Author
others
View
3
Download
0
Embed Size (px)
จัดการเรียนรู้ที่�
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๖
รายวิชา ภาษากับการคิด ท๓๐๒๑๙
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ เรื่อง การคิดสร้างสรรค์ เวลา ๗ ชั่วโมง
๑. สาระสำคัญ
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) สามารถสรุปได้ว่า เป็นความสามารถในการคิดของบุคคลในการประยุกต์ใช้ความรู้ ความคิด และจินตนาการ ในการสร้างความรู้ หรือการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ หรือ การปรับประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่ ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นความสามารถของสมองในการคิดหลายทิศทางโดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับความคิดเดิม และจัดระเบียบขั้นตอนความคิดออกเป็นรูปแบบใหม่ก่อให้เกิดผลผลิตหรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่ต่างไปจากเดิมเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป
๒. ผลการเรียนรู้
มีความรู้ ความสามารถและทักษะการคิดสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
๒.๑ อธิบายความหมายของความคิดสร้างสรรค์
๒.๒ อธิบายทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิดสร้างสรรค์
๒.๓ อธิบายกระบวนการคิดสร้างสรรค์
๒.๔ อธิบายวิธีและเทคนิคการสอนเพื่อพัฒนาการคิด
๒.๕ อธิบายลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
๒.๖ อธิบายลักษณะต่าง ๆ ของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๒.๗ อธิบายองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๒.๘ มีสมรรถนะในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๓. สาระการเรียนรู้
ความรู้
๓.๑ ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
๓.๒ ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิดสร้างสรรค์
๓.๓ กระบวนการคิดสร้างสรรค์
๓.๔ วิธีและเทคนิคการสอนเพื่อพัฒนาการคิด
๓.๕ ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
๓.๖ ลักษณะต่าง ๆ ของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๓.๗ องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๓.๒ ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
๑) ทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์
๒) มีสมรรถนะในด้านการคิดสร้างสรรค์
๓.๓ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑) ความรับผิดชอบต่องานที่ทำ
๒) ความสนใจกระตือรือร้นในการทำงาน
๓) การให้ความร่วมมือในการทำงาน
๔) การเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
๓.๔ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๑) ความสามารถในการสื่อสาร
๒) ความสามารถในการคิด
๓) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์
๔) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
๕) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
๔. ความเข้าใจคงทน (Enduing Understanding)
๔.๑ การทำบันทึกการเรียนรู้
๔.๒ การรายงานหน้าชั้น
๕. ชิ้นงานหรือภาระงาน
๕.๑ บันทึกการเรียนรู้
๕.๒ แบบฝึกทักษะ
๖. การวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักความพอประมาณ
( เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
( เป็นผู้นำหรือผู้ตามที่ดี
หลักความมีเหตุผล
( สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล
( เห็นคุณค่าของการคิดสร้างสรรค์
หลักภูมิคุ้มกัน
( กล้าซักถาม และแสดงความคิดเห็นอย่างถูกกาลเทศะ
( สามารถใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้อง
เงื่อนไขคุณธรรม
( มีความซื่อสัตย์
( มีความรับผิดชอบ
เงื่อนไขความรู้
( มีสมรรถนะในด้านการคิดสร้างสรรค์มีประสิทธิภาพ
๗. กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑
ขั้นเตรียม (preparation)
๗.๑ นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการ ให้นักเรียนศึกษา Power Point เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์
๗.๒ ให้นักเรียนทำแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์
๗.๓ ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ในประเด็นต่อไปนี้
( ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
( ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิดสร้างสรรค์
( กระบวนการคิดสร้างสรรค์
๗.๔ ให้นักเรียนทุกคนทำแบบบันทึกการเรียนรู้ส่งครู
๗.๕ นักเรียนช่วยกันสรุปความหมายของความคิดสร้างสรรค์ ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิดสร้างสรรค์ และ กระบวนการคิดสร้างสรรค์
๗.๖ ครูสรุป ให้คำแนะนำและอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนไม่ได้กล่าวถึงและแก้ไขในจุดที่บกพร่อง คลาดเลื่อน
ชั่วโมงที่ ๒ - ชั่วโมงที่ ๓
ขั้นฟักตัว (Incubation)
๗.๗ ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับวิธีและเทคนิคการสอนเพื่อพัฒนาการคิด
๗.๘ ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 6-7 คน แล้วแต่ละกลุ่มเลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม
๑) ให้เลขานุการกลุ่มมารับใบความรู้ เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์
๒) แต่ละกลุ่มประชุมวางแผนงานและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อศึกษาใบความรู้ เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ ในประเด็นต่อไปนี้
( วิธีและเทคนิคการสอนเพื่อพัฒนาการคิด
( ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
( ลักษณะต่าง ๆ ของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
( องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๗.๙ ให้ทุกกลุ่มดำเนินการศึกษาค้นคว้า ปรึกษา และอภิปรายภายในกลุ่มของตน
๗.๑๐ แต่ละกลุ่มเก็บรวบรวมข้อมูลประเด็นสำคัญ ๆ และเขียนรายงานกลุ่ม
๗.๑๑ ตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่มรายงานหน้าชั้น
๗.๑๒ เปิดโอกาสให้กลุ่มอื่นซักถาม และเสนอความคิดเห็น
๗.๑๓ ครูสรุป ให้คำแนะนำและอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนไม่ได้กล่าวถึงและแก้ไขในจุดที่บกพร่อง
๗.๑๔ ให้นักเรียนทุกคนทำบันทึกการเรียนรู้ส่งครู
ชั่วโมงที่ ๔
ขั้นคิดออก (Illumination หรือ Insight)
๗.๑๕ ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับคุณค่าของการคิดสร้างสรรค์
๗.๑๖ ให้นักเรียนพัฒนาสมรรถนะในด้านการคิดคล่อง โดยให้นักเรียน ทำกิจกรรมดังนี้
( แบบฝึกการคิดคล่อง เรื่อง การเขียนคำที่ขึ้นต้นด้วย “ไม้”
( แบบฝึกการคิดคล่อง เรื่อง การบอกชื่อพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่
( แบบฝึกการคิดคล่อง เรื่อง การบอกประโยชน์ของ “กล้วยน้ำว้า”
( แบบฝึกการคิดคล่อง เรื่อง การบอกคุณสมบัติ Computer
( แบบฝึกการคิดคล่อง เรื่อง คิดชื่อบุคคล ตามพยัญชนะที่กำหนดให้
๗.๑๗ ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันตรวจผลงาน
๗.๑๘ ครูเสริมความรู้ความเข้าในประเด็นที่นักเรียนมีปัญหาไม่เข้าใจ
ชั่วโมงที่ ๕
(ชั่วโมงที่ ๕)
ขั้นพิสูจน์ 9Verification)
๗.๑๙ ให้นักเรียนศึกษา Power Point เรื่อง การคิดสร้างสรรค์
๗.๒๐ ให้นักเรียนพัฒนาสมรรถนะในด้านการคิดสร้างสรรค์ โดยให้นักเรียน ทำกิจกรรมดังนี้
( แบบฝึกการคิดคล่อง เรื่อง อาชีพที่มีความสุจริตในสังคมไทยปัจจุบัน
( แบบฝึกการคิดคล่อง เรื่อง บอกโทษของพลาสติก
( แบบฝึกการคิดคล่อง เรื่อง คิดชื่อบุคคลตามพยัญชนะ
( แบบฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง “เดินตามผู้ใหญ่ หมาไม่กัด”
๗.๒๑ ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันตรวจผลงาน
(ชั่วโมงที่ ๖ - ๗)
๗.๒๒ ให้นักเรียนศึกษา Power Point เรื่อง ตัวอย่างการคิดสร้างสรรค์
ขั้นพิสูจน์ 9Verification)
๗.๒๓ ให้นักเรียนพัฒนาสมรรถนะในด้านการสร้างสรรค์ โดยให้นักเรียน ทำกิจกรรมดังนี้
( แบบฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ต้นไม้วิเศษ
( แบบฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การนับรูปสี่เหลี่ยม
( แบบฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง “ลากเส้นต่อจุด”
( แบบฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง “ต่อเติมภาพสุนัข”
( แบบฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง “สร้างสรรค์ชื่อเรื่อง”
( แบบฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง “สร้างสรรค์รูปทรงเลขาคณิต”
๗.๒๔ ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันตรวจผลงาน
๗.๒๕ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดการคิดสร้างสรรค์ (หลังเรียน)
๘. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
๘.๑ ใบความรู้
๘.๒ แบบฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์
๘.๓ แบบทดสอบวัดการคิดสร้างสรรค์
๙. การวัดผล/ประเมินผล
๑) วิธีวัดและประเมินผล
๑. สังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนจากความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต และความสนใจใฝ่รู้
๒. ประเมินการตอบ คำถาม
๓. ประเมินผลการทำกิจกรรม การทำแบบฝึกทักษะ
๔. ประเมินการนำเสนอผลงาน
๕. ประเมินการทำแบบทดสอบ
๒) เครื่องมือวัดวิธีวัดและประเมินผล
๑. แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงาน
๒. ประเมินการทำแบบทดสอบ
๓. แบบฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์
๓) เกณฑ์การวัดและประเมินผล ผ่านเกณฑ์การสังเกตพฤติกรรม การทำงาน ๘๐%
1. ผ่านเกณฑ์ทำแบบทดสอบ ๘๐ %
2. ผ่านเกณฑ์การทำกิจกรรม ๘๐
๑๐. กิจกรรมเสนอแนะ-
แบบสังเกตการทำงาน
กลุ่มที่……………………………………………...... ห้อง………………….
คำชี้แจง๑. สังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนแล้วให้คะแนนลงในช่องคะแนน
๒. ระดับคะแนน มี ๔ ระดับ คือ
๔ หมายถึง มีความสามารถในการปฏิบัติงานในระดับมากที่สุด
๓ หมายถึง มีความสามารถในการปฏิบัติงานในระดับมาก
๒ หมายถึง มีความสามารถในการปฏิบัติงานในระดับปานกลาง
๑ หมายถึง มีความสามารถในการปฏิบัติงานในระดับน้อย
ลำดับ
ที่
พฤติกรรม
สมาชิกในกลุ่ม
ความ
รับผิดชอบต่องาน
ที่ทำ
การเป็น
ผู้นำ
ผู้ตาม
ที่ดี
ความ
สนใจ
กระตือรือร้น
ในการทำงาน
การให้ความร่วมมือ
ในการ
ทำงาน
รวม
๑
๒
๓
๔
๑
๒
๓
๔
๑
๒
๓
๔
๑
๒
๓
๔
๑๖
รวมคะแนน
เกณฑ์การตัดสินระดับคุณภาพ
๑๓ – ๑๖ คะแนน ดีมาก
๙ – ๑๒
คะแนน ดี
๕ - ๘
คะแนน พอใช้
๑ – ๔
คะแนน
ควรปรับปรุง
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
กลุ่มที่……………………………………………...... ห้อง………………….
พฤติกรรม
สมาชิกในกลุ่ม
เนื้อหา
ชัดเจน
ถูกต้อง
วิธีการนำ
เสนอข้อมูล
น่าสนใจ
การใช้
ภาษา
เหมาะสม
ความสมบูรณ์
ถูกต้อง
รวม
๑
๒
๓
๔
๑
๒
๓
๔
๑
๒
๓
๔
๑
๒
๓
๔
๑๖
ลงชื่อ…..…..…..…..…..…..…..…..…..…..…..…..….ผู้ประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
เกณฑ์การตัดสินระดับคุณภาพ
๔ หมายถึง ดีมาก
๑๓ – ๑๖ คะแนน ดีมาก
๓ หมายถึง ดี
๙ – ๑๒ คะแนนดี
๒ หมายถึง ปานกลาง
๕ - ๘ คะแนน
พอใช้
๑ หมายถึง ปรับปรุง
๑ – ๔ คะแนนควรปรับปรุง
๑๑. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
๑๑.๑ ผลการสอน/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๑) แผนการจัดการเรียนรู้
๑.๑) เวลาสอนที่กำหนดไว้
( มาก ( น้อย ( เหมาะสม
๑.๒) เนื้อหาสาระ
( มาก ( น้อย ( เหมาะสม
๑.๓) ผลที่ได้หลังจากการสอนตามแผน
( มาก ( น้อย ( เหมาะสม
ความคิดเห็นเพิ่มเติม ........................................................................................................................... ……………………………………………..………………………………………..……………………………………………………
๒) ผู้เรียน พฤติกรรมความสนใจในการเรียน
( มากขึ้น ( เท่าเดิม
( น้อยลง
ความคิดเห็นเพิ่มเติม .......................................................................................................................... ……………………………………………..………………………………………..……………………………………………………
๓) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
( เปลี่ยนแปลงมากขึ้น ( เปลี่ยนแปลงน้อยลง ( ไม่เปลี่ยนแปลง
ข้อเสนอแนะ/แนวทางในการแก้ปัญหา
…………………………………………………………………….…………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………..……………………
ลงชื่อ…………………………………..…………………ผู้สอน
(นางสาวพัทธนันท์ ศิริรักษ์โสภณ)
………………/…………………/…………..……
๑๒. ความเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
…………………………………………………………………….…………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………..……………………………………
ลงชื่อ……………………………………………..…
(นายนันธชัย แย้มโสพิศ)
๑๓. ความเห็นของผู้อำนวยการ
…………………………………………………………………….…………………..…………………………………………………………………………………………………………………………………………….………………………...……………
ลงชื่อ…………………………………………………..…
(นายวินัย กรานมูล)
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ
ความคิดสร้างสรรค์เป็นผลของความคิดที่เกิดจากพลังสติปัญญาของมนุษย์ที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้น
ในตัวเด็ก มีนักการศึกษาและนักวิชาการได้ให้ความหมายของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์ (Creative
Thinking)” ในหลายทัศนะดังนี้
Wallach and Kogan (1965 : 34) เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถ
ของบุคคลที่จะโยงความสัมพันธ์ (Association) กล่าวคือ เมื่อระลึกสิ่งใดก็จะเป็นสะพานให้ระลึกถึง
สิ่งอื่นได้ต่อไปโดยสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่ เช่น เมื่อเห็นกระดาษ ก็นึกถึง ปากกา สี พู่กัน สมุด จดหมาย
เป็นต้น โดยยิ่งคิดได้มากเท่าไรก็ยิ่งแสดงถึงศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์มากเท่านั้น ซึ่งสิ่งที่ระลึก
ออกมาต่างก็เป็นสิ่งที่สะสมไว้ในสมองของตน เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นก็มีการตอบสนองออกมา ซึ่งบุคคลก็จะมีความคิดสร้างสรรค์มากหรือน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เขาได้รับ
กิลฟอร์ด (Guilford , 1967) นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่า การคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถในการทำงานของสมอง ในการคิดได้หลายทาง หรือที่เรียกว่า อเนกนัย (Divergent thinking)
ทอร์แรนซ์ (Torrance , 1962) นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกที่ไวต่อปัญหา สิ่งที่ขาดหายไป สิ่งที่ไม่ประสานกัน แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด ตั้งสมมติฐาน ทดสอบสมมติฐาน และเผยแพร่ผลให้ผู้อื่นได้รับรู้ และเข้าใจอันเป็นแนวทางค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ต่อไป ซึ่งเขาได้ศึกษาแนวคิดแบบอเนกนัยของกิลฟอร์ด มาเสนอเป็นองค์ประกอบของการคิดสร้างสรรค์
เดอโบโน (De Bono , 1986) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถในการที่จะคิดนอกกรอบ (Lateral thinking) ความคิดเดิมที่ปิดกั้นอยู่ทำให้เกิดแนวคิดอย่างอื่นและนำมาพัฒนาเพื่อใช้แก้ปัญหาที่เผชิญอยู่
วอลลาซและโคแกน (Wallach and Kogan , 1965) ได้นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์สิ่งหนึ่งไปยังสิ่งอื่นได้
บริษัท อินฟินิท อินโนเวชัน จำกัด (Infinite Innovations Ltd. นิยามเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ไว้ ดังนี้ (http://www.brainstorming.co.uk/contents.html)
1. ความสามารถในการสร้างสรรค์ (Creative) คือ จินตนาการ สร้างใหม่ มีศิลปะ มีลักษณะริเริ่มหรือใหม่ การออกแบบเพื่อกระตุ้นจินตนาการ
2. กระบวนการของความสามารถในการสร้างสรรค์ (Creativity) เป็นชุดของ
การกระทำ ซึ่งสร้างแนวคิด ความคิด และเป้าหมายทางกายภาพใหม่
3. กระบวนการคิด (Thinking) เกี่ยวกับการพิจารณาตัดสินใจ หรือ ความเชื่อ
กระบวนการฝึกความคิดเพื่อการตัดสินใจ จดจำ หรือเก็บสะสม ทำการเลือกระหว่างสิ่งที่จะเลือกด้วยปัญญา
4. จินตนาการเกี่ยวกับวัตถุภายนอก (Idea) หรือ ความคิดสร้างกระบวนการ
เป็นผลผลิตของกิจกรรมความฉลาด ผลผลิตของกิจกรรมทางปัญญาซึ่งปัญญานี้เข้าใจถึงคิดอย่างมีสติ
5. การคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็นกระบวนการคิดที่เจาะจง ซึ่ง
พัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ที่อยู่ในขั้นของปัญญาเพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ ความสามารถของสมองที่จะคิดเกี่ยวกับแนวคิดใหม่ ๆ มากที่สุด ความสามารถของความคิดริเริ่ม หลากหลาย และละเอียดลออ เป็นด้านหนึ่งของปฏิกิริยาทางปัญญาซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาความคิด กระบวนการของการคันพบหรือความคิดที่มากมาย บางครั้งเรียกว่า การคิดหลากหลาย (Divergent thinking)
ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากความคิดใหม่ ๆ ที่เกิดจากการผสมผสานแนวคิดตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป การผสมผสานแนวคิดจะทำให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมา เทคนิคที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่มีการนำเสนอขึ้นมา เป็นต้นว่า Random Word , Random Picture , False Rules , Random Website , SCAMPER , Search & Reapply , Challenge Facts , Escape , Analogies , Wishful Thinking , Thesaurus
ดิลก ดิลกานนท์ (2534 : 40) ได้กล่าวถึงแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ TCT – DP
(The Test for Creative Drawing Production) ของเจลเลนและเออร์บาน (Jellen and Urban :
1984) ซึ่งสร้างตามคำนิยามว่า “การคิดสร้างสรรค์ หมายถึง การคิดอย่างมีสาระ (Productive
Thinking) ในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ และความคิดอเนกนัย ซึ่งรวมถึงความคิดริเริ่ม
(Originality) ความคิดคล่อง (Fluency) ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) และความคิดละเอียดลออ(Elaboration) ความกล้าเสี่ยง (Risk – taking) และอารมณ์ขัน (Humor)”
พรรณี เกษกมล (2534 : 75 – 78) ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้หลายทิศทาง หลายแง่มุม และเน้นความคิดแปลกใหม่ของบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้าเน้นความคิดแบบอเนกนัย ปรุงแต่งความคิดเดิมผสมผสานจนเกิดเป็นความคิดใหม่ รวมทั้งการประดิษฐ์ค้นพบสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการคิด ทฤษฏีที่มีหลักการได้สำเร็จ
วุฒิ วัฒนสิน (2539 : 59 – 66) ให้ความหมายว่า ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดแบบโยงความสัมพันธ์ของความคิดแปลก ๆ ใหม่ ๆ โดยมีสิ่งเร้าภายนอกเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความคิดใหม่ที่ต่อเนื่องกันเป็นความคิดอเนกนัย ประกอบด้วย ความคล่องตัวในการคิด ความยืดหยุ่น และต้องเป็นความคิดริเริ่มของตนเองที่จะนำไปสู่กระบวนการคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่
อารี พันธ์มณี (2546 : 5 – 6) สรุปความหมายของความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่า เป็นกระบวนการ
ที่สมองคิดในลักษณะอเนกนัย อันนำไปสู่การคิดค้นพบสิ่งแปลกใหม่ด้วยการคิดดัดแปลงปรุงแต่ง
จากความคิดเดิมผสมผสานกันให้เกิดสิ่งใหม่ รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นพบสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการ
คิดทฤษฎีหลักการได้สำเร็จ
ทองเพียร บุญเกษ (2547 : 17) สรุปความหมายว่าความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายทิศทาง หลายแง่มุม นำไปสู่สิ่งใหม่ รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นพบสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการ ทฤษฏี หลักการได้สำเร็จ
จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถ
ของสมองในการคิดหลายทิศทางโดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับความคิดเดิม และจัดระเบียบขั้นตอน
ความคิดออกเป็นรูปแบบใหม่ ก่อให้เกิดผลผลิตหรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่ต่างไปจากเดิม
เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ได้กำหนดให้มีการประเมินมาตรฐานด้านผู้เรียน สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเอกสาร มาตรฐานตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณา เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2 (พ.ศ.2549 – 2553) ไว้ในมาตรฐานที่ 4 ดังนี้
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ โดยมีเกณฑ์พิจารณ์ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ ดังนี้
1. ผู้เรียนสามารถรวบรวมความรู้ความคิดเดิมแล้วสร้างเป็นความรู้ใหม่ตามความคิดของตนเองได้อย่างมีหลักเกณฑ์
2. ความสามารถคิดนอกกรอบ
3. มีผลงานเขียน / งานศิลปะ / งานสร้างสรรค์
4. การพัฒนาและริเริ่มสิ่งใหม่
5. ความสามารถคาดการณ์และกำหนดเป้าหมายในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2549) นิยามความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่าเกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องคือ เป็นความคิดแง่บวก (Positive thinking) เป็นการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร (Constructive thinking) และ เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ (Creative thinking) ที่ขาดหายไปจากเดิม
จากการศึกษาเอกสาร นิยามของความคิดสร้างสรรค์ สามารถสรุปได้ว่า เป็นความสามารถในการคิดของบุคคลในการประยุกต์ใช้ความรู้ ความคิด และจินตนาการ ในการสร้างความรู้ หรือ
การประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ หรือ การปรับประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่ ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม
ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิดสร้างสรรค์
รูปแบบโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford’s dimensional model)
เจ พี กิลฟอร์ด (J.P Guilford , 1954) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกากลุ่มจิตมิติ (Psychologist) ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีเกี่ยวกับงานการศึกษาของเขาด้านสติปัญญาของมนุษย์ เขาได้คัดค้านความคิดเห็นของ ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) ที่เห็นว่าทฤษฎีองค์ประกอบเดี่ยวองค์ประกอบสองตัว และองค์ประกอบหลายชนิดไม่สามารถที่จะอธิบายความสามารถเฉพาะ (Specific Abilities) และได้เสนอมิติของโครงสร้างทางสติปัญญาของมนุษย์ ที่เรียกว่า Structure of intellect หรือเรียกย่อว่า SI ประกอบด้วยสามมิติ (Three Dimensional Model) ได้แก่
มิติที่ 1 ด้านเนื้อหา (Contents) หมายถึง วัตถุ หรือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รับรู้ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดความคิด เนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1.1. เนื้อหาที่เป็นรูปภาพ (Figural Content) ได้แก่ วัตถุที่เป็นรูปธรรมต่าง ๆ ซึ่งสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1.1.1 การเห็น (Visual)
1.1.2 การได้ยิน (Audiotory)
1.1.3 สัญลักษณ์ (Symbolic)
1.2 เนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์ (Symbolic content) ได้แก่ ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้น เช่น พยัญชนะ ระบบจำนวน ซึ่งตามปกติเมื่ออยู่ตามลำพังจะปราศจากความหมาย แต่เนื่องจากเราตั้งความหมายขึ้นจึงใช้สื่อความหมายได้
1.3 เนื้อหาที่เป็นภาษา (Semantic Content) ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร ที่มักจะอยู่ในรูปความหมายซึ่งแทนด้วยถ้อยคำหรือรูปภาพที่มีความหมาย
1.4 เนื้อหาที่เป็นพฤติกรรม (Behavior content) ได้แก่ สิ่งที่ไม่ใช่ถ้อยคำเป็นการแสดงออกของมนุษย์ เจตคติ ความต้องการ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บางครั้งเรียกว่า สติปัญญาทางสังคม (Social intelligence)
มิติที่ 2 ด้านปฏิบัติการ (operations) หมายถึง กระบวนการคิดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยความสามารถ 5 ชนิด ดังนี้
2.1 การรับรู้และการเข้าใจ (cognition) เป็นความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ในการรับรู้และทำความเข้าใจ กับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัว
2.2 การจำ (Memory) เป็นความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ในการสะสมเรื่องราว หรือข่าวสาร และสามารถระลึกได้เมื่อเวลาผ่านไปในปี ค.ศ.1988 กิลฟอร์ดได้แบ่งความจำเป็นเป็น 2 ชนิด คือ ความจำที่บันทึกไว้ (Recording) และ ความจำเป็นที่เก็บไว้ในความจำระยะยาว (Retention)
2.3 การคิดอเนกนัย (Divergent thinking) เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และแสดงออกมาได้หลาย ๆ แบบ หลายวิธี ความคิดประเภทนี้มีความสำคัญต่อความคิดสร้างสรรค์
2.4 การคิดเอกนัย (Convergent thinking) เป็นความสามารถที่เน้นเรื่องความถูกต้องของคำตอบที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
2.5 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการตัดสินสิ่งที่รับรู้ จำได้ หรือ กระบวนการคิดนั้นมีคุณค่า ความถูกต้อง ความเหมาะสม หรือมีความเพียงพอหรือไม่อย่างไร
มิติที่ 3 ด้านผลผลิต หมายถึง ความสามารถที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานมิติด้านเนื้อหา และด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกันเป็นผลผลิต เมื่อสมองรับรู้วัตถุ/ข้อมูล ทำให้เกิดการคิดในรูปแบบต่างๆ กัน ซึ่งสามารถให้ผลออกต่าง ๆ กัน 6 ชนิด ดังนี้
3.1 แบบหน่วย (Units) เป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว และมีความแตกต่างจากสิ่งอื่น ที่เป็นลักษณะเฉพาะ
3.2 แบบกลุ่ม (Classes) เป็นกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติบางประการร่วมกัน
3.3 แบบความสัมพันธ์ (Relations) เป็นการเชื่อมโยง 2 สิ่งเข้าด้วยกัน เช่น เชื่อมโยงลูกโซ่ เชื่อมโยงคำ เชื่อมโยงความหมาย
3.4 ระบบ (System) เป็นแบบแผน หรือการรวมหน่วยจำพวกของข้อมูลข่าวสาร หรือการแสดงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของส่วนปรกอบ ซึ่งอาจเป็นทฤษฎี หลักการ
3.5 การแปลงรูป (Transformation) เป็นการเปลี่ยนแปลงการหมุนกลับ การขยายความข้อมูลจากสภาพหนึ่งไปยังอีกสภาพหนึ่ง เป็นต้นว่าการให้คำจำกัดความใหม่หรือการคิดแปลงข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วเสียใหม่
3.6 การประยุกต์ (Implication)เป็นผลการคิดที่คาดหวัง หรือการทำนายจากข้อมูลที่กำหนดให้
ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาของกิลฟอร์ด จึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ 3 มิติ กิลฟอร์ดได้สร้างค่าการวัดความสามารถต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น คำถามเพื่อใช้วัดความสามารถเกี่ยวกับความคล่องในการใช้คำ (Word fluency) ของกิลฟอร์ด ซึ่งประกอบด้วยวิธีการคิดอเนกนัย (Divergent thinking) เนื้อหาสัญลักษณ์ (Symbolic) และผลผลิตหน่วย (Units) กิลฟอร์ด จะให้เขียนคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว r และลงท้ายด้วย m ให้มากที่สุด โดยสรุปแล้วโครงสร้างเชาวน์ปัญญาของกิลฟอร์ดประกอบด้วยความสามารถที่แตกต่างกัน 180 ชนิด คือ (5 เนื้อหา x 6 วิธีการคิด x 6 ผลการคิด = 180 ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลไม่ควรวัดโดยใช้คะแนนรวมเพียงอย่างเดียว แต่จะเปลี่ยนแปรได้ด้วยการฝึกหัดละการเรียนรู้
ในเรื่องสติปัญญากิลฟอรด์เชื่อว่าสติปัญญาเป็นผลรวมของความสามารถหลายด้านเข้าด้วยกันซึ่งความสมารถบางด้านอาจวัดได้ด้วยแบบทดสอบไอคิว(IQ)หรือแบบทดสอบความถนัดทางการเรียนทั่วไป แต่ก็มีความสามารถอีกหลายด้านที่ไม่สามารถวัดได้ด้วยแบบทดสอบดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ทำให้กิลฟอร์ดทำการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ ความคิดมีเหตุผล และการคิดแก้ปัญหาโดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการศึกษาพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยลักษณะของการคิดอเนกนัย (Divergent thinking) คือ ความสามารถในการคิดได้หลายทาง มีความยืดหยุ่นในการคิด ในส่วนของการวัดความคิดสร้างสรรค์ กิลฟอร์ดจะใช้แบบวัดวัดความสามารถทางการคิดในด้านการคิดอเนกนัย โดยวิธีวัดตัวประกอบในแต่ละหน่วยลูกบาศก์ตามโครงสร้างสามมิติ นอกจากนี้ กิลฟอร์ด ยังได้อธิบายรูปแบบการคิดแก้ปัญหาโดยทั่วไปว่า เป็นกระบวนการของความสามารถทางสมองด้านการจำ (Memory) การรับรู้และความเข้าใจ (Cognition) การคิดแบบอเนกนัย (Divergent thinking) การคิดแบบเอกนัย (convergent thinking) และการประเมินค่า (Evaluation) ความสามารถทั้ง 5 ด้านนี้ จะผสมผสานกันเมื่อบุคคลได้รับและสภาพที่ก่อให้เกิดปัญหา โดยการแปลงรูปให้เข้ากับความรู้ที่มีอยู่ในส่วนประกอบของความจำ ซึ่งบางครั้งอาจมีการแก้ไขข้อมูลก่อน จากนั้นจะประเมินกลั่นกรองเพื่อแยกแยะประเภทของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และไม่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น อาจจะใช้การคิดทั้งแบบเอกนัยและอเนกนัยสลับกันตามลักษณะของปัญหาว่าต้องการคำตอบแบบใด (Guilford, 1967 : อ้างในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , 2540 , สุรางค์ โคว้ตระกูล : 2545)
ทฤษฎีของอี พอล ทอร์แรนซ์ (E.Paul Torrance)
ทอร์แรนซ์ (Torrance, 1962 : 3) มีความเชื่อว่าการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น กล้าคิด กล้าแสดงออก จะช่วยให้ผู้เรียนแต่ละได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนเองอย่างเต็มที่ ทอร์แรนซ์ได้นิยามคิดสร้างสรรค์ที่ปฺนกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา สิ่งที่ขาดหายไป สิ่งที่ไม่ประสานกัน แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด ตั้งสมมติฐาน ทดสอบสมมุติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจอันเป็นแนวทางค้นพบสิ่งใหม่ต่อไป เขาได้ใช้แนวคิดแบบอเนกนัย (Divergent Thinking) มาเสนอเป็นองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 3 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ความคล่องแคล่วในการคิด (Fluency) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และสามารถสร้างคำตอบได้ในปริมาณมากในเวลาจำกัด
2. ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภท หลายทิศทาง หลายรูปแบบ
3. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ลักษณะของความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดธรรมดาและไม่ซ้ำกับความคิดที่มีอยู่ทั่วไป
ทอร์แรนซ์ ได้เสนอกระบวนการคิดความคิดสร้างสรรค์ โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้
1. การค้นหาข้อเท็จจริง (Fact – Finding) เริ่มจากความรู้สึกกังวล สับสน วุ่นวายขึ้นในใจแต่ยังไม่ทราบสาเหตุ จึงพยายามคิดว่าสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดคืออะไร
2. การค้นพบ (Problem – Finding) พิจารณาด้วยความมีสติจนเข้าใจรู้ถึงความกังวล วุ่นวาย สับสน และพบว่านั่นคือปัญหา
3. การค้นพบแนวคิด (Idea – Finding) คือ การตั้งสมมติฐาน ตลอดจนรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทดสอบความคิด
4. การค้นพบคำตอบ (Solution – Finding) ทำการทดสอบสมมติฐานจนสามารถพบคำตอบ
5. การยอมรับผลที่ได้จากการค้นพบ (Acceptance – Finding) ยอมรับข้อค้นพบที่เป็นคำตอบ และพัฒนาแนวคิดไปว่าสิ่งที่ค้นพบได้จะนำไปสู่การเกิดแนวคิด และการค้นพบใหม่ต่อไป ที่เรียกว่า new challenge (สุรางค์ โค้วตระกูล : 2545)
ทอร์แรนซ์ได้อาศัยแนวคิดของกิลฟอร์ซึ่งอธิบายว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมอที่คิดได้หลายทาง หรือ ที่เรียกว่าการคิดแบบอเนกนัย (Divergent thinking) ซึ่งเขาได้นำมาศึกษาถึงองค์ประกอบ ดังนี้
1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ลักษณะของความคิดแปลกใหม่แตกต่างจากความคิดธรรมดา และไม่ซ้ำกับที่มีอยู่ มีลักษณะความคิดที่ไม่ปกติธรรมดา (Wide idea) เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมความคิดริเริ่มอาจเกิดจากนำความรู้เดิมมาดัดแปลงและประยุกต์ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้น
2. ความคิดคล่อง (Fluency) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีคำตอบในปริมาณมากในเวลาที่จำกับ ความคิดคล่องแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะได้แก่ (Wilson,Guilford, Etal. , 1954 cited in Guilford, 1959, : 145 – 146)
2.1 ความคิดคล่องด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
2.2 ความคิดคล่องด้านการโยงสัมพันธ์(Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด
2.3 ความคิดคล่องด้านการแสดงออก(Expressional Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ ความสามารถที่จะนำคำมาเรียงต่อกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
2.4 ความคิดคล่องในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ให้คิดหาประโยชน์ของก้อนหินมาให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด
ความคิดคล่องในการคิด มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหา เพราะในการแก้ปัญหาจะต้องแสวงหาคำตอบหรือวิธีแก้ไขหลายวิธี และต้องนำวีการเหล่านั้นมาทดลองจนกว่าจะพบวิธีการที่ถูกต้องตามต้องการ
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภท หลายทิศทางไม่ซ้ำแบบ แบ่งออกเป็น
3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะจะพยายามคิดให้หลายหลากรูปแบบอย่างเป็นอิสระ
3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง เป็นความสามารถในการดัดแปลงความรู้หรือประสบการณ์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์หลาย ๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา คนที่มีความคิดยืดหยุ่นจะคิดได้ไม่ซ้ำกัน ซึ่งจะเป็นตัวเสริมให้มีความคิด คล่อง แปลกแตกต่างออกไป หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อน หรือเพิ่มคุณภาพความคิดให้มากขึ้น
นับได้ว่าความคิดคล่องและความยืดหยุ่น เป็นความคิดพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ คือเป็นการคิดหลายแง่มุมได้หลายหมวดหมู่ หลายประเภท ตลอดจนสามารใช้เป็นการสร้างทางเลือกไว้หลายทาง ความยืดหยุ่นจึงเป็นความคิดเสริมคุณภาพให้ได้ดี
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หมายถึง ความสามารถที่จะให้รายละเอียดหรือตกแต่งเพื่อให้มีความสมบูรณ์ หรือปรับปรุง หรือพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทฤษฎีของวอลลาซ และโคแกน (Wallach and Kogan)
วอลลาซ และโคแกนได้ศึกษาค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับเรื่องความคิดสร้างสรรค์และได้นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นความสามารถในการเชื่อมโยสัมพันธ์สิ่งหนึ่งไปยังสิ่งอื่น ๆ ได้ เขาอธิบายกระบวนการเกิดความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่าเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่าเกิดจากความคิดในสิ่งใหม่ ๆ โดยใช้การลองผิดลองถูก วอลเลซ และโคแกน (Wallach and Kogan , 1975) ได้เสนอทฤษฎีว่า ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการอันหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอาการที่สิ่งเร้ากับการตอบสนองแสดงปฏิกิริยาต่อกัน ทำให้เกิดการระลึกได้ ซึ่งถ้าสิ่งเร้าและการตอบสนองแสดงปฏิกิริยาต่อเนื่องกันไปได้มากก็ย่อมระลึกได้มาก ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงจะระลึกได้มากหลายแง่มุม หลายทิศทาง (Divergent thinking) ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำจะระลึกได้น้อยการระลึกได้มากย่อมจะมีโอกาสในสิ่งที่ผู้อื่นระลึกไม่ได้ ความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจเป็นไปโดยความบังเอิญหรือจงใจก็ได้
ตามทฤษฎีของ วอลแลซ และโคเกน ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการโยงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ต่าง ๆ ที่บุคคลสร้างสมมาจากการเรียนรู้นั่นเอง การที่บุคคลจะมีความคิดสร้างสรรค์มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการเชื่อมโยงมโนทัศน์ของตนเข้ากับสิ่งใหม่ให้มากที่สุด แสดงว่าประสบการณ์และการเรียนรู้มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
กระบวนการคิดสร้างสรรค์
กระบวนการคิดสร้างสรรค์ จำแนกออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นเตรียม เป็นการเตรียมข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
2. ขั้นฟักตัว เป็นขั้นที่อยู่ในความสับสน ข้อมูลที่มีอยู่ไม่สามารถจัดเป็นระบบระเบียบได้ เป็นขั้นของการหยุดความคิดไว้ชั่วคราว
3. ขั้นความคิดกระจ่าง เป็นขั้นที่ข้อมูลที่ผ่านการจัดระบบระเบียบ ผ่านการ
จัดระบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์จนขมวดออกมาเป็นความคิดเห็นภาพพจน์ เกิดมโนทัศน์จากข้อมูลนั้น ๆ เช่น อาร์คิเมดิสคิดออกเมื่อลงไปในอ่างน้ำ
4. ขั้นทดสอบความคิดและพิสูจน์ให้เห็นจริง เป็นขั้นสุดท้ายของการใช้ความคิด 3 ขั้นที่ผ่านมาแล้วนำความคิดเหล่านั้นมาพิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่
การศึกษาค้นคว้าและวิจัยของวอลลาซ และโคแกน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแบบวัดและชุดการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ก็มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับแนวคิดและเทคนิคของทอร์แรนซ์ แต่ขาดความชัดเจนในกระบวนการวัดจึงมีผู้นำไปใช้ในการวิจัยค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับทอร์แรนซ์
ทฤษฎีการคิดสร้างสรรค์ของเดอโบโน (Edward De Bono)
เดอโบโน (Edward De Bono) เป็นผู้นำด้านวิธีการสอนคิด เขาได้เสนอเทคนิคในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ว่า เป็นความสามารถที่จะคิดนอกกรอบเดิม ซึ่งปิดกั้นแนวคิดอยู่ ทำให้เกิดแนวคิดอย่างอื่น และนำมาพัฒนาเพื่อใช้แก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ได้ เดอโนโบเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำว่า Lateral Thinking และ พัฒนานุสรณ์ สถาพรวงศ์ (2533) ได้ใช้คำภาษาไทยว่า การคิดนอกกรอบ และในปัจจุบันคำศัพท์นี้มีบัญญัติไว้ในพจนานุกรมของอังกฤษอย่างเป็นทางการ (สุรชัย รัตนกิจตระกูล , 2536 : 3)
การพัฒนากระบวนการคิดของเดอโบโน (Edward De Bono ,1995)
เอ็ดวาร์ด เดอโบโน ได้พัฒนากระบวนการคิดแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน (Five stager of thinking) ดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดเป้าหมาย (TO) เป็นขั้นกำหนดเป้าหมายของการคิดและต้องระบุเป้าหมายที่ต้องการอ่านอย่างชัดเจน เป้าหมายแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. เป้าหมายที่ต้องการไปได้ถึงหรือให้บรรลุ เช่น การแก้ปัญหา
2. เป้าหมายที่ต้องการรู้ให้ชัดเจน ถูกต้องสมเหตุสมผล เป้าหมายดังกล่าวนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหา
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล (LO) เป็นขั้นของการรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้และให้ข้อมูลได้มากเพียงพอ
ขั้นที่ 3 สร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ (PO) เป็นขั้นการทำข้อมูลที่รวบรวมมาสร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย และเป็นทางเลือกที่อาจเป็นไปได้ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญเพราะเป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างขั้นที่ 1 , 2 และ 3, 4
ขั้นที่ 4 เลือกทางเลือกที่เหมาะสม เป็นขั้นของการเลือก หรือประเมินทางเลือกจากขั้นที่ 3 โดยให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๆ ต่อไปนี้
4.1 พิจารณาทางเลือกต่าง ๆ
4.2 ชั่งน้ำหนัก ข้อมูล โดยดูข้อดี ข้อด้อย ผลกระทบและถูกทาง
4.3 ตัดสินเลือกทางเลือกที่เหมาะสม
ขั้นที่ 5 ลงมือปฏิบัติ เป็นขั้นการนำทางเลือกสู่การปฏิบัติ และเป็นการปฏิบัติทางชอบหรือถูกทาง
วิธีและเทคนิคการสอนเพื่อพัฒนาการคิด
วิธีและเทคนิคการสอนเพื่อพัฒนาการคิดจากการรวบรวม (Edward de Bono,1991 : 6) มีหลายวิธี ดังนี้
1. วิธีออสโมซิส (Osmosis) วิธีนี้ใช้กับผู้สอนที่มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด และต้องใช้เวลานานในการสอนผู้เรียนจึงมักไม่นิยมใช้กันแพร่หลาย
2. วิธีสอนด้วยปัญญา (Intelligent teaching) เป็นวิธีสอนที่ใช้การถามคำถาม กำหนดกิจกรรมให้เรียนทำ เน้นการวิเคราะห์ การแยกแยะข้อมูล ปัญหาของการใช้วิธีนี้ก็คือครูขาดทักษะการคิดหรือมีทักษะแต่มีไม่เพียงพอ
3. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) เป็นวิธีที่ใช้มากในสหรัฐอเมริกา ซึ่งครูต้องมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงจะสามารถสอนผู้เรียนให้คิดได้
4. การสร้างสถานการณ์ (Simulation) เป็นวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์ให้ผู้เรียนเล่นหมากรุก หมากฮอสส์ ซึ่งการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ผู้เรียนต้องมีกลยุทธ์ มีการวางแผน เลือกและตัดสินใจ แต่พบว่าในชีวิตจริงนั้นไม่สามารถหาผู้เรียนที่มีความสามารถเล่นหมากรุก หมากฮอสส์ได้ทั้งหมด วิธีการนี้จึงไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย
5. การอภิปราย (discussion) วิธีนี้ใช้กับอย่างแพร่หลายโดยให้ผู้เรียนอภิปรายปัญหาหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งครูต้องพยายามหาวิธีกระตุ้นให้ผู้เรียนทุกคนคิด มักเป็นวิธีที่ใช้กับเนื้อหาวิชาเป็นหลัก (Edward De bono , 1995 ,1991 : อ้างใน สำนักนายกรัฐมนตรี, 2545)
ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
จากการรวบร่วมผลการศึกษาของนักจิตวิทยา ซึ่งค้นคว้าเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เช่น
มาสโลว์ (maslow) สตาร์คเวธเซอร์ (Starkweather) และครอพลีย์ (Corpley) พอสรุปลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ดังนี้คือ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวของตัวเองผู้ที่มีความคิดริเริ่มจะไม่ยอมคล้อยตามความคิดเห็นของผู้อื่นๆ ได้ง่ายๆ และจะมีความมานะบากบั่นอย่างยิ่ง
ในการเรียนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เสียก่อน ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา ฝึกคิดฝึกจินตนาการกล้าคิดค้นวิธีสอนใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ และพัฒนาวิธีการ ทำงานของตนเองให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเด็กและความก้าวหน้าทางวิชาการด้วย ครูควรมีความรู้ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ซึ่งสามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและต่อสังคมได้ ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดใหม่ ได้ศึกษาหาความรู้ สำรวจ และทดลองในสิ่งที่เขาสนใจ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ และให้ความรัก เอาใจใส่นักเรียนอย่างทั่งถึงและ การสร้างความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียน และ ครูจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงไรย่อมขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารระดับการศึกษาสูงด้วย ผู้บริหารที่สังคมต้องการ จะต้องเป็นผู้ที่สามารถริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและเพื่อความสำเร็จของตนเอง เพื่อผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานจะได้ปฏิบัติตามและเกิดความกระตือรือร้นที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ บ้างส่วนหลักการส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาผู้มีเอตทัคคะในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เช่น แมคเคนซีย์ และ คอรีย์ (Mackenzie and Corey) ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหารไว้ดังนี้ คือ
๑. ผู้บริหารไม่ควรยึดมั่นกับวิธีการบริหารอย่างใดอย่างหนึ่งตลอดไปในชีวิตการบริหาร
๒. พยายามค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีกว่าและที่ใหม่กว่าเสมอ โดยไม่ผูกพันอยู่กับความจำเจ
๓. รู้จักฟัง อ่าน และวิสาสะกับผู้บริหารคนอื่นๆในระดับเดียวกันหรือสูงกว่า เรียนรู้การค้นพบ การทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ ๆ ที่ให้ประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร
๔. หมั่นตรวจสอบประสบการณ์ และการฝึกอบรมของตนเอง เพื่อหาจุดอ่อนและพยายามชดเชยจุดอ่อนนั้นด้วยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างจริงจัง
๕. พยายามวิเคราะห์พฤติกรรมการบริหารของตนเสมอ การวิเคราะห์พฤติกรรมของตนจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของตนได้ดีขึ้น
๖. วิเคราะห์เหตุแห่งพฤติกรรม หรือเหตุแห่งการตัดสินใจเพื่อการแก้ไขพฤติกรรมการบริหารงานให้สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น
http://www.kroobannok.com/blog/16705
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นความสามารถที�