4
กาญจนบุรี พาหัวใจไปสัมผัสวิถีชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี สัมผัสวิถีการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า และชุมชนที่เราจะไปเยี่ยมเยือนก็คือ ชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี ตาบลหนองโรง อาเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ชุมชนที่เขาว่ากันว่า เป็นชุมชนแห่งการอนุรักษ์ ส่วนที่นี่มีอะไรน่าสนใจบ้าง เดินทางมาพร้อมๆ กันเลย “ชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี” แห่งนี้มีป่าชุมชน มีวิถีชีวิตที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เริ่มต้นการเดินทาง จากจุดแลนด์มาร์คของกาญจนบุรี นั่นก็คือ สะพานข้ามแม่น้าแคว มุ่งหน้าสู่อาเภอพนมทวน ขับรถมา สักพักมองเห็นป้ายป่าชุมชนฯ ขับรถเลยแยกไฟแดงหนองโรงไปนิดนึง ขับเลยซุ้มประตูวัด ก็จะมองเห็นอาคารหลังใหญ่ๆ จะเจอจุด บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และร้านค้าประชารัฐฯ ที่มีสินค้าและผลิตภัณฑ์จาหน่ายหลากหลายเลยทีเดียว

กาญจนบุรี...ข าวเกร ยบก ง แต ต อมาใช ภ ม ป ญญาชาวบ านประย กต เอาพ ช ผ ก ผลไม

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: กาญจนบุรี...ข าวเกร ยบก ง แต ต อมาใช ภ ม ป ญญาชาวบ านประย กต เอาพ ช ผ ก ผลไม

กาญจนบุร ี

พาหัวใจไปสัมผัสวิถีชุมชนบ้านหว้ยสะพานสามัคคี ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุร ี

สัมผัสวิถีการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า และชุมชนที่เราจะไปเยี่ยมเยือนก็คือ ชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี ต าบลหนองโรง อ าเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ชุมชนท่ีเขาว่ากันว่า เป็นชุมชนแห่งการอนุรักษ์ ส่วนท่ีนี่มีอะไรน่าสนใจบ้าง เดินทางมาพร้อมๆกันเลย “ชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี” แห่งนีม้ีป่าชุมชน มีวิถีชีวิตที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

เริ่มต้นการเดินทาง จากจุดแลนด์มาร์คของกาญจนบุรี นั่นก็คือ สะพานข้ามแม่น้ าแคว มุ่งหน้าสู่อ าเภอพนมทวน ขับรถมาสักพักมองเห็นป้ายป่าชุมชนฯ ขับรถเลยแยกไฟแดงหนองโรงไปนิดนึง ขับเลยซุ้มประตูวัด ก็จะมองเห็นอาคารหลังใหญ่ๆ จะเจอจุดบริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และร้านค้าประชารัฐฯ ที่มีสินค้าและผลิตภัณฑ์จ าหน่ายหลากหลายเลยทีเดียว

Page 2: กาญจนบุรี...ข าวเกร ยบก ง แต ต อมาใช ภ ม ป ญญาชาวบ านประย กต เอาพ ช ผ ก ผลไม

เราเข้าไปดูวิถีของชุมชน และอาชีพของคนท่ีนี่กันดีกว่า แล้วค่อยปิดท้ายที่ป่าชุมชนจะดีกว่า เพราะที่ป่าชุมชน ได้เดินเล่น ดูนก ดูต้นไม้ แบบสบายๆ ไม่ต้องรีบ มาต่อกันที่ บ้านป้าตุ้ม สานเปลไม้ไผ่ สานงูงับขยับข้อ (ป้องกันนิ้วล็อค) ซึ่งเป็นอาชีพหลัก เว้นแต่ว่าถ้ามีคณะศึกษาดูงานมากันหลานๆคน ป้าตุ้มก็จะต้องรับหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยาย และมีลูกมืออีก 5 คน มาช่วยสาธิตการสาน ซึ่งเปลอันใหญ่ ป้าใช้วัตถุดิบจากไม้ไผ่สีสุก ที่มีอยู่ในชุมชนอยู่แล้ว ท้ังที่ปลูกกันตามบ้านและในป่าชุมชน ส่วนเปลเล็กจะใช้ไม้ลวก ซึ่งต้องสั่งซื้อมาจากท่ีอื่น

เริ่มท ากันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ไม่ได้มีที่นาให้ท านา ก็มีแต่วิชาที่พ่อฝากไว้ ให้เป็นสมบัติติดตัวมาสร้างอาชีพ

โดยช่วงก่อนๆ มีลูกค้าจากประเทศอังกฤษมาสั่งให้ท าเปลใหญ่จ านวนมาก แต่ลุงมนัสท าไม่ไหว เพราะแพ้น้ ายาก าจัดมอด จึงเน้นท าขายภายในชุมชน และบางทีก็มีโรงแรมรีสอร์ทมาสั่งซื้อไปตกแต่งสไตล์วิถีไทยกันมาก และที่ส าคัญ บ้านพักโฮมสเตย์ในชุมชนก็ยังสั่งท าไปติดดอกไม้และตกแต่งบ้านพักโฮมสเตย์ในชุมชนอีกด้วย

Page 3: กาญจนบุรี...ข าวเกร ยบก ง แต ต อมาใช ภ ม ป ญญาชาวบ านประย กต เอาพ ช ผ ก ผลไม

อีกหนึ่งอาชีพของชุมชน คือการท าข้าวเกรียบสมุนไพรสีรุ้ง ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี “ต านานข้าวเกรียบกุ้งสู่ข้าวเกรียบสมุนไพรสีรุ้ง” ข้าวเกรียบสมุนไพรสีรุ้งของที่น่ี มีที่มา...เนื่องจากสมัยก่อน คนรุ่นเก่าๆ จะเรียกว่า ข้าวเกรียบกุ้ง แต่ต่อมาใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านประยุกต์เอาพืช ผัก ผลไม้ ดอกไม้ในชุมชน มาท าแทนกุ้ง จนกลายเป็นข้าวเกรียบสีสันสดใสน่ากินพ่ีอัชราภา ยังบอกอีกว่าการท าข้าวเกรียบสีรุ้งนั้นไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายนะ มีทั้งหมด 14 ข้ันตอน แถมยังท าป้ายบอกสูตร บอกกรรมวิธีให้เสร็จสรรพ นอกจากนี้แล้วชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคียังมีบ้านพักโฮมสเตย์ ที่ตอนนี้ชาวบ้านที่นี่เริ่มท ากันเพิ่มขึ้นหลายหลัง เพราะมีนักท่องเที่ยวนิยมมากพักกันมาก ซึ้งโฮมสเตย์ก็จะตกแต่งบ้านพักด้วยสินค้า ผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาของชุมชน ซึ่งหลังบ้านจะปลูกสมุนไพร พืชผักสวนครัว ไว้ท ากับข้าวไว้ต้อนรับแขกท่ีมาพัก ปลอดสารพิษด้วย

Page 4: กาญจนบุรี...ข าวเกร ยบก ง แต ต อมาใช ภ ม ป ญญาชาวบ านประย กต เอาพ ช ผ ก ผลไม

ต่อจากนี้ คือ highlight ของที่นี่ “ป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี” ในอดีตป่าแห่งนี้อุดมสมบูรณ์มาก ต่อมาในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการตัดไม้ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างที่อยู่อาศัย เช้ือเพลิง รางรถไฟ และหมอนรางรถไฟ หลังจากสงครามหมดไป มีโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาจับจองพื้นที่ภายในชุมชน จึงท าให้เกิดการบุกรุกพ้ืนที่ป่าเพื่อท าไร่อ้อยไร่มันส าปะหลังกันมาก ต่อมาในปี 2517 ชาวบ้านได้ร่วมมือร่วมใจสามัคคีกันทวงคืนผืนป่าโดยการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นท่ีป่าให้ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาอีกครั้ง และช่วยกันบริหารจัดการป่า ตามแนวพระราชด าริ ของในหลวง ร.9 คือแนวคิด การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง จนปัจจุบัน ผืนป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานแห่งนี้ มีผลผลิตจากป่าให้ชาวบ้านสามารถท ามาหากินได้ เช่น การหาเห็ดและเก็บสมุนไพร อีกด้วย ต้องปรบมือ ให้กับความรักและความสามัคคีของคนที่นี่ และจะเข้าใจว่า ป่าชุมชนคืออะไร ค าว่า “ป่า” ไม่น่ากลัวในความคิดอีกต่อไป แต่หากคนปรับวิถีเปลี่ยนความคิดให้อยู่กับป่าได้นั้น ความสุขอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมจริงๆ และหากมาบ้านห้วยสะพานสามัคคีในช่วงเดือน ก.พ. - พ.ค. แล้วจะได้ควักลูกตาลกินกันสดๆ ที่ใต้ต้น หรือไปท าขนมจากลูกตาล จาวตาล น้ าตาลสด กินขนมตาล รับรองฟินแน่นอนนนนน