of 41 /41
บทที ่ 2 การวิเคราะห์งบการเงิน เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกิจการ กิจการจะต้องจัดทํางบการเงินเพื่อให้ทราบฐานะ ทางการเงินของกิจการ และผลการดําเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งงบการเงินของกิจการถือว่า เป็นข้อมูลทางการเงินที่มีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจในการดําเนินงานของฝ่าย บริหาร แต่การจะนําข้อมูลทางการเงินดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั ้นยากลําบากมาก ทั ้งนี ้ เนื่องจากงบการเงินที่แต่ละกิจการจัดทําขึ้นมีวิธีการทําที่แตกต่างกันออกไป ถึงแม้ว่าจะเป็น วิธีการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็ตาม ดังนั้น ผู ้ทําการวิเคราะห์และผู ้นําผลการวิเคราะห์ไปใช้ งานจะต้องศึกษาและทําความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการบัญชีที่กิจการนั้นถือปฏิบัติให ้ชัดเจนเสียก่อน ความหมายของการวิเคราะห์งบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน (financial statement analysis) หมายถึง กระบวนการค้นหา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของกิจการหนึ่งกิจการใดจาก งบการเงินของกิจการนั้น พร้อมทั ้งนําข ้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจต่อไป (เพชรี ขุมทรัพย์, 2528, หน้า 1) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การวิเคราะห์งบการเงินเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน และผลการดําเนินงานของกิจการจากอดีตที่ผ่านมา และจะเป็นการนําข้อมูลในอดีตไปช่วยในการ วางแผนทางการดําเนินงานในอนาคตให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายบริหาร และผู ้เกี่ยวข้องที่ต้องการ ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ โดยการนําเสนอข้อมูลสรุปของงบการเงินเพื่อให้ผู ้ใช้งบ เข้าใจได้ง่ายขึ ้น

บทที่ 2 การวิเคราะห์งบการเงินบทท 2 การว เคราะห งบการเง น เม อส นรอบระยะเวลาบ

  • Author
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Text of บทที่ 2 การวิเคราะห์งบการเงินบทท 2...

  • บทที่ 2

    การวเิคราะห์งบการเงนิ

    เม่ือสิน้รอบระยะเวลาบญัชีของกิจการ กิจการจะต้องจดัทํางบการเงินเพ่ือให้ทราบฐานะ

    ทางการเงินของกิจการ และผลการดําเนินงานในรอบปีท่ีผ่านมา ซึ่งงบการเงินของกิจการถือว่า

    เป็นข้อมูลทางการเงินท่ีมีความสําคญัเป็นอย่างมากต่อการตดัสินใจในการดําเนินงานของฝ่าย

    บริหาร แต่การจะนําข้อมลูทางการเงินดงักล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนัน้ยากลําบากมาก

    ทัง้นี ้ เน่ืองจากงบการเงินท่ีแตล่ะกิจการจดัทําขึน้มีวิธีการทําท่ีแตกตา่งกนัออกไป ถึงแม้ว่าจะเป็น

    วิธีการบญัชีท่ียอมรับกนัโดยทัว่ไปก็ตาม ดงันัน้ ผู้ ทําการวิเคราะห์และผู้ นําผลการวิเคราะห์ไปใช้

    งานจะต้องศกึษาและทําความเข้าใจเก่ียวกบัวิธีการบญัชีท่ีกิจการนัน้ถือปฏิบตัใิห้ชดัเจนเสียก่อน

    ความหมายของการวเิคราะห์งบการเงนิ การวิเคราะห์งบการเงิน (financial statement analysis) หมายถึง “กระบวนการค้นหา

    ข้อเท็จจริงเก่ียวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของกิจการหนึ่งกิจการใดจาก

    งบการเงินของกิจการนัน้ พร้อมทัง้นําข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจต่อไป”

    (เพชรี ขมุทรัพย์, 2528, หน้า 1)

    ดงันัน้ จึงสรุปได้ว่า การวิเคราะห์งบการเงินเป็นการให้ข้อมูลเก่ียวกบัฐานะทางการเงิน

    และผลการดําเนินงานของกิจการจากอดีตท่ีผา่นมา และจะเป็นการนําข้อมลูในอดีตไปช่วยในการ

    วางแผนทางการดําเนินงานในอนาคตให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายบริหาร และผู้ เก่ียวข้องท่ีต้องการ

    ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการตดัสินใจ โดยการนําเสนอข้อมูลสรุปของงบการเงินเพ่ือให้ผู้ ใช้งบ

    เข้าใจได้ง่ายขึน้

  • 14

    งบการเงนิ งบการเงิน (financial statement) หมายถึง งบกําไรขาดทุน งบกําไรสะสม งบดุล

    งบแสดงการเปล่ียนแปลงฐานะทางการเงิน หมายเหตงุบย่อย และคําอธิบายอ่ืนซึ่งระบไุว้ว่าเป็น

    ส่วนหนึ่งของงบการเงิน ( 0∗สมาคมนกับญัชีและผู้สอบบญัชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 2538,

    หน้า f-2)

    ส่วนประกอบของงบการเงนิ ตามมาตรฐานการบญัชีฉบบัท่ี 35 เร่ืองการนําเสนองบการเงิน ได้กําหนดให้งบการเงิน

    ท่ีครบถ้วนจะต้องประกอบด้วย

    1. งบดุล งบดลุ (balance sheet) หรือ งบแสดงฐานะทางการเงิน (statement of financial

    position) เป็นงบท่ีแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วนัใดวนัหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์และหนีส้ิน

    ประเภทใด เป็นมลูคา่เทา่ใด และมีเงินทนุจากแหลง่ใดบ้าง จํานวนเทา่ใด

    2. งบกาํไรขาดทนุ งบกําไรขาดทนุ (income statement หรือ profit and loss statement) เป็นงบ

    ท่ีแสดงผลการดําเนินงานของกิจการสําหรับงวดเวลาหนึ่ง เพ่ือสรุปให้เห็นว่าเม่ือเปรียบเทียบ

    รายได้กบัคา่ใช้จา่ยของงวดเวลานัน้แล้วจะมีผลกําไรหรือขาดทนุสทุธิเทา่ใด

    3. งบใดงบหน่ึง งบใดงบหนึง่ ซึง่แสดงการเปล่ียนแปลงในสว่นของเจ้าของ ดงันี ้

    3.1 งบแสดงการเปล่ียนแปลงในส่วนของเจ้าของ (statement of change in owner’s equities) เป็นงบท่ีจดัทําขึน้เพ่ือแสดงการเปล่ียนแปลงส่วนของเจ้าของในระหว่างรอบ

    ระยะเวลาบญัชีประกอบด้วยรายการส่วนของเจ้าของยกมาในวนัต้นงวด รวมกับรายการท่ีทําให้

    สว่นเจ้าของเพิ่มขึน้หรือลดลงในระหวา่งงวด หรือ

    ∗ สมาคมนกับญัชีและผู้สอบบญัชีรับอนญุาตแหง่ประเทศไทย ได้ยกเลิกไปตามพระราชบญัญัติวิชาชีพบญัชี พ.ศ.2547 มาตรา 6

    โดยมีการจดัตัง้สภาวิชาชีพขึน้มาแทน

  • 15

    3.2 งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (comprehensive income statement) เป็นงบ ท่ีจดัทําขึน้เพ่ือแสดงการเปล่ียนแปลงในสว่นของเจ้าของอีกรูปแบบหนึง่ ประกอบด้วยรายการท่ียงั

    ไม่รับรู้ในงบกําไรขาดทุน กําไรหรือขาดทุนสุทธิในระหว่างรอบระยะเวลาบญัชี และผลสะสม

    ท่ีเกิดจากการเปล่ียนแปลงนโยบายบญัชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาด

    4. งบกระแสเงนิสด งบกระแสเงินสด (statement of cash flows) เป็นงบท่ีแสดงการเปล่ียนแปลงของ

    เงินสดว่าในระหว่างรอบระยะเวลาหนึ่ง กิจการมีเงินสดเพิ่มขึน้หรือลดลงเท่าใดโดยจะบอกให้

    ทราบถึงแหลง่ท่ีได้มาและแหลง่ท่ีใช้ไปของเงินสดในงวดเวลานัน้

    5. หมายเหตุประกอบการเงนิ ตามประกาศสภาวิชาชีพบญัชี ฉบบัท่ี 38/2550 เร่ืองมาตรฐานการบญัชีฉบบัท่ี 35

    (ปรับปรุง 2550) ได้ให้คําจํากัดความของหมายเหตุประกอบงบการเงิน (note of financial

    statement) วา่หมายถึง ข้อมลูท่ีนําเสนอเพิ่มเตมิจากท่ีแสดงในงบดลุ งบกําไรขาดทนุ งบแสดง

    การเปล่ียนแปลงส่วนของเจ้าของ และงบกระแสเงินสด หมายเหตปุระกอบงบการเงินให้ข้อมูล

    เก่ียวกับคําอธิบายรายการ รายละเอียดของรายการต่าง ๆ ท่ีแสดงในงบการเงินและข้อมูล

    เก่ียวกับรายการท่ีไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการในงบการเงินท่ีนําเสนอ ดงันัน้หมายเหตปุระกอบ

    งบการเงิน จงึประกอบด้วย

    5.1 นโยบายการบัญชี (accounting policies) หมายถึง หลกัการ หลกัเกณฑ์ ประเพณีปฏิบตั ิ กฎ และวิธีปฏิบตั ิ เฉพาะท่ีกิจการใช้ในการจดัทําและนําเสนองบการเงิน

    5.2 คําอธิบายอ่ืน หมายถึง รายละเอียดเพิ่มเติมของรายการต่าง ๆ ท่ีแสดงไว้ ในงบการเงิน และข้อมลูอ่ืน ๆ ท่ีไมเ่ข้าเกณฑ์การรับรู้รายการในงบการเงินท่ีนําเสนอ

    ขัน้ตอนในการวเิคราะห์งบการเงนิ จากการท่ีกล่าวมาแล้วข้างต้นถึงส่วนประกอบของงบการเงิน งบการเงินท่ีจะนํามาใช้

    ในการวิเคราะห์ ได้แก่ งบกําไรขาดทุน และงบดุล เท่านัน้ โดยผู้ ทําการวิเคราะห์จะต้องนํา

    ตวัเลขจากฝ่ายบญัชีมาทําการวิเคราะห์พร้อมทัง้เสนอข้อคิดเห็นต่อฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหาร

    จะเป็นผู้ตดัสินใจในการดําเนินการตอ่ไป ขัน้ตอนของการวิเคราะห์งบการเงิน มีดงัตอ่ไปนี ้

    1. การกําหนดเป้าหมาย เป็นการกําหนดเป้าหมายในการวิเคราะห์ให้ชัดเจนว่าต้องการวิเคราะห์อะไร นําไปใช้ประโยชน์เร่ืองอะไรบ้าง

  • 16

    2. การรวบรวมข้อมูล เป็นการจดัเตรียมข้อมูลสําหรับการวิเคราะห์ ได้แก่ งบกําไรขาดทนุ งบดลุ และงบกําไรสะสมย้อนหลงัอยา่งน้อย 2 ปี

    3. การจัดเรียงรายการ เป็นการนําข้อมลูในข้อ 2 มาจดัเรียงรายการให้อยู่ในรูปแบบเดียวกนั เพ่ือสะดวกและง่ายตอ่การวิเคราะห์เปรียบเทียบ

    4. การเลือกเคร่ืองมือทางการเงนิ เป็นการพิจารณาเลือกเคร่ืองมือทางการเงินเพ่ือใช้ในการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกบัเป้าหมายท่ีกําหนด

    5. การแปลความหมาย เป็นการนําผลของการวิเคราะห์มาแปลความหมายโดยใช้หลกัเกณฑ์หรือมาตรฐานท่ีกําหนดไว้

    6. การจัดทํารายงาน เป็นการจัดทํารายงานเพ่ือนําเสนอฝ่ายบริหารหรือผู้ เก่ียวข้อง ตามรูปแบบท่ีกําหนดหรือตามความต้องการของผู้ใช้

    7. การตัดสินใจ เป็นการนําผลการวิเคราะห์ท่ีเสนอผู้บริหารมาตดัสินใจแก้ไข วินิจฉัยปัญหา และปรับปรุงการบริหารงานตอ่ไป

    การเปรียบเทียบข้อมูล การวิเคราะห์งบการเงินท่ีจะให้ประโยชน์มากย่ิงขึน้นัน้ จะต้องนําผลการวิเคราะห์ไป

    เปรียบเทียบกับข้อมูลท่ีเราสนใจหรือข้อมูลอ่ืน ๆ ท่ีเก่ียวข้อง ซึ่งฐานท่ีใช้ในการเปรียบเทียบมี

    หลายประเภท ได้แก่

    1. การเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีตของกิจการ เป็นการเปรียบเทียบรายการหนึ่ง ๆ ในงบการเงินของกิจการในงวดบญัชีปัจจุบนั กับรายการเดียวกันในงบการเงินของกิจการในงวด

    ก่อน ๆ ซึ่งผลของการเปรียบเทียบจะทําให้เห็นถึงการเปล่ียนแปลงท่ีสําคญั รวมทัง้แนวโน้มของ

    การเปล่ียนแปลงด้วย

    2. การเปรียบเทียบกับตัวเลขค่าเฉล่ียของอุตสาหกรรม เป็นการเปรียบเทียบรายการหรือความสมัพนัธ์ทางการเงินของกิจการ กบัตวัเลขคา่เฉล่ียของอตุสาหกรรม ซึ่งผลของ

    การเปรียบเทียบจะทําให้เห็นถึงศกัยภาพของกิจการกบัอตุสาหกรรมอ่ืน

    3. การเปรียบเทียบกับกิจการอ่ืน เป็นการเปรียบเทียบรายการหรือความสัมพนัธ์ ทางการเงินของกิจการ กบัรายการเดียวกนัของกิจการอ่ืน ๆ ท่ีอยู่ในอตุสาหกรรมประเภทเดียวกนั

    ซึง่ผลของการเปรียบเทียบจะทําให้เห็นถึงศกัยภาพของกิจการเพ่ือแขง่ขนักบักิจการอ่ืน

  • 17

    เคร่ืองมือที่ใช้ในการวเิคราะห์งบการเงนิ การวิเคราะห์งบการเงิน ข้อมูลจากงบการเงินถือว่าเป็นสิ่งสําคญัย่ิง เพราะจะต้องมี

    ข้อมลูอย่างเพียงพอ ประกอบกบัผู้ วิเคราะห์จะต้องเป็นผู้ ท่ีมีประสบการณ์ จะต้องเรียนรู้เก่ียวกบั

    รูปแบบของงบการเงิน การจดัประเภทรายการในงบการเงิน การแสดงรายการและมูลคา่ของ

    แตล่ะรายการ หากผู้ วิเคราะห์ได้มีการวางแผนในการจดัเตรียมข้อมลูอย่างดี จะทําให้เกิดความ

    สะดวก ประหยดัเวลาและคา่ใช้จ่าย เม่ือจดัเตรียมข้อมูลครบถ้วน เทคนิคหรือเคร่ืองมือในการ

    วิเคราะห์ถือเป็นสิ่งสําคญัอีกประการหนึง่ เน่ืองจากจําเป็นจะต้องใช้เคร่ืองมือให้เหมาะสมกบัเร่ือง

    ท่ีจะวิเคราะห์ เพ่ือให้บรรลเุป้าหมายท่ีกําหนดไว้แตต้่น เคร่ืองมือทางการเงินมีหลายวิธี แตท่ี่นิยม

    ใช้ ได้แก่

    1. การวิเคราะห์ตามแนวนอน การวิเคราะห์ตามแนวนอน (horizontal analysis) หมายถึง การเปรียบเทียบข้อมลู

    จากงบการเงินในงวดเวลาท่ีต่างกัน โดยดูว่าแต่ละรายการในงบการเงินมีการเปล่ียนแปลง

    แตกต่างกันจากปีก่อนอย่างไร ซึ่งการเปล่ียนแปลงนัน้อาจจัดทําในรูปจํานวนเงิน หรืออัตรา

    ร้อยละก็ได้ การวิเคราะห์ตามแนวนอนคํานวณได้จากสตูรดงันี ้

    (1)

    (2)

    ตวัอย่างท่ี 2.1 ต่อไปนีเ้ป็นข้อมูลการเปรียบเทียบยอดขายของบริษัท รักสยาม จํากัด

    ตัง้แตปี่ 25X1 - 25X6

    ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงเม่ือเทียบกบัปีฐาน = จํานวนเงินในปีปัจจบุนั – จํานวนเงินในปีฐาน

    จํานวนเงินในปีฐาน

    X 100

    ร้อยละเม่ือเทียบกบัปีฐาน = จํานวนเงินในปีปัจจบุนั

    จํานวนเงินในปีฐาน X 100

  • 18

    รายการ ปี 25X6 ปี 25X5 ปี 25X4 ปี 25X3 ปี 25X2 ปี 25X1

    ยอดขายสทุธิ(บาท) 400,000 350,000 300,000 250,000 200,000 250,000

    1. ร้อยละของการ

    เปลีย่นแปลงเมื่อเทียบ

    กบัปี 25X1 (ปีฐาน)

    60 40 20 0 (20) 0

    2. ร้อยละเมื่อเทียบ

    กบัปีฐาน 160 140 120 100 80 100

    การอ่านผลลัพธ์ 1. ในปี 25X6 มียอดขายเปล่ียนแปลงจากปี 25X1 คดิเป็นร้อยละ 60

    2. ในปี 25X6 มียอดขายคดิเป็นร้อยละ 160 ของยอดขายในปี 25X1 3. สว่นการอา่นผลลพัธ์ในปีอ่ืน ๆ อา่นทํานองเดียวกนั

    ตวัอย่างท่ี 2.2 ตอ่ไปนีเ้ป็นงบการเงินของ บริษัท รักสยาม จํากัด ระหว่างปี 25X1 และ

    25X2

    บริษัท รักสยาม จาํกดั

    งบดุลเปรียบเทียบ

    ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 และ 25X2

    หนว่ย : บาท

    ปี 25X2 ปี 25X1

    สินทรัพย์

    สินทรัพย์หมนุเวียน

    เงินสด 7,282 57,600

    ลกูหนีก้ารค้า 632,160 351,200

    สินค้าคงเหลือ 1,287,360 715,200

    รวมสินทรัพย์หมนุเวียน 1,926,802 1,124,000

    สินทรัพย์ไมห่มนุเวียน

    อาคาร และอปุกรณ์ 1,202,950 491,000

    หกั คา่เสื่อมราคาสะสม-อาคารและอปุกรณ์ 263,160 146,200

    รวมสินทรัพย์ไมห่มนุเวียน 939,790 344,800

    รวมสินทรัพย์ 2,866,592 1,468,800

  • 19

    หนีสิ้นและส่วนของผู้ถือหุ้น

    หนีส้ินหมนุเวียน

    เจ้าหนีก้ารค้า 524,160 145,600

    ตัว๋เงินจา่ย 720,000 200,000

    คา่ใช้จา่ยค้างจา่ย 489,600 136,000

    รวมหนีส้ินหมนุเวียน 1,733,760 481,600

    หนีส้ินระยะยาว

    เงินกู้ ระยะยาว 1,000,000 323,432

    รวมหนีส้ิน 2,733,760 805,032

    สว่นของผู้ ถือหุ้น

    หุ้นสามญั (100,000 หุ้น) 460,000 460,000

    กําไรสะสม (327,168) 203,768

    รวมสว่นของผู้ ถือหุ้น 132,832 663,768

    รวมหนีส้ินและสว่นของผู้ ถือหุ้น 2,866,592 1,468,800

    บริษัท รักสยาม จาํกดั

    งบกาํไรขาดทุนเปรียบเทียบ

    สาํหรับระยะเวลา 1 ปี สิน้สุด วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 และ 25X2

    หนว่ย : บาท

    ปี 25X2 ปี 25X1

    ขายสทุธิ 5,834,400 3,432,000

    หกั ต้นทนุขาย 5,728,000 2,864,000

    คา่ใช้จา่ยอ่ืน ๆ 680,000 340,000

    คา่เสื่อมราคา – อาคารและอปุกรณ์ 116,960 18,900

    รวมคา่ใช้จา่ยดําเนินงาน 6,524,960 3,222,900

    กําไรก่อนหกัภาษีและดอกเบีย้ (690,560) 209,100

    ดอกเบีย้จา่ย 176,000 62,500

    กําไรก่อนหกัภาษี (866,560) 146,600

    ภาษีเงินได้ (40%) (346,624) 58,640

    กําไรสทุธิ (519,936) 87,960

    กําไรตอ่หุ้น (5.199) 0.880

    เงินปันผลตอ่หุ้น 0.110 0.220

    มลูคา่ตามบญัชีตอ่หุ้น 1.328 6.638

    ราคาหุ้นสามญัตอ่หุ้น 2.25 8.50

    จํานวนหุ้นสามญัที่ออกจําหน่าย (หุ้น) 100,000 100,000

  • 20

    อตัราภาษี 40.00% 40.00%

    บริษัท รักสยาม จาํกดั

    งบกาํไรสะสม

    สาํหรับระยะเวลา 1 ปี สิน้สุด วันที่ 31 ธันวาคม 25X2

    หนว่ย : บาท

    กําไรสะสมยกมา (31 ธนัวาคม 25X1) 203,768

    บวก กําไรสทุธิ (ปี 25X2) (519,936)

    หกั เงินปันผลจ่าย (11,000)

    กําไรสะสมยกไป (31 ธนัวาคม 25X2) 327,168

    วิธีทาํ การคํานวณเพ่ือแสดงการวิเคราะห์ตามแนวนอนของงบดลุ

    บริษัท รักสยาม จาํกดั

    งบดุลเปรียบเทียบ

    ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 และ 25X2

    หนว่ย : บาท

    ปี 25X2 ปี 25X1 เพิ่มขึน้ (ลดลง) ร้อยละ

    สินทรัพย์

    สินทรัพย์หมนุเวียน

    เงินสด 7,282 57,600 (50,318) (88)

    ลกูหนีก้ารค้า 632,160 351,200 280,960 80

    สินค้าคงเหลือ 1,287,360 715,200 572,160 80

    รวมสินทรัพย์หมนุเวียน 1,926,802 1,124,000 802,802 72

    อาคารและอปุกรณ์ 1,202,950 491,000 711,950 145

    หกั คา่เสื่อมราคาสะสม – อาคารและอปุกรณ์ 263,160 146,200 116,960 80

    รวมสินทรัพย์ไมห่มนุเวียน 939,790 344,800 594,990 173

    รวมสินทรัพย์ 2,866,592 1,468,800 1,397,792 96

    หนีสิ้นและส่วนของผู้ถือหุ้น

    หนีส้ินหมนุเวียน

    เจ้าหนีก้ารค้า 524,160 145,600 378,560 260

    ตัว๋เงินจา่ย 720,000 200,000 520,000 260

    คา่ใช้จา่ยค้างจา่ย 489,600 136,000 353,600 260

    รวมหนีส้ินหมนุเวียน 1,733,760 481,600 1,252,160 260

  • 21

    หนีส้ินระยะยาว

    เงินกู้ ระยะยาว 1,000,000 323,432 676,568 210

    รวมหนีส้ิน 2,733,760 805,032 1,928,728 240

    สว่นของผู้ ถือหุ้น

    หุ้นสามญั (100,000 หุ้น) 460,000 460,000 0 0

    กําไรสะสม (327,168) 203,768 (530,936) (261)

    รวมสว่นของผู้ ถือหุ้น 132,832 663,768 (530,936) (80)

    รวมหนีส้ินและสว่นของผู้ ถือหุ้น 2,866,592 1,468,800 1,397,792 96

    ผลการวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์ตามแนวนอนโดยการเปรียบเทียบงบดลุของบริษัท

    รักสยาม จํากดั ระหวา่งปี 25X1 และ25X2 จะเห็นวา่

    1. สินทรัพย์รวมเพิ่มขึน้ สว่นใหญ่เพิ่มขึน้จากการเพิ่มขึน้ของสินทรัพย์ถาวรมากกว่าการเพิ่มขึน้ของสินทรัพย์หมนุเวียน โดยเฉพาะการเพิ่มขึน้ของอาคารและอปุกรณ์มีจํานวนร้อยละ 145

    ซึง่อาจเกิดจากการซือ้เพิ่มขึน้

    2. หนีส้ินรวมเพิ่มขึน้ ซึ่งส่วนใหญ่เพิ่มขึน้จากการเพิ่มขึน้ ทัง้หนีส้ินระยะสัน้และหนีส้ินระยะยาว โดยเฉพาะการเพิ่มขึน้ของหนีส้ินระยะสัน้มีมากกวา่

    3. สว่นของเจ้าของลดลง ซึง่เกิดจากกําไรสะสมของกิจการท่ีลดลง

    วิธีทาํ การคํานวณเพ่ือแสดงการวิเคราะห์แนวนอนของงบกําไรขาดทนุ

    บริษัท รักสยาม จาํกดั

    งบกาํไรขาดทุนเปรียบเทียบ

    สาํหรับระยะเวลา 1 ปี สิน้สุด วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 และ25X2

    หนว่ย : บาท

    ปี 25X2 ปี 25X1 เพิ่มขึน้ (ลดลง) ร้อยละ

    ขายสทุธิ 5,834,400 3,432,000 2,402,400 70

    หกั ต้นทนุขาย 5,728,000 2,864,000 2,864,000 100

    คา่ใช้จา่ยอ่ืน ๆ 680,000 340,000 340,000 100

    คา่เสือ่มราคา-อาคารและอปุกรณ์ 116,960 18,900 98,060 519

    รวมคา่ใช้จา่ยดาํเนินงาน 6,524,960 3,222,900 3,302,060 103

    กําไรก่อนหกัภาษีและดอกเบีย้ (690,560) 209,100 (899,660) (431)

    หกั ดอกเบีย้จ่าย 176,000 62,500 113,500 182

  • 22

    กําไรก่อนหกัภาษี (866,560) 146,600 (1,013,160) (692)

    หกั ภาษีเงินได้ (40%) (346,624) 58,640 (405,264) (692)

    กําไรสทุธิหลงัหกัภาษีเงินได้ (519,936) 87,960 (607,896) (692)

    ผลการวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์ตามแนวนอน โดยการเปรียบเทียบงบกําไรขาดทุน

    ของบริษัท รักสยาม จํากดั ระหวา่งปี 25X1 และปี 25X2 จะเห็นวา่

    1. รายได้จากการขายในปี 25X2 เพิ่มขึน้จากปี 25X1 คดิเป็นร้อยละ 70 2. ต้นทนุขายในปี 25X2 เพิ่มขึน้จากปี 25X1 คดิเป็นร้อยละ 100 คือ 1 เทา่ตวั 3. คา่ใช้จา่ยในการดําเนินงาน ในปี 25X2 เพิ่มขึน้จากปี 25X1 คดิเป็นร้อยละ 103 4. กําไรก่อนหกัภาษีและดอกเบีย้ในปี 25X2 ลดลงจากปี 25X1 คดิเป็นร้อยละ 431 5. ดอกเบีย้จา่ยในปี 25X2 เพิ่มขึน้จากปี 25X1 คิดเป็นร้อยละ 182 ส่งผลให้กําไรก่อน

    หกัภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 692

    6. กําไรสทุธิในปี 25X2 ลดลงจากปี 25X1 คิดเป็นร้อยละ 692 ทัง้นีเ้กิดจากคา่ใช้จ่ายดําเนินงาน ดอกเบีย้จา่ย เพิ่มขึน้เป็นจํานวนมาก

    2. การวิเคราะห์ตามแนวตัง้ การวิเคราะห์ตามแนวตัง้ หรือการวิเคราะห์ขนาดร่วม (vertical or commonsize

    anlysis) หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมลูในงบการเงินโดยเปรียบเทียบแตล่ะรายการเป็นร้อยละของ

    รายการฐาน

    กรณีเป็นรายการในงบดลุ จะให้รายการสินทรัพย์รวมหรือหนีส้ินและส่วนของเจ้าของรวม

    เป็นรายการฐาน และหากเป็นรายการในงบกําไรขาดทนุจะให้รายได้สทุธิหรือขายสทุธิเป็นรายการ

    ฐานในการวิเคราะห์

  • 23

    ตวัอย่างท่ี 2.3 ตอ่ไปนีเ้ป็นการเปรียบเทียบรายการในงบกําไรขาดทุนบางรายการ ของ

    บริษัท รักไทย จํากดั กบับริษัท รักชาต ิ จํากดั

    บริษัท รักไทย จาํกัด บริษัท รักชาต ิ จาํกัด

    จาํนวนเงนิ ร้อยละ จาํนวนเงนิ ร้อยละ

    ขายสทุธิ 400,000 100 100,000 100

    หกั ต้นทนุขาย 300,000 75 60,000 60

    กําไรขัน้ต้น 100,000 25 40,000 40

    ผลการวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์ตามแนวตัง้ของงบกําไรขาดทนุข้างต้น จะพบวา่

    1. บริษัท รักไทย จํากดั มียอดขายและกําไรขัน้ต้นสงูกว่าบริษัท รักชาติ จํากดั ในแง่ของจํานวนเงิน

    2. บริษัท รักไทย จํากดั มีต้นทุนขายร้อยละ 75 ของยอดขายซึ่งมากกว่าต้นทุนขายของบริษัท รักชาต ิ จํากดั ทําให้กําไรขัน้ต้นต่ํากวา่บริษัท ชาต ิจํากดั

    3. บริษัท รักชาต ิ จํากดั มีความสามารถในการทํากําไรขัน้ต้น โดยมีการควบคมุต้นทนุขายได้ดีกว่าบริษัท รักไทย จํากัด กล่าวคือ มีอตัรากําไรขัน้ต้นถึงร้อยละ 40 ในขณะท่ีบริษัท

    รักไทย จํากดั มีอตัรากําไรขัน้ต้นเพียงร้อยละ 25 เทา่นัน้

    ตวัอยา่งท่ี 2.4 จากโจทย์ในตวัอยา่งท่ี 2.2 สามารถทําการวิเคราะห์ตามแนวตัง้ หรือการ

    วิเคราะห์ขนาดร่วมได้ดงันี ้

    บริษัท รักสยาม จาํกดั

    งบดุลเปรียบเทียบ

    ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 และ25X2

    หนว่ย : บาท

    ปี 25X2 ร้อยละ ปี 25X1 ร้อยละ

    สินทรัพย์

    สินทรัพย์หมนุเวียน

    เงินสด 7,282 0.26 57,600 3.93

    ลกูหนีก้ารค้า 632,160 22.06 351,200 23.91

    สินค้าคงเหลือ 1,287,360 44.91 715,200 48.70

    รวมสินทรัพย์หมนุเวียน 1,926,802 67.22 1,124,000 76.54

  • 24

    สินทรัพย์ไมห่มนุเวียน

    อาคาร และอปุกรณ์ 1,202,950 41.97 491,000 33.43

    หกั คา่เสื่อมราคาสะสม-อาคาร และอปุกรณ์ 263,160 9.18 146,200 9.96

    รวมที่สินทรัพย์ไมห่มนุเวียน 939,790 32.78 344,800 23.46

    รวมสินทรัพย์ 2,866,592 100.00 1,468,800 100.00

    หนีสิ้นและส่วนของผู้ถือหุ้น

    หนีส้ินหมนุเวียน

    เจ้าหนีก้ารค้า 524,160 18.29 145,600 9.92

    ตัว๋เงินจา่ย 720,000 25.12 200,000 13.62

    คา่ใช้จา่ยค้างจา่ย 489,600 17.08 136,000 9.26

    รวมหนีส้ินหมนุเวียน 1,733,760 60.49 481,600 32.80

    หนีส้ินระยะยาว

    เงินกู้ ระยะยาว 1,000,000 34.89 323,432 22.02

    รวมหนีส้ิน 2,733,760 95.38 805,032 54.81

    สว่นของผู้ ถือหุ้น

    หุ้นสามญั (100,000 หุ้น) 460,000 16.05 460,000 31.32

    กําไรสะสม (327,168) (11.42) 203,768 13.88

    รวมสว่นของผู้ ถือหุ้น 132,832 4.63 663,768 45.19

    รวมหนีส้ินและสว่นของผู้ ถือหุ้น 2,866,592 100.00 1,468,800 100.00

    ผลการวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์ในแนวตัง้โดยการอ่านผลการวิเคราะห์ในแนวนอน

    จะพบวา่

    1. สินทรัพย์หมนุเวียนในปี 25X2 ลดลงจากปี 25X1 ซึ่งเกิดจากการลดลงของเงินสดและลกูหนี ้

    2. สินทรัพย์ถาวรรวมในปี 25X2 เพิ่มขึน้จากปี 25X1 ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึน้ของท่ีดินอาคารและอปุกรณ์

    3. หนีส้ินระยะสัน้รวมในปี 25X2 เพิ่มขึน้จากปี 25X1 ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึน้ของตัว๋เงินจา่ย

    4. หนีส้ินรวมในปี 25X2 เพิ่มขึน้จากปี 25X1 ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึน้ของหนีส้ินระยะสัน้และเงินกู้ ระยะยาว

    5. ส่วนของเจ้าของในปี 25X2 ลดลงจากปี 25X1 ซึ่งเกิดจากการลดลงของหุ้นสามญัและกําไรสะสม

    ส่วนการวิเคราะห์ตามแนวตัง้ โดยอ่านผลการวิเคราะห์ในแนวตัง้ จะต้องวิเคราะห์ผล

    ในแตล่ะปี ในท่ีนีจ้ะวิเคราะห์เฉพาะในปี 25X2 จะพบวา่

    1. สินทรัพย์หมนุเวียน คดิเป็นร้อยละ 67.22 ของสินทรัพย์รวม

  • 25

    2. สินทรัพย์ถาวร คดิเป็นร้อยละ 32.78 ของสินทรัพย์รวม 3. หนีส้ินระยะสัน้ คดิเป็นร้อยละ 60.49 ของหนีส้ินและสว่นของเจ้าของ 4. หนีส้ินระยะยาว คดิเป็นร้อยละ 34.89 ของหนีส้ินและสว่นของเจ้าของ 5. หนีส้ินรวม คดิเป็นร้อยละ 95.38 ของหนีส้ินและสว่นของเจ้าของ 6. สว่นของเจ้าของ คดิเป็นร้อยละ 4.62 ของหนีส้ินและสว่นของเจ้าของ

    สําหรับผลการวิเคราะห์ในปี 25X1 จะวิเคราะห์ในทํานองเดียวกนั

    บริษัท รักสยาม จาํกดั

    งบกาํไรขาดทุนเปรียบเทียบ

    สาํหรับระยะเวลา 1 ปี สิน้สุด วันที่ 31 ธันวาคม 25X1

    หนว่ย : บาท

    ปี 25X2 ร้อยละ ปี 25X1 ร้อยละ

    ขายสทุธิ 5,834,400 100.00 3,432,000 100.00

    หกั ต้นทนุขาย 5,728,000 98.18 2,864,000 83.45

    คา่ใช้จา่ยอ่ืน ๆ 680,000 11.66 340,000 9.91

    คา่เสือ่มราคา-อาคารและอปุกรณ์ 116,960 2.01 18,900 0.55

    รวมคา่ใช้จา่ยดาํเนินงาน 6,524,960 111.85 3,222,900 93.91

    กําไรก่อนหกัภาษีและดอกเบีย้ (690,560) (11.85) 209,100 6.09

    หกั ดอกเบีย้จ่าย 176,000 3.02 62,500 1.83

    กําไรก่อนหกัภาษี (866,560) (14.87) 146,600 4.26

    หกั ภาษีเงินได้ (40%) (346,624) (5.95) 58,640 1.71

    กําไรสทุธิหลงัหกัภาษีเงินได้ (519,936) (8.92) 87,960 2.55

    ผลการวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์ในแนวตัง้โดยอ่านผลการวิเคราะห์ในแนวนอน

    จะพบวา่

    1. ต้นทนุขายในปี 25X2 เพิ่มขึน้จากปี 25X1 2. คา่ใช้จา่ยดําเนินงานในปี 25X2 เพิ่มขึน้จากปี 25X1 3. กําไรก่อนหกัภาษีและดอกเบีย้ในปี 25X2 ลดลงจากปี 25X1 ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่าย

    ดําเนินงานและต้นทนุขายเพิ่มขึน้

    4. กําไรสทุธิในปี 25X2 ลดลงจากปี 25X1 เน่ืองจากมีคา่ใช้จา่ยโดยรวมเพิ่มขึน้

  • 26

    ส่วนการวิเคราะห์ตามแนวตัง้โดยอ่านผลการวิเคราะห์ในแนวตัง้ ซึ่งจะวิเคราะห์ผล

    ในแตล่ะปี ในท่ีนีจ้ะวิเคราะห์เฉพาะในปี 25X2 จะพบวา่

    1. ต้นทนุขาย คดิเป็นร้อยละ 98.18 ของยอดขายสทุธิ 2. คา่ใช้จา่ยดําเนินงาน คดิเป็นร้อยละ 111.85 ของยอดขายสทุธิ 3. กําไรก่อนหกัภาษีและดอกเบีย้ คดิเป็นร้อยละ 11.85 ของยอดขายสทุธิ 4. กําไรสทุธิ คดิเป็นร้อยละ (8.92) ของยอดขายสทุธิ

    สําหรับผลการวิเคราะห์ในปี 25X1 จะวิเคราะห์ในทํานองเดียวกนั

    3. การวิเคราะห์อัตราส่วน การวิเคราะห์อัตราส่วน (ratio analysis) หมายถึง การวิเคราะห์ความสมัพนัธ์

    ระหว่างรายการต่าง ๆ ในงบการเงินในรูปของร้อยละ (percentage) จํานวนเท่า (rate) หรือ

    สดัส่วน (proportion) ผลของการวิเคราะห์อตัราส่วนจะทําให้เกิดความเข้าใจความสมัพนัธ์ของ

    รายการตา่ง ๆ ในงบการเงินมากขึน้ และหากจะทําให้สะท้อนเห็นภาพของธุรกิจมากขึน้ จะต้อง

    นําผลลัพธ์ท่ีคํานวณได้ไปเปรียบเทียบกับอัตราส่วนท่ีเก่ียวข้องกับกิจการอ่ืน หรือค่ามาตรฐาน

    อตุสาหกรรม

    การวิเคราะห์อตัราสว่น หากจะให้เกิดประโยชน์ในการวิเคราะห์ ผู้ วิเคราะห์จะต้องศกึษา

    ข้อมูลให้เกิดความเข้าใจ และควรกําหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ให้ชัดเจน โดยการตัง้

    คําถาม ดงันี ้

    1. อตัราสว่นนีใ้ช้สตูรอะไรในการคํานวณ 2. อตัราสว่นท่ีคํานวณจะบอกอะไรกบัผู้ วิเคราะห์ และใครเป็นผู้ให้ความสนใจ 3. อตัราสว่นนีใ้ช้อะไรเป็นหนว่ยวดัคา่ 4. ผลลพัธ์ท่ีคํานวณได้ คา่ท่ีสงู หรือต่ํา บอกอะไรกบัเรา 5. คา่ท่ีสงูหรือต่ําสามารถปรับปรุงคา่ได้หรือไมอ่ยา่งไร ในการวิเคราะห์อตัราสว่น จําแนกตามวตัถปุระสงค์ของการวิเคราะห์ได้ 5 ประเภท ดงันี ้

    3.1 อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratios) เป็นอตัราส่วนท่ีแสดงสภาพคล่อง หรือแสดงความสามารถในการชําระหนีร้ะยะสัน้ของกิจการ ดงันัน้ อัตราส่วนนีจ้ึงเก่ียวข้องกับ

    สินทรัพย์หมุนเวียนและหนีส้ินหมุนเวียน ผู้ ท่ีให้ความสนใจกับอตัราส่วนนี ้ ได้แก่ กลุ่มเจ้าหนี ้

    ระยะสัน้ กับผู้จดัการด้านการเงิน ซึ่งต้องประสานงานในการกู้ ยืมเงินระยะสัน้ อตัราส่วนท่ีนิยม

    ใช้ ได้แก่

  • 27

    3.1.1 อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (current ratio) เป็นอตัราส่วนท่ีแสดงถึงจํานวนสินทรัพย์หมนุเวียนสทุธิท่ีมีตอ่หนีส้ินหมนุเวียนสทุธิ สตูรของการคํานวณ คือ

    (3)

    สําหรับการวิเคราะห์อัตราส่วนนีจ้ะใช้ข้อมูลจากงบดุลและงบกําไรขาดทุนของบริษัท

    รักสยาม จํากัด ซึ่งแสดงไว้ในโจทย์ตวัอย่างท่ี 2.2 และการวิเคราะห์จะแสดงให้เห็นผลการ

    วิเคราะห์ทัง้ปี 25X1 และปี 25X2 โดยสมมตใิห้ 1 ปี มี 365 วนั

    ตวัอยา่งท่ี 2.5 การคํานวณอตัราสว่นทนุหมนุเวียน แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    อตัราสว่นทนุหมนุเวียน

    (เทา่)

    1,926,802 1,124,000

    1,733,760 481,600

    = 1.12 2.34 2

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความว่า ในปี 25X2 กิจการมีหนีส้ินหมนุเวียน 1 บาท กิจการ

    มีสินทรัพย์หมนุเวียนท่ีสามารถนําไปชําระหนีไ้ด้ 1.12 บาท

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกบัคา่เฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการ

    มีสภาพคลอ่งต่ํากวา่

    (2) เม่ือเปรียบเทียบกบัปี 25X1 พบว่าในปี 25X2 กิจการมีสภาพคลอ่งลดลง

    3.1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วหรืออัตราส่วนหมุนเวียนอย่างถึงแก่น (quick or acid test ratio) เป็นอตัราส่วนท่ีแสดงถึงความสามารถในการชําระหนีร้ะยะสัน้อย่าง

    เร่งด่วน โดยนําสินทรัพย์หมุนเวียนรวม หักด้วยสินค้าคงเหลือ ทัง้นีเ้น่ืองจากเห็นว่าสินค้า

    คงเหลือเป็นสินทรัพย์หมนุเวียนท่ีมีสภาพคลอ่งต่ําสดุ ไมส่ามารถบอกราคาตามบญัชีได้ และหาก

    กิจการมีสินค้าคงเหลือจํานวนมาก อาจเป็นสญัญาณของการเกิดปัญหาได้ สตูรของการคํานวณ

    คือ

    (4)

    อตัราสว่นทนุหมนุเวียน =

    (เทา่)

    สนิทรัพย์หมนุเวียนรวม

    หนีส้นิหมนุเวียนรวม

    อตัราสว่นทนุหมนุเวียนเร็ว =

    (เทา่)

    สนิทรัพย์หมนุเวียนรวม – สนิค้าคงเหลอื

    หนีส้นิหมนุเวียนรวม

    =

  • 28

    ตวัอยา่งท่ี 2.6 การคํานวณอตัราสว่นทนุหมนุเวียนเร็ว แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    อตัราสว่นทนุหมนุเวียนเร็ว

    (เทา่)

    1,926,802 – 1,287,360 1,124,000 – 715,200

    1,733,760 481,600

    = 0.37 0.85 1.5

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความว่า ในปี 25X2 กิจการมีหนีส้ินหมุนเวียน 1 บาท กิจการ

    ท่ีสินทรัพย์หมุนเวียนท่ีมีสภาพคล่องสูง และสามารถนําไปชําระหนีไ้ด้ 0.37 บาท เม่ือได้

    หกัสินค้าคงเหลือแล้ว

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกับค่าเฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการ

    มีสภาพคลอ่งต่ํากวา่

    (2) เม่ือเปรียบเทียบกับปี 25X1 พบว่าในปี 25X2 กิจการมีสภาพคลอ่งลดลง

    3.2 อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์หรืออัตราส่วนการใช้งานของสินทรัพย์ (asset utilization ratios) เป็นอตัราส่วนท่ีใช้วดัประสิทธิภาพจากการใช้

    ประโยชน์ของสินทรัพย์ ในรูปแบบตา่ง ๆ ได้แก่ ลกูหนี ้ สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์

    รวม วา่สามารถสร้างยอดขายหรือกําไรได้เร็วหรือช้าเพียงใด อตัราสว่นท่ีนิยมใช้ ได้แก่

    3.2.1 อตัราส่วนหมุนเวียนของลูกหนีก้ารค้า (receivable turnover ratio) เป็นอัตราส่วนท่ีแสดงสภาพคล่องของลูกหนีก้ารค้าของกิจการ อตัราส่วนนีจ้ะบอกให้ทราบว่า

    กิจการสามารถเปล่ียนลูกหนีก้ารค้าให้เป็นเงินสดได้ก่ีรอบในหนึ่งรอบระยะเวลาบญัชี สูตรของ

    การคํานวณ คือ

    (5)

    (6)

    อตัราการหมนุเวียนของลกูหนีก้ารค้า =

    (รอบ)

    ยอดขายเช่ือสทุธิ

    ลกูหนีก้ารค้าเฉลีย่

    ลกูหนีก้ารค้าเฉลีย่ =

    (บาท)

    ลกูหนีก้ารค้าต้นงวด + ลกูหนีก้ารค้าปลายงวด

    2

    =

  • 29

    กรณีไม่สามารถคํานวณยอดขายสุทธิได้ ก็ให้ใช้ยอดขายสทุธิแทนได้ ส่วนลกูหนีก้ารค้า

    เฉล่ียไมส่ามารถคํานวณได้ ก็ให้ใช้ลกูหนีก้ารค้าปลายงวดแทน

    ตวัอยา่งท่ี 2.7 การคํานวณอตัราหมนุเวียนของลกูหนีก้ารค้า แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    ลกูหนีก้ารค้าเฉลีย่ (บาท)

    351,200 + 632,160 432,000 + 351,200

    2 2

    = 491,680 351,200

    อตัราหมนุเวียนของลกูหนีก้ารค้า

    (รอบ)

    5,834,400 3,432,000

    491,680 351,200

    = 11.87 9.78 12

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความว่า ในปี 25X2 กิจการสามารถเปล่ียนลูกหนีก้ารค้าเป็น

    เงินสดได้ 11.87 รอบใน 1 รอบระยะเวลาบญัชี

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกบัคา่เฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการมี

    ความสามารถเปล่ียนลกูหนีก้ารค้าเป็นเงินสดได้ช้ากวา่

    (2) เม่ือเปรียบเทียบกับปี 25X1 พบว่า ปี 25X2 กิจการมีความ สามารถเปล่ียนลกูหนีก้ารค้าเป็นเงินสดได้เร็วกวา่

    3.2.2 ระยะเวลาในการจดัเก็บหนีเ้ฉล่ีย (average collection period) เป็นอตัราส่วนระหว่างยอดลูกหนีส้ิน้ปีกับยอดขายสุทธิต่อปี คณูด้วยจํานวนวนัใน 1 ปี อตัราส่วนนี ้

    จะบอกให้ทราบว่ากิจการใช้เวลาในการจัดเก็บหนีจ้ากลูกหนีเ้ฉล่ียก่ีวันต่อครัง้ สูตรของการ

    คํานวณ คือ

    (7)

    ระยะเวลาในการจดัเก็บหนี ้ (วนั) =

    ลกูหนีส้ิน้ปี

    ขายสทุธิ X จํานวนวนัใน 1 ปี

    =

    =

  • 30

    ตวัอยา่งท่ี 2.8 การคํานวณระยะเวลาในการจดัเก็บหนี ้ แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    ระยะเวลาในการจดัเก็บหนีเ้ฉลีย่(วนั)

    632,160 351,200

    5,834,400 3,432,000

    = 39.55 37.35 30

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความวา่ ในปี 25X2 กิจการจดัเก็บเงินจากลกูหนีก้ารค้าเฉล่ีย

    ได้ภายในระยะเวลา 39.55 วนั

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกับค่าเฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการ

    เก็บเงินจากลกูหนีก้ารค้าได้ลา่ช้ากวา่

    (2) เม่ือเปรียบเทียบกบัปี 25X1 พบว่าในปี 25X2 กิจการจดัเก็บเงินจากลกูหนีไ้ด้ลา่ช้ากวา่

    3.2.3 อตัราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (inventory turnover ratio) เป็นอัตราส่วนระหว่างต้นทุนขายกับสินค้าคงเหลือถัวเฉล่ีย หากไม่สามารถหาจํานวนสินค้า

    ถัวเฉล่ียได้ก็อนุโลมให้ใช้สินค้าคงเหลือปลายงวด อัตราส่วนนีจ้ะบอกให้ทราบว่า ใน 1 รอบ

    ระยะเวลาบญัชีกิจการมีการขายสินค้าได้เป็นก่ีรอบ สตูรของการคํานวณ คือ

    (8)

    หรือ

    (9)

    (10)

    X 365 X 365

    อตัราการหมนุเวียนของสนิค้าคงเหลอื =

    (รอบ)

    ต้นทนุขาย

    สนิค้าคงเหลอืถวัเฉลีย่

    อตัราการหมนุเวียนของสนิค้าคงเหลอื =

    (รอบ)

    ต้นทนุขาย

    สนิค้าคงเหลอืปลายงวด

    สนิค้าคงเหลอืถวัเฉลีย่ =

    (บาท)

    สินค้าคงเหลือต้นงวด + สินค้าคงเหลอืปลายงวด

    2

    =

  • 31

    ตวัอยา่งท่ี 2.9 การคํานวณอตัราการหมนุเวียนของสินค้าคงเหลือ แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    สนิค้าคงเหลอืถวัเฉลีย่ (บาท)

    =

    715,200 + 1,287,360 715,200

    2

    1,001,280

    715,200

    อตัราหมนุเวียนของสนิค้าคงเหลอื

    5,728,000 2,864,000

    (รอบ) 1,001,280 715,200

    = 5.72 4.01 6

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความวา่ ในปี 25X2 กิจการขายสินค้าได้ 5.72 รอบ ใน 1 ปี

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกับค่าเฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการ

    ผลิตหรือซือ้สินค้ามาขายได้มีประสิทธิภาพน้อยกวา่

    (2) เม่ือเปรียบเทียบกบัปี 25X1 พบว่าในปี 25X2 กิจการผลิตหรือซือ้สินค้ามาขายได้มีประสิทธิภาพมากขึน้

    3.2.4 ระยะเวลาในการขายสินค้าถัวเฉล่ียหรืออายุของสินค้า (average day’s sales in inventory) เป็นอตัราสว่นระหวา่งสนิค้าคงเหลือปลายงวดกบัต้นทนุขาย คณูด้วย

    จํานวนวันใน 1 ปี อัตราส่วนนีจ้ะบอกให้ทราบว่าการขายสินค้าใน 1 ครั ง้ หรือ 1 รอบ

    ใช้ระยะเวลาก่ีวัน เพ่ือแสดงให้เห็นว่ากิจการลงทุนในสินค้าคงเหลือ จนกระทั่งสามารถ

    เปล่ียนแปลงเป็นเงินสดได้ภายในก่ีวนั สตูรของการคํานวณ คือ

    (11)

    หรือ

    (12)

    ระยะเวลาในการขายสนิค้าถวัเฉลีย่ =

    (วนั)

    สนิค้าคงเหลอื

    ต้นทนุสนิค้าขาย X จํานวนวนัใน 1 ปี

    ระยะเวลาในการขายสนิค้าถวัเฉลีย่ =

    (วนั)

    จํานวนวนัใน 1 ปี

    อตัราการหมนุเวียนสนิค้าคงเหลอื

    =

    =

  • 32

    ตวัอยา่งท่ี 2.10 การคํานวณระยะเวลาในการขายสินค้าถวัเฉล่ีย แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    ระยะเวลาในการขายสนิค้าถวัเฉลีย่ (วนั)

    365 365

    5.72 4.01

    = 63.81 91.03 60

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความว่า ในปี 25X2 กิจการขายสินค้า 1 ครัง้ โดยเฉล่ียใช้

    ระยะเวลา 63.81 วนั

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกับค่าเฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการ

    ใช้ระยะเวลาในการขายสินค้าใน 1 ครัง้ได้ช้ากวา่

    (2) เม่ือเปรียบเทียบกับปี 25X1 พบว่าในปี 25X2 กิจการใช้ระยะเวลาในการขายสินค้าใน 1 ครัง้ได้เร็วขึน้

    3.2.5 อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม (total asset turnover) เป็นอัตราส่วนระหว่างยอดขายสุทธิกับสินทรัพย์รวม อัตราส่วนนีจ้ะบอกให้ทราบว่ากิจการลงทุน

    ในสินทรัพย์ประเภทตา่ง ๆ ก่อให้เกิดประโยชน์ในรูปของยอดขายได้เป็นก่ีเท่าของสินทรัพย์ทัง้หมด

    สตูรของการคํานวณ คือ

    (13)

    ตวัอยา่งท่ี 2.11 การคํานวณอตัราการหมนุของสินทรัพย์รวม แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    อตัราการหมนุของสนิทรัพย์รวม

    (เทา่)

    5,834,400 3,432,000

    2,866,592 1,468,800

    = 2.04 2.34 2.5

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความว่า ในปี 25X2 กิจการลงทุนในสินทรัพย์รวมก่อให้เกิด

    ประโยชน์ในรูปของยอดขายได้เป็น 2.04 เทา่

    อตัราการหมนุของสนิทรัพย์รวม =

    (เทา่)

    ขายสทุธิ

    สนิทรัพย์รวม

    =

    =

  • 33

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกับค่าเฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการ

    ลงทุนในสินทรัพย์รวมก่อให้เกิดประโยชน์ในรูปของยอดขายได้

    น้อยกวา่

    (2) เม่ือเปรียบเทียบกับปี 25X1 พบว่าในปี 25X2 กิจการลงทุนในสินทรัพย์รวมก่อให้เกิดประโยชน์ในรูปของยอดขายได้ลดลง

    3.2.6 อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร (fixed asset turnover) เป็นอัตราส่วนระหว่างยอดขายสุทธิกับสินทรัพย์ถาวรรวม อัตราส่วนนีจ้ะบอกให้ทราบว่ากิจการ

    สามารถใช้สินทรัพย์ถาวรประเภทต่าง ๆ ก่อให้เกิดประโยชน์ในรูปของยอดขายได้เป็นก่ีเท่าของ

    สินทรัพย์ถาวรทัง้หมด สตูรของการคํานวณ คือ

    (14)

    ตวัอยา่งท่ี 2.12 การคํานวณอตัราการหมนุของสินทรัพย์ถาวร แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    อตัราการหมนุของสนิทรัพย์ถาวร

    (เทา่)

    5,834,400 3,432,000

    939,790 344,800

    = 6.21 9.96 6.5

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความว่า ในปี 25X2 กิจการใช้สินทรัพย์ถาวร ก่อให้เกิด

    ประโยชน์ในรูปของยอดขายได้เป็น 6.21 เทา่

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกับค่าเฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการ

    ใช้สินทรัพย์ถาวรก่อให้เกิดประโยชน์ในรูปของยอดขายได้น้อยกวา่

    (2) เม่ือเปรียบเทียบกบัปี 25X1 พบว่าในปี 25X2 กิจการใช้สินทรัพย์ถาวรก่อให้เกิดประโยชน์ในรูปของยอดขายได้ลดลง

    3.3 อัตราส่วนความสามารถทํากําไร (profitability ratios) เป็นอตัราส่วน ท่ีสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม

    ได้แก่

    อตัราการหมนุของสนิทรัพย์ถาวร =

    (เทา่)

    ขายสทุธิ

    สนิทรัพย์ถาวรรวม

    =

  • 34

    3.3.1 กลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างกําไรกับยอดขาย อตัราส่วนกลุ่มนีใ้ช้วัดประสิทธิภาพในการบริหารงานของฝ่ายบริหารว่ามีการควบคุมค่าใช้จ่ายเพ่ือก่อให้เกิดกําไรต่อ

    ยอดขายมากน้อยเพียงใด อตัราสว่นท่ีใช้ในการคํานวณมี 3 อตัราสว่น ได้แก่

    3.3.1.1 อตัรากําไรขัน้ต้น (gross profit margin ratio) เป็นอตัราส่วนระหว่างกําไรขัน้ต้นกบัยอดขายสทุธิ อตัราส่วนนีจ้ะบอกให้ทราบถึงความสามารถในการทํากําไร

    ขัน้ต้นของกิจการ โดยยงัมิได้คํานงึถึงคา่ใช้จา่ยในการดําเนินงาน สตูรของการคํานวณ คือ

    (15)

    ตวัอยา่งท่ี 2.13 การคํานวณอตัรากําไรขัน้ต้น แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    อตัรากําไรขัน้ต้น (%)

    5,834,400 – 5,728,000

    5,834,400

    3,432,000 – 2,864,000

    3,432,000

    = 2 16.55 10

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความว่า ในปี 25X2 กิจการมีกําไรขัน้ต้นคิดเป็นร้อยละ 2 ของ

    ยอดขาย

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกับค่าเฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการ

    ยงัขาดประสิทธิภาพในการบริหารงาน

    (2) เม่ือเปรียบเทียบกบัปี 25X1 พบวา่ในปี 25X2 กิจการมี

    ประสิทธิภาพในการบริหารงานท่ีลดลง

    3.3.1.2 อัตราผลตอบแทนจากการดําเนินงาน (operation profit margin ratio) เป็นอตัราส่วนระหว่างกําไรจากการดําเนินงานกบัยอดขายสุทธิ อตัราส่วนนีจ้ะ

    บอกให้ทราบถึงความสามารถในการดําเนินงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งจะต้องคํานึงถึงคา่ใช้จ่ายจาก

    การดําเนินงาน สตูรของการคํานวณ คือ

    (16)

    อตัรากําไรขัน้ต้น (%) =

    กําไรขัน้ต้น

    ยอดขายสทุธิ X 100

    อตัราผลตอบแทนจากการดาํเนินงาน =

    (%)

    กําไรจากการดําเนินงาน

    ยอดขายสทุธิ X 100

    X 100 X 100 =

  • 35

    ตวัอยา่งท่ี 2.14 การคํานวณอตัราผลตอบแทนจากการดําเนินงาน แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    อตัราผลตอบแทนจากการดาํเนินงาน

    (%)

    (690,560)

    5,834,400

    209,100

    3,432,000

    = (11.84) 6.10 6

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความวา่ ในปี 25X2 กิจการขาดทนุจากการดําเนินงาน คิดเป็น

    ร้อยละ 11.84 ของยอดขาย

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกบัคา่เฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการมี

    ผลตอบแทนจากการดําเนินงานท่ีต่ํากว่า แสดงว่ากิจการขาด

    ประสิทธิภาพในการบริหารงาน

    (2) เ ม่ือเปรียบเทียบกับปี 25X1 พบว่าในปี 25X2 กิจการมีผลตอบแทนจากการดําเนินงานท่ีลดลง แสดงว่ากิจการมี

    ประสิทธิภาพในการบริหารงานท่ีลดลง

    3.3.1.3 อตัราผลตอบแทนจากกําไรสทุธิ (net profit margin ratio) เป็นอตัราส่วนระหว่างกําไรสทุธิกบัยอดขายสทุธิ อตัราส่วนนีจ้ะบอกให้ทราบถึงความสามารถใน

    การดําเนินงานของฝ่ายบริหารว่าใน 1 รอบระยะเวลาบญัชี กิจการมีกําไรสุทธิคิดเป็นร้อยละ

    เทา่ใดของยอดขายสทุธิ

    ตวัอยา่งท่ี 2.15 การคํานวณอตัราผลตอบแทนจากกําไรสทุธิ แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    อตัราผลตอบแทนจากกําไรสทุธิ (%)

    (519,936) 87,960

    5,834,400 3,432,000

    = (8.92) 2.57 8

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความว่า ในปี 25X2 กิจการมีผลขาดทุนสุทธิคิดเป็นร้อยละ

    8.92 ของยอดขายสทุธิ

    อตัราผลตอบแทนจากกําไรสทุธิ =

    (%)

    กําไรสทุธิ

    ยอดขายสทุธิ X 100

    X 100 X 100

    X 100 X 100

    (17)

    =

    =

  • 36

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกับค่าเฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการ

    มีผลตอบแทนจากกําไรสุทธิท่ีต่ํากว่า แสดงว่ากิจการยังขาด

    ประสิทธิภาพในการบริหารงาน

    (2) เ ม่ื อ เ ป รี ย บ เ ที ย บ กับ ปี 25X1 พ บ ว่ า ใ น ปี 25X2 กิ จ ก า ร มีผลตอบแทนจากกําไรสุทธิลดลง แสดงว่ากิจการมีประสิทธิภาพ

    ในการบริหารงานท่ีลดลง

    3.3.2 กลุม่ความสมัพนัธ์ระหวา่งกําไรกบัเงินลงทนุ อตัราส่วนนีจ้ะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการหากําไรจากเงินท่ีลงทนุไปในสินทรัพย์รูปแบบตา่ง ๆ ได้แก่ เงินลงทนุ

    ในสินทรัพย์รวม เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เงินลงทุนจากทุนส่วนของเจ้าของ เป็นต้น

    อตัราสว่นท่ีใช้ในการคํานวณ ได้แก่

    3.3.2.1 อตัราผลตอบแทนสุทธิจากสินทรัพย์รวม (return on total asset หรือย่อว่า ROA) เป็นอตัราส่วนระหว่างกําไรสทุธิกับสินทรัพย์รวม อตัราส่วนนีบ้อกให้

    ทราบว่าใน 1 รอบระยะเวลาบญัชี กิจการมีกําไรสุทธิคิดเป็นร้อยละเท่าใดของสินทรัพย์ทัง้หมด

    ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพในการหากําไรจากการลงทุนในสินทรัพย์รวม สูตรของการ

    คํานวณ คือ

    ตวัอยา่งท่ี 2.16 การคํานวณอตัราผลตอบแทนสทุธิจากสินทรัพย์รวม แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    อตัราผลตอบแทนสทุธิจากสนิทรัพย์รวม (ROA) = (519,936)

    2,866,592

    87,960

    1,468,800

    (%)

    = (18.14) 5.99 12

    การอ่านผลลัพธ์ หมายความว่า ในปี 25X2 กิจการมีผลขาดทุนสุทธิคิดเป็นร้อยละ

    18.14 ของสินทรัพย์รวม

    ผลการวิเคราะห์ (1) เม่ือเปรียบเทียบกบัคา่เฉล่ียอตุสาหกรรม พบว่าปี 25X2 กิจการมี

    ผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวมท่ีต่ํากวา่

    อตัราผลตอบแทนสทุธิจากสนิทรัพย์รวม (ROA) =

    (%)

    กําไรสทุธิ

    สนิทรัพย์รวม X 100

    X 100 X 100

    (18)

  • 37

    (2) เ ม่ือเปรียบเทียบกับปี 25X1 พบว่าในปี 25X2 กิจการมีผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวมลดลง

    ผลตอบแทนสุทธิจากสินทรัพย์รวม สามารถเรียกอีกช่ือหนึ่งว่า เป็นอตัราผลตอบแทน

    จากการลงทนุ (return on investment หรือย่อว่า ROI) ทัง้นีเ้น่ืองจากสตูรในการคํานวณอตัรา

    ผลตอบแทนจากการลงทนุ เป็นดงันี ้

    จากสตูรข้างต้นสามารถแทนคา่ได้ดงันี ้

    อตัราผลตอบแทนจากการลงทนุ (ROI) = X =

    (%)

    ซึ่งก็คือ สูตรของการคํานวณอัตราผลตอบแทนสุทธิจากสินทรัพย์รวม (ROA) ดังนัน้

    คา่ของ ROI จงึเทา่กบัคา่ของ ROA นัน่เอง

    3.3.2.2 อตัราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ ถือหุ้น (return on equity หรือยอ่วา่ ROE) เป็นอตัราสว่นระหวา่งกําไรสทุธิกบัสว่นของผู้ ถือหุ้น อตัราส่วนนีจ้ะบอกให้ทราบ

    ว่าใน 1 รอบระยะเวลาบญัชี กิจการมีความสามารถในการหากําไรได้ร้อยละเทา่ไรตอ่ส่วนของผู้

    ถือหุ้น ซึ่งใช้วดัความสามารถในการหาผลตอบแทนจากเงินลงทุนในส่วนของผู้ ถือหุ้นว่าได้มาก

    น้อยเพียงใด สตูรของการคํานวณ คือ

    ตวัอยา่งท่ี 2.17 การคํานวณอตัราผลตอบแทนจากสว่นของผู้ ถือหุ้น แสดงดงันี ้

    ปี 25X2 ปี 25X1 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

    อตัราผลตอบแทนจากสว่นของผู้ถือหุ้น (ROE)

    (%)

    (519,936)

    132,832

    87,960

    663,768