838

พิมพ์ครั้งที่ ๓ - cpd.go.th · 2018-03-20 · พิมพ์ครั้งที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๐ จ านวน ๑,๐๐๐

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • พิมพ์ครั้งที่ ๓กันยายน ๒๕๖๐

    จ�านวน ๑,๐๐๐ เล่ม

    จัดพิมพ์โดยส�านักกฎหมาย ส�านักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    โทร. ๐ ๒๒๘๐ ๓๙๒๑

    พิมพ์ที่โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ากัด

    ๗๙ ถ.งามวงศ์วาน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

    โทร. ๐ ๒๕๖๑ ๔๕๖๗ โทรสาร ๐ ๒๙๔๑ ๑๒๓๐

  • คำ�นำ�

    เนือ่งจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานทีม่ีส่วนราชการในสังกัดและหน่วยงาน ในก�ากบัดแูลรวมแล้วถงึ ๒๒ หน่วยงาน โดยมีกฎหมายหลักท่ีใช้บังคบัอยู่ในปัจจบัุนประมาณ ๔๐ กว่าฉบับ นอกจากนีย้ังมีกฎหมายทีเ่กี ่ยวข้องซึ่งก�าหนดหลักเกณฑ์เป็นมาตรฐานกลางที่หน่วยงานภาครัฐ ต้องถือปฏิบัติอีกหลายฉบับ หนังสือรวมกฎหมายเกษตรจึงมุ่งประสงค์เพื ่อรวบรวมกฎหมาย ทีส่่วนราชการในสังกัดและหน่วยงานในก�ากับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ถือใช้บังคับ ในการปฏิบัติงานตามอ�านาจหน้าทีร่วมทัง้กฎหมายอืน่ทีเ่กี่ยวข้องมาไว้ในเล่มเดียวกัน เพื่อให้เกิด ความสะดวก รวดเร็ว ส�าหรับการอ้างอิงบทบัญญัติและการตรวจสอบกลั่นกรองอ�านาจหน้าที ่ตามกฎหมายในการเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปในแต่ละระดับได้อย่างถูกต้อง หนังสือรวมกฎหมายเกษตรทีม่ีการจัดพิมพ์ครั้งที ่ ๒ เมือ่ปี ๒๕๕๒ จากระยะเวลาทีผ่่านมา ท�าให้มีกฎหมายหลายฉบับไม่เป็นปัจจบัุน คณะผู้จัดท�าจึงได้รวบรวมกฎหมายท่ีเป็นปัจจุบันมาจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ในครั้งน้ี เป็นการพมิพ์ครั้งท่ี ๓ โดยได้ตดัออกกฎหมายฉบับท่ีถกูยกเลิก และเพิ่มเตมิกฎหมายใหม่ทีอ่อกใช้บังคับแล้ว รวมทัง้กฎหมายทีม่ีการแก้ไขปรับปรุงเท่าทีม่ีอยู่ในขณะจัดพิมพ์ อย่างไรก็ตาม ยังมีกฎหมายใหม่ทีอ่ยู่ระหว่างการยกร่าง และระหว่างการแก้ไขปรับปรุงอีกหลายฉบับ ซึ่งมีขั้นตอน ท่ีต้องด�าเนินการตามบทบัญญตัมิาตรา ๗๗ ของรฐัธรรมนูญแห่งราชอาณาจกัรไทย พทุธศกัราช ๒๕๖๐ และไม่อาจคาดหมายระยะเวลาแล้วเสร็จของกระบวนการทางนิติบัญญัติได้ คณะผู้จัดท�าจึงมิได้รอ น�ามารวมเล่ม โดยยังคงกฎหมายฉบบัเดมิไว้ ส่วนกฎหมายเกี่ยวข้องบางฉบับท่ีเคยรวมไว้เดิมแต่มกีารใช้อ้างอิงน้อยกไ็ด้ตดัออกไป แล้วเพิม่เตมิกฎหมายเกี่ยวข้องฉบับอ่ืนท่ีมีการใช้อ้างอิงบ่อยคร้ังเข้ามาแทน ความส�าเร็จในการจัดพิมพ์หนังสือรวมกฎหมายเกษตรครั้งนี ้ ได้รับการอนุเคราะห์ไฟล์ข้อมูลกฎหมายโดยส่วนใหญ่จากส�านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะผู้จัดท�าในนามส�านักงาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงขอขอบคุณในความอนุเคราะห์ของส�านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไว้ ณ ทีน่ี ้ และหวังเป็นอย่างยิง่ว่าหนังสือรวมกฎหมายเกษตรเล่มนีจ้ะเป็นประโยชน ์ต่อเจ้าหน้าทีผู่้ปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชา หน่วยงานในสังกัด และบุคคลภายนอกผู้สนใจศึกษา สมดังความมุ่งหมายของคณะผู้จัดท�าต่อไป

    สำ�นักกฎหม�ย สำ�นักง�นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กันย�ยน ๒๕๖๐

  • ส�รบัญ

    หน้�ส่วนที่ ๑ กฎหม�ยเกี่ยวกับพืช ๑. พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ๑ ๒. พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๑๘ ๑๗ ๓. พระราชบัญญัติอ้อยและน�้าตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ ๓๕ ๔. พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. ๒๕๔๒ ๕๗ ๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ ๗๑

    ส่วนที่ ๒ กฎหม�ยเกี่ยวกับสัตว์ ๖. พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. ๒๕๓๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๙๑ ๗. พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑๐๕ ๘. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ๑๑๓ ๙. พระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. ๒๕๕๑ ๑๓๑ ๑๐. พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ๑๓๗ ๑๑. พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ๑๔๗ ๑๒. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ๑๖๙ ๑๓. พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจ�าหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๑๙๑

    ส่วนที่ ๓ กฎหม�ยเกี่ยวกับก�รชลประท�น ๑๔. พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ๒๐๙ ๑๕. พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ ๒๑๑

    ส่วนที่ ๔ กฎหม�ยเกี่ยวกับก�รประมง ๑๖. พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตต์การประมงไทย พ.ศ. ๒๔๘๒ ๒๒๗ ๑๗. พระราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๒๓๓

    ส่วนที่ ๕ กฎหม�ยเกี่ยวกับที่ดิน ๑๘. พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ ๒๘๗ ๑๙. พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๒๙๗ ๒๐. พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๒๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๓๑๕ ๒๑. พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ๓๓๙ ๒๒. พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ ๓๔๗

    ส่วนที่ ๖ กฎหม�ยเกี่ยวกับปัจจัยก�รผลิต ๒๓. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๓๖๙ ๒๔. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๓๙๙

  • หน้�

    ส่วนที่ ๗ กฎหม�ยเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ก�รเงิน และสถ�บันเกษตรกร ๒๕. พระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. ๒๕๒๒ ๔๒๓ ๒๖. พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๔๒๙ ๒๗. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๔๖๓ ๒๘. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๔๗๓ ๒๙. พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ ๔๙๕ ๓๐. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. ๒๕๖๐ ๕๐๓

    ส่วนที่ ๘ กฎหม�ยเกี่ยวกับก�รจัดตั้งองค์ก�รของรัฐ ๓๑. พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ. ๒๔๙๖ ๕๑๗ ๓๒. พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๕๒๕ ๓๓. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๕๔๓ ๓๔. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ ๕๕๓ ๓๕. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส�านักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ ๕๖๓ ๓๖. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๘ ๕๗๕ ๓๗. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส�านักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๒ ๕๙๓

    ส่วนที่ ๙ กฎหม�ยเกี่ยวกับก�รบริห�รร�ชก�รแผ่นดิน ๓๘. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๖๐๗ ๓๙. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๖๒๑ ๔๐. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ๖๕๙ ๔๑. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๖๖๓ ๔๒. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ๖๘๕ ๔๓. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๖๙๙ ๔๔. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๗๔๑ ๔๕. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๗๘๑

  • 1พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    พระราชบัญญัติกักพืช

    พ.ศ. ๒๕๐๗

    ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗

    เป็นปีที่ ๑๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ

    ให้ประกาศว่า

    โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกักพืช

    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ ้นไว้โดยค�าแนะน�าและยินยอมของ

    สภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภาดังต่อไปนี้

    มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า“พระราชบัญญัติกักพืชพ.ศ.๒๕๐๗”

    มาตรา ๒๑ พระราชบัญญัตินีใ้ห้ใช้บังคับเมือ่พ้นก�าหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ

    ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

    มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันโรคและศัตรูพืชพ.ศ.๒๔๙๕

    มาตรา ๔๒ ในพระราชบัญญัตินี้

    “พืช” หมายความว่า พันธุ์พืชทุกชนิดทัง้พืชบก พืชน�้า และพืชประเภทอืน่ รวมทัง้ส่วนหนึ่ง

    ส่วนใดของพืช เช่น ต้น ตา ตอ แขนง หน่อ กิ่ง ใบ ราก เหง้า หัว ดอก ผล เมล็ด เชื้อ และสปอร์

    ของเห็ดไม่ว่าที่ยังท�าพันธุ์ได้หรือตายแล้วและให้หมายความรวมถึงตัวห�้าตัวเบียนตัวไหมไข่ไหมรังไหม

    ผึ้งรังผึ้งและจุลินทรีย์ด้วย

    “พชืควบคุม”หมายความว่าพชืทีร่ฐัมนตรปีระกาศก�าหนดในราชกจิจานเุบกษาให้เป็นพชืควบคมุ

    “พืชควบคุมเฉพาะ”๓

    หมายความว่า พืชทีร่ัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นพืช

    ท่ีต้องมกีารก�าหนดมาตรการในการควบคมุและตรวจสอบเชื้อจลุนิทรย์ีหรอืสิ่งอื่นใดท่ีเป็นอันตรายต่อสขุภาพ

    ของมนุษย์ตามข้อก�าหนดของประเทศผู้น�าเข้าก่อนส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

    ๑ ราชกิจจานุเบกษาเล่ม๘๑/ตอนที่๒๗/ฉบับพิเศษหน้า๑/๒๑มีนาคม๒๕๐๗

    ๒ มาตรา๔แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๓ มาตรา๔นิยามค�าว่า“พืชควบคุมเฉพาะ”เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

  • 2 พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    “เชือ้พันธุ ์พืช” หมายความว่า กลุ่มเซลล์ทีม่ีหน่วยพันธุกรรมหลากหลาย ซึง่ถ่ายทอดได้

    ทีร่วมตัวกันเป็นชิ ้นส่วนของพืชทีย่ังมีชีวิตและขยายพันธุ ์ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเมล็ด เนื ้อเยือ่หรือ

    ส่วนหน่ึงส่วนใดของพชืและให้หมายความรวมถงึสารพนัธกุรรมซึ่งสามารถถ่ายทอดลกัษณะท่ีสารพนัธกุรรม

    นั้นควบคุมอยู่ได้ทั้งนี้เฉพาะที่ใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์

    “ดิน”หมายความว่าดินชนิดที่มีอินทรีย์วัตถุหรือเป็นที่อาศัยของศัตรูพืชได้

    “ศัตรูพืช”หมายความว่าสิ่งซึ่งเป็นอันตรายแก่พืชเช่นเชื้อโรคพืชแมลงสัตว์หรือพืชที่อาจก่อ

    ให้เกิดความเสียหายแก่พืช

    “พาหนะ”หมายความว่า เครื่องปลูกดินทรายภาชนะหรือสิ่งอื่นที่ใช้ห่อหุ้มมาพร้อมกับพืช

    ปุ๋ยอินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นสื่อน�าศัตรูพืช

    “สิง่ต้องห้าม” หมายความว่า พืช ศัตรูพืชและพาหะทีร่ัฐมนตรีประกาศก�าหนดในราชกิจจา

    นุเบกษาให้เป็นสิ่งต้องห้าม

    “ส่ิงก�ากดั”หมายความว่าพชืศตัรพูชืและพาหะที่รฐัมนตรปีระกาศก�าหนดในราชกจิจานเุบกษา

    ให้เป็นสิ่งก�ากัด

    “สิ่งไม่ต้องห้าม”หมายความว่าพืชอย่างอื่นที่ไม่เป็นสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งก�ากัด

    “เจ้าของ”หมายความรวมถงึตัวแทนเจ้าของผูค้รอบครองสิ่งของและผูค้วบคมุยานพาหนะขนส่ง

    สิ่งของนั้นด้วย

    “การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช”๔ หมายความว่า กระบวนการประเมินหลักฐานด้านชีววิทยา

    หรือด้านวิทยาศาสตร์อืน่ และด้านเศรษฐกิจเพื่อบ่งชี้ว่าศัตรูพืชชนิดใดควรจะต้องมีการควบคุม และระดับ

    ความเข้มงวดของมาตรการสุขอนามัยพืชที่จะน�ามาใช้ในการควบคุมศัตรูพืชชนิดนั้น

    “น�าเข้า”หมายความว่าน�าหรือสั่งให้ส่งเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ

    “น�าผ่าน”๕ หมายความว่า น�าหรือส่งผ่านราชอาณาจักรไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะ

    หรือไม่ก็ตาม

    “ส่งออก”หมายความว่าน�าหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ

    “ด่านตรวจพืช” หมายความว่า ด่านตามทีร่ัฐมนตรีประกาศก�าหนดในราชกิจจานุเบกษา

    เพื่อตรวจพืชสิ่งต้องห้ามสิ่งก�ากัดและเชื้อพันธุ์พืชที่น�าเข้าหรือน�าผ่าน

    “สถานกักพืช” หมายความว่า สถานที่ทีร่ัฐมนตรีประกาศก�าหนดในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นที่

    ส�าหรับกักพืชสิ่งต้องห้ามสิ่งก�ากัดและเชื้อพันธุ์พืชเพื่อสังเกตตรวจสอบและวิจัย

    “เขตควบคุมศัตรูพืช”หมายความว่าท้องที่ที่อธิบดีประกาศก�าหนดในราชกิจจานุเบกษาให้เป็น

    เขตป้องกันหรือก�าจัดศัตรูพืช

    ๔ มาตรา๔นิยามค�าว่า“การวเิคราะห์ความเส่ียงศตัรพูชื”เพิ่มโดยพระราชบญัญตักิกัพชื(ฉบบัท่ี๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๕มาตรา๔นิยามค�าว่า“น�าผ่าน”แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

  • 3พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    “ใบรับรองสุขอนามัยพืช”๖ หมายความว่า หนังสือส�าคัญทีอ่อกโดยหน่วยงานผู้มีอ�านาจของ

    ประเทศที่ส่งออกซึ่งพืชเชื้อพันธุ์พืชหรือพาหะเพื่อรับรองว่าพืชเชื้อพันธุ์พืชหรือพาหะที่ส่งออกปลอดจาก

    ศัตรูพืชตามข้อก�าหนดของประเทศผู้น�าเข้า

    “ใบรับรองสุขอนามัยพืชส�าหรับการส่งต่อ”๗ หมายความว่า หนังสือส�าคัญที่ออกโดยหน่วยงาน

    ผู้มีอ�านาจของประเทศทีส่่งออกซึ่งพืช เชื้อพันธุ์พืช หรือพาหะเพื่อรับรองว่าพืช เชื้อพันธุ์พืช หรือพาหะ

    ทีไ่ด้น�าหรือส่งเข้ามาในราชอาณาจักร และถูกส่งต่อไปประเทศอื่นปลอดจากศัตรูพืชของประเทศไทย

    ตามข้อก�าหนดของประเทศผู้น�าเข้า

    “ใบรบัรองสขุอนามัย”๘หมายความว่าหนงัสอืส�าคญัท่ีออกโดยหน่วยงานผูม้อี�านาจของประเทศ

    ท่ีส่งออกพืชควบคมุเฉพาะเพื่อรบัรองว่าพชืควบคมุเฉพาะท่ีส่งออกปลอดจากเชื้อจลุนิทรย์ีหรอืสิ่งอ่ืนใดท่ีเป็น

    อันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ตามข้อก�าหนดของประเทศผู้น�าเข้า

    “คณะกรรมการ”หมายความว่าคณะกรรมการกักพืช

    “อธิบดี”หมายความว่าอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

    “พนักงานเจ้าหน้าที”่ หมายความว่า อธิบดีและผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราช

    บัญญัตินี้

    “รัฐมนตรี”หมายความว่ารัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

    มาตรา ๕ พนักงานเจ้าหน้าทีต่้องมีบัตรประจ�าตัวตามแบบทีก่�าหนดในกฎกระทรวง และ

    ในการปฏิบัติตามความในพระราชบัญญัตินี้ต้องแสดงบัตรประจ�าตัวเมื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องร้องขอ

    มาตรา ๕ ทวิ๙ มาตรา ๔ นิยามค�าว่า “ใบรับรองสุขอนามัยพืช” เพิ่มโดยพระราชบัญญัต ิ

    กักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า“คณะกรรมการกักพืช”ประกอบด้วย

    ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมประมงหรือผู้แทน อธิบดีกรมปศุสัตว์

    หรือผู้แทนอธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้แทนอธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้แทนอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้แทน

    อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือ

    ผู้แทนผู้อ�านวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยหรือผู้แทนผู้ว่าการการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยหรือ

    ผู้แทน ผู้ว่าการการสือ่สารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ผู้อ�านวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี

    ชีวภาพแห่งชาติหรือผู้แทน ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์และผู้แทนกระทรวงมหาดไทยแห่งละหนึ่งคน และ

    ผู้ทรงคุณวุฒซิึง่รัฐมนตรีแต่งตั ้งอกีไม่เกินสีค่น เป็นกรรมการและให้ผู ้อ�านวยการกองควบคุมพืชและ

    วัสดุการเกษตรกรมวิชาการเกษตรเป็นกรรมการและเลขานุการ

    ๖ มาตรา๔นิยามค�าว่า“ใบรับรองสุขอนามัยพืช”เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    มาตรา๔นิยามค�าว่า “ใบรับรองสุขอนามัยพืชส�าหรับการส่งต่อ” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓)

    พ.ศ.๒๕๕๑

    ๘ มาตรา๔นิยามค�าว่า“ใบรับรองสุขอนามัย”เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๙ มาตรา๕ทวิเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๕๒

  • 4 พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    ให้กรมวิชาการเกษตรท�าหน้าทีป่ฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการ งานธุรการ และด�าเนินงาน

    ตามมติของคณะกรรมการให้แก่คณะกรรมการ

    มาตรา ๕ ตรี๑๐

    มาตรา ๔ นิยามค�าว่า “ใบรับรองสุขอนามัยพืช” เพิ่มโดยพระราชบัญญัต ิ

    กักพืช(ฉบับท่ี๓)พ.ศ.๒๕๕๑กรรมการผู้ทรงคุณวฒุมิวีาระอยู่ในต�าแหน่งคราวละสองปีแต่อาจได้รบัแต่งตั้ง

    อีกได้

    ในกรณีท่ีกรรมการผูท้รงคณุวฒุพ้ินจากต�าแหน่งก่อนวาระหรอืในกรณีท่ีรฐัมนตรแีต่งตั้งกรรมการ

    ผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในต�าแหน่งให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ด�ารง

    ต�าแหน่งแทนหรือให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่ในต�าแหน่งเท่ากับวาระทีเ่หลืออยู่ของกรรมการ

    ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

    มาตรา ๕ จัตวา๑๑

    นอกจากการพ้นจากต�าแหน่งตามวาระตามมาตรา๕ตรีกรรมการผู้ทรง

    คุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากต�าแหน่งเมื่อ

    (๑)ตาย

    (๒)ลาออก

    (๓)รัฐมนตรีให้ออก

    (๔)เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

    (๕)ได้รับโทษจ�าคุกโดยค�าพิพากษาถึงที่สุดให้จ�าคุกเว้นแต่เป็นโทษส�าหรับความผิดที่ได้กระท�า

    โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

    มาตรา ๕ เบญจ๑๒

    ในการประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า

    กึ่งหน่ึงของกรรมการทั้งหมดจงึจะเป็นองค์ประชมุถ้าประธานกรรมการไม่มาประชมุหรอืไม่อาจปฏบิตัหิน้าท่ี

    ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

    การวนิิจฉยัชี้ขาดของท่ีประชมุให้ถอืเสยีงข้างมากกรรมการคนหนึ่งให้มเีสยีงหนึง่ในการลงคะแนน

    ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

    ๑๐

    มาตรา๕ตรีเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๑๑

    มาตรา๕จัตวาเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๑๒

    มาตรา๕เบญจเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

  • 5พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    ๑๓

    มาตรา๕ฉเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๑๔

    มาตรา๕สัตตเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    มาตรา ๕ ฉ๑๓

    ให้คณะกรรมการมีอ�านาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

    (๑)ให้ค�าแนะน�าแก่รฐัมนตรใีนการก�าหนดช่ือพชืศตัรพูชืหรอืพาหะเป็นสิ่งต้องห้ามหรอืสิ่งก�ากดั

    และการก�าหนดชื่อเชื้อพันธุ์พืชที่จะควบคุมการก�าหนดพืชควบคุมและพืชควบคุมเฉพาะ

    (๒)ให้ค�าแนะน�าแก่รัฐมนตรีในการก�าหนดด่านตรวจพืชและสถานกักพืช

    (๓)ให้ค�าแนะน�าแก่อธิบดีในการก�าหนดกิจการทีส่ามารถน�าเข้าหรือน�าผ่านซึ่งสิ่งต้องห้ามได ้

    ตามมาตรา๘ (๒) และการก�าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการน�าเข้าหรือน�าผ่านซึ่งสิ่งต้องห้าม

    เพื่อการค้าหรือเพื่อกิจการอื่นตามมาตรา๘(๒)

    (๔)ให้ค�าแนะน�าแก่อธบิดใีนการก�าหนดหลกัเกณฑ์วธิกีารและเงื่อนไขในการน�าเข้าหรอืน�าผ่าน

    ซึ่งสิง่ต้องห้าม หรือสิ่งก�ากัดตามมาตรา ๑๐ และการก�าหนดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบศัตรูพืชและก�าจัด

    ศัตรูพืชการขอใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือใบรับรองสุขอนามัยพืชส�าหรับการส่งต่อและการออกใบรับรอง

    ตามมาตรา๑๕

    (๕)ให้ค�าแนะน�าแก่อธบิดีในการก�าหนดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบพชืควบคมุเฉพาะที่จะส่งออก

    ไปนอกราชอาณาจักรและหลักเกณฑ์วธิกีารและเงื่อนไขการขอและการออกใบรบัรองสขุอนามยัตามมาตรา

    ๑๕ฉ

    (๖)ให้ค�าแนะน�าแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้

    (๗)เสนอแนะต่อรัฐมนตรีหรืออธิบดีให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ

    ประกาศ หรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกักพืชตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอืน่ทีม่ีผลกระทบต่อการ

    ด�าเนินการเพื่อการกักพืช

    (๘)ปฏิบัติการอืน่ใดตามทีพ่ระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอืน่ก�าหนดให้เป็นอ�านาจหน้าทีข่อง

    คณะกรรมการ

    มาตรา ๕ สตัต๑๔

    คณะกรรมการมีอ�านาจแต่งตั้งอนกุรรมการคณะหนึ่งหรอืหลายคณะเพื่อปฏบิตัิ

    การอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

    ให้น�ามาตรา๕เบญจมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

  • 6 พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    มาตรา ๖๑๕

    เม่ือมีกรณีจ�าเป็นจะต้องป้องกนัศตัรพูชืชนดิใดมิให้ระบาดเข้ามาในราชอาณาจกัร

    หรือเพื่อประโยชน์ในการป้องกันอันตรายทีอ่าจเกิดต่อสิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพของมนุษย์ ให้รัฐมนตรี

    โดยค�าแนะน�าของคณะกรรมการมีอ�านาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก�าหนดชื่อพืช ศัตรูพืช หรือพาหะ

    เป็นสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งก�ากัดตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี โดยประกาศนั้นจะระบุชื่อพืช ศัตรูพืช

    หรือพาหะชนดิใดหรือแหล่งก�าเนิดของพืช ศัตรูพืช หรือพาหะดังกล่าว หรือจะก�าหนดข้อยกเว้นหรือ

    เงื่อนไขใดๆไว้ด้วยก็ได้๑๖

    ในการก�าหนดเงื่อนไขเพื่อป้องกันศัตรูพืชชนิดใดโดยเฉพาะมิให้ระบาดเข้ามาในราชอาณาจักร

    นัน้รฐัมนตรีจะก�าหนดให้ผู้เดนิทางมาจากแหล่งท่ีมศีตัรพูชืชนดินั้นก�าลงัระบาดอยู่แจ้งต่อพนกังานเจ้าหน้าท่ี

    ตามแบบที่อธิบดีก�าหนดไว้อีกด้วยก็ได้

    สิง่ต้องห้ามหรือสิ่งก�ากัดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง เมือ่หมดความจ�าเป็นแล้วให้ประกาศในราชกิจจา

    นุเบกษาเพิกถอนเสีย

    มาตรา ๖ ทวิ๑๗

    เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชให้รัฐมนตรีโดยค�าแนะน�าของ

    คณะกรรมการมีอ�านาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาก�าหนดชื่อเชื้อพันธุ์พืชที่จะควบคุม

    ห้ามมิให้ผู้ใดน�าเข้าหรือส่งออกซึ่งเชื้อพันธุ์พืชทีร่ัฐมนตรีประกาศตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่จะได้รับ

    อนุญาตจากอธิบดีและในการน�าเข้าจะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชก�ากับมาด้วย๑๘

    การขออนุญาตและการอนญุาตตามวรรคสองให้เป็นไปตามหลกัเกณฑ์วธิกีารและเงื่อนไขท่ีอธบิดี

    ก�าหนด

    มาตรา ๖ ตรี๑๙

    ให้พนักงานเจ้าหน้าทีม่ีอ�านาจเข้าไปในแหล่งปลูกพืช สถานทีร่วบรวมหรือ

    เก็บรักษาเชื้อพันธุ์พืชทีร่ัฐมนตรีประกาศก�าหนดตามมาตรา ๖ ทวิ วรรคหนึ่ง ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น

    และพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาท�าการ เพื่อตรวจสอบและศึกษาการใช้ประโยชน์ของเชื้อพันธุ์พืช ในการนี้

    ให้มีอ�านาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกใบอนุญาตหรือหลักฐานทีเ่กี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง

    แหล่งปลูกพืชหรือสถานที่นั้นได้

    มาตรา ๗๒๐

    ให้รฐัมนตรโีดยค�าแนะน�าของคณะกรรมการมอี�านาจประกาศในราชกิจจานเุบกษา

    ก�าหนดท่าเรือท่าอากาศยานหรือสถานที่แห่งใดอันมีเขตก�าหนดเป็นด่านตรวจพืชหรือเป็นสถานกักพืชได้

    ๑๕

    มาตรา๖แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๑๖

    มาตรา๖วรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๑๗

    มาตรา๖ทวิเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๑๘

    มาตรา๖ทวิวรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๑๙

    มาตรา๖ตรีเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๒๐

    มาตรา๗แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

  • 7พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    มาตรา ๘๒๑

    บุคคลใดน�าเข้าหรือน�าผ่านซึ่งสิ ่งต้องห้ามต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และ

    ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

    (๑)การน�าเข้าหรือน�าผ่านเพือ่การทดลองหรือวิจัย ต้องมใีบรับรองสุขอนามัยพืชก�ากับมาด้วย

    หรือในกรณีการน�าเข้าหรือน�าผ่านสิ่งต้องห้ามซึ่งเป็นศัตรูพืชหรือพาหะที่ไม่ใช่พืชต้องมีหนังสือรับรองสิ่งต้อง

    ห้ามของหน่วยงานผู้มีอ�านาจของประเทศที่ส่งออกซึ่งสิ่งต้องห้ามนั้นก�ากับมาด้วย

    (๒)การน�าเข้าหรือน�าผ่านเพื่อการค้า หรือเพื่อกิจการอืน่ตามทีอ่ธิบดีประกาศก�าหนดโดย

    ค�าแนะน�าของคณะกรรมการ จะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชก�ากับมาด้วย และต้องผ่านการวิเคราะห์

    ความเสีย่งศัตรูพืช และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขทีอ่ธิบดีก�าหนดโดยค�าแนะน�าของ

    คณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา ๙๒๒

    ห้ามมิให้บุคคลใดน�าเข้าหรือน�าผ่านซึ่งสิ่งก�ากัด เว้นแต่จะมีใบรับรองสุขอนามัย

    พืชก�ากับมาด้วย

    มาตรา ๑๐๒๓

    การน�าเข้าหรือน�าผ่านซึ่งสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งก�ากัดนั้น จะต้องน�าเข้าหรือน�าผ่าน

    ทางด่านตรวจพืชเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดี

    ก�าหนดโดยค�าแนะน�าของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา ๑๑๒๔

    ผู้ใดน�าเข้า หรือน�าผ่านซึ่งสิ่งไม่ต้องห้ามต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชก�ากับ

    มาด้วยและต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่อธิบดีก�าหนด

    มาตรา ๑๒๒๕

    ในการปฏบัิตกิารตามพระราชบญัญตันิี้ให้พนกังานเจ้าหน้าท่ีมีอ�านาจดงัต่อไปนี้

    (๑)ตรวจค้นคลังสินค้า ยานพาหนะ หีบห่อ ตลอดจนตัวบุคคลภายในเขตด่านตรวจพืชหรือ

    เขตควบคุมศัตรูพืช เมือ่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการน�าเข้าหรือน�าผ่านซึ่งพืช สิ่งต้องห้าม สิ่งก�ากัด หรือ

    สิ่งไม่ต้องห้ามอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

    (๒)ตรวจค้นสถานที่ บุคคล หรือยานพาหนะใด ๆ นอกเขตด่านตรวจพืชหรือนอกเขตควบคุม

    ศตัรูพืชในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถงึพระอาทิตย์ตกหรอืในเวลาท�าการของสถานท่ีนั้นในกรณท่ีีมเีหตุ

    อันควรสงสัยตามสมควรว่า พืช สิง่ต้องห้าม สิ่งก�ากัด หรือสิ่งไม่ต้องห้ามทีอ่ยู่ในความครอบครองเป็นหรือ

    มีศัตรูพืชทีอ่าจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงมาก และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอา

    หมายค้นมาได้สิ่งดังกล่าวหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการกระท�าความผิดจะถูกยักย้ายซุกซ่อนท�าลายหรือท�าให้

    เปลี่ยนสภาพไปจากเดิมและถ้าการค้นในเวลาดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จจะกระท�าต่อไปก็ได้

    ๒๑

    มาตรา๘แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๒๒

    มาตรา๙แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑ ๒๓

    มาตรา๑๐แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

  • 8 พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    (๓)เก็บหรือน�าพืชสิ่งต้องห้ามสิ่งก�ากัดสิ่งไม่ต้องห้ามหรือสิ่งใดๆที่เกี่ยวข้องในปริมาณพอ

    สมควรไปเป็นตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นหรือมีศัตรูพืชที่อาจก่อให้

    เกิดความเสียหายร้ายแรงมาก

    (๔)ยึดหรือกักไว้ซึ่งพืชสิ่งต้องห้ามสิ่งก�ากัดสิ่งไม่ต้องห้ามหรือสิ่งใดๆ ที่เกี่ยวข้องตามก�าหนด

    เวลาที่เห็นจ�าเป็นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นหรือมีศัตรูพืชที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงมาก

    มาตรา ๑๓๒๖

    เพื่อป้องกันศัตรูพืชมิให้ระบาดเข้ามาในราชอาณาจักร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่

    มีอ�านาจปฏิบัติการเกี่ยวกับพืช สิง่ต้องห้าม สิ่งก�ากัด สิ่งไม่ต้องห้าม หรือเชื้อพันธุ์พืชที่น�าเข้าหรือน�าผ่าน

    ดังต่อไปนี้

    (๑)ตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช รมยาพ่นยาหรือใช้วิธีการอื่นใดตามที่เห็นว่าจ�าเป็นโดยเจ้าของหรือ

    ผู้ครอบครองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

    (๒)ยึดหรือกักไว้ณสถานกักพืชหรือณที่ใดๆตามก�าหนดเวลาที่เห็นว่าจ�าเป็น

    (๓)สั่งให้ผู้น�าเข้าซึ่งพืช สิง่ต้องห้าม สิ่งก�ากัด สิ่งไม่ต้องห้าม หรือเชือ้พันธุ์พืช ที่มีศัตรูพืช

    ติดเข้ามาด้วยส่งสิ่งนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร

    (๔)ท�าลายเท่าที่เห็นว่าจ�าเป็น ในกรณีทีม่ีเหตุอันควรเชื่อว่ามีศัตรูพืชทีอ่าจก่อให้เกิดความ

    เสียหายร้ายแรงมากและไม่อาจด�าเนินการแก้ไขโดยวิธีตาม(๑)ได้

    มาตรา ๑๓/๑๒๗

    บรรดาสิ่งที่เก็บยึดหรือกักไว้ตามมาตรา๑๒(๓)และ(๔)และมาตรา๑๓

    (๒) ถ้าไม่ปรากฏเจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือศาลมีค�าพิพากษา

    ถึงที่สุดไม่ให้ริบและผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอรับคืนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ยึดหรือกัก

    หรือวันทีท่ราบค�าสัง่เด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือวันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดไม่ให้ริบ แล้วแต่กรณี ให้ตกเป็นของ

    กรมวิชาการเกษตร

    ถ้าสิง่ทีเ่ก็บ ยึดหรือกักไว้ตามวรรคหนึง่เป็นของเสียหายง่าย หรือถ้าเก็บไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อ

    ความเสยีหายหรอืจะเสยีค่าใช้จ่ายในการเกบ็รกัษาเกนิค่าของสิง่นัน้ให้อธบิดมีอี�านาจสัง่ท�าลายหรอืจดัการ

    อย่างอื่นตามที่เห็นสมควร

    มาตรา ๑๔๒๘

    ห้ามมิให้บุคคลใดน�าพืช สิ่งต้องห้าม สิ่งก�ากัด หรือเชื้อพันธุ์พืชออกไปจากด่าน

    ตรวจพืชสถานกักพืชหรือยานพาหนะในกรณีน�าผ่านราชอาณาจักรหรือจากที่ใดๆซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่

    ได้สั่งยึดหรือกักไว้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่

    ๒๖มาตรา๑๓แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๒๗มาตรา๑๓/๑เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๒๘มาตรา๑๔แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

  • 9พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    มาตรา ๑๕๒๙

    บุคคลใดประสงค์จะขอใบรบัรองสขุอนามยัพชืหรอืใบรบัรองสขุอนามยัพชืส�าหรบั

    การส่งต่อต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบศัตรพูชืและก�าจดัศตัรพูชืตามอตัราท่ีอธบิดกี�าหนดโดยค�าแนะน�า

    ของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    ให้พนกังานเจ้าหน้าท่ีมีอ�านาจออกใบรบัรองสขุอนามัยพชืและใบรบัรองสขุอนามยัพชืส�าหรบัการ

    ส่งต่อให้แก่ผู้ย่ืนค�าขอตามวรรคหน่ึงและให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีเรยีกเกบ็ค่าธรรมเนยีมใบรบัรองสขุอนามัยพชื

    หรือใบรับรองสุขอนามัยพืชส�าหรับการส่งต่อแล้วแต่กรณีตามอัตราที่ก�าหนดในกฎกระทรวง

    การขอใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือใบรับรองสุขอนามัยพืชส�าหรับการส่งต่อ และการออก

    ใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือใบรับรองสุขอนามัยพืชส�าหรับการส่งต่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและ

    เงื่อนไขที่อธิบดีก�าหนดโดยค�าแนะน�าของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา ๑๕ ทวิ๓๐

    เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้ศัตรูพืชระบาดออกไปนอกราชอาณาจักร

    ให้รัฐมนตรีโดยค�าแนะน�าของคณะกรรมการมีอ�านาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาก�าหนดชื่อพืชชนิดใด

    เป็นพืชควบคุมได้

    บุคคลใดประสงค์จะส่งออกพชืควบคมุตามวรรคหนึ่งต้องมใีบรบัรองสขุอนามัยพชืก�ากบัไปด้วย๓๑

    มาตรา ๑๕ ตรี๓๒

    ในกรณีท่ีใบรบัรองสขุอนามยัพชืใบรบัรองสขุอนามัยพชืส�าหรบัการส่งต่อหรอื

    ใบรับรองสุขอนามัยสูญหายหรือถูกท�าลายในสาระส�าคัญและผู้รับใบรับรองดังกล่าวต้องการใบแทนให้ยื่น

    ค�าขอรับใบแทนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

    การขอรบัใบแทนและการออกใบแทนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลกัเกณฑ์วธิกีารและเงื่อนไข

    ที่อธิบดีก�าหนด

    มาตรา ๑๕ จัตวา๓๓

    เพื่อประโยชน์ในการอ�านวยความสะดวกแก่ผู้ปลูกพืช เพื่อการส่งออก

    บุคคลใดประสงค์จะขอให้พนักงานเจ้าหน้าทีอ่อกไปตรวจหรือให้ค�าแนะน�าเกี ่ยวกับการก�าจัดศัตรูพืช

    ในโรงเรือนปลูกพืชหรือแปลงปลูกพืชเพื่อการส่งออก ให้ยืน่ค�าขอเพื่อขึ้นทะเบียนสถานทีเ่พาะปลูกพืช

    เพื่อการส่งออกต่อกรมวิชาการเกษตร

    การขอขึ้นทะเบียนและการขึ้นทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขทีอ่ธิบดี

    ก�าหนด

    ๒๙มาตรา๑๕แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๓๐มาตรา๑๕ทวิเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๓๑มาตรา๑๕ทวิวรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๓๒มาตรา๑๕ตรีแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๓๓มาตรา๑๕จัตวาเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

  • 10 พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    มาตรา ๑๕ เบญจ๓๔

    เพื่อประโยชน์ในการควบคุมพืชทีจ่ะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

    ให้รัฐมนตรีโดยค�าแนะน�าของคณะกรรมการมีอ�านาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาก�าหนดให้พืชใดเป็นพืช

    ควบคุมเฉพาะ โดยจะก�าหนดชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะของพืช เชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใด ซึง่เป็น

    อันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ตามข้อก�าหนดของประเทศผู้น�าเข้าไว้ด้วยก็ได้

    มาตรา ๑๕ ฉ๓๕

    บุคคลใดประสงค์จะส่งออกพืชควบคุมเฉพาะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยก�ากับ

    ไปด้วย และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบตามอัตราทีอ่ธิบดีก�าหนดโดยค�าแนะน�าของคณะกรรมการ

    โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    ให้พนักงานเจ้าหน้าทีม่ีอ�านาจออกใบรับรองสุขอนามัยให้แก่ผู้ยืน่ค�าขอตามวรรคหนึ่ง และให้

    พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบรับรองสุขอนามัยตามอัตราที่ก�าหนดในกฎกระทรวง

    การขอใบรับรองสุขอนามยั และการออกใบรับรองสุขอนามัย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ

    และเงื่อนไขที่อธิบดีก�าหนดโดยค�าแนะน�าของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา ๑๖๓๖

    บุคคลใดประสงค์จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี ้

    ในวันหยุดราชการหรือนอกเวลาราชการหรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการจะต้องเสีย

    ค่าป่วยการส�าหรบัการท่ีพนกังานเจ้าหน้าท่ีได้ปฏบิตังิานดงักล่าวตามอัตราท่ีก�าหนดในกฎกระทรวงและต้อง

    จ่ายค่าพาหนะเดินทางให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เท่าที่จ�าเป็นและใช้จ่ายไปจริง

    หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทางตามวรรคหนึ่ง

    ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีก�าหนด

    มาตรา ๑๗ เม่ือมีศัตรพูชืชนิดท่ีอาจก่อความเสยีหายร้ายแรงปรากฏข้ึนในท้องท่ีใดหรอืมีเหตุ

    อันสมควรควบคมุศตัรพูชืในท้องทีใ่ดให้อธบิดมีีอ�านาจประกาศก�าหนดท้องท่ีนัน้เป็นเขตควบคมุศตัรพูชืและ

    ประกาศระบุชื่อ ชนิดของพืช ศัตรูพืชและพาหะที่ควบคุม และให้ก�าหนดสถานตรวจพืชเฉพาะถิ่นขึ้นเท่าที่

    จ�าเป็นประกาศดังกล่าวให้ปิดไว้ณศาลากลางจังหวัดที่ว่าการอ�าเภอที่ท�าการของก�านันและที่ท�าการของ

    ผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้น

    มาตรา ๑๘ เม่ือได้ประกาศก�าหนดเขตควบคมุศตัรพูชืตามมาตรา๑๗แล้วห้ามมใิห้บคุคลใด

    น�าพืชศัตรูพืชหรือพาหะออกไปนอกหรือน�าเข้ามาในเขตควบคุมศัตรูพืชตามที่ประกาศระบุไว้เว้นแต่จะได้

    ผ่านการตรวจและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่

    ๓๔มาตรา๑๕เบญจเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๓๕มาตรา๑๕ฉเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

    ๓๖มาตรา๑๖แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

  • 11พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    มาตรา ๑๙ บทบัญญัติในมาตรา๑๒และมาตรา๑๓ให้ใช้บงัคบัในกรณพีชืศตัรพูชืและพาหะ

    ตามทีร่ะบุไว้ในมาตรา ๑๗ภายในเขตควบคุมศัตรูพืช หรือทีจ่ะน�าออกไปนอกหรือน�าเข้ามาในเขตควบคุม

    ศัตรูพืชโดยอนุโลม

    ในกรณีท่ีมีศตัรพูชืชนิดท่ีอาจก่อความเสยีหายร้ายแรงมากซึง่หากไม่รบีท�าลายเสยีอาจจะระบาด

    ลุกลามท�าความเสียหายได้มากพนักงานเจ้าหน้าท่ีมอี�านาจสั่งให้เจ้าของจดัการท�าลายพชืศตัรพูชืและพาหะ

    นัน้เสีย หรือในกรณีจ�าเป็นพนักงานเจ้าหน้าทีจ่ะจัดการท�าลายเสียเอง โดยอธิบดีจะสั่งให้เจ้าของเป็นผู้เสีย

    ค่าใช้จ่ายในการท�าลายเท่าที่จ�าเป็นและใช้จ่ายไปจริงก็ได้๓๗

    มาตรา ๒๐ เมือ่อธิบดีเห็นว่าศัตรูพืชทีไ่ด้ประกาศตามมาตรา ๑๗ ถูกท�าลายหมดสิ้นแล้ว

    หรือเห็นว่าหมดความจ�าเป็นแล้วให้อธิบดีประกาศเพิกถอนประกาศตามมาตรา๑๗นั้นเสีย

    มาตรา ๒๐ ทวิ๓๘

    เงินที่ได้จากค่าตรวจสอบศัตรูพืชตามมาตรา๑๕และค่าป่วยการตามมาตรา

    ๑๖มิให้ถือว่าเป็นรายรับตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและให้น�าไปใช้จ่ายในกิจการที่บัญญัติไว้ใน

    พระราชบัญญัตินี้โดยเฉพาะจะจ่ายเพื่อการอื่นมิได้

    มาตรา ๒๐ ตรี๓๙

    ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๖วรรคสองหรือฝ่าฝืนมาตรา๖ทวิ วรรคสอง

    มาตรา๙หรือมาตรา๑๘ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

    มาตรา ๒๐ จัตวา๔๐

    ผู้ใดขัดขืนหรือขัดขวางมิให้พนักงานเจ้าหน้าทีป่ฏิบัติตามมาตรา๖ ตร ี

    ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

    มาตรา ๒๑๔๑

    ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๘มาตรา๑๐มาตรา๑๕ทวิวรรคสองหรือมาตรา

    ๑๕ ฉ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษจ�าคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทัง้จ�า

    ทั้งปรับ

    มาตรา ๒๒๔๒

    ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๑๑ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่พันบาท

    มาตรา ๒๓๔๓

    ผู้ใดขดัขนืหรอืขดัขวางมใิห้พนกังานเจ้าหน้าท่ีปฏบิตัติามมาตรา๑๒หรอืมาตรา

    ๑๓(๑)(๒)หรือ(๔)หรือไม่ปฏิบัติตามค�าสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา๑๓(๓)ต้องระวางโทษ

    จ�าคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจ�าทั้งปรับ

    ๓๗

    มาตรา๑๙วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒ ๓๘

    มาตรา๒๐ทวิเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒ ๓๙

    มาตรา๒๐ตรีเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒ ๔๐

    มาตรา๒๐จัตวาเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒ ๔๑

    มาตรา๒๑แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑ ๔๒

    มาตรา๒๒แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑ ๔๓

    มาตรา๒๓แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

  • 12 พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    มาตรา ๒๔๔๔

    ผู้ใดขัดค�าสัง่หรือขัดขวางการกระท�าของพนักงานเจ้าหน้าทีท่ีป่ฏิบัติตามมาตรา

    ๑๙วรรคสองต้องระวางโทษจ�าคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจ�าทั้งปรับ

    มาตรา ๒๕๔๕

    บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่ง

    อธิบดีมอบหมายมีอ�านาจเปรียบเทียบปรับได้

    มาตรา ๒๖๔๖

    บรรดาพืช ศัตรูพืช หรือพาหะภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทีม่ิได้น�า

    เข้ามาทางด่านตรวจพืชกดี็หรือน�าเข้าหรือน�าผ่านราชอาณาจกัรโดยไม่ชอบด้วยพระราชบญัญตันิี้ด้วยประการ

    ใดๆ ก็ดี หรือพืช ศัตรูพืชหรือพาหะ ซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท�าผิดเกี่ยวกับเขตควบคุมพืชตามทีร่ะบุไว้ใน

    มาตรา๘มาตรา๙มาตรา๑๔หรือมาตรา๑๘ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามค�าพิพากษาหรือ

    ไม่บรรดาสิ่งที่ศาลสั่งริบให้ตกเป็นของกรมวิชาการเกษตรเพื่อจัดการตามที่เห็นสมควร

    มาตรา ๒๗๔๗

    ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

    และให้มีอ�านาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงก�าหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราช

    บญัญตันิี้ก�าหนดค่าตรวจสอบศตัรพูชืและค่าป่วยการยกเว้นค่าธรรมเนยีมและก�าหนดกจิการอ่ืนเพื่อปฏบิตัิ

    ตามพระราชบัญญัตินี้

    กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

    ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    จอมพลถนอมกิตติขจร

    นายกรัฐมนตรี

    ๔๔มาตรา๒๔แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๔๕มาตรา๒๕แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๔๖มาตรา๒๖แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

    ๔๗มาตรา๒๗แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๒

  • 13พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    อัตราค่าธรรมเนียม๔๘

    (๑)ใบอนุญาตน�าเข้าหรือน�าผ่านสิ่งต้องห้าม ฉบับละ ๒๐๐ บาท

    (๒)ใบอนุญาตน�าเข้าหรือส่งออกเชื้อพันธุ์พืช ฉบับละ ๒๐๐ บาท

    (๓)ใบรับรองสุขอนามัยพืช ฉบับละ ๒๐๐ บาท

    (๔)ใบรับรองสุขอนามัยพืชส�าหรับการส่งต่อ ฉบับละ ๒๐๐ บาท

    (๕)ใบรับรองสุขอนามัย ฉบับละ ๒๐๐ บาท

    (๖)ใบแทนใบรับรองสุขอนามัยพืช ฉบับละ ๑๐๐ บาท

    (๗)ใบแทนใบรับรองสุขอนามัยพืชส�าหรับการส่งต่อ ฉบับละ ๑๐๐ บาท

    (๘)ใบแทนใบรับรองสุขอนามัย ฉบับละ ๑๐๐ บาท

    ๔๘อัตราค่าธรรมเนียมแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช(ฉบับที่๓)พ.ศ.๒๕๕๑

  • 14 พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗

    หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยทีพ่ระราชบัญญัติป้องกันโรคและ

    ศัตรูพืช พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้บัญญัติให้อ�านาจพนักงานเจ้าหน้าทีท่�าการควบคุมและกักพืชได้ต่อเมื่อพืชทีไ่ด้

    น�าเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นศัตรูพืชตามทีก่�าหนดในกฎกระทรวง ซึ่งอาจจะท�าให้โรคพืชต่าง ๆ ระบาด