสารไปนานๆอาจทำให้กลายเป็น

ผู้ที่มองโลกในแง่ลบ

  เพื่อป้องกันข้อมูลล้นสมอง ควรติดตามข่าวสารเพื่อรับรู้ข้อมูลพอประมาณ

แบ่งเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆพักผ่อนอย่างน้อยวันละ6-8ชั่วโมงออกกำลังกาย

วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เนื่องจากการออกกำลังกาย จะทำให้สมองหลั่งสารแห่ง

ความสุขที่เรียกว่าสารเอนดอร์ฟีน สามารถขจัดความเครียดได้ตามธรรมชาติ ช่วยให้

ร่างกายเกิดการผ่อนคลาย และนอนหลับได้ดีขึ้น สำหรับผู้ที่มีบุตรหลานควรหลีกเลี่ยง

ไม่ให้เด็กรับรู้ความรุนแรงหรือฟังคำพูดที่หยาบคาย ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ที่ดูแลเด็กจำเป็น

ต้องใช้วิจารณญาณและไม่ควรปลูกฝังความเกลียดให้กับเด็ก แต่ควรอธิบายเหตุผล

เพื่อสร้างความฉลาดทางอารมณ์

  ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง กรมอนามัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อปฏิบัติด้าน

สุขภาพในช่วงสถานการณ์ทางการเมืองเหล่านี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ผู้คนใน

สังคมไทย กลับมาดูสุขภาพทั้งทางจิตใจและร่างกายของตนเองและคนใกล้ชิด เพื่อ

บรรเทาวิกฤติและสร้างความสุขให้กับสังคมไทย

‘สุขภาพ’กับสถานการณ์ทางการเมือง

Page 8: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

2ศูน

ย์พัฒนาอน

ามัยพ

ื้นที่สูง

8 แลกเปลี่ยนเรียนรู้งาน

‘ผดุงครรภ์โบราณ’จากวิถีชีวิตมุสลิมของภาคใต้สู่ชุมชนชาวปกากะญอของภาคเหนือ หนึ ่งภาพยนตร์อมตะของเมืองไทยที ่เป็นโศกนาฏกรรมความรักจากเร่ืองราวของ“นางนาก”หญิงสาวท่ีต้องมาจบชีวิตลงขณะคลอดลูก เนื่องจากลูกขวางท้องไม่ยอมกลับหัว และในสมัยโบราณเมื่อครั้งการแพทย์ยังไม่เจริญ ผู้ทำคลอดมีเพียงหมอตำแยเท่านั้น โอกาสที่แม่และเด็กอาจเสียชีวิตจึงมีความเสี่ยงสูง จากโศกนาฏกรรมของนางนากมาถึงสภาพสังคมในปัจจ ุบ ันที ่ม ี เทคโนโลยีทางการแพทย์ท ี ่ท ันสมัยกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้รับผิดชอบภารกิจการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีมาโดยตลอด ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูงก็เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมอนามัยที่ดำเนินภารกิจในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมชาวไทยภูเขาบนพื้นที่สูงหนึ่งในภารกิจที่สำคัญคือการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ล่าสุดเมื่อวันที่16ธันวาคม2556ศูนย์อนามัยที่12จังหวัดยะลานำโดยนางสุคนธ์ สุวรรณบันดิษฐ์ นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ และดร.สุดารัตน์ ธีระวร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ ได้นำคณะผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กจากจังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี สงขลาสตูลตรังและพัทลุงรวมจำนวน21คนเข้าศึกษาดูงานส่งเสริมสุขภาพแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอนามัยแม่และเด็กและการพัฒนาศักยภาพผดุงครรภ์โบราณณศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง จากนั้นวันที่ 17ธันวาคม2556ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาม และชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงหรือปกากะญอณบ้านแม่หมีนอกต.หัวเมืองอ.เมืองปานจ.ลำปาง แม้ภาคใต้และภาคเหนือจะมีระยะทางที่ห่างไกลกันหลายร้อยกิโลเมตร แต่วิถีชีวิตชุมชนที่ยังมีการคลอดโดยผดุงครรภ์โบราณมีความคล้ายคลึงกันในจังหวัดชายแดนภาคใต้มี“โต๊ะบีแด”(ภาษาถิ่นมลายู)หมายถึง“หมอตำแย”ส่วนในชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงหรือปกากะญอก็มี“หมอตำแย”ที่เป็นผู้ดูแลมารดาในขณะคลอดเช่นกันแม้

ปัจจุบันมีวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้หญิงมีครรภ์ส่วนใหญ่นิยมคลอดกับโรงพยาบาลมากกว่า แต่ว่าโต๊ะบีแดหรือหมอตำแยของชุมชนชาวไทยภูเขาพื้นที่สูงยังมีส่วนช่วยดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างใกล้ชิด เพราะหมอตำแยก็คือบุคคลที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของคนในชุมชนเรื่องการทำคลอดหลังจากคลอดแล้วก็ยังมีหน้าที่ดูแลให้คำแนะนำ อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมและศาสนาเป็นส่ิงท่ีมีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาวะหญิงตั้งครรภ์ สำหรับวิถีมุสลิม จะมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่เรียกว่า ‘อาซาน’ ซึ่งจะต้องกระทำทันทีหลังจากทำความสะอาดทารกแรกคลอด โดยผู้ที่เป็นพ่อของเด็กหรือผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่นับถือของครอบครัว จะกล่าวอาซานที่ข้างหูของทารก เพื่อขอพรให้ทารกและบอกว่า “เจ้าเป็นอิสลาม”ดังนั้นแนวทางดำเนินงานด้านสาธารณสุข นอกจากให้ความรู้แก่‘ผดุงครรภ์โบราณ’อย่างถูกหลักสุขอนามัยยังต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมและศาสนาเพื่อให้แม่และลูกมีความปลอดภัยสูงสุด

โดย...สมควรใจกระจ่างนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

Page 9: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

“นีซ่อโค่”พิธขีึ้นปใีหม่ ในวิถกีะเหรี่ยง

2ศูนย์พัฒ

นาอนามัยพื้นที่สูง

9

โดย…อนุชารักสนิทนักวิชาการสาธารณสุข

ทุกๆ ปีเมื่อสายลมหนาวมาเยือนในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม เป็นช่วงที่ทุกๆ ท่านรอคอยที่จะได้สัมผัสกับอากาศหนาวเย็น และรอคอยที่จะได้เฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่บางท่านอาศัยช่วงวันหยุดยาวกลับไปพบปะครอบครัวและญาติผู้ใหญ่ เพื่อที่จะประกอบพิธีขึ้นปีใหม่ ซึ่งก็มีความแตกต่างกนัไปในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองตลอดทั้งปี ในส่วนของชาวไทยภูเขา เผ่ากะเหรี่ยง ก็มีการจัดพิธีขึ้นปีใหม่เช่นเดียวกัน ซึ่งวันขึ้นปีใหม่ ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า“นี่ซอโค่” เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันขึ้นปีใหม่จะจัดปีละครั้งเท่านั้น เป็นวันที่สำคัญเพราะเหล่าญาติพี่น้องที่ได้แต่งงาน หรือจากบ้านไปทำงานที่อื่น จะกลับมาร่วมงานปีใหม่กันอย่างถ้วนหน้า และจะเตรียมขนม เช่น ข้าวเหนียวต้ม ข้าวปุ๊ก ข้าวหลาม เพื่อจะถวายแด่เทพเจ้าในวันรุ่งขึ้น และเตรียมเหล้าสำหรับประกอบพิธีและดื่มร่วมกัน ในตอนกลางคืนก่อนวันขึ้นปีใหม่ผู้นำศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า “ฮี่โข่” จะทำการเรียกตัวแทนบ้านละหนึ่งคน คือ หัวหน้าครอบครัว (ต้องเป็นผู้ชาย) เตรียมเหล้าบ้านละหนึ่งขวดไปยังบ้านของผู้นำศาสนา (ฮี่โข่) เพื่อทำพิธีกรรมที่ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า พิธีกินหัวเหล้า (เอาะซิโค) โดยตอนแรกจะนำขวดเหล้ามารวมกัน โดยฮี่โข่จะทำการอธิษฐานจากนั้นจะรินเหล้าลงในแก้ว แล้วให้คนที่มาร่วมพิธีดื่ม วิธีการดื่มคือเอาขวดแรกของคนที่มาถึงก่อนเทลงแก้วแล้วฮี่โข่จะจิบเป็นคนแรก จากนั้นก็ให้คนต่อไปจิบต่อไปเรื่อยๆ จนครบทุกคนที่มาร่วมงาน แล้ววนกลับมาถึงคิวฮี่โข่ ฮี่โข่จะทำการเททิ้งพร้อมอธิษฐานให้พร แด่เจ้าบ้านและครอบครัวของเจ้าของเหล้าขวดที่ได้เทไปจะทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกขวดของทุกบ้านที่มาร่วมงานบางครั้งบางทีหมู่บ้านไหนที่มีหลังคาเรือนเยอะอาจทำจนถึงเช้าวันขึ้นปีใหม่ เช้าวันขึ้นปีใหม่ ชาวกะเหรี่ยงจะตื่นแต่เช้าแล้วมาฆ่าหมู ฆ่าไก่ เพื่อจะนำมาประกอบพิธี โดยเริ่มจากการนำไก่ที่ฆ่าแล้วพร้อมเหล้าหนึ่งขวดมาตั้งที่ขันโตก เพื่อจะประกอบพิธีมัดข้อมือ

หรือเรียกขวัญของลูกหลานในแต่ละบ้าน โดยผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัวจะเป็นผู้ประกอบพิธี เวลานี้สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะอยู่กันครบหน้า ผู้เฒ่าผู้แก่เริ่มมัดข้อมือลูกหลาน โดยจะนำไม้มาเคาะที่ขันโตก เพราะเชื่อว่า เป็นการเรียกขวัญของลูกหลานให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว จากนั้นก็มัดข้อมือพร้อมอธิษฐานให้พร หลังจากมัดข้อมือเสร็จแล้วจะรับประทานอาหารร่วมกันหลังจากนั้นก็จะออกตระเวนไปตามบ้านของแต่ละครอบครัว เพื่อกินสังสรรค์กัน พร้อมรินเหล้าเพื่ออธิษฐาน และอวยพรให้ซึ่งกันและกัน จากนั้นจะเดินทางไปทุกๆ บ้านในหมู่บ้าน และอวยพรให้ทุกบ้านมีแต่ความสุขไปด้วย พิธีขึ้นปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยงนั้นจะมีวันที่สำคัญที่สุด คือ วันแรก ส่วนวันอื่น ๆ แล้วแต่ว่าอยากกินถึงวันไหน ซึ่งแล้วแต่แต่ละหมู่บ้านที่ได้จัดขึ้น ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นคือกะเหรี่ยงพุทธ หรือ “เอาะ แค” นอกจากนี้ยังมีกะเหรี่ยงอีกกลุ่ม คือ กะเหรี่ยงคริสต์ จะมีพิธีกรรมที่คล้ายๆ กัน แต่จะทำในแบบศาสนาของตนเอง คือเข้าโบสถ์ อธิษฐานเสร็จ จะทานข้าวร่วมกัน จากนั้นจะมีการประมูลราคาข้าวของของแต่ละบ้านที่นำมาประมูลร่วมกัน หลังจากประมูลราคาสิ่งของเสร็จ ก็จะมีการจัดกลุ่มแข่งกีฬาพื้นบ้านชนิดต่างๆ ตกเย็นมีการแสดงละครสร้างความบันเทิง จะไม่มีการกินเหล้า หรือเมามายในวันนี้ จากนั้นก็จะแยกย้ายกันกลับบ้านของตนเอง ในช่วงนี้จะมีการอธิษฐานทุกคืนจนครบ 7 คืนจึงจะถือว่าสิ้นสุดพิธีขึ้นปีใหม่ หลังจากพิธีขึ้นปีใหม่ “นี่ซอโค่”เรียบร้อยแล้วก็เป็นช่วงเวลาที่จะต้องเริ่มต้นวิถีการทำมาหากินอีกครั้ง

แหล่งที่มา : http://www.hilltribe.org

Page 10: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

2ศูน

ย์พัฒนาอน

ามัยพ

ื้นที่สูง

10

โดย พัฒนา สมาธินักวิชาการสาธารณสุข

ทำไม?ต้องตรวจสุขภาพประจำป ี

การไม่เจ็บไม่ป่วย…ไม่ได้หมายความว่าร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี 100% เพราะบางครั้งร่างกายไม่สามารถส่งสัญญาณความผิดปกติแสดงออกมาภายนอกได้ ดังนั้นเราจึงควรตรวจสุขภาพปีละครั้ง เพื่อรู้ทันถึงโรคภัยและ

ป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที

โดย…กรวิภา วุฒิจูรีพันธุ์

นักวิชาการสาธารณสุข

เทศกาลปีใหม่เป็นช่วงวันหยุดยาว โดยเฉพาะในปี 2556 รัฐบาลประกาศให้มีวันหยุดตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม2556ถึงวันที่1มกราคม2557หลายๆคนคงจะเตรียมตัวไปพักผ่อนกับครอบครัวหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมคงหนีไม่พ้นภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามหลายแห่งให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัสอากาศหนาวช่วงสิ้นปี

...ใสใ่จสิ่งแวดล้อม

การตรวจสุขภาพตามหลักสากลจะประกอบด้วยหลัก 4 ประการคือ 1. การคัดกรองเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค 2. การให้คำแนะนำเช่นแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3. การให้วัคซีนป้องกันโรควัคซีนที่เหมาะสมจะช่วยไม่ ให้เป็นโรคและช่วยให้สุขภาพแข็งแรง 4. การให้สารหรือยาเพื่อป้องกันโรคสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเช่นการให้แคลเซียมใน หญิงตั้งครรภ์หรือผู้สูงอายุ

กิจกรรมท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาวก็มีหลายแบบบางคนชอบความตื่นเต้นเร้าใจก็ท่องเที่ยวโดยใช้มอเตอร์ ไซด์วิบากหรือจักรยานเสือภูเขาบางคนชอบใกล้ชิดธรรมชาติก็หาที่กางเต็นท์นอนในป่าล่องแพไม้ ไผ่ตามลำน้ำสายต่างๆและที่ขาดไม่ ได้สำหรับคนรุ่นใหม่หัวใจSocialnetworkคืออัพรูปท่องเที่ยวลงในFacebookหรือinStagramแต่ยังมีบางอย่างที่สำคัญมากไปกว่านั้น...คืออย่าให้การท่องเที่ยวของเราส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขยะ การเยียบย่ำทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น พรรณไม้ เราจึงขอแนะนำวิธีการง่ายๆที่จะช่วยรักษาแหล่งท่องเที่ยวให้สวยงามยั่งยืนตลอดไป 1. ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัดเช่น ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในเขตอุทยานและสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 2. ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถเพื่อลดมลภาวะทางอากาศ 3. รักษาความสะอาด ลดการนำขยะ “เข้ามา” สู่แหล่งท่องเที่ยว และนำขยะ“กลับออกไป”ทุกครั้ง เมื่อฤดูการท่องเที่ยวผ่านพ้นไปแล้วธรรมชาติต้องใช้เวลาฟื้นฟูทั้งป่าไม้สัตว์ป่านานกว่า3เดือนเป็นอย่างต่ำกว่าจะคืนสู่สภาพปกติดังนั้นเมื่อธรรมชาติได้มอบสิ่งสวยงามให้เราได้ชื่นชมอย่างมีความสุขกันแล้ว การตอบแทนด้วยการอนุรักษ์ดูแลสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพสวยงามจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรละเลย...

คนก็เหมือนกับรถทุกๆ5,000-10,000กิโลเมตรก็ต้องเข้าอู่ ให้ช่างเช็คสภาพเพื่อดูว่ามีอะไรชำรุดต้องซ่อมแซมก่อนที่จะเสียหายจนขับขี่ต่อไปไม่ ได้ร่างกาย

คนเราก็เช่นเดียวกันควรจะเข้าโรงพยาบาลให้แพทย์เช็คสภาพเป็นระยะๆก่อนท่ีจะป่วยจนลุกลามแก้ ไขไม่ทัน

การตรวจเช็คสุขภาพประจำปีประกอบด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดจากแพทย์การตรวจเลือดตรวจปัสสาวะอุจจาระการเอ็กซเรย์และการตรวจพิเศษอีกหลายๆอย่างตามอายุเพศอาการประวัติการเจ็บป่วย การตรวจขั้นพื้นฐานควรประกอบด้วยการตรวจการทำงานของตับ ไตน้ำตาลและไขมันในเลือดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดการฉายรังสีปอดและการตรวจมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงในคนที่มีอายุมากขึ้น อาจต้องตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ และมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายเป็นต้นข้อมูลบางส่วนจาก:http://www.i-medipro.com/index.php?lay=Show&ac=article&id=5375671&ntype=5

Page 11: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว

‘ข้าวหลามดง’ยาดีที่สตรีควรใช้

นอกจากสถานบริการต่างๆ ยังมีหลายครัวเรือนนิยมติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเอาไว้ แล้วกระจายสัญญาณ WiFi เพื่อใช้ ในส่วนต่างๆ ของตัวบ้านให้ครอบคลุม หากไม่มีการป้องกันไว้อย่างรัดกุมแล้ว ก็มีโอกาสที่จะถูกผู้อื่นที่เข้าถึงสัญญาณสามารถลักลอบใช้งานได้ง่ายๆ เคยสังเกตไหมว่า อยู่ๆ ความเร็วในการเข้าชมเว็บลดลงทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ใช้งานได้เร็วกว่านี้ อาจเป็นไปได้ว่า มีคนแอบใช้อินเทอร์เน็ตทาง Wireless Lan ของเราเอง ที่เปิดกระจายสัญญาณไว้แบบไม่ได้เข้ารหัส จนทำให้คนข้างบ้านได้ ใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายจากของเราโดยฟรีๆ แบบ “ใช้เพลินจัง ตังค์อยู่ครบ” โดยที่เราไม่รู้ตัว ถ้าไม่ต้องการให้ ใครมาแชร์อินเตอร์เนตกับบ้านเราจริงๆ สามารถใช้วิธีป้องกันแบบง่ายๆ ดังนี้ ควรหลีกเลี่ยงการวาง router ของเราบริเวณใกล้หน้าต่าง และใช้วิธีป้องกันโดยการเข้ารหัส ถ้าทำวิธีนี้แล้วจะทำให้อุปกรณ์ที่ ไม่ได้มีการเข้ารหัสร่วมกับเรา ไม่สามารถมาใช้สัญญาณ wi-fi ของเราได้ ถ้าเค้าไม่รู้รหัสผ่านหรือ

2ศูนย์พัฒ

นาอนามัยพื้นที่สูง11

โดย... ชัยวัฒน์ สุวรรณวิภาตนักวิชาการคอมพิวเตอร์

โดย…วรรณจักร ใจแก้วแดงนักวิเคราะห์นโยบายและแผน

network key ของเรา (สำหรับวิธีตั้งค่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ ลองศึกษาจากคู่มือที่มากับ router ของเราได้) คำแนะนำสุดท้ายก็คือ ปิด router ของเราเมื่อไม่ได้ ใช้งาน อันนี้ คนอื่นเข้ามาใช้งานไวร์เลสแลนของเราไม่ได้อย่างแน่นอน ถ้าหากจะใช้ก็เพียงกดสวิตซ์เปิดการทำงานของ router ก็ใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อได้แล้ว

ข้อมูลบางส่วนจาก http://www.it24hrs.com/2011/wlan-hacking

วิธีป้องกันแขกไม่ได้รับเชิญขโมยใช้ Wi - Fi

ชุมชนโป่งคำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ มีพืชพรรณไม้ที่เป็นพันธุ์เฉพาะถิ่น และใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนบนพื้นที่สูง หนึ่งในนั้นคือ ‘ข้าวหลามดง’ ที่มาของชื่อ ‘ข้าวหลามดง’ มาจากกลิ่นของลำต้นหรือกิ่งเมื่อถูกเผาไฟจะมีกลิ่นไหม้คล้ายๆ กับกลิ่นหอมของกระบอกข้าวหลามที่ เผาสุกใหม่ๆ ส่วนคำว่า “ดง” นั้นสื่อถึงว่าเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามดงพงป่า ใครหลายคนยกย่อง ‘ข้าวหลามดง’ ว่าเป็น ‘ยาแม่ลูกอ่อน’

ข้าวหลามดงเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ที่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุง เพิ่มน้ำนมให้หญิงหลังคลอด รักษามดลูกคนโบราณนิยมใช้ลำต้นข้าวหลามดงเพียงชนิดเดียว หรือต้มรวมกับเขยตาย เดื่อหอม ต้มกินบำรุงผู้หญิงหลังคลอด นอกจากนี้ยังเป็นยาบำรุงร่างกายที่ดี ช่วยขับเหงื่อ ขับน้ำลาย เหมาะกับคนเบื่ออาหาร ข้าวหลามดงกับการศึกษาวิจัยสมัยใหม่ มีการศึกษาพบว่า สารในข้าวหลามดงมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อมาลาเรีย เชื้อวัณโรค และเซลล์มะเร็ง ข้าวหลามดงเป็นพืชเฉพาะถิ่นของไทย ลาว เวียดนาม มีประวัติการใช้เป็นยามาอย่างยาวนาน แต่คนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยรู้จัก ปัจจุบันนิยมนำข้าวหลามดงมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากเวลาออกดอก ดอกจะออกเต็มลำต้นสวยงามมาก หากเพียงแต่ได้รู้สรรพคุณด้วยแล้ว ‘ข้าวหลามดง’ ก็ไม่ใช่พืชธรรมดาในดงดอยที่เราจะมองข้ามอีกต่อไปข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.rakkhaoyai.com/jungle-path/2176

Page 12: ศูนย์พัฒนาอนามัยhhdc.anamai.moph.go.th/download/Journal/HHDC_Journal5...ของงานอนาม ยการเจร ญพ นธ ค อ “ว