11
1 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 (สาระหนาที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สาระเศรษฐศาสตร และสาระภูมิศาสตร) ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๓ กลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ผูเรียบเรียง ๑. นางวีรนุช สรารัตนกุล กศ.บ. (เกียรตินิยม) ๒. นายเอกลักษณ นดิลกคุณ ค.บ. (เกียรตินิยม) ผูตรวจ ๑. ศ.ดร.สุพรรณี ชะโลธร ร.บ., M.A., Ph.D. ๒. นางสุกัญญา จันทโภโต ศษ.บ., วท.ม. ๓. นางสาวกิ่งกาญจน บัวแกว ศษ.บ. (เกียรตินิยม), ศศ.ม. บรรณาธิการ ๑. นายพงศธร รวมสุข ค.บ., ศษ.ม. ๒. นายชลิต พุกกะเวส ศศ.บ. จัดพิมพจำหนายโดย บริษัท สำนักพิมพประสานมิตร (ปสม.) จำกัด ๕๔ ซอยพัฒนาการ ๔๔ ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ ๑๐๒๕๐ โทร. ๐-๒๓๒๑-๓๔๓๔ (๑๐ คูสาย), ๐-๒๓๒๑-๐๓๗๕-๖ โทรสาร ๐-๒๓๒๑-๙๐๓๘

ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

1สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

(สาระหนาที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สาระเศรษฐศาสตร และสาระภูมิศาสตร)

ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๓

กลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ผูเรียบเรียง

๑. นางวีรนุช สรารัตนกุล กศ.บ. (เกียรตินิยม)

๒. นายเอกลักษณ ปนดิลกคุณ ค.บ. (เกียรตินิยม)

ผูตรวจ

๑. ศ.ดร.สุพรรณี ชะโลธร ร.บ., M.A., Ph.D.

๒. นางสุกัญญา จันทโภโต ศษ.บ., วท.ม.

๓. นางสาวกิ่งกาญจน บัวแกว ศษ.บ. (เกียรตินิยม), ศศ.ม.

บรรณาธิการ

๑. นายพงศธร รวมสุข ค.บ., ศษ.ม.

๒. นายชลิต พุกกะเวส ศศ.บ.

จัดพิมพจำหนายโดย

บริษัท สำนักพิมพประสานมิตร (ปสม.) จำกัด๕๔ ซอยพัฒนาการ ๔๔ ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ ๑๐๒๕๐

โทร. ๐-๒๓๒๑-๓๔๓๔ (๑๐ คูสาย), ๐-๒๓๒๑-๐๓๗๕-๖ โทรสาร ๐-๒๓๒๑-๙๐๓๘

Page 2: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

2 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 3สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

(สาระหนาที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สาระเศรษฐศาสตร และสาระภูมิศาสตร)

ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๓

กลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

พิมพครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๖

ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๔๖๙-๐๙๐-๖

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ

ขอมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแหงชาติ

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการไดประกาศใชหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช

2551 หลักสูตรฉบับนี้เปดโอกาสใหสถานศึกษาไดพัฒนาหลักสูตรเปนของแตละสถานศึกษา ทาง

กระทรวงศึกษาธิการจึงไดจัดทำหลักสูตรแกนกลางใหเปนแนวทางสำหรับโรงเรียนไดเทียบเคียง

แลวใหแตละสถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมใหเปนหลักสูตรที่เหมาะสมกับแตละสถานศึกษา

การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

กระทรวงศึกษาธิการไดเปดโอกาสใหสำนักพิมพไดมีสวนรวมในการพัฒนาหนังสือเรียน คูมือครู

ชุดการเรียนการสอน และแบบฝกหัด และมีระบบควบคุมคุณภาพทั้งระดับสำนักพิมพและ

ระดับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักพิมพประสานมิตรจึงไดจัดทำหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา

ศาสนา และวัฒนธรรม (สาระหนาที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สาระ

เศรษฐศาสตร และสาระภูมิศาสตร) ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ขึ้นตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และกำหนดขอบขายสาระการเรียนรูใหสอดคลองกับหลักสูตร

แกนกลาง ในสวนของสาระการเรียนรูพื้นฐานที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้น เพื่อใหโรงเรียนไดนำ

ไปใชประโยชนในการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานตอไป

การจัดทำหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (สาระ

หนาที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สาระเศรษฐศาสตร และสาระภูมิศาสตร)

ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 นอกจากจะสอดคลองตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานแลว ยังได

นำเสนอกิจกรรมและคำถามสอดคลองกับกระบวนการเรียนรูของกลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา

ศาสนา และวัฒนธรรมดวย

หนังสือเรียนเลมนี้ไดผานการตรวจและแกไขจากคณะผูตรวจและบรรณาธิการที่สำนักพิมพ

แตงตั้งและผูทรงคุณวุฒิที่กระทรวงศึกษาธิการแตงตั้งเรียบรอยแลว คณะผูจัดทำหวังวาจะเปนหนังสือ

ที่มีคุณคาและมีประโยชนตอการเรียนการสอนในชั้นเรียน ที่จะทำใหผูเรียนไดพัฒนาบรรลุตาม

คุณภาพของผูเรียนที่กำหนดไวในหลักสูตร

คณะผูจัดทำ

พิมพที่

บริษัท อีเกิ้ลไรท จำกัด

๑/๑๒ หมูที่ ๒ ซอยรามอินทรา ๘ ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย เขตบางเขน กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐

โทร. ๐-๒๙๗๑-๙๒๔๒ โทรสาร ๐-๒๕๕๒-๓๔๙๔

วีรนุช สรารัตนกุล.

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๓.

_ _ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพประสานมิตร (ปสม.), ๒๕๕๖.

๒๙๖ หนา.

๑. สังคมศึกษา _ _ การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา).

I. เอกลักษณ ปนดิลกคุณ, ผูแตงรวม. II. ชื่อเรื่อง.

๙๐๐.๗

Page 3: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

4 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

หนวยการเรียนรูที่ 1 ระบอบการปกครอง 1

เรื่องที่ 1 ระบอบการเมืองการปกครอง 2

เรื่องที่ 2 วิเคราะหรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 17

เรื่องที่ 3 ปญหาสำคัญที่เปนอุปสรรคตอการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยและแนวทางแกไข 45

หนวยการเรียนรูที่ 2 กฎหมายและสิทธิมนุษยชน 50

เรื่องที่ 1 กฎหมายกับลักษณะการกระทำความผิด 51

เรื่องที่ 2 สิทธิมนุษยชน 71

หนวยการเรียนรูที่ 3 สังคมไทย 81

เรื่องที่ 1 วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมสากล 82

เรื่องที่ 2 การดำรงชีวิตในประเทศและสังคมโลกอยางมีความสุข 90

เรื่องที่ 3 ปญหาความขัดแยงในประเทศไทยและแนวทางการแกไข 95

หนวยการเรียนรูที่ 4 ระบบเศรษฐกิจ 104

เรื่องที่ 1 กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ 105

เรื่องที่ 2 การวางงานและแนวทางแกไข 124

เรื่องที่ 3 การรวมกลุมทางเศรษฐกิจระหวางประเทศ 129

เรื่องที่ 4 การคาระหวางประเทศและการกีดกันทางการคา 143

หนวยการเรียนรูที่ 5 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ 151

เรื่องที่ 1 การพัฒนาทองถิ่นตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 152

เรื่องที่ 2 ความสัมพันธระหวางเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ 163

เรื่องที่ 3 ภาวะเงินเฟอ ภาวะเงินฝด 174

เรื่องที่ 4 บทบาทและหนาที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ 180

เรื่องที่ 5 นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล 189

หนวยการเรียนรูที่ 6 ทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต 197

เรื่องที่ 1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร 198

เรื่องที่ 2 ทวีปอเมริกาเหนือ 207

เรื่องที่ 3 ทวีปอเมริกาใต 244

เรื่องที่ 4 ปญหาและการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

ในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต 272

บรรณานุกรม

1สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

1. อธิบายระบอบการปกครองแบบตางๆ ที่ใช

ในยุคปจจุบัน (ส 2.2 ม.3/1)

2. วิเคราะหเปรียบเทียบระบอบการปกครอง

ของไทยกับประเทศอื่นๆ ที่มีการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตย (ส 2.2 ม.3/2)

3. วิเคราะหรัฐธรรมนูญฉบับปจจุบันในมาตรา

ตางๆ ที่เกี่ยวของกับการเลือกตั้ง การมีสวน

รวม และการตรวจสอบการใชอำนาจรัฐ

(ส 2.2 ม.3/3)

4. วิเคราะหประเด็นปญหาที่ เปนอุปสรรค

ตอการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทย

และเสนอแนวทางแกไข (ส 2.2 ม.3/4)

เรื่องที่ 1 ระบอบการเมืองการปกครอง

เรื่องที่ 2 วิเคราะหรัฐธรรมนูญแหงราช

อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

เรื่องที่ 3 ปญหาสำคัญที่เปนอุปสรรคตอ

การพัฒนาประชาธิปไตยของ

ไทยและแนวการแกไข

Page 4: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

2 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 3สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

ระบอบการเมืองการปกครอง

กิจกรรมนำการเรียนรูและการคิด

ใหนักเรียนเตรียมอภิปรายในชั้นเรียนในประเด็นที่เกี่ยวกับการปกครองระบอบ

ประชาธิปไตยและเผด็จการ เชน การปกครองระบอบประชาธิปไตยเปนการปกครองที่ดีที่สุด

หรือไม หรือการปกครองแบบเผด็จการมีจุดเดนและจุดดอยอยางไร

ทราบหรือไมวา ระบอบ

การปกครองแบบตางๆ

ที่ใชในปจจุบันมีอะไรบาง

การที่มนุษยอยูรวมกันในสังคม มีความสัมพันธกัน ทำใหเกิดความคิดเห็นที่สอดคลองหรือ

แตกตางกันในดานอุดมการณ แนวคิด ทัศนคติ แนวทางการปฏิบัติตอกัน จนเปนเหตุใหมีหลักการ

อยูรวมกันเปนระบบการเมืองการปกครองที่แตกตางกันไปตามสภาพของสังคมนั้นๆ

ระบอบการเมืองการปกครอง หมายถึง รูปแบบของความสัมพันธระหวางมนุษยซึ่งกอ

ใหเกิดการใชอำนาจบังคับในสังคมที่เรียกวา “อำนาจรัฐ” เพื่อใชเปนแนวทางใหมีหลักการอยูรวมกัน

อยางสงบสุขในสังคม

ระบอบการเมืองการปกครองที่สำคัญแบงออกเปน 2 รูปแบบ คือ

1. การปกครองระบอบประชาธิปไตย

2. การปกครองระบอบเผด็จการ

การปกครองระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นครั้งแรกในนครรัฐเอเธนสของชนชาติกรีกโบราณ

เมื่อประมาณ 500 ปกอนคริสตกาล คำวา “ประชาธิปไตย” (Democracy) ในภาษากรีกจะเรียกวา

“เดโมคราเตีย” (Demokratia) มาจากคำวา “เดมอส” (Demos) หมายถึง ประชาชน กับ “เครตอส”

(Kratos) หมายถึง การปกครอง หรือพละกำลัง เมื่อนำศัพทบวกกันเปน demokratia จึงสื่อ

ความหมายวาเปน “การปกครองของประชาชน”

ศัพท “ประชาธิปไตย” ในภาษาไทยออกมาในรูปของการสมาสคำระหวาง “ประชา”

(หมายถึงประชาชน) และ “อธิปไตย” (หมายถึงอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ) ดังนั้น

“ประชาธิปไตย” จึงหมายถึง ประชาชนเปนเจาของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

ความหมายของประชาธิปไตยในวิถีการดำเนินชีวิต

ความหมายของประชาธิปไตยในความหมายกวางหรือประชาธิปไตยในวิถีชีวิต หมายถึง

วิถีชีวิตที่แสดงถึงวัฒนธรรมอันประกอบดวยอุดมการณและพฤติกรรมที่มีหลักการทาง

ประชาธิปไตยเปนแบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวัน

ความหมายของระบอบประชาธิปไตย

ระบอบประชาธิปไตยในความหมายทางการเมืองการปกครองหมายถึง ระบอบการเมือง

การปกครองที่อำนาจอธิปไตยซึ่งเปนอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเปนของประชาชน โดย

ประชาชนมีสวนรวมในการตัดสินใจเลือกตัวแทนเขาไปทำหนาที่แทนตนเองทั้งในดานนิติบัญญัติ คือ

การออกกฎหมาย และดานการบริหารประเทศทำหนาที่เปนรัฐบาลผานกระบวนการเลือกตั้งเปน

สำคัญ และอาจมีกระบวนการอื่นตามบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อใหตัวแทนเหลานั้นเขาไปทำหนาที่

โดยมีเปาหมายเพื่อความผาสุกของประชาชนโดยสวนรวม ความเปนระเบียบเรียบรอย และการ

เจริญเติบโตของประเทศสำคัญ

การปกครองระบอบประชาธิปไตย

Page 5: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

4 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 5สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

8. หลักการมีสวนรวม หมายถึง การ

ที่ประชาชนมีสวนรวมในการเสนอความคิดเห็น

ตอรัฐ มีสวนรวมในการกระทำ คือ การลง

คะแนนเสียงเลือกตั้งตัวแทนเขาไปบริหารประเทศ

การเสนอตนเองเขาไปบรหิารประเทศ การเสนอ

ตนเองเขาไปรับเลือกเปนตัวแทนของปวงชน

มีสวนรวมในการตรวจสอบการใชอำนาจรัฐ

และการเสนอถอดถอนตำแหนงสำคัญที่กระทำ

ผิดตามแนวทางที่กำหนดไวในรัฐธรรมนูญ

9. หลักเหตุผล หมายถึง ความคิด

หรือการกระทำในการปกครองระบอบประชา-

ธิปไตย ตองอางอิงเหตุผลที่ชัดเจนถึงความ

รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย

แมประเทศตางๆ ในโลกนี้จะมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเหมือนกัน แตก็มี

ความแตกตางกันบางตามประวัติศาสตร ความเปนมา และความตองการของประชาชนในประเทศ

นั้นๆ

ถูกตองและหลักการของการกระทำ การแสดงออก การพัฒนา การเปลี่ยนแปลงและการกำหนด

นโยบายตางๆ ตองมีเหตุผลรองรับ

10. หลักความยินยอม หมายถึง การเห็นพองตองกัน โดยแตละคนจะมีความเห็นสวนตัว

และแสวงหาความเห็นพองตองกันของหมูชนโดยคำนึงถึงผลประโยชนของประเทศชาติเปนสำคัญ

11. หลักประนีประนอม หมายถึง การลดความขัดแยงโดยการยอมรับความคิดเห็นของ

ผูอื่น ไมดึงดันแตความคิดของตนเปนสำคัญ ประสานความคิดเห็นของตนใหสอดคลองกับทรรศนะ

ของผูอื่นเพื่อปองกันความขัดแยงอยางรุนแรง ยอมผอนปรนแกไขและใชเหตุผลในการแกไขปญหา

มากที่สุด เพื่อผลประโยชนของประเทศชาติและประชาชนเปนสำคัญ

หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยดังกลาว เปนเพียงสวนหนึ่งที่นำมา

เปนหลักในการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้หลักการสำคัญของการปกครองระบอบ

ประชาธิปไตยยังสามารถนำมาปรับใชในการดำเนินชีวิตในวิถีประชาธิปไตยประจำวันได

ระบอบประชาธิปไตยสงเสริมใหประชาชนม ี

สวนรวมในการกระทำสิ่งตางๆ ที่เปนประโยชน

เชน มีสวนรวมแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนา

ชุมชนของตนเอง เปนตน 3. หลักอำนาจอธิปไตยเพื่อประชาชน หมายถึง ผูปกครองรัฐที่มีอำนาจในการบริหารจะตอง ใชอำนาจรัฐ โดยกระทำไปเพื่อผลประโยชนและความสงบสุขของประชาชนโดยสวนรวมเปนสำคัญ

4. หลักนิติธรรมหรือหลักกฎหมาย หมายถึง หลักกฎหมายที่บุคคลอยูภายใตกฎหมาย เดียวกัน รัฐตองใชนิติรัฐปกครองประเทศ เพื่อเปนบรรทัดฐานในการปฏิบัติตนของประชาชนใน สังคม ผูที่ทำผิดกฎหมายจะไดรับการลงโทษ เพื่อใหสังคมประชาธิปไตยเปนสังคมที่มีความสงบสุข

การเลือกตั้งเปนกระบวนการสำคัญของระบอบ

ประชาธิปไตยที่ประชาชนสามารถมีสวนรวม

ในการปกครองประเทศได

5. หลักสิทธิเสรีภาพ หมายถึง ประชาชน สามารถแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การแสดงออก การกระทำหรือการรวมกลุม เพื่อ เรียกรองผลประโยชนที่ไมเปนการละเมิดสิทธิ เสรีภาพของผูอื่น 6. หลักเสียงขางมาก หมายถึง การหา ขอยุติหรือขอตัดสินในกรณีตางๆ ของรัฐ องคกร หรือหนวยงานตางๆ ที่จะหาขอยุติโดยการลงมติ เปนขอสรุปดวยเสียงขางมาก จำเปนตองพิจารณา ขอคิดเห็นและเหตุผลของคนเสียงสวนนอย ยึด เสียงขางมากในการตัดสิน ขณะเดียวก็ตองให

ความเคารพเสียงขางนอยเชนเดียวกัน

7. หลักเสมอภาค หมายถึง ความเสมอภาคทางโอกาสที่ไดรับจากรัฐโดยเทาเทียมกัน ไมแบงชั้นวรรณะ การลงคะแนนไดคนละหนึ่งเสียง (One Man One Vote หมายถึง ประชาชน หนึ่งคนมีสิทธิ์ในการเลือกผูแทนเขาไปทำหนาที่ไดหนึ่งคน) ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกันทั้งทางดาน การเมืองการปกครอง โอกาสทางกฏหมาย และความเสมอภาคกันทางสังคมซึ่งเปนหลักสากลใน ระบอบประชาธิปไตย

หลักการทางประชาธิปไตย

หลักการทางประชาธิปไตยเปนหลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่ง สามารถนำมาประยุกตใชในวิถีชีวิตเพื่อใหเกิดเปนสังคมประชาธิปไตย หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ ไดแก 1. หลักอำนาจอธิปไตยเปนของปวงชน หมายถึง ประชาชนเปนเจาของอำนาจอธิปไตย ซึ่งเปนอำนาจสูงสุดในรัฐ ประชาชนจึงมีสิทธิในการปกครองตนเองโดยเลือกตัวแทนเขาไปบริหารและจัดการปกครองประเทศแทนตน 2. หลักอำนาจอธิปไตยโดยประชาชน หมายถึง การบริหารจัดการปกครองรัฐในดาน ตางๆ ตองกระทำโดยการที่ประชาชนสามารถเลือกตัวแทนของประชาชนผานกระบวนการเลือกตั้ง ตามบทบัญญัติของกฎหมาย

Page 6: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

6 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 7สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

การปกครองระบอบประชาธิปไตย

ระบบรัฐสภาของประเทศไทย

บารัค โอบามา ประธานาธิบดีคนที่ 44

ของประเทศสหรัฐอเมริกา

รูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยใชหลักการรวมอำนาจและกระจาย อำนาจ สามารถแบงรูปแบบของประชาธิปไตยออกได ดังนี้ 1. การปกครองระบบรัฐสภา ในระบบนี้เปนการปกครองที่ประกอบดวย 3 สถาบัน คือ สถาบันนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ สถาบันนิติบัญญัติอาจมีสภาผูแทนราษฎรเพียงสภาเดียว หรือมีสภาผูแทนราษฎรและวุฒิสภา ทั้งสองสภาทำหนาที่รวมกันในรัฐสภา มีอำนาจในการออก กฎหมาย ใหความเห็นชอบในการจัดตั้งรัฐบาล ควบคุมการทำงานของรัฐบาล ฝายบริหารประกอบ ดวยรัฐบาลซึ่งมีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบริหารประเทศภายใตการควบคุมของรัฐสภา หาก สภาผูแทนราษฎรลงมติไมไววางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนใด นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ตองลาออก หรือหากสภาผูแทนราษฎรลงมติไมไววางใจรัฐบาล คณะรัฐมนตรีตองลาออกทั้งคณะ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการยุบสภา สวนศาลหรือฝายตุลาการจะทำหนาที่ตัดสินคดีโดยอิสระ ตัวอยางประเทศที่เปนแมแบบของการปกครองระบบรัฐสภา คือ สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังมี

ประเทศที่ปกครองระบบรัฐสภาอื่นๆ เชน ประเทศไทย อินเดีย ญี่ปุน สิงคโปร เปนตน

ประธานาธิบดีเปนผูนำกฎหมายมา บังคับใช แตศาลอาจเชิญประธานาธิบดีมาใหการ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหาร ประธานาธิบดีไมมี สิทธิยุบสภา รัฐสภาไมมีสิทธิอภิปรายไมไววางใจ ประธานาธิบดี ตัวอยางแมแบบการปกครองแบบ ประธานาธิบดีที่กลาวนี้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีประเทศอื่นๆ ที่ปกครองระบบ ประธานาธิบดี เชน ฟลิปปนส แคนาดา เปนตน

3. การปกครองระบบกึ่งประธานา-

ธิบดีกึ่งรัฐสภา ในระบบรัฐสภามีหนาที่ในการ

ออกกฎหมายเปนหลักการบริหารงานของ

รัฐบาลจะบริหารโดยประธานาธิบดีซึ่งเปนทั้ง

ประมุขของรัฐและบริหารราชการแผนดิน

รวมกับนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจะบริหาร

ประเทศโดยรับผิดชอบตอรัฐสภาโดยถา

นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีถูกอภิปรายไมไว

วางใจและรัฐสภามีมติไมไววางใจ นายก

รัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีตองลาออกจากตำแหนง

การปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งประธานาธิบดี

กึ่งรัฐสภาของประเทศฝรั่งเศส

รูปแบบของประชาธิปไตยเมื่อใชหลัก

ประมุขเปนเกณฑการแบงสามารถแบงไดดังนี้

1. พระมหากษัตริย เปนประมุข

หมายถึง ประเทศที่มีพระมหากษัตริยทรงเปน

ประมุขของรัฐ ทรงเปนกลางทางการเมือง

แตจะทรงใชอำนาจอธิปไตยซึ่ งเปนอำนาจ

ของปวงชนผานสถาบันตางๆ ไดแก ทรงใช

อำนาจนิติบัญญัติผานทางรัฐสภา ทรงใช

อำนาจบริหารผานทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช

อำนาจตุลาการผานทางศาล

2. การปกครองระบบประธานาธิบดี ในระบบนี้เปนการปกครองที่ประกอบดวย 3 สถาบันหลัก คือ สถาบันนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แตละสถาบันจะมีอำนาจในขอบเขต ของตนเองตามที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 สถาบันจะถวงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เชน รัฐสภา จะเปนผูบัญญัติกฎหมาย แตประธานาธิบดีสามารถยับยั้งรางกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาสวนศาลสูงก็อาจพิจารณาวา กฎหมายฉบับนั้นๆ ขัดตอรัฐธรรมนูญหรือไม

การปกครองระบอบประชาธิปไตย

ระบบรัฐสภาของประเทศญี่ปุน

แตประธานาธิบดีไมตองลาออกจากตำแหนง รัฐสภาจะควบคุมการทำงานของฝายบริหาร

ประธานาธิบดีจะเปนผูกำหนดนโยบายตางประเทศ และมีอำนาจยุบสภา ตัวอยางแมแบบของ

ประเทศที่ปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภาคือ ประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีประเทศ

อื่นที่ใชรูปแบบนี้ เชน ออสเตรีย ไอรแลนด ฟนแลนด เปนตน

ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

โดยมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข ซึ่งพระองค

ทรงใชอำนาจอธิปไตยผานสถาบันตางๆ

ตัวอยางประเทศที่ปกครองรูปแบบนี้ ไดแก สหราชอาณาจักร ไทย ญี่ปุน เปนตน

2. ประธานาธิบดีเปนประมุข มี 2 ประการ คือ

1) ผูที่เปนประธานาธิบดีไดรับเลือกจากประชาชนทำหนาที่เปนประมุขของรัฐ

แตไมไดเปนประมุขฝายบริหาร เชน ประธานาธิบดีของสิงคโปร อินเดีย เปนตน

2) ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง เปนประมุขของรัฐและเปนประมุขฝายบริหาร

ดวย เชน สหรัฐอเมริกา ฟลิปปนส เปนตน

Page 7: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

8 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 9สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

ประเภทของประชาธิปไตย

การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบงออกเปน 2 ประเภท คือ 1. ประชาธิปไตยโดยทางตรง หมายถึง การปกครองที่ประชาชนทุกคนในประเทศ มีสิทธิที่จะมีสวนรวมในการบริหารประเทศ การปกครองโดยทางตรงนี้ใชกับรัฐที่มีขนาดเล็ก มีประชากรไมมากนัก เชน นครรัฐเอเธนสยุคกรีกโบราณ เปนตน 2. ประชาธิปไตยโดยทางออม หมายถึง ประเภทของประชาธิปไตยที่ประชาชนใน ประเทศเลือกตัวแทนของประชาชนเขาไปทำหนาที่ประชุมรวมกันเพื่อพิจารณาตัดสินปญหาใดๆ ของประเทศ เปนการเลือกตัวแทนในนามของสมาชิกรัฐสภาหรือรัฐบาล โดยมีวิธีการเลือกตั้งที่ แตกตางกันไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในแตละประเทศ

ขอดีและขอเสียของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีทั้งขอดีและขอเสีย ดังนี้

1. ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ และความ

เสมอภาคในการมีสวนรวมทางการเมือง

การปกครอง

2. คนดีมีความสามารถ มีโอกาสไดเสนอตัว

ในการปกครองประเทศ

3. ประชาชนมีสิทธิในการตรวจสอบการ

ทำงานของรัฐบาล ผูนำที่มีปญหาอาจถูก

ถอดถอนโดยประชาชนได

4. การหาขอยุติในการทำงาน หรือการแก

ปญหาใชหลักเหตุผลและหลักเสียงขาง

มาก ทำใหงานสำเร็จไดดี

5. ใชหลักกฎหมายในการพิจารณาคดีใน

ศาลยุติธรรม ทำใหประชาชนไดรับความ

เปนธรรม

1. การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยตอง

ใชงบประมาณในการดำเนินการเปน

จำนวนมาก

2. การที่ประชาชนมีเสรีภาพ บางครั้งอาจใช

เสรีภาพเกินขอบเขตอาจนำไปสูความ

วุนวายและเกิดจลาจลได

3. การทำงานโดยการปรึกษาหารือฝายตางๆ

ทำใหงานลาชา แกปญหาไมทันกับเหตุการณ

ที่เกิดขึ้น

4. การออกกฎหมายที่ผานขั้นตอนตางๆ อาจ

ไมทันการในการแกปญหาของบางประเทศ

ขอดี ขอเสีย

การปกครองระบอบเผด็จการ

การปกครองระบอบเผด็จการ หมายถึง การปกครองที่ผูปกครองอาจจะเปนบุคคลคนเดียว

หรอืคณะบคุคลทีเ่ขายดึอำนาจ เพือ่ผกูขาดการใชอำนาจโดยเบด็เสรจ็ ประชาชนตองเชือ่และปฏบิตั ิ

ตาม ผูที่ฝาฝนหรือขัดขวางจะไดรับโทษอยางรุนแรง

การปกครองระบอบเผด็จการสามารถแบงประเภทได ดังนี้

1. เผด็จการอำนาจนิยม หมายถึง การปกครองที่รัฐเขาควบคุมและผูกขาดการดำเนิน

กิจกรรมทางการเมืองการปกครองโดยที่ประชาชนยังคงมีเสรีภาพดานเศรษฐกิจและสังคม

ตัวอยางเผด็จการอำนาจนิยม ไดแก การปกครองของสเปนภายใตการนำของ นายพลฟรานซิสโก

ฟรังโกในชวงระหวาง พ.ศ. 2479-2518

2. เผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม หมายถึง การปกครองที่รัฐจะเขาควบคุมและผูกขาดการ ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม คือ ตองการใหระบบดำรงอยูตลอดไป และพยายามสรางสังคมขึ้นใหมภายใตการปกครองตาม อุดมการณที่ตนยึดถือ เผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมแบงเปน 2 ประเภทคือ เผด็จการฟาสซิสตและเผด็จการ คอมมิวนิสต 2.1 เผด็จการฟาสซิสต เปนการปกครองที่เนนความสำคัญของผูนำที่มีอำนาจ เหนือประชาชน เนนชาตินิยมอยางรุนแรง ตัวอยางการปกครองแบบนี้ เชน การปกครองของเบนิโต มุสโสลีนี อดีตผูนำอิตาลี และการปกครองของอดอลฟ ฮิตเลอร อดีตผูนำพรรคนาซีในเยอรมนี

ในชวงกอนสงครามโลกครั้งที่ 2 แตปจจุบันรูปแบบเผด็จการฟาสซิสตไดลมสลายลงไปแลว

ประเทศเกาหลีเหนือมีการปกครอง

ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสตซึ่งอำนาจทั้งหมด

จะอยูในคณะบุคคลเพียงกลุมเดียว

2.2 เผด็จการแบบคอมมิวนิสต

เปนการปกครองที่รัฐเขาควบคุมทั้งดานการเมือง

เศรษฐกิจ และสังคม เปนสังคมที่อยูภายใตการ

ปกครองของอุดมการณ โดยเนนความสำคัญ

ของชนชั้นกรรมาชีพ และจัดใหกรรมกรรวมตัว

กันเปนสหภาพ โดยมีเจาหนาที่ทางการเมือง

ของพรรคแทรกแซงอยูในทุกสถาบัน ตัวอยาง

ของการปกครองแบบคอมมิวนิสต เชน จีน เกาหลี

เหนือ คิวบา เวียดนาม เปนตน ในปจจุบัน

เผด็จการคอมมิวนิสตในประเทศตางๆ มีการ

ปรับเปลี่ยนโดยใหอิสระเสรีแกประชาชนใน

การดำเนินการดานเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น

Page 8: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

10 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 11สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

ลักษณะสำคัญของการปกครองระบอบเผด็จการ

การปกครองระบอบเผด็จการมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ คือ

1. ผูนำเพียงคนเดียวหรือคณะบุคคลเพียงคณะเดียวหรือพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว

เขามามีบทบาททางการเมืองการปกครอง และผูกขาดอำนาจทางการเมืองการปกครอง

2. จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในดานการเมืองการปกครองในประเภทเผด็จการ

อำนาจนิยม และจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนดานเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ใน

ประเภทเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ

3. ยึดหลักการรวมอำนาจมากกวาการกระจายอำนาจ

4. ผูนำยึดมั่นวาอำนาจรัฐเหนือเสรีภาพของประชาชน

5. ประชาชนจะตองเชื่อและปฏิบัติตามรัฐ

6. การแกไขปญหาของบานเมืองมักใชความเด็ดขาดและความรุนแรง

ขอดีและขอเสียของการปกครองระบอบเผด็จการ

1. รัฐบาลสามารถแกไขปญหาหรือตัดสินใจ

ไดรวดเร็วกวา ไมผานขั้นตอนมาก จึงแก

ปญหาไดรวดเร็วกวาการปกครองระบอบ

ประชาธิปไตย

2. การใชความเด็ดขาดในการแกปญหา เชน

การปราบปรามการจลาจลจะทำไดดีและมี

ประสิทธิภาพ เปนตน

3. สภาพบานเมืองจะมีการปรับปรุงหรือ

เปลี่ยนแปลงไดงาย เชน การตัดถนนหรือ

ปรับปรุงทางสาธารณะไมตองเสียเวลาใน

การออกกฏหมายเวนคืนเหมือนการ

ปกครองในระบอบประชาธิปไตย เปนตน

1. เปนการปกครองโดยคนๆ เดียวหรือคณะเดียว

ทำใหเกิดความผิดพลาดไดงาย

2. การใชอำนาจเด็ดขาดทำใหลิดรอนสิทธิ

และเสรีภาพของประชาชน เปนการผิด

หลักสิทธิมนุษยชน

3. ไมเปดโอกาสใหคนที่มีความสามารถเขา

มาปกครองหรือบริหารประเทศ

4. การที่ประชาชนถูกกดขี่และขาดสิทธิเสรีภาพ

อาจนำมาซึ่งการตอตานจนเกิดเหตุการณ

จลาจลขึ้นได

5. การตัดสินใจที่ปราศจากเหตุผลของผูนำ

เผด็จการ อาจนำประเทศไปสูวิกฤตการณ

ทางเศรษฐกิจและสังคมได เนื่องจากเปน

การตัดสินใจโดยลำพังเพียงคนเดียว

ขอดี ขอเสีย

การปกครองระบอบเผด็จการมีทั้งขอดีและขอเสีย ดังนี้

ความแตกตางของการปกครองระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ

1. ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการลงรับ

สมัครเลือกตั้งและการเลือกตั้งผูบริหาร

ประเทศตามวิธีการที่กำหนดไวในรัฐธรรมนูญ

2. ผูบริหารประเทศมีวาระในการดำรงตำแหนง

เพื่อเปนการเปดโอกาสใหมีการเลือกตั้งใหม

3. ใชหลักการทางประชาธิปไตยในการแก

ปญหาของชาติ เชน หลักเหตุผล หลักการ

ประนีประนอม เปนตน

4. ประชาชนมีสิทธิประทวงหรือชุมนุมอยาง

สงบโดยปราศจากอาวุธได

5. มีพรรคการเมืองเกิดขึ้นหลายพรรค ทำให

ประชาชนมีทางเลือกที่หลากหลายในการ

เลือกบุคคลเขาไปทำหนาที่ในการบริหาร

ประเทศ

1. ประชาชนไมมีสิทธิและเสรีภาพในการ

เลือกตั้งและลงสมัครรับสมัครเลือกตั้ง

เพราะผูนำจะคัดคนของพรรคเขาไปทำ

หนาที่บริหารประเทศหรือคัดเลือกคนให

ประชาชนเลือกตั้ง

2. ผูบริหารประเทศผูกขาดอำนาจการปกครอง

ตลอดไป

3. การตัดสินปญหาใชอำนาจของผูนำโดยการ

สั่งการอยางเด็ดขาด

4. หามประชาชนชุมนุมคัดคาน มิฉะนั้นจะ

ถูกลงโทษรุนแรง

5. มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวผูกขาด

อำนาจทางการเมืองการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการ

ความแตกตางของการปกครองระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการจำแนกได ดังนี้

Page 9: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

12 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 13สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

ความแตกตาง ความคลายคลึง ของการปกครองของไทย

กับประเทศอ�นๆ ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

การปกครองระบอบประชาธิปไตยของแตละประเทศจะมีลักษณะที่แตกตางกันไปตาม

ประวัติศาสตรและพื้นฐานการปกครองของประเทศนั้นๆ ซึ่งแสดงรายละเอียดหลักการปกครอง

ของแตละประเทศในรัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆ

ตัวอยางการเปรียบเทียบการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย มาเลเซีย

สิงคโปร อินโดนีเซีย มีดังนี้

รูปแบบการปกครอง

ประเทศไทย

ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย ทรงเปนประมุข อำนาจอธิปไตยซึ่งเปนอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แบงออกเปนฝายนิติบัญญัติ ฝายบริหาร และฝายตุลาการ ฝายนิติบัญญัติ ของไทยใชระบบรัฐสภา รูปแบบของรัฐสภา

รัฐสภาของไทยเปนระบบสองสภาประกอบดวย สภาผูแทนราษฎร และวุฒิสภา

1. สภาผูแทนราษฎร มีสมาชิกสภาผูแทนราษฎรจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง

โดยแบงการเลือกตั้งเปนสองแบบ ไดแก สมาชิกสภาผูแทนราษฎร แบบแบงเขตเลือกตั้งจำนวน

375 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 125 คน มีวาระการดำรงตำแหนง 4 ป

หนาที่สำคัญ สมาชิกสภาผูแทนราษฎรมีหนาที่ การออกกฏหมาย ควบคุมการทำงานของ

ฝายบริหารและหนาที่ใหความเห็นชอบกรณีสำคัญ เชน การประกาศสงคราม เปนตน

2. วุฒิสภา มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคน

(รวมกรุงเทพมหานครฯ) และมาจากการสรรหาเพิ่มอีกจนครบจำนวน 150 คน มีวาระการ

ดำรงตำแหนง 6 ป

หนาที่สำคัญ สมาชิกวุฒิสภามีหนาที่กลั่นกรองกฎหมายที่ผานการเห็นชอบจากสภาผูแทน

ราษฎร ควบคุมการบริหารราชการแผนดินของฝายบริหารและมีหนาที่อื่นๆ ตามบทบัญญัติของ

กฎหมาย

ฝายบริหาร

ฝายบริหารประกอบดวยนายกรัฐมนตรี 1 คน โดยนายกรัฐมนตรีมาจากมติของสภาผูแทน

ราษฎรที่เห็นชอบในการแตงตั้งบุคคลใดใหเปนนายกรัฐมนตรี ตองมีคะแนนเสียงมากกวากึ่งหนึ่ง

ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเทาที่มีอยูของสภาผูแทนราษฎร ใหประธานสภาผูแทนราษฎรนำความ

ขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแตงตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่แตงตั้งโดย

นายกรัฐมนตรีอีกไมเกิน 35 คน คณะรัฐมนตรีมีวาระการดำรงตำแหนง 4 ป

ฝายตุลาการ

ฝายตุลาการเปนอำนาจในการตัดสินคดีโดยใชกฎหมายผานศาล ระบบการศาลของไทยมี

4 ประเภท คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร

รูปแบบการปกครอง

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริยเปนประมุข

(สมเด็จพระราชาธิบดี หรือ ยังดี เปอรตวน อากง หรือกษัตริยของมาเลเซียมาจากการเลือกตั้ง

สุลตาน 9 รัฐ ไดแก ยะโฮร ตรังกานู ปะหัง สลังงอร เกดะห กลันตัน เนกรีเซมบีลัน เประ และปะลิส

หมุนเวียนกันดำรงตำแหนงวาระละ 5 ป)

มาเลเซียมีรูปแบบของรัฐแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลาง ดูแลเรื่องสำคัญ เชน การปองกัน

ประเทศ ความมั่นคง การตางประเทศ การคลัง สวนรัฐบาลของแตละรัฐดูแลดานศาสนา ประเพณี

สังคม เกษตรกรรม และการคมนาคม

ฝายนิติบัญญัติ ของมาเลเซียใชระบบรัฐสภา

รูปแบบของรัฐสภา

รัฐสภาของมาเลเซียเปนระบบสองสภา ประกอบดวย สภาผูแทนราษฎร และวุฒิสภา

1. สภาผูแทนราษฎร มีสมาชิก 222 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไป ดำรงตำแหนงวาระละ

5 ป มีหนาที่พิจารณากฎหมายที่รัฐบาลหรือวุฒิสภาเปนผูเสนอและตรวจสอบนโยบายของรัฐบาล

2. วุฒิสภา มีสมาชิก 70 คน มาจากการแตงตั้งโดยพระราชาธิบดี (ยังดี เปอรตวน

อากง) ภายใตการแนะนำของนายกรัฐมนตรี 44 คน และมาจากการเลือกตั้งโดยสภาแหงรัฐ 26

คน ดำรงตำแหนงวาระละ 6 ป มีอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย

มาเลเซียมี 13 รัฐ 9 รัฐ มีสุลตานปกครอง สวนอีก 4 รัฐ ไมมีสุลตานปกครอง ไดแก ปนัง

มะละกา ซาบาห และซาราวัก

Page 10: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

14 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 15สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

ฝายบริหาร

พระราชาธิบดี (ยังดี เปอรตวน อากง) จะเปนผูแตงตั้งนายกรัฐมนตรีจากหัวหนาพรรค

ที่มีเสียงขางมากในสภา และนายกรัฐมนตรีตองเปนพลเมืองของสหพันธรัฐโดยกำเนิด สวนรอง

หัวหนาพรรคจะไดรับตำแหนงรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีจะตองมาจากสมาชิกสภาผูแทนราษฎร

ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงประกอบดวยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทำหนาที่บริหารราชการ

แผนดิน

ฝายตุลาการ

ฝายตุลาการมีอิสระมาก ไมถูกควบคุมโดยฝายนิติบัญญัติและฝายบริหาร ประกอบดวย

ศาลระดับรัฐ ไดแก ศาลอิสลาม ศาลเฉพาะ ศาลสูง ศาลแขวง ศาลทองถิ่น และศาลเด็ก

ศาลระดับสหพันธรัฐ คือ ศาลสูงสุด หรือศาลฎีกา ทำหนาที่พิจารณาเรื่องอุทธรณจากการ

ตัดสินของศาลสูงแหงรัฐพิจารณาประเด็นที่กระทบตอกฎหมายรัฐธรรมนูญ

สิงคโปรมีการปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา

รูปแบบประมุข

สิงคโปรมีประธานาธิบดีเปนประมุข มาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหนง 6 ป

อำนาจหนาที่ของประธานาธิบดีจะเปนไปในทางพิธีการตางๆ กำหนดสมัยประชุมสภา แตงตั้ง

หัวหนารัฐบาลเมื่อไดรับการเลือกตั้งและเสนอชื่อใหดำรงตำแหนงนายกรัฐมนตรี เปนตน

ฝายนิติบัญญัติ ฝายนิติบัญญัติของสิงคโปรใชระบบรัฐสภา

รูปแบบรัฐสภา

รูปแบบรัฐสภาของสิงคโปร มีสภาเดียว คือ สภาผูแทนราษฎร

สภาผูแทนราษฎร

สมาชิกสภาผูแทนราษฎรของสิงคโปร มี 99 คน มาจากการเลือกตั้ง และแตงตั้ง มีวาระ

การดำรงตำแหนง 5 ป

1. สมาชิกสภาผูแทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน 90 คน (การเลือกตั้ง 7 พ.ค.

2011)

2. สมาชิกสภาผูแทนราษฎรแบบเสนอชื่อ มีจำนวน 9 คน

ประเทศสิงคโปร

รูปแบบการปกครอง

รูปแบบการปกครอง

ผูมีสิทธิในการเสนอชื่อ คือ คณะกรรมการคัดสรร โดยเสนอตอประธานรัฐสภาดำรง

ตำแหนงคราวละสองปครึ่ง

หนาที่สำคัญ คือ ออกกฎหมายและควบคุมการทำงานของรัฐบาล

ฝายบริหาร

ฝายบริหารประกอบดวยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีหนาที่บริหารประเทศ

ฝายตุลาการ

ฝายตุลาการของสิงคโปรมีอิสระในการทำงาน ปราศจากการควบคุมของฝายบริหาร ศาล

ของสิงคโปรแบงออกเปน 2 ระดับ คือ ศาลชั้นตน กับศาลฎีกา

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียปกครองดวยระบอบสาธารณรัฐ

รูปแบบประมุข

อินโดนีเซียมีประธานาธิบดีเปนประมุขมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีเปนหัวหนาฝายบริหาร มีหลักปญจศีล เปนหลักในการปกครองประเทศ

ประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหนงสมัยละ 5 ป (ประธานาธิบดีจะอยูในตำแหนงติดตอกัน

เกิน 2 สมัยไมได)

โครงสรางทางการเมืองของอินโดนีเซียประกอบดวย 7 องคกร คือ

1. สภาที่ปรึกษาประชาชน ประกอบดวย สมาชิกสภาผูแทนราษฎร 550 คน

และสภาผูแทนระดับภูมิภาค 128 คน ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง

หนาที่สำคัญ ของสภาที่ปรึกษาประชาชน คือ แกไขรัฐธรรมนูญแตงตั้งประธานาธิบดี

รองประธานาธิบดี ถอดถอนประธานาธิบดี

2. สภาผูแทนราษฎร ประกอบดวย สมาชิก 550 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ

ดำรงตำแหนงสมัยละ 5 ป

หนาที่สำคัญของสภาผูแทนราษฎร คือ การออกกฎหมาย อนุมัติงบประมาณ กำกับ

การทำงานของรัฐบาล

3. สภาผูแทนระดับภูมิภาค สมาชิกสภาผูแทนระดับภูมิภาคมี 128 คน มาจากการ

เลือกตั้งจังหวัดละ 4 คน

* หลักปญจศีล ไดแก 1. นับถือพระเจาองคเดียว 2. เปนมนุษยที่เจริญและคงไวซึ่งความเที่ยงธรรม

3. ความเปนเอกภาพของอินโดนีเซีย 4. เปนประชาธิปไตย แบบมีผูแทน 5. ความยุติธรรมในสังคมชาวอินโดนีเซีย

ทั้งมวล

Page 11: ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๓ กลุ มสาระ ...academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003197... · 2013-03-19 · สังคมศึกษา

16 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 17สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3

หนาที่สำคัญของสภาผูแทนระดับภูมิภาค คือ เสนอแนะรางกฎหมายตรวจสอบการ

ใชจายงบประมาณของประเทศ

4. สภาประชาชนระดับทองถิ่น จัดใหมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาประชาชนระดับทองถิ่น

ในทุกระดับ (พรอมกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎรและสมาชิกสภาผูแทนระดับภูมิภาค)

5. ประธานาธิบดี เปนประมุขของประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

6. ศาลยุติธรรม รัฐธรรมนูญกำหนดใหอำนาจตุลาการอยูภายใตการดูแลของศาลฎีกา และ

ศาลระดับรองๆ ลงมารวมถึงศาลรัฐธรรมนูญในการแตงตั้งผูพิพากษาศาลฎีกา คณะกรรมาธิการ

ตุลาการเปนผูเสนอชื่อให สภาผูแทนราษฎรรับรองแลวเสนอตอใหประธานาธิบดีเปนผูแตงตั้ง

7. คณะกรรมการตรวจเงินแผนดินสูงสุด สมาชิกคณะกรรมการตรวจเงินแผนดินสูงสุด

ไดรับการคัดเลือกโดยสภาผูแทนราษฎร (โดยรับฟงความคิดเห็นของสภาผูแทนราษฎรระดับ

ภูมิภาค) จากนั้นเสนอใหประธานาธิบดีเปนคนแตงตั้ง

หนาที่สำคัญของคณะกรรมการตรวจเงินแผนดินสูงสุดคือ มีหนาที่รายงานการใชงบประมาณ

ตอสภาผูแทนราษฎร สภาผูแทนระดับภูมิภาคและสภาประชาชนระดับทองถิ่น

1. ลักษณะสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการมี

ความแตกตางกันอยางไร

2. หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยสามารถนำมาใชในวิถีชีวิตไดอยางไร

ยกตัวอยางประกอบ

3. นักเรียนคิดวาถาใหบุคคลเลือกที่จะอยูในประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย

หรือประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ บุคคลจะเลือกอยูในสังคมของการ

ปกครองระบอบใดมากกวา เพราะอะไร

4. ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยเหมือนกันจะมีความคลายคลึงและ

ความแตกตางกันในดานใดบาง

วิเคราะหรัฐธรรมนูญ

แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

กิจกรรมนำการเรียนรูและการคิด

ใหนักเรียนพิจารณาและแยกแยะประเด็นสำคัญเกี่ยวกับหัวขอสำคัญของรัฐธรรมนูญ

แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่นักเรียนสนใจและเห็นวาควรศึกษา แลวคนควา

เรียบเรียงเปนความรูของตนเอง นำเสนอในชั้นเรียน

เพราะเหตุใดประชาชนชาวไทย

จึงตองเรียนรูเรื่องรัฐธรรมนูญแหง

ราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของประเทศซึ่งกำหนดรูปแบบและหลักการในการจัดการ

ปกครอง การใชอำนาจของผูปกครอง การสืบตออำนาจตลอดจนขอบเขตหนาที่ สิทธิและเสรีภาพ

ของประชาชน ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยสวนใหญจะมีรัฐธรรมนูญเปนกฎหมาย

หลักหรือแมบทของกฎหมาย และหามมิใหกฎหมายอื่นใดออกมาขัดแยงกับบทบัญญัติหรือเจตนารมณ

แหงรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญมีความสำคัญ ดังนี้

1. รัฐธรรมนูญเปนกฎหมายสูงสุด เปนหลักหรือแมบทของกฎหมายที่กฎหมายอื่นใด

ออกมาขัดแยงกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไมได

2. รัฐธรรมนูญมีการกำหนดความสำคัญขององคกรทางการเมือง ระบุอำนาจหนาที่ การ

ถวงดุลอำนาจขององคกรทางการเมือง การบริหารองคกร การตรวจสอบการใชอำนาจรัฐ เพื่อใหเกิด

ประสิทธิภาพขององคกรในการบริหารประเทศ

3. รัฐธรรมนูญเปนหลักประกันคุมครองสงเสริมและขยายสิทธิเสรีภาพ และหนาที่ของ

ประชากรในรัฐ กำหนดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่บุคคลพึงไดรับความคุมครองตลอดจนปองกัน

การละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล