48

½¢¶Å¬ ½¤g±À ½¤g ¦° ¢¢ ±¢ ° ± ¿ ¡ · h¬ ³Å¸™วัตกรรมการ...µÅ ½¬ ©¢h± ¦± ½ r ¢¢ ¤ ¦± ½ª¤¶Å¬ ¤Æ²©¸g ¦± ½ h ¾

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

การเมืองสมานฉันท ์ อบต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

ที่ชุมชนตำบลควนรู การรวมตัวทำกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมประจำปีอย่างงานวัด เป็นเครื่องมือที่เอื้อ

ให้เกิดการรวมตัว โดยมีพระอาจารย์สีแก้ว เจ้าอาวาสวัดไทรใหญ่ ผูกร้อยความเชื่อและยึดเหนี่ยวคนในชุมชน

ไว้ด้วยกัน

จุดพลิกผันมาสู่การเมืองแนวใหม่ ‘การเมืองภาคพลเมือง’ เกิดจากการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

ในช่วงหลังปี 2530 ที่มีคู่แข่งแข่งขันกันลงสมัคร ผลการเลือกตั้งออกมา ฝ่ายที่แพ้ไม่ยอมรับกติกา และ

ไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพัฒนา เกิดกลุ่มพี่น้องใครพี่น้องมันแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นเหตุให้ผู้เฒ่าผู้แก่

ผู้นำตามธรรมชาติ ชวนกันตั้งเวทีพูดคุย และเริ่มต้นด้วยการอาศัยต้นทุนเดิม คือกิจกรรมชุมชนเพื่อร้อยรัด

ผู้คนไว้ด้วยกัน

เริ่มตั้งแต่การทำกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ในช่วงปี 2540 หลังจากนั้นกองทุนเพื่อการลงทุนทาง

สังคม (SIF) เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมของชุมชน และต่อยอดด้วยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

(พอช.) เพื่อจัดทำแผนแม่บทชุมชนซึ่งขยายครอบคลุมเกือบทุกมิติของการพัฒนาท้องถิ่น และแน่นอนหนึ่ง

ในนั้นที่ชุมชนจะต้องร่วมสร้างก็คือ ‘การเมืองสมานฉันท์’

ในปี 2544 ผู้นำองค์กรชุมชนเริ่มประสานความร่วมมือกัน และตั้งศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน

ขึ้น ให้ทุกกลุ่มเข้ามาเป็นเครือข่าย เช่น เครือข่ายผู้นำ กลุ่มศึกษา กลุ่มสุขภาพ การรักษาความปลอดภัยใน

ชีวิตและทรัพย์สิน เครือข่ายสื่อ เกษตรอินทรีย์ เครือข่ายการเงิน กลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ ในการพัฒนาให้

ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ มีการประชุมกันทุกเดือน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความแตกแยก

ในชุมชน ไปจนกระทั่งพยายามออกแบบ ‘ผู้นำที่ดี’ ตั้งแต่กำหนดลักษณะผู้นำที่ดี การคัดสรรผู้นำที่ดีใน

แต่ละระดับ ผ่านวงคุยตามธรรมชาติ เวทีแบบมีส่วนร่วมที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

รวมไปถึงเวทีงานบุญ งานประจำปี หรือร้านน้ำชา กาแฟ หรือแต่ละจุดของการทำกิจกรรมชุมชน

กระบวนการดังกล่าว กลายเป็นกระบวนการคัดกรองคนที่พร้อมทำงาน ตั้งใจ และเป็นบุคคลที่ได้

ทำงานร่วมกับพื้นที่อย่างเข้าใจ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่ เข้าร่วมประชุม รวมทั้งทักษะด้านอื่นๆ

เพื่อสร้างชุมชนให้รักสามัคคี ผู้คนในชุมชนมีจิตอาสา

การจัดการองค์กร

คณะกรรมาธิการ 9 ฝ่าย อบต.ต้นยวน อ.พนม จ.สุราษฎร์ธาน ี

คณะกรรมาธิการ 9 ฝ่าย เป็นแนวคิดเชิงนโยบายของคณะผู้บริหาร อบต.ต้นยวน และได้รับการ

ประกาศเป็นนโยบายในปี พ.ศ.2550 เพื่อให้ประชาชนหรือแกนนำในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ

ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมสร้างสรรค์งานการพัฒนา และร่วมรับประโยชน์ โดยการค้นหาแนวร่วม

ทุกภาคส่วนผู้ที่มีทักษะในการทำงาน จากผู้ที่มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ใช้พลังกาย

พลังความคิดในแต่ละด้าน เช่น ข้าราชการเกษียณอายุ ข้าราชการพนักงานภายในองค์กร ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น

แกนนำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เข้ามาเป็นกรรมาธิการ โดยมีนายก อบต.ต้นยวน เป็นผู้แต่งตั้ง เพื่อให้มี

บทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานแต่ละฝ่ายโดยการทำงานแบบมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนทุกภาคส่วน

เพื่อการพัฒนาตำบลตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการที่ดี

คณะกรรมาธิการทั้ง 9 ฝ่าย ได้แก่ 1) การศึกษา 2) การกีฬา 3) ประเพณีวัฒนธรรม 4) สาธารณสุข

5) เศรษฐกิจ 6) รักษาความสงบ 7) การท่องเที่ยว 8) กู้ภัยและแพทย์ฉุกเฉิน และ 9) ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

โดยคณะกรรมาธิการ 9 ฝ่ายให้มีบทบาทหน้าที่ตั้งแต่ การประชุมร่วมวางแผน เสนอโครงการของ

แต่ละปีงบประมาณ เตรียมงาน แบ่งภารกิจตามโครงการ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ หนุนเสริมการ

พัฒนาและแก้ไขปัญหาร่วมมือกับ อบต. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม วิเคราะห์ปัญหา พร้อมเสนอแนวทาง

แก้ไข

ผลของการจัดโครงสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมนี้ ได้เปิดโอกาสให้กับสมาชิกและแกนนำใน

ชุมชนที่มีจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนจำนวนมาก เป็นกระบวนการเรียนรู้และทราบข้อมูลศักยภาพตาม

ความถนัดของสมาชิกในชุมชน เกิดวิทยากรกระบวนการและแกนนำชุมชนแต่ละฝ่าย เกิดกระบวนการ

พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนที่หลากหลาย ส่งผลให้เกิดความรักสามัคคใีนชุมชนในที่สุด

การจัดการองค์กร

การขยายผลจากสภาผู้นำชุมชนสู่ ‘สภาผู้นำตำบล’ ต.ศิลาลอย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ ์

จากสภาผู้นำบ้านหนองกลางดงที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมชุมชน โดยมีภาคีหลายๆ ส่วนหนุน

เสริมกระบวนการสร้างสภาผู้นำ เพื่อให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดชีวิต กำหนดอนาคตตนเอง และกำหนดทิศทาง

การบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นตนเอง โดยมีกระบวนการสำคัญๆ คือ สร้างความเข้าใจ สร้างผู้นำการ

เปลี่ยนแปลง สรรหาคนดีคนเก่ง สร้างการมีส่วนร่วม กำหนดสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภา โดยขึ้นอยู่กับฐาน

กลุ่มกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ กลายเป็น ‘สภา 59 บ้านหนองกลางดง’ และเป็นตัวแบบเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่น

คามสำเร็จดังกล่าว จึงได้ขยายผลไปสู่ สภาผู้นำตำบลศิลาลอย เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาท้อง

ถิ่นจากฐานข้อมูลชุมชน และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและภาคประชาชน มีบทบาทใน

3 ระดับ คือ 1) ระดับชุมชน เป็นปากเสียงแทนชุมชน และหนุนเสริมการเรียนรู้ 2) ระดับท้องถิ่นประสาน

ยุทธศาสตร์จากหมู่บ้านถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับตำบล แล้วประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้ง

ภาครัฐและภาคประชาชน และ 3) ระดับนโยบาย สภาผู้นำระดับตำบลเป็นกลไกเชื่อมนโยบายที่ชุมชนเป็น

ผู้กำหนด กับนโยบายที่ส่วนกลางกำหนด ให้เกิดนโยบายการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับคนท้องถิ่นอย่างแท้จริง

โดยกระบวนการขยายผลสภาผู้นำระดับตำบล มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

สร้างความเข้าใจ เปิดเวทีให้คณะทำงานทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญ ‘สภาผู้นำ’ ในการพัฒนา

ท้องถิ่น และร่วมกันกำหนดบทบาทสภาผู้นำ

สร้างสภาผู้นำตำบล ให้เป็นสภาประชาชน มีรูปแบบการประสานความร่วมมือเป็นเครือข่าย ที่ไม่มี

โครงสร้างอำนาจ เสมอภาคเท่าเทียม โดยสภาผู้นำแต่ละหมู่บ้าน สรรหาคนดีคนเก่งในสภาผู้นำระดับ

หมู่บ้าน เข้ามาเป็นตัวแทนหมู่บ้านละ 5 คน ประกอบด้วย แกนนำชาวบ้าน 2 คน ส.อบต. 2 คน ผู้ใหญ่บ้าน

1 คน

ประสานยุทธศาสตร์ เชื่อมยุทธศาสตร์สภาผู้นำระดับหมู่บ้าน กำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา

ระดับตำบลที่มาจากฐานชุมชน โดยใช้แผนชุมชนแต่ละหมู่บ้าน

ประสานความร่วมมือภาครัฐ เป็นกลไกในการเชื่อมประสานยุทธศาสตร์การพัฒนาจากฐานชุมชน

กับนโยบายการพัฒนาชุมชนจากภาครัฐมาบรูณาการร่วมกัน ให้เกิดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มาจากฐาน

ชุมชนอย่างแท้จริง

ประชุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อรวบรวมปัญหา วิเคราะห์ สังเคราะห์ กำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหา

และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เท่าทันสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกชุมชน

การมีส่วนร่วมกำหนดอนาคตชุมชน

การมสีว่นรว่มกำหนดอนาคตชมุชน

แผนแม่บทชุมชน อบต.บ้านควน อ.หลังสวน จ.ชุมพร

‘แผนแม่บทชุมชน’ บ้านควน เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2547 จากการสรุปบทเรียนการบริหารชุมชนที่ไม่มี

ทิศทาง และไม่เป็นระบบ ในปีต่อมา พัฒนาชุมชน อ.หลังสวน มีนโยบายผลักดันให้ชุมชนทำแผนชุมชน

จากนั้นก้าวแรกๆ สู่การจัดทำแผนก็เริ่มขึ้น จากการศึกษาดูงานในตำบลอื่นๆ และนำมาตั้งเป้าหมายร่วมกัน

เดิมมีการจัดตั้งหมู่ 5 บ้านช่องสะท้อน ให้เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดทำบัญชีครัวเรือน แล้วขยายผล

เป็นการสำรวจ และจัดทำบัญชีครัวเรือนในพื้นที่ ก่อนจะขับเคลื่อนไปสู่การจัดทำแผนแม่บทของชุมชน

ในปี 2551 และปีถัดมาจึงบูรณาการแผนชุมชนเข้ากับแผนพัฒนาตำบลของท้องถิ่นและท้องที่ กลายเป็น

แผนแม่บทตำบลฉบับแรก

การถอดบทเรียนกระบวนการจัดทำแผนของ อบต.บ้านควน ได้รับการอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ด้วย

สัญลักษณ์ว่าจะต้องประกอบไปด้วยโครงสร้างกายภาพ ได้แก่ มี ‘ศาลาประชาธิปไตย’ เพื่อเอาไว้พูดคุย

มี ‘เก้าอี้’ คือการอำนวยความสะดวกในการประชุม มี ‘เครื่องเสียง’ แทนการประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร

มี ‘กระดานแสดงข้อมูล’ คือการสำรวจ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการคืนข้อมูลให้ชุมชน มี ‘โต๊ะหมู่บูชา’

แทนศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เพื่อดึงให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม และมี ‘ทีวี’ ซึ่งหมายความแทน การสื่อสาร

วงกว้าง สร้างความตื่นตัว สร้างการยอมรับ

‘แผนแม่บทชุมชน’ คือแผนที่เดินทางสู่อนาคตของชุมชนร่วมกัน จึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการมี

ส่วนร่วมของชุมชนในทุกกระบวนการ และสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน

กิจกรรมของชุมชน และแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

สำหรับบ้านควน ผลลัพธ์ของกระบวนการการจัดทำแผน รวมทั้งตัวแผนแม่บทชุมชนเอง ได้สร้าง

กลไกอาสาสมัครขึ้นมาขับเคลื่อนงานพัฒนาของท้องถิ่นมากมาย อาทิ กลุ่มแม่บ้านพัฒนาครอบครัวบ้านช่อง

สะท้อน กลุ่มแม่บ้านสุขาภิบาลอาหาร กลุ่มกองทุนกิจการประปาหมู่บ้าน เกิดกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านช่อง

สะท้อน และโครงการพัฒนาสาธารณสุข (1 หมื่นบาท) ชาวบ้านได้ออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งจะคอย

สร้างสรรค์ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องต่อไป

เวทีวิชาการชาวบ้านตำบลนาบัว อบต.นาบัว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

จากแผนพัฒนาประเทศโดยเฉพาะแผนฉบับที่ 9 และ 10 ที่กำหนดทิศทางการพัฒนาโดยให้

ประชาชนมีส่วนร่วม ทว่าการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้น เป็นเพียงการร่วมรับรู้ หรือเป็นเพียงตัวประกอบ ไม่ใช่

ผู้กำหนดหรือเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง

ตำบลนาบัว ก็เหมือนชุมชนอื่นๆ โดยมากที่ชาวบ้านไม่เคยมีพื้นที่กลางในการแสดงความคิดเห็น

หรือสะท้อนการทำงานของหน่วยงานรัฐและท้องถิ่น ผู้นำแต่ละองค์กรแยกกันทำงาน การพัฒนาที่เกิดขึ้น

จะมาจากทางราชการเป็นผู้กำหนด จึงขาดสำนึกความเป็นเจ้าของในกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน

แกนนำในตำบลจึงได้รวมกันคิดและปรึกษาหารือ เพื่อหากระบวนการในการเรียนรู้และการทำงาน

เป็นทีมของคนตำบลนาบัว และเสนอให้ใช้การประกวดงานสาธารณสุขมูลฐานเป็นต้นแบบการ

ประเมินผลพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบ โดยเริ่มจากบ้านบุ่งสีเสียด และในที่สุดได้ขยายผลการประเมินไปสู่

ทกุหมูบ้่าน จากน้ันจึงนำผลการประเมินของทกุหมูบ้่านมาเสนอให้กันฟัง โดยใช้ช่ืองานว่า ‘งานสัมมนา อสม.’

ผลของเวทีวิชาการ นำไปสู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาในชุมชน และมีศักยภาพในการต่อยอด

จากต้นทุนของการมีส่วนร่วม โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดวาระปีละ 1 เรื่องที่เป็นประเด็นร่วมระดับ

ตำบลที่ทุกคนต้องร่วมกันสานฝันให้สำเร็จ

แต่กระบวนการสู่เวทีวิชาการได้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอยา่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน

บันไดขั้นแรกสู่เวทีวิชาการ ‘งานสัมมนา อสม.’ เริ่มต้นด้วยการกำหนดกติการ่วมกัน โดยกติกาที่ถูก

กำหนดขึ้น อาทิ สถานที่จัดงานต้องเป็นสถานที่ที่อยู่ในหมู่บ้านผู้เป็นเจ้าภาพ และอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน (ศสมช.) โดย ศสมช. จะต้องมีคุณลักษณะที่เป็นต้นแบบในการบริการประชาชน

ผลคือผลักดันให้ทุกหมู่บ้านระดมทุนในชุมชนสร้างศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน เพื่อที่จะได้นำผลงานไปนำ

เสนอในปีต่อไป

นอกจากนี้ผลงานที่นำเสนอ ต้องเป็นผลงานและข้อมูลในรอบปีเท่านั้น และมีผลในการสร้างผู้นำ

ใหม่ๆ ด้วยการกำหนดให้ผู้นำเสนอผลงานหมู่บ้าน ต้องไม่ซ้ำคนเดิม โดยเจ้าภาพปีต่อไป ต้องแสดง

เจตจำนงการเป็นเจ้าภาพไว้ล่วงหน้า 1 ปี และต้องเป็นเจ้าภาพในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการจัดงาน เพื่อสร้าง

ทีมงานในหมู่บ้าน และกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน ทั้งนี้หมู่บ้านที่เป็นเจ้าภาพ

ต้องจัดสถานที่ โดยไม่มีการแบ่งแยกคนที่มาร่วมงาน เป็นต้น

นโยบายติดดาว อบต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ ์

หัวใจของความสำเร็จในการบริหารงานท้องถิ่น คือการมีส่วนร่วมของชุมชน และสำหรับอบต.

หาดสองแคว เรื่องที่สำคัญและเรียกร้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด เป็นเสมือนก้าวแรกแห่งการ

เริ่มต้นงานพัฒนาก็คือ การจัดทำ ‘แผนพัฒนาตำบล’ ของ อบต. เพราะที่นี่ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการ

บริหารงานของ อบต. และแผนก็คือรูปธรรมที่สะท้อนความต้องการของประชาชน กระบวนการจัดทำแผน

จึงสำคัญเป็นพิเศษ

อบต.หาดสองแคว ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนทุกขั้นตอน ตั้งแต่...

ร่วมคิด โดยให้ชาวบ้านได้ระดมสมอง วิเคราะห์ชุมชน หาจุดดี จุดเด่นของชุมชน หาจุดด้อย

ในชุมชนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หาโอกาสที่จะได้รับการพัฒนา และค้นหาความเดือดร้อนของชุมชน

ร่วมทำ เมื ่อทราบปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนที่ครอบคลุมทุกเรื ่อง ก็จะนำมาจัดลำดับ

ความสำคัญว่าประเด็นใดเป็นปัญหาความเดือดร้อนที่สุดที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน

และที่นี่ไม่ได้ใช้การยกมือเพื่อหามติเท่านั้น แต่ยังได้ใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมง่ายๆ ที่สะท้อน

ความเป็นเจ้าของ นั่นคือ ‘ดาวประจำใจ’ โดยชาวบ้านทุกคนที่มาระดมความคิดจะได้รับดาวประจำใจคนละ

1 ดวง เพื่อนำไปติดช่องหัวข้อปัญหาความเดือดร้อนที่ตนเองคิดว่า ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ชุมชน

และอบต. ก็จะได้ปัญหาความเดือดร้อนเรียงตามลำดับที่มีดาวประจำใจติดอยู่ตามลำดับมากน้อย ซึ่งสร้าง

ความสนใจ และเห็นการมีส่วนร่วมของตนเอง เห็นถึงพลังของ 1 คน 1 สิทธิ 1 เสียงอย่างชัดเจน

ร่วมวางแผน เม่ือได้ประเด็นปัญหาและความต้องการจากชาวบ้าน ตลอดจนโครงการและกิจกรรมแล้ว

ก็นำไปสู่การจัดกลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลว่า เรื่องที่ติดดาวประจำใจอยู่ในยุทธศาสตร์ใด กรรมการ

บริหารยทุธศาสตร์จึงได้ร่วมกันวางแผน เพ่ือจัดหางบประมาณมาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนต่อไป

ร่วมรับผลประโยชน ์ เมื ่อนำเอาปัญหาความเดือดร้อนจากแผนงานโครงการจากยุทธศาสตร์

การพัฒนาตำบล มาจัดทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณประจำปี เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา

ร่วมกำกับติดตามประเมินผล หลังจากได้รับงบประมาณมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการแต่งตั้ง

ชาวบ้านเป็นคณะกรรมการตามระเบียบ เช่น กรรมการเปิดซอง กรรมการตรวจการจ้าง และประชาสัมพันธ์

ให้ชาวบ้านทราบ เพื่อจะได้ตรวจสอบร่วมกัน หลังจากนั้นจึงให้นักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์

ได้ติดตามประเมินผลแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล ว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ ประชาชน

ได้รับประโยชน์มากน้อยแค่ไหน การใช้ทรัพยากรคุ้มค่ามีประสิทธิภาพหรือเกิดประสิทธิผลมากน้อย

แค่ไหนหรือไม่ อย่างไร

การมีส่วนร่วมกำหนดอนาคตชุมชน

การจัดการภัยพิบัติจากธรรมชาต ิเครือข่ายสามจังหวัดชายแดนใต้ (ยะลา-ปัตตานี-นราธิวาส)

พื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่เกิดภัยพิบัติอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งน้ำท่วม ไฟไหม้

ดินถล่ม น้ำกัดเซาะชายฝั่งทะเล คนในชุมชนเองจึงหวั่นวิตก ด้วยไม่มีวิธีการป้องกัน ไม่มีการวางแผน

รับมือ และหน่วยงานรัฐมักมีข้อจำกัดในการช่วยเหลือ จึงเห็นความจำเป็นที่ต้องมีเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือ

ซึ่งกันและกัน จึงเกิด ‘เครือข่ายสามจังหวัดชายแดนใต้’ ขึ้นในปี 2552 จากต้นทุนที่มีอยู่เดิม คือหน่วย

ช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ในตำบลต่างๆ ซึ่งทำการช่วยเหลือเฉพาะจุดในพื้นที่ของตนเอง เช่น อพปร. อสม.

อบต. มีการพบปะพูดคุยวางแผนกันหลายครั้ง และรวมเป็นเครือข่ายที่ชัดเจนในปี 2553 โดยการ

สนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

หลักการสำคัญของเครือข่าย คือการพึ่งตนเอง การมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ และการใช้ทรัพยากรใน

พื้นที่ ทั้งคน องค์กรเอกชน และหน่วยราชการ ทั้งทหารและพลเรือน มีการตั้งประเด็นพูดคุยหารือ

เป็นระยะในเรื่องความเป็นอยู่ ปัญหาสังคม อาชีพ การศึกษา การว่างงาน โดยเน้นเรื่องภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่

มีกลไกเวทีประชาคม เวทีชาวบ้าน คณะทำงาน ทีมงานระดับตำบล เพื่อวางแผนการทำงาน และ

การประเมินผล

มีการจัดทำข้อมูลของพื้นที่ เพื่อให้รู้สภาพการทำงานและออกแบบการทำงานให้เหมาะสมกับพื้นที่

มีการฝึกอบรมนักยุทธศาสตร์ เพื่อให้มีการวางแผนคิด บริหาร และประสานงานการทำงานของตำบล

นอกจากนี้ ยังจัดตั้งทีมค้นหาผู้ป่วย ทีมช่วยเหลือ ทีมพยาบาล ไว้คอยรับสถานการณ์ภัยพิบัติ

มีคณะทีมวิทยากรเพื่อการฝึกอบรม การลำดับความสำคัญ ความเหมาะสมในการช่วยเหลือ

การฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ โดยมีการฝึกปฏิบัติทั้งจากสถานการณ์สมมติ และการทบทวนบทเรียนจากการ

ปฏิบัติในสถานการณ์จริง

ผลของการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อรับมือกับภัยภิบัติ ไม่เพียงแต่สร้างความมั่นใจในความมั่นคงของ

ชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชนต่างๆ ได้เท่านั้น แต่ยังสร้างและกระตุ้นความตื่นตัวของคนในชุมชนให้มี

‘จิตอาสา’ เพื่อพร้อมสำหรับการเฝ้าระวังภัยพิบัติ รับมือกับภัยเมื่อเกิดขึ้น ตลอดจนการเยียวยาและฟื้นฟู

หลังภัยพิบัติผ่านพ้นอีกด้วย

การจัดการภัยพิบัติ โดยชุมชนท้องถิ่น

การจัดการน้ำท่วมซ้ำซาก เครือข่ายลุ่มน้ำคลองละวาน จ.อุตรดิตถ ์

สภาพปัญหาน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรบริเวณลุ่มน้ำคลองละวานที่มีมาตลอดหลายปี ทำให้ผลผลิต

ทางการเกษตรบริเวณพื้นที่คลองละวานเสียหายอย่างมาก เกษตรกรในชุมชนจึงตื่นตัวเพื่อรวมพลังกัน

แก้ไขปัญหา ทั้งชุมชนในพื้นที่และชุมชนเขตรอยต่อระหว่างตำบล โดยมีแกนนำในชุมชนตลอดลุ่มน้ำ

รวมตัวกันเป็นเครือข่ายเรียกว่า เครือข่ายพัฒนาลุ่มน้ำตรอน - พิชัย และต่อมามหาวิทยาลัยราชภัฎ

อุตรดิตถ์และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จึงเข้ามาร่วมหนุนเสริม โดยเริ่มต้นด้วยการสร้างเวทีเพื่อการ

มีส่วนร่วมหลายเวทีอย่างมีแผนและขั้นตอน อาทิ ประชุมวางแผน เวทีศึกษาสถานภาพและศักยภาพของ

ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เวทีสืบค้นองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำท่วม สำรวจเส้นทางการไหลของน้ำ

ประชุมปฏิบัติการปรับปรุง/สรุปวิธีการจัดการน้ำ เวทีสรุปผลจากการศึกษาดูงาน ประชุมเชิงปฏิบัติการ

ร่วมกันหาวิธีการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของชุมชน

จากนั้นแกนนำแต่ละตำบลที่ได้รับผลกระทบ จึงได้ร่วมกันจัดการประชุมขับเคลื่อนเครือข่ายเพื่อ

การจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม เพื่อลดผลกระทบและแก้ปัญหาน้ำท่วมคลองละวาน เพื่อร่วมกันวิเคราะห์

หาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคลองละวาน และบทบาทหน้าที่การทำงานของเครือข่าย

จากการดำเนินงานได้ผลของรูปแบบการพัฒนาเพื่อลดผลกระทบและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณ

พื้นที่คลองละวาน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ได้ 4 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 การลดผลกระทบช่วงระหว่างน้ำท่วม ได้แก่ การทำอาชีพเสริม

รูปแบบที่ 2 การประสานงานระหว่างตำบลโดยการใช้เครื่องมือสื่อสารกันระหว่างรอยต่อตำบล

รูปแบบที่ 3 ผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้วิธีการลงนามร่วมในบันทึกข้อตกลง (MOU)

เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง

รูปแบบท่ี 4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติบริเวณพ้ืนท่ีคลองละวานเพ่ือลดผลกระทบในระยะยาว

เช่น ปลูกป่าบริเวณพื้นที่คลองละวาน สร้างฝายชะลอน้ำบริเวณพื้นที่คลองละวาน

และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวทางเครือข่ายฯ จึงได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนทุกฝ่าย

เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งที่ประชุมมีมติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามา

มีบทบาทดูแลและพัฒนาพื้นที่รับผิดชอบ และจัดงบประมาณสนับสนุน ในด้านการอนุรักษ์ ด้านการ

เสริมสร้าง บูรณะ ฟื้นฟู และด้านการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์

การจัดการภัยพิบัติ โดยชุมชนท้องถิ่น

�0

การจัดการภัยพิบัติจากธรรมชาติโดยชุมชน เครือข่ายพัฒนาระบบการจัดการภัยพิบัติจากธรรมชาติ จ.นครศรีธรรมราช

ภัยธรรมชาติที่มีความถี่มากขึ้นและหนักหน่วงขึ้น ประกอบกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ

คนในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช จึงรับรู้และตระหนักถึงอัตราเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมาก

แห่งหนึ่งในประเทศไทย

และจากบทเรียนการรับมือภัยพิบัติที่ผ่านมา ได้บอกกับคนในชุมชนต่างๆ ว่า ผลกระทบจาก

ภัยพิบัตินั้นรุนแรงเพียงใด ซึ่งหากรอการช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐคงไม่ทันการณ์ กลุ่มแกนนำ

อาสาสมัครที่มีประสบการณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ กระทูน คีรีวง จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มในพื้นที่ และ

เชื่อมเป็นเครือข่ายเพื่อการจัดการปัญหาเหล่านี้โดยคนในชุมชนเอง

กิจกรรมเริ่มแรก เป็นการรวมคนเพื่อออกภาคปฏิบัติ ต่อมาเมื่อมีโครงการขับเคลื่อนเมืองนครฯ

สู่จังหวัดน่าอยู่ (คิดดี ทำดี เพื่อเมืองนคร) จึงได้มีการพูดคุยอย่างเป็นระบบมากขึ้น เกิดการเชื่อมโยงเป็น

เครือข่ายที่กว้างขวางขึ้น มีการทำแผนงาน มีการแบ่งงานกันทำ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจนขึ้น

หลักการ เป็นการจัดการโดยชุมชนเองอย่างครบวงจร ทั้งการป้องกัน การบรรเทาทุกข์ และการ

ฟื้นฟู โดยกลไกอาสาสมัครที่มีอยู่ในพื้นที่ระดับตำบล ผ่านการจัดการที่เน้นการพัฒนาศักยภาพและ

สวัสดิการอาสาสมัครควบคู่กัน

การปฏิบัติการ มีการประชุมสร้างความเข้าใจแกนนำ อาสาสมัคร และชาวบ้านในพื้นที่เป็นระยะ

จัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยง ตั้งกลไกการทำงานหลายระดับ ตั้งแต่ คณะทำงานตำบล ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ

ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายอาสาสมัครปฏิบัติการ คณะทำงานโซนๆ ละ 15 – 17 คน คณะทำงานเครือข่าย

ประกอบด้วยตัวแทนคณะทำงานโซนๆ ละ 2 คน อาสาสมัครช่วยเหลือผูป้ระสบภัยในพ้ืนท่ีตำบล 30 คน/โซน

พัฒนาศักยภาพแกนนำ/อาสาสมัครตามบริบทพื้นที่ ส่วนในการปฏิบัติการจริง ในพื้นที่ให้มีการติดตาม

เฝ้าระวัง ช่วยเหลือ ส่วนนอกพื้นที่ คอยหนุนเสริมการช่วยเหลือเมื่อประสบภัย

นอกจากนี้ ยังมีระบบการดูแลอาสาสมัคร ด้วยการจัดสวัสดิการ ตั้งกองทุนเครือข่าย (ฟื้นฟูนาร้าง)

และกองทุนโซน และแผนบูรณาการงานป้องกัน ช่วยเหลือ และฟื้นฟู

ผลและกิจกรรมของเครือข่าย นอกจากสร้างความมั่นใจให้กับคนในชุมชน ยังส่งผลต่อความ

กระตือรือร้นและอาสาช่วยเหลืองานส่วนรวมมากขึ้น มีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน อาทิ ลดการฉีดยา

หญ้าในสวน ตื่นตัวและให้ความร่วมมือกิจกรรมที่เตรียมรับต่อภัยพิบัติ จนมีอาสาสมัครเพิ่มขึ้นอย่างเห็น

ได้ชัด อปท. เริ่มเข้ามาให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน รวมถึงหน่วยงานราชการที่เปิดรับแผนงานชุมชนเพื่อ

สนับสนุนงบประมาณ

��

การเงินชุมชน

สถาบันการเงินชุมชนบางระกำ อบต.บางระกำ อ.บางเลน จ.นครปฐม

กรกฎาคม 2544 ชาวบ้านเริ่มได้ยินคำว่า ‘กองทุนหมู่บ้าน’ หลายๆ คนสงสัยว่า กองทุนหมู่บ้าน

คืออะไร เงินหน่ึงล้านมาจากไหน และจะทำอะไร-อย่างไรกับเงินหน่ึงล้านบาท ชาวบ้านจะได้รับผลประโยชน์

อะไรกับเงินจำนวนนี้ หลายๆ คำถามเกิดขึ้นในแต่ละหมู่บ้าน

จากนั้นไม่นาน ผู้นำแต่ละหมู่บ้านเริ่มเรียกประชุมสมาชิกในหมู่บ้าน เริ่มทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อให้

ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนฯ วางระเบียบต่างๆ เพื่อรองรับเงินหนึ่งล้านบาทที่แต่ละ

หมู่บ้านจะได้รับ และเริ่มมีการออมทรัพย์ของแต่ละหมู่บ้านเพื่อเสริมแหล่งทุนให้มากขึ้น

4 ปีต่อมา กองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มออมทรัพย์ทั้ง 15 หมู่บ้านมีความเข้มแข็งมากขึ้น จึงได้ร่วม

หารือกับ ธ.ก.ส. ในการจัดตั้งสถาบันการเงิน โดยจัดประชุมใหญ่วิสามัญฯ และได้ข้อสรุปว่า หมู่ที่ 2, 3, 4,

5 และ 8 จะเป็นหมู่บ้านนำร่องร่วมจัดตั้งสถาบันการเงิน โดยได้ร่างระเบียบข้อบังคับ คัดเลือกคณะ

กรรมการของสถาบันฯ หมู่บ้านละ 5 คน จนเสร็จสมบูรณ์ และได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548

ในหลักการเบื้องต้น นอกจากกิจกรรมออมทรัพย์ ยังต่อยอดไปพัฒนาอาชีพกลุ่มเกษตรปลอดภัย

ลดรายจ่ายชุมชน ขยายโอกาสให้ประชาชน กลุ่มบุคคลที่อยู ่ในตำบลบางระกำ ที่ยังไม่เป็นสมาชิก

ไม่สะดวกออม หรือไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้ โดยแบ่งกลุ่มสมาชิกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สมาชิก

สามัญ ใช้บริการสถาบันการเงินชุมชนได้ครบวงจร สมาชิกวิสามัญ เป็นกลุ่มบุคคลที่ร่วมประกอบอาชีพ

เดียวกันมาร่วมพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้ตนเองและชุมชน และสมาชิกกิตติมศักดิ์ คือ ผู้ประสงค์

ฝากเงินแต่ไม่กู้เงิน

สถาบันการเงินฯ ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมร่วมกันของชุมชน หรือเป็น

ส่วนเชื่อมโยงชุมชน กลุ่มอาชีพ และเป็นสื่อกลางในการก่อให้เกิดกิจกรรมที่ต่อเนื่องต่างๆ ตามมามากมาย

การเงินชุมชน

��

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านตะโก เทศบาลตำบลพนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย ์

บ้านตะโก เป็นชุมชนเกษตรกรรม อาชีพหลักคือการทำนา จึงมีรายได้ให้กับครอบครัวเพียงปีละ

1 ครั้ง โดยที่ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่มีการออมเงิน ส่งผลให้ชุมชนเกิดความยากจน มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน

เพื่อหารายได้เสริม และทิ้งภาระบุตรหลานให้กับตาและยายเป็นผู้ดูแล กลายเป็นปัญหาสังคมต่อมา

จากสภาพดังกล่าว ชุมชนจึงเกิดการรวมตัวร่วมกลุ่มขึ้น เพื่อสร้างสังคมบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม

ของชุมชน ก่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูล แกนนำชุมชนจึงมีแนวคิดการหาแหล่งเงินทุน สร้างรายได้

ลดรายจ่ายให้กับชุมชน จัดหาเงินบรรเทาเหตุฉุกเฉินเพื่อความจำเป็นเร่งด่วน โดยส่งเสริมให้เกิดการออม

ในรูปของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และเพื่อการสร้างสวัสดิการ ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

‘กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านตะโก’ มีการบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการซึ่งมาจากการ

เลือกตั้งของสมาชิก นอกจากนี้กลุ่มยังได้ต่อยอดแนวคิดจากการศึกษาเรียนรู้จากชุมชนที่มีรูปแบบการ

บริหารจัดการด้านการออมทรัพย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชุมชน และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับ

บริบทของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

การดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านตะโก มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งใน

ชุมชน คือ กิจกรรมรับฝาก-ถอน กิจกรรมการกู้ มีระบบการกู้ยืม การนำผลกำไรเพื่อจัดเป็นสวัสดิการใน

รูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยเหลือกัน กิจกรรมศูนย์สาธิตการตลาด (ร้านค้าชุมชน) ที่ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วน

ร่วมจากภาคประชาชน ท้องถิ่น และท้องที่ในการพัฒนาตำบลจนทำให้ตำบลมีแหล่งทุนของตนเองในการ

บริหารจัดการชีวิตประจำวัน กิจกรรมอุปกรณ์บริการเช่า (โต๊ะ เต้นท์ เก้าอี้ เครื่องครัว และบริการรับจัด

โต๊ะจีน) ที่ส่งเสริมให้กลุ่มสตรีมีกิจกรรมร่วมกัน และมีรายได้เสริม กิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายปุ๋ยเพื่อ

เกษตรกร ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นการลดต้นทุนการผลิต และกิจกรรมสาธารณประโยชน์

อื่นๆ

นอกจากนี้ กลุ่มได้ส่งเสริมให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง โดยส่งเสริมให้เกิดการรวม

กลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น โรงสีข้าวชุมชน โครงการเลี้ยงสุกร ฯลฯ ซึ่งจากกิจกรรมเหล่านี้ สามารถ

สร้างรายได้ให้กับสมาชิก ที่สำคัญ สมาชิกได้แนวทางการทำงานเป็นกลุ่ม มีรูปแบบการทำงาน นำไปสู่การ

พัฒนาหมู่บ้านและชุมชนให้มีขีดความสามารถ มีการจัดระบบเงินกองทุน บริหารจัดการเงินกองทุนอย่าง

เข้มแข็ง เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตัวเองของหมู่บ้านและชุมชน เกิดการเรียนรู้ พัฒนาความคิด

ต่อยอดกิจกรรม ภายใต้การเรียนรู้ การมีส่วนร่วม และพัฒนาศักยภาพตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง

��

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านหนองสองห้อง ต.บ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านหนองสองห้อง หมู่ 13 ตำบลบ้านซ่อง เป็นแหล่งเรียนรู้ของ

ตำบลที่เริ่มต้นจากนโยบายรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในหมู่บ้าน ประกอบกับ

ปัญหาความยากจนของประชาชนหมู่ 13 ที่ไม่มีแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ เกิดปัญหาหนี้สิน

นอกระบบ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการประกอบอาชีพ หมู่ 13 จึงจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินกู้สำหรับสมาชิก

ส่งเสริมให้สมาชิกมีการออมเงิน และมอบสวัสดิการต่างๆ ให้กับสมาชิก กลุม่ออมทรัพย์ฯ มีผลการดำเนินงาน

เป็นที่ยอมรับจากประชาชนทั้งในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง จนได้รับการรับรองจากพัฒนากรจังหวัด และ

ยกระดับเป็น ‘สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านหนองสองห้อง ม. 13’ เนื่องจากเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการ

ประกอบอาชีพที่ใหญ่ที่สุดของตำบล สมาชิกมีการออมเงิน สามารถปลดหนี้นอกระบบได้ ทำให้เกิดความ

มั่นคงทางการเงิน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การดำเนินงานของสถาบันฯ กิจกรรมหลัก คือการสร้างความมั่นคงในชีวิต ด้วยการการระดมเงิน

จากการออมของสมาชิก เป็นการดำเนินงานเพื่อนำมาเป็นเงินทุนสำหรับสมาชิกที่ต้องการกู้ไปใช้เป็นทุนใน

การประกอบอาชีพ

เงินผลกำไรจากการดำเนินงาน สถาบันการจัดการเงินฯ จะนำไปจัดสรรให้กับสมาชิกในรูปของ

ดอกเบี้ยการออมในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี หากสมาชิกกู้เงินจะได้รับเงินดอกเบี้ยแบบเฉลี่ยคืนในอัตรา

ร้อยละ 5 ของดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับสถาบันการจัดการเงินฯ โดยคืนให้เป็นรายปี รายได้ร้อยละ 3 ของการ

ดำเนินงานของกลุ่มที่หักไว้เป็นทุนสำรองก่อนการนำไปจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก ร้อยละ 1 ของผลกำไร

ทั้งหมดต่อปี จะจัดสรรเป็นทุนการศึกษานักเรียนโรงเรียนราษฎร์ดุษฎีศึกษาบ้านหนองสองห้อง และร้อยละ

1 สำหรับสร้างและซ่อมบำรุงสาธารณะประโยชน์ภายในหมู่บ้าน หมู่ 13

นอกจากกิจกรรมหลักดังกล่าว สถาบันการจัดการเงินฯ ยังดำเนินงานร่วมกับพัฒนากรอำเภอ

พนมสารคาม ในรูปแบบของการเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการจัดการการเงินแก่ชุมชนต่างๆ

ปัจจุบันสถาบันการจัดการเงินฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแหล่งหนึ่งของตำบลบ้านซ่อง ที่มีกลุ่ม

ออมทรัพย์ องค์กรหรือหน่วยงานจากพื้นที่อื่นๆ มาร่วมเรียนรู้วิธีการดำเนินงาน รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาให้

กับกลุ่มออมทรัพย์อื่นๆ ในตำบล

การเงินชุมชน

��

การเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร อบต.ดอนฉิมพลี อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา

ตำบลดอนฉิมพลี เป็นพื้นที่ทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีทั้งการทำนาข้าว การปลูก

พืชผักสมุนไพร การเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ดไล่ทุ่ง แพะ เป็นต้น แต่เนื่องจากสถานการณ์พืชผลทางการเกษตร

มีราคาตกต่ำ ประกอบกับต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นด้วย จึงเกิดภาระหนี้สิน รายได้น้อยกว่ารายจ่าย จึงเป็น

จุดเริ ่มต้นให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็น ‘เพื ่อนเกษตรกร’ เพื ่อร่วมคิด ร่วมสร้างกลไกในลดต้นทุน

การเกษตรและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร โดยเข้าอบรมและศึกษาดูงาน เพื่อการเรียนรู้ทั้งใน

จังหวัดและนอกจังหวัด แล้วนำกลับมาประยุกต์ใช้กับผลผลิตทางการเกษตรที่มีในชุมชนเพื่อการสร้าง

มูลค่าเพิ่ม เช่น การทำน้ำยาเอนกประสงค์ที่ใช้พืชสมุนไพรเป็นส่วนผสม การแปรรูปไข่เป็ดเป็นไข่เค็ม สบู่เหลว

อาบน้ำสูตรสมุนไพร ข้าวปลอดสาร เป็นต้น

กิจกรรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร เกิดขึ้นได้ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง อบต. กลุ่มองค์กร

ชุมชน แกนนำชุมชนท้องถิ่น ท้องที่ และประชาชนในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง

โดยเริ่มกระบวนการจาก การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มในแต่ละกลุ่ม

ตามความสนใจเพื่อการขอรับงบสนับสนุน และการส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ ์จาก

ผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน เพื่อนำไปสู่การใช้จริงทั้งในครัวเรือนและขายออกสู่ตลาดชุมชนและ

นอกชุมชน

นอกจากนี้เมื่อมีนิทรรศการจะมีการนำผลิตภัณฑ์ไปจัดจำหน่ายและจัดแสดง เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม

ให้กับคนในชุมชน ซึ ่งจากการพัฒนาวิถีชีวิตของชุมชนดังกล่าว ยังผลให้เกิดการเรียนรู ้แก่ชุมชน

เห็นประโยชน์จากการแปรรูปผลผลิตจากทุนทางทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนและที่มีอยู่ในครัวเรือน

ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่าย สร้างรายได้

เศรษฐกิจครัวเรือนชุมชน

��

กลุ่มสตรีสหกรณ์หมอนขิดศรีฐาน อบต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

ตำบลศรีฐาน เป็นแหล่งพัฒนาหัตถกรรมหมอนขวานผ้าขิดมากว่า 40 ปี ซึ่งกลายเป็นเศรษฐกิจ

หลักของชุมชนที่ทำให้ประชาชนมีอาชีพเสริม มีรายได้ มีเงิน และมีงานรับจ้างตลอดทั้งปี และเป็นพื้นที่

เป้าหมายในการพัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าใน ‘โครงการหน่ึงตำบลหน่ึงผลิตภัณฑ์’ หรือโอท็อปของจังหวัด

จากนโยบายการพัฒนาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้กลายเป็น

สินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยพลังของชุมชน ทั้งการพัฒนา

ผลิตภัณฑ์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การปรับปรุงสถานที่และบริการ การจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

เพื่อเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้และถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้สู่เยาวชนในท้องถิ่นและชุมชนอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพการผลิตที่ดำเนินงานมากว่า 40 ปี กลุ่มที่มีทุนจะเป็นเจ้าของกิจการผลิต

และขายหมอนขิด ส่วนผู้ที ่ไม่มีทุนและเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของชุมชน จะเป็นผู้รับจ้างผลิตหมอน

ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มของชาวบ้านผู้ไม่มีทุน เป็น ‘กลุม่สตรีสหกรณ์หมอนขิดศรีฐาน’

การดำเนินงานของ ‘กลุ่มสตรีสหกรณ์หมอนขิดศรีฐาน’ เริ ่มด้วยการการระดมทุนของสมาชิก

และตั้งกติกาการระดมทุน หุ้นละ 100 บาท โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มในการดำเนินงาน

โดยจัดโครงสร้างคณะกรรมการดำเนินงาน แบ่งบทบาทหน้าที่ ร่วมกันดำเนินงาน เช่น รับจ้างผลิต

หมอนขิด หมุนเวียนจำหน่ายในกลุ่ม แบ่งทีมออกร้านจำหน่ายทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ยังได้ประสานงานองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง จัดอบรมบัญชี การตลาด และ

การบรรจุภัณฑ์ต่างๆ และประสาน อบต.ศรีฐานเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนและวิชาการ นอกจากนี้ยังได้รับ

การช่วยเหลือเกื้อกูลทั้งภายในและภายนอกชุมชน ในการศึกษาดูงานในพื้นที่ต้นแบบด้วย

ผลจากการพัฒนาด้านหัตถกรรมหมอนขิด ยังได้เชื่อมเครือข่ายกับกลุ่มแม่บ้านอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือ

แบ่งปันสินค้าและวัสดุอุปกรณ์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มอาชีพอื่นๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มเลี้ยงโค ทำไร่

ยางพารา เพื่อหารายได้เสริม และเพื่อคัดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี เป็นการลดตน้ทุนการผลิตและทำให้ข้าวราคาดี

นอกจากนี้ กระบวนการพัฒนาด้านหัตถกรรมหมอนขิด ยังได้เสริมสร้างศักยภาพของสมาชิกใน

หลายด้าน เช่น เสริมสร้างความสามารถด้านการจัดการกลุ่ม การทำบัญชี การพูด การนำเสนอ การขาย

การตลาด การบรรจุหีบห่อ การติดต่อประสานงานกับองค์กรภาครัฐและเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก

ชุมชน ขณะที่องค์กรหรือกลุ่ม ยังได้รับการเสริมสร้างศักยภาพให้เป็นศูนย์สาธิตการผลิตหมอนของตำบล

รับศึกษาดูงาน และบริการนักท่องเที่ยวของชุมชนอีกด้วย

เศรษฐกิจครัวเรือนชุมชน

��

การทำบัญชีครัวเรือน อบต.อุทัยเก่า อ.หนองฉาง จ.อุทัยธาน ี

แนวคิดบัญชีครัวเรือน เน้นบริหารจัดการท้องถิ่นด้วยการนำใช้ข้อมูลเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน

ของประชาชนในตำบล ให้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการจัดทำ ‘ข้อมูล’ โดยชุมชนผ่านกระบวนการ

จัดทำแผนแม่บทชุมชน

ปี พ.ศ.2542 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการใช้ข้อมูล มีการประมวลข้อมูลรายปี วิเคราะห์ ตระหนักถึง

ความยากจน เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขและทิศทางการพัฒนาชุมชน โดยพัฒนาการจัดทำข้อมูลบัญชีครัว

เรือนตามแบบของ ธกส.

ปี พ.ศ.2550 ได้ดำเนินการจัดเก็บบัญชีครัวเรือน โดยใช้แบบของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ

วิจัย (สกว.) ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลครบถ้วน และมีการประมวลผลข้อมูลและนำใช้ให้เกิดประโยชน์

เป็นบัญชีชีวิตครอบครัว นำสู่การวางแผนบริหารจัดการท้องถิ่น เกิดเป็นยุทธศาสตร์แก้จนของคนอุทัยเก่า

3 ยุทธศาสตร์ คือ

- ชุมชนเป็นสุข ทั้งทางด้านเศรษฐกิจชุมชน มีทางเลือกอาชีพหลากหลายมากขึ้น มีฐานเศรษฐกิจ

ที่มาจากชุมชนท้องถิ่นตนเอง ด้านสังคม คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ด้านการมี

ส่วนร่วม ตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมจัดสรรผลประโยชน์ของคนในชุมชนร่วมกัน และด้าน

สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

- ชีวิตปลอดภัย ในด้านอาหารปลอดภัย มีสวัสดิการชมุชนต้ังแต่เกิด แก่ เจ็บ ตายและการออมทรัพย์

ทั้งออมด้วยตนเองและออมในชุมชน

- การจัดการความรู้โดยชุมชน ซึ่งไม่มีรูปแบบแน่นอนตายตัว แต่เน้นการนำความรู้ของชุมชน

มาสร้างการเรียนรู้นำไปสู่การแก้ปัญหาจากศักยภาพของชุมชน พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องจากบทเรียน

ประสบการณ์จริงในชีวิตที่ชุมชนด้วยตัวเอง

การดำเนินการจัดทำบัญชีครัวเรือนของ อบต.อุทัยเก่า ใช้กิจกรรมการรณรงค์ให้ความรู้แก่คนใน

ชุมชน ผ่านเวทีประชาคม การชมวีดีทัศน์ บรรยาย ศึกษาจากเอกสารเอกสารบัญชีครัวเรือน และการ

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนรู้กับวิทยากร

��

จากภูผาสู่ทะเลบ้านบางโรง อบต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

ป่าเขาพระแทวเป็นป่าดิบชื้นที่เดียวของจังหวัดภูเก็ต เป็นแหล่งที่ค้นพบพญาเมืองถลาง (ต้นปาล์ม

หลังขาว) แห่งแรกของโลก เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของภูเก็ต และมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมาย

ชุมชนและอบต.ป่าคลอก ตระหนักถึงต้นทุนและมรดกนี้เป็นอย่างดี จึงได้มุ่งมั่นเพื่ออนุรักษ์อย่าง

ยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ใช้ต้นทุนนี้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ซึ่ง ‘การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์’ คือ

คำตอบที่จะบูรณาการความต้องการเข้าด้วยกัน

นอกจากการพัฒนาสถานที่เพื่อให้เหมาะกับการศึกษาดูงานแล้ว แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา ร่วมกับ

ภาคีภาคส่วนต่างๆ โดยการส่งเสริมและสนับสนุนของ อบต. ทำโครงการฝึกอบรมเยาวชน แกนนำรุ่นหลัง

อาสาสมัคร และคนในชุมชน หลายกิจกรรมหลายหลักสูตร ให้เรียนรู้เรื่องของการอนุรักษ์ รู้จักพันธุ์ไม้

สัตว์และแมลง ทำกิจกรรมปลูกป่า วิจัยพันธุ์ไม้ น้ำ ปะการัง มีการบันทึกข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลจาก

สถานที่จริง และประชุมพูดคุย ปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอหลังการละหมาด

ผลของกิจกรรม เกิดการขับเคลื่อนงานร่วมกันระหว่างผู้นำทางศาสนา แกนนำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่

บ้าน อบต. และผู้นำทางธรรมชาติ

แกนนำทุกคน สามารถเป็นวิทยากร และถ่ายทอดความรู้ หรือนำความรู้จากหน่วยงานอื่นๆ มา

ถ่ายทอดสู่ชุมชน

หรือแม้แต่เยาวชนในชุมชน ก็พร้อมสำหรับการเป็นมัคคุเทศก์นำชมสถานที่ และถ่ายทอดความรู้แก่

ผู้มาเยือน

ป่าเขาพระแทว กลายเป็นแหล่งศึกษาดูงาน หรือท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีเยาวชน แกนนำ

สถาบันการศึกษาในจังหวัดภูเก็ตและทั่วประเทศ มาศึกษาหาความรู้และหาข้อมูล

การท่องเที่ยวโดยชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน

��

หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มบ้านพักโฮมสเตย์บ้านโคกเมือง อบต.จรเข้มาก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย ์

ด้วยจุดเด่นทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น คือปราสาทเมืองต่ำ ทางผ่านปราสาทพนมรุ้ง ที่ในแต่ละปีจะ

มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมมากมาย แต่มาในลักษณะทางผ่าน กล่าวคือ มาเที่ยวชมปราสาทพนมรุ้งและ

ปราสาทเมืองต่ำแล้วไปพักค้างแรมในท้องที่อื่น ทำให้รายได้อันเกิดจากการท่องเที่ยวไปตกยังชุมชนอื่น

ขณะที่ชุมชนในบ้านโคกเมืองต้องรับภาระการจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานและผลกระทบอื่นๆ ดังนั้น

ชุมชนจึงรวมตัวกันก่อตั้งกลุ่มบ้านพักโฮมสเตย์ขึ้น เพื่อเชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอันก่อให้เกิดรายได้

ในปี 2549 บ้านโคกเมืองได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้าน OTOP Village Champion (OVC)

อบต.จรเข้มาก จึงได้เกิดแนวคิดการส่งเสริมหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ให้ครบวงจรยิ่งขึ้น โดยการส่งเสริม

ให้ประชาชนแปรรูปสินค้าซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การ

พัฒนาสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐานสากล ควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยจัดกิจกรรมบ้านพัก

โฮมสเตย์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน

กลุ่มบ้านพักโฮมสเตย์ แรกเริ่มมีสมาชิก 12 หลัง ต่อมาจึงขยายเพิ่มขึ้นเป็น 31 หลัง โดยการ

บริหารงานของกลุ่ม ที่มีรูปแบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน (มาตรฐาน Home Stay ไทย)

การบริหารจัดการของกลุ่มบ้านพักโฮมสเตย์ มีรูปแบบเป็นคณะกรรมการ มีข้อตกลง ข้อบังคับกลุ่ม

และมีมาตรฐานในการต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้มาใช้บริการ มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติ

และจัดสรรผู้เข้าพักให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าพัก กำหนดให้อาหารที่ใช้ต้อนรับเป็น

อาหารพื้นบ้าน เพื่อเป็นสื่อกลางที่สื่อให้เห็นวิถีชีวิตชุมชน ผลิตจากแต่ละหมู่บ้านหมุนเวียนสับเปลี่ยนกัน

โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับชุมชน ในกรณีที่มีนักท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ

จะมีพิธีต้อนรับตามวิถีของชุมชน มีการบายศรีสู่ขวัญ ที่แสดงถึงความพรอ้มและความเต็มใจในการต้อนรับ

กลุ่มบ้านพักโฮมสเตย์ ยังได้จัดเข้าชมสถานที่อารยธรรมโบราณ (ปราสาทเมืองต่ำ บาราย) ผ่าน

มัคคุเทศก์น้อยสื่อกลางที่จะนำเข้าสู่อารยธรรมขอมโบราณ การเที่ยวชมครัวเกษตรอินทรีย์ การชมวิถีชีวิต

ของคนในชุมชน และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้า โดย

การปั่นจักรยานเพื่อสัมผัสวิถีชีวิตของชุมชนอย่างใกล้ชิด

การขับเคลื่อนการพัฒนา ผ่านการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์แบบมีส่วนร่วม ส่งผลให้

ชุมชนเกิดการหวงแหนในวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน หน่วยงานราชการ โรงเรียน วัด ร่วมกัน

ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการเรียนรู้ทั้งในและนอกหลักสูตร เพื่อสร้าง

มัคคุเทศก์น้อย ซึ่งทำให้เยาวชนในท้องถิ่นมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

��

นอนโฮมสเตย์ ร่วมบุญนางหาบ ตักบาตรอเมซิ่ง อบต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ ์

‘กินอิ่ม นอนอุ่น ต้อนรับแขกผู้มาเยือนดุจญาติมิตร’

โฮมสเตย์ตำบลหาดสองแคว เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนผู้ประกอบการที่มีใจรักการบริการและ

ใช้ประสบการณ์มาต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือกลุ่มคณะเพื่อศึกษาเรียนรู้ดูงานของชุมชน ซึ่งได้รับตรารับรอง

มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ชุมชนลาวเวียง หมู่บ้านหาดสองแคว เป็นชุมชนลาวเมืองเวียงจัน อพยพมาในรัชสมัยพระบาท

สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ได้แล้วในปี พ.ศ.2371 และ

กลมกลืนกลายเป็นคนไทยเชื้อสายเวียงจันทน์ หากแต่ไม่ได้ละทิ้งวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม ยังคงรักษา

สืบสานภาษาพูด ประเพณีที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ให้นักท่องเที่ยวได้เรยีนรู้และสัมผัส

กลุ่มโฮมสเตย์บ้านหาดสองแคว ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2549 เพื่อต้อนรับแขกผู้มาเยือนที่ไม่มีที่พัก

และต้องไปพักที่โรงแรมในตัวเมืองซึ ่งไกลและเสียเวลาในการเดินทางไปกลับทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง

นอกจากนี้ แกนนำยังมองเห็นถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแขกผู้มาเยือนดุจญาติมิตร เพื่อ

ให้รู้จักตำบลหาดสองแควมากขึ้น จึงกลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดกิจกรรมนี้ขึ้น โดยมีองค์การบริหาร

ส่วนตำบลหาดสองแควเข้ามาสนับสนุน

โดยมีแหล่งท่องเที ่ยวและกิจกรรมที ่ได้ร ับการส่งเสริม อาทิ เยี ่ยมชมวิถีชีว ิตคนในตำบล

หาดสองแคว ชมงานหัตถกรรมพื้นบ้าน นมัสการหลวงพ่อจันทร์ บึงพาด ศูนย์การเรียนรู ้อนุรักษ์

สิ่งแวดล้อมประจำหมู่บ้าน งานประเพณีไหลแพไฟ งานย้อนรำลึกเส้นทางประวัติศาสตร์รัชกาลที่ 5

การทำบุญตักบาตรหาบสาแหรก หรือที่รู ้จักในนาม ‘หาบจังหัน’ เยี่ยมชมและจับจ่ายสินค้าจากกลุ่ม

ผลิตภัณฑ์ชุมชนหลายประเภท เช่น ปลาร้าผง กล้วยฉาบ ส้มโอสามรส มะขามแก้ว น้ำพริกสำเร็จรูป

งาดำตัด ฯลฯ รวมถึงกิจกรรมแลกเปล่ียนเรียนรูกั้บแขกท่ีมาพัก และร่วมรับประทานอาหารพ้ืนบ้าน เป็นต้น

การบริหารจัดการ และการดำเนินการโฮมสเตย์บ้านหาดสองแคว ได้ยึดการบริหารจัดการตาม

มาตราฐานโฮมสเตย์ไทย ครั้งแรกมีจำนวนโฮมสเตย์จำนวน 5 หลัง จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 20 หลังคา

เรือน และวางระบบพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและบุคลากรบริการ ให้มีความรู้ความสามารถในการ

ดำเนินการบริหารจัดการให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยให้มีค่าตอบแทนจากเปอร์เซนต์ที่ได้จากแขกที่มาพัก และ

รายได้บางส่วนยังนำไปใช้ในกิจกรรมหรืองานของหมู่บ้านอีกด้วย

การท่องเที่ยวโดยชุมชน

�0

ท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านถ้ำผึ้ง อบต.ต้นยวน อ.พนม จ.สุราษฎร์ธาน ี

‘ท่องแดนมหัศจรรย์ หลากพรรณพืชสัตว์ ย้อนประวัติสมรภูมิ โอบอุ้มธรรมชาติและน้ำใจ’

ภูมิประเทศของบ้านถ้ำผึ้ง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบกับพื้นที่ภูเขาป่าดิบชื้นอุดมสมบูรณ์ที่เป็น

ป่าต้นน้ำ มีถ้ำซึ่งเหมาะแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร

โดยมีพ้ืนท่ีส่วนหน่ึงกันเป็นพ้ืนท่ีสาธารณะเพ่ืออนรัุกษ์ธรรมชาติท่ีสวยงาม ด้วยธรรมชาติท่ีโดดเด่นหลากหลาย

และสวยงาม ชุมชนจึงได้รวมตัวกันพัฒนาพื้นที่ให้เป็น ‘ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว’ มีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์

และออกระเบียบข้อบังคับการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน

รปูแบบการท่องเท่ียวของบ้านถ้ำผ้ึง เป็นการท่องเท่ียวทางธรรมชาติ โดยนักท่องเท่ียวสามารถเท่ียวชม

ความงามแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติของบ้านถ้ำผึ้ง ได้แก่ บึงมหัศจรรย์น้ำดันทรายดูด ป่าต้นน้ำ

น้ำผุด ดอกไม้สีดำ ถ้ำน้ำลอด ถ้ำผึ้ง ถ้ำประวัติศาสตร์สมรภูมิ น้ำตกธารพฤกษาหรือน้ำตกบางคุย

นอกจากนี้ ยังมีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณี ได้แก่ การรับแขกด้วยอาหารปิ่นโต การท่องเที่ยวเชิง

เกษตร ได้แก่ อิ่มละ 20 จากการเลือกกินผลไม้ในสวนได้ตามความต้องการ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบ

ต่อระบบนิเวศ การเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ถูกกำหนดให้เป็นการเดินเท้า จากจุดทางเข้าหรือ

จุดจอดรถของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว

การบริหารจัดการการท่องเที่ยวบ้านถ้ำผึ้ง มีการวางระบบการบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการ

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 6 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายอาหาร ฝ่ายบ้านพัก

ฝ่ายรถจัดนำเที่ยว ฝ่ายนำเที่ยว ฝ่ายรักษาความสงบ และฝ่ายขาย และจัดทำระเบียบข้อบังคับป่าชุมชน

บ้านถ้าผึ้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2550

การจัดการท่องเที่ยวบ้านถ้ำผึ้ง ดำเนินการโดยการบริหารจัดการของชุมชนอย่างเท่าเทียมกัน โดย

สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และดำเนินงานอย่างเป็นระบบภายใต้กฎระเบียบที่ชุมชนมี

มติ ทำให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของบ้านถ้ำผึ้งมีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาในทางที่ดีขึ ้น ทั้งด้าน

เศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาเยี่ยมชมและให้การสนับสนุน

��

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

การจัดการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ปากพูน มีเป้าหมายให้เด็กเรียนรู้อย่างมี

ความสุข และมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม และจิตใจ เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กเกิด

พัฒนาการด้านต่างๆ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ 9 เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งแรกของ อบต.ปากพูน จัดตั้งขึ้นในปี 2543

ตามแผนการศึกษาของ อบต.ปากพูน และจากเจตจำนงร่วมกันของประชาคม เพื่อให้บริการแก่ประชาชน

ในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน เพื่อแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองที่ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง

ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับการจัดการศึกษา จึงได้ก่อเกิดโครงการต่างๆ เพื่อวาง

รากฐานทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและจริยธรรมให้แก่เด็ก เช่น กิจกรรมเล่านิทาน โดยผู้สูงอายุสับเปลี่ยน

กันมาเล่านิทานให้เด็กฟัง กิจกรรมเยี่ยมผู้สูงอายุ และกิจกรรมเยี่ยมผู้พิการ กิจกรรมทางศาสนา เด็กได้

เข้าวัดในวันพระ ส่วนเด็กที่เป็นอิสลามก็จะได้เข้ามัสยิดในวันศุกร์ กิจกรรมการสอนพยัญชนะไทยด้วย

ทำนองเพลงบอกและมโนราห์ เป็นการนำวัฒนธรรมของท้องถิ่นมาผสมผสาน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่

จัดตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดทำแปลงนาข้าวสาธิต ครกสีข้าวด้วยมือ และแปลงผัก

พื้นบ้านที่เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเอง กิจกรรมสวนสัตว์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น

ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ 9 ยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาเด็กรุ่นแล้วรุ่นเล่า และ

กลายเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่แวะมาเยี่ยมเยียน และศึกษาดูงาน

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ถือหลักการลงมือปฏิบัติจริงหรือจากประสบการณ์ตรง เพื่อให้

เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีอิสระ ได้รู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์ ให้เด็กเกิดการพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้าน

ร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (1)

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (1)

��

การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลหนองแวง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย ์

เทศบาลตำบลหนองแวง เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ตามแนวเขตชายแดน ได้รับการโอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จากกรมการพัฒนาชุมชน 7 แห่งในพื้นที่ 7 หมู่บ้าน ต่อมาเทศบาลได้จัดตั้งเพิ่มอีก 2 แห่ง รวมเป็น 9 แห่ง

ในการดำเนินกิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีเป้าหลักคือการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองที่ต้อง

ออกไปประกอบอาชีพ และอีกส่วนหนึ่งที่ต้องเดินทางไปรับจ้างในต่างจังหวัดแล้วปล่อยให้เด็กเล็กอยู่กับ

ตายาย เทศบาลตำบลได้พัฒนาปรับปรงุรปูแบบการจัดการเรียนการสอนของเด็กเล็กให้มีความพร้อมตามวัย

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาการที่ดี มีความพร้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และ

ค่านิยมที่พึงประสงค์ ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด มีการพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

แบบบูรณาการ โดยอาศัยกิจกรรม 4 ด้าน คือ

1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้

เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในท้องถิ่น โดยการจัดมุมภูมิปัญญาท้องถิ่น และ

เชิญวิทยากรภายนอกซึ่งมีศักยภาพถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น มาให้ความรู้ตามสาขาวิชาที่สอดคล้อง

ต่อการพัฒนาประสบการณ์ รวมทั้งการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยการนำนักเรียนไปศึกษาวิถีชีวิตและการ

ประกอบอาชีพในชุมชน เพลิดเพลิน และเกิดความคิดสร้างสรรค์ ภูมิใจในบ้านเกิดของตน

2. ธนาคารขยะ

เพื่อเป็นการปลูกฝังอุปนิสัยที่ดี รักสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กๆ ช่วยลดปัญหาขยะ และภาวะโรคร้อน

พร้อมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง ผ่านการรักษาความสะอาด และสิ่งแวดล้อม

3. เยี่ยมบ้านประสานความสัมพันธ์

การเยี่ยมบ้าน เป็นการพบปะกันระหว่างครู เด็กนักเรียน กับผู้ปกครอง หรือผู้สูงอายุในชุมชน

สานสัมพันธ์ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เกิดเป็นสังคมที่เอื้ออาทร

4. ส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

ให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของตนเอง การมีค่านิยม รัก ภูมิใจในวัฒนธรรมไทย และ

สืบสานวัฒนธรรมไทย เช่น การนำเด็กไปทำบุญที่วัดในวันสำคัญ เชิญผู้สูงอายุในชุมชนเป็นวิทยากร

หลักสูตรการเรียนการสอนที่ออกแบบอย่างสัมพันธ์กับชุมชน นอกจากแสดงถึงความสำคัญกับ

บุคลากรในชุมชน เกิดการพัฒนาเรียนรู้ระหว่างกันแล้ว ยังสร้างการยอมรับในชุมชน เพื่อดึงให้เกิดการ

มีส่วนร่วมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนด้วย

��

โรงเรียนวัยใส หัวใจซุกซน อบต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

โรงเรียนวัยใส หัวใจซุกซน เป็นโครงการเพื่อส่งเสริมศักยภาพเด็กและเยาวชน โดยผ่านความ

เห็นชอบของคณะกรรมการฝ่ายการศึกษา อบต.ปากพูน และผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในตำบลปากพูน

หลังจากทราบข้อมูลว่า นักเรียนในโรงเรียนที่อยู่ในเขตตำบลปากพูน ยังมีปัญหาเรื่องอ่านหนังสือไม่ออก

และเขียนภาษาไทยไม่ได้เป็นจำนวนมาก จึงได้พัฒนาการเรียนการสอนในแบบการเรียนตามอัธยาศัย เพื่อ

ให้เด็กนักเรียนรู ้สึกสนุกกับการเรียนรู ้ โดยอาศัยสื ่อกลางจากปราชญ์ชาวบ้านที ่พร้อมจะถ่ายทอด

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสอนและส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางด้านภาษา ตลอดจนกระบวนการคิด

วิเคราะห์ เสริมการเรียนรู้ในระบบ

ในการจัดการศึกษาของนักเรียน ‘วัยใส หัวใจซุกซน’ นั้น ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ไม่มีห้องเรียนเป็น

หลักแหล่ง อาจจะเรียนใต้อาคาร ใต้ต้นไม้ ริมสระน้ำ สวนสาธารณะ หรือแม้กระทั่งห้างสรรพสินค้า

เปิดโอกาสให้เด็กได้เห็นโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น โดยเชื่อว่า เมื่อเด็กนักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ แนวทาง

การพัฒนาทักษะต่างๆ ก็จะง่ายขึ้น โดยการจัดการเรียนการสอนได้แบ่งกลุ่มวิชาออกเป็น 3 กลุ่ม และ

2 กิจกรรม คือ

กลุ่มวิชาพื้นฐาน มี 5 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย โดยนำสิ่งที่นักเรียนชอบและสนใจ โยงเข้าสู่บทเรียน

คณิตศาสตร์คุณธรรม นอกจากจะให้นักเรียนสามารถหาคำตอบและผลลัพธ์ของการคิดคำนวนแล้ว

นักเรียนจะตระหนักถึงคุณธรรมที่สอดแทรกไว้ด้วย วิทยาศาสตร์ใกล้ตัว สอนวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ

นักเรียนในชีวิตประจำวัน ภาษาอังกฤษ โดยเป็นการเรียนแบบไร้เอกสารกับครูชาวต่างชาติ เน้นการใช้ใน

ชีวิตประจำวัน และคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น

กลุ่มวิชาชอบ เป็นวิชาที่ให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามความสนใจ ความถนัด เพื่อพัฒนาความ

สามารถของตนเอง เป็นการถ่ายทอดความรู้โดยผู้สอนที่มีอยู่ชุมชน

กลุ่มวิชาเลี้ยงชีพ เป็นวิชาที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้การดำรงชีพอย่างพอเพียง ได้แก่ การเผาถ่าน

แบบไร้ควัน, การทำปุ๋ยหมักจากขยะ, การปลูกข้าว, การเลี้ยงปลา, การปลูกผักปลอดสารพิษ ฯลฯ

กิจกรรมสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนทำร่วมกันเพื่อสร้างความสามัคคี ปลูกฝังจิตอาสา

การแบ่งปันและขับเคลื่อนสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน

กิจกรรมศึกษาท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น ได้รู้จักชุมชนของตน

มากยิ่งขึ้น โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (1)

��

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกระจาย อบต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2524 ก่อนจะปิดตัวไปเนื่องจากขาดบุคลากร

ดูแล กระทั่งในปี 2538 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกระจาย จึงได้ก่อตั้งขึ้นอีกครั้ง โดยการริเริ่มขึ้นจาก

บุคลากรในชุมชนที่มีความตั้งใจและเสียสละ เพื่อให้ความช่วยเหลือแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง และต้องการ

พัฒนาเด็กอย่างแท้จริง โดยใช้บ้านเป็นศูนย์

ในอีก 2 ปีต่อมา สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอป่าติ้ว และ อบต.กระจาย จึงได้จัดสรรงบประมาณ

ซ่อมแซมอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหลังเก่า และได้ย้ายเด็กไปที่อาคารศูนย์เด็กหลังเก่า ซึ่งกลายเป็น

ที่ทำการในปัจจุบัน

ในปี 2547 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้เงินงบประมาณปรับปรุงอาคารเรียนและจัดหาสื่อการเรียนการ

สอนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวนเงิน 820,000 บาท เพื่อนำร่องเป็นศูนย์ต้นแบบ

การดำเนินงานของศูนย ์ มีคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทำหน้าที่กำกับดูแล โดย

คณะกรรมการประกอบขึ้นจากตัวแทน อบต. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานีอนามัย ผู้ปกครอง และชุมชน

โดยจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเดือนละ 1 ครั้ง และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก

โดยการประชุมสอบถามความคิดเห็นและความต้องการ และร่วมกันให้ค่าบำรุงศูนย์ฯ ในการจัดกิจกรรม

คนละ 70 บาท/เดือน นอกจากนี้เพื่อการพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังได้จัดให้มี

โครงการอบรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โครงการเสวนาผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดการดูแลต่อเนื่องจากบ้าน

สู่ศูนย์ฯ และจากศูนย์สู่บ้าน

ปัจจุบันศูนย์เด็กเล็ก มีเด็กในความดูแล 86 คน จาก 5 หมู่บ้าน มีการดำเนินงานโดยความร่วมมือ

ของหน่วยงานหลายฝ่าย รวมถึงวัด และชุมชน เริ่มตั้งแต่ การบริจาคที่ดิน การก่อสร้างอาคาร การสร้างรั้ว

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในบริเวณอาคารและนอกอาคาร สนับสนุนหาสื่อ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการ

เรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สนับสนุนอุปกรณ์ของใช้จำเป็นสำหรับเด็ก อุปกรณ์ประกอบอาหารและ

รับประทานอาหาร แปรงสีฟัน แก้วน้ำ เป็นต้น

ทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมี 2 อาคาร คืออาคารเรียน และอาคารห้อง

อาหาร มีสนามเด็กเล่นที่จัดแบ่งเป็นโซน คือ โซนเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน โซนเลี้ยงสัตว์ โซนผักป

ลอดสารพิษ และโซนของเล่นกลางแจ้ง แบ่งการเรียนเป็น 2 ชั้น คืออนุบาล 1 และ 2 ซึ่งได้จัดแผนให้กับ

เด็กตามพัฒนาการ โดยเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ตามมาตรฐานการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน ตามเกณฑ์และวัย โดยมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและการบูรณาการเครือข่ายต่างๆ มามี

ส่วนร่วมในการจัดหลักสูตร

��

หลักสูตร ‘สาระบ้านๆ’ อบต.ขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

ชุมชน อบต.ขุนทะเล มีแนวคิดและจัดทำโรงเรียนแก้จน ส่วนโรงเรียนบ้านสำนักใหม่ ซึ่งเป็น

โรงเรียนจัดการศึกษาในระบบที่เริ ่มเปิดประตูสู่ชุมชนก็มีแนวคิดที่บูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับ

วิถีชุมชน คณะครู กรรมการสถานศึกษา และชุมชน จึงได้ปรึกษาหารือ และมีความเห็นตรงกันว่า การ

จัดการเรียนรู้ที่ดี น่าจะเป็นการเรียนรู้ถึงความเป็นตัวของตัวเองและพัฒนาตนเองไปในทุนที่มีของชุมชน

และโรงเรียน จึงกลายเป็น ‘โรงเรียนกันจน’ โดยที่นักเรียนได้เรียนตามหลักสูตรการเรียนการสอนใน

ห้องเรียน แต่เสริมหรือบูรณาการเข้ากับวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับชุมชน ขณะเดียวกันก็มีอาชีพ หรือฝึกอาชีพ

มีรายได้ หรือรู้จักรับผิดชอบ เพื่อที่หลังจบการศึกษาจากโรงเรียนไปแล้ว สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนใน

สังคมและชุมชน และสามารถนำเอากิจกรรมที่ทำในโรงเรียนไปประกอบอาชีพ เลี้ยงดูตัวเองได้

โดยวิธีการสอนในหลักสูตรที่เรียกกันว่า ‘สาระบ้านๆ’ นี้ จะเน้นให้เด็กทำกิจกรรม โดยกิจกรรมที่ทำ

เป็นกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งหมดและมีอยู่จริง หลังจากเด็กทำแล้ว สามารถปฏิบัติงานแทนคนใน

ชุมชนได้ ขณะเดียวกันก็สอดคล้องไปกับแนวทางการพัฒนาของชุมชน อาทิ

การเพาะปลูกพันธุ์ไม้ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และศึกษาการเพาะปลูกพืชผัก ทั้งที่ปลูกไว้กิน และ

ปลูกไว้เป็นร่มเงา เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อทั้งผักและไม้ดอกไม้ประดับ

การพัฒนาสุขภาวะ เป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบ ฝึกให้เด็กรัก

ในความสะอาด ตลอดจนการพัฒนาครอบคลุมทั้งสี่มิติ กาย จิตใจ สังคม และปัญญา

การเลี ้ยงสัตว์ผสมผสาน เพื ่อเป็นแหล่งอาหารของโรงเรียนที่เด็กสามารถนำไปประกอบเป็น

อาหารกลางวันได้ ลดต้นทุนในการจัดซื้อมาจากภายนอก

การออมทรัพย ์ เกิดคุณลักษณะที่ดีในการประหยัดอดออม รู้จักการอยู่ในสังคมชุมชนแบบพึ่งพา

อาศัยซึ่งกันและกัน

คัดแยกขยะ สร้างคุณค่า มูลค่า และรู้จักคุณประโยชน์ของขยะ

ย่ามปัญญา โดยการให้เด็กนำหนังสือที่มีอยู่ในโรงเรียน กลับไปให้คนทางบ้านได้อ่าน เป็นการนำ

หนังสือบริการถึงบ้าน

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (1)

��

ยะลาโมเดล เทศบาลนครยะลา

เทศบาลนครยะลาได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

มารดาจนถึงปั้นปลายของชีวิต และเชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง เพียงแต่สร้างโอกาสใน

การเข้าถึงทรัพยากร โดยเปิดพื้นที่แหล่งการเรียนรู้และนันทนาการให้กับประชาชน ทั้งในเขตและนอกเขต

เทศบาลรวมทั้งประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้

และได้ริเริ่มโครงการกิจกรรมในช่วงปิดภาคฤดูร้อน ผ่านกิจกรรมกีฬาฟุตบอล โดยบูรณาการกับ

หลักสูตรต่างๆ ควบคู่กับการสอดแทรกคุณธรรมพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิด

ประโยชน์ห่างไกลยาเสพติด โดยมีหลักสูตรเชิงบูรณาการหลายๆ ด้าน คอื

หลักสูตรการฝึกฟุตบอลขั้นพื้นฐาน ใช้เป็นแนวทางในการฝึกแก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการให้เป็น

ไปในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกันโดยผ่านการรวบรวมจากตำราฟุตบอล และแนวคิดของผู้ฝึกสอนที่ผ่าน

การฝึกอบรมผู้ฝึกสอนฟุตบอลจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

หลักสูตรทักษะชีวิตรอบด้าน ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที ่ยึดหลักผู้เข้าร่วม

กิจกรรมเป็นศูนย์กลาง สาระสำคัญของหลักสูตร มีองค์ประกอบสำคัญคือ การสอนทักษะชีวิตรอบด้าน

ได้แก่ ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการจัดการกับอารมณ์ ทักษะการปฏิเสธ

การชักชวน รวมถึงการป้องกันยาเสพติด โรคเอดส์ และการใช้หลักสร้างเสริมสุขภาพ

หลักสูตรส่งเสริมคุณธรรมเพื่อสำนึกรักบ้านเกิด ให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมพื้นฐาน 9 ประการ

คือ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุขภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจและกตัญญู โดยผ่าน 4 กิจกรรมหลัก

ได้แก่ เรียนรู้ตามสำนัก/กองกิจกรรม บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมการอยู่ร่วมกัน และสานสัมพันธ์ต่างวัย

หลักสูตรส่งเสริมการอ่านและทักษะการเรียนรู้ โดยมีขอบเขตการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมการอ่าน

นอกเวลา ทักษะการสืบค้นข้อมูล ทักษะการสร้างสมรรถนะทางด้านร่างกาย และการบริหารสมอง

และคู่มือกิจกรรมเกมและใบงาน ใช้เป็นคู่มือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีเนื้อหาประกอบด้วย

2 หมวด คือ กิจกรรมเกมเพื่อละลายพฤติกรรมและกลุ่มสัมพันธ์ และกิจกรรมใบงานเพื่อประสบการณ์

การเรียนรู้ จำนวน 50 กิจกรรม

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (2)

��

ศูนย์พัฒนาทักษะทางการศึกษา อบต.บ้านหม้อ อ.เมือง จ.เพชรบุร ี

อบต.บ้านหม้อ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่มีโรงเรียนในสังกัดของตนเอง ทั้งศูนย์เด็กเล็ก

หรือสถานศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ด้วยพื้นที่ชุมชนติดกับเขตเมืองเพชรบุรี ทำให้ทางเลือกในการเข้ารับการ

ศึกษาของเด็กในพื้นที่เป็นไปด้วยความสะดวก และหลากหลาย ประกอบกับในพื้นที่มีโรงเรียนอนุบาล

เอกชนอยู่ 3 แห่ง แม้แต่แนวคิดที่จะสร้างศูนย์เด็กเล็กเป็นของตนเองก็เป็นไปได้ยาก จึงได้คิดที่จะส่งเสริม

การศึกษาในรูปแบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

เพื่ออุดช่องว่างและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับคนในชุมชน

อบต.บ้านหม้อ จึงปรับปรุงแนวทางการดำเนินการและยกระดับเพื่อนำไปสู่การศึกษาแบบมีส่วนร่วม

โดยเริ่มจากการลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลรายละเอียด สำรวจสภาพปัญหาความต้องการของแต่ละหลังคา

เรือน ซึ่งผลจากการลงพื้นที่พบว่า รายจ่ายครัวเรือนด้านส่งเสริมการศึกษาเสริม นอกเหนือจากในเวลา

เรียนเฉลี่ยขั้นต่ำ 600 บาทต่อเดือน ไปจนถึง 3,500 บาท ต่อภาคการเรียน อบต.บ้านหม้อ จัดได้มีแนวคิด

ที่หวังเพิ่มทางเลือกทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และลดรายจ่ายให้แก่ครัวเรือน

หลังจากนั้นจึงได้เชิญตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิจาก 6 หมู่บ้าน มาร่วมเป็นคณะกรรมการการศึกษา

ศาสนา และวัฒนธรรม พร้อมทั้งเชิญภาคีเครือข่ายร่วมเสนอแนะ และพัฒนา เพื่อยกระดับการศึกษาของ

เด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้ได้มีสิทธิเท่าเทียมกัน และเพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

ที่สุด ‘ศูนย์พัฒนาทักษะทางการศึกษา อบต.บ้านหม้อ’ ก็เกิดขึ้น และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์การเรียนรู้

ต้นแบบด้านการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนอย่างแท้จริง โดยศูนย์นี้ได้แบ่งรูปแบบการ

เรียนรู้ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1) การส่งเสริมการศึกษาในระบบ และ 2) การส่งเสริมการศึกษานอกระบบ

(กศน.ตำบลบ้านหม้อ)

จากนั้นก็เปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการเรียนเสริมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมทั้ง

ติดต่อคณะครูอาจารย์จากหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เป็นแบบฉบับของ

ตำบลบ้านหม้อ จนปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 120 คน และมีนักเรียนในรูปแบบการศึกษานอกระบบกว่า 100 คน

นอกจากเป้าหมายหลักของโครงการที่เสริมการเรียนรู้ เปิดโอกาสการเข้าถึงการศึกษา และลดรายจ่าย

ด้านการศึกษาให้ครัวเรือนแล้ว สิ่งที่เป็นผลอย่างเห็นได้ชัด อาทิ การประสานความร่วมมือทางด้าน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน จากการให้ผู้สูงอายุมาเล่าความหลังของตำบลบ้านหม้อ ลดช่องว่างระหว่างรุ่น

ในชุมชน และยังเป็นการเสริมสร้างภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง ที่เป็นต้นทุนเพิ่มสำหรับการต่อยอดไปสู่ความ

ร่วมมือด้านอื่นๆ เป็นต้น

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (2)

��

เส้นทางสู่ ยโสธร...เมืองแห่งการอ่าน จังหวัดยโสธร

‘การอ่าน’ ได้รับการเลือกให้เป็นวาระของจังหวัดยโสธร จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการทำวิจัยที่ชื่อว่า

‘ชวนกันอ่านหนังสือให้เด็กฟัง’ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากสถานีอนามัยหนองคูน้อย อ.ไทยเจริญ

จ.ยโสธร พร้อมด้วยทีมวิจัยอีก 24 คน

นับเป็นครั้งแรกที่วาระของจังหวัดถูกกำหนดขึ้นจาก ‘ล่างขึ้นบน’ แม้จะเป็นเพียงงานวิจัยชิ้นเล็กๆ

ทว่าเป็น ‘งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น’ ที่ทำโดยคนในพื้นที่ และใช้ประโยชน์โดยคนในพื้นที่อย่างแท้จริง

งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะพิสูจน์ว่าการอ่านดีอย่างไร แต่มุ่งค้นหาคำตอบว่า จะทำให้คนที่

ไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมของการอ่าน มาอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟังได้อย่างไร กระบวนการจึงเริ่มที่นักวิจัย

จากนั้นจึงไปชวนพ่อแม่ผู้ปกครอง ชวนครูศูนย์เด็กเล็กที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ทำให้มีเด็กอายุไม่เกิน

3 ขวบในโครงการ จำนวน 92 คน เด็กอายุ 3-6 ขวบ จำนวน 288 คน จากศูนย์เด็กเล็ก 6 แห่ง ในพื้นที่

7 หมู่บ้าน จาก 7 ตำบล 5 อำเภอเข้าร่วมโครงการ จากนั้นทีมวิจัยได้จัดหาหนังสือสำหรับเด็กมาให้

ผู้ปกครองเพื่ออ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน เมื่อครบ 1-2 เดือน จึงติดตามและถอดบทเรียนโดยจัดเวทีย่อย

และติดตามเยี่ยมบ้าน และท้ายที่สุดเป็นการจัดเวทีสะท้อนบทเรียนแก่ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง

โครงการวิจัยชิ้นนี้ค้นพบว่า เด็กๆ ในโครงการมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนหลายประการ อาทิ กลายเป็น

หนอนหนังสือในเวลาอันรวดเร็ว มีความสุข มีสมาธิ ความจำดี มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครอง

เอาใจใส่บุตรหลานมากขึ้น และเห็นความสำคัญของการเล่านิทาน เช่นเดียวกับครูที่เห็นความสำคัญของ

การอ่าน และจัดหนังสือให้เด็กเข้าถึงได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังได้ข้อสรุปด้วยว่า การอ่านแม้ไม่ใช่วัฒนธรรม

ของชุมชนชนบท แต่ก็สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ โดยเน้นสร้างในเด็กเล็ก

จากผลของโครงการ ได้ต่อยอดเป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอีก 2 เรื่องคือ ‘ตามหานิทานพื้นบ้าน’

เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนหนังสือ และอีกโครงการเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือไม่ออก

ที่สุดจังหวัดยโสธร ได้ขานรับ และผลักดันให้ การอ่านเป็นวาระของจังหวัด โดยเฉพาะเทศบาล

เมืองยโสธร ได้นำมาเป็นโครงการหลักที่จะขับเคลื่อนให้ครอบคลุมเต็มพื้นที่ของเทศบาลเมือง ขณะที่

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้มอบนโยบายให้ทุกสถานีอนามัย ดำเนินโครงการกับกลุ่มเป้าหมาย

ในพื้นที่ อบต. หลายแห่งนำไปเป็นนวัตกรรมในการพัฒนาเด็กในศูนย์เด็ก ตลอดจนมีหลายโรงเรียนนำไป

ใช้พัฒนาผู้เรียนในระดับปฐมวัย จนถึงวันนี้ยังได้รับการหนุนเสริมจาก สสส. ให้มีการขยายผลโครงการ

ส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างหนอนน้อยนักอ่าน ตลอดจนครอบครัว/ชุมชนรักการอ่านให้เต็มพื้นที่จังหวัด

ยโสธร ภายใต้โครงการ ‘ขับเคลื่อนจังหวัดยโสธรให้เป็นจังหวัดที่น่าอยูท่ี่สุด’ ในปี 2553-2556

��

‘ศูนย์ข้าว’ ครบวงจร อบต.คอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ ์

เกษตรกรในพื้นที่ มีความเชื่อว่า การใช้สารเคมีจะได้ผลผลิตที่ดีกว่า และรวดเร็วกว่าการทำนาแบบ

ลดต้นทุน (การผลิตข้าวปลอดภัย) อบต.คอรุม จึงเชื่อมโยงกับทางภาควิชาการในการให้ความรู้ ข้อมูลเชิง

เปรียบเทียบ รวมถึงการจัดทำแปลงสาธิต เพื่อให้เกษตรกรได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ในที่สุด ความพยายาม

ก็ประสบผล เกษตรกรในพื้นที่ลดการใช้สารเคมี รวมกลุ่มกันจัดทำสารอินทรีย์ สารชีวภาพ ปุ๋ยอัดเม็ด ฯลฯ

เพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัยให้กับคนในตำบลคอรุม รวมถึงพื้นที่ใกล้เคยีง

จนเมื่อ อบต. ได้รับงบกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 1 ล้านบาท จึงได้โอกาสสร้างโรงสีข้าวชุมชน

ซึ่งสร้างผลกำไรให้ชุมชนและตำบลทุกปี ต่อมาจึงได้รวมกลุ่มโรงสีข้าวชุมชนเข้ากับกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์

อัดเม็ด กลุ่มสารชีวภัณฑ์ กลุ่มเพาะกล้า กลุ่มผลิตเม็ดพันธุ์ข้าว เป็นกลุ่มเดียวกัน แล้วจดทะเบียน

เป็นวิสาหกิจชุมชน ชื่อ ‘วิสาหกิจชุมชนบ้านคลองกล้วย’

ผลของความพยายามเปลี่ยนวิถีการผลิต และวิถีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจนี้ ส่งผลเป็นความ

มั่นคงทางอาหาร ได้เห็นเกษตรกรเก็บพันธุ์ข้าวใช้เองแบบดั้งเดิม หลังจางหายไปจากชุมชนมาเนิ่นนาน

ชุมชนมีเมล็ดข้าวพันธุ์ดี จำหน่ายให้เกษตรกรในพื้นที่ที่เป็นลูกสมาชิก เพื่อผลิต และจำหน่ายกลับ

คืนในรูปกลุ่มที่มีราคาสูงกว่าท้องตลาด ลดการซื้อพันธุ์ข้าวจากนอกชุมชน มีการรวมกลุ่มเพื่อการแก้ไข

ปัญหาค่าแรงงานภายในพื้นที่ ลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร เชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจภายในตำบล

เข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำนาแบบครบวงจร มีการสานต่อภูมิปัญญาชาวนา สร้างการมี

ส่วนร่วมของคนในชุมชน องค์กร หน่วยงานในชุมชน สร้างภาวะผู้นำของคนในชุมชน

การสร้างสัมมาชีพในชุมชน

การสร้างสัมมาชีพในชุมชน

�0

ตลาดโบราณนครเนื่องเขต เทศบาลตำบลนครเนื่องเขต อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

ในอดีต ‘ตลาดนครเนื่องเขต’ ถือเป็นเส้นทางการค้าทางน้ำที่มีความสำคัญมาก เนื่องด้วยบริเวณ

ดังกล่าวมีลำคลองที่ไหลมาตัดกันมากถึง 4 สาย ประกอบด้วย 1) เส้นทางไปคลองแสนแสบ 2) เส้นทางไป

อำเภอบางน้ำเปรี้ยว 3) เส้นทางไปอำเภอองครักษ์ และ 4) เส้นทางไปจังหวัดสมุทรปราการ แต่เนื่องจาก

เส้นทางการคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความคึกคักของตลาดแห่งนี้เริ่มลดลง กระนั้นก็ยังคงพอเหลือ

เค้าโครง บรรยากาศ ที่บ่งบอกถึงความเจริญและวิถีชีวิตเก่าๆ ที่เคยมีมาในแต่โบราณอยู่บ้าง เช่น ร้านค้า

เก่าๆ ข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณ บ้านเรือนที่ปลูกอยู่ริมน้ำ ตลอดจนสภาพวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ

ด้วยสภาพดั้งเดิมที่ยังคงอยู่ ด้วยประวัติความเป็นมายาวนาน จึงกลายเป็นแรงผลักดันของชุมชนที่จะ

พลิกฟื้นวิถีชีวิต ‘ตลาดโบราณนครเนื่องเขต’ ให้กลับมาอีกครั้ง

ความคิดถูกผลักดันให้เป็นรูปธรรมจากการประชุมร่วมกันของคนในพื้นที่ จากนั้นจึงได้เปิดรับ

สมัครสมาชิกจากชุมชนที่จะเข้ามาร่วมในการพัฒนาพื้นที่ตลาดให้มีความน่าสนใจ โดยเทศบาลตำบล

นครเนื่องเขตได้ให้การสนับสนุนทางด้านงบประมาณบางส่วน การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในชุมชนค่อยๆ

เริ่มขึ้น มีการตกแต่งหน้าบ้าน การทำความสะอาด การบริจาคสิ่งของ นอกจากนี้ยังจัดให้มีการรวบรวม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทอาหารที่มีอยู่ในชุมชน ตลอดจน

สถานที่ที่สำคัญที่อยู่ในตำบลเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำชุมชน

จากข้อมูลดังกล่าวได้นำไปพัฒนาเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ และใช้เป็นข้อมูลเพื่อการวางแผนการ

พัฒนาตลาดและการบริการ จนนำไปสู่การเปิดตลาดเป็นครั้งแรกในวันที่ 7 มิถุนายน 2552 ในเบื้องต้นมี

ร้านค้าที่เปิดบริการเพียง 17 ร้านเท่านั้น และเปิดให้บริการในวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ และด้วยความ

ต่อเนื่องต่อมาจึงได้มีร้านค้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังประสานความร่วมมือจากชุมชนท้องถิ่นทั้งในและนอกพื้นที่

เพื่อเข้ามาร่วมจำหน่ายและจัดแสดงสินค้า การบริการ ตลอดจนการแสดงที่เป็นศิลปวัฒนธรรมของชุมชน

ท้องถิ่น เช่น อาหารพื้นบ้าน การพายเรือนำเที่ยว บริการนำเที่ยวตามสถานที่สำคัญต่างๆ การแสดงละคร

สั้นที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชน เป็นต้น และส่งผลเป็นการคืนชีวิตให้กับ ‘ตลาดโบราณนครเนื่องเขต’

ในปัจจุบัน

ผลของการคืนชีวิตให้ตลาด ยังส่งแรงเป็นการรื้อฟื้นภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น และถ่ายทอดให้คน

รุ่นใหม่ในชุมชนได้เรียนรู้ เกิดการสร้างรายได้ เกิดการพัฒนารูปแบบสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนใหม่ๆ

ประชาชนและเยาวชนในตำบลได้สัมผัสและมีส่วนในศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่นำมาใช้เป็นกิจกรรมของ

ตลาด และเกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ องค์กรชุมชน และประชาชนอย่าง

ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

��

โรงงานอาหารดิน อบต.หนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุร ี

โรงงานอาหารดิน เกิดขึ้นจากการก่อตั้งของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตามหลักคิดที่ว่า ‘สุขภาพ

คนในชุมชนแข็งแรง ลดต้นทุนการผลิต รักษาสิ่งแวดล้อม พึ่งพาตนเอง’ จากปัญหาการเร่งการผลิตโดยใช้

สารเคมีมากมาย ซึ่งทำลายระบบนิเวศ ทำลายดินให้ขาดธาตุอาหาร บวกกับเกษตรกรยังดำเนินการ

เผาตอซัง ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ และทำลายผิวดินให้เสื่อมสภาพซำ้ลงไปอีก

กลุ่มเกษตรกรและชุมชนจึงได้ร่วมกันหาวิธีในการแก้ไขปัญหา โดยทดลองการระเบิดดิน เพื่อกว้านดิน

ให้ลึก แต่ก็ไม่ได้ผลเนื่องจากการระเบิดดินไม่ได้เพิ่มอาหารดิน อีกทั้งยังทำให้เกิดหล่มลึก จึงได้ชักชวน

กลุ่มเกษตรกรไปศึกษาดูงานที่จังหวัดชัยนาท ทดลองทำปุ๋ยผงจากวัตถุดิบทำปุ๋ยหมักเพื่อปรับดิน เป็นระยะเวลา

2 ปี ก็ยังพบปัญหาฝุ่นละออง และเป็นอุปสรรคในการหว่านลงดิน จึงได้พัฒนามาจนเกิดเป็นปุ๋ยอัดเม็ด

การก่อตั้งกลุ่มเพื่อผลิตปุ๋ยอัดเม็ดชีวภาพเกิดขึ้น โดยการชักชวนสมาชิกเข้าร่วม และขอรับการสนับสนุน

งบประมาณจาก อบจ.สุพรรณบุรี สมทบด้วย อบต.หนองสาหร่าย และเงินจากคณะกรรมการหมู่บ้าน

กลุ่มผลิตปุ๋ยอัดเม็ด บริหารงานโดยคณะกรรมการ ใช้เวทีประชุมประชาคมเพื่อคัดเลือกผู้แทนเข้า

มาดำเนินการโรงงานอาหารดิน มีการประชุมใหญ่ปีละ 1 ครั้ง กรรมการอยู่ในวาระคราวละ 2 ปี มีระบบ

การตรวจสอบ มีคณะกรรมการตรวจสอบบัญชีทุก 6 เดือน มีการทำบัญชีที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ ปัจจุบัน

มีสมาชิก 120 คน ผลประโยชน์เฉลี่ยคืนสมาชิกตามผลกำไรที่ได้รับในแต่ละปี

ผลที่ได้รับอย่างเป็นรูปธรรม คือลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากเดิมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 13 กระสอบต่อไร่

แต่ปัจจุบันใช้ผสมกันกับปุ๋ยอินทรีย์ จะใช้เพียง 4 กระสอบ โรคระบาดน้อยลง เนื่องจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์

จะทำให้ต้นพืชแข็งแรง ต้านทานโรคแมลงได้ดี ระบบนิเวศกลับคืนมา ประชาชนแข็งแรงโดยเฉพาะการไม่

ใช้สารเคมีเกินขนาดจนทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมเหมือนอดีต ดินมีธาตุอาหารมากขึ้น สารพิษในน้ำน้อยลง

ไม่มีการเผาตอซัง ลดปัญหาฝุ่นละออง หมอกควัน ลดรายจ่าย มีเงินปันผลและเงินออม เกิดการรวมกลุ่ม

เกษตรที่ได้รางวัลจากจังหวัด มีผู้มาศึกษาดูงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำพาการสนับสนุน ทำให้

มีผู้เล็งเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุน อาทิ อบต. อบจ. สำนักงานพัฒนาการจังหวัด สำนักงาน

เกษตรอำเภอดอนเจดีย์ ธนาคารกสิกรไทย ยินดีให้กู้ยืมขยายกิจการ แสดงถึงความั่นคงเข้มแข็งของชุมชน

นอกจากนี้ ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากผลิตปุ๋ยอินทรีย์ คือใช้วัตถุดิบจากขี้เถ้า มูลวัว ขี้เค้กอ้อย ซึ่งเป็น

วัตถุดิบภายในท้องถิ่นมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และยังสร้างงานให้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยการนำมาจำหน่ายให้

แก่กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์

การสร้างสัมมาชีพในชุมชน

��

เวทีข่วงผญ๋า เทศบาลตำบลเกาะคา อ.เกาะคา จ.ลำปาง

‘ข่วง’ เป็นภาษาเหนือ ให้ความหมายถึงสถานที่ที่คนในชุมชนมักใช้เวลาว่างในการรวมตัวเพื่อพูดคุย

แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ

เทศบาลตำบลเกาะคา ได้นำความหมายนี้ มาปรับใช้เป็นแนวคิดจัดทำเวทีระดมความคิดและ

แลกเปลี่ยนความเห็นของคนในชุมชนในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เป็นแหล่งของการแบ่งปัน ‘ปัญญา’

ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า ‘ผญ๋า’ ดังนั้น ‘ข่วงผญ๋า’ หรือ ‘ลานแห่งปัญญา’ จึงเกิดขึ้นโดยใช้สถานที่สาธารณะ

เดิม เช่น ลานวัด ศาลาอเนกประสงค์

เวทีข่วงผญ๋า เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและสื่อสารข้อมูล ตลอดจนการติดตามผลงานการแก้ไขปัญหาใน

ระดับหมู่บ้าน โดยใช้กลวิธีการค้นหาผู้ที่มีจิตอาสา อาทิ นักวิจัยชุมชน เพื่อมาเป็นแกนนำหลักเอื้ออำนวย

ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที ค้นหาปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาประเด็นสาธารณะ โดยเวที

แต่ละครั้งจะมีการจดบันทึกประเด็นต่างๆ บนกระดาน และสรุปข้อมูล เพื่อหามติของชุมชนและข้อเสนอ

เชิงนโยบายต่อเทศบาล

เวทีข่วงผญ๋า ส่งเสริมให้คนในชุมชน มีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหาปัญหา ร่วมพัฒนาชุมชน ส่งผลให้

เกิดจิตสาธารณะ เกิดความรู้สึกหวงแหน เป็นเจ้าของชุมชน เกิดกลุ่มคนที่มีจิตอาสามาทำงานร่วมกับ

เทศบาล เกิดความภาคภูมิใจ และแสดงให้เห็นว่า ทุกความคิดเห็นมีคุณค่า เสริมสร้างความเชื่อมั่น ความ

ศรัทธาของชุมชนที่มีต่อกันและกัน รวมถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อเทศบาลเกาะคา นอกจากนี้ โดยกระบวนการ

ยังเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างมีเหตุมีผล เสริมสร้างศักยภาพของคนในชุมชน เปิดโลกทัศน์ด้วยข้อมูล

ข่าวสารที่ได้รับจากเวที อันนำไปสู่การพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และยั่งยืน

การสื่อสารชุมชน

��

1 เย็น 1 ซอย อบต.บ้านหม้อ อ.เมือง จ.เพชรบุร ี

ชุมชนใน อบต.บ้านหม้อ มีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท จึงมีความต้องการการบริการที่

แตกต่าง และมีมิติของความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้เกิดความสมดุล อบต.บ้านหม้อ ในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบ

พื้นที่ จึงได้วางกลยุทธ์ในการจัดประชาคม โดยหวังว่าจะเป็นเวทีที่สร้างการมีส่วนร่วม และนำประสบการณ์

ของคนในชุมชนซึ่งแตกต่างหลากหลายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสื่อสารความเข้าใจเพื่อการพัฒนาใน

ชุมชน

แต่จากการทำประชาคมรวม 6 หมู่บ้านพบว่า มีผู้เข้าร่วมประชุมน้อย เพราะแต่ละครอบครัวมีภาระ

หน้าที่ที่ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมได้ อีกทั้งบางครัวเรือนยังไม่ให้ความสำคัญในการเข้าร่วมแสดงความคิด

เห็น อบต.บ้านหม้อ จึงได้ทดลองปรับวิธีการ โดยแบ่งย่อยออกเป็นเวทีเล็กๆ ตามลักษณะพื้นที่ที่เป็นซอย

เพื่อกระชับพื้นที่และสะดวกต่อการเดินทางของประชาชน ผลปรากฏว่า มีประชาชนให้ความสำคัญในการ

เข้าร่วมประชาคมและแสดงความคิดเห็นเพิ่มมากขึ้น

จึงเป็นที่มาของโครงการ ‘1 เย็น 1 ซอย (อบต.สัญจร)’ เพื่อเป็นกลไกหลักในการร่วมคิดร่วมทำ

รับฟังปัญหา สร้างความเข้าใจ และเก็บรวบรวมข้อมูลของ อบต. เพื่อนำไปออกแบบการทำงานให้เหมาะสม

ตอบสนองความต้องการภาคประชาชนให้ได้มากที่สุด ตลอดจนเป็นช่องทางแห่งการเรียนรู้ระหว่าง อบต.

กับภาคประชาชน โดยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกปี คณะ อบต. จะสัญจรเข้าร่วมเวทีด้วย

โครงการ ‘1 เย็น 1 ซอย’ นอกจากจะได้ผลตามจุดประสงค์ข้างต้น ผลของโครงการยังได้สร้าง

ภาวะผู้นำให้กับคนในชุมชน โดยเฉพาะแกนนำของแต่ละซอย ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างเป็น

รูปธรรมมากขึ้น ทั้งยังลดความขัดแย้งในชุมชน หรือระหว่างชุมชนได้อย่างดีเยี่ยม และผลของการเข้าร่วม

มากขึ้น ข้อมูลที่ได้รับก็สะท้อนความต้องการจากภาคประชาชนได้อย่างถูกต้องมากขึ้นด้วย

การสร้างสัมมาชีพในชุมชน

��

สำนักข่าวชุมชน เทศบาลตำบลปริก อ.สะเดา จ.สงขลา

ในอดีตที่ผ่านมา เทศบาลตำบลปริก ประสบปัญหาทางด้านการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่เป็นไปตาม

เป้าหมาย จึงพยายามหาทางออกด้วยการสร้างกลไกการประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารระหว่างองค์กรกับ

ชุมชนและสาธารณะ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และรับทราบความเคลื่อนไหวของเทศบาลตลอดเวลา

นั่นคือจุดเริ่มของการก่อเกิด ‘สำนักข่าวชุมชนเทศบาลตำบลปริก’ ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ศูนย์รวมข่าวสาร

ในชุมชน โดยดำเนินการผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ อันหลากหลาย อาทิ วิทยุชุมชน ‘ต้นปริกเรดิโอ’ เว็บไซต์

กระดานข่าวชุมชน วารสาร ‘สารต้นปริก’ หนังสือพิมพ์ต้นปริก เป็นต้น

การดำเนินงานในระยะแรกปี 2550 จะมีการจัดตั้งเป็นทีมเฉพาะกิจขึ้นเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อน

โดยมีกองวิชาการเป็นหัวแรงหลัก ต่อมาในปี 2553 จึงได้จัดให้มีทีมเทคโนโลยีสารสนเทศของเทศบาล

ตำบลปริก เพื่อพัฒนาต่อยอดกระบวนการขับเคลื่อนงานด้าน ‘สำนักข่าวชุมชน’ (Community Press

Centre) ตามลำดับ

สำนักข่าวชุมชน (Community Press Centre) คือ ศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์ที ่ถือเป็น

เครื่องมือสำคัญของเทศบาลตำบลปริก ในการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายทั้งภายใน

และภายนอกองค์กร และยังเป็นเครื่องมือสะท้อนความต้องการของประชาชนให้ชุมชนได้รับทราบ

สำนักข่าวชุมชนฯ ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กร สถาบันต่างๆ กับประชาชน ทำให้

เกิดการยอมรับ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี สร้างชื่อเสียง สร้างศรัทธา ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการ

ชักจูง โน้มน้าวจิตใจ ให้เกิดการยอมรับสนับสนุนและปฏิบัติตาม ส่งผลให้การดำเนินงานของเทศบาลตำบล

ปริกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การประชาสัมพันธ์ ยังช่วยในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะเชื่อมประสานเพื่อนร่วมงาน และบุคคล

ภายนอกองค์กร ซึ่งผู้ที่รับผิดชอบทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการต้องวางแผนกลยุทธ์ในการสื่อสารให้

บรรลุผล

สำนักข่าวฯ ยังช่วยเสริมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดการความรู้

เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และขยายผล

ไปสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในที่สุด

��

ระบบนิเวศต้นน้ำในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านเขาโต๊ะ อบต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร ์

แนวคิดการดำเนินการป่าชุมชนบ้านเขาโต๊ะ เกิดจากความตั้งใจที่จะพัฒนาพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก ให้กลับคืน

เป็นพื้นที่ป่าทึบเพื่อการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืนเหมือนในอดีต โดยการนำของผู้นำทางศาสนา ผู้เป็น

ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน ร่วมกับผู้นำในชุมชน และชาวบ้านทั้งในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเริ่ม

จากการทำกฎกติกาการใช้ป่าของชุมชนร่วมกัน มีการขอการสนับสนุนพันธุ์กล้าไม้จากหน่วยงานรัฐ หรือ

กรมป่าไม้ ระดมทุนเพื่อซื้อพันธุ์ไม้ป่าชุมชนเพื่อปลูกทดแทนไม้ที่ถูกทำลายจากไฟป่าทุกปี มีการบริจาคที่ดิน

สร้างวัด เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และเป็นศูนย์กลางของการฟื้นป่าชุมชน มีการวางแนวกันไฟ

ดำเนินการระดมทุนโดยการจัดผ้าป่า เพื่อซื้อพื้นที่ป่าเพิ่ม ในปี 2544 กลุ่มครูตำบลบักไดยังได้บริจาคซื้อ

ที่ดินเพิ่มเติม จนมีเนื้อที่ป่าไม้รวมประมาณ 1,700 ไร่ จวบจนทุกวันนี้ ป่าไม้ได้ฟื้นตัวถือจนถือว่าเป็นป่า

ที ่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง และเมื ่อปี 2552 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้สนับสนุน

งบประมาณเพื่อวิจัยระบบนิเวศน์ต้นน้ำโดยชุมชน

นอกจากการฟื้นฟู ซึ่งได้ผลเป็นที่ประจักษ์ในรูปของป่าแล้ว ชุมชนยังได้ประสานความร่วมมือ

จนกลายเป็นสำนึกหวงแหนบ้านเกิด และกลายเป็นต้นทุนที่ต่อยอดให้เกิดการเรียนรู ้โดยใช้ป่าเป็น

ห้องเรียนใหญ่ มีการวิจัยเกี่ยวกับป่า รวบรวมเป็นความรู้ทางวิชาการ และจัดทำแหล่งเรียนรู้เรื่องระบบ

นิเวศน์ต้นน้ำและป่าชุมชนเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่มาศึกษาดูงาน และนำความรู้จากผลงานการวิจัยไป

ใช้ประโยชน์ทั้งในการอนุรักษ์และในทางสัมมาชีพ เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธรักษ์ นำไปสู่การจัดทำ

แผนฟื้นฟูป่าชุมชนเขาโต๊ะอย่างยั่งยืน จัดทำแผนพัฒนาศักยภาพทีมวจิัยในชุมชน เป็นต้น

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยชุมชน

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน

��

‘โฉนดชุมชน’ นวัตกรรมความรู้จากชุมชน บ้านทับเขือ-ปลักหมู ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง

เมื่อ ‘เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด’ ชุมนุมเจรจาหน้าศาลากลางจังหวัดตรัง ในเดือน

มกราคม 2550 เพื่อเรียกร้องกรณีปัญหาการจัดการที่ดิน ชาวบ้านทับเขือ-ปลักหมู ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์

ด้วย หลังจากนั้นได้จัดตั้ง ‘องค์กรชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู’ ขึ้น แบ่งสมาชิกเป็น 4 กลุ่มย่อย เพื่อจะได้

ดูแลสมาชิกอย่างทั่วถึง

สมาชิกขององค์กรชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมูไม่ได้ครอบคลุมทั้งชุมชน หากแต่เป็นสมาชิกร้อยละ

60-80 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินของตนเอง แต่ใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อทำกิน และประสบปัญหาความขัดแย้งกับ

รัฐเสมอมา และเนื่องจากมีเงื่อนไขว่า สมาชิกจะต้องยึดถือและปฏิบัติตาม ‘ธรรมนูญชุมชน’ ซึ่งระบุถึง

แผนการจัดการที่ดินซึ่งเปรียบเสมือนนโยบายขององค์กร ตลอดจนกติกาซึ่งเปรียบเสมือนกฎหมายของ

องค์กร หากไม่ปฏิบัติตามกติกาจะถูกลงโทษให้พ้นสภาพสมาชิกหรือตักเตือน นอกจากนั้น สมาชิกจะต้อง

จัดตั้งและจัดการกองทุนเพื่อการพึ่งตนเอง ตลอดจนร่วมกิจกรรมขององค์กรและเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

จึงต้องสมัครสมาชิกปีต่อปีเพื่อยืนยันการเป็นสมาชิกและพิจารณาคุณสมบัติ

ดังนั ้น ‘โฉนดชุมชน’ ขององค์กรชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู จึงอยู ่ภายใต้ธรรมนูญชุมชน

ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่

1) ระบบกรรมสิทธิ์แบบรวมหมู ่ องค์กรชุมชนจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทรัพยากรทั้งหมด ทั้งที่ดิน

ที่ปัจเจกบุคคลใช้ประโยชน์ทำการผลิต และทรัพยากรที่สมาชิกชุมชนใชป้ระโยชน์ในการดำเนินชีวิต

2) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างสมดุลและยั่งยืน การใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างสมดุล

และยั่งยืน ตามแผนการจัดการและกติกาขององค์กรชุมชน

3) วัฒนธรรมการอยู่ร่วมที่ดีงาม ชุมชนทับเขือ-ปลักหมูจะใช้ชีวิตแบบรวมหมู่ โดยจัดตั้งเป็น

องค์กรชุมชน องค์กรชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมูไม่แยกส่วนออกจากชุมชน และพยายามให้สมาชิก

ในครอบครัวทุกคน ทุกเพศทุกวัย เป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมกับองค์กรฯ ตั้งแต่การเป็นคณะทำงาน

องค์กรฯ การจัดทำแผนการจัดการและกติกาขององค์กร การกำหนดและการดำเนินกิจกรรม รวมทั้งเวที

ศึกษา การศึกษาดูงาน

ผลของการจัดการที่ดินขององค์กรด้วยโฉนดรวม คือการได้รับประโยชน์สูงสุดจากที่ดินและ

ทรัพยากร จากแต่เดิมที่ต้องทำสวนอย่างหลบๆ ซ่อนๆ ต้องถางสวนและใส่ปุ๋ยเฉพาะช่วงนอกเวลาราชการ

เพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เมื่อรวมกลุ่มชาวบ้านก็สามารถต่อรองกับเจ้าหน้าที่ได้ ส่งผลให้ชีวิตความเป็น

อยู่ดีขึ้น ขณะเดียวกัน ระบบนิเวศค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างสมดุลและยั่งยืน จากที่เคยถูกทำลายจากสัมปทานป่าไม้

��

ป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี อบต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุร ี

ในอดีตบ้านห้วยสะพานมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าและนกชนิดต่างๆ ชุกชุม และมีแหล่งน้ำใน

ลำห้วยไหลตลอดทั้งปี หลังจากนั้นการบุกรุกของประชาชนในพื้นที่และต่างพื้นที่ ประกอบกับการเกิดขึ้น

ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้การสูญเสียป่าเป็นไปอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่ตามมาคือความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากร ชาวบ้านที่อาศัยพึ่งพาอยู่กับป่า ถูกข่มขู่จากกลุ่มนายทุน

และกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ จากนั้นจึงเกิดการรวมกลุ่มของชาวบ้านเพื่อเจรจาต่อรอง และเดินทางเข้าไป

ประท้วงในกรุงเทพมหานคร

กว่าจะสามารถหาข้อยุติ ก็ต้องสูญเสียชีวิตชาวห้วยสะพานไปนับ 10 คน เพื่อปกป้องป่าผืนนี้ไว้

หลังจากที่สามารถกันพื้นที่ป่าดังกล่าวไว้ได้ มีการรังวัดและปักหลักเขตป่ามีเนื้อที่ประมาณ 1,008 ไร่ จากนั้น

จึงได้จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครของหมู่บ้านเข้ามารับผิดชอบในการดูแลรักษาป่า ได้แก่ ท้องถิ่น ท้องที่ และ

ประชาชน เป็นอาสาสมัครอยู่เวรดูรักษาป่า ปลูกป่าทดแทนจนทำให้ป่าชุมชนกลับฟื้นคืนมากลายเป็นป่าที่

สมบูรณ์ มีสัตว์ป่า พืช สมุนไพรหายาก เป็นแหล่งอาหาร แหล่งเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชน และเพิ่ม

ความเข้มแข็งมากขึ้น เมื่อรัฐบาลจัดอบรมหลักสูตร อพป. ให้กับราษฎรในหมู่บ้าน พร้อมมอบอาวุธปืน

ลูกซองให้กับหมู่บ้าน 15 กระบอก จากนั้นคณะกรรมการหมู่บ้านจึงมอบหมายให้ชาวบ้านที่ผ่านการอบรม

อพป. จำนวน 45 คน ดูแลหมู่บ้านและเป็นผู้ตรวจตราดูแลป่าชุมชนของหมู่บ้าน รวมถึงป่าสงวนแห่งชาติ

ป่าหนองโรงด้วย โดยจัดชุดลาดตระเวนเป็น 4 ชุด สับเปลี่ยนกันออกลาดตระเวนตรวจตราทั้งกลางวันและ

กลางคืน โดยมีกลุ่มเลี้ยงวัว เป็นกลุ่มหลักในการดูแล นับแต่นั้นจึงไมม่ีการบุกรุกทำลายป่าในพื้นที่อีกเลย

ปี 2543 ตัวแทนชาวบ้านจาก 4 หมู่บ้าน ได้ร่วมกันประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ตั้งชื่อป่าชุมชน

ว่า ‘ป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี’ และเห็นชอบร่วมกันให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อบำรุงดูแลรักษาและ

ป้องกันการบุกรุกทำลายป่า พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จากความสำเร็จเรื่องป่าชุมชน นำไปสู่การพัฒนากิจกรรมอื่นๆ ในตำบล อาทิ การขยายพื้นที่ป่า

ชุมชนจากป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคีสู่อีกหลายๆ กลุ่มป่าทั่วทั้งตำบลหนองโรง เกิดกิจกรรมฟื้นฟู

วัฒนธรรมชุมชนให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และได้สืบทอด มีการใช้งานวัฒนธรรมประเพณี มาหนุนเสริมงาน

พัฒนาให้เข้มแข็งขึ้น มีการจัดทำฐานข้อมูล และยังมีผลต่อการพัฒนาอาชีพ เมื่อการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง

กลายเป็นต้นทุนให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันสร้างอาชีพเสริม นำวัตถุดิบที่มีในป่าชุมชนและในท้องถิ่นมาใช้

ประโยชน์ให้เกิดมูลค่า นอกจากนี้ยังทำให้เด็กและเยาวชน มองเห็นการทำงานของผู้ใหญ่

จนก่อตั้งเป็น ‘กลุ่มเยาวชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี’

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน

��

กลุ่มจักรยานสานฝันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลหาดสองแคว อบต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ ์

ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อคนทั้งประเทศและทั่วโลก ‘กลุ่มจักรยาน

สานฝัน’ ร่วมกับเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านหาดสองแคว จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนหรือบุคคลใน

ชุมชนได้ทำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ผ่านกิจกรรมขี่รถจักรยานเพื่อเก็บขยะมูลฝอย รดน้ำ

ต้นไม้ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพให้กับต้นไม้และดอกไม้ตามถนนของชุมชน สร้างวัฒนธรรมรวมหมู่ ส่งเสริม

สุขภาพร่างกายของคนในชุมชน และทำให้ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู ่

กลุ่มจักรยานสานฝันอนุรักษ์ ทำให้ปัญหาขยะในชุมชนพื้นที่ตำบลหาดสองแควลดลงอย่างเห็นได้ชัด

เด็กเยาวชนมีกิจกรรมที่สร้างทำในเวลาว่าง เกิดความรักสามัคคีระหว่างกลุ่ม สร้างความตื่นตัวและ

ตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน

อบต.หาดสองแคว มีส่วนสำคัญในการจัดตั้งกลุ่มกลุ่มจักรยานสานฝัน เป็นศูนย์กลางในการจัดการ

อบรมเพิ่มศักยภาพของกลุ่มจักรยาน โดยมีกองทุนสุขภาพชุมชนตำบลหาดสองแคว (สปสช.) สนับสนุน

ด้านงบประมาณ มีสภาเด็กและเยาวชนตำบลหาดสองแควเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความคิดในการ

ทำกิจกรรมของเด็กและเยาวชนในตำบลตลอดจนให้ข้อเสนอแนะต่างๆ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกลุ่มจักรยานสานฝัน มีภารกิจประจำในการดำเนินการเก็บขยะมูลฝอย

รดน้ำต้นไม้ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพให้กับต้นไม้และดอกไม้ตามถนนของชุมชนทุกสัปดาห์ จึงยังต้องอาศัย

ผู้ใหญ่เป็นแกนนำที่สำคัญในการเป็นผู้นำและดูแลเด็กเยาวชนในการทำกิจกรรม

การจัดการสิ่งแวดล้อม และพลังงานทางเลือกของชุมชน

��

การจัดการขยะฐานศูนย ์เทศบาลตำบลปริก อ.สะเดา จ.สงขลา

จากการศึกษาปัญหาในชุมชนต่างๆ ของเทศบาลตำบลปริก ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ของ

เทศบาลตำบลปริกประสบปัญหาที่สำคัญๆ หลายประการ หนึ่งในนั้นคือปัญหาขยะในชุมชน ซึ่งกำลังเพิ่ม

ความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นทางเทศบาลตำบลปริกได้วางแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดหลักการ

เบื้องต้นเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขยะ หาภาคีร่วมแก้ปัญหา จึงเกิดความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบล

ปริกและคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยทำการศึกษาและวิจัยเชิงปฏิบัติ

การแบบมีส่วนร่วมในท้องที่ความรับผิดชอบของเทศบาล

จากการศึกษาวิจัย พบปริมาณและองค์ประกอบขยะของชุมชน แยกตามชนิด และการใช้ประโยชน์

จากข้อมูลดังกล่าว เมื่อนำมาประกอบกับการศึกษาในเรื่องทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชนด้านการ

จัดการขยะ และนำผลการศึกษาทั้งหมด มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปประเด็นปัญหา พบว่า 1) รูปแบบ

การจัดการขยะของชุมชน เริ่มจากบ้านเรือนสู่ถังรองรับขยะของเทศบาล และเก็บขนโดยรถขนขยะสู่สถานที่

กำจัดขยะของเทศบาลตำบลปริก โดยเทกองกลางแจ้งแล้วฝังกลบและเผาบ้างเป็นครั้งคราว 2) สถานการณ์

ด้านขยะและสาเหตุของปัญหาขยะในชุมชน สามารถสรุปเป็น 3 ประการสำคัญ คือ 1) ไม่มีการคัดแยก

2) การทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง และ 3) มีการใช้ถุงพลาสติกจำนวนมาก

เมื่อได้ผลการศึกษา ขั้นต่อไป จึงเป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไข โดยทีมวิจัยฝ่ายชุมชนเสนอ

ให้จัดทำโครงการอบรมเรื่องขยะและสาธิตการทำปุ๋ยหมัก เพื่อนำเสนอข้อมูลสถานการณ์และสภาพปัญหา

ขยะแก่ชุมชน ระดมความคิดเห็นจากประชาชนในชุมชนถึงแนวทางแก้ไขปัญหาขยะ และอบรมและสาธิต

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพให้แก่ประชาชนในชุมชน จากนั้นจึงเลือกแนวทางแก้ปัญหา และจัดทำแผนปฏิบัติ

การเพื่อแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน พร้อมติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาเป็นประจำ

และแม้ว่าโครงการศึกษาและการวิจัยเชิงปฏิบัติการจะสิ้นสุดลงไปแล้ว แต่ทางเทศบาลตำบลปริกมี

ความประสงค์ที่จะให้เกิดความต่อเนื่องในกิจกรรมต่างๆ จึงได้ต่อยอดโครงการพัฒนาท้องถิ่นขึ้น เป็นโครงการ

การจัดการขยะฐานศูนย์ของเทศบาลตำบลปริก ครอบคลุมการจัดการตั้งแตต่้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง

การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทางเลือกของชุมชน

�0

ขยะทองคำ+ขี้หมูหอม อบต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม ่

ขยะทองคำ

จากปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมทำให้ประชาชนในหมู่บ้าน เริ่มต้นกระบวนการแก้ไขปัญหาและ

พัฒนาโดยใช้เวทีข่วงกำกื๊ด (ลานความคิด) ในการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และได้เป็นหลักการ

แก้ปัญหาร่วมกัน คือคัดแยกขยะตั้งแต่แหล่งกำเนิด และแยกขยะออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ขยะเปียก

ขยะแห้ง และขยะอันตราย

การจัดการขยะเปียก นำไปสู่กระบวนการทำปุ๋ยหมักในครัวเรือน

ขยะแห้งและขยะอันตราย อบต.ดอนแก้ว จะนำไปบริหารหรือจัดการทำลาย ส่วนขยะแห้งที่ขายได้

หรือขยะรีไซเคิล นำไปสู่ธนาคารวัสดุรีไซเคิลและกองทุนขยะ ซึ่งสร้างมูลค่าให้กับขยะให้เป็นวัตถุดิบที่มี

คุณค่า มีราคา

ผลจากการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ทำให้ อบต.ไม่ต้องมีบริการจัดเก็บขยะจากบ้านเรือนประชาชน

ในตำบล และไม่ต้องมีรถสำหรับเก็บขยะในพื้นที่ตำบลดอนแก้ว ปริมาณขยะในพื้นที่ลดลงเนื่องจากมีการ

กำจัดขยะจากต้นทางคือตั้งแต่ครัวเรือน ประชาชนเจ็บป่วยสาเหตุเนื่องจากขยะและปัญหาด้านสุขภาพและ

อนามัยลดลง

แก๊สขี้หมูหอม (มาก)

ปัญหาจากกลิ่นและแมลงวันจากฟาร์มเลี้ยงหมูในหมู่บ้าน ทำให้เกิดความรำคาญและเกิดเป็นกรณี

ขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นชาวบ้านลงชื่อขับไล่ให้เจ้าของฟาร์มออกจากพื้นที่หรือให้ยกเลิกกิจการ จากปัญหา

ดังกล่าว จึงได้ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส โดยการนำขี้หมูมาผลิตเป็นแก๊สชีวภาพและแจกจ่ายให้แต่ละครัว

เรือนในหมู่บ้านใช้ ซึ่งทำให้ลดกลิ่นรำคาญ และมีแก๊สใช้ในครัวเรือนฟรี เป็นการบริหารจัดการที่ทำให้ลด

ข้อขัดแย้งภายในชุมชน เกิดความเอื้ออาทร และสามัคคี

กระบวนการจัดการ เริ่มจากการปรึกษาหารือ เพื่อหาทางออกร่วมกันทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า

จะเป็นชาวบ้านผู้ที่ได้ความเดือดร้อน เจ้าของฟาร์มแหล่งเกิดปัญหา อบต. ตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ย

รวมทั้งตัวแทนจากเกษตรอำเภอซึ่งได้นำเข้าความรู้ ด้วยการเสนอให้สร้างบ่อแก๊สชีวภาพจากมูลสุกรขึ้น

จนเกิดเป็นขี้หมูหอมทุกวันนี้

��

‘โคกหม้อ’ น่ามอง อบต.หนองสาหร่าย อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุร ี

ตำบลหนองสาหร่าย เป็นตำบลหนึ่งที่มุ่งสร้างสุขภาวะให้ประชาชน โดยยึดหลักการแสดงความ

มีน้ำใจของคนสุพรรณบุรีที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ต้องการความทันสมัย ความก้าวหน้าทางวิชาการและ

เทคโนโลยี เน้นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง รวมถึงขยายแนวคิดสู่เด็กและเยาวชน ภายใต้โครงการนำร่อง

‘โครงการคนดีศรีสุพรรณ’ เพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคม ให้สามารถดำรงชีวิตได้ตามสภาพ

เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนไป จึงได้สร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์พื้นฐานของประชาชน เด็ก และ

เยาวชนสุพรรณบุรี เป็นคนดี 11 ประการ คือ

รักษาความสะอาดร่างกาย บ้านเรือน และชุมชน มีจิตสำนึกร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีวิถี

ประชาธิปไตย เป็นผู้ประหยัดออม และนิยมไทย ปฎิบัติตนตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม หรือหลักธรรม

ของศาสนาอื่นที่เด็กและเยาวชนนับถือ เป็นผู้มีมารยาทแบบไทย มีวินัยจราจร เป็นคนตรงต่อเวลา ปฎิบัติ

ตนในการเข้าแถวเรียงลำดับก่อน-หลัง ในการรับบริการต่างๆ ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของ

โรงเรียนและกลุ่มโดยเคร่งครัด และไม่พัวพันยาเสพย์ติด

การจัดการสิ่งแวดล้อมของตำบลหนองสาหร่ายที่เน้นสร้างการมีสร้างส่วนร่วม และกระตุ้นให้

ประชาชนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม กระทั่งลงมือแก้ไขด้วยตนเอง หลักคิดในการออกแบบกิจกรรม

จึงเชื่อมโยงกับหลักการคุณลักษณะ 11 ประการของโครงการ ‘คนดีศรีสุพรรณ’ ข้างต้น และใช้หลักการนี้

ซึ่งเป็นเสมือนเป้าหมายร่วมกันของคนสุพรรณบุรี กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการรักษาความสะอาดร่างกาย

บ้านเรือน และชุมชน มีจิตสำนึก มีการประสานการจัดการร่วมกันของบ้าน วัด โรงเรียน และอบต. เพื่อร่วมกัน

จัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ

โครงการ ‘โคกหม้อน่ามอง’ เป็นกิจกรรมที่ให้ทุกครัวเรือนจัดการขยะระดับครัวเรือน เช่น การคัดแยก

ขยะเพื่อนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์แห้ง การรณรงค์เรื่องการปลูกต้นไม้รอบบ้าน ใส่ใจดูแลบ้านของตนเองให้

สะอาด ปลูกต้นไม้ริมถนน ทั้งไม้ดอก ไม้ผลกินได้ กลายเป็น ‘ถนนกินได้’ ดำเนินการจัดทำแปลงผักเพื่อ

แลกเปลี่ยนกันกินในหมู่บ้าน เพราะนอกจากจะเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่น่ามอง สร้างภูมิทัศน์

สองข้างทางที่สวยงาม ยังเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสร้างสังคมเอื้ออาทรต่อกัน

การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทางเลือกของชุมชน

��

สวัสดิการสังคมครบวงจร อบต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม ่

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสายสัมพันธ์ วัด โรงพยาบาล และชุมชน

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่โลกของผู้สูงวัย จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และผู้สูงวัยจะพบกับความเสื่อม

ถอยของภาวะทางสุขภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพโดยรวม ความแออัดของผู้ป่วยสูงอายุที่แผนก

ผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาล ทำให้ต้องปรับวิธีคิดและกระบวนการทำงานใหม่โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพ

เชิงรุกสู่ชุมชน ผ่านการจัดเวทีประชาคมผู้สูงอายุ และในที่สุดมีมติให้จัดตั้ง ‘ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

สายสัมพันธ์ วัด โรงพยาบาล และชุมชน’ โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง โดยมีภาครัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุน

เท่านั้น

และเพื่อให้การดูแลคุณภาพชีวิตเป็นไปอย่างครบวงจร ทั่วถึง เข้าถึงทุกกลุ่ม ทุกวัย ตั้งแต่อยู่ใน

ครรภ์จนตาย อบต.ดอนแก้วยังได้จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อส่งเสริม

สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรี พึ่งพาตนเองได้ เท่าเทียมกันกับ

คนปกติ

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ผู้สูงอายุในชุมชน ได้รับการจัดตั้งโดยการบูรณาการทุกภาคส่วน

เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน ในศูนย์ฯ มีกิจกรรมหลากหลาย ตอบสนองความต้องการใน

ทุกด้าน ทั้งกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทั ้งวิทยาการปัจจุบัน และ

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีกลุ่มอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการและผู้สูงอายุเป็นแกนนำในการดำเนินการ

จัดระบบการประสานงานเครือข่ายและองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ได้รับบริการอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ทั้งยัง

ส่งผลให้เกิดข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว เรื่อง ‘การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตำบล

ดอนแก้ว พ.ศ.2551’ (ฉบับแรกของประเทศไทย) ที่เกิดจากความต้องการของคนพิการในตำบล

ผลของการจัดสวัสดิการครบวงจร ทำให้คนในชุมชนเข้าถึงด้านข้อมูลข่าวสารที่เกี ่ยวกับสิทธิ

สวัสดิการต่างๆ ได้ถูกต้องรวดเร็ว มีสิ ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ การจัดตั้งกองทุนเงิน

สวัสดิการสังคม

��

หมุนเวียนสวัสดิการคนพิการ อบต.ดอนแก้ว ได้รับการฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ คนพิการได้ช่วยเหลือ

ทางด้านอุปกรณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการประกอบอาชีพ ได้รับการฝึกอาชีพจากหน่วยงานที่

เกี่ยวข้อง ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม มีการจัดตั้งชมรมคนพิการตำบลดอนแก้วและชมรม

ผู้สูงอายุตำบลดอนแก้ว ตลอดจนเข้าร่วมประชาคมในเวทีต่างๆ มีพื้นที่สาธารณะภายในชุมชนแสดงความ

สามารถในด้านต่างๆ

กิจกรรมด้านสวัสดิการของตำบลดอนแก้ว อาศัยการทำงานของกลุ่มผู้ที่มีจิตอาสา และการมีส่วน

ร่วมของภาคประชาชน โดยบูรณาการความถนัดและความเชี่ยวชาญเข้าด้วยกัน อาทิ อาสาสมัครดูแล

ผู้สูงอายุ อาสาสมัครพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องการความช่วยเหลือตำบลดอนแก้ว อาสาพัฒนาปศุสัตว์

ตำบลดอนแก้ว อาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญ นักพัฒนาชุมชนอาวุโสตำบลดอนแก้วเพื่อดูแลผู้สูงอายุ

ในตำบลดอนแก้ว เป็นต้น

สวัสดิการสังคม

��

ป่าไผ่ผาก อบต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

‘ป่าไผ่ผาก’ คือชื่อป่าชุมชน ซึ่งเป็นที่คุ้นหูสำหรับคนในพื้นที่และประชาชนในตำบลใกล้เคียง เพราะ

เป็นผืนป่าที่อยู่คู่กับชุมชนมายาวนานกว่าชั่วอายุคน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของป่าไผ่ผาก ทำให้ประชาชน

ได้เข้ามาใช้ประโยชน์กันอย่างหลากหลาย เช่น การตัดลำต้นมาทำรั้วบ้านหรือส่วนประกอบของที่อยู่อาศัย

การหาหน่อไผ่ผากมาทำอาหารทั้งคาวและหวาน การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อใช้ประโยชน์ การตัดลำต้นมาเผาถ่าน

เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ การนำใบมาเป็นวัตถุดิบในการห่อขนมจ้างและ

ขนมบ๊ะจ่าง ตลอดจนการล่าสัตว์และหาอาหารในป่า เป็นต้น ทำให้สภาพแหล่งอาหารสำคัญในพื้นที่ซึ่งมี

ขนาดมากกว่า 500 ไร่ เสื่อมโทรมและลดลงเหลือเพียงประมาณ 367 ไร่ จึงได้เป็นที่มาของการร่วมคิด

ร่วมกำหนดแนวทางเพื่อการจัดการทรัพยากรป่าชุมชน ‘ไผ่ผาก’ ของชุมชนตำบลหนองแหน เพื่อส่งเสริม

ฟื้นฟู และรักษาไว้ซึ่งทรัพยากร ‘ป่าไผ่ผาก’ ให้สามารถเป็นแหล่งอาหารของชุมชนต่อไปได้

ภายใต้ความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มองค์กรชุมชน แกนนำชุมชนท้องถิ่น

ท้องที่ หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ จึงได้เริ่มต้นด้วยการรวมรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นได้ร่วมกัน

จัดเวทีแลกเปลี ่ยนเรียนรู ้ให้แก่ประชาชนในตำบลให้ได้ทราบถึงสถานการณ์ ดำเนินการแต่งตั ้ง

คณะกรรมการจัดการป่าไผ่ผาก จากผู้แทนประชาชนในชุมชนท้องถิ่นและผู้บริหารจากองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนการบริหารจัดการป่าไผ่ผากหรือข้อตกลงในการใช้ป่าชุมชน และผลักดันให้เกิด

การดำเนินงานและปฏิบัติตามข้อตกลงของชุมชนอย่างต่อเนื ่องเพื ่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเน้นให้

ประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันเป็นหูเป็นตา ร่วมกันดูแล

นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน เด็ก และเยาวชนในชุมชน เกี่ยวกับเรื่องพืช

สมุนไพรที่มีอยู่ในป่าชุมชนอีกด้วย

การสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยชุมชนท้องถิ่น

��

เกษตรอินทรีย์และตลาดนัดสีเขียว อบต.ทมอ อ.ปราสาท จ.สุรินทร ์

ปัญหาการใช้สารเคมีในการทำนาข้าวที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรเป็นหนี้เป็นสิน เกษตรกร

กลุ่มหนึ่งจึงรวมกลุ่มกันเพื่อหาทางออกจากการผลิตที่เป็นกระแสหลักนี้ และได้รวมกลุ่มกันในนาม ‘กลุ่ม

เกษตรธรรมชาติสุรินทร์’ ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่ตำบลต่างๆ รวมทั้งตำบลทมอ อำเภอปราสาทรวมอยู่ด้วย

ต่อมาเครือข่ายเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในปี 2546 จึงได้มี

การเปิดตลาดนัดสีเขียวเมืองสุรินทร์ เพื่อนำผลผลิตเกษตรอินทรีย์มาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค เพื่อเป็น

การสนับสนุนเกษตรกรให้สามารถดำรงชีวิตด้วยอาชีพการเกษตรที่ยั่งยืนต่อไปได้

‘ตลาดนัดสีเขียวเมืองสุรินทร์’ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้บริโภค สามารถเข้าถึงสินค้า

และบริการที่เป็นธรรม ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อขยายแนวคิดประสบการณ์

การพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สาธารณะ โดยตลาดนัดนี้จัดขึ้นทุกวันเสาร์ มี

กิจกรรมต่างๆ และสินค้าที่ผลิตโดยตรงจากแปลงเกษตรอินทรีย์ อาหารพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก

สมุนไพร การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น การเผยแพร่ความรู้และข่าวสารการพัฒนาผ่านเวทีเสวนา และชุด

นิทรรศการ

ตลาดนัดสีเขียว มีลักษณะแตกต่างไปจากตลาดนัดทั่วไปคือ ผู้ประกอบการค้าขายในตลาดนัดนี้ได้

จัดทำ ‘ข้อตกลง’ ร่วมกัน ได้แก่ คุณภาพของผลผลิตต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองจากกลุ่มองค์กร

ผลผลิตที่นำเข้ามาในตลาดนัดสีเขียวต้องเป็นผลผลิตเกษตรอินทรีย์จากองค์กรชาวบ้านที่มีกระบวนการ

ผลิตไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงสุขภาพผู้บริโภค ผลผลิตที่นำเข้ามาต้องเกิดจากการรวมกลุ่มเพื่อ

การผลิต ในส่วนของระดับบุคคลต้องมีการตรวจสอบและพิจารณาของกรรมการตลาดนัดสีเขียว ผู้นำผลผลิต

เข้ามาต้องขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว บรรจุภัณฑ์ห้ามใช้วัสดุที่ย่อยสลายยากและเป็น

อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ค้าต้องเปิดเผยกระบวนการผลิต เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลของสินค้า

การสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยชุมชนท้องถิ่น

��

การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน อบต.แม่ทา กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม ่

ตำบลแม่ทา ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ประมาณ 67,500 ไร่ มีพื้นที่ราบเพียงร้อยละ 20 ที่

ถูกล้อมด้วยเทือกเขาผีปันน้ำอันเป็นต้นกำเนิดห้วยเล็กๆ หลายสายที่ไหลรวมเป็นลำน้ำแม่ทาหล่อเลี้ยง

คนในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ทำเกษตร เช่น ปลูกข้าวโพด ปลูกผัก สวนลำไย เลี้ยงวัว และใบยาสูบ เป็นต้น

ชุมชนแม่ทา ทำเกษตรแผนใหม่อย่างเข้มข้นมาตั้งแต่ปี 2510 เริ่มจากการปลูกใบยาสูบ ตามมาด้วย

ขิง กระเจี๊ยบ มันฝรั่ง อ้อย ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว และใช้ทุนที่สูงกว่าเดิมเพื่อเพิ่มผลผลิต ก่อนจะพบว่า

‘ยิ่งขยันก็ยิ่งมีหนี้’ เพราะปัจจัยการผลิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อุปกรณ์

ทางการเกษตรต่างๆ กลับแพงขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคาขายยังคงเท่าเดิม มิหนำซ้ำผลผลิตกลับตกต่ำเพราะสภาพ

แวดล้อมเสื่อมโทรมลง และปัญหาทางสุขภาพที่เกิดจากการใช้สารเคมกี็เพิ่มสูงขึ้น

จุดเปลี่ยนมาเกิดในปี 2529 เมื่อองค์กรพัฒนาเอกชนได้เข้ามาร่วมคิดร่วมทำงานกับชุมชน ทำให้

ชาวบ้านแม่ทารวมกลุ่ม หารือทั้งในเรื่องวิถีชีวิตปัญหาปากท้อง การทำมาหากิน การจัดการทรัพยากร มีการ

จัดกระบวนการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการไปศึกษาดูงานต่างพื้นที่ การทดลองทำ

กระทั่งในปี 2535 ก้าวย่างสู่หนทางการทำเกษตรยั่งยืนก็เด่นชัดขึ้น มาตรการ เลิก ลด ละ การใช้

สารเคมีการเกษตรค่อยๆ ขยายวงออกไป จากเครือข่ายคณะกรรมการกลางแม่ทา ได้ยกระดับองค์กรให้

เป็นนิติบุคคล มีการจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา จำกัด เพื่อจัดการผลผลิตให้สมาชิกจำหน่าย

ได้ในราคาที่เป็นธรรม รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยขยายพื้นที่ในการดำเนินงาน 3 ตำบล

กระทั่งปัจจุบันได้จัดตั้งเป็นสถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา ซึ่งบูรณางานพัฒนา

ชุมชนในด้านเกษตรกรรมยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรเข้าด้วยกัน

สำหรับชุมชนแม่ทา ความยั่งยืนไม่ได้อยู่ที่การทำเกษตรไม่ใช้สารเคมีหรือการมีกลไกจัดการต่อสู้ต่อ

รองเท่านั้น หากแต่ความยั่งยืนยังอยู่ที่สำนึกซึ่งเกิดจากความตระหนักและมั่นใจร่วมกันว่า ‘เกษตรกรรม

ยั่งยืน’ เป็นการทำเกษตรที่อยู่บนศีลธรรม เป็นมิตรกับธรรมชาติ

และวิถีเกษตรกรรมยั่งยืน ไม่ใช่แค่เทคนิคการทำมาหากินเท่านั้น แต่เป็นองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงเรื่อง

ราวทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศาสนา และการเมืองท้องถิ่นให้

เข้ามาเป็นเรื่องเดียวกัน

ปัจจุบันแม่ทากลายเป็นชุมชนแบบอย่าง กลายเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรกรรมยั่งยืน เป็น

ตัวแบบความมั่นคงทางเศรษฐกิจและทางอาหารจากต้นทุนผืนดินที่มีอยู ่

��

โรงเรียนชาวนา อบต.อุทัยเก่า อ.หนองฉาง จ.อุทัยธาน ี

“น้ำ 20 ลิตร จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ซีซี (1 ช้อนแกง) และฮอร์โมนไข่ 10 ซีซี (1 ช้อนแกง) ทุกๆ

3 วัน ต่อครั้ง”

นี่คือบางบทเรียนจากโรงเรียนชาวนา บ้านหนองกระเหรี่ยง

การถอดบทเรียน การจัดการความรู้เรื่องการทำนาข้าว และนำไปสร้างรูปแบบการเรียนรู้ในโรงเรียน

ชาวนา เริ่มขึ้นจากปัญหาการใช้สารเคมีในการปลูกข้าวที่ทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน เกิดโรคภัยไข้เจ็บ โรงเรียน

ชาวนาจึงเกิดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือคนในชุมชน โดยมุ่งหมายให้ชุมชนชาวนาเห็นถึงความแตกต่าง

ระหว่างการทำนาแบบอิงการใช้สารเคมี กับการทำนาแบบอินทรีย์ที่พึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก

การจัดการความรู้เป็นการนำองค์ความรู้เก่าและใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ เช่น การเกษตร วัฒนธรรม ความเชื่อ

วิถีปฏิบัติตนของชาวนามาเป็นฐานราก และนำแหล่งเรียนรู้ที่ได้จากองค์กรอื่นไปเสริมหรือต่อยอดให้พอที่

จะไปใช้ทำงานได้ โดยกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ก่อนทำ เรียนรู้ระหว่างทำ และเรียนรู้หลังทำ

บนฐานคิดที่ว่า ความรู้ใหม่นั้นจะเกิดจากการปฏิบัติจริง เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ต่อมาก็จะกลาย

เป็นความรู้ฝังลึกของชาวนา จากนั้นเมื่อผ่านการจัดการความรู้รอบที่ 2 เช่นการถอดบทเรียน วิเคราะห์

ทดลองในลักษณะเช่นเดียวกัน โดยมีความรู้อื่นๆ มาเสริมขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเกิดความรู้ใหม่และฝังลึกใน

ชาวนาแต่ละคน ต่อยอดให้สูงขึ้นได้ และยังขยายไปได้ไกล

หลักสูตรในการเรียนของโรงเรียนชาวนา ประกอบด้วยหลายหลักสูตร แต่ละหลักสูตรใช้เวลาทั้งสิ้น

18 สัปดาห์ๆ ละ 3 ชั่วโมง อาทิ หลักสูตรเน้นการจัดการศัตรูพืช เพื่อศึกษาโรคแมลงโดยเฉพาะ จึงต้อง

เรียนรู้เรื่องพืชสมุนไพรที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชและระบบนิเวศน์ในแปลงนา จุดประสงค์ต้องการให้ผู้เรียน

ยอมรับว่า ในการทำนาไม่ต้องใช้สารเคมีในการป้องกันแมลงศัตรูข้าว อย่างไรก็ตาม ในหลักสูตรนี้ยังผ่อน

ผันให้ผู้เรียนสามารถนำยาฆ่าหญ้า พร้อมปุ๋ยเคมี และเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาจากท้องตลาดมาใช้ในแปลงนาได้

หลังจากผู้เรียนได้ประสบการณ์ในระดับหนึ่งแล้ว จากนั้นจะมีหลักสูตรต่อเนื่อง เป็นการปรับปรุง

สภาพดินโดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งจะต้องเรียนรู้เกี ่ยวกับโครงสร้างของดินและวิธีการปรับปรุงดินโดยวิธี

ธรรมชาติ เน้นการเลิกใช้ปุ๋ยเคมี 100% ให้มารู้จักวิธีการผลิตปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยพืชสดแทน

จากโรงเรียนชาวนา คนในชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการเข้ามาเรียนรู้ และได้ทดลองปฏิบัติการ

กลายเป็นความรู้ฝังลึกในการทำเกษตรอินทรีย์ การทำน้ำหมักชีวภาพ การคัดเลือกพันธุ์ข้าว

การจัดการความรู้ในแบบโรงเรียนชาวนา ยังได้ขยายผลไปสู่แกนนำที่มีความรู้ในเรื่องสมุนไพร

รักษาโรคด้วย

การสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยชุมชนท้องถิ่น