Author
others
View
3
Download
0
Embed Size (px)
หน่วยที่ 1
หน่วยที่ 1
วิวัฒนาการผลิต/กระบวนการผลิต
สาระสำคัญ
การผลิตหมายถึงกระบวนการเปลี่ยนวัตถุดิบหรือวัสดุให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยผ่านการออกแบบที่ใช้วิธีการและเทคนิคสมัยใหม่มาใช้ทำการผลิตโดยมีวิวัฒนาการมาหลายยุค ตั้งแต่ยุคแรก ได้แก่ ยุคหิน จนกระทั่งยุคปัจจุบันได้แก่ ยุค คอมพิวเตอร์และข้อมูลสาระสนเทศ
ซึ่งลักษณะของกระบวนการผลิตแบ่งเป็น กระบวนการทางเทคนิคและกระบวนการผลิตทางเศรษฐศาสตร์
เนื้อเรื่อง
1. วิวัฒนาการผลิต
2. กระบวนการผลิต
3. องค์ประกอบกระบวนการผลิต
4. อุตสาหกรรม
5. พื้นฐานการผลิต
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของการผลิตได้
2. อธิบายวิวัฒนาการผลิต
3. บอกความหมายของกระบวนการผลิต
4. จำแนกประเภทของการผลิตได้
5. อธิบายองค์ประกอบของการผลิตได้
6. บอกความหมายของอุตสาหกรรม
7. บอกองค์ประกอบพื้นฐานการผลิต
1. วิวัฒนาการผลิต
1.1 ยุคหิน
1.2 ยุคสำริด
1.3 ยุคเหล็ก
1.4 การปฏิวัติอุตสาหกรรม
1.5 ยุคเครื่องจักร
1.6 ยุคคอมพิวเตอร์
1.7 ยุคข้อมูลสารสนเทศ
1.1 ยุคหิน
ยุคหินเก่าแบ่งเป็นยุคย่อย ๆ ได้ 3 ระยะ ได้แก่ ยุคหินเก่าตอนต้น ยุคหินเก่าตอนกลาง และยุคหินเก่าตอนปลาย คนในยุคหินเก่าดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเสาะแสวงหาพืชผักผลไม้กินเป็นอาหารมีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมอย่างเต็มที่ กล่าวคือ เมื่อฝูงสัตว์ที่ล่าเป็นอาหารหมดลงก็ต้องอพยพย้ายถิ่นติดตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย ๆ การที่มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่เพราะต้องล่าสัตว์ดังกล่าวอาจทำให้คนต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคไปในตัวด้วย เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของคนในยุคหินเก่าต้องอยู่กับการแสดงหาอาหารและการป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติรวมถึงการต่อสู้ในหมู่พวกเดียวกันเพื่อการอยู่รอด จึงทำให้ต้องพัฒนาเกี่ยวกับเครื่องมือล่าสัตว์ โดยการพัฒนาอาวุธที่ทำด้วยหินสำหรับตัด ขูดหรือ สับ เช่น หอก มี และเข็ม เป็นต้น
1.2 ยุคสำริด
ยุคสำริด (Bronze Age) ยุคสำริดเริ่มต้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกไม่พร้อมกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วแหล่งถิ่นฐานส่วนใหญ่สามารถถลุงสำริดได้เมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว สำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทำสำริดค่อนข้างยุงยาก ตั้งแต่การหาแหล่งแร่ การเตรียม การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั้นจึงเป็นการขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยดารตีหรือการหล่อในแม่พิมพ์หินทราย หรือแม่พิมพ์ดินเผา
เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสำริดที่พบตามแหล่งต่างๆในภูมิภาคต่างๆของโลก นอกจากทำด้วยสำริดแล้วยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากดินเผา หิน และแร่ ในบางแหล่งมีการใช้สำริดต่อเนื่องมาจนถึงยุคเหล็กเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดมีขวาน หอก ภาชนะ กำไล ตุ้มหู ลูกปัด เป็นต้น ในยุคนี้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนไปมากทั้งด้านการเมืองและสังคม ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนเมือง จึงมีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ตามความสามารถ เช่น กลุ่มอาชีพ มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นต่างๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการผลิตอันนำไปสู่ความมั่นคงด้านปัจจัยพื้นฐานและความมั่งคั่งแก่สังคม มนุษย์จึงมีความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิมและมีความสะดวกสบายมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมสู่ความเป็นรัฐในเวลาต่อมา แหล่งอารยธรรมที่สำคัญๆของโลกล้วนมีการพัฒนาการสังคมจากช่วงเวลาสมัยหินใหม่และสมัยสำริดแหล่งอารยธรรมของโลกที่สำคัญและแหล่งวัฒนธรรมบางแห่ง เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหของจีน และแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงในประเทศไทย
1.3 ยุคเหล็ก
ยุคเหล็ก (Iron Age) ช่วงเวลานี้เริ่มต้นจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิตโลหะของมนุษย์สามารถหลอมโลหะประเภทเหล็กขึ้นมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ ซึ่งการผลิตเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก แต่เหล็กความแข็งแกร่งคงทนกว่าโลหะสำริดมาก
สังคมที่สามารถพัฒนาการผลิตเหล็ก จะสามารถพัฒนาสู่ความเป็นรัฐ เพราะการผลิตเหล็กทำให้สังคมสามารถผลิตอาวุธได้ง่ายและแข็งแกร่งขึ้น จนสามารถขยายกองทัพได้ และมีเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรที่มีความคงทนกว่า แหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้คือ แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมื่อ 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว โดยสรุปแล้ว ยุคเหล็กมีความแตกต่างจากยุคสำริดหลายประการ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต การผลิตเหล็กทำให้กองทัพมีอาวุธที่แข็งแกร่ง นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมจนกลายเป็นรัฐที่มีกำลังทหารที่แข็งแกร่งเข้ายึดครองสังคมอื่นๆ ขยายเป็นอาณาจักรในเวลาต่อมา
1.4 การปฏิวัติอุตสาหกรรม
1.4.1 ความหมายของการปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตจากเดิมที่เคยใช้แรงงานคนและสัตว์พลังงานธรรมชาติ หรือเครื่องมือง่าย ๆ ในสังคมเกษตรกรรมมาเป็นใช้เครื่องจักรกลผลิตสินค้าในระบบโรงงานอุตสาหกรรมทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณมาก การปฏิวัติอุหกรรมเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษก่อน เมื่อประมาณ ค.ศ.1760 หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และค่อย ๆ แพร่ขยายไปยังประเทศยุโรปและชาติตะวันตกอื่น ๆ เป็นเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อประชากรโลกอย่างมาก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคมและวัฒนธรรม
1.4.2 ระยะของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1.4.2.1 การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรก ประมาณ ค.ศ.1760 เรียกว่า “สมัยแห่งพลังไอน้ำ” เนื่องจากมีการค้นพบพลังไอน้ำและนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทอผ้า ทั้งนี้ เป็นเพราะอังกฤษมีแหล่งถ่านหินและเหล็ก ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงและวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์รวมทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องจักรกลใหม่ ๆ ซึ่งนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เครื่องจักรกลและอุตสาหกรรมที่สำคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรก มีดังนี้
(1) อุตสาหกรรมทอผ้า สิ่งประดิษฐ์ในระยะแรก ๆ เป็นเครื่องจักรกลที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า เช่น
- เครื่องทอผ้า ที่เรียกว่า “กี่กระตุก” ของ จอห์น เคย์ (John Kay)
- เครื่องปั่นด้าย “สปินนิง มูล” (Spinning Mule) ของแซมมวล ครอมป์ตัน (SamuelCrompton) ปั่นด้ายได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง
- เครื่องทอผ้า ที่เรียกว่า หูกทอผ้า “พาเวอร์ ลูม” (Power Loom) ของเอ็ดมันด์ คาร์ตไรท์ (Edmund Cartwright) ทำให้อุตสาหกรรมทอผ้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว
(2) เครื่องจักรไอน้ำ เป็นผลงานของ เจมส์ วัตต์ (James Watt) นักประดิษฐ์ชาวสก็อต ในปี ค.ศ.1786 เป็นผลให้อุตสาหกรรมทอผ้าฝ้ายของอังกฤษประสบความสำเร็จอย่างงดงาม
(3) อุตสาหกรรมเหล็ก มีการนำเหล็กมาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะด้านการคมนาคม เช่น ทำรางรถไฟ ตู้รถสินค้าของรถไฟ ฯลฯ จึงมีผู้เรียกการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงแรกว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็ก” (Age of Iron)
1.4.2.2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม ระยะที่สอง ประมาณปี ค.ศ.1860-1914 มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง เป็นยุคที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม และไฟฟ้า (ส่วนถ่านหินและเครื่องจักรไอน้ำลดความสำคัญลง) อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลที่ทำด้วยเหล็กกล้า (Steel) และอุตสาหกรรมเคมี จึงมีผู้เรียกการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงที่สองนี้ว่า“การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็กกล้า" (Age of Steel )
1.4.3 ความก้าวหน้าและการขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1.4.3.1 การค้นพบวิธีการผลิตเหล็กกล้า ในปี ค.ศ.1856 และการใช้พลังงานใหม่ ๆ แทนที่ ถ่านหิน ได้แก่ พลังงานจากก๊าซ น้ำมันปิโตรเลียม และไฟฟ้า เป็นผลให้อุตสาหกรรมของทวีปยุโรปขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเมื่อเหล็กกล้ามีราคาถูกลงทำให้อุตสาหกรรมหนัก เช่น การต่อเรือ การคมนาคม และการผลิตเครื่องจักรกลต่าง ๆ พัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
1.4.3.2 การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีประเทศในภาคพื้นยุโรปหลายประเทศประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเยอรมนีกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าและเป็นคู่แข่งที่สำคัญของอังกฤษ
1.4.3.3 การเกิดประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมของโลก ก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 1(ค.ศ.1914-1918) อังกฤษยังคงมีฐานะเป็นประเทศผู้นำทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก โดยเยอรมนีเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงมากที่สุด จนกระทั้งในปี ค.ศ.1920 จึงเกิดประเทศคู่แข่งสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และญี่ปุ่น
1.4.3.4 การเกิดระบบการบริหารและการจัดการทางอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการบริหารงานในระบบโรงงานที่มีประสิทธิภาพ เช่น มีการแบ่งงานกันทำเป็นฝ่ายหรือแผนก
1.4.4 ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1.4.4.1 การเพิ่มของจำนวนประชากร โดยเฉพาะประเทศอังกฤษและเยอรมนีมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง และความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข
1.4.4.2 การขยายตัวของสังคมเมือง เกิดเมืองใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการอพยพของผู้คนในชนบทเข้ามาทำงานในเมือง ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา โดยเฉพาะปัญหาชุมชนแออัด และเกิดอาชีพใหม่ ๆ หลากหลาย
1.4.4.3 การแสวงหาอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศยุโรปที่มีการปฏิวัติการผลิตด้านอุตสาหกรรมีความจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และขยายตลาดระบายสินค้าที่ผลิตจึงเกิดการแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย
1.4.4.4 ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้โลกมีการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง เช่น มีการนำวัสดุอื่น ๆ มาใช้ผลิตแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น พลาสติก และโลหะที่มีน้ำหนักเบา ระบบใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน เป็นต้น http://pojjamansk.exteen.com/20090624/entry
1.5 ยุคเครื่องจักร
เมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการการผลิตเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ดีขึ้น จึงก่อให้เกิดแนวคิดการสร้างเครื่องจักรกลโดยอาศัยการทำงานของฟันเฟืองเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการคำนวณที่ยุ่งยากและซับซ้อนมาก ๆ ซึ่งขอยกตัวอย่างเครื่องที่อยู่ในยุคสมัยเครื่องจักรกลได้ดังนี้
1.5.1 นาฬิกาคำนวณ ( Calculating Clock) ในปี ค.ศ.1623 วิลเฮล์ม ชิคการ์ด ( Wilhelm Schickard) แห่งมหาวิทยาลัยเทอร์บิงเจน ( University of Tubingen) ประเทศเยอรมันนีได้สร้างนาฬิกาคำนวณ (Calculating Clock) ขึ้น โดยใช้แนวคิดของเนเปียร์มาประยุกต์ใช้ วิธีการทำงานของเครื่องอาศัยตัวเลขต่าง ๆ บรรจุบนทรงกระบอกจำนวน 6 ชุด แล้วใช้ฟันเฟืองเป็นเครื่องหมุนทดเวลาคูณเลข ซึ่งถือได้ว่าเขาเป็นผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องกลไกสำหรับคำนวณได้เป็นคนแรก
Wilhelm Schickard กับนาฬิกาที่เขาประดิษฐ์ขึ้น http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/page20.htm
1.5.2 เครื่องคำนวณของปาสคาล ( Pascaline Calculator) ปี ค.ศ. 1642 เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้สร้างเครื่องมือช่วยบวกเลข เรียกว่า เครื่องคำนวณของปาสคาล (Pascaline Calculator) ขึ้น โดยมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม หลักการคำนวณอาศัยการหมุนฟันเฟืองหนึ่งอัน หากถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เช่นเดียวกับการทดเลข สำหรับผลการคำนวณจะดูได้ที่ช่องด้านบน เครื่องมือนี้สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณบวกและลบเท่านั้น ส่วนการคูณและหารยังไม่ดีเท่าไรนัก
1.5.3 เครื่องทอผ้าของแจคการ์ด ( Jacquard’s loom) ในปี ค.ศ.1801 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อโจเซฟ มารี แจคการ์ด ( Joseph Marie Jacquard) ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าให้สามารถควบคุมลวดลายหรือแบบต่าง ๆ ที่ต้องการได้เองอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ที่ไม่มีความชำนวญในการทอผ้า (มือใหม่) สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย เครื่องชนิดนี้เรียกว่า เครื่องทอผ้าของแจคการ์ด (Jacquard’s loom) โดยเพียงแต่นำเอาตัวบัตรเจาะรูที่เป็นแม่แบบของลวดลายผ้าที่ใส่เข้าไปในตัวเครื่องนี้ การทอหรือยกลายตามแม่แบบชุดคำสั่ง (รูที่เจาะไว้บนบัตร) ก็จะทำได้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ก่อให้เกิดการสร้างคอมพิวเตอร์ให้ได้ทำงานตามชุดคำสั่งในเวลาต่อมา
1.6 ยุคคอมพิวเตอร์ http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_02.htm
ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ
1.6.1 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC) มาร์ค วัน
รูปแสดงคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 www.chandra.ac.th
1.6.2 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
1.6.3 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง
1.6.4 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
1.6.5 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง
1.7 ยุคข้อมูลสารสนเทศ
1.7.1 ความหมาย
1.7.1.1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นคะแนนสอบวิชาภาษาไทย ราคาสินค้า จำนวนนักเรียนในโรงเรียน 1.7.1.2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่าง ๆแล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการการประมวล (Data Processing)เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อแปรสภาพข้อมูลให้เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ
1.7.2 ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
1. ส่วนที่นำเข้า (Inputs) ได้แก่การรวบรวมและการจัดเตรียมข้อมูลดิบ ส่วนที่นำเข้านี้สามารถมีได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการโทรเข้าเพื่อขอข้อมูลในระบบสอบถามเบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลที่ลูกค้ากรอกในใบ สอบถามการให้บริการของร้านค้าฯลฯ ขึ้นอยู่กับส่วนแสดงผลที่ต้องการ ส่วนที่นำเข้านี้อาจเป็นขบวนการที่ทำด้วยตัวเองหรือเป็นแบบอัตโนมัติก็ได้ เช่นการอ่านข้อมูลรายชื่อสินค้าและรายราคาโดยเครื่องอ่าน บาร์โค้ดของห้างสรรพสินค้า จัดเป็นส่วนที่นำเข้าแบบอัตโนมัติ
2. การประมวลผล (Processing) เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนและการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของส่วนแสดงผลที่มีประโยชน์ ตัวอย่างของการประมวลผลได้แก่การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเลือกทางเลือกในการปฏิบัติงานและการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในอนาคต โดยการประมวลผลสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือสามารถใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น ระบบคิดเงินเดือนพนักงาน สามารถคิดได้จากการนำจำนวน ชั่วโมงการทำงานของพนักงานคูณเข้ากับอัตราค่าจ้างเพื่อให้ได้ยอดเงินรวมที่ต้องจ่ายรวม ถ้าชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์มากกว่า 40 ชั่วโมงอาจมีการคิดเงินล่วงเวลาให้ โดยเพิ่มเข้าไปกับเงินรวม จากนั้นอาจจะทำการหักภาษีพนักงาน โดยการนำเงินรวมมาคิดภาษีและนำเงินรวมมาลบด้วยภาษีที่คำนวณได้ จะทำให้ได้เงินสุทธิที่ต้องจ่ายให้กับพนักงาน
3. ส่วนที่แสดงผล (Outputs) เกี่ยวข้องกับการผลิตสารสนเทศที่มีประโยชน์ มักจะอยู่ในรูปของเอกสาร หรือรายงานหรืออาจะเป็นเช็คที่จ่ายให้กับพนักงาน รายงานที่นำเสนอผู้บริหารและสารสนเทศที่ถูกผลิตออกมาให้กับผู้ถือหุ้น ธนาคาร หรือกลุ่มอื่นๆ โดยส่วนแสดงผลของระบบหนึ่งอาจใช้เป็นส่วนที่นำเข้าเพื่อควบคุมระบบหรืออุปกรณ์อื่นๆ ก็ได้ เช่นในขบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ พนักงานขาย ลูกค้า และ นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์อาจจะทำการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะใช้ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบนี้ด้วย จนกระทั่งได้ต้นแบบที่ตรงความต้องการมากที่สุด จึงส่งแบบนั้นไปทำการผลิต จะเห็นว่าแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ได้จากการออกแบบแต่ละครั้งจะเป็นส่วนที่ถูกนำไปปรับปรุงการออกแบบในครั้งต่อๆ ไป จนกระทั่งได้แบบ สุดท้ายออกมา อาจอยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ที่ออกมาจากเครื่องพิมพ์หรือแสดงอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์แสดงผลตัวหนึ่งหรืออาจจะอยู่ในรูปของรายงานและเอกสารที่เขียนด้วยมือก็ได้
4. ผลสะท้อนกลับ (Feedback) คือส่วนแสดงผลที่ใช้ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อส่วนที่นำเข้าหรือส่วนประมวลผล เช่น ความผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลนำเข้าหรือทำการเปลี่ยนแปลงการประมวลผลเพื่อให้ได้ส่วนแสดงผลที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ระบบการจ่ายเงินเดือนพนักงาน ถ้าทำการป้อนชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์เป็น 400 แทนที่จะเป็น 40 ชั่วโมง ถ้าทำการกำหนดให้ระบบตรวจสอบค่าชั่วโมงการทำงานให้อยู่ในช่วง 0-100 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อพบข้อมูลนี้เป็น 400 ชั่วโมง ระบบจะทำการส่งผลสะท้อนกลับออกมา อาจจะอยู่ในรูปของรายงานความผิดพลาด ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบและแก้ไขจำนวนชั่วโมงการทำงานที่นำเข้ามาคำนวณให้ถูกต้องได้
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาด
2. กระบวนการผลิต
2.1 ความหมาย
การผลิต หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนวัตถุดิบหรือวัสดุให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยผ่านการออกแบบที่ใช้วิธีการและเทคนิคสมัยใหม่มาใช้ทำการผลิต
2.2 ลักษณะของกระบวนการผลิต
ลักษณะของกระบวนการผลิตมี 2 ลักษณะคือ
1. การผลิตโดยกระบวนการทางเทคนิค
2. กระบวนการผลิตทางเศรษฐศาสตร์
กระบวนการผลิตทางเทคนิค
กระบวนการผลิตทางเศรษฐศาสตร์
ความสามารถในการผลิต
1.ความสามารถทางเทคโนโลยีของกระบวนการผลิต
2.ข้อจำกัดทางกายภาพของผลิตภัณฑ์
3.กำลังการผลิต
พื้นฐานการผลิตที่สำคัญ มี 3 ประการ
1. เทคโนโลยีการผลิต
2. ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์
3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์
แผนภูมิการผลิต
2.3. องค์ประกอบกระบวนการผลิต http://machiney.igetweb.com/articles
การเริ่มต้นกรรมวิธีการผลิตสมัยใหม่ เกิดชิ้นเมื่อนาย Eli Whitney ได้ใช้เครื่องปั้นฝ้ายแปรรูปเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ก่อน ค.ศ. 1800 ขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาทางด้านนี้เกิดขึ้นทั่วโลก สมัยสงครามกลางเมือง ความรุนแรงทำให้เกิดกำลังกระตุ้นในกรรมวิธีการผลิตของสหรัฐอเมริกา จุดเริ่มต้นของการทดลองและวิเคราะห์ในกรรมวิธีการผลิตได้เกิดขึ้นครั้งใหญ่เมื่อนาย Fred W. Taylor พิมพ์รายงานของเขาเกี่ยวกับศิลปะการตัดโลหะ ซึ่งให้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์หลังจากสมัยของนาย Eli whitney ต่อมานาย Myron L. Begeman ซึ่งเป็นนักสังเกตและวิจัยได้รายงานการพัฒนาใหม่ ๆ ในกรรมวิธีการผลิตเกี่ยวกับวัสดุในอุตสาหกรรมแต่ก็ยังไม่แพร่หลายใสมัยนั้น
ความหมายของการผลิต
คำว่าการผลิตในภาษาอังกฤษใช้กันอยู่ 2 คำ คือ Production และ Manufacturing ซึ่งมีความหมายที่ต่างกันดังนี้
Production หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นทั้งในรูปของสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค
Manufacturing หมายถึง การผลิตสินค้าที่สามารถจับต้องได้ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร กระป๋องและอื่นๆ ผลผลิตที่ได้แบ่งออกเป็น
1.สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer goods) เช่นวิทยุ ทีวี เครื่องเรือน ยารักษาโรคและอื่น ๆ
2.สินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Producer goods) คือสินค้าที่จะต้องนำไปผลิตต่อ เช่น เหล็กแผ่น เหล็กเส้น ยางแผ่น หนังสัตว์
องค์ประกอบกระบวนการผลิต
4. อุตสาหกรรม
4.1 ความหมายของอุตสาหกรรม
คำว่าอุตสาหกรรม หมายถึง การทำสิ่งของเพื่อให้เป็นสินค้าหรือทำอะไรก็ตาม อันทำให้ผลที่ออกมามีมูลค่าเพิ่มในทางด้านเศรษฐกิจ
4.2 ประเภทของอุตสาหกรรม
4.2.1 แบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมในโลกอาจจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1) อุตสาหกรรมที่นำหรือสกัดทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ เช่นการเพาะปลูก การป่าไม้
2) อุตสาหกรรมการผลิต เป็นการนำเอาวัตถุดิบมาปรุงแต่งดัดแปลง
3) อุตสาหกรรมบริการ เป็นการดำเนินการในลักษณะการให้บริการ เช่น การค้าขาย
4.2.2 ประเภทของอุตสาหกรรมแบ่งตามขนาดออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้แก่ อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมเคี อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือและเครื่องจักร
2) อุตสาหกรรมขนาดกลางได้แก่ อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมประกอบหรือผลิตเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
3) อุตสาหกรรมขนาดย่อม เป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวหรืออุตสาหกรรมหัตถกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
4.2.3 จำแนกตามจำนวนการผลิตได้ดังนี้คือ
1) การผลิตจำนวนมาก (Mass production) อาจพูดได้ว่าเป็นการผลิตอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผลผลิตเกินกว่า 100,000 ชิ้นต่อปี ตัวอย่างง่ายๆ ของการผลิตแบบนี้ ได้แก่กากรผลิตไม้ขีด ขวด หมวก ดินสอ รถยนต์ นอต สะบัก แฟวนสปริง สายไฟและลวด
2) Moderate production ผลผลิตที่ได้จะน้อยกว่าการผลิตแบบ Mass production จำนวนผลิตจะอยู่ระหว่าง 2500 ชิ้น ถึง 100,000 ชิ้นต่อปี ตัวอย่างผลิตภัณฑ์แบบนี้ได้แก่ การพิมพ์หนังสือ เครื่องส่งวิทยุ เข็มทิศเครื่องบิน
3) Job lot production เป็นการผลิตที่มีความผันแปรมาและจำนวนการผลิตจะถูกจำกัดด้วยจำนวนขายมาก เครื่องจักรที่ผลิตเป็นแบบอเนกประสงค์สามารถทำได้หลายอย่าง การผลิตแต่แต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 10 ถึง 500 ชิ้นต่อรุ่น
4.2.4 การจำแนกตามผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
1) อาหารและกรรมวิธีการผลิตอาหาร
2) เครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3) เครื่องยนต์และอุปกรณ์การขนส่ง
4) อุปกรณ์สุขภัณฑ์ เครื่องปั้น อุปกรณ์ความร้อน ความเย็น
5) สิ่งก่อสร้าง
6) เครื่องเรือนและงานไม้
7) ผลิตภัณฑ์เครื่องหิน หอน ดินเหนียวแบะแก้ว
8) ผลิตภัณฑ์โลหะเบื้องต้นและอื่น ๆ
4.3 หลักทั่วๆ ไปของอุตสาหกรรมการผลิต ทรัพยากรที่จำเป็น 3 ประการ ในอุตสาหกรรมทุกประเภท
1. ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม
2. ทรัพยากรมนุษย์(Human Resources) หมายถึงทั้งความคิด และกำลังกายในการผลิตสิ่งต่าง ๆ
3. ทรัพยากรทุน (Capital Resources) ซึ่งหมายถึง เงิน โรงงาน เครื่องจักร กำลังงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกการขนส่ง
4.4 องค์ประกอบของอุตสาหกรรม เรียงลำดับตั้งแต่ต้นมีดังนี้
1) การวิจัยและพัฒนา (Research and development)
2) เครื่องมือในการผลิต (Production tooling)
3) การควบคุมการผลิต (Production control)
4) การควบคุมคุฯภาพ (Quality control)
5) การจัดการงานบุคคล (Personal management)
6) การผลิต (Manufacturing)
7) การตลาด (Marketing)
4.5 หลักเกณฑ์การผลิตในแง่ของเศรษฐกิจ
ราคาของผลิตภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน การขาย สถานที่และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับเครื่องจักร
สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงในการใช้เครื่องจักรกลคือ ประสิทธิภาพของเครื่องจักรในการทำงาน จะต้องใช้ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อลดเวลาและแรงงานในการผลิต
หลักเกณฑ์ 3 ประการของการผลิตที่ควรคำนึงถึงในแง่เศรษฐกิจ
1. มีประโยชน์ใช้สอยแบะมีคุณภาพที่เหมาะสม
2. เลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติที่ดีทางด้ายกายภาพ
3. เลือกวิธีการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน
5. พื้นฐานการผลิต
5.1 การเลือกเครื่องจักรและกรรมวิธีการผลิต
กรรมวิธีการผลิตที่ดีนั้นต้องการเครื่องมือเครื่องจักรที่สามารพผบิตได้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจและมีความแน่นอนเที่ยงตรง ซึ่งขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เครื่องจักรและกรรมวิธีการผลิตที่เหมาะสม เครื่องจักแบบอเนกประสงค์เช่น เครื่องกลึง เครื่องเจาะ และเครื่องไส ส่วนเครื่องจักที่ใช้กับงานเฉพาะอย่าง ควรจะใช้กับงานที่ต้องการผลิตจำนวนมาก ๆ
ข้อที่ควรพิจารณาคือ ปริมาณของผลิตภัณฑ์ คุณภาพ ประโยชน์ใช้สอยและขีดจำกัดในการทำงานของเครื่องจักร
ความแตกต่างระหว่างเครื่องจักรอเนกประสงค์ (General purpose equipment) กับเครื่องจักรเฉพาะประสงค์ (Special purpose equipment)
เครื่องจักรอเนกประสงค์
เครื่องจักรเฉพาะประสงค์
1.สามารถปฏิบัติงานกับวัสดุได้หลายชนิด
1.สามารถปฏิบัติงานกับวัสดุได้เฉพาะอย่าง
2.สามารถปรับเครื่องให้ทำการผลิตได้อย่าง
ยืดหยุ่น รับชิ้นงานได้หลายแบบ
2.ผลิตงานได้น้อยแบบ เพราะออกแบบมาให้
ผลิตได้เฉพาะอย่าง
3.ใช้ในกิจการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง
3.ใช้ในกิจการผลิตแบบต่อเนื่อง
4.ผลิตสินค้าได้มากชนิด แต่ได้ปริมาณน้อย
4.ผลิตสินค้าได้น้อยชนิด แต่ได้ปริมาณมาก
5.ใช้คนงานจำนวนมาก และต้องมีทักษะสูง
5.ใช้คนงานน้อย และทักษะไม่สูง
6.ราคาถูก
6.ราคาแพง
7.หาซื้อง่าย
7.หาซื้อยาก
8.ซ่อมแซมง่าย
8.ซ่อมแซมยาก
9.ไม่ล้าสมัย ขายต่อราคาไม่ตก
9.ล้า สมัยง่าย ขายต่อราคาตก
5.2 ปัจจัยด้านการผลิต
ปัจจัยด้านการผลิตเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาด้วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างสมบูรณ์ต้องทำให้สามารถผลิตสิ่งนั้นได้ด้วย ปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญมีหลายประเภทดังนี้
5.2.1 การเลือกกระบวนการผลิตที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับกับปริมาณการผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีอยู่หรือสามารถหาเพิ่มได้ กรรมวิธีสร้างชิ้นส่วนขึ้นมาอาจจะใช้การหล่อด้วยเบ้าทราย การอัดเข้าแบบ การตีเข้าแบบ การปั๊ม หรือการหล่อด้วยผงโลหะ ในการตัดดลหะอาจจะใช้เครื่องกลคงเครื่องกัด เครื่องไส เครื่องเจาะ เครื่องขัด หรือเครื่องตัด การติดชิ้นส่วนอาจจะใช้จะปูเกลียว นอต หรือการเชื่อม
5.2.2 การใช้วัสดุหรือส่วนประกอบที่ซื้อจากแหล่งอื่นจำเป็นจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติและคุณภาพที่ต้องการ เช่น เลือกใช้พลาสติกแทนโลหะและจะมีน้ำหนักเบา ไม่ผุกร่อนง่าย และราคากกว่า แต่จะไม่แข็งแรงเท่าโลหะ
5.2.3 การระบุพิกัดความเผื่อ คือช่วงที่ยอมให้ขนาดหรือปริมาฯมีค่ามากหรือน้อยกว่ามาตรฐานได้ เช่น การการให้เส้นผ่าศูนย์กลางของลูกสูบมีขนาด 100+- 0.1 มม. หมายความว่าถ้าลูกสูบมีขนาดระหว่าง 99.9 มม. ถึง 100.1 มม. ก็นับว่าใช้ได้
5.2.4 การออกแบบให้ง่ายขึ้น หมายถึงการทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยลดเวลาการใช้เครื่องจักรและแรงงานการประหยัดเวลาย่อมทำให้ต้นทนการผลิตลดลง
5.2.5 การออกแบบโดยให้มีชิ้นส่วนประกอบขนาดมาตรฐาน
1) สามารถเปลี่ยนชินส่วนประกอบได้ง่าย และช่วยลดงานในการแยกเก็บชิ้นส่วนต่าง ๆ ตลอดเพียงแต่บอกขนาดโดยไม่ต้องเห็นของก็เลือกได้ถูก
2) ผลิตได้ครั้งละมากๆ เพราะต้องการจำนวนมาก
3) สะดวกในการวางแผนและควบคุมงานผลิต
4) ช่วยในด้านฝึกพนักงานเพระไม่เปลี่ยนงานบ่อย ๆ
5) ช่วยลดงานธุรการเกี่ยวกับทำบัญชีพัสดุ การบันทึก และเอกสารต่าง ๆ
6) ช่วยในการรักษาระดับคุฯภาพตามมาตรฐานสากลซึ่งช่วยเพิ่มการส่งสินค้า
5.3 ประเภทของกรรมวิธีการผลิตแยกออกได้ 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
5.3.1 กรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัสดุ
1) การถลุงสินแร่ ได้โลหะและอโลหะ
2) การหล่อ
3) การแปรรูปหรือขึ้นรูปในภาพร้อนและเย็น
4) การขึ้นรูปด้วยวัสดุผง
5) แบบพลาสติก
5.3.2 กรรมวิธีการใช้เครื่องจักรผลิตชิ้นส่วนให้ได้ขนาดตามต้องการ
1) กรรมวิธีการแปรรูปแบบมีเศษ
2) กรรมวิธีการแปรรูปแบบไม่มีเศษ
5.3.3 กรรมวิธีการตกแต่งผิววัสดุชิ้นงานให้เรียบ
1) การขัดปัดเป่าส่วนที่ไม่ต้องการออกให้เรียบ
2) การขัดเงา ขัดมัน
3) การชุบเคลือบผิว
5.3.4 กรรมวิธีการประกอบชิ้นงาน กรต่อหรือประสานงานเข้าด้วยกัน
5.3.5 กรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพ
กรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัสดุ
ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมเกี่ยวกับโลหะ ส่วนมากจะมีต้นกำเนิดสืบเนื่องมาจากการหล่อหลอมหรือการถลุงสินแร่ แล้วเทลงในแบบโลหะหรือแกรไฟต์ที่มีขนาดและรูปร่างตามต้องการ ซึ่งเราเรียกว่าโลหะแท่ง (Ingot) เพื่อที่จะนำไปแปรรูปในขั้นต่อไป
กรรมวิธีการผลิตขั้นต้นที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัสดุมีดังนี้
1. การหล่อ(Casting) หมายถึง การนำวัสดุมาหล่อหลอมให้เป็นของเหลวโดยใช้ความร้อน แล้วเทลงบนแบบหรือใช้วิธีการอัด
2. การตี (Forging) หมายถึง การนำวัสดุมาแปรรูปร่างให้ได้ตามแบบที่ต้องการโดยการตี เช่น ช่างตีเหล็ก
3. การอัดขึ้นรูป (Extruding) หมายถึง กรรมวิธีการอัดโลหะ ซึ่งอยู่ในสภาพเป็นกึ่งละลาย
4. การม้วน (Rolling) หมายถึง กรรมวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานโดยการม้วน เช่น การาวนดละแผ่นเป็นรูปทรงกระบอก ทรงกรวย เป็นต้น
5. การดึงขึ้นรูป (Drawing) หมายถึง กรรมวิธีการดังวัสดุชิ้นงานเพื่อให้ยึดออกจากเดิมในลักษณะความยาวเพิ่มขึ้น
6. การอัดขึ้นรูปแบบแม่พิมพ์ (Squeezing) หมายถึง กรอัดขึ้นรูปแบบแม่พิมพ์ทราย ดยใช้แรงกระแทกทรายให้ได้รูปร่างและขนาดตามแบบ
7. การบด (Crushing) หมายถึง กรรมวิธีการทิวชิ้นงานให้เรียนโดยวิธีการบด เช่น การบดหน้ายาวไอดีไอเสีย
8. การเจาะอัดขึ้นรูป (Piercing) หมายถึง กรรมวิธีผลิตท่อไม่มีตะเข็บ แท่งเหล็กถูกไส่เข้าไประหว่างลูกกลิ้งสองลูก
9. การตีหรือการอัด (Swaging) หมายถึง การแปรรูปชิ้นงานโดยการตีหรืออัดกระแทก เพื่อให้ได้ชิ้นงานตามแบบแม่พิมพ์ เล่น การผลิตสลัก หมุดย้ำ
10. การดัด (Bending) หมายถึงกรรมวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานโดยวิธีการดัด
11. การตัด (Shearing) หมายถึง กรรมวิธีกาตัดเฉือนวัสดุชิ้นงานเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
12. การหมุนขึ้นรูป (spinning) หมายถึงกรรมวิธีการหมุนขึ้นขึ้นรูป
13. การดันขึ้นรูป (Stretch forming)
14. การม้วนขึ้นรูป (Roll forming)
15. การตัดด้วยหัวกัดแก๊ส (torch cutting)
16. การใช้พลังงานอัดขึ้นรูป (Explosive forming)
17. การใช้กระแสไฟฟ้าและไฮดรอลิกขึ้นรูป (Electrohydraulic forming)
18. การใช้อำนาจแม่เหล็กขึ้นรูป (magnetic forming)
19. การเคลือบผิวชิ้นงานโดยใช้การะแสไฟฟ้า (Electroforming)
20. การขึ้นรูปโดยใช้ผงโลหะ (Powder metal forming)
21. แบบแม่พิมพ์พลาสติก (Plastic molding)
กรรมวิธีการใช้เครื่องจักรผลิตชิ้นส่วนให้ได้ขนาดตามต้องการ
กรรมวิธีการแปรรูปแบบมีเศษ
1.การกลึง (Turning)
2.การไสงานแบบงานเคลื่อนที่เข้าหามีด (Planing)
3.การไสแบบมีดเคลื่อนที่เจ้าหาชิ้นงาน (Shaping)
4.การเจาะ (Drilling)
5.การเจาะผายปากรูของชิ้นงาน (Boring)
6.การคว้าน (Reaming)
7.การเลื่อย (Sawing)
8.การแทงขึ้นรูป (Broaching)
9.การกัด (Milling)
10.การเจียระไน (Grinding)
11.การทำแบบแม่พิมพ์ (Hobbing)
กรรมวิธีการแปรรูปแบบไม่มีเศษ
1.Ultrasonic 6.Chem-milling
2.Electrical discharge 7.Abrasive jet cutting
3.Electro-arc 8.Electron beam machining
4.optical lasers 9.Plasma-arc machining
5.Electrochemical 10.Water Jet Maching
กรรมวิธีการตกแต่งผิววัสดุชิ้นงาน
กรรมวิธีในขั้นนี้แยกประเภทออกได้ดังนี้
1. การขัดผิวชิ้นงานทั่วไป (Ploishing)
2. การขัดผิวด้วยเครื่องขัดสายพาน (Abrasive belt grinding)
3. การขัดโดยใส่ในถังหมุน (Barrel tumbling)
4. การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า (Electroplating)
5. การขัดพวกลิ้นไอดีไอเสีย (Honing)
6. การใช้ชิ้นงานสองชิ้นขัดด้วยกัน (Lapping)
7. การขัดแบบพิเศษ (Huperfinishing)
8. การพ่นเม็ดโลหะ (Metal sprying)
9. การเคลือบด้วยสารอนินทรีย์ (Inorganic coatings)
10.การเคลือบผิวด้วยวิธีการทางเคมี (Parkerizing)
11.การเคลือบผิวงานประเภทอะลูมิเนียม (Anodizing)
กรรมวิธีการประกอบชิ้นงาน การต่อหรือประสานวัสดุชิ้นงานเข้าด้วยกัน
โดยปกติการยึดติดกันนั้นสามารถใช้กรรมวิธีต่าง ๆ ดังนี้
1.การเชื่อมต่อ (Welding) เป็นกรรมวิธีกรต่อชิ้นงานให้ติดกัน โดยการให้ความร้อนแก่ชิ้นงานจนหลอมละลายติดกัน
2. การบัดกรีอ่อน (Soldering)
3. การบัดกรีแข็ง (Brazing) การต่อชิ้นงานให้ติดกันโดยให้ความร้อนสูงกว่า 800 องศาฟาเรนไฮด์
4. การใช้แรงอัดผงยึดติดกัน (Sintering)
5. การอัดยึด (Pressing)
6. การย้ำหมุด (Riveting) เป็นการทำให้ชิ้นงานติดกันโดยการย้ำหมุด
7. การใช้สลักเกลียวยึด (Screw Fastening)
8. การใช้กาวยึดเหนี่ยว (Adhesive joining)
กรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติวัสดุชิ้นงานทางกายภาพ
1. การอบชุบ (Heat treatment)
2. การแปรรูปหรือขึ้นรูปในสภาพร้อน (Hot Working)
3. การแปรรูปหรือขึ้นรูปในสภาพเย็น( Cold Working)
4. การพ่นหรือยิงผิววัสดุชิ้นงาน (Shot Peening)
แบบฝึกหัด
1. การผลิต หมายถึง
2. การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ
3. จงอธิบายผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
4. สารสนเทศ (Information) หมายถึง
5. ข้อมูล (Data) หมายถึง
6. ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย
7. อุตสาหกรรม หมายถึง
8. จงอธิบายการผลิตแบบ Job lot production
9. จงอธิบายการผลิตแบบ Mass production
10. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างเครื่องจักรแบบ อเนกประสงค์ (General purpose equipment) กับเครื่องจักรเฉพาะประสงค์ (Special purpose equipment)
แบบทดสอบ
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดเป็นความหมายของการผลิต
ก. การนำวัตถุดิบผ่านเครื่องจักร
ข. การนำเครื่องจักรมาช่วยแทนแรงงานคน
ค. กระบวนการเปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ง. กระบวนการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยและมีราคาแพงมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
2.ในระบบการผลิตข้อใดเป็นปัจจัยนำเข้า
ก. การออกแบบ
ข. การผลิต
ค. การจัดการ
ง. การศึกษา
3. วิวัฒนาการผลิตในยุคใดเป็นช่วงเริ่มต้นจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิตโลหะของมนุษย์
ก. ยุคหิน
ข. ยุคสำริด
ค. ยุคเหล็ก
ง. ยุคเครื่องจักร
4. อุตสาหกรรมในครอบครัวเป็นการผลิตประเภทใด
ก. ขนาดใหญ่
ข. ขนาดกลาง
ค. ขนาดย่อม
ง. ในครัวเรือน
5. ระบบการผลิตของโตโยต้า แบบ Just in Time คือข้อใด
ก. ทันเวลาพอดี ทำงานให้พอดีเวลา วางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี
ข. การใช้หลักการชุดหนึ่งในการระบุและกำจัดความสูญเปล่า
ค. การนำระบบพลังงานร่วมมาใช้ในการผลิต
ง. ระบบการผลิตโดยจัดการสิ่งแวดล้อม
6. ข้อใดคือลักษณะของเครื่องจักรเฉพาะประสงค์คือ
ก. ราคาถูก
ข. หาซื้อง่าย
ค. ซ่อมแซมง่าย
ง. ผลิตอย่างต่อเนื่อง
7. ข้อใดคือลักษณะของเครื่องจักรเอนกประสงค์
ก. ผลิตได้อย่างยืดหยุ่น
ข. ผลิตอย่างต่อเนื่อง
ค. ราคาแพง
ง. ผลิตสินค้าได้น้อยชนิด แต่ได้ปริมาณมาก
8. ความหมายของอุตสาหกรรมคือ
ก. การทำสิ่งของเพื่อให้เป็นสินค้าหรือทำอะไรก็ตามที่ออกมามีมูลค่าเพิ่มในทางด้านเศรษฐกิจ
ข. การนำเครื่องจักรมาช่วยแทนแรงงานคนทำเป็นสินค้าหรือทำอะไรก็ตามที่ออกมามีมูลค่าเพิ่ม
ค. การทำสิ่งของเพื่อให้เป็นสินค้าหรือทำอะไรก็ตามที่ออกมามีมูลค่าเพิ่ม
ง. การจัดการให้เป็นสินค้าหรือทำอะไรก็ตามที่ออกมามีมูลค่าเพิ่ม
9. องค์ประกอบใดไม่เป็นพื้นฐานการผลิต
ก. เทคโนโลยีการผลิต
ข. ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์
ค. การพัฒนาผลิตภัณฑ์
ง. การจัดการ
10. สารสนเทศ (Information) หมายถึงข้อใด
ก. ข่าวสาร �