34
คำนำ รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทาข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดนี้ เป็นรายงาน สถานการณ์ที่สานักงานสถิติจังหวัดหนองคาย ได้จัดทาขึ้นเพื่อรวบรวมประมวลข้อมูลทีน่าสนใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4 ปี และวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว ด้วยการนาข้อมูล สารสนเทศมาประกอบการกาหนดผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ ( Product Champion) และห่วง โซ่มูลค่า ( Value Chain) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับ ตัวแปรที่สาคัญ ที่จะนาไปสู่การกาหนดปัจจัยสู่ความสาเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศ ตามประเด็นต่างๆ สานักงานสถิติจังหวัดหนองคาย ได้ดาเนินการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัด ใน 5 ประเด็น คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับ มาตรฐาน การผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการบริการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคน ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความมั่นคงเพื่อสังคมสงบสุข ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนสู่มาตรฐานสากล ในโอกาสนี้ สานักงานสถิติจังหวัดหนองคาย ขอขอบคุณคณะกรรมการสถิติ ระดับจังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นผลทาให้การวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์จังหวัดสาเร็จลุล่วงไปด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารพื้นที่ และผู้สนใจ

ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

ค ำน ำ

รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดนี้ เป็นรายงานสถานการณ์ที่ส านักงานสถิติจังหวัดหนองคาย ได้จัดท าขึ้นเพื่อรวบรวมประมวลข้อมูลที่น่าสนใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4 ปี และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว ด้วยการน าข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการก าหนดผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) และห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับ ตัวแปรที่ส าคัญ ที่จะน าไปสู่การก าหนดปัจจัยสู่ความส าเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศตามประเด็นต่างๆ

ส านักงานสถิติจังหวัดหนองคาย ได้ด าเนินการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัด ใน 5 ประเด็น คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับมาตรฐาน การผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการบริการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคน ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความมั่นคงเพื่อสังคมสงบสุข ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนสู่มาตรฐานสากล

ในโอกาสนี้ ส านักงานสถิติจังหวัดหนองคาย ขอขอบคุณคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นผลท าให้การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์จังหวัดส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารพื้นที่ และผู้สนใจ

Page 2: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ
Page 3: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

1

รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่

จังหวัดหนองคาย

ตามแผนพัฒนาจังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ. 2558 - 2561 ได้ก าหนดวิสัยทัศน์ เพื่อก าหนดทิศทางการพัฒนาดังน้ี

วิสัยทัศน์ : เมืองน่าอยู่เปิดประตูสู่อาเซียน

ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับมาตรฐาน การผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการบริการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคนชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมือง น่าอยู่

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความมั่นคงเพื่อสังคมสงบสุข

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนสู่มาตรฐานสากล

เป้าประสงค์ :

1. เพื่อให้การผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการบริการมีมาตรฐาน 2. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3. เพื่อให้ประชาชนมคีุณภาพชีวิตที่ดีและสิ่งแวดลอ้มยั่งยืน 4. เพื่อความสงบสุขเรียบรอ้ยตามแนวชายแดน

Page 4: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

2

ข้อมูลทั่วไป

จังหวัดหนองคายประกอบด้วย 9 อ าเภอ 62 ต าบล 722 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 512,439 คน เป็นชาย 256,372 คน คิดเป็นร้อยละ 50.03 เป็นหญิง 256,067 คน คิดเป็นร้อยละ 49.97 มีหลังคาเรือน 155,924 หลังคาเรือน และมีแม่น้ าโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,891,583 ไร่ ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความยาวทั้งสิ้น 210.60 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ที่ทอดขนานไปตามล าน้ าโขงโดยเฉลี่ย 20 - 25 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2 (มิตรภาพ) ประมาณ 615 กิโลเมตร

- ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ าโขง เส้นก้ันพรมแดนระหว่างไทย กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดอุดรธานี - ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดสกลนคร - ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย

จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวนัออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับ สปป.ลาว โดยมีชายแดนเป็นแม่น้ าโขงคั่นกลางยาวประมาณ 210 กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามกับนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของ สปป.ลาว และแขวงบอลิค้าไซ โดยมีการติดต่อทางการค้าผ่านช่องทางการค้าจ านวน 6 แห่ง ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 แห่ง ได้แก่ ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว, ด่านพรมแดนท่าเรือหนองคายและจุดผ่อนปรน 4 แห่ง ได้แก่ บ้านม่วง อ าเภอสังคม, บ้านหม้อ อ าเภอศรีเชียงใหม่, บ้านจมุพล อ าเภอโพนพิสัย และบ้านเปงจาน อ าเภอรัตนวาปี

Page 5: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

3

แผนภาพท่ี 1 : อาณาบริเวณจังหวัดหนองคาย

จังหวัดหนองคายมีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ

1,891,583 ไร่ ลักษณะเป็นรูปยาวเรียงทอดไปตามล าน้ าโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) มีความยาวทั้งสิ้น 210.60 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 615 กิโลเมตร

ตารางที่ 1 : จ านวนจุดผ่อนปรนและด่านถาวรจังหวัดหนองคาย

จุดผ่านแดนถาวร/ จุดผ่อนปรน

จ านวน เมืองเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคม

การคมนาคม สปป.ลาว ประเทศไทย

จุดผ่านแดนถาวร

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

1 บ้านดงพูสี เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์

อ าเภอเมืองหนองคาย

ทางบกข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว,รถยนต์,รถไฟ

ท่าเรือหนองคาย

1 ท่าเดื่อ เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์

อ าเภอเมืองหนองคาย

ทางน้ า, เรือหางยาว, เรือโดยสาร

Page 6: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

4

จุดผ่านแดนถาวร/ จุดผ่อนปรน

จ านวน เมืองเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคม

การคมนาคม สปป.ลาว ประเทศไทย

จุดผ่อนปรน

อ าเภอศรีเชียงใหม่

1 เมืองสีโคตรตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์

อ าเภอศรีเชียงใหม่

ทางน้ า, เรือหางยาว, เรือโดยสาร

บ้านเปงจาน 1 บ้านห้วย เมืองท่าพระบาท นครหลวงเวียงจันทน์

บ้านเปงจาน ต าบลโพนแพง อ าเภอรัตนวาปี

ทางน้ า, เรือหางยาว , เรือโดยสาร

หมู่ 1 ต าบลจุมพล

1 บ้านโคน เมืองปากงึมนครหลวงเวียงจันทน์

ต าบลจุมพล อ าเภอโพนพิสัย

ทางน้ า, เรือหางยาว, เรือโดยสาร

อ าเภอสังคม 1 เมืองสังทอง นครหลวงเวียงจันทน์

อ าเภอสังคม

ทางน้ า, เรือหางยาว, เรือโดยสาร

รูปแบบการค้าชายแดน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. การค้าชายแดนในระบบ เป็นการน าเข้าและส่งสินค้าออกที่ต้องผ่านพิธีการศุลกากรตามช่องทางการค้าตามจังหวัดชายแดน ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการน าเข้า-ส่งออก

2. การค้าชายแดนนอกระบบ การค้ารูปแบบนี้จะไม่ผ่านระบบพิธีการศุลกากร เป็นการท าการค้าเล็กๆ น้อยๆ ของประชาชนที่อยู่ตามแนวบริเวณชายแดน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคของใช้ประจ าวัน การค้าชายแดน

Page 7: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

5

การวิเคราะห์สถานการณ์ข้อมูล : ด้านเศรษฐกิจ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับมาตรฐานการผลิตการค้าการลงทุน การท่องเที่ยวและการบริการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน ประเด็นยุทธศาสตร์ที ่3 ส่งเสรมิการเกษตรยั่งยนื

การค้าชายแดน ภาวะการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ด้านจังหวัด

หนองคาย ในปี 2556 ตั้งแต่เดือน (มกราคม-กันยายน) มีมูลค่าทั้งสิ้น 43,668.41 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 ปรากฏว่ามูลค่าลดลง -6,110.50 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -12.2

แผนภูมิที่ 1 : เปรียบเทียบช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. 2555 กับ 2556

ท่ีมา : ด่านศุลกากรหนองคาย

Page 8: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

6

แผนภูมิที่ 2 : มูลค่าการค้าชายแดนเดือนมกราคม – กันยายน ปี พ.ศ. 2556

ท่ีมา : ด่านศุลกากรหนองคาย

การส่งออกสินค้าด้านจังหวัดหนองคาย ในปี 2556 (มกราคม - กันยายน) มีมูลค่าทั้งสิ้น 41,331.16 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 ปรากฏว่ามูลค่าลดลง -5,607.97 ล้านบาท หรือร้อยละ -11.95 สินค้าส่งออกที่ส าคัญและมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ ามัน รถยนต์นั่งที่มีกระบะพร้อมเครื่องปรับอากาศเครื่องยนต์ดีเซล รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุกพร้อมเครื่องปรับอากาศขับเคลื่อนสี่ล้อเครื่องยนต์ดีเซล ของปรุงแต่งที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เครื่องดื่มรวมถึงน้ าอัดลมที่มีน้ าตาลหรือสารท าให้หวานอื่นๆ (ไม่มีแอลกอฮอล์) รถแทรกเตอร์ใช้ในการเกษตร ลูกเหล็ก ของอื่นๆท าด้วยพลาสติก โทรศัพท์มือถือเครื่องโทรสาร เหล็กข้ออ้อย เป็นต้น

แผนภูมิที่ 3 : สินค้าส่งออก 10 อันดับ (มกราคม – กันยายน ปี พ.ศ. 2556)

ท่ีมา : ด่านศุลกากรหนองคาย

Page 9: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

7

การน าเข้าสินค้าด้านจังหวัดหนองคาย ในปี 2556 (มกราคม - กันยายน) มีมูลค่าทั้งสิ้น 2,337.25 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 ปรากฏว่ามูลค่าลดลง -502.53 ล้านบาท หรือร้อยละ -17.70 สินค้าน าเข้าที่ส าคัญและมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์ ชุดสายไฟรถยนต์ส าเร็จรูป ไอโซแท็งค์ส าหรับบรรจุก๊าซ (สุทธิน าเข้า) ส่วนประกอบรองเท้าด้านบน รถตู้โดยสารใหม่เครื่องยนต์ดีเซลไม่เกิน 2,500 ซีซี รถจักรยานยนต์ใหม่ ลูกชิดเช่ือม หม้อแปลงไฟฟ้า หนังสือเด็ก เป็นต้น

แผนภูมิที่ 4 : สินค้าน าเข้า 10 อันดับ (มกราคม – กันยายน ปี พ.ศ. 2556)

ท่ีมา : ด่านศุลกากรหนองคาย

การค้าผ่านแดนรวมที่ผ่านจังหวัดหนองคาย ในปี 2556 (มกราคม - กันยายน) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 31,695.38 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 ปรากฏว่าการค้าผ่านแดนรวมลดลง -6,574.30 ล้านบาท หรือร้อยละ -17.18

Page 10: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

8

แผนภูมิที่ 5 : เปรียบเทียบมูลค่าการค้าผ่านแดนช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. 2555 กับ ปี พ.ศ. 2556

ท่ีมา : ด่านศุลกากรหนองคาย

การค้าผ่านแดนขาออกจากประเทศที่สามไป สปป.ลาว ที่ผ่านจังหวัดหนองคาย ในปี 2556 (มกราคม-กันยายน) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 15,025.37 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 ปรากฏว่าการค้าผ่านแดนขาออกลดลง 5,452.29 ล้านบาทหรือร้อยละ 28.63 สินค้าผ่านแดนขาออกที่ส าคัญและมากที่สุด ได้แก่ รถบรรทุกและอะไหล่ ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบพร้อมอุปกรณ์ครบชุดสมบูรณ์ เหล็กประกอบโครงสร้าง รถขุดเก่าใช้แล้ว รถยนต์ครบชุดสมบูรณ์ ข้าวมอล์ท อุปกรณ์ก่อสร้าง รถบรรทุกเก่าใช้แล้ว รถบดถนน รถเกรดดิน รถดันดิน รถเกลี่ยดิน

แผนภูมิที่ 6 : สินค้าผ่านแดนขาออก 10 อันดับ ปี พ.ศ. 2556

ท่ีมา : ด่านศุลกากรหนองคาย

Page 11: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

9

การค้าผ่านแดนขาเข้าจาก สปป.ลาว ไปประเทศที่สามที่ผ่านจังหวัดหนองคายในปี 2556 (มกราคม-กันยายน) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 16,670.01 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 ปรากฏว่าการค้าผ่านแดนขาเข้าลดลง 1,122.01 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.31 สินค้าผ่านแดนขาเข้าที่ส าคัญและมากที่สุด ได้แก่ สินแร่ทองแดง เสื้อผ้า ซิลิคอน ใบยาสูบอบแห้ง รองเท้า ไม้ประดู่ลาวแปรรูป ไม้ประดู่ลาวปาร์เก้ ยาเส้นอบแห้ง อุปกรณ์ติดตั้งการสื่อสาร รถเครื่องขุดเจาะ และอุปกรณ์เครื่องขุดเจาะ รถเก็บกู้ระเบิดพร้อมอุปกรณ์ เป็นต้น

แผนภูมิที่ 7 : สินค้าผ่านแดนขาเข้า 10 อันดับ ปี พ.ศ. 2556

ท่ีมา : ด่านศุลกากรหนองคาย

ปัญหาอุปสรรคแนวทางการส่งเสริมและการแก้ปัญหา การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของไทยกับ

1. ประเทศเพื่อนบ้าน สภาวะปัจจุบันสะพานไทย-ลาวแห่งที่ 1 ได้มีการเปิด ใช้งานมานาน โดยสภาพของการจราจรนั้น มีปริมาณรถยนต์โดยสาร รถยนต์ส่วนบุคคล และรถบรรทุก ผ่านเข้าออกเป็นจ านวนมากทุกวัน อีกทั้งสะพานดังกล่าวยังมีเส้นทางรถไฟซึ่งใช้พื้นที่ร่วมกันด้วย ช่วงเวลาที่เปิดให้รถไฟใช้เส้นทาง การขนส่งทางรถยนต์ก็ต้องหยุดชะงัก ซึ่งในอนาคตรัฐบาลได้มีแนวโน้มการขยายเส้นทางรถไฟไปถึงนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว จะเป็นอุปสรรคในการขนส่งทางรถยนต์เป็นอันมาก

Page 12: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

10

2. การขนถ่ายสินค้าของ สปป.ลาว เน้นการใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร ท าให้เกิดการเสียเวลาและสินค้าเสียหาย เป็นเหตุให้การขนถ่ายสินค้าไม่เสร็จตามก าหนด ส่งผลให้บริษัทขนส่งสินค้าขาดทุนและไม่ยอมรับงาน

3. ระบบการค้าของ สปป.ลาว ยังไม่เป็นสากลและยังไม่มีความแน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบบ่อยครั้ง ในแต่ละแขวงมีการจัดเก็บอัตราภาษี ที่แตกต่างกัน ท าให้ผู้ส่งออกมีความสับสนและไม่สามารถวางแผนระยะยาวได้

4. สินค้าจากประเทศคู่แข่งในอาเซียน มีต้นทุนที่ต่ ากว่าสินค้าไทย และการลักลอบน าเข้าสินค้าตามแนวชายแดน

แนวทางการส่งเสริมและแก้ไขปัญหา และการติดตามผล

1. เห็นควรพิจารณาสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานไทย -ลาว แห่งที่ 1 หรือสนับสนุนการยกระดับจุดผ่อนปรนบ้านหม้อ อ าเภอศรีเชียงใหม่ ให้เป็นจุดผ่านแดนถาวร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อเป็นช่องทางจ าหน่ายสินค้าเกษตร เช่น ผักและผลไม้ อีกทั้งยังช่วยระบายสินค้าเกษตรในช่วงที่ฤดูกาลผลผลิตล้นตลาดเป็นการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรของไทยตกต่ าอีกทางหนึ่ง พร้อมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่อไป

2. รัฐบาลควรเร่งทบทวน แก้ไข กฎระเบียบทางการค้าที่ยังเป็นอุปสรรค ระหว่างกัน รวมทั้งเจรจากับ สปป.ลาว เพื่อความคล่องตัวและอ านวยความสะดวกต่อการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว

3. สินค้าไทยควรพัฒนาและเน้นจุดขายในด้านคุณภาพ สินค้าดีมีคุณภาพ และพยายามลดต้นทุนการผลิต โดยเสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบจากประเทศต่างๆ ในอนุภาคลุ่มน้ าโขง

4. ควรมีการหารือในส่วนภาครัฐกับเอกชนของไทย และ สปป.ลาว เพื่อร่วมกันพิจารณาการค้าชายแดนอย่างจริงจัง โดยมีนโยบายและการด าเนินการอย่างชัดเจน ในการผลิตสินค้าเกษตรใน สปป. ลาว เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ รวมทั้งมาตรการควบคุมในการน าเข้าสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบต่อไป

Page 13: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

11

จังหวัดหนองคายเลือก “เพิ่ มขีดความสามารถด้านการค้าชายแดน ” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ ส าคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่ งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 4 ปี (พ.ศ. 2558 – 25561) ซึ่งใน 5 ประเด็นยุทธศาสตร์นี้สามารถรวมประเด็นยุทธศาสตร์หลัก ได้เป็น 3 มิติ คือ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 3 : คือ มิติด้านเศรษฐกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 4 : คือ มิติด้านสังคม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : คือ มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที ่1 ประกอบไปด้วย

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอ านวยความสะดวกเพื่อรองรับเมืองน่าอยู่และประตูสู่อาเซียน

กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันด้านการผลิต และการบริการ กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรมตาม

ฤดูกาล กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาความรู้และทักษะด้านภาษาและฝีมือแรงงานเพื่อรองรับการ

เข้าสู่ประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาบุคลากรภาครัฐและนักลงทุนเกี่ยวกับข้อก าหนดและ

กฎหมายในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน

ในขณะที่ตัวชี้วัดในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ซึ่งอยู่ในมิติด้านเศรษฐกิจของจังหวัดและจังหวัดได้มีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์/ประเด็นส าคัญในด้านการเพิ่มขีดความสามารถด้านการค้าชายแดน ทั้งนี้ ตัวช้ีวัดของประเด็นยุทธศาสตร์ประกอบไปด้วย

ตัวชี้วัดที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 1 ประกอบไปด้วย

1. อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 2. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 3. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยวจังหวัด เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

Page 14: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

12

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาด้านการเพิ่มขีดความสามารถด้านการค้าชายแดน ประกอบไปดว้ย 6 กลยุทธ์ คือ

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน/เตรียมความพร้อมแรงงาน ได้แก่ การพัฒนา/ปรับปรุงเส้นทางสายหลัก การพัฒนา/ปรับปรุงเส้นทางสายรอง การพัฒนา/ปรับปรุงการขนส่งทางราง และพัฒนาฝีมือแรงงานและยกระดับมาตรฐานแรงงานด้วยมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

2. ขยาย/ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ การขยาย/ปรับปรุงระบบน้ าประปา การขยาย/ปรับปรุงระบบไฟฟ้า การขยาย/ปรับปรุงระบบโทรศัพท์ และการให้บริการไฟฟ้าสาธารณะ

3. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ การปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพขยายพื้นที่ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ

4. การพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมธุรกิจ ได้แก่ พัฒนาผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันรองรับการค้าการลงทุน พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ในธุรกิจโลจิสติกส์ เพื่อยกระดับธุรกิจสู่ เกณฑ์มาตรฐาน ส่งเสริม พัฒนาการรวมกลุ่มผู้ประกอบการค้า สร้างและขยายเครือข่ายการค้า การลงทุนทั้ งในและต่างประเทศ การยกระดับความพร้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Readiness) และพัฒนาแรงงานให้มีฝีมือเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์

5. พัฒนาการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ ให้ธุรกิจการค้า ได้แก่ การจัดตั้ ง ศูนย์กระจายสินค้า การพัฒนาประสิทธิภาพและลดต้นทุนการขนส่งและกระจายสินค้า การลดอัตราการสูญเสียระหว่างขนส่ง การลดต้นทุนในการบริหารจัดการและเก็บรักษาสินค้า คงคลัง การจัดการงานด้านศุลกากร (ส่งออก/น าเข้า) เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจโลจิสติกส์ และเตรียมชุมชนให้มีความพร้อมเข้าสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์

Page 15: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

13

6. พัฒนาด้านการตลาดและการบริการ ได้แก่ การท าการตลาดและประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ การจัดกิจกรรมส่งเสริมเครือข่ายธุรกิจ โลจิสติกส์ เช่น การรับแจ้งปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า เป็นต้น

แผนภาพท่ี 2 : ห่วงโซ่คุณค่า การเพิ่มขีดความสามารถด้านการค้าชายแดน

จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 1 และแนวโน้มยังคงรักษาความเป็นอันดับ 1 ในเรื่องของมูลค่ าการค้าชายแดนไทย -สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เนื่องจากจังหวัดหนองคายอยู่ตรงกันข้ามกับนครหลวง เวียงจันทร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ สปป.ลาว และเป็นโอกาสในการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปถึงสาธารณรัฐสังคมเวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้)

Page 16: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

14

วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัด ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจด้วยการน าข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการก าหนดผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญและห่วงโซ่คุณค่าและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับตัวแปรที่ส าคัญที่จะน าไปสู่การก าหนดปัจจัยสู่ความส าเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศซึ่งในยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับมาตรฐาน การผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการบริการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนโดยเลือก “ด้านการเพิ่มขีดความสามารถด้านการค้าชายแดน” มีการใช้รายงานสถิติทางการระดับจังหวัดด้านเศรษฐกิจซึ่งมีข้อมูล ที่ต้องจัดเก็บจ านวน 37 ชุดข้อมูล เป็นชุดข้อมูลที่มีการจัดเก็บปกติ 19 ชุดข้อมูล โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ส าคัญคือ พาณิชย์จังหวัด กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารจังหวัด ศุลกากรจังหวัด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรม จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่

ประมาณ 3,026.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1.9 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 0.59 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พื้นที่มีลักษณะพิเศษทอดยาวขนานตามล าน้ าโขงติดเขตชายแดนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังจากมีการแบ่งแยกเขตการปกครองออกไปบางส่วนเป็นจังหวัดบึงกาฬ ได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลด้านต่างๆ อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มีประเด็นที่ได้รับผลกระทบ ตัวอย่างเช่น ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการเกษตร ภาคการค้าและทรัพยากรป่าไม้ ส่วนสถานการณ์ที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก เช่น สถานการณ์ด้านสังคมและด้านความมั่นคง ดังนั้น ข้อมูลที่ใช้ในการน ามาวิเคราะห์ศักยภาพของจังหวัดบางส่วนยังคงเป็นข้อมูลของจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ บางข้อมูลเป็นข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้ 5 ปีย้อนหลัง แต่บางข้อมูลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นได้ ก็จะวิเคราะห์ในลักษณะ ประมาณการที่ใกล้เคียงโดยสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและความมั่นคงของจังหวัดหนองคาย

Page 17: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

15

ในด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส านักงานคลังจังหวัดหนองคายได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจจังหวัดหนองคาย โดยคาดว่า เศรษฐกิจจังหวัดหนองคายในปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 3.04 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.08 -3.93) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ปี 2556 โดยมีแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ภาคการบริการ การใช้จ่ายภาครัฐและการค้าชายแดน ส าหรับการลงทุนภาคเอกชน การบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะชะลอตัว ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมหดตัว ด้านอุปสงค์คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ปี 2556 โดยมีสาเหตุจากการขยายตัวของภาคการบริโภคภาคเอกชนอยู่ที่ร้อยละ 1.32 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.28-2.37 ต่อปี) เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าและบริการของประชาชนเพิ่มขึ้น การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเป็นผลจากสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องจากการแข่งขันของธนาคารในการระดม เงินฝากและขยายสินเชื่อผ่านผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การค้าชายแดนคาดว่าจะขยายตัวเนื่องจากผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าได้เพิ่มขึ้น ในส่วนของการใช้จ่ายภาครัฐบาลคาดว่าจะขยายตัวเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เนื่องจากเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพิ่มขึ้น และในส่วนของเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในจังหวัดนั้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2557 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4-5 ต่อปี) ได้รับแรงกดดันจากต้นทุนการผลิตภายในประเทศที่สูงขึ้น ได้แก่ ต้นทุนค่าจ้างแรงงานตามการปรับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ าขึ้นทั่วประเทศ และต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มระดับราคาน้ ามันเชื้อเพลิงทุกชนิด ส าหรับการจ้างงานคาดว่าจะอยู่ที่ 305,291 คน ขยายตัวร้อยละ 2.77 จากป ี2556

ซึ่งในมิติด้านเศรษฐกิจมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ ยกระดับมาตรฐาน การผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการบริการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ ส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน โดยก าหนดเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์ คือ “การผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการบริการมีมาตรฐาน และมีขีดความสามารถในการแข่งขัน” ซึ่งมีกลยุทธ์และตัวชี้วัดที่ส าคัญในการก าหนดให้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นผลิตภัณฑ์ทางด้านเศรษฐกิจที่ส าคัญของจังหวัดโดยจังหวัด ได้ก าหนดให้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญ

Page 18: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

16

(Product Champion) และจากการที่จังหวัดหนองคายได้รับการจัดล าดับจากวารสาร The Us Magazine Modern Maturity ให้ เป็น “บ้านพ านักที่ สองของชาวอเมริกันผู้ สู งอายุ” ที่น่าอยู่ที่สุดล าดับที่ 7 จาก 15 ล าดับ จากการส ารวจสถานที่ต่างๆ 40 แห่งทั่วโลก โดยเกณฑ์ ในการคัดเลือกประกอบด้วยตัวชี้วัด 12 อย่าง ได้แก่ ภูมิอากาศ ค่าครองชีพ ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ระบบบริการสาธารณสุข สถานที่พักอาศัย การคมนาคมการบริการทางการแพทย์ สภาพแวดล้อม สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ความปลอดภัย ความมั่นคงทางการเมือง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

นอกจากนี้จังหวัดหนองคายได้ก าหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ของจังหวัด มี 3 ประเด็น คือ ส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้าชายแดน และส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน โดยประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 3 เป็นตัวสนับสนุน ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ อยู่ในมิติด้านเศรษฐกิจ มีเป้าประสงค์ คือ “เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับมาตรฐานให้กับการผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการบริการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน” ซึ่งมี กลยุทธ์ที่ส าคัญในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 3 ดังน้ี

กลยุทธ์ที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 1 ประกอบไปด้วย

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอ านวยความสะดวกเพื่อรองรับเมืองน่าอยู่และประตูสู่อาเซียน

กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันด้านการผลิต และการบริการ กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรมตาม

ฤดูกาล กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาความรู้และทักษะด้านภาษาและฝีมือแรงงานเพื่อรองรับ

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาบุคลากรภาครัฐและนักลงทุนเกี่ยวกับข้อก าหนดและ

กฎหมายในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน

Page 19: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

17

กลยุทธ์ที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 3 ประกอบไปด้วย

กลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการเกษตร

ในขณะที่ตัวชี้วัดในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 3 ซึ่งอยู่ในมิติด้านเศรษฐกิจของจังหวัดและจังหวัดได้มีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ /ประเด็นส าคัญในด้านการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรม และข้าว ทั้งนี้ ตัวชี้วัดของประเด็นยุทธศาสตร์ประกอบไปด้วย

ตัวช้ีวัดที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 1 ประกอบไปด้วย 1. อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 2. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 3. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยวจังหวัด เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

ตัวช้ีวัดที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 3 ประกอบไปด้วย ร้อยละที่ เพิ่มขึ้นของจ านวนแปลง/ฟาร์มที่ได้รับการรับรอง GAP เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 10

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรมประกอบไปด้วย 6 กลยุทธ์ คือ

1. วางยุทธศาสตร์/แผนการท่องเที่ยว การวางแผนและก าหนดต าแหน่ง เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Positioning) ส าหรับการท่องเที่ยวการก าหนดนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย การรวบรวมและจัดท าข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม การก าหนดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) และสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

2. พัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยว พัฒนามาตรฐานมัคคุเทศก์/ ผู้น าเที่ยว ส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว

3. พัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านท่องเที่ยว/ทรัพยากร พัฒนาทรัพยากรทางการท่องเที่ยว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ไฟฟ้า ป้ายบอกทาง การจัดการปัญหาจากการท่องเที่ยว อาทิ สิ่งปฏิกูล ขยะและมลภาวะ

Page 20: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

18

4. พัฒนาแหล่งและกิจกรรมท่องเที่ยว สร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ยกระดับคุณภาพสิ่งอ านวยความสะดวกในสถานที่ท่องเที่ยว เช่นห้องน้ าและน้ าดื่มสาธารณะ

5. พัฒนาธุรกิจบริการการท่องเที่ยว การรับรองมาตรฐานที่พักและโรงแรม พัฒนามาตรฐานธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว อาทิ ร้านอาหาร โชว์พิเศษต่างๆ พัฒนามาตรฐานสินค้า ของฝากและของที่ระลึก พัฒนามาตรฐานธุรกิจน าเที่ยว

6. พัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์ การท าการตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ การตลาดเชิงรุกผ่านสื่อสมัยใหม่ (Social Network)

ทั้งนี้ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาฯ สอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และปัจจัยสู่ความส าเร็จ ดังแผนภาพที่ 3

แผนภาพท่ี 3 : ห่วงโซ่คุณค่าด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรม

ลักษณะของการท่องเที่ยวในจังหวัดหนองคายโดยทั่วไปนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ/นิเวศ แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา และ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประเพณี ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายและเป็น เมืองชายแดนที่ติดต่อกับนครเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ สปป.ลาว และนักท่องเที่ยวนิยมที่จะไปข้ามไปท่องเที่ยวมากขึ้น สังเกตได้จากข้อมูลจ านวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านเข้าออก ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.32 ต่อปี อยู่ที่ 418,925 คน ปรับตัวดีขึ้นจากปี พ.ศ. 2556 ที่หดตัวร้อยละ 10.29

Page 21: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

19

แผนภูมิที ่8 : ร้อยละของนักท่องเที่ยวที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย พ.ศ. 2552-2557

ท่ีมา : ด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย

การท่องเที่ยวยังมีจุดแข็งที่ส าคัญที่ชี้ให้เห็นว่าสามารถเพิ่มมูลค่า มีจ านวนนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดินทางมาท่องเที่ยวประมาณ 2.1 ล้านคน ซึ่งในช่วง ปี 2553 – 2555 จังหวัดหนองคายท ารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มจังหวัด โดยมีรายได้ถึงกว่า 3 ,500 ล้านบาท แรงจูงใจในอันดับแรก คือ สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ ระยะทางและความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและความปลอดภยั

ตารางที่ 2 : จ านวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยว จ าแนกตามจังหวัดใน กลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน 1 ปี พ.ศ. 2553 - 2555

จังหวัด

พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555 จ านวน

นักท่องเที่ยว (คน)

รายได้จาก การท่องเที่ยว (ล้านบาท)

จ านวนนักท่องเที่ยว

(คน)

รายได้จาก การท่องเที่ยว (ล้านบาท)

จ านวนนักท่องเที่ยว

(คน)

รายได้จาก การท่องเที่ยว (ล้านบาท)

รวม 5,720,272 10,242 6,538,020 11,994 6,884,442 12,836 อุดรธาน ี 2,592,009 5,689 2,973,569 6,221 2,750,429 6,358 เลย 1,044,467 1,367 1,105,981 1,577 1,365,772 2,200 หนองบัวล าภ ู 209,566 126 304,208 264 287,950 268 หนองคาย 1,874,230 3,060 2,151,028 3,579 2,103,000 3,505 บึงกาฬ - - 3,234 352 377,291 504

ท่ีมา : การท่องเท่ียวแห่งประเทศไทย ส านักงานอุดรธานี

ร้อยละ

พ.ศ.

Page 22: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

20

นอกจากนี้ จังหวัดหนองคายยังคงมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรม ที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และสามารถสร้างผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมให้แก่จังหวัดหนองคายได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถน าไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดหนองคายและพื้นใกล้เคียงให้มีคุณภาพที่เกิดประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวสืบไป ดังแผนภูมิแสดงจ านวน และรายได้นักท่องเที่ยว ดังน้ี

แผนภูมิที ่9 : จ านวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ. 2551-2555

ท่ีมา : การท่องเท่ียวแห่งประเทศไทย ส านักงานอุดรธานี

แผนภาพที่ 4 : การท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย

ท่ีมา : ส านักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดหนองคาย

จ านวน (คน)

1,093,684 1,035,142

1,874,2302,151,028 2,103,000

1,998 1,503

3,0593,579 3,505

0

1,000

2,000

3,000

4,000

5,000

6,000

0

500,000

1,000,000

1,500,000

2,000,000

2,500,000

3,000,000

2551 2552 2553 2554 2555จ านวนนักท่องเท่ียว รายได้จากการท่องเท่ียว

Page 23: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

21

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นการก าหนดความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีแนวโน้มสัมพันธ์กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเพณีและวัฒนธรรม Y = F (X1, X2, X3,….Xn) เพื่อก าหนดห่วงโซ่คุณค่าและปัจจัยสู่ความส าเร็จที่ส าคัญ ซึ่งพิจารณารายการสถิติทางการที่มีข้อมูลเพื่อค านวณหาค่าความสัมพันธ์ ท าให้ได้สมการและแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล ดังนี้

แผนภูมิที ่10 : เปรียบเทียบรายได้จากการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน ปี พ.ศ. 2554 – 2555

ท่ีมา : การท่องเท่ียวแห่งประเทศไทย ส านักงานอุดรธานี

Y “การส่งเสรมิการ

ท่องเที่ยวฯ” = X1 + X2 + X3 + X4

รายได้จากการท่องเทีย่ว

จ านวนนักท่องเที่ยวคนไทย/ต่างชาต ิ

ระยะเวลาพ านักเฉลี่ย

ค่าใช่จ่ายเฉลี่ย

สถานประกอบการที่พักแรม

Page 24: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

22

แผนภูมิที่ 11 : จ านวนนักท่องเที่ยว (พันคน) แผนภูมิที่ 12 : ค่าใช้จ่ายเฉลีย่ต่อคนต่อวัน (บาท) ปี พ.ศ. 2553– 2555 ปี พ.ศ. 2553–2555

แผนภูมิที่ 13 : รายได้จากการท่องเที่ยว (ล้านบาท) แผนภูมิที่ 14 : ระยะเวลาพ านักเฉลี่ย (วัน) ปี พ.ศ. 2553 – 2555 ปี พ.ศ. 2554 - 2556

จากแผนภูมิที่ 10 - 14 แสดงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีแนวโน้มสัมพันธ์กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดหนองคาย ซึ่งการวิเคราะห์ศักยภาพและต าแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ของจังหวัดตามแผนพัฒนาจังหวัด (พ.ศ. 2558 - 2561) ของส านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งแผนพัฒนาจังหวัดหนองคาย 4 ปี (พ .ศ. 2558 - 2561) นั้น การเลือก “การส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรม” เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพของจังหวัดหนองคาย ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน (สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานทรัพยากร การท่องเที่ยวตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนและท้องถิ่น)

Page 25: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

23

และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับมาตรฐาน การผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการบริการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน

การท่องเที่ยวและการบริการจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนจะต้องอาศัย การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว และทรัพยากรด้านต่างๆ ให้มีความพร้อมที่จะรองรับลูกค้า เพราะการสร้างความประทับใจจะเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวและผู้ใช้บริการกลับมาใช้บริการอีกครั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่หน่วยงานต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องควรให้ความส าคัญควบคู่กันไป อย่างไรก็ตามการพัฒนาบุคลากรภาคการท่องเที่ยวและบริการเปรียบเสมือนกุญแจอีกดอกที่มีความส าคัญ และมีบทบาทในการสร้างความแตกต่างให้กับการบริการ การพัฒนาองค์ประกอบของอุปทานแต่เพียงประการเดียวจะไม่สามารถสร้างความโดดเด่นให้กับการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ หากแต่จะต้องท าการกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ควบคู่กันไป ดังนั้น แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวและการบริการตามห่วงโซ่แห่งคุณค่าด้านบนนี้จึงเป็นแนวความคิดพื้นฐานในการจ าแนกโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวและการบริการได้ดีที่สุดแนวความคิดหนึ่ง

วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจด้วยการน าข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการก าหนดผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญและห่วงโซ่คุณค่าและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับตัวแปรที่ส าคัญที่จะน าไปสู่การก าหนดปัจจัยสู่ความส าเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศซึ่งในยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับมาตรฐาน การผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการบริการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน โดยเลือก “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรม” มีการใช้รายงานสถิติทางการระดับจังหวัดด้านเศรษฐกิจประกอบไปด้วย 2 สาขาที่ส าคัญ คือ สาขาบัญชีประชาชาติและสาขาสถิติการท่องเที่ยว ซึ่งมีข้อมูล ที่ต้องจัดเก็บจ านวน 40 ชุดข้อมูล เป็นชุดข้อมูลที่มีการจัดเก็บปกติ 40 ชุดข้อมูล โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ส าคัญ คือ ส านักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดหนองคาย การท่องเที่ยวเขต และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

---------------------------------

Page 26: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

24

แหล่งที่มาของข้อมูล 1. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส านักงานอุดรธานี 2. ส านักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดหนองคาย 3. ส านักงานจังหวัดหนองคาย 4. ส านักงานคลังจังหวัดหนองคาย 5. ส านักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดหนองคาย

Page 27: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

25

การวิเคราะห์สถานการณ์ข้อมูล : ด้านสังคม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคนชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เปน็เมืองน่าอยู ่ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เสรมิสร้างความมั่นคงเพื่อสังคมสงบสุข

ยาเสพติด ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 “เสริมสร้างความมั่งคงเพื่อสังคมสงบสุข” ซึ่งมี

3 กลยุทธ์ที่ส าคัญ และ 1 ตัวช้ีวัด

กลยุทธ์ที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 4 ประกอบไปด้วย กลยุทธ์ที่ 1 สร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรักษาความสงบ

เรียบร้อยตามแนวชายแดน กลยุทธ์ที่ 2 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน กลยุทธ์ที่ 3 การเสริมสร้างความมั่งคงในมิติวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และ

การจัดการโดยสันติวิธี

ตัวชี้วัดที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 4 ประกอบด้วย ร้อยละที่ลดลงของคดีอาชญากรรม (ลดลงร้อยละ 20)

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาด้านเสริมสร้างความมั่งคงเพื่อสังคมสงบสุข ประกอบไปด้วย

1. ส่งเสริมความอบอุ่นในครอบครัว ส่งเสริมกิจกรรมสร้างศีลธรรมจริยธรรมในครอบครัว ส่งเสริมความสามัคคีในครอบครัวและชุมชน

2. ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนของเยาวชน /ชุมชน และการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนชุมชนในการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์บริหารจัดการฐานข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่น

3. ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนทุกระดับวัย การส่งเสริมความรู้ทักษะกิจกรรมและสุขภาวะที่ดีส าหรับเด็กและเยาวชน การดูแลสุขภาวะและป้องกันโรคส าหรับผู้สูงอายุ การดูแลผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงซึ่งบริการสุขภาพได้สะดวกรวดเร็ว

Page 28: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

26

4. การสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การป้องกัน /ป้องปราบ/ปราบปรามยาเสพติด การลดอุบัติเหตุบนท้องถนน การลดปัญหาอาชญากรรม การป้องกันรับมือบริหารจัดการด้านภัยพิบัติหรือกรณีฉุกเฉินต่างๆ ในชุมชน เช่น น้ าท่วม ไฟไหม้

5. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ/การมีงานท า/รายได้ จัดกิจกรรมส่งเสริมการออมในชุมชนและเสริมรายได้แรงงาน ลดปัญหาการว่างงานในพื้นที่

6. การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี การพัฒนาเมืองให้น่าอยู่เพื่อให้ประชาชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีคุณภาพ การจัดการมลพิษ (คุณภาพน้ าอากาศ/ขยะและของเสียอันตรายชุมชน และอุตสาหกรรม ) การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน (พื้นที่สีเชียว และภูมิทัศน์)

ทั้งนี้ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาฯ สอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และปัจจัยสู่ความส าเร็จ ดังแผนภาพที่ 5

แผนภาพท่ี 5 : ห่วงโซ่คุณค่า ยาเสพติด

Page 29: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

27

การค้ายาเสพติดเกิดขึ้นเนื่องจากสถานการณ์การค้ายาเสพติดของกลุ่มผู้ ค้า ทั้งฝั่งไทยและฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด กลุ่มผู้ค้าบางกลุ่มยังเป็นกลุ่มเดิม ซึ่งปัจจุบันมีฐานะร่ ารวย มีเครือข่ายการค้าที่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการค้าใหม่ๆ กลุ่มผู้ค้าที่เกิดขึ้นใหม่จะเป็นกลุ่ มผู้เสพและผู้ค้ารายย่อย รวมไปถึงผู้ค้ารายใหญ่ในพื้นที่ ฉะนั้นสถานการณ์ของยาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ถ้าสามารถจัดตั้งจุดตรวจโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ร่วมกับชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ณ จุดผ่อนปรนการค้าและช่องทางตามธรรมชาติ ที่เป็นจุดข้ามไป - มา ระหว่างฝั่งไทย- ฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและจุดข้ามของกลุ่มผู้ลักลอบค้าสินค้าหนีภาษีได้อย่างทั่วถึง

ตารางที่ 3 : สถิติคดียาเสพติดและของกลางที่จับกุมได้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 – 2556

ปีงบประมาณ คด ี ราย

ของกลาง ยาบ้า (เม็ด)

กัญชา (กก.)

ไอซ์ (กก.)

เฮโรอนี(กก.)

ฝิ่น (กก.)

โคเคน(กก.)

สารระเหย(หน่วย)

2554 1,393 1,478 412,146 658.323 1.350 - 1.248 - 54 2555 2,307 2,377 239,859 192.265 1.369 0.520 - - 56 2556 2,595 2,659 228,360 362.887 11.964 - 0.900 2.460 42

ท่ีมา : ต ารวจภูธรจังหวัดหนองคาย

จากตารางที่ 3 พบว่า จ านวนคดียาเสพติดมีการจับกุมได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและของกลางที่จับกุมได้โดยเฉพาะยาไอซ์ มีจ านวนเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าจากปีงบประมาณ 2554 แสดงให้เห็นว่า ยังมีจ านวนผู้เสพและครอบครองยาเสพติดมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องมาจากการลักลอบล าเลียง/น าเข้าครั้งละจ านวนน้อย หรือเป็นรูปแบบกองทัพมด เป็นต้น

Page 30: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

28

ตารางที่ 4 : จ านวนผู้ถูกจับกุมคดียาเสพติด จ าแนกตามภูมิล าเนาของผู้ถูกจับกุม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 – 2556

ปีงบประมาณ ภูมิล าเนาผู้ถูกจับกุม

ภายในประเทศ ต่างประเทศ หนองคาย จังหวัดอ่ืนๆ สปป.ลาว เวียดนาม พม่า รัสเซีย โมซัมบิก

2554 799 510 113 2 - - - 2555 1,642 475 92 1 1 - - 2556 1,991 459 120 1 1 2 1

หมายเหตุ : บางคดีไม่มีผู้ต้องหา/ผู้ต้องหาบางรายถูกจับซ้ า/คดีเสพในเรือนจ าซึ่งไม่มีข้อมูลภูมิล าเนา ท่ีมา : ต ารวจภูธรจังหวัดหนองคาย

เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลผู้ถูกจับกุม ปีงบประมาณ 2554 - 2556 พบว่า คนในพื้นที่จังหวัดหนองคายถูกจับเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลการจับกุมคนนอกพื้นที่ เมื่อรวมคนต่างชาติ มีจ านวน ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยที่พื้นที่จังหวัดยังคงเป็นเส้นทางผ่านในการล าเลียงยาเสพติดเข้าสู่พื้นที่ตอนในโดยมีนักค้าจากนอกพื้นที่เดินทางเข้ามาลักลอบน าเข้ายาเสพติด

แผนภูมิที่ 13 : ร้อยละผู้ถูกจับกุมคดียาเสพติดต่อประชากรแต่ละอ าเภอ จ าแนกตาม อ าเภอปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

ท่ีมา : ต ารวจภูธรจังหวัดหนองคาย

0.130.08

0.150.19 0.18

0.09

0.18

0.50

0.30

0.42

0.15

0.300.25

0.61

0.14

0.22

0.57

0.25

0.55

0.21

0.37

0.27

0.60

0.180.21

0.67

0.30

0

0.1

0.2

0.3

0.4

0.5

0.6

0.7

0.8

เมือง ท่าบ่อ โพนพิสัย ศรีเชียงใหม่ สังคม สระใคร เฝ้าไร่ รัตนวาปี โพธิ์ตาก

2554 2555 2556ร้อยละ

อ าเภอ

Page 31: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

29

ในปี พ.ศ. 2556 คนในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ถูกจับกุมคดียาเสพติดจ านวน 1,964 คน คิดเป็นร้อยละ 0.39 ต่อจ านวนประชากรทั้งจังหวัด โดยอ าเภอที่มีราษฎรถูกจับกุมคดียาเสพติดจ านวนมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบจ านวนประชากร คือ อ าเภอรัตนวาปี ร้อยละ 0.67 อ าเภอสังคม ร้อยละ 0.60 และอ าเภอเมืองหนองคาย ร้อยละ 0.55 ตามล าดับ

ตารางที่ 5 : จ านวนผู้เข้ารับการบ าบัดรักษา จ าแนกตามระบบการบ าบัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 – 2556

ระบบการบ าบัดรักษา ปีงบประมาณ

พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2556 รวม 652 2,446 2,433 ระบบสมัครใจ 162 1,275 1,067 ระบบบังคับบ าบัด 440 1,099 1,166 ระบบต้องโทษ 50 72 200

ท่ีมา : ต ารวจภูธรจังหวัดหนองคาย

ข้อมูลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการบ าบัดรักษา ในปีงบประมาณ พ.ศ.2555 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่าจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เนื่องจากนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล โดยถือว่าผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วย และน าผู้ป่วยดังกล่าวเข้าสู่ระบบการบ าบัดรักษา ทั้งในสถานพยาบาล และค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับอ าเภอทุกอ าเภอ

ตารางที่ 6 : ร้อยละผู้เข้ารับการบ าบัดรักษา จ าแนกตามช่วงอายุ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 – 2556

ช่วงอาย ุ ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ต่ ากว่า 18 ปี 22.33 21.34 17.72 18 - 24 ปี 41.87 41.23 42.36 25 - 29 ปี 14.29 15.03 12.53 30 - 34 ปี 10.67 10.40 12.32 35 - 39 ปี 4.43 6.53 7.03 40 ปีขึ้นไป 6.40 5.47 8.04

ท่ีมา : ต ารวจภูธรจังหวัดหนองคาย

Page 32: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

30

ปัญหาอุปสรรคของยาเสพติดของจังหวัดหนองคาย

1. ด้านกายภาพ จังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดชายแดน มีแม่น้ าโขงเป็นเส้นเขตแดน

ความยาวประมาณ 220 กิโลเมตร ท าให้ยากต่อการสกัดกั้นการลักลอบน าเข้ายาเสพติด โดยเฉพาะในฤดูแล้ง น้ าในแม่น้ าโขงลดลง บางพื้นที่สามารถเดินข้ามไปมาได้สะดวก

2. ด้านการจัดการองค์กร 2.1 ไม่มีองค์กร/ส่วนราชการที่รับผิดชอบด้านยาเสพติดโดยตรงในระดับ

จังหวัด โดยการจัดองค์กรในปัจจุบัน เป็นการจัดองค์กรแบบเฉพาะกิจที่บูรณาการบุคลากรจากหน่วยราชการในพื้นที่ เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกันในศูนย์อ านวยการพลังแผ่นดินจังหวัดฯ

2.2 งานด้านยาเสพติด เป็นงานที่ต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์ เสียสละ และทุ่มเทก าลังกาย/ก าลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ผู้ปฏิบัติงานไม่มีความเจริญก้าวหน้าใน สายงานที่เป็นต้น เนื่องจากภารกิจด้านยาเสพติดไม่ใช่ภารกิจตามกรอบต าแหน่งหน้าที่ของตน

2.3 ส่วนราชการที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดทุกส่วนราชการมีภารกิจและหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการควบคู่กันไปด้วย ท าให้งานด้านยาเสพติดเหมือนเป็นงานฝาก

3. ด้านการสร้างขวัญและก าลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด 3.1 จ านวนอัตราโควตาได้รับการจัดสรรลดลง ท าให้ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด

ได้รับการพิจารณาบ าเหน็จความชอบไม่ทั่วถึง 3.2 ห้วงระยะเวลาการจัดสรรบ าเหน็จความชอบของการปฏิบัติงานด้าน

ยาเสพติด ล่วงเลยระยะเวลาการปฏิบัติงานในปีงบประมาณนั้นๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานดีเด่นหรือผู้บังคับบัญชาของผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวอาจได้รับการแต่งตั้งไปด ารงต าแหน่งที่อื่น ซึ่งท าให้ ผู้ปฏิบัติหน้าทีท่ี่มีผลงานดีเด่น อาจไม่ได้รับการพิจารณาความชอบ

3.3 ระเบียบในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่และราษฎรผู้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ กรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ ไม่เป็นที่จูงใจในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ที่มีอันตรายและเสี่ยงภัย โดยกรณี เสียชีวิ ตได้รับสิทธิการช่วยเหลือ ไม่ เกินสี่แสนบาท ประกอบด้วย

Page 33: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

31

(1) ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและ เงินรางวัลคดียาเสพติด

(2) ระเบียบคณะอนุกรรมการกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินของกองทุน

(3) ระเบียบมูลนิธิป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการช่วยเหลือสงเคราะห์เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

(4) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ไม่ได้สิทธิหรือค่าตอบแทนพิเศษ (เบี้ยเลี้ยง) นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของหน่วย

4. การสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด

4.1 ขาดความร่วมมือจากภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด เนื่องจากเห็นว่าเป็นหน้าที่ของภาคราชการ

4.2 ประชาชนขาดแรงจูงใจในการร่วมมือกับทางราชการ เช่น เงินช่วยเหลือในการแจ้งข่าวแจ้งเบาะแสค่าตอบแทนในการอยู่เวรรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน เกรงกลัวอิทธิพล เป็นต้น

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของจังหวัดหนองคาย

1. การสร้างความร่วมมือกับประเทศเพ่ือนบ้าน

1.1 จัดให้มีการประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ระหว่างส านักงาน BLO จังหวัดหนองคาย กับส านักงาน BLO นครหลวงเวียงจันทน์

1.2 จัดให้มีการลาดตระเวนร่วมในแม่น้ าโขงระหว่างคณะเจ้าหน้าที่ส านักงาน BLO อ าเภอเมืองหนองคาย กับเมืองหาดทรายฟอง และระหว่างคณะเจ้าหน้าที่ส านักงาน BLO อ าเภอศรีเชียงใหม่กับเมืองสีโคดตะบอง

1.3 จัดให้มีการประชุมเป็นทางการ และพบปะหารือแลกเปลี่ยนข่าวสารแบบไม่เป็นทางการ ระหว่างคณะเจ้าหน้าที่ส านักงาน BLO อ าเภอศรีเชียงใหม่ กับเมืองสีโคดตะบอง และคณะเจ้าหน้าที่ส านักงาน BLO อ าเภอเมืองหนองคาย กับเมืองหาดทรายฟอง

Page 34: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file...2 ข อม ลท วไป จ งหว ดหนองคายประกอบด วย 9 อ าเภอ

32

2. การสกัดกั้นยาเสพติด 2.1 การสกัดกั้นยาเสพติดพื้นที่ชายแดนเน้นการสกัดกั้นการลักลอบน าเข้า

ยาเสพติด 2.2 การสกัดกั้นยาเสพติดพื้นที่ตอนในเน้นการสกัดกั้นเส้นทางล าเลียง

ยาเสพติดในพื้นที่ตอนใน โดยจัดชุดปฏิบัติการสกัดกั้นเส้นทางการล าเลียงยาเสพติดพื้นที่ตอนใน

3. การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด 3.1 การสร้างภูมิคุ้มกันเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษา 3.2 การสร้างระบบป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา 3.3 การป้องกันเยาวชนนอกสถานศึกษา

แนวโน้มและสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์การค้ายาเสพติดของกลุ่มผู้ค้าทั้งฝั่งไทย และฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด กลุ่มผู้ค้าบางกลุ่มยังเป็นกลุ่มเดิม ซึ่งปัจจุบันมีฐานะร่ ารวย มีเครือข่ายการค้าที่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการค้าใหม่ๆ กลุ่มผู้ค้าที่เกิดขึ้นใหม่จะเป็นกลุ่มผู้เสพและผู้ค้ารายย่อย รวมไปถึงผู้ค้ารายใหญ่ในพื้นที่ ฉะนั้นสถานการณ์ของยาเสพติด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ถ้าสามารถจัดตั้งจุดตรวจโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ณ จุดผ่อนปรนการค้าและช่องทางตามธรรมชาติ ที่เป็นจุดข้ามไป - มาระหว่างฝั่งไทย - ฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและจุดข้ามของกลุ่มผู้ลักลอบค้าสินค้าหนีภาษี จะท าให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สะดวกง่ายและได้ผลขึ้น แนวโน้มของยาเสพติดจะลดลงอย่างแน่นอน

วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัด ในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับสังคม ด้วยการน าข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการก าหนดผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญ และห่วงโซ่คุณค่า และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ร ะหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับตัวแปรส าคัญ ที่จะน าไปสู่การก าหนดปัจจัยสู่ความส าเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งใน ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความมั่งคงเพื่อสังคมสงบสุข โดยเลือก “สร้างสังคมเมืองหน้าอยู่” ซึ่งมีข้อมูลที่ต้องจัดเก็บ จ านวน 58 ชุดข้อมูล เป็นชุดข้อมูลที่มีการจัดเก็บปกติ 31 ชุดข้อมูล โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ส าคัญ คือ ต ารวจภูธรจังหวัดหนองคาย ปกครองจังหวัดหนองคาย สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง