Author
others
View
0
Download
0
Embed Size (px)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ส 21201 หน้าที่พลเมือง 1กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เวลา 8 ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
1.หน่วยการเรียนรู้ที่1 ชื่อหน่วยงามอย่างไทย
2.ผลการเรียนรู้
1. มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มารยาทไทย
2. แสดงออกถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละต่อสังคม
3.สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
มารยาทไทยเป็นวัฒนธรรมไทยที่ได้รับการยอมรับจากสังคมว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม ควรปฏิบัติและอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่กับสังคมไทย รวมถึงการเป็นคนที่มีจิตสาธารณะ คือมีความเสียสละ มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หมายถึงการ แสดงออกด้วยใจจริงถึงความไม่เห็นแก่ตัว การสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อช่วยเหลือ และหรือ ทำประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นหรือสังคม โดยการสละกำลังกาย ทรัพย์สิ่งของ สติปัญญา เวลาและ ความสุขสบายส่วนตัว
4.สาระการเรียนรู้
1.มารยาทไทย
- การแสดงความเคารพ
- การสนทนา
- การแต่งกาย
- การมีสัมมาคารวะ
2.ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม
5.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ใฝ่เรียนรู้
มุ่งมั่นในการทำงาน
รักความเป็นไทย
มีจิตสาธารณะ
7.ชิ้นงาน/ภาระงาน
ภาระงานรวบยอด
· การแสดงบทบาทสมมุติเรื่องการแสดงมารยาทไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ
8. การวัดและการประเมินผล
ข้อที่
ประเด็นการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
รวม
3
2
1
1
ภาษา
2
เนื้อหา
3
รูปแบบการแสดง
4
เวลา
5
ความมีส่วนร่วมในการแสดง
รวม
รายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินผล
ประเด็นการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
4
3
2
1
ภาษา
- มีการเลือกใช้คำและสร้างประโยคในการสื่อสารได้อย่างสร้างสรรค์- ผู้แสดงสามารถสื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจได้อย่างดีเยี่ยม
- มีการเลือกใช้คำและสร้างประโยคในการสื่อสารได้อย่างสร้างสรรค์พอใช้- ผู้แสดงสามารถสื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจได้ดี
- มีการเลือกใช้คำและสร้างประโยคในการสื่อสารได้ไม่ค่อยสร้างสรรค์- ผู้แสดงสามารถสื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจได้พอใช้
- มีการเลือกใช้คำและสร้างประโยคในการสื่อสารได้อย่างสร้างสรรค์- ผู้แสดงสามารถสื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจได้ไม่ดี
เนื้อหา
-เนื้อหาตรงกับหัวข้อที่ได้รับ
- เนื้อหาการแสดงมีความสร้างสรรค์ดีมาก
-เนื้อหาตรงกับหัวข้อที่ได้รับ
- เนื้อหาการแสดงมีความสร้างสรรค์ดี
-เนื้อหาตรงกับหัวข้อที่ได้รับ
- เนื้อหาการแสดงมีความสร้างสรรค์พอใช้
-เนื้อหาตรงกับหัวข้อที่ได้รับ
- เนื้อหาการแสดงไม่มีความสร้างสรรค์
รูปแบบการแสดง
- การแสดงสร้างสรรค์และดึงดูดความสนใจดีมาก
- การแสดงสร้างสรรค์และดึงดูดความสนใจดี
- การแสดงสร้างสรรค์และดึงดูดความสนใจดีพอใช้
- การแสดงไม่สร้างสรรค์และไม่ดึงดูดความสนใจ
เวลา
- การแสดงอยู่ในเวลา 6-7 นาที- มีการเตรียมพร้อมดีเยี่ยมและแสดงได้ในวัน เวลาที่กำหนด
- การแสดงมากกว่าหรือน้อยกว่าในช่วงเวลา 6-7 นาที 30 วินาที- มีการเตรียมพร้อมดีและแสดงได้ในวัน เวลาที่กำหนด
- การแสดงมากกว่าหรือน้อยกว่าในช่วงเวลา 6-7 นาที 1 นาที- มีการเตรียมพร้อมพอใช้และแสดงได้ในวัน เวลาที่กำหนด
- การแสดงมากกว่าหรือน้อยกว่าในช่วงเวลา 6-7 นาที มากกว่า 2 นาที- ไม่มีการเตรียมพร้อมและไม่สามารถแสดงได้ในวัน เวลาที่กำหนด
ความมีส่วนรวมในการแสดง
- ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการแสดงอย่างดีเยี่ยมและเท่าเทียมกัน
- ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการแสดงดีและค่อนข้างเท่าเทียมกัน
- ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการแสดงไม่ค่อยเท่าเทียมกัน
- บางคนในกลุ่มไม่ได้ร่วมการแสดง
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
ของผู้รับการประเมิน
การปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ความมีวินัยในตนเอง
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ
รวม
12 คะแนน
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
(ลงชื่อ............................................................(……………………………………………………)………/………../……...)เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก= 4
ดี= 3
พอใช้= 2
ปรับปรุง= 1
9.กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมที่ 1 (ชั่วโมงที่ 1-2)
1. ครูสนทนากับนักเรียนเรื่อง เอกลักษณ์ของไทยที่เป็นที่ประทับใจของชาวต่างชาติว่า มีอะไรบ้าง โดยให้นักเรียนยกตัวอย่าง และครูจดรวบรวมบนกระดาน เช่น
- การไหว้ - รอยยิ้ม - อาหารไทย
- ประเพณีไทย - ความมีน้ำใจ
2. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า สิ่งที่นักเรียนยกตัวอย่างล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดีงามและถือเป็นเอกลักษณ์ของไทย โดยเฉพาะการไหว้ เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมไทยที่ดีงามและเป็นเอกลักษณ์สำคัญของไทย
3. ครูขออาสาสมัครนักเรียน 2 คน ออกมาสาธิตการไหว้บุคคลต่างๆที่ฐานะแตกต่างกันตามที่ครูกำหนด แล้วให้เพื่อนนักเรียนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นครูกล่าวชมเชยตัวแทนนักเรียนที่กล้าแสดงออกในทางที่สร้างสรรค์
4. ครูเปิด Video Clip เกี่ยวกับมารยาทไทยให้นักเรียนดูและให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง มรรยาทไทย จาก Internet แล้วสรุปสาระสำคัญจดลงในสมุด
5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง มรรยาทไทย
6. ครูคัดเลือกนักเรียนชายและหญิง 1 คู่ ออกมาสาธิตการแสดงมรรยาทไทยที่ถูกต้องให้เพื่อนดูที่หน้าชั้นเรียน โดยครูคอยอธิบายวิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องและสวยงามเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปฝึกปฏิบัติ
7. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน คละกันตามความสามารถ แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันฝึกปฏิบัติการแสดงมรรยาทไทยที่ถูกต้อง โดยครูคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
กิจกรรมที่ 2 (ชั่วโมงที่ 3-4)
8. ครูสอบถามถึงผลของการฝึกปฏิบัติการแสดงมรรยาทไทย แล้วให้ตัวแทนนักเรียนออกมาจับสลากลำดับหมายเลขการสาธิตมรรยาทไทยที่หน้าชั้นเรียน
9. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาสาธิตมรรยาทไทยที่หน้าชั้นเรียน ตามหมายเลขที่จับสลากได้ โดยครูและเพื่อนนักเรียนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
10. ครูกล่าวชมเชยนักเรียนเรียนกลุ่มที่สามารถปฏิบัติได้ดี และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในกลุ่มที่มี การปฏิบัติบกพร่อง เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปปรับปรุงให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
11. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับผลดีของการปฏิบัติตนตามมรรยาทไทยแล้วบันทึกผลการอภิปรายจดลงในสมุด
12. ครูให้นักเรียนบันทึกการปฏิบัติตนตามมรรยาทไทยในชีวิตประจำวัน โดยให้นักเรียนสำรวจว่าได้ปฏิบัติตนตามมรรยาทไทยหรือไม่ และปฏิบัติอย่างไร
13. นักเรียนออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน โดยครูและเพื่อนนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ
กิจกรรมที่ 3 (5-8)
14. จัดกลุ่มนักเรียนกลุ่ม 4-5 คน
15. นักเรียนเตรียมการแสดงบทบาทสมมติ เรื่องมรรยาทไทยในสถานการณ์ต่างๆ โดยแบ่งหัวข้อดังต่อไปนี้
- การแสดงความเคารพ
- การสนทนา
- การแต่งกาย
- การมีสัมมาคารวะ
16. ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์การแสดงบทบาทสมมุติดังกล่าว และให้ข้อเสนอแนะ
17. ครูให้นักเรียนจัดทำรายงาน เรื่อง มรรยาทไทยในสถานการณ์ต่างๆ เมื่อทำเสร็จแล้วนำส่งครูตรวจ
10. สื่อการเรียนรู้
1. Internet
2. Video Clip มารยาทไทย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ส 21201 หน้าที่พลเมือง 1กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เวลา 6 ชั่วโมง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ศิลปะวัฒนธรรม
2.ผลการเรียนรู้
3. เห็นคุณค่า อนุรักษ์และสืบสานขนมธรรมเนียมประเพณีศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
3.สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
มีส่วนร่วมเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
4.สาระการเรียนรู้
ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
5.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มีวินัย
ใฝ่เรียนรู้
มุ่งมั่นในการทำงาน
มีจิตสาธารณะ
7.ชิ้นงาน/ภาระงาน
ภาระงานรวบยอด
· บันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชน
8. การวัดและการประเมินผล
ข้อที่
ประเด็นการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
1
เข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมและรับผิดชอบทุกครั้ง
มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมบางครั้ง
ส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมแต่ไม่เข้าร่วม
2
อนุรักษ์และสืบสานขนมธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาไทย
เป็นผู้นำในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมและอธิบายการอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี
มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมทุกครั้งและอธิบายการอนุรักษ์ได้
ส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมโดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
ส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมแต่ไม่สามารถอธิบายถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ได้
9.กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมที่ 1 (ชั่วโมงที่ 1-4)
1. นักเรียนดู Video Clip เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมและภูมิปัญญาไทยของแต่ละภาค
2. ดูภาพการร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมของทุกภาค
3. นักเรียนแบ่งกลุ่มค้นคว้างข้อมูลข่าวสารศิลปวัฒนธรรมขนมธรรมเนียมภูมิปัญญาไทย โดยแบ่งกลุ่มรับผิดชอบ 4 กลุ่มตามแต่ละภาค 4 ภาค
4. สมาชิกแต่ละกลุ่ม นำเสนอผลงานข้อมูลของแต่ละภาคว่าแตกต่างกันอย่างไร
· ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมแต่ละภาค
· ผลดีต่อสังคมและประเทศชาติ
5. แต่ละกลุ่มบอกผลดี ของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและภูมิปัญญาไทย เช่น
· ศิลปวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ฯลฯ
· ศิลปวัฒนธรรมของภาคตะวันออก เช่น การวิ่งควาย ฯลฯ
· ศิลปวัฒนธรรมของภาคกลาง เช่น ประเพณีทำขวัญข้าว ฯลฯ
· ศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ เช่น ประเพณีชักพระ ฯลฯ
6. นักเรียนครู ร่วมกัน สรุปแนวทางการอนุรักษ์ เห็นคุณค่าและสืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยและภูมิปัญญาไทย
กิจกรรมที่ 2 (ชั่วโมงที่ 5-6)
7. นักเรียนสังเกตการณ์อนุรักษ์และการเข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี
· แต่ละกลุ่มเล่ากิจกรรม แต่ละภาคที่ประทับใจ
8. สมาชิกแต่ละกลุ่ม อภิปรายประเด็นดังนี้
· การเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมของขนบธรรมเนียมและภูมิปัญญาไทยมีผลต่อชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ อย่างไรบ้าง
· การอนุรักษ์ด้านศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมและภูมิปัญญาไทยมีผลดีต่อชุมชน/สังคม/ประเทศชาติอย่างไร
· นำข้อคิดที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการดำเนินชีวิต
· ผู้ฟังตั้งคำถามเสนอแนะแนวคิดเพิ่มเติม
9. ครูนักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญด้านศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาไทย
10. ครูมอบหมายให้แต่ละกลุ่มบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมของชุมชน
10. สื่อการเรียนรู้
1. วีดิโอ เรื่อง ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาไทย
2. ภาพกิจกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาไทย
3. ภาพกิจกรรม เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ส 21201หน้าที่พลเมือง 1 กลุ่มสาสระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 จำนวนเวลา 5 ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
1. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ผลการเรียนรู้
4. เป็นแบบอย่างของความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
5. ประยุกต์และเผยแพร่พระบรมราโชวาท หลักการทรงงาน และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
สัญลักษณ์ของชาติไทยประกอบไปด้วยชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องหมายสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติไทย ที่ทุกคนควรภาคภูมิใจและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
4. สาระการเรียนรู้
1. การปฏิบัติตนที่แสดงออกถึง
- ความรักชาติ
- การยึดมั่นในศาสนา
- การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
2. พระบรมราโชวาท
- มีเหตุผล
- รอบคอบ
3. หลักการทรงงาน
- การใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
- การปลูกป่าในใจคน
5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการคิด
2. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. รักความเป็นไทย
7. ชิ้นงาน / ภาระงาน
1. ผังความคิดเรื่อง “ความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย”
2. หนังสือเล่มเล็ก “ประวัติและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่นักเรียนประทับใจ”
8. การวัดและประเมินผล
1. เกณฑ์การประเมิน
2. แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคล
- ครูประเมินนักเรียน
- นักเรียนประเมินตนเอง
- เพื่อนประเมินเพื่อน
3. แบบสรุปผลการประเมิน
เกณฑ์การประเมิน
ประเด็นการประเมิน
ระดับคุณภาพ
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ผังความคิดเรื่อง “ความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย”
นักเรียนสามารถเขียนผังความคิดได้ถูกต้องครบถ้วน สะอาดเรียบร้อย
นักเรียนสามารถเขียนผังความคิดได้แต่ต้องรับฟังคำชี้แนะจากครู สะอาดเรียบร้อยโดยมีจุดผิดพลาด 1-2 จุด
นักเรียนสามารถเขียนผังความคิดได้แต่ต้องรับฟังคำชี้แนะจากครูเป็นส่วนใหญ่ สะอาดเรียบร้อยโดยมีจุดผิดพลาด
3 - 4 จุด
หนังสือเล่มเล็ก “ประวัติและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่นักเรียนประทับใจ”
นักเรียนส่งผลงานครบถ้วนและตรงตามเวลาที่กำหนด
นักเรียนส่งผลงานครบถ้วน แต่ช้ากว่ากำหนด 1-2 วัน
นักเรียนส่งผลงานครบถ้วน แต่ช้ากว่ากำหนด 3-4 วัน
วิธีการให้คะแนน
การให้คะแนน ให้คะแนนจากผลการประเมินของครู เพื่อน และตนเอง มาคิดคะแนนรวมกันโดยกำหนดสัดส่วนคะแนน ดังนี้
ครูให้คิดคะแนนเต็ม 12 คะแนนจากคะแนนเต็ม20 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 60
เพื่อนให้คิดคะแนนเต็ม 4 คะแนนจากคะแนนเต็ม20 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 20
ตนเองให้คิดคะแนนเต็ม 4 คะแนนจากคะแนนเต็ม20 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 20
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล (สำหรับครู)
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
สมาชิกกลุ่ม
พฤติกรรม
รวม
ผังความคิด
หนังสือเล่มเล็ก
1
3
2
1
3
2
1
6
2
3
4
5
6
7
8
9
10
เกณฑ์การให้คะแนน
ดี=3
ปานกลาง=2
ปรับปรุง=1
ลงชื่อ............................................................
(..............................................................)
............/.............../............
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล (สำหรับตนเอง)
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
สมาชิกกลุ่ม
พฤติกรรม
รวม
ผังความคิด
หนังสือเล่มเล็ก
1
3
2
1
3
2
1
6
2
3
4
5
6
7
8
9
10
เกณฑ์การให้คะแนน
ดี=3
ปานกลาง=2
ปรับปรุง=1
ลงชื่อ............................................................
(..............................................................)
............/.............../............
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล (สำหรับเพื่อน)
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
สมาชิกกลุ่ม
พฤติกรรม
รวม
ผังความคิด
หนังสือเล่มเล็ก
1
3
2
1
3
2
1
6
2
3
4
5
6
7
8
9
10
เกณฑ์การให้คะแนน
ดี=3
ปานกลาง=2
ปรับปรุง=1
ลงชื่อ............................................................
(..............................................................)
............/.............../............
9. กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมชั่วโมงที่ 1-2
1. นักเรียนดูภาพเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แล้วครูใช้คำถามกระต้นความคิดว่า “นักเรียนสามารถแสดงออกถึงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ได้อย่างไร”
2. นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติไทย โดยครูถามว่า “เมื่อพูดถึงชาติไทยนักเรียนจะนึกถึงอะไรบ้าง”
3. นักเรียนดูภาพธงชาติไทย แล้วร่วมกันสนทนาถึงประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย
4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปและแสดงความคิดเห็น ลงในผังความคิดเกี่ยวกับ“ความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย”
กิจกรรมชั่วโมงที่ 3
5. ครูนำภาพการทำบุญตักบาตรให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศาสนาที่สำคัญของประเทศไทยแล้วครูอธิบายเพิ่มเติมว่า “คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาและนำหลักธรรมคำสอนมาเป็นแนวในการดำเนินชีวิตจึงถือว่าศาสนาพุทธเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของชาติไทย”
6. ครูถามนักเรียนว่านับถือศาสนาอะไรบ้าง และนักเรียนสามารถนำหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง”
กิจกรรมชั่วโมงที่ 4-5
7. ครูให้นักเรียนบอกพระนามของพระมหากษัตริย์ที่นักเรียนรู้จัก
8. นักเรียนดูวีดิโอเกี่ยวกับประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช
9. แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่นักเรียนประทับใจ
10. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอเกี่ยวกับประวัติและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่นักเรียนประทับใจ
11. นักเรียนสรุป ประวัติและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่นักเรียนประทับใจ เป็นหนังสือเล่มเล็ก
10. สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
1. ภาพเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แล้ว
2. ภาพธงชาติไทย
3. ภาพการทำบุญตักบาตร
4. วีดิโอเกี่ยวกับประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ทบทวน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ส 21201 หน้าที่พลเมือง 1กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เวลา 5 ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ วิถีประชาธิปไตย
2.ผลการเรียนรู้
6. ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
10. ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง
3.สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม มีการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่หาความรู้และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อันเป็นพื้นฐานของการเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
4.สาระการเรียนรู้
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
- มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของสังคม
- การตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
2. คุณลักษณะของผู้มีวินัยในตนเอง
- ความซื่อสัตย์สุจริต
- ขยันหมั่นเพียร อดทน
- ใฝ่หาความรู้
- ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่
- ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
- ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- ความสามารถในการแก้ปัญหา
6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- ซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัยในตนเอง
- ใฝ่เรียนรู้
- มุ่งมั่นในการทำงาน
- มีจิตสาธารณะ
7.ชิ้นงาน/ภาระงาน
ภาระงานรวบยอด- บันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
8.การวัดและประเมินผล
1. เกณฑ์การประเมิน
2. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
เกณฑ์การประเมิน
ประเด็นการประเมิน
ระดับคุณภาพ
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
1.ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองดี
(การมีส่วนร่วม)
มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม และมีส่วนร่วมในการตัดสินในในการแก้ปัญหาและรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้น
มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาโดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมแต่ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
2.มีวินัยในตนเอง
(ขยันหมั่นเพียร อดทนและตั้งใจปฏิบัติหน้าที่)
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความไม่ย่อท้อและมีการตรวจสอบปรับปรุงงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความไม่ย่อท้อและมีการตรวจสอบแต่ไม่นำผลมาปรับปรุงงาน
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความไม่ย่อท้อโดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
ไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3.ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ ความซื่อสัตย์
อุทิศกำลังกายหรือกำลังทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนและไม่กระทบต่อตนเองและผู้อื่น
อุทิศกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
อุทิศกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งมีครูเป็นผู้แนะนำ
อุทิศกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยหวังผลตอบแทน
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
ลำดับที่
ชื่อ – สกุล
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม
ปฏิบัติหน้าที่เป็นพลเมืองดี
(การมีส่วนร่วม)
มีนัยในตนเอง(ขยันหมั่นเพียร และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่)
รวม
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
12
เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก= 4
ดี= 3
พอใช้=2
ปรับปรุง=1
ลงชื่อ………………………………….
(………………………………………)
……./……../……..
9.กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมที่ 1 พลเมืองดี2 ชั่วโมง
ขั้นนำ
1. นักเรียนดูภาพข่าวเกี่ยวการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี เช่น ข่าวแท็กซี่เก็บของมีค่าของผู้โดยสารได้แล้วนำไปส่งมอบให้แก่ตำรวจ ข่าวการมีส่วนร่วมในชุมชน เช่น การขุดลอกคลอง การทำความสะอาดชุมชน การเข้าแถวซื้ออาหาร
2. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์การกระทำของบุคคลภาพที่แสดงถึงคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองดี เช่น ความซื่อสัตย์ การปฏิบัติตนตามหน้าที่ของตนเอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
3. ครูอธิบายเนื้อหาเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสอน
4. นักเรียนแบ่งกลุ่มร่วมกันสืบค้นข่าวสารเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมที่แสดงถึงการเป็นพลเมืองดี ในประเด็นต่อไปนี้
- ลักษณะของกิจกรรมการมีส่วนร่วม
- ผลดีต่อผู้ปฏิบัติ
- ผลดีต่อสังคมและประเทศชาติ
- การนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
5. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปข้อมูลในรูปแบบแผนผังความคิดพร้อมออกมานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นสรุป
6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคุณลักษณะการเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
กิจกรรมที่ 2 การดูแลรักษาสาธารณสมบัติ3 ชั่วโมง
ขั้นนำ
1. ครูให้นักเรียนร่วมกันยกตัวอย่างสถานที่หรือสาธารณสมบัติของชุมชน
2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงความสำคัญของสาธารณสมบัติในชุมชนที่ต้องร่วมกันดูแลรักษา
ขั้นสอน
3. นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกันเลือกและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การปลูกต้นไม้ การรักษาความสะอาด และดูแลสาธารณสมบัติของชุมชน การอนุรักษ์วัฒนธรรม การรณรงค์ประหยัดพลังงานและต่อต้านยาเสพติด
4. สมาชิกแต่ละกลุ่มวางแผนการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ แล้วนำไปปฏิบัติและบันทึกผล
5. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายการเข้าร่วมกิจกรรมในประเด็นต่อไปนี้
· การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะพลเมืองดีอย่างไรบ้าง
· ผลการเข้าร่วมกิจกรรม ส่งผลดีต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมอย่างไร
· นักเรียนได้แสดงความเอื้อเฟื่อเผื่อ เสียสละ อย่างไรบ้าง
· ข้อคิดที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
6. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการอภิปรายและประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
ขั้นสรุป
7. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความสำคัญและความจำเป็นของการเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
8. ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนบันทึกพฤติกรรมของตนลงในสมุดบันทึกความดี และส่งตามเวลาที่กำหนด เพื่อประเมินผลงานตามประเด็นต่อไปนี้
· การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม
· การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละ และมีความซื่อสัตย์
· ความขยันหมั่นเพียร อดทน และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่
10.สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
- ภาพข่าวพลเมืองดี
- ภาพกิจกรรมการทำประโยชน์ต่อสังคม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ส 21202หน้าที่พลเมือง 2 กลุ่มสาสระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 จำนวนเวลา 5 ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
1. หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมทางการเมือง
2. ผลการเรียนรู้
7. มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจตรวจสอบข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ
3. สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจต่อกิจกรรมของห้องเรียนและโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง
4. สาระการเรียนรู้
1. การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจต่อกิจกรรมของห้องเรียนและโรงเรียนย
2. การตรวจสอบข้อมูลในการปฏิบัติกิจกรรมของการมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดในห้องเรียนและกิจกรรมเวรสีของสภานักเรียน
5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
4. มีจิตสาธารณะ
7. ชิ้นงาน / ภาระงาน
1. การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
2. คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
8. การวัดและประเมินผล
1. เกณฑ์การประเมิน
2. แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคล
- ครูประเมินนักเรียน
- นักเรียนประเมินตนเอง
- เพื่อนประเมินเพื่อน
3. แบบสรุปผลการประเมิน
เกณฑ์การประเมิน
ประเด็นการประเมิน
ระดับคุณภาพ
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ปฏิบัติหน้าที่เป็นพลเมืองดี (การมีส่วนร่วม)
การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมละมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการแก้ปัญหาและรับผิดชอบในผลมีเกิดขึ้น
การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมละมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการแก้ปัญหา
การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมละมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการแก้ปัญหาโดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมแต่ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการแก้ปัญหา
มีวินัยในตนเอง (ขยันหมั่นเพียร และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ )
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความไม่ย่อท้อและมีการตรวจสอบปรับปรุงงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความไม่ย่อท้อและมีการตรวจสอบแต่ไม่นำผลมาปรับปรุงงาน
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความไม่ย่อท้อโดยมรครูเป็นผู้แนะนำ
ไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
การเป็นผู้นำและสมาชิกที่ดี
ปฏิบัติตนเป็นผู้นำที่ดีมากและเป็นสมาชิกที่ดีมากของกลุ่ม
ปฏิบัติตนเป็นผู้นำที่ดีและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
ปฏิบัติตนเป็นผู้นำที่ดีและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มโดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
ไม่ปฏิบัติตนเป็นผู้นำที่ดีหรือเป็นสมาชิกที่ดี
วิธีการให้คะแนน
การให้คะแนน ให้คะแนนจากผลการประเมินของครู เพื่อน และตนเอง มาคิดคะแนนรวมกันโดยกำหนดสัดส่วนคะแนน ดังนี้
ครูให้คิดคะแนนเต็ม 12 คะแนนจากคะแนนเต็ม20 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 60
เพื่อนให้คิดคะแนนเต็ม 4 คะแนนจากคะแนนเต็ม20 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 20
ตนเองให้คิดคะแนนเต็ม 4 คะแนนจากคะแนนเต็ม20 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 20
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล (สำหรับครู)
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
ปฏิบัติหน้าที่เป็นพลเมืองดี
มีวินัยในตนเอง
การเป็นผู้นำและสมาชิกที่ดี
รวม
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
12
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก=4
ดี=3
พอใช้=2
ปรับปรุง=1
ลงชื่อ............................................................
(..............................................................)
............/.............../............
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล (สำหรับตนเอง)
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
ปฏิบัติหน้าที่เป็นพลเมืองดี
มีวินัยในตนเอง
การเป็นผู้นำและสมาชิกที่ดี
รวม
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
12
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก=4
ดี=3
พอใช้=2
ปรับปรุง=1
ลงชื่อ............................................................
(..............................................................)
............/.............../............
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล (สำหรับเพื่อน)
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
ปฏิบัติหน้าที่เป็นพลเมืองดี
มีวินัยในตนเอง
การเป็นผู้นำและสมาชิกที่ดี
รวม
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
12
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก=4
ดี=3
พอใช้=2
ปรับปรุง=1
ลงชื่อ............................................................
(..............................................................)
............/.............../............
9. กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมที่ 1 (ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์) เวลา 5 ชั่วโมง
ขั้นนำ
12. ครูและนักเรียนร่วมกันพิจารณาว่ามีใครบ้างที่เคยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การทำความสะอาดกิจกรรมเวรสีสภานักเรียน กิจกรรมปลูกต้นไม้ในโรงเรียน เป็นต้น
13. นักเรียนนำเสนอเป็นรายบุคคลถึงกิจกรรมละวิธีการปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม
14. นักเรียนดูภาพการร่วมกิจกรรมของนักเรียนในโรงเรียน เช่น ภาพทำความสะอาด และกิจกรรมต่าง ๆเช่น เวรสีของสภานักเรียนเป็นต้น
ขั้นที่ 1 การรวบรวมข่าวสารข้อมูลข้อเท็จจริง ความรู้ และหลักการ
15. นักเรียนแบ่งกลุ่มร่วมกันสืบค้นการมีส่วนร่วมของเพื่อน ๆ และครูในกิจกรรมต่าง ๆ ของห้องเรียนและโรงเรียนที่แสดงถึงการมีส่วนร่วม โดยการสัมภาษณ์ และปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความรับผิดชอบ
ขั้นที่ 2 การประเมินคุณค่าและประโยชน์
16. สมาชิกในแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้สัมภาษณ์มาเล่าสู่กันฟังและวิเคราะห์ ตามประเด็นต่อไปนี้
· ลักษณะสำคัญของกิจกรรม
· ผลดีต่อผู้ปฏิบัติ
· ผลดีต่อห้องเรียนและโรงเรียน
· สิ่งที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
17. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปข้อมูลจากการวิเคราะห์ที่แสดงถึงผลดีของการปฏิบัติตนที่มีส่วนร่วมของห้องเรียนและโรงเรียน โดยครูและสมาชิกกลุ่มร่วมกันเสนอแนะและตรวจสอบความถูกต้อง
ขั้นที่ 3 การเลือกและตัดสินใจ
18. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันเลือกและตัดสินใจอย่างมีเหตุผลเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อห้องเรียนและโรงเรียน
· การรักษาความสะอาดบริเวณห้องเรียนและโรงเรียน
· ร่วมกิจกรรมเวรสีของสภานักเรียน
· ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้
ขั้นที่ 4 สมาชิกแต่ละกลุ่มวางแผนการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อห้องเรียนและโรงเรียนโดยใช้กิจกรรม 5 ห้องชีวิต (โดยเลือกปฏิบัติเพียง 1 กิจกรรม) จากนั้นนำประยุกต์ปฏิบัติใช้ในการดำเนินชีวิตมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบแล้วบันทึกผลที่เป็นประโยชน์ต่อห้องเรียนและโรงเรียนโดยแสดงถึงการปฏิบัติ ดังนี้
· การร่วมมือกันทำกิจกรรมของสมาชิกในกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
· มีวินัยในตนเอง ( ขยันหมั่นเพียร และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่)
ขั้นสรุป
นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความสำคัญและแนวทางการปฏิบัติตนของการมีส่วนร่วมกิจกรรม สร้างความรับผิดชอบในการตัดสินใจต่อกิจกรรมที่มีผลดีต่อห้องเรียนและโรงเรียนโดยเล่าความประทับใจจากนั้นนักเรียนบันทึกลงสมุด แล้วส่งครูผู้สอน
10. สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
1. ภาพกิจกรรมการทำประโยชน์ต่อห้องเรียนและโรงเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ส 21202 หน้าที่พลเมือง 2กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เวลา 8 ชั่วโมง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ความสามัคคี
2.ผลการเรียนรู้
8. ยอมรับความหลากหลายทางสังคม-วัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
3.สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธีและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง
4.สาระการเรียนรู้
1. ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเรื่องวิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา สิ่งแวดล้อม
2. การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม และการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
- เคารพซึ่งกันและกัน
- ไม่แสดงกิริยาและวาจาดูหมิ่นผู้อื่น
- ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักแบ่งปัน
3. นักเรียนมีวินัยในตนเองในการปฏิบัติหน้าที่
5.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มีความสามัคคี
มีวินัย
มุ่งมั่นในการทำงาน
มีจิตสาธารณะ
7.ชิ้นงาน/ภาระงาน
ภาระงานรวบยอด
· บันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
8. การวัดและการประเมินผล
ข้อที่
ประเด็นการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
1
การปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย(การมีส่วนร่วม)
มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาและรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้น
มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาโดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมและมีแต่ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
2
ความมีวินัยในตนเอง ขยันหมั่นเพียรและตั้งใจปฏิบัติหน้าที่
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความไม่ย่อท้อและมีการตรวจสอบปรับปรุงงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความไม่ย่อท้อและมีการตรวจสอบแต่ไม่นำผลมาปรับปรุงงาน
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความไม่ย่อท้อโดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
ไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม
อุทิศกำลังกายหรือกำลังทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนและไม่กระทบต่อตนเองและผู้อื่น
อุทิศกำลังกายหรือกำลังทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
อุทิศกำลังกายหรือกำลังทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนซึ่งมีครูเป็นผู้แนะนำ
อุทิศกำลังกายหรือกำลังทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยหวังผลตอบแทน
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
ของผู้รับการประเมิน
การปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ความมีวินัยในตนเอง
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ
รวม
12 คะแนน
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
(ลงชื่อ............................................................(……………………………………………………)………/………../……...)เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก= 4
ดี= 3
พอใช้= 2
ปรับปรุง= 1
9.กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมที่ 1 (ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์) (ชั่วโมงที่ 1-3)
11. นักเรียนดู Video Clip เกี่ยวกับวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
12. นักเรียนดูภาพและสังเกตความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเรื่องวิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา สิ่งแวดล้อม และร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลถึงผลที่คาดว่าจะได้รับจากกิจกรรมในภาพ ครูเชื่อมโยงให้นักเรียนเห็นว่ากิจกรรมเหล่านั้นในแต่ละประเทศมีความหลากหลายในเรื่องความสามัคคีอย่างไร
ขั้นที่ 1 การรวบรวมข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้และหลักการ
13. นักเรียนแบ่งกลุ่มร่วมกันสืบค้นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความสามัคคีของประชาชนในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันอออกเฉียงใต้ ครูชี้แจงวิธีการทำงานกลุ่มร่วมกัน และการปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความรับผิดชอบ
ขั้นที่ 2 การประเมินค่าและประโยชน์
14. สมาชิกในแต่กลุ่มนำข้อมูลจากการสืบค้นมาเล่าสู่กันฟัง แล้ววิเคราะห์ตามประเด็นต่อไปนี้
· ลักษณะสำคัญของกิจกรรม
· ผลดีต่อผู้ปฏิบัติ
· ผลดีต่อสังคมและประเทศชาติ
· สิ่งที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
15. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปข้อมูลจากการวิเคราะห์ที่แสดงถึงผลดีของการปฏิบัติตนเป็นผู้มีความสามัคคีแล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ กลุ่มผู้ฟังร่วมกันเสนอแนะเพิ่มเติม ครูตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม
16. นักเรียนร่วมกันเขียนผังมโนทัศน์แสดงแนวทางความสามัคคีกิจกรรมต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ขั้นที่ 3 การเลือกและการตัดสินใจ
17. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันเลือกและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมที่แสดงถึงความสามัคคี
· การทำเวรสี
· การทำงานกลุ่ม
ขั้นที่ 4 การปฏิบัติ
18. สมาชิกแต่ละกลุ่มวางแผนการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงถึงความสามัคคี แล้วนำไปปฏิบัติและบันทึกผลการปฏิบัติในแบบบันทึกผลการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
ขั้นที่ 5 สรุป
19. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปแนวทางการปฏิบัติตนเป็นผู้มีความสามัคคี และผลดีต่อบุคคล สังคมและประเทศชาติ
กิจกรรมที่ 2 (กระบวนการสร้างความตระหนัก) (จำนวน 2 ชั่วโมง)
ขั้นสังเกต
20. นักเรียนสังเกตทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในเรื่องความสามัคคีของประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผลัดกันเล่าความประทับใจ หรือประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรมที่แสดงออกถึงความสามัคคี
ขั้นวิเคราะห์วิจารณ์
21. สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้
· การเคารพซึ่งกันและกัน
· การไม่แสดงกิริยาและวาจาดูหมิ่นผู้อื่น
· การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การแบ่งปัน
· ข้อคิดที่ได้จากากรเข้าร่วมกิจกรรมที่แสดงถึงความสามัคคี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างไร
22. ตัวแทนแต่ละกลุ่มร่วมเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ด้วยวิธีการนำเสนอที่หลากหลาย
23. สมาชิกกลุ่มผู้ฟัง ตั้งคำถามในประเด็นที่สงสัย หรือแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป กลุ่มผู้เสนอผลงานยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และตอบคำตามประเด็นที่สงสัยอย่างมีเหตุผล ครูตรวจสอบความถูกต้องและให้ข้อเสนอแนะ
ขั้นสรุป
24. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความสำคัญและความจำเป็นของการเคารพซึ่งกันและกัน การไม่แสดงถึงกิริยาและวาจาดูหมิ่นผู้อื่น การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การแบ่งปัน
25. ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนบันทึกพฤติกรรมของตน ลงในสมุดบันทึกความดี และส่งครูผู้สอนตามกำหนดเวลา เพื่อให้ครูประเมินผลงานตามประเด็นต่อไปนี้
· การเคารพซึ่งกันและกัน
· การไม่แสดงกิริยา และวาจาดูหมิ่นผู้อื่น
· การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การแบ่งปัน
10. สื่อการเรียนรู้
1. Video Clip เรื่อง วัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. ภาพกิจกรรม ความสามัคคี
หน่ว�